เบทาโกรมอบผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยง บรรเทาความเดือดร้อน

ผู้ประสบอุทกภัย บริษัท เพ็ท โฟกัส จำกัด ในเครือเบทาโกร มอบอาหารสุนัขด็อก เอ็นจอย (DOG’njoy) และ อาหารแมวแค็ท เอ็นจอย (CAT’njoy) ให้กับกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ สำหรับนำไปแจกจ่ายเพื่อแบ่งเบาภาระการดูแลสัตว์เลี้ยงให้กับผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ณ กรมปศุสัตว์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

“โอฬาร” แนะตั้งเขตอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร-ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอีอีซี เหตุ 3 เมืองมีผลไม้เยอะ ต่างชาติชอบ ด้าน สศอ.หารือ “สศช.-ซีพี” ร่วมปั้นเอ็มพีไอใหม่ พร้อมดึงข้อมูลพลังงาน-น้ำประกอบด้วย

นายโอฬาร ไชยประวัติ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง อดีตรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการเสวนาเรื่อง “ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย เพื่อก้าวเข้าสู่ประเทศไทย 4.0” จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรม (สศอ.) ว่า นโยบายประเทศไทย 4.0 โดยมีโครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นตัวเชื่อมโยงนั้น เป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้ว เป็นการต่อยอดจากอีสเทิร์นซีบอร์ดซึ่งเป็นฐานการผลิตหลักของอุตสาหกรรมประเทศ และยังมีการกำหนด 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายประเทศ (เอสเคิร์ฟ) แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ารัฐบาลอาจมุ่งเน้นอุตสาหกรรมหลัก และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากเกินไป อยากให้ทบทวนแนวทางสนับสนุนอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพให้เข้มข้นขึ้นกว่านี้ อาจประกาศเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเพิ่มจากปัจจุบันที่มีเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมจะเน้นพื้นที่ลงทุนอุตสาหกรรมเป็นหลัก

“การที่ให้สนับสนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวเพราะ 3 จังหวัดอีอีซี คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา มีศักยภาพ ทั้งความเป็นเมืองผลไม้ เมืองท่องเที่ยว และปัจจุบันมีนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีน รัสเซีย ที่มีกำลังซื้อสูง เข้ามาเที่ยวพร้อมกับบริโภคผลไม้ สินค้าเกษตรของไทย ขณะเดียวกัน ก็มีการนำผลไม้ของไทยไปบริโภคต่างประเทศ นอกจากนี้ ในด้านสุขภาพทั้งการรักษาโรค ศูนย์สุขภาพและความงาม ก็เป็นกลุ่มที่มูลค่าสูง และสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวได้ ดังนั้น การยกระดับทั้ง 2 อุตสาหกรรมจึงเป็นเรื่องจำเป็น มั่นใจว่าจะทำให้อีอีซีมีการพัฒนาและประสบความสำเร็จ” นายโอฬาร กล่าว

นายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม สศอ.ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง จัดเสวนารับฟังความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เพื่อประกอบการพิจารณาดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) ฐานใหม่ที่ครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ขณะเดียวกัน จะเร่งหารือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบปิโตรเลียม อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หน่วยงานรับผิดชอบน้ำ อาทิ กรมชลประทาน เพื่อดึงข้อประมูลมาประกอบการพิจารณาให้ครอบคลุมและแม่นยำขึ้น หลังจากที่ผ่านได้ทำข้อตกลงและเปลี่ยนข้อมูลกับ 3 การไฟฟ้าของประเทศ คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

“นอกจากนี้ เอ็มพีไอใหม่จะบรรจุผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 กลุ่ม หรือเอสเคิร์ฟ เข้ามาคำนวณเอ็มพีไอ เบื้องต้นได้มีการนำผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องมือแพทย์ เข้ามาคำนวณเอ็มพีไอแล้ว หลังจากนี้ จะขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อใช้คำนวณเอ็มพีไอในภาพรวมต่อไป คาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปี 2562 นี้” นายวีระศักดิ์ กล่าว

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมชี้แจงโครงการเชื่อมโยงตลาดสินค้าข้าวอินทรีย์ และข้าวจีเอพีครบวงจร ณ จังหวัดอุบลราชธานี ว่า ได้ประชุมร่วมกับ

ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์ เกษตรจังหวัด และพาณิชย์จังหวัด จาก 6 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ ยโสธร และบุรีรัมย์ เพื่อเชื่อมโยงตลาดรองรับผลผลิตข้าวอินทรีย์ของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจีเอพี ของโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) เพื่อให้เกษตรกรสามารถขายข้าวซึ่งอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์ ข้าวที่ได้การรับรองมาตรฐานออร์แกนิคไทยแลนด์ และข้าวจีเอพี ได้ในราคาสูงขึ้นสอดคล้องกับคุณภาพ โดยมีเป้าหมายให้ปีการผลิต 2560-2564 เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ได้ไม่น้อยกว่า 594,000 ตัน และข้าวเปลือกจีเอพีของโครงการนาแปลงใหญ่ ไม่น้อยกว่า 10.30 ล้านตัน

“จะมีการจับคู่กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์และข้าวจีเอพี กับผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการ และลงนามทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) ซื้อขายผลผลิตข้าวจากโครงการ ซึ่งผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการ สามารถไปขอสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟต์โลน) จากธนาคารที่ร่วมโครงการ โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 3% ต่อปี และธนาคารอาจสมทบชดเชยดอกเบี้ย 1% ต่อปี ขณะที่ผู้ประกอบการค้าข้าวอินทรีย์ จะได้รับการชดเชยดอกเบี้ยระยะเวลา 3 ปี ส่วนผู้ประกอบการค้าข้าวจีเอพี ได้รับการชดเชยดอกเบี้ยระยะเวลา 1 ปี” นางสาวชุติมา กล่าวและว่า

ทั้งนี้ ภายในปีการผลิต 2564 ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตข้าวคุณภาพของอาเซียน นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า จากเป้าหมายปี 2561 ที่รัฐบาลจะประกาศให้เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย โดยหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การกระจายรายได้ภาคการท่องเที่ยวสู่เมืองรอง และชุมชนมากขึ้น ผ่านการนำเมนูอาหารท้องถิ่นในแต่ละชุมชนมาพัฒนาต่อยอด เพิ่มมูลค่าอาหารสูงขึ้น โดยนำเชฟชุมพล หรือนายชุมพล แจ้งไพร ผู้เชี่ยวชาญเมนูอาหารไทย มาช่วยในการนำเสนอไอเดียเมนูอาหารแต่ละชุมชน ใน 30 ชุมชนแรกที่กระทรวงการท่องเที่ยวฯ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะเข้าไปช่วยส่งเสริมทำการตลาด และต่อยอดเมนูอาหารถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม่น้อยกว่า 5% จากรายได้ปัจจุบัน

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า นอกจากนี้ เดือนพฤศจิกายน ในช่วงที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน แอร์ เรซ วัน เวิลด์ คัพ ไทยแลนด์ 2017 ที่สนามบินอู่ตะเภา ซึ่งแอร์เรซวัน ถือเป็นกีฬามอเตอร์สปอร์ตที่ได้รับความนิยมในระดับโลก มีทั้งนักกีฬา ทีมสนับสนุนและผู้ชมการแข่งขันจากต่างประเทศเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ถือเป็นการกระจายรายได้และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้เป็นอย่างดี โดยกระทรวงจะใช้โอกาสนี้ จัดทำแพคเกจท่องเที่ยว สำหรับเส้นทางท่องเที่ยว 4 จังหวัดภาคตะวันออก คือ ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด เพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มที่ติดตามการแข่งขัน รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน

“คาดว่าในช่วงการแข่งขันแอร์เรซ วัน จะมีนักท่องเที่ยว รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้ามาในไทยไม่ต่ำกว่า 1 แสนคน จึงต้องทำแพคเกจจูงใจเพิ่มทางเลือกให้นักท่องเที่ยวพักนานขึ้นเป็น 1 สัปดาห์ จากปกติจะเฉลี่ยเพียง 3 คืนต่อการเข้ามาชมการแข่งขันแต่ละครั้ง ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายกระจายไปยังแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีเงินสะพัดช่วงการแข่งขัน 3 วัน ไม่ต่ำกว่า 400 ล้านบาท นอกจากนี้ ไทยยังจะเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโมโตจีพีเป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2561-2563 โดยการแข่งขันปีแรก จะจัดสัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม 2561 คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ภาคท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท และกระทรวงจะเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมใหญ่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ” นางกอบกาญจน์ กล่าว

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รุดลงพื้นที่ในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เพื่อพบปะเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยจากพายุเซินกา เมื่อวันที่ 29 ก.ค.60 ที่ผ่านมา พร้อมมอบรองเท้าบูทซึ่งผลิตจากยางพาราให้แก่ผู้นำเกษตรกรชาวสวนยาง และถุงยังชีพช่วยเหลือให้แก่สมาชิกเกษตรกรชาวสวนยางกลุ่มสว่างแดนดินเบื้องต้นจำนวน 100 ถุง

นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ กล่าวว่า กยท. ได้เร่งลงพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดทางภาคอีสานที่มีพื้นที่ปลูกยางประมาณ 300,000 ไร่ เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบอุทกภัยจากพายุเซินกาซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ครอบครัวที่ประกอบอาชีพการทำสวนยางหลายครัวเรือน โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นพื้นที่ ปลูกยางที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดในจังหวัด ประมาณ 900 ไร่ ทั้งนี้ ในเบื้องต้น กยท. ได้มอบรองเท้าบูทซึ่งผลิตจากยางพาราให้แก่ผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางทำสวนยางสว่างแดนดิน และถุงยังชีพอีกจำนวน 100 ถุง ให้แก่เกษตรกรสมาชิกกลุ่มสวนยางพาราสว่างแดนดินผู้ประสบภัย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรในเบื้องต้น

น.สพ.สรวิศ ธานีโต รองอธิบดี กรมปศุสัตว์ ในฐานะโฆษกกรมปศุสัตว์ มอบป้ายมาตรฐานปศุสัตว์ OK แก่ 109 เถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน : CP Pork Shop ในโครงการ “9 จังหวัด 109 เถ้าแก่เล็ก สู่ก้าวใหม่ใส่ใจผู้บริโภค ด้วยมาตรฐานปศุสัตว์ OK” ที่มุ่งผลักดันผู้ประกอบการรายย่อยร่วมกันดำเนินการตามนโยบายของกรมปศุสัตว์ ในการยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

น.สพ.สรวิศ ธานีโต เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดนโยบายให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่ความยั่งยืน เพื่อดูแลและปกป้องสุขภาพคนไทย ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้เร่งดำเนินโครงการอาหารปลอดภัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเนื้อสัตว์ปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค หรือ ปศุสัตว์ OK ที่เพิ่มมาตรการตรวจสอบย้อนกลับตลอดกระบวนการผลิตของเนื้อสัตว์ เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้การรับรอง ปศุสัตว์ OK เนื้อสัตว์ต้องมาจากฟาร์มที่ได้รับรองฟาร์มมาตรฐาน (GAP) ผ่านโรงฆ่าที่ถูกต้องตามกฎหมายและถูกสุขลักษณะ และจำหน่ายในร้านที่ถูกสุขลักษณะ เพื่อเป็นหลักประกันความมั่นใจว่าสินค้าในสถานที่จำหน่ายดังกล่าวมีกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพมาตรฐาน สด สะอาด ปลอดภัย ด้วย ปลอดสารเร่งเนื้อแดง และปลอดภัยจากยาปฏิชีวนะ

น.สพ.สรวิศ กล่าวว่า ปัจจุบันโครงการปศุสัตว์ OK ขยายสู่ผู้ประกอบการกว่า 3,000 รายทั่วประเทศ ทั้งร้านจำหน่ายเนื้อหมูขนาดใหญ่-Meat shop ห้าง Modern trade ร้านค้าในตลาดสด โดยเฉพาะร้านจำหน่ายเนื้อหมูในลักษณะตู้หมูชุมชนที่เร่งดำเนินการขอการรับรองมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง คาดว่าโครงการจะบรรลุเป้าหมาย 4,000 แห่ง ภายในปีนี้ โดยกรมฯยังคงสนับสนุนให้ร้านค้าจัดเก็บผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่ายในตู้แช่เย็น เพื่อคงคุณภาพของเนื้อสัตว์ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค เพื่อสร้างความมั่นใจได้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารปลอดภัย

“กรมฯจะมีการสุ่มตรวจผู้ประกอบการที่ได้การรับรองมาตรฐานปีละ 1 ครั้ง โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อติดตามและตรวจสอบผู้ประกอบการมีการรักษามาตรฐานตลอดอายุการรับรอง” น.สพ.สรวิศ กล่าว

นอกจากกรมปศุสัตว์ได้ขยายการรับรองเนื้อสัตว์ ในโครงการ “9 จังหวัด 109 เถ้าแก่เล็ก ก้าวใหม่ ใส่ใจผู้บริโภคด้วยมาตรฐานปสุสัตว์ OK” พร้อมขยายการรับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าปศุสัตว์แก่ผู้ประกอบการรายย่อยตู้หมูชุมชนที่กระจายไปยังหมู่บ้านต่างๆในพื้นที่ห่างไกลแล้ว ปัจจุบันยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการทั่วไปอีกหลายราย ที่แสดงเจตจำนงเข้าร่วมโครงการ ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ยังคงเดินหน้าแผนขยายขอบข่ายการรับรองไปยังสินค้าอื่นๆ อาทิ ไข่สด เพื่อให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีโอกาสเข้าถึงสินค้าปศุสัตว์ที่ได้มาตรฐานอาหารปลอดภัยที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองให้มากที่สุด

โครงการดังกล่าว ริเริ่มขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายกรมปศุสัตว์ที่มุ่งเน้นขยายผลโครงการนี้ให้กระจายไปทั่วประเทศ เพื่อส่งต่ออาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคของทุกพื้นที่ ได้แก่ ปศุสัตว์จังหวัดในภาคอีสานตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด และมุกดาหาร

ด้าน นายสืบศักดิ์ ศรีสุข เถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า ตนเองและเพื่อนๆเถ้าแก่เล็กฯ ทั้ง 109 ราย ที่ร่วมโครงการ ได้เรียนรู้ทั้งเรื่องเทคนิคการขายและการบริหารร้านค้าปลีก และความรู้เรื่องร้านจำหน่ายสุกรปลอดภัยตามมาตรฐานปศุสัตว์ OK เพื่อให้มีพื้นฐานที่ดีในการก้าวสู่การเป็นเถ้าแก่เล็กมืออาชีพที่สามารถส่งต่อเนื้อหมูปลอดสาร อาหารปลอดภัยถึงมือผู้บริโภคต่อไป

“ขอขอบคุณกรมปศุสัตว์ที่มีนโยบายยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรสู่ความยั่งยืน และเปิดโอกาสให้เถ้าแก่เล็กตู้หมูชุมชนทุกคนได้ร่วมโครงการดีๆเช่นนี้ โครงการนี้เป็นการตอกย้ำว่าทุกภาคส่วนได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยในอาหารและสุขภาพของผู้บริโภคอย่างแท้จริง” นายสืบศักดิ์ กล่าว

ส่วน นางสาวปฎิมา ทั่วสูงเนิน ตัวแทนเถ้าแก่เล็กเนื้อหมูตู้เย็นชุมชน จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ตนเองร่วมโครงการเถ้าแก่เล็ก CP Pork Shop เนื่องจากเป็นโครงการที่ซีพีเอฟมุ่งสร้างอาชีพและรายได้ให้ผู้ประกอบการรายย่อยทั่วไป ซึ่งนอกจากจะทำให้ชาวชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากตลาดได้มีกิจการเป็นของตนเองและมีรายได้ที่มั่นคง ได้ทำงานอยู่กับบ้านและครอบครัวแล้ว ยังได้ห่วงโซ่สำคัญในการส่งมอบเนื้อสุกรที่ปลอดภัยให้กับคนในชุมชนของตนเอง ที่สำคัญการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนให้เถ้าแก่เล็กได้ร่วมกันยกระดับมาตรฐานในโครงการปศุสัตว์ OK ยิ่งทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์และช่วยสร้างยอดขายเพิ่มขึ้น

“เถ้าแก่เล็กทุกคนมีความยินดีมากที่ได้มีส่วนร่วมในโครงการปศุสัตว์ OK พวกเรารู้สึกภูมิใจมากที่สามารถผ่านการรับรองมาตรฐานของกรมปศุสัตว์ ที่นอกจากจะทำให้ลูกค้ามั่นใจว่าเนื้อหมูที่เราขายมีคุณภาพแล้ว ตัวผู้ขายเองก็มั่นใจยิ่งขึ้นว่าเนื้อหมูที่เราขายนั้นสด สะอาด ปลอดภัย เนื่องจากเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะตรวจสอบทั้งที่ร้าน และตรวจสอบย้อนกลับไปที่บริษัทว่าผ่านกระบวนการชำแหละและการเลี้ยงสุกรที่ได้มาตรฐาน นำไปสู่การบริโภคอาหารปลอดภัยอย่างแท้จริง” นางสาวปฎิมา กล่าว

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจับคู่ธุรกิจยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางเพื่อเร่งรัดการส่งออก เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ในครั้งนี้ได้มีผู้นําเข้ารวม 106 บริษัท จาก 27 ประเทศ และผู้ส่งออกไทยรวม 91 ราย เปิดการเจรจาซื้อขาย ปรากฏว่าปริมาณสั่งซื้อยางพาราธรรมชาติ (ยางแผ่น ยางแท่ง น้ำยางข้น และยางคอมพาวด์) รวม 442,740 ตัน กําหนดส่งมอบภายใน 1 ปี คิดเป็นมูลค่าสั่งซื้อ 24,350.7 ล้านบาท (คํานวณด้วยราคายาง ณ วันที่ 2 สิงหาคม ราคา 55 บาท/กก.) สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้ที่จํานวน 300,000 ตัน มูลค่า 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ยาง (ล้อยาง และถุงมือยาง) คิดเป็นมูลค่ารวม 61.21 ล้านเหรียญ (หรือ 2,081.14 ล้านบาท) ทั้งนี้ เมื่อรวมเป็นมูลค่าสั่งซื้อภายในงาน จำนวน 26,431.14 ล้านบาท กำหนดส่งมอบภายใน 1 ปี โดยเป็นการสั่งซื้อจากผู้นำเข้าจากประเทศจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี ตุรกี ซาอุดีอาระเบีย เป็นต้น

กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯผนึกกำลัง 10 กระทรวงกับอีก 7 ประเทศ จัดงานมหกรรมวิทย์ประจำปี 2560 นำเสนอสุดยอดเทคโนโลยี พบทางเลือกใหม่วินมอเตอร์ไซค์-นิทรรศการสารพัดพิษ แปลงพิษเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ-ชวนจับตาภารกิจสำคัญ ฉากสุดท้ายของยานแคสสินี วีรบุรุษแห่งดาวเสาร์

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในการแถลงข่าวความพร้อมการจัดงาน “มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2560” ภายใต้แนวคิด “จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เสริมสร้างชาติด้วยเทคโนโลยี สู่วิถีแห่งนวัตกรรม” จัดที่ ฮอลล์ 2-8 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 17-27 สิงหาคม ในปีนี้ เป็นการผนึกกำลังร่วมกันของ 10 กระทรวง มากกว่า 100 หน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างประเทศอีก 7 ประเทศ 16 หน่วยงาน เข้าร่วมจัดกิจกรรมแสดงความก้าวหน้าและเทคโนโลยี ได้แก่ ญี่ปุ่น 9 หน่วยงาน สหรัฐอเมริกา 2 หน่วยงาน สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์ เพื่อกระตุ้นความสนใจแก่นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และประชาชนทั่วไป

นางอรรชกา กล่าวว่า นิทรรศการหลักนำมาเสนอ อาทิ นิทรรศการนวัตกรรมพลังงาน พบกับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ทางเลือกใหม่ของวินมอเตอร์ไซค์ นิทรรศการท่องเที่ยวยั่งยืน สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวเมืองไทยกับภาพยนตร์ในรูปแบบ 4D Simulator และเทคนิค 4D Effect สมจริงสนุกสนานที่ทุกคนรอคอย…โดยจะมียายพิกุล และหลานบุญมา สองช้างยายหลานที่อาสาพาผู้ชมไปชื่นชมกับความสมบูรณ์และคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติการท่องเที่ยวไทยผ่านมุมมองใหม่ที่จะสนับสนุนให้การท่องเที่ยวยั่งยืนต่อไป พร้อมเรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วมากขึ้น เพื่อเป็นการรองรับประชากรโลกที่คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในปี ค.ศ. 2050 ชม Smart Farmer’s House ระบบการเกษตรแม่นยำสูง แนวทางการทำการเกษตรแนวตั้ง เกษตรครัวเรือน ชมนวัตกรรมด้านอาหารที่ทำให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลก เป็นต้น

“พบกับนิทรรศการ Miracle of Science : สารพัดพิษ ที่นำเสนอในรูปแบบ Fantasy ดินแดนสารพัดพิษที่ปกคลุมด้วยไอหมอกแห่งความลึกลับกับเหล่าพืชพิษและสัตว์พิษที่ซ่อนเร้น และแฝงด้วยอันตรายในทุกย่างก้าว มาเรียนรู้เรื่องพิษที่มีโทษต่อมนุษย์ ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้พิษเหล่านั้นมาสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์ได้ในคราวเดียวกัน สนุกสนานกับละครและนิทานหรรษานานาพิษ ชมสัตว์ พืช แมลง ดอกไม้พิษชนิดต่างๆ และรู้จักว่าพิษของมันมาจากไหน” รัฐมนตรี วท.กล่าว

รศ.นพ. สรนิต ศิลธรรม ปลัด วท.กล่าวว่า hannaheloge.com นอกจากนิทรรศการหลักแล้ว ยังมีนิทรรศการและกิจกรรมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนอีกมากมายที่มาร่วมกันนำเสนอ อาทิ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) นำเสนอตัวอย่างนิทรรศการ ชวนท่องอาณาจักรดาวเสาร์ จับตาภารกิจสำคัญ ฉากสุดท้ายของยานแคสสินี : วีรบุรุษแห่งดาวเสาร์ ซึ่งจะโคจรเข้าสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์ในวันที่ 15 กันยายน 2560 เพื่อเผาไหม้ตัวเอง พร้อมกับปิดฉากภารกิจการสำรวจของยานลำนี้อย่างสมบูรณ์

สถานการณ์น้ำท่วมหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคอีสานรอบล่าสุด จากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินกา

นอกจะสร้างความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจ พื้นที่การเกษตร และบ้านเรือนประชาชน เรื่องของ “โรค-ภัย” ที่มากับน้ำเป็นสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ “นพ. ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร” ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา (สคร.9 นครราชสีมา) ระบุว่าในช่วงที่มีสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ในภาคอีสานตอนบน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและอากาศ มีความเสี่ยงเกิดโรคและภัยสุขภาพตามมา ประกอบด้วย

1. โรคไข้หวัดใหญ่ ในเขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดบุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา สุรินทร์ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-22 กรกฎาคม 2560 มีผู้ป่วย 3,731 ราย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย โรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในขณะนี้เป็นช่วงเปิดเทอมของนักศึกษาหลายสถาบัน มักมีกิจกรรมที่คนมาอยู่รวมกัน จึงมีความเสี่ยงระบาดในสถานศึกษา

2. โรคเลปโตสไปโรซิส หรือโรคฉี่หนู การลุยน้ำสกปรกในช่วงน้ำท่วม ในขณะที่ร่างกายมีบาดแผล พบผู้ป่วยจำนวน 153 ราย มีผู้เสียชีวิต 7 ราย ควรปฏิบัติตัวเมื่อระดับน้ำลดและสำรวจสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยแล้ว ดังนี้ สวมรองเท้า หรือรองเท้าบูต

หากต้องลุยน้ำ หรือเดินบนที่ชื้นแฉะ เมื่อเสร็จภารกิจต้องรีบอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด สวมถุงมือยางในการเก็บกวาดบ้านเรือน ถนนและสิ่งสาธารณประโยชน์ เก็บกวาดขยะไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนูและสัตว์อื่น หากมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อโดยเฉพาะน่องและโคนขา ควรรีบพบแพทย์

3. โรคตาแดง พบผู้ป่วย จำนวน 6,201 ราย เมื่อมีน้ำสกปรกเข้าตาควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที ควรพบแพทย์เพื่อรับยาหยอดตา หมั่นล้างมือด้วยน้ำสะอาด อย่าให้แมลงตอมตา ผู้ป่วยควรนอนแยกจากคนอื่นๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน

4. โรคอุจจาระร่วง เมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม ทำให้ขาดแคลนน้ำสะอาด ทั้งน้ำดื่มและน้ำสำหรับบริโภค โดยเฉพาะในศูนย์พักพิงที่มีผู้มาอาศัยรวมกันจำนวนมาก ทำให้ขาดน้ำสะอาดสำหรับชำระร่างกายและล้างมือ อีกทั้งน้ำที่ไม่สะอาดทำให้เกิดการปนเปื้อน พบผู้ป่วยจำนวน 60,321 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต การกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารที่ปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารที่ทิ้งค้างคืนโดยไม่ได้แช่เย็นและไม่ได้อุ่นให้สุกก่อนรับประทาน อาหารที่นำไปบริจาคผู้ประสบภัยที่ทำไว้เกิน 4 ชั่วโมง แต่สามารถป้องกันได้โดยล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ก่อนรับประทานอาหาร และหลังขับถ่าย เลือกกินอาหารที่สะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ หรืออุ่นให้ร้อน เก็บอาหารไม่ให้แมลงรบกวน