เน้นปลูกสายพันธุ์ฉัตรขาว-ฉัตรแดง ตัดดอกขายควบคู่ขายต้น

คุณแยม บอกว่า ตอนนี้มีพื้นที่ทำนาบัวทั้งหมด 20 ไร่ โดยจะเน้นปลูกสายพันธุ์ฉัตรขาวและฉัตรแดงเป็นหลัก ส่วนบัวหลวงจะแยกให้แม่เป็นคนปลูกดูแล ซึ่งจุดเด่นของแต่ละสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันคือ พันธุ์ฉัตรขาวและฉัตรแดง เป็นสายพันธุ์ที่เหมาะกับการนำมาตัดดอกขายใช้ไหว้พระและขายเป็นต้นพันธุ์ ส่วนบัวหลวงนั้นจะเหมาะกับการเก็บฝักขายและขายเป็นไหลบัวที่นำไปสำหรับประกอบอาหาร ทำยำ ทำส้มตำ ในส่วนนี้จะงดการใช้สารเคมี โดยจะมีแม่ค้าประจำแถวบ้านอยู่ประมาณ 3 ร้าน และทำขายตลาดออนไลน์หรือคนที่ต้องการใช้ดอกบัวแบบเร่งด่วนก็สามารถโทร.มาสั่งล่วงหน้าได้

การปลูกบัวเพื่อตัดดอก
พื้นที่เหมาะสมควรเป็นที่ราบสม่ำเสมอ อยู่ใกล้แหล่งน้ำ การเตรียมพื้นที่สำหรับการทำนาบัวจะคล้ายกับการทำนาดำ โดยเริ่มจากการเอาน้ำออกให้แห้ง ยกคันดินโดยรอบพื้นที่ให้สูง ประมาณ 1-1.50 เมตร ปรับพื้นที่ให้เรียบ จากนั้นใช้รถไถตีดินให้เละ แล้วระบายน้ำเข้าให้สูงจากพื้น ประมาณ 20-30 เซนติเมตร แล้วจึงปักดำ ในระยะความห่าง 5 วาต่อ 5 ไหล หรือแล้วแต่ความสะดวกของแต่ละพื้นที่ แต่ถ้าหากประสบปัญหาน้ำขุ่น ให้พักน้ำทิ้งไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้น้ำนอนก้นก่อนแล้วถึงค่อยลงมือปลูก

การดูแลรักษา
การให้น้ำ หลังจากปลูกบัวในเดือนแรก ควรรักษาระดับน้ำให้ขังอยู่ในแปลงสักประมาณ 30 เซนติเมตร แล้วหลังจากนั้นรอให้ต้นแข็งแรงก่อนถึงจะปล่อยน้ำเพิ่มเข้าไปให้ลึกขึ้นมาอีกประมาณ 10 เซนติเมตร ซึ่งการปลูกบัวการให้น้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ พยายามอย่าปล่อยให้น้ำแห้งจนเกินไป น้ำควรอยู่ในระดับลึกไม่เกิน 100 เซนติเมตร แต่ไม่ควรให้ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร หรือใช้เข่าเป็นมาตรฐานการวัดระดับน้ำ คืออย่าให้ระดับน้ำต่ำกว่าเข่าเป็นอันใช้ได้

การใส่ปุ๋ย เมื่อบัวเริ่มตั้งตัวได้และแตกใบใหม่ก็จะเริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เพื่อเร่งราก เร่งหน่อ หลังจากนั้นนับไปอีก 10 วัน จะใส่ปุ๋ยอีกรอบ โดยใส่สูตร 25-7-7 อัตรา 1 กระสอบต่อ 1 ไร่

การเก็บดอก บัวเป็นพืชที่ปลูกง่าย อายุสั้น ที่สวนใช้เวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 2 เดือน มีการเก็บดอกแบบวันเว้นวัน 1 ไร่เก็บผลผลิตได้ครั้งละ 500 ดอก หลังจากเก็บเกี่ยวดอกเป็นเวลา 6 เดือน ต้นบัวจะเริ่มโทรม ผลผลิตจะลดลง จะมีวิธีบังคับให้ไหลแตกต้นใหม่ หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ทุบ โดยการระบายน้ำออกให้แห้งแล้วใช้รถไถดะ แล้วปล่อยน้ำเข้าในแปลงอีกครั้ง บัวจะเริ่มแตกยอดใหม่และสามารถเริ่มเก็บดอกได้อีกครั้ง

ราคาผลผลิต ที่สวนคุณแม่เริ่มปลูกบัวเป็นอาชีพตั้งแต่สมัยราคาดอกบัวกำละ 4 บาท จนถึงปัจจุบันราคาดอกบัวขายได้กำละ 15-20 บาท หรือถ้าเป็นในช่วงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนาราคาดอกบัวจะขึ้นมาอยู่ที่ดอกละ 5 บาท โดยราคานี้เป็นราคาที่ขายตามกลไกตลาด มีการเช็กราคาจากตลาดกลาง และอีกช่วงที่ดอกบัวจะมีราคาแพงคือช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว ราคาจะต่ำลงในช่วงหน้าร้อน จะเหลืออยู่ที่ดอกละ 2 บาท แต่เมื่อเทียบกับต้นทุนแล้วยังอยู่ในจุดที่คุ้มค่า ยังมีกำไรให้เหลือเก็บ เพราะบัวเป็นพืชที่ปลูกง่าย ใช้เงินลงทุนน้อย หากมือใหม่สนใจอยากจะปลูกบัวเป็นอาชีพเสริมก็ถือว่าน่าสนใจ มีพื้นที่เพียง 3-4 ไร่ ช่วยสร้างรายได้อย่างสบายๆ

ตลาดบัวตัดดอก ยังไปได้อีกไกล
เริ่มต้นหาตลาดจากร้านแหล่งใกล้บ้าน
เจ้าของบอกว่า ตลาดบัวตัดดอกยังไปได้อีกไกล สำหรับมือใหม่ให้เริ่มต้นจากการหาตลาดใกล้บ้านก่อน ด้วยวิธีการเดินเข้าไปสอบถามแม่ค้าร้านดอกไม้ด้วยตัวเอง เพราะอย่างไรแล้วการที่เราปลูกเองขายเอง การขนส่งย่อมง่ายกว่าการที่แม่ค้าต้องรับมาจากแหล่งใหญ่อยู่แล้ว และถ้าหากปลูกจนชำนาญแล้วให้ลองเพิ่มช่องทางทำตลาดออนไลน์ควบคู่กันไปด้วย อย่างที่สวนตอนนี้เน้นทำตลาดออนไลน์ โดยขายต้นพันธุ์เป็นหลัก และในอันดับถัดมาหากใครมีกำลังความสามารถก็สามารถพัฒนาต่อสร้างรายได้เสริมอีกช่องทาง ด้วยการปล่อยปลาลงไปเลี้ยงในบ่อบัวอีกได้ ถือว่าได้ประโยชน์ 2 ต่อ เพราะปลาที่ปล่อยลงไปเลี้ยงจะช่วยเข้าไปกำจัดวัชพืชที่ไม่ต้องการออกไป แต่มีข้อแม้ว่าต้องรอให้บัวโตแข็งแรงก่อน โดยปลาที่ปล่อยเป็นปลากินพืช ปล่อยให้เล็มหญ้า เล็มใบเน่าเสีย กินหนอนที่อยู่ใต้น้ำ ไม่ต้องให้อาหาร ซึ่งปลาที่เลี้ยงในนา คนจะชอบกินมากที่สุด เพราะเป็นปลาที่ไม่ได้ใช้หัวอาหารเลี้ยงสามารถจับมาขายได้อีก

“บางคนพูดว่าน้องก็พูดได้สิเพราะน้องเป็นมืออาชีพแล้ว แต่อยากให้มองย้อนกลับไปว่ากว่าเราจะผ่านจุดนั้นมาได้ ก็ผ่านการเป็นหนี้มาก่อน ก็ต้องสู้และศึกษาการตลาดควบคู่กันไปจนสามารถปลดหนี้ปลดสินได้จากการปลูกบัวนี่แหละ”

“ปลูกบัวขาย” อาชีพที่ไม่ควรมองข้าม
“ต้องบอกตรงๆ ว่าบัวเป็นพืชที่ไม่ควรมองข้าม เพราะได้พิสูจน์มากับตัวเองแล้วว่า บัวคือพืชที่ช่วยชีวิตครอบครัวแยม ช่วยปลดหนี้ ทำให้มีเงินซื้อที่ทำมาหากินเป็นของตัวเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับการจัดสรรรายได้ของแต่ละคนด้วย เพราะในแต่ละเดือนรายได้อย่างต่ำของแยมจะอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นบาท ถึง 1 แสนบาท ซึ่งอย่างที่บอกไปเบื้องต้นว่าสามารถทำขายได้หลายอย่าง ทั้งตัดดอก ขายต้นพันธุ์ หรือถ้าช่วงไหนราคาดอกถูกก็ขายไหลควบคู่กันไป โดยราคาต้นพันธุ์ของที่สวนจะทำขายเป็นชุด เริ่มตั้งแต่ชุดเล็กมี 20 ไหล ไว้สำหรับทดลองปลูก แต่ส่วนใหญ่ลูกค้าจะสั่งซื้อเป็นชุดใหญ่ครั้งละ 200-300 ไหล ราคาอยู่ที่ 1,800 บาท พื้นที่ 1 ไร่ หากต้องการปลูกแบบสบายๆ จะใช้ไหลประมาณ 100 ไหล แต่ถ้าต้องการปลูกแบบสวยงามให้ปลูกถี่ขึ้นมาก็จะใช้ไหลประมาณ 200 ไหลต่อไร่ สำหรับพนักงานออฟฟิศหรือท่านใดที่กำลังมองหาอาชีพเสริมก็สามารถโทร.เข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงเทคนิควิธีการปลูกกันได้” คุณแยม กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสนใจติดต่อซื้อต้นพันธุ์ไปปลูก สามารถติดต่อได้ เบอร์โทร. 099-630-0053 หรือติดต่อได้ที่เพจเฟซบุ๊ก : บัวชมพู เหมือนใจ

ดินแดนที่ขึ้นชื่อว่า “ฝนแล้ง แมลงกิน ดินไม่ดี ดินเค็ม” คือ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2.1 ล้านไร่ครอบคลุม 5 จังหวัด มีศรีสะเกษ ยโสธร สุรินทร์ มหาสารคามและจังหวัดร้อยเอ็ด มากที่สุดคือ 9.7 แสนไร่ ใน 4 อำเภอ คือ ปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย

ลำน้ำมูลไหลพาดผ่าน จากนครราชสีมา ลงสู่น้ำโขง ที่อำเภอโขงเจียม จ.อุบลราชธานี ลำน้ำสาขา ที่ไหลผ่าน มีลำน้ำเตา ลำน้ำเสียว ลำน้ำพลับพลา ช่วงระยะสั้น ไหลหลากลงสู่ลำน้ำมูล หน้าแล้งแห้งขอด ทุกรัฐบาลทุ่มเทกำลังลงสู้กับปัญหาภัยธรรมชาติ ฤดูฝนน้ำหลากท่วมทุ่ง ฤดูแล้งแห้งแล้งแสนสาหัส

นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับมอบหมายจากนายเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เร่งรัดนำโครงการของรัฐบาล พื้นที่ 1,107.042 ตร.กม. 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน พื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ 10 ตำบล 136 หมู่บ้าน นำโครงการเกษตรระบบแปลงใหญ่ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ ระบบการจัดการที่ดี สู่การตลาด ผ่าน ศพก.หรือศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่มีศูนย์เรียนรู้ ด้านดิน น้ำ ข้าว พืช สัตว์ ประมง แปรรูปผลผลิต บัญชีฟาร์ม การตลาดด้วยเกษตรดีที่เหมาะสม(GAP) หรือก้าวเข้าสู่การเกษตรอินทรีย์ และการน้อมนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สู่ครอบครัวเกษตรกร คือ “เกษตรทฤษฎีใหม่” มีความสำเร็จอย่างงดงาม

นายศักดา พิศเพ็ง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร หรือ เกษตรตำบลทุ่งหลวง ดินแดนอันไกลโพ้น ใจกลางท้องทุ่งกุลาร้องไห้ รอยต่ออำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ นำนายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทาง ไปถึงแปลงไร่นาสวนผสม เกษตรทฤษฎีใหม่ นาข้าว 14 ไร่ ของนายบุญถึง นาคแสง โทร.086-2187828 อายุ 74 ปี บ้านเลขที่ 95 ม.13 บ้านตาหยวก ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ ริมฝั่งลำน้ำพลับพลา เส้นแบ่งเขตแดนจังหวัดร้อยเอ็ด-จังหวัดสุรินทร์

นายบุญถึง มีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ให้การต้อนรับที่ “เถียงนา” ท่ามกลางอากาศที่ร้อนอบอ้าว พร้อมเล่าสู่ฟังและนำเดินข้ามคลองร่องสวน ขนาดกว้าง 1.20 เมตร ลึก 1.20 เมตร ความยาว 40 เมตร มีน้ำลึกประมาณ 1 เมตร เลี้ยงปลานิล ปลาตะเพียน 10,000 ตัว จำนวน 6 ร่อง สันร่องความกว้างประมาณ 4 เมตร ปลูกกล้วยหอมทอง ขอบร่อง 200 ต้น เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2559 อายุ 6-7เดือน ออกปลี เมื่อตัดปลี 2 เดือน ตัดกล้วยขายได้ การปลูก ขุดหลุมขนาด 50X50 ซ.ม. นำปุ๋ยคอกมูลโคที่เลี้ยงไว้ 4 ตัว จำนวน 1 ถุงปุ๋ยต่อ 2 หลุม ผสมคุกเคล้าให้เข้ากัน ตนเองขุดเองปลูกเอง กล้วยหอมทอง 1 เครือ 6-7 หวี ๆละ 60-80 บาท ที่ตนเองขายหน่อกล้วย 35 บาท/หน่อ 3 หน่อ 100 บาท

นายบุญถึง กล่าวว่า ตนเองทำงานกับภรรยา คือนางเอียน นาคแสง ลูกสาว 4 คน แต่งงานแล้ว ลูกชาย 2 คน แต่งงานแล้ว 1 คน เหลืออีก 1 คน อายุ 37 ปี พอช่วยงานได้บ้าง พื้นที่ว่างระหว่างต้นกล้วย ตนเองปลูกพืชผัก ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ มะละกอ 150 ต้น ข้าวโพดขอบบ่อ 300 ต้น ปลูกหญ้ากินนีสีม่วง รอบสวนไว้ให้ควายกิน ปลูกเผือกหอม 5 ร่อง…ขายได้เงินร่องละ 2,000 บาท ปลูกมะเขือเทศในร่องสวน 70 วันเก็บขาย 2 เดือน ได้เงินกว่า 5,000 บาท ในแล้งที่ผ่านมา

นายวัยวุฒิ อาศรัยผล นายอำเภอสุวรรณภูมิ กล่าวว่า คณะกรรมการนระดับอำเภอมีหัวหน้าส่วนราชการทุกส่วน ดำเนินกิจกรรที่ดีๆเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ มี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นแม่งาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ ทุ่งกุลาร้องไห้ เดินหน้าประเทศไทยด้วย เกษตรทฤษฎีใหม่ ประสบความสำเร็จเพราะเกษตรกรมีความขยันอย่างฉลาด ปราศจาคอบายมุข เป็นคนมีคุณธรรม กำลังขับเคลื่อน ให้ครบ 199 หมู่บ้าน ให้เกษตรกรกินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมดเกษตรกรมีความสุข คือเป้าหมายสูงสุดของ “ข้าราชการ” เพื่อชาวอำเภอสุวรรณภูมิ ครับ

คุณวิศิษฐ์ แสนบัวโพธิ์ อายุ 36 ปี หรือ คุณโมค ลูกชายพ่อพัด แม่พันปี แสนบัวโพธิ์ เปิดสวนพื้นที่ 14 ไร่ ให้สื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชม พื้นที่ตั้งแต่ปากทางเข้าอำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด ติดถนนสายหลัก ประมาณ 100 เมตร ซ้ายมือมองเห็นหอถังน้ำเพื่อการเกษตร นั่นแหละใช่เลย จบการศึกษาปริญญาตรี เทคโนโลยีอาหาร จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ ที่อยู่ปัจจุบัน เลขที่ 5 หมู่ที่ 7 บ้านบัวทอง ตำบลบัวคำ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร. (088) 772-1448

แต่งงานแล้ว กับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุวธิดา ชาปัญญา คุณวิศิษฐ์เป็นคนน่ารัก เอื้ออาทร อารมณ์ดี พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อกรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายเรื่อง Young smart farmer (YSF.) เกษตรกรคนรุ่นใหม่ ตนเองได้รับการสนับสนุนจาก คุณเรืองศักดิ์ ถนอมสิทธิ์ เกษตรอำเภอโพธิ์ชัย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรหรือเกษตรตำบล โดยเฉพาะ ท่านประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ให้ความสำคัญเรื่อง YSF. “การเริ่มต้นที่ดีเท่ากับสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง” เป็นเกษตรกรคนรุ่นใหม่ต้องมีการวางแผนที่ดี แผนระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว เช่น ตนเองปลูกป่า 2-2-0 ไร่ ปลูกต้นไม้ยางนา ชิงชัน เต็ง รัง ต้นกุง ต้นพันชาติ สักทอง รายได้ต้องเกิดตั้งแต่ระยะ 20 วัน 45 วัน 90 วัน หรือ 4 เดือน 6 เดือน และจนกว่าไม้ป่าที่กล่าวมาจะคลุมพื้นที่ เราต้องหาไม้ “แซม” ผักบุ้งอายุ 15-25 วัน เก็บขายได้ มะเขือ พริก 50-90 วัน พืชผักอื่นๆ เช่น ตะไคร้ หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย น้อยหน่า มะละกอ แตงไทย บวบ มันเทศ พื้นที่ชุ่มชื้น มีปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในดิน ไม้ป่าเจริญเติบโตเร็วมาก มีการหาเชื้อเห็ดป่ามาเพาะในสวนป่า นั้นคืออนาคตของป่าส่วนตัว และเป็นบำนาญให้เกษตรกรในวันข้างหน้า ปัจจุบันต้นไม้ป่าอายุ 1 ปีครึ่งเท่านั้น โตเร็วมากๆ

คุณวิศิษฐ์เดินนำหน้าพร้อมเล่าให้ฟัง เป็นนายแบบถ่ายภาพไปด้วย พบมะละกอสุกในสวนเก็บโชว์ด้วย บอกว่า แล้งที่ผ่านมาได้เงินกว่าหมื่นบาท เฉพาะมะละกอ กล้วย ขายทั้งกล้วยสุก กล้วยดิบ ใบตองกล้วย แปลงไม้ผล มีมะม่วง ลำไย พุทรา เงาะ แบบผสมผสาน พื้นที่ 2-2-0 ไร่ มันเบอร์รี่ 1-0-0 ไร่ เสาวรส 1-0-0 ไร่ พื้นที่กันไว้ปลูกพืชหมุนเวียนประมาณ 4-0-0 ไร่ แตงโม หน่อไม้ฝรั่ง พริก มะเขือเปราะ มะเขือยาว

คุณวิศิษฐ์ บอกว่า พืชทำเงินคือ “หญ้า” พันธุ์ปากช่อง 1 ขายต้นละ 1 บาท เนเปียร์แคระ ต้นละ 1 บาท หญ้าหวานอิสราเอล ต้นละ 2 บาท ผลิตปีละ 1 ล้านต้น ภายใน 1 ปี 4-5 รุ่น ต่อปี ตัดชิดดิน เกิดขึ้นมาใหม่ภายใน 45-60 วัน เรียกว่า เงินงอกจากดินได้ทั้งปี วางแผนปลูกให้ดี ช่วงก่อนเก็บเกี่ยวข้าวหญ้าธรรมชาติเริ่มหมด เป็นช่วงทำเงิน อีกช่วงคือ ปลูกพืชหลังนาชาวนาไถกลบตอซังข้าว “หญ้าไม่มี” เป็นโอกาสทำเงินของคุณวิศิษฐ์ แต่มีข้อจำกัดคือ ฤดูหนาวหญ้าจะออกดอก แต่ต้องทำให้ได้เงินรอเราอยู่ข้างหน้า

“กับลูกค้าเราคือ ชาวปศุสัตว์ทั้งหลาย มีเงินเข้าไร่นาสวนผสม YSF ทุกวัน แรงงานไม่จ้างประจำ ไม่จ้างทั้งวัน 3 ชั่วโมง 120 บาท ได้งานมาก คนงานไม่เหนื่อย ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องเลี้ยงข้าวปลาอาหาร มาทำงาน 06.00-09.00 น. ตัดหญ้ามัดหญ้ากลับบ้าน หากมีความจำเป็นจ้างชุดต่อไป ใส่ปุ๋ย 09.00-12.00 น. ช่วงบ่ายอากาศร้อนก็พัก ขายหญ้าได้ 2,000-3,000 บาท จ่ายค่าแรงงาน 4 คน 480 บาท บ่ายขายพืชผัก กล้วย มะละกอ มีรายได้ทุกวัน ผมมีความสุขมากๆ ครับ กับการทำงานเกษตรกรรม ไปทำงานกรุงเทพฯ ตื่นเช้าๆ โหนรถเมล์เข้าทำงานตรงเวลา นานๆ ได้โอที เดือนละ 15,000-20,000 บาท เป็นลูกน้องเขา…อีสานเรียกว่า แหล่งเขา…กลับมาเป็นนายตนเองดีกว่า ใครว่าเกษตรกรทำแล้วไม่รวย มันอยู่ที่สมองครับ” คุณวิศิษฐ์ บอก

วันข้างหน้า จะจัดเป็น “ศูนย์เรียนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก.” มีอาคารฝึกอบรม ที่พักผ่อน ขอบคุณรัฐบาลที่จัดโครงการดีๆ Young smart farmer (YSF.) ส่วนใหญ่ไม่ได้จบทางการเกษตรมา บางคนจบพาณิชย์ การตลาด บางคนจบวิศวะ คุณวิศิษฐ์จบด้านอาหาร

ความสำเร็จอยู่ที่ความตั้งใจความขยันหมั่นเพียร Royal Online คุณวิศิษฐ์บอกยินดีต้อนรับทุกท่าน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ได้ส่งเสริมและผลักดันให้เกษตรกรและประชาชน มีการทำบัญชีรับ-จ่ายในครัวเรือนมาอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างครูบัญชีอาสาหรือ“อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี” ซึ่งเป็นบุคลากรสำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ในการเป็นวิทยากร วิทยากรผู้ช่วย เพื่อสอนแนะ กระตุ้นการเรียนรู้ และติดตามผลการทำบัญชีของเกษตรกร รวมถึงการสร้างเครือข่ายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรในชุมชนของตนและพื้นที่ต่างๆ ในจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการทำงานเป็นเครือข่ายร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และครูบัญชี ได้ช่วยเสริมสร้างให้เกษตรกรได้ใช้บัญชีไปใช้วิเคราะห์ต้นทุนการประกอบอาชีพ เพื่อวางแผนธุรกิจในครัวเรือนของตนได้

คุณขนิษฐา มะโนสมบัติ หรือ ครูรุ่ง อายุ 46 ปี ครูบัญชีดีเด่น รองชนะเลิศอันดับ 2 ประจำปี 2558 จากจังหวัดเชียงราย นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ดีของครูบัญชีที่น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาใช้แก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพ โดยนำระบบบัญชีมาใช้เป็นเครื่องมือให้เข้าถึงแก่นแท้ของความพอเพียง และวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีบริหารจัดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ บนพื้นที่พักอาศัยจำนวน 53 ตารางวา ผลิตอาหารปลอดภัยที่มั่นคงในครัวเรือนและขยายผลเป็นแนวทางในการสร้างแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนเกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรม

ครูรุ่ง เล่าถึงความเป็นมาก่อนจะมาเป็นครูบัญชีอาสาว่า เริ่มจากการเป็นแม่บ้านที่ต้องเลี้ยงลูกตามลำพังถึง 3 คน โดยอาศัยรายได้จากสามีที่ทำงานส่งมาให้จากต่างประเทศ มาใช้จ่ายจุนเจือครอบครัว แต่เพราะไม่เคยวางแผนบริหารจัดการทางการเงิน ประกอบกับการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย ติดการพนัน ทำให้มีเงินไม่เพียงพอ เลี้ยงดูครอบครัว ต้องไปยืมเงินจากชาวบ้าน จนไม่มีใครยอมรับ ขาดที่พึ่ง และเริ่มเจ็บป่วยสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง ป่วยทางจิตเป็นโรคเครียด มีอาการซึมเศร้า ทำร้ายลูกเป็นประจำทุกวัน และต้องเข้ารับการรักษาตัวจากหมอจิตเวช

ในช่วงวิกฤตของชีวิตนี้ ครูรุ่งได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของ ครูบุญเป็ง จันต๊ะภา ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้มีภูมิรู้ด้านเกษตรพอเพียงและการทำเกษตรผสมผสาน ซึ่งยังเป็นอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี ของสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เชียงรายอีกด้วย ซึ่งในศูนย์เรียนรู้ฯนี้ ทำให้ครูรุ่งได้เรียนรู้การนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตโดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตและรู้จักการจดบันทึกบัญชี เพื่อนำมาวิเคราะห์และวางแผนการใช้จ่ายเงินในครอบครัวและในการประกอบอาชีพ