เปลี่ยนนาข้าว หันทำสวนมะพร้าวน้ำหอม ทำเงินมากกว่าที่คิด

วิกฤตชาวนา”ยิ่งทำ ยิ่งจน” จากปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ธรรมชาติลงโทษ ชาวนาหลายชีวิตต้องทิ้งที่นา ปล่อยให้ที่นารกร้างว่าเปล่า ดิ้นรนเข้าเมืองทำงานรับจ้างแทน “สุเทพ ชูศรี” วัย 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 3 ต.โรง อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา พลิกผืนนาจำนวน 30 ไร่ เกษตรกรคนหนึ่งที่ประสบปัญหา หาทางออกด้วยการพลิกผืนดินนาข้าว 30 ไร่ เปลี่ยนอาชีพมาทำสวนมะพร้าวน้ำหอม จนประสบความสำเร็จ ด้วยการเพิ่มเทคนิคทำเป็นมะพร้าวโนบรา สร้างมูลค่าเพิ่มขายลูกละ50 บาท ฮิตติดตลาดเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ส่งขายในตลาดทั่วไปและห้างดัง

“สุเทพ”จากที่เคยทำนาข้าวมายาวนาน รายได้พออยู่พอกิน ชักหน้าพอถึงหลัง แต่ระยะหลังดินเสื่อมสภาพ ต้องใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีเพิ่ม ทำให้การลงทุนเพิ่มขึ้น โรคซ้ำกรรมซัดราคาข้าวตกต่ำ รายได้ไม่พอจุนเจือครอบครัว

จึงมองหาอาชีพใหม่ที่มีอนาคตมาทดแทนอาชีพทำนา เดินทางไปดูการทำการเกษตรหลายตัว จึงตัดสินใจทำสวนมะพร้าวน้ำหอมแทนตั้งแต่ปี 2551 เพราะมะพร้าวน้ำหอมกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก ลงแรงปลูกมะพร้าวน้ำหอมในผืนนา 30 ไร่ 1,300 ต้น

จากอดีตที่เคยทำนาและประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำและเคยเป็นแกนนำปิดถนนประท้วงมาแล้ว แต่ก็ต้องถอดใจจนต้องเลิกทำนาในที่สุด

“เทพ”บอกว่าแรกๆปลูกมะพร้าวน้ำหอม ก็ยังไม่รู้ว่าจะหาตลาดที่ไหน แต่เมื่อมะพร้าวออกผลผลิตหลังปลูก 3 ปี ก็ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่คิด แต่กลับมีตลาดรองรับจำนวนมากทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง และใช้เวลาว่างส่วนหนึ่งขายเองลูกละ 10-20 บาท ไม่คิดหวนกลับไปทำนาอีก เนื่องจากทำสวนมะพร้าวน้ำหอมมีรายได้ที่ดีกว่า

“ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวน้ำหอม โดยการคว้านให้เหลือเฉพาะเนื้อกับน้ำมะพร้าวและตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ว่า”มะพร้าวโนบรา” เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์จนฮิตติดตลาด หลังจากที่ไปเห็นแถวภาคกลางและกลับมาลองทำดู จนขณะนี้จะทำเป็นมะพร้าวโนบราทั้งหมด ไม่ขายเป็นลูกหรือเป็นทลายเหมือนที่ผ่านมาเนื่องจากขายได้ลูกละ 50 บาทและ มีตลาดรองรับทั้งตลาดทั่วไปและส่งห้างเช่นห้างเซลทรัลเฟสติวัลหาดใหญ่ เพิ่มช่องทางตลาดทั้งไลน์และเฟสบุ๊คส์ มีกระแสตอบรับดีมาก”

“มะพร้าวโนบรา” ติดตลาดทั้งใน จ.สงขลาและจังหวัดใกล้เคียง จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด เนื่องจากการสับมะพร้าวที่เอาเปลือกและ แคะเอาเนื้อออกมา ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ไม่ให้เนื้อมะพร้าวแตกและ การแพ๊คกิ้งจะมีตะกร้าสานด้วยใบตาล รองก้นด้วยใบตองและใบเตย ส่วนหลอดดูดทำจากต้นลาโพธิ์ที่มีเป็นจำนวนมากใน อ.กระแสสินธุ์และ ซีลด้วยพลาสติก นำไปแช่เย็นเพื่อให้ดูดีและน่ารับประทานยิ่งขึ้น

ปัจจุบันคุณสามารถปลูกมะลิ 60 ไร่ มีต้นมะลิ 40,000ต้น ลองคิดเล่นๆ หากเก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ย 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือวันละ 420 กิโลกรัม คิดราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาทต่อกิโลกรัมก็วันละ 42,000 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,260,000 บาท

เหลืออีกเพียงวันเดียวก็จะถึงบรรยากาศ “วันแม่” แน่นอนว่าสัญลักษณ์ประจำวันสำคัญวันนี้ คือ “ดอกมะลิ”ดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ซึ่งราคามะลิในปีนี้ ล่าสุดเส้นทางเศรษฐีออนไลน์สำรวจราคาหน้าสวน พบว่า ราคาลิตรละ 450 – 500 บาท หากขายเป็นกิโลกรัม ตกกิโลกรัมละ 900 – 1,000 กว่าบาทเลยทีเดียว

คุณสามารถ นาคทั่ง เกษตรกรมะลิเงินล้าน ปัจจุบันอายุ 49 ปี เล่ากับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า หลังจากเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร รุ่นที่ 1 ทำงานอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมมาตลอด 20 กว่าปี ทั้งคุมเครื่องจักร อยู่แผนกไฟฟ้า ตำแหน่งสุดท้าย คือ ผู้จัดการโรงงาน รับเงินเดือนแสนกว่าบาท แต่ด้วยแรงกดดันและปัญหาสุขภาพรุมเร้า คือ หมอนรองกระดูกเสื่อม วิธีการรักษาที่ให้ผลดี คือ ต้องเดิน ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ทำให้มีความคิดอยากเปลี่ยนอาชีพ อยากหาสิ่งใหม่ให้กับชีวิต หนที่สุดลาออกมาเป็นเกษตรกร ได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แถมรายได้ไม่น้อยหน้าเงินเดือนเลยทีเดียว

“ผมมีสายเลือดเกษตรกรเต็มตัว เพราะพ่อแม่เป็นชาวนา แต่เนื่องจากทำงานโรงงานมาตลอด ขาดประสบการณ์และความรู้ด้านการทำเกษตร เลยศึกษาอยู่นานว่าจะปลูกพืชอะไรดี ซึ่งหลังจากที่ได้เก็บข้อมูลก็พบว่า พืชใบ และไม้ดอก ดูแลไม่ยาก ทำเงินได้ไว เลยเริ่มต้นปลูกมะลิก่อน ตามด้วยใบพลู บนพื้นที่ 20 ไร่ ณ คลองสิบสามรังสิต ปัจจุบันขยายเป็น 60 ไร่ เก็บใบพลูได้วันละ 200 กิโลกรัม เก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ยวันละ 420 กิโลกรัม หรือราว 7 กิโลกรัมต่อไร่”

คุณสามารถ เริ่มปลูกมะลิราวปี 2554 บนพื้นที่ 20 ไร่ เขาบอกว่า ใช้เงินทุน 1 ล้านบาท ปลูกต้นมะลิพันธุ์ราษฎร์บูรณะ ใช้วิธีปักชำกิ่ง 15,000 ต้น หลังต้นพันธุ์ลงดินได้เดือนครึ่ง มะลิเริ่มออกดอก ให้เก็บขาย ซึ่งราคาดอกมะลิ ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด สภาพอากาศ และปริมาณผลผลิต ช่วงหน้าร้อน เดือน มีนาคม – มิถุนายน มะลิจะให้ผลผลิตเยอะ ราคาจะตก เหลือเพียงลิตรละ 35 – 45 บาท ส่วนช่วงหน้าหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – มกราคา มะลิออกน้อย ราคาแพง บางช่วงที่ขาดตลาด ลิตรละ 2,500 บาทเลยทีเดียว

ปัจจุบันคุณสามารถปลูกมะลิ 60 ไร่ มีต้นมะลิ 40,000ต้น ลองคิดเล่นๆ หากเก็บมะลิได้ทุกวัน เฉลี่ย 7 กิโลกรัมต่อไร่ หรือวันละ 420 กิโลกรัม คิดราคาขายกิโลกรัมละ 100 บาทต่อกิโลกรัมก็วันละ 42,000 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,260,000 บาท

สำหรับช่วงวันแม่ในปีนี้ คุณสามารถ ระบุกับเส้นทางเศรษฐีออนไลน์ว่า เตรียมมะลิไว้รองรับความต้องการของลูกค้าชนิดไม่อั้น ซึ่ง ตั้งแต่วันที่ 4-12 สค ทางสวนตั้งเป้าจะมีรายได้จากการจำหน่ายดอกมะลิราว 5 แสนบาท

นอกจากรายได้ดอกมะลิ คุณสามารถ ยังปลูกพลูกินหมากจำนวน 10 ไร่ ลงทุนไปหนึ่งล้านบาทเช่นกัน ซึ่งใบพลูเก็บขายได้ทุกวัน วันละ 200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 60 บาท มีรายได้ต่อวัน วันละ 12,000 บาท เฉลี่ยต่อเดือนมีรายได้ 360,000 บาท

แม้จะมีรายได้ต่อเดือนมาก แต่ทั้งนี้ คุณสามารถ เผยว่า รายได้ดังกล่าวยังไม่หักรายจ่ายที่ดิน เป็นที่เช่า มีค่าแรงงานของคนสวนอีก แต่ก็นับว่า ชีวิตทุกวันนี้มีความสุข อาการเจ็บป่วยเรื่องหมอนรองกระดูกลดลง

ผู้ใช้เส้นทางจากนครราชสีมา มุ่งสู่กรุงเทพฯ ส่วนใหญ่คงมีโอกาสแวะชิมข้าวโพดหวานที่ไร่สุวรรณ ซึ่งมีชื่อเต็มๆว่า ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ข้าวโพดอร่อยที่ได้ลิ้มรสกัน เป็นผลงานวิจัยของ ดร.โชคชัย เอกทัศนาวรรณ นักวิชาการเกษตรเชี่ยวชาญพิเศษ ส่วนตำแหน่งบริหาร คือผู้อำนวยการศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ

สถานที่แห่งนี้ ตั้งอยู่ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อก่อนมีชื่อเสียงมากทางด้านพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือพันธุ์สุวรรณ 1 สุวรรณ 2

ตั้งแต่ปี 2542 เป็นต้นมา ข้าวโพดหวานอินทรี 2 เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ดร.โชคชัย ใช้เวลาวิจัยข้าวโพดสายพันธุ์นี้อยู่ 6 ปี จึงได้ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์แท้SSWI 114 กับ KSei 14004 ผลที่ออกมานั้น ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ให้น้ำหนักฝักสดทั้งเปลือก 2,430 กิโลกรัมต่อไร่ น้ำหนักฝัดสดที่ปอกเปลือกแล้ว 1,371 กิโลกรัมต่อไร่ ความหวาน 15 บริกซ์

หลังเปิดตัว ข้าวโพดหวานอินทรี 2 ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง ทางศูนย์ฯได้เพิ่มพื้นที่การจำหน่าย ซึ่งมีจำหน่ายฝักดิบ ฝักที่ต้มสุกแล้ว น้ำนมข้าวโพด รวมทั้งเมล็ดพันธุ์

ดร.โชคชัยบอกว่า ทางศูนย์ฯได้วางแผนการผลิต โดยส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก จึงมีผลผลิตจำหน่ายทุกวัน นอกจากนี้ มีผู้ค้าอยู่ริมถนนบริเวณใกล้เคียง ตั้งแผงขายซึ่งก็สร้างรายได้ให้ดีมาก รวมๆแล้วปีหนึ่งข้าวโพดหวานสร้างรายได้ให้กับชุมชนไม่น้อยกว่าปีละ 1,000 ล้านบาท

ข้าวโพดของศูนย์แห่งนี้ มีรสหวาน มีกลิ่นหอมมาก เนื่องจากเขาตัดจากแปลงปลูกที่อยู่ไกลไม่เกิน 40 กิโลเมตร แล้วรีบนำมาต้มหรือแปรรูป การขนผลผลิตจากแปลงปลูกที่อยู่ใกล้ ทำให้ความหวานและกลิ่นหอมยังคงอยู่

ในกรณีที่ตัดข้าวโพดมาแล้ว แต่ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 วัน ความหวานจะลดลง อย่างน้อย 1-2 บริกซ์ เวลาผ่านไป ความหวานก็ลดลงเรื่อยๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยจัดเสวนาเกษตรสัญจรไปดูงานที่นี่ ซึ่งต้องจองผลผลิตให้ผู้ร่วมเดินทางไว้ชิมไว้ซื้อ หากไม่จองอดแน่ เนื่องจากคนแวะกันมาก โดยเฉพาะเสาร์และอาทิตย์ คนแน่น แทบไม่มีที่จอดรถ

เมื่อปี 2554 ดร.โชคชัย ผู้วิจัย ได้รับรางวัล “ผลงานวิจัยสร้างผลกระทบ” และรางวัลอื่นๆอีกนับไม่ถ้วน ได้ชิมข้าวโพดและเห็นคนแวะเวียนไปซื้อกันแล้ว ต้องยกนิ้วให้ งานวิจัยชิ้นนี้ เผ็นผลงานยอดเยี่ยมและสร้างผลกระทบในเชิงบวกอย่างมาก

ที่ศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างมีเบอร์ 044-361770-2 เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกิโลกรัมละ 500 บาท ถือว่าไม่แพง ส่วนข้าวโพดต้มและน้ำนมข้าวโพด ไปสอบถามราคาที่ศูนย์ฯได้เลย ปีนี้ไปทางไหนคนก็บ่นเรื่องความแห้งแล้ง ความไม่ปกติของธรรมชาติทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี เกษตรกรที่อาศัยธรรมชาติ จำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมการรับมือไว้ เพื่อสู้กับความแห้งแล้งนี้

ช่วงวันอาทิตย์ก่อนปั่นจักรยานผ่านไปทางตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา เห็นเกษตรกร สามีภรรยาคู่หนึ่งกำลังมัดผักกาดอยู่ที่แปลงผัก เลยลงไปพูดคุยด้วย ทราบชื่อว่า คุณเจริญ ปัญญาชื่น อยู่บ้านเลขที่ 349 หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ด้วยวัย 55 ปี มีลูก 2 คน คนโตเรียนจบแล้ว ทำงานเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช คนสุดท้องเรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนฟากกว๊านวิทยาคม ตั้งอยู่ตำบลติดกัน ถามว่าลูกชายมาช่วยงานบ้างหรือเปล่า คุณเจริญ ส่ายหน้า บอกว่าไม่เหมือนสมัยลูกสาวเรียน เดี๋ยวนี้ลูกชายมีแต่กิจกรรมของโรงเรียน วันหยุดก็ต้องเรียนพิเศษ ก็อาศัย 2 แรง สามีภรรยา หากวันไหนที่ต้องเก็บผักชีซึ่งต้องใช้แรงงานมาก ก็ต้องจ้างแรงงานเพื่อนบ้านมาช่วย

คุณเจริญ เล่าว่า ที่ดินที่ปลูกผักเป็นมรดกที่คุณพ่อมอบให้ จำนวน 2 ไร่ 2 งาน สันนิษฐานว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นชุมชน ดึกดำบรรพ์ หลายพันปีมาแล้ว เป็นแนวทางน้ำเพราะชุมชนโบราณมักจะตั้งอยู่ริมน้ำเพื่อสะดวกในการใช้น้ำในการอุปโภค บริโภค และการเพาะปลูก เมื่อเกิดโรคระบาดหรือน้ำท่วมใหญ่จึงอพยพหนีไปอยู่ที่อื่น สมัยคุณเจริญ ยังเด็ก เห็นเขาขุดหินจากบริเวณนี้ไปถมเป็นถนนสายแม่ต๋ำ-แม่ใจ ต่อมาคุณพ่อของคุณเจริญ จึงบุกเบิกปรับที่ดินมาถมทำเป็นนา บางครั้งไถนายังเจอเครื่องใช้ในยุคโบราณ พบหินสีที่แตกต่างกันอยู่เป็นประจำ

เมื่อได้รับมรดกตกทอดจากคุณพ่อของคุณเจริญ ก็สืบทอดอาชีพการเกษตรทำนาปี เสร็จจากการทำนา ประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ก็จะเริ่มปลูกผัก โดยผักที่ปลูกประกอบด้วย ผักกวางตุ้ง ทั้งกวางตุ้งต้น และกวางตุ้งดอกหรือทางเหนือเรียกผักกาดจ้อน ผักชี ขึ้นฉ่าย หอมแบ่ง โดยผักกาดจะหว่านทีละแปลง พื้นที่ประมาณ 1 งาน จากนั้น 5-7 วัน ก็จะหว่านอีกแปลง เพื่อให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาด การดูแลรักษา จะให้น้ำโดยดูจากสภาพความชื้นของดินมี 7 วัน หรือ 10 กว่าวันครั้ง โดยสูบปล่อยท่วมแปลง เนื่องจากที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย

จึงไม่มีปัญหาน้ำท่วมขัง อาศัยบ่อน้ำที่ขุดไว้ในบริเวณแปลงปลูกผัก ซึ่งน้ำไม่ลึกเท่าไร สาเหตุน่าจะมาจากเป็นพื้นที่ทางน้ำเดิมในสมัยโบราณ ดั่งที่คุณเจริญสันนิษฐานไว้ ปัญหาการปลูกผักของคุณเจริญ คือโรคเน่า โดยเฉพาะขึ้นฉ่ายและผักชี จะปลูกซ้ำที่ไม่ได้เลย และปัญหาหนักมากในส่วนของหมัดผัก เดิมมีการใช้สารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีกลิ่นฉุนมาก จะป้องกันได้นานเป็น 10 กว่าวัน แต่ปัจจุบันสารเคมีดังกล่าวถูกห้ามใช้ไปแล้ว ในส่วนของปุ๋ยจะใช้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่และขี้หมู คุณเจริญ ทราบดีว่า หากใช้เคมีอย่างเดียวจะทำให้โครงสร้างของดินเสีย แต่หากใช้ชีวภาพอย่างเดียว การเจริญเติบโตช้า โดยการใช้สารเคมีให้ถูกช่วงเวลา หากจะเก็บเกี่ยวก็งดก่อนอย่างน้อย 15 วัน

การตลาดนั้นจะมีพ่อค้าแม่ค้า เข้ารับผลผลิตถึงแปลง และอีกส่วนคุณเจริญจะนำไปส่งให้ผู้ค้าส่งในหมู่บ้านรับไปขายต่อ รายได้แต่ละปีก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของผักว่างามหรือไม่ ราคาในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดว่าสูงต่ำอย่างไร อย่างผักชีที่ขายไปก่อนหน้านี้ประมาณ 1 งาน ผลผลิต 400 กว่ากิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 15 บาท ก็ได้ประมาณ 6,000 บาท ถ้าผักกาดงามๆ รายได้ประมาณ 5,000 บาท ต่องาน ไร่หนึ่งก็ได้ประมาณ 20,000 บาท ใช้เวลาประมาณ 60 วัน ก็พอคุ้มค่าใช้จ่ายในครัวเรือนและส่งลูกเรียน

คุณเจริญ บอกว่า ปีนี้ถือว่าแล้งจัดในรอบ 10 กว่าปี การปลูกพืชผักซึ่งเป็นพืชฤดูแล้งที่ใช้น้ำน้อย ก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่จะสู้กับภัยแล้ง แต่ก็ดูแหล่งน้ำที่จะใช้ด้วยว่ามีเพียงพอหรือไม่ เพราะตนเองไม่ได้ปลูกที่นี่แปลงเดียว มีปลูกบริเวณบ้านอีกแปลง จำนวน 3 ไร่ ใช้ระบบสปริงเกลอร์ แต่ตอนนี้ต้องหยุดเพราะน้ำไม่พอ แปลงนี้ดีเนื่องจากมีระบบ บ่อน้ำตื้นจึงสามารถที่จะมีผลผลิตออกจำหน่ายได้

ข้อมูลทางวิชาการของการปลูกผักกาดกวางตุ้ง เป็นผักที่นิยมบริโภคกันมาก ปลูกง่าย เจริญเติบโตเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวสั้นเพียง 35-45 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ เป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง นำมาประกอบอาหารประเภทผัด แกงจืด ผักจิ้ม เป็นต้น สามารถปลูกได้ทุกฤดูและนิยมปลูกกันทั่วประเทศ ทั้งในรูปของสวนผักการค้า

ราก เป็นระบบรากแก้ว อยู่ในระดับตื้น ส่วนที่ใหญ่สุดของรากแก้ว ประมาณ 1.20 เซนติเมตร มีรากแขนงแตกออกจากรากแก้วมาก โดยรากแขนงแผ่อยู่ตามบริเวณผิวดิน รากแก้วอาจมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าดินมีสภาพชื้นและเย็น ลำต้น ตั้งตรง มีสีเขียว ขนาดโตเต็มที่ใช้กินได้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.4-1.8 เซนติเมตร สูงประมาณ 43-54 เซนติเมตร ก่อนออกดอกลำต้นจะสั้น มีข้อถี่มากจนดูเป็นกระจุกที่โคนต้น

เมื่อออกดอกแล้วในระยะติดฝักต้นจะสูงขึ้นมาก โดยเฉลี่ยสูงประมาณ 85-144 เซนติเมตร ใบ ใบเลี้ยงมี 2 ใบ มีสีเขียว ปลายใบตรงกลางจะเว้าเข้า ส่วนใบจริงจะแตกเป็นกระจุกที่บริเวณโคนต้น เป็นใบเดี่ยว ใบเรียบไม่ห่อหัว สีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอ่อน ขอบใบเป็นรอยฟันเลื่อยเล็กมาก ใบแก่ผิวใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ไม่มีขน ขอบใบเรียบหรืออาจมีรอยเว้าตื้นๆ ขนาดเล็ก โคนใบหยักเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบมน ก้านใบที่ติดกับลำต้นมีสีเขียวอ่อนเป็นร่องและเรียวกลมขึ้นไปหาแผ่นใบ ก้านใบหนาและมีสีขาวอมเขียว สำหรับใบที่ช่อดอกจะมีก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร รูปใบเรียวแหลมไปทางฐานใบและปลายใบ ขอบใบเรียบ

ช่อดอกและดอก ผักกาดเขียวกวางตุ้งจะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 55-75 วัน ช่อดอกยาว 50-90 เซนติเมตร ดอกตูมรวมกลุ่มอยู่บนยอดดอกช่อดอก ดอกบานจากด้านล่างไปหาด้านบน ดอกที่บานแล้วมีก้านดอกยาวกว่าดอกที่ตูม ดอกเป็นแบบสมบูรณ์เพศ ขนาดดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบชั้นนอกสีเขียวอ่อน 4 อัน ขนาดเล็ก กลีบกว้าง 0.1-0.2 เซนติเมตร ยาว 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบชั้นในสีเหลืองสด 4 อัน แยกเป็นกลีบๆ ขนาดกลีบกว้าง 0.5-0.6 เซนติเมตร ยาว 1.1-1.2 เซนติเมตร มีเกสรตัวผู้ 6 อัน อับเกสรสีเหลืองแก่ ก้านชูเกสรสีเหลือง รังไข่ยาว 0.5-0.6 เซนติเมตร ซึ่งอยู่เหนือกลีบดอกและเกสรตัวผู้ ก้านเกสรตัวเมียสีเขียว ยาว 0.2-0.25 เซนติเมตร ยอดเกสรตัวเมียเป็นตุ่มสีเหลืองอ่อน ดอกบานในตอนเช้าประมาณเวลา 08.00 น. ผล ผลมีลักษณะเป็นฝัก รูปร่างเรียวยาว แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปลายไม่มีเมล็ด ยาวประมาณ 0.9-1.5 เซนติเมตร และส่วนที่มีเมล็ด ยาวประมาณ 3-4.1 เซนติเมตร กว้าง 0.3-0.5 เซนติเมตร ก้านผลยาว 1.3-2.5 เซนติเมตร ผลตั้งขึ้น เมื่อผลแก่จะแตกตามยาวจากโคนไปหาปลายผล เมื่ออ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีน้ำตาล

เมล็ด ค่อนข้างกลม มีทั้งสีน้ำตาลและสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวเมล็ดมีลายแบบร่างแห เห็นไม่ค่อยชัด น้ำหนัก 1,000 เมล็ด ประมาณ 2.5 กรัม ผักกาดเขียวกวางตุ้งที่ปลูกมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากคือ ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบ สำหรับพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งใบที่ทางกรมวิชาการเกษตร ส่งเสริมแนะนำคือ พันธุ์น่าน 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ได้รับการคัดเลือกพันธุ์โดยกรมวิชาการเกษตร ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นผักกาดชนิดไม่ห่อปลี ส่วนกลางของก้านใบค่อนข้างหนา ใบมีสีเขียวอ่อน ความยาวเฉลี่ย 19.5 เซนติเมตร (อายุ 40 วัน)

ความหนาของก้านใบเฉลี่ย 0.9 เซนติเมตร ความกว้างเฉลี่ย 1.3 เซนติเมตร ใบสีเขียว ลักษณะยาวรี ความยาวของใบเฉลี่ย 30 เซนติเมตร กว้าง 19 เซนติเมตร ความสูงเมื่ออายุ 40 วัน เฉลี่ย 57.26 เซนติเมตร น้ำหนักต้นเฉลี่ย 550 กรัม ออกดอกเมื่ออายุ 50 วัน ลักษณะเด่นของพันธุ์น่าน 1 คือ เป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็ว อายุสั้น เก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุระหว่าง 30-40 วัน น้ำหนักเฉลี่ยต่อต้นสูง ต้นไม่แตกแขนง ทำให้เสียหายน้อยในการบรรจุเพื่อการขนส่ง ไม่ออกดอกก่อนอายุ 40 วัน จึงสามารถทยอยเก็บเกี่ยวส่งตลาดได้ตั้งแต่อายุ 30-40 วัน แต่ข้อเสียของพันธุ์น่าน 1 ก็คือ ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง

ผักกาดเขียวกวางตุ้งสามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่จะเจริญได้ดีที่สุดในสภาพดินร่วนปนทรายที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี มีอินทรียวัตถุสูง ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ควรอยู่ระหว่างสภาพเป็นกรดเล็กน้อยจนถึงปานกลาง คือ pH อยู่ระหว่าง 6-6.8 ชอบดินที่มีความชื้นสูงเพียงพอสม่ำเสมอ ได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส แต่อย่างไรก็ตาม

ในประเทศไทยสามารถปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งได้ตลอดปี เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่มีระบบรากตื้น ดังนั้น ในการเตรียมดินควรขุดไถดินให้ลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายตัวแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้วไถพรวนให้ดินละเอียด ในกรณีที่ดินมีสภาพเป็นกรดก็ควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับระดับ pH ของดินให้เหมาะสม ขนาดของแปลงปลูก กว้าง 1 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร หรือตามความเหมาะสม ในการปลูกผักกาดเขียวกวางตุ้งนิยมทำกัน 2 วิธีด้วยกัน คือ

การปลูกแบบหว่านเมล็ดโดยตรงวิธีนี้นิยมใช้ในการปลูกแปลงที่ยกร่อง มีร่องน้ำกว้าง และพื้นที่ควรมีการเตรียมอย่างดี และเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากเมล็ดพันธุ์ผักกาดเขียวกวางตุ้งมีขนาดเล็กมาก ดังนั้น ก่อนหว่านควรผสมกับทรายเสียก่อน โดยใช้เมล็ดพันธุ์ 1 ส่วน ผสมกับทรายสะอาด 3 ส่วน แล้วหว่านให้กระจายทั่วแปลงสม่ำเสมอ แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หนาประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร หลังจากนั้น คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชุ่มชื้นในดิน เสร็จแล้วรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากงอกได้ประมาณ 20 วัน ควรทำการถอนและจัดให้มีระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร

การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถวการปลูกวิธีนี้หลังจากเตรียมดินแล้วจึงทำร่องลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร ให้เป็นแถว โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 20-25 เซนติเมตร นำเมล็ดพันธุ์ผสมกับทราย แล้วโรยหรือหยอดเมล็ดเป็นแถวตามร่อง แล้วกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักบางๆ คลุมด้วยฟางข้าวบางๆ รดน้ำให้ชุ่มด้วยสม่ำเสมอ หลังจากปลูกได้ประมาณ 20 วัน หรือต้นกล้ามีใบ 4-5 ใบ จึงทำการถอนแยกในแถว โดยพยายามจัดระยะระหว่างต้นให้ห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

การให้น้ำ เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก และมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้น เกษตรกรจะต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง โดยใช้ระบบพ่นฝอยหรือใช้สายยางติดหัวฝักบัว อย่าให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งขาดน้ำในระยะการเจริญเติบโต เพราะจะทำให้ผักกาดเขียวกวางตุ้งชะงักการเจริญเติบโตได้ การใส่ปุ๋ย เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักกินใบและก้านใบ ดังนั้น การใส่ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) หรือแอมโมเนียมซัลเฟต อัตรา 30 กิโลกรัม ต่อไร่

เป็นการเร่งการเจริญเติบโตทางใบและก้านใบให้เร็วขึ้น หรือใช้ปุ๋ยสูตร 20-11-11 หรือสูตรใกล้เคียง ในอัตรา 30-50 กิโลกรัม ต่อไร่ หลังจากใส่ปุ๋ยทุกครั้งควรมีการรดน้ำตามทันที อย่าให้ปุ๋ยตกค้าง สำหรับการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ควรทำให้ระยะแรกพร้อมกับการถอนแยก อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดเขียวกวางตุ้งค่อนข้างเร็ว คือประมาณ 35-45 วัน การเก็บเกี่ยวโดยเลือกต้นที่มีขนาดใหญ่ตามต้องการ แล้วใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบนอกที่แก่หรือใบที่ถูกโรคหรือแมลงทำลายออก หลังจากตัดแต่งแล้วจึงบรรจุภาชนะเพื่อส่งจำหน่ายตลาดต่อไป สำหรับการเก็บรักษา เนื่องจากผักกาดเขียวกวางตุ้งเป็นผักอวบน้ำ ดังนั้น การเก็บรักษาจึงควรเก็บไว้ในที่อุณหภูมิต่ำ ประมาณ 0 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ 95 เปอร์เซ็นต์ จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานถึง 3 สัปดาห์

สนใจแลกเปลี่ยนความรู้พูดคุยกันเรื่องการปลูกผัก ติดต่อได้ที่ คุณเจริญ ปัญญาชื่น บ้านเลขที่ 349 หมู่ที่ 18 ตำบลแม่นาเรือ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา โทรศัพท์ (085) 029-0864 ขอเป็นเรื่องปลูกผักนะครับ เรื่องอื่น นอกเหนือจากนี้ขออย่าได้รบกวนเวลาทำมาหากินกันเลยครับ

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศสวนพริกในจังหวัดหนองคาย ที่ส่วนใหญ่นิยมปลูกใกล้กับริมฝั่งแม่น้ำโขงช่วงนี้คึกคัก เกษตรกรเร่งเก็บพริกเพื่อส่งขายให้ทันกับความต้องการของตลาด และก่อนที่พริกจะเสียหายจากฝนที่เริ่มตกลงมาในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้ราคาพริกมีราคาสูงสุดในรอบหลายปี โดยเฉพาะพริกพันธุ์เล็บมือนาง และพันธุ์ฮอต ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท และมีแนวโน้มสูงขึ้นอีก จากเดิมที่มีราคาเพียงกิโลกรัมละ 25 บาทเท่านั้น สาเหตุที่ทำให้พริกมีราคาสูงในช่วงนี้ เนื่องจากตลาดมีความต้องการมาก แต่ผลผลิตปีนี้มีน้อย เนื่องจากเกิดสถานการณ์ภัยแล้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่พริกมีราคาสูงในช่วงนี้ ทำให้เจ้าของสวนหลายรายยอมจ่ายค่าแรง ให้กับแรงงานที่รับจ้างเก็บพริกสูงถึง 10-30 บาท ต่อกิโลกรัม พร้อมมีอาหารเครื่องดื่มเป็นสวัสดิการเพิ่มเติมให้อีก เพื่อเป็นการจูงใจแรงงานให้มารับจ้างเก็บพริกที่สวนของตนเอง

ลิ้นจี่เป็นพืชที่ชอบสภาพอากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิไม่เกิน 18 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 10 วันขึ้นไป จึงจะติดดอก แต่ปีนี้จังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่พันธุ์ค่อมเนื้อที่ปลูกรวม 7,500 ไร่เกือบ 2 แสนต้น ที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศ เจอผลกระทบจากภาวะอากาศแปรปรวน ทำให้ต้นลิ้นจี่ส่วนใหญ่ “ออกดอก แต่ไม่ติดผล” ทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้จากการจำหน่ายลิ้นจี่กว่า 100 ล้านบาท ในปีนี้

คุณกังสดาล สวัสดิ์ชัย เกษตรจังหวัดสมุทรสงคราม ได้ตรวจสอบพบว่า ผลกระทบจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีอากาศร้อนสลับหนาวในปีนี้ ส่งผลกระทบต่อฤดูการผลิตของต้นลิ้นจี่ โดยปกติทุกปีต้นลิ้นจี่จะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพอุณหภูมิอากาศต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 15 วัน เอื้อต่อการติดดอกออกผลของต้นลิ้นจี่

แต่ภาวะอากาศแปรปรวนทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคมแทน ทำให้ต้นลิ้นจี่ออกดอกแต่ไม่ติดผลเกือบทั้งจังหวัด อย่างไรก็ตาม สำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสงครามตรวจสอบพบว่า ในปีนี้พื้นที่ปลูกลิ้นจี่ทั้งจังหวัด มีต้นลิ้นจี่ที่ออกดอกและติดผลเพียง 4 ต้น ได้แก่ ตำบลวัดประดู่ 2 ต้น และตำบลเหมืองใหม่ 1 ต้น ของอำเภออัมพวา รวมทั้ง พื้นที่ตำบลบางสะแก อำเภอบางคนที จำนวน 1 ต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ผ่านมา นางสาวจิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม และคณะได้ร่วมกันกางมุ้งไนล่อนให้กับต้นลิ้นจี่ค่อม ของ คุณป้าบุญมา พวงสวัสดิ์ ที่ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 11 หมู่ที่ 5 ตำบลบางสะแก เพื่อป้องกันไม่ให้กระรอกและแมลงเข้ามากัดกินผลลิ้นจี่ที่ติดผล พร้อมเชิญชวนนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาเยี่ยมชมต้นลิ้นจี่ที่ติดผล 4 ต้น ซึ่งคาดว่า จะมีผลผลิตรวมกันกว่า 100 กิโลกรัม

ด้าน คุณปัญญา พวงสวัสดิ์ น้องชายของ คุณป้าบุญมา พวงสวัสดิ์ เจ้าของสวนลิ้นจี่ที่ติดผลในปีนี้ เปิดเผยว่า ทางสวนเตรียมเก็บผลผลิตออกจำหน่ายให้แก่ผู้สนใจลิ้มรสลิ้นจี่สมุทรสงคราม ในวันที่ 24 พฤษภาคมนี้ สำหรับสวนลิ้นจี่แห่งนี้ คุณป้าบุญมา ก็ไม่ได้ดูแลอะไรมาก แค่ดูแลให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่เชื่อว่า ต้นลิ้นจี่พันธุ์ค่อม อายุ 30 ปี ดังกล่าว เป็นต้นลิ้นจี่พันธุ์ดี จึงติดดอกให้ผลผลิตได้ทุกปีติดต่อกัน ทำให้ผู้สนใจหลายราย แม้กระทั่ง ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอยากได้กิ่งตอนลิ้นจี่ต้นดังกล่าวนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งทางครอบครัวก็ยินดีที่จะแบ่งปันกิ่งพันธุ์ลิ้นจี่คุณภาพนี้ให้แก่ผู้สนใจ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อภาคการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต โดยผู้สนใจสามารถติดต่อกับ คุณปัญญา พวงสวัสดิ์ ได้ที่เบอร์โทร. (081) 944-6997

ทั้งนี้ เอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของ สมัคร GClub ลิ้นจี่จังหวัดสมุทรสงคราม หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ลิ้นจี่แม่กลอง” คือ หนามจะตั้งและแหลมกว่าลิ้นจี่ภาคเหนือ ระยะห่างหนามจะเสมอกันทั้งผล ไม่เป็นกระจุกๆ ลักษณะผลจะโย้นิดๆ ผิวผลตึงและกรอบ มีเนื้อหนาและกรอบ สีขาวอมชมพูเรื่อๆ เนื้อแห้ง มีกลิ่นหอม รสหวานติดฝาดนิดๆ และผิวเปลือกด้านในสีจะออกชมพู หากผิดจากนี้ถือว่าไม่ใช่ลิ้นจี่แม่กลอง