เปิดตัวมะพร้าวลูกผสมสามทาง 2 พันธุ์ใหม่ ยกระดับรายได้ชาวสวน

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อการบริโภคและอุตสาหกรรมแปรรูป การซื้อขายตลาดมุ่งเน้นที่ขนาดของผลเป็นหลัก ในขณะที่โรงงานแปรรูปมุ่งเป้าไปที่เนื้อมะพร้าวสด และเปอร์เซ็นต์น้ำมัน การปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวเพื่อให้ได้เป้าหมายดังกล่าวข้างต้นเป็นสิ่งท้าทายสำหรับนักวิจัย

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์มะพร้าวใหม่ๆ โดยการวิจัยพัฒนามะพร้าวด้วยวิธีการผสมสามทาง เพื่อเติมเต็มในส่วนที่ยังมีจุดอ่อนของมะพร้าวลูกผสมเดี่ยว จนได้มะพร้าวลูกผสมสามทาง จำนวน 2 พันธุ์ ที่ให้มีลักษณะดีเด่นตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงพันธุ์คือ ให้ผลผลิตสูง ผลขนาดกลางถึงใหญ่ เปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ใช้ชื่อว่า มะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 1 และมะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 2 ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสำหรับแนะนำให้เกษตรกรปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการ โดยมะพร้าวทั้ง 2 พันธุ์ ผ่านการพิจารณาเป็นพันธุ์รับรองของกรมวิชาการเกษตร เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2562

มะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 1 ให้ผลผลิตเฉลี่ย 2,252 ผล ต่อไร่ ต่อปี ผลมีขนาดกลางถึงใหญ่ น้ำหนักผล 1,882 กรัม ต่อผล น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง เฉลี่ย 767 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนมะพร้าวลูกผสมสามทางชุมพร 2 ผลมีขนาดปานกลางถึงใหญ่ น้ำหนักผล 1,509 กรัม ต่อผล ผลผลิตเฉลี่ย 2,372 ผล ต่อไร่ ต่อปี น้ำหนักเนื้อมะพร้าวแห้ง เฉลี่ย 584 กิโลกรัม ต่อไร่

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันได้แนะนำและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพันธุ์มะพร้าวลูกผสมด้วยวิธีการผสมสามทางไปสู่บริษัทเอกชนที่มีแปลงแม่พันธุ์ดังกล่าวแล้ว ในอนาคตคาดว่าจะสามารถกระจายพันธุ์ไปสู่เกษตรกรที่มีความต้องการพันธุ์มะพร้าวได้เพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกร นอกเหนือจากพันธุ์ที่มีปลูกอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถขยายพื้นที่ไปยังแหล่งปลูกใหม่ที่มีศักยภาพผลผลิตมะพร้าวเพียงพอต่อความต้องการ ช่วยรักษาเสถียรภาพของราคามะพร้าว ตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมมะพร้าว รวมทั้งยังสามารถลดการนำเข้ามะพร้าวผลและผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากต่างประเทศ

น.ส.แฉล้ม ยอดสุวรรณ อายุ 52 ปี เกษตรกรบ้านคลองอ้ายกาบ ต.ดงประคำ อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เป็นเกษตรกรผู้หนึ่งที่พลิกจากการทำนาข้าว ที่ปลูกกว่า 6 ไร่ หลังประสบปัญหาทำนาได้ปีละ1 ครั้ง ซ้ำร้ายราคาตกต่ำ ทำให้ไม่มีรายได้เหลือและเป็นหนี้จำนวนมาก จึงหันมาเดินตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง โดยปลูกทุกอย่างไว้กิน ที่เหลือจากกินจึงเก็บขาย รวมถึงหลังจากได้ไปดูงานการปลูกมะกรูดที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบกับในพื้นที่มีการปลูกมะกรูดน้อย จึงได้ซื้อกิ่งพันธุ์ จำนวนกว่า 600 ต้น พร้อมวางระบบน้ำปลูกในพื้นที่ เกือบ 1 ไร่

ปรากฏว่าประสบความสำเร็จ สามารถสร้างรายได้ดี ครั้งแรกได้เงินกว่า 7,000 บาท จากการขายให้กับพ่อค้าที่มารับถึงสวน หลังจากนั้นได้หาช่องทางการตลาด โดยส่งโรงงานอบแห้งมะกรูดที่จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งบางช่วงได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 50 บาท เป็นการสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยปัจจุบันสามารถส่งใบมะกรูดให้โรงงานได้เฉลี่ยปีละ 4-5 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1,000 กิโลกรัม มีรายได้หลักแสนบาท เลยทีเดียว

น.ส.แฉล้ม กล่าวว่า มะกรูดนับเป็นพืชที่ปลูกยากในช่วง 2 เดือนแรก หลังจากได้กิ่งพันธุ์มาปลูก ห้ามใส่ปุ๋ย ใช้วิธีรดน้ำสม่ำเสมอ เดือนที่ 3 เริ่มใส่ปุ๋ย ห้ามใช้ยาร้อน น้ำส้มควันไม้ พริกแกงเผ็ดรดเด็ดขาด จะทำให้ใบมะกรูด ยอดหด ใบหงิกงอ ให้ใช้ปุ๋ยเย็นฉีด ปุ๋ยยูเรีย ควบคู่กับการฉีดน้ำปูนใส ที่ได้จากปูนขาว โดยหน้าฝนฉีดวันเว้นวัน ป้องกันโรคแคงเกอร์ จากนั้นดูแลรดน้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ดูแลเรื่องโรคระบาด ตัดแต่งกิ่งใบที่หงิกงอทิ้ง ดูแลให้แตกยอดใบเท่านั้น เมื่อใบเริ่มแก่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 4-5 ครั้ง ขณะที่รายได้ถ้าตัดขายเป็นกิ่ง ขายได้ กิโลกรัมละ 30 บาท แต่หากเด็ดขายเป็นใบ ขายได้กิโลกรัมละ 50 บาท ในขณะที่ผลผลิตใบมะกรูดช่วงนี้เก็บได้ครั้งละประมาณ 1,000 กิโลกรัม นับว่ามะกรูด เป็นอีกอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ดีตลอดทั้งปี สามารถทำเงินจากการปลูกเพียง 1 ไร่ ได้เงินเป็นหลักแสนบาท

เดินทางไปเยี่ยมบ้านคุณวิชัย ศรีสวัสดิ์ ซอยหน้าโรงเรียนหนองบัวกลาง ม.2 ตำบลหนองบัว อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ โทร.094-2920537 เป็นเกษตรกรนักปฏิบัติ แปรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และเรียนรู้กับธรรมชาติได้อย่างน่าทึ่ง ศึกษาจากป่า นำแนวความคิดมาปลูกป่า อยู่กับป่าอย่างมีความสุข พร้อมบอกว่า “ไม่ต้องไปศึกษาดูงานหรือท่องเที่ยว” ตามที่ภาครัฐจัด

ตัวเขาเองเดินป่า ศึกษาจากธรรมชาติ เพราะที่นี่ คือ ตำราเรียน ที่ดีที่สุด “ป่า” เขาอยู่อย่างเกื้อกูล คุณวิชัย เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนรักธรรมชาติมาก เข้าป่า ศึกษาจากป่า มาวันนี้ ปลูกป่า พื้นที่ 4 ไร่ มีไม้ป่าหลัก ไม้ยางนา ไม้เต็งรัง ไม้จิก ไม้แดง ไม้ธรรมชาติ มากมายพืชสมุนไพรทุกชนิดมีในป่าแห่งนี้ ไม้เสริม เถาวัลย์ พืชรับประทานเป็นอาหารได้ มีอีผุกหรือบุก อีลอก ขิง ข่า ตะไคร้ สับปะรด ผักหวานป่า กล้วย มะพร้าว ปลูกแบบป่าผสมผสาน “พี่ใหญ่เลี้ยงน้องเล็ก” ผมรักธรรมชาติ รักป่า จึงดำเนินการปลูกป่า ทำทางเดินเล็กๆ สองข้างทางมีอาหารให้รับประทานได้ สิ่งที่คืนให้ธรรมชาติ คือ “ผักหวานป่า” โยนเมล็ดเข้าป่า ผักหวานป่าเกิดได้ อยู่ได้ ทนทานหลายปี ต้นที่หลังบ้าน 25 ปี แล้ว รากถึงที่ไหนเกิดเป็นต้นใหม่ เก็บรับประทาน เก็บขาย หรือให้คนเข้าไปเก็บเอง นั่งเฝ้าตราชั่ง รับเงินที่ปากทาง งานง่าย มีรายได้งาม จาก “ป่า” ที่ตนเองสร้างขึ้น

คุณวิชัย บอกว่า ผักหวานป่า มีต้นตัวผู้ติดดอกไม่ติดผล เก็บดอกขายราคางดงามมาก ต้นตัวเมีย ติดทั้งดอกทั้งผล มองดูผลผักหวานป่า คล้ายผลมะไฟ สวยงามอีกแบบ การปลูกให้เป็นแบบ “พี่เลี้ยงน้อง” คือ เพาะกล้าแคบ้าน ปักเมล็ดหรือผลผักหวานไปพร้อมๆกัน ต้นแคเจริญเติบโต พร้อมต้นผักหวาน อย่าให้รากแก้วงอ นำไปปลูกตามพื้นที่ที่เตรียมไว้ ขุดหลุมปลูกดินกลบโคน หันหลังให้ หลังฝนมาดูอีครั้ง มีชีวิตคือรอด “ผักหวานป่า” เขาต้องการอยู่แบบ “ผักป่า” ไม่ต้องเอาใจใส่มาก จะรดน้ำพรวนดิน ดีอย่างไร หาก “ผักหวานจะตาย” คือ ผักหวานไม่รอด แต่ที่ สวนป่า “พี่ใหญ่เลี้ยงน้องเล็ก” แห่งนี้ ปลูกแบบ “เมล็ดผักหวานพร้อมเมล็ดต้นแค” คือปลูกพร้อมๆกัน เก็บแคขายดอก พบต้นผักหวานเจริญเติบโตควบคู่ไปด้วย หากท่านต้องการเที่ยวชม แวะนะครับ หลังบ้าน มีผักหวาน ต้นเล็ก ต้นใหญ่ เกิดจากธรรมชาติ จากราก จากเมล็ด มีต้นตัวผู้ ต้นผักหวานตัวเมีย งานง่ายๆ งานปลูกป่าเพื่อชีวิต ครับ

อินทผลัม เป็นไม้ผลเศรษฐกิจตัวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากอินทผลัมเป็นพันธุ์พืชต่างถิ่นจากต่างประเทศ แม้จะนำพันธุ์มาปลูกในไทยได้หลายปี แต่ยังถือเป็นพันธุ์ใหม่สำหรับคนไทย ดังนั้น หากใครสนใจที่จะปลูกไม้ผลชนิดนี้ ก็จำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาเรียนรู้เพื่อเข้าใจธรรมชาติของไม้ผลชนิดนี้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

คุณชัยอารีย์ วงศ์หาญ (เบอร์โทร./ไลน์ 082-198-2255) เจ้าของกิจการ “บ้านสวนอำพันธ์อินทผลัม” จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเป็นประธานชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ได้พาผู้เขียนแวะไปเยี่ยมชม “อินทผลัมสวนพูนทวี” อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนของ คุณสุภารวี ฐานจารุกาญจน์ และ คุณปาริชาติ ชาลีเครือ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งปัจจุบันรับตำแหน่งที่ปรึกษา ฝ่ายยุทธศาสตร์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ

คุณชัยอารีย์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ “บังรี” รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาเรื่องการปลูกดูแลต้นอินทผลัมให้กับสวนพูนทวีมานานหลายปีแล้ว บังรี เล่าว่า สวนพูนทวีนำเข้าอินทผลัมสายพันธุ์แท้จากอาบูดาบี ซึ่งเป็นเมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ดูไบ) มาปลูกในระยะแรก เช่น พันธุ์นาวาเดอร์ (Nawader) และพันธุ์กาซาอิ๊ฟ อัล อัสฟูร์ (Khasaif Al asfoor) หลังจากนั้น ผสมปรับปรุงพันธุ์จนได้อินผลัมลูกผสมจากต้นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ตั้งแต่เมื่อ 3-4 ปีก่อน เคยติดผลผลิตทะวายทั้งปี และได้ต้นลูกผสมเจนเนอเรชั่น (รุ่น) ที่ 1/1 และ 1/2 ออกมาให้เห็น มีทั้งลูกผสมชนิดต้นฤดู กลางฤดู และลูกผสมทะวาย ซึ่งยังต้องติดตามและศึกษากันต่อไป

อย่างไรก็ตาม บังรี เชื่อว่า อินทผลัมจากต้นลูกผสมระหว่างต้นพ่อ ต้นแม่ ที่สามารถออกดอก/ผลทะวายทั้งปีนั้น มีโอกาสที่จะได้ลูกผสมที่มีพัฒนาการที่ดีและมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นทั้งลูกผสมชนิดทะวายทั้งปี ต้นฤดู และปลายฤดู ที่สำคัญต้นไหนเก็บผลผลิตช่วงฤดูร้อน มีนาคม-เมษายน เราจะได้เก็บผลผลิตสุกคาต้น คุณภาพทัดเทียมต่างประเทศได้อย่างแน่นอน

คุณสุภารวี ฐานจารุกาญจน์ และ คุณปาริชาติ ชาลีเครือ เจ้าของสวนพูนทวี ร่วมพูดคุยให้ข้อมูลเรื่องความเป็นมาของการปลูกอินทผลัมในสวนแห่งนี้ว่า โดยส่วนตัวแล้ว ทั้งสองท่านชื่นชอบการบริโภคอินทผลัมอย่างมาก เพราะเป็นไม้ผลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ปัจจุบันสวนพูนทวีปลูกอินทผลัมหลากหลายสายพันธุ์ มีทั้งที่นำเข้าอินทผลัมต้นพันธุ์แท้จากตะวันออกกลางมาปลูก รวมทั้งปลูกอินทผลัมโดยใช้วิธีการเพาะเมล็ด ประมาณ 100 ต้น

ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ เปิดโอกาสให้เพื่อนๆ เข้าเยี่ยมชมและพันธมิตรต่างประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฯลฯ เข้าเยี่ยมชมกิจการเป็นระยะ นอกจากนี้ ยังแบ่งพื้นที่บางส่วนปลูกไม้ผลนานาชนิด เช่น ฝรั่ง กล้วย แตงโมจินตหรา และมะขามเทศ ในอนาคตวางแผนเปิดสวนแห่งนี้เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการปลูกอินทผลัม รวมทั้งปลูกผักสลัดออร์แกนิก ป้อนตลาดคนรักสุขภาพ

สำหรับอินทผลัมแต่ละชนิดที่ปลูกในสวนแห่งนี้ มีลักษณะเด่นแตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่าง เช่น อินทผลัมพันธุ์นาวาเดอร์ เหมาะสำหรับรับประทานผลสดและทำผลแห้ง อินทผลัมนาวาเดอร์ที่ปลูกในสวนแห่งนี้มีคุณภาพดี ไม่แพ้กับอินทผลัมสายพันธุ์เดียวกันที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนอินทผลัมพันธุ์กาซาอิ๊ฟ อัล อัสฟูร์ สามารถรับประทานผลได้ 3 ระยะ โดยผลสดแก่จัด อาจมีรสติดฝาดเล็กน้อย แต่บางต้นก็มีผลสดรสชาติหวานกรอบพอดี ลักษณะเนื้อละเอียด ถูกใจลูกค้า

การปลูกดูแลอินทผลัม

บังรี แนะนำเรื่องการปลูกอินทผลัมว่า ควรเลือกซื้อพันธุ์อินทผลัมจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ โดยทั่วไปการปลูกอินทผลัม นิยมให้ปุ๋ยทางดิน โดยใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ทุกครั้ง และให้อาหารเสริมทางใบ หลักสำคัญคือองค์ประกอบและปัจจัย ถูกต้องเหมาะสม เช่น การให้ปุ๋ยและน้ำ การผสมเกสร แสงแดด อุณหภูมิ เป็นต้น

โดยทั่วไป ต้นอินทผลัม มักเกิดโรคเชื้อรา ใบจุดสีน้ำตาล อยู่เป็นประจำโดยเฉพาะช่วงปลายฝนต้นหนาว หรือสภาพอากาศแปรปรวน น้ำค้างแรงกลางคืน ตกกลางวันร้อนอบอ้าว โรคจะระบาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การดูแลควรใช้ยาป้องกันโรคเชื้อรา เช่น แมนโคเซบ แค็ปแทน ฉีดพ่นทั่วทรงพุ่ม ห่างกันทุกๆ 7-10 วัน ต่อครั้ง จนกว่าอาการระบาดจะลดลง

ข้อแนะนำสำหรับมือใหม่หัดปลูก

สำหรับนักลงทุนหน้าใหม่ที่สนใจอยากปลูกอินทผลัม บังรี ให้คำแนะนำว่า ควรหาเวลาศึกษารายละเอียด ลักษณะประจำพันธุ์ของอินทผลัมในแต่ละสายพันธุ์ ที่เกิดจากการเพาะขยายด้วยเนื้อเยื่อ สำหรับต้นอินทผลัมที่เกิดจากการเพาะเมล็ดนั้น ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพหรือดูด้วยสายตาได้ในเบื้องต้น เพราะมีความแปรปรวนของยีนลูกผสม (hybrid) ที่สลับซับซ้อนไม่แน่นอน การวิเคราะห์ในเบื้องต้น สามารถบ่งชี้ลักษณะทางกายภาพในเบื้องต้นเท่านั้น หากใครต้องการผลที่ชัดเจนถูกต้อง ต้องอาศัยการตรวจวิเคราะห์เรื่องพันธุกรรมพืช (DNA) เท่านั้น

บังรี กล่าวว่า อินทผลัม มีเรื่องให้ศึกษาเรียนรู้ไม่สิ้นสุด สำหรับมือใหม่ที่สนใจปลูกอินทผลัม ชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ยินดีทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงด้านการปลูกดูแลอินทผลัมให้กับผู้สนใจทุกท่าน เพื่อจะได้ร่วมกันเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องอินทผลัมไปด้วยกัน เพื่อช่วยกันพัฒนาอินทผลัมไทยให้ก้าวหน้าและยั่งยืนต่อไป

สำหรับผู้สนใจเรื่องการปลูกดูแลอินทผลัม สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก บังรี ประธานชมรมศูนย์ส่งเสริมปลูกอินทผลัม ภาคกลาง ได้ทางเฟซบุ๊ก “Chaiaree Wonghan” และ “Ayutthaya date palm” หรือเบอร์โทร. และไอดีไลน์ 082-198-2255 ได้ทุกวัน

ถึงแม้ “มะพร้าว” จะเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ แต่ที่ผ่านมามักประสบปัญหาทางด้านโรคแมลงและราคามาตลอดอย่างยาวนานและต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาภายในและภายนอกที่บุกเข้าโจมตีสร้างความเดือดร้อนต่อสภาวะการยึดอาชีพปลูกมะพร้าวของชาวสวนทั่วประเทศ ส่งผลให้ต้องหาแนวทางออกด้วยวิธีสร้างมูลค่ามะพร้าวแทนการขายผล

“สวนลุงสงค์” เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนน้ำมันมะพร้าวบางใบไม้ ส่งเสริมการปลูกมะพร้าวแบบอินทรีย์ที่มีมาตรฐาน เพื่อนำผลผลิตมะพร้าวมาสร้างผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านการวิจัย พัฒนา พร้อมดึงเทคโนโลยีเข้ามาใช้ร่วมกับภูมิปัญญาดั้งเดิมผลิตน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นเป็นผลสำเร็จ นำมาสู่การแตกไลน์ผลิตเป็นเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพเกือบ 20 ชนิด โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับในระดับสากล กระทั่งสามารถนำไปจำหน่ายบนเครื่องการบินไทย ตลอดจนในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ นอกจากนั้น ยังนำวัสดุเหลือใช้จากมะพร้าวมารังสรรค์เป็นชิ้นงานของใช้ เครื่องประดับตกแต่ง เป็นการสร้างมูลค่า สร้างรายได้มิให้สูญเปล่า

สวนลุงสงค์ เป็นที่มาของชื่อ คุณสมประสงค์ ศรีเทพ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 109 หมู่ที่ 9 ตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นสวนมะพร้าวอินทรีย์เก่าแก่ที่ปลูกขึ้นเพื่อยึดเป็นอาชีพมานานกว่า 60 ปี เป็นมะพร้าวพันธุ์พื้นเมือง และมีพื้นที่ปลูกรวมกว่า 70 ไร่ กระทั่งตอนนี้ได้ส่งมอบภารกิจหน้าที่ให้ คุณศุภชาติ ศรีเทพ (คุณตู่) ลูกชายรับช่วงบริหารงานต่อ

ราคาขายไม่แน่นอน เบนเข็มแปรรูปเพิ่มมูลค่า คุณตู่ กล่าวว่า สมัยที่คุณพ่อปลูกมะพร้าว มีรายได้จากการขายผลเท่านั้น โดยขายให้กับผู้รับซื้อ เมื่อเวลาผ่านไปเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ จนทำให้เกิดปัญหาราคามะพร้าว ขณะเดียวกันมีงานวิจัยถึงประโยชน์ของมะพร้าวต่อสุขภาพ ตลอดจนการแนะนำจากหลายภาคส่วนว่า มะพร้าวสามารถสร้างเงินจากการแปรรูปได้ด้วย แทนที่จะรอขายผลอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้คุณพ่อจึงปรับเปลี่ยนแนวคิดการสร้างมูลค่ามะพร้าวด้วยการแปรรูปเป็นน้ำมันมะพร้าว

ความสำเร็จจากน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นที่ผลิตจากมะพร้าวอินทรีย์ ได้รับความสนใจอย่างดีเป็นเวลานานกว่า 7 ปี จนกระทั่งคุณตู่ได้เข้ามาสานงานต่อเมื่อ 4 ปี ที่ผ่านมา แล้วมองอนาคตมะพร้าวว่ายังสามารถสร้างมูลค่าอื่นๆ ได้อีกจากผลและส่วนอื่นของต้นมะพร้าว พร้อมดึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อขยายผลเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อีกทั้งยังจับมาตรฐานมาใส่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับของชาวไทยและต่างประเทศ

“เมื่อต้องการยกระดับมะพร้าวให้เป็นอินทรีย์อย่างสมบูรณ์จึงจำเป็นต้องได้รับการรับรองจากสถาบันที่ยอมรับตามมาตรฐาน พร้อมไปกับต้องเข้ามาบริหารจัดการทุกอย่างให้เป็นระบบ เป็นขั้นตอน ตามกฎ กติกา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ การใส่ปุ๋ย แนวทางการปลูก ตลอดจนการจดบันทึกข้อมูลอย่างละเอียด”

ยกระดับมะพร้าวอินทรีย์ ด้วยมาตรฐานการจัดการ

คุณตู่ชี้ว่า ความจริงมะพร้าวในสวนเป็นอินทรีย์ตามธรรมชาติเพราะไม่ได้ใช้สารเคมี แต่ใช้วิธีตัดหญ้าปล่อยให้ย่อยสลาย ขณะเดียวกันมะพร้าวเป็นพืชที่ไม่ต้องการปุ๋ยบำรุงอะไรมาก เพราะมะพร้าวที่อยู่ตามธรรมชาติก็ไม่มีใครไปใส่ปุ๋ยหรือบำรุงต้นแต่อย่างใด ดังนั้น อินทรีย์ในความหมายของมาตรฐานการจัดการด้วยวิธีผลิตปุ๋ยเองจากทางมะพร้าวหรือวัสดุทางธรรมชาติที่มีในพื้นที่มาย่อยเพื่อหมักเป็นปุ๋ยพันธุ์

อีกทั้งความเป็นธรรมชาติและความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ปลูกตั้งอยู่ในจุดที่มีสภาพน้ำ 2 อย่าง อยู่ใกล้ทะเลจึงมีโอเมก้า 69 ตลอดจนมีต้นน้ำที่ไหลมาจากเทือกเขาสูงในจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงทำให้เกิดการทับถมของดินตะกอนที่มีแร่ธาตุสำคัญเกิดประโยชน์ต่อพืชต่างๆ รวมถึงมะพร้าวอินทรีย์จึงทำให้สวนมะพร้าวของครอบครัวมีเอกลักษณ์ตรงผลดกมาก มีเนื้อหนาชั้นเดียว มีความหอมมัน

“นอกจากนั้นพื้นที่ปลูกมะพร้าวอินทรีย์จะต้องล้อมรอบด้วยแนวกันชน ซึ่งเป็นหลักปฏิบัติสำหรับการทำเกษตรอินทรีย์ โดยทางสวนได้ขุดเป็นคันกั้นน้ำไว้โดยรอบเพื่อป้องกันน้ำด้านนอกไหลเข้ามา ขณะเดียวกันการบริหารจัดการน้ำในสวนจะบังคับด้วยประตูเปิด-ปิด อย่างไรก็ตามน้ำที่ใช้ในสวนมะพร้าวจะเกิดจากน้ำตามธรรมชาติเป็นหลัก”

แปรรูปผลิตภัณฑ์มะพร้าวอินทรีย์ บุกตลาดทุกกลุ่มเป้าหมาย

ได้รับการคัดเลือกเพื่อขึ้นเครื่องการบินไทย
ภายหลังที่ผ่านกระบวนการพิสูจน์ได้ว่าเป็นอินทรีย์ตามมาตรฐานแล้ว จึงนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องสำอาง แบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai)” ทำให้มูลค่าเพิ่มขึ้นมาทันที จากผลมะพร้าวธรรมดาที่ขายได้เงินเพียงไม่กี่บาท กลับขยับราคาขายได้ได้สูงกว่าหลายสิบเท่า เป็นผลให้ไม่ต้องไปกังวลกับปัญหาราคาที่ผันแปรตลอดเวลา

ผลิตภัณฑ์แบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai)” มีสินค้ามากมาย ตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคได้ทุกเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มเพื่อการบริโภค ได้แก่ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น, น้ำมันมะพร้าวสำหรับปรุงอาหาร กลุ่มสปา ได้แก่ น้ำมันสปา, น้ำมันมะพร้าว 100 เปอร์เซ็นต์ และน้ำมันนวดคลายเส้น กลุ่มดูแลทำความสะอาด ได้แก่ สบู่กลีเซอรีนน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น, สบู่น้ำมันมะพร้าว, เจลล้างหน้าและเจลอาบน้ำ กลุ่มดูแลเส้นผม ได้แก่ แชมพู, ครีมนวดผม, ครีมหมักผมและเซรั่มบำรุงเส้นผม กลุ่มดูแลผิวพรรณ ได้แก่ สครับมะพร้าว, ครีมบำรุงผิวหน้าและโลชั่นบำรุงผิวกาย กลุ่มดูแลเป็นพิเศษ ได้แก่ ยาหม่องน้ำมันมะพร้าว, ครีมทาส้นเท้า, ลิปบาล์ม, โลชั่นกันยุงและครีมบำรุงมือ เก็บทุกอย่างของมะพร้าวมาผลิตขายได้

คุณตู่ เล่าว่า ผลมะพร้าวที่เก็บจากต้นแล้วจะเริ่มผลิตเป็นน้ำมันมะพร้าวก่อน หลังจากนั้นจึงแตกแขนงแปรรูปเป็นเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ความงามอื่นๆ ขณะที่แปรรูปจะมีวัสดุบางอย่างที่เหลือ ซึ่งสมัยก่อนกว่าจะสกัดเป็นน้ำมันมะพร้าวได้สำเร็จ จะต้องทิ้งส่วนที่เป็นน้ำมะพร้าวไปโดยเปล่าประโยชน์

“แต่พอมาถึงช่วงเวลานี้ทุกอย่างควรต้องนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้หมดโดยไม่ทิ้ง ดังนั้นเมื่อได้น้ำมะพร้าวที่ผ่านกระบวนการแยกเป็นน้ำมันมะพร้าวจึงนำเทคโนโลยีมาใส่ในกระบวนการเพื่อนำน้ำมะพร้าวมาผลิตเป็นนมมะพร้าว แล้วต้องตกใจเมื่อมูลค่านมมะพร้าวมีราคาสูงกว่าน้ำมันมะพร้าวเสียอีก”

นมมะพร้าว เกิดจากการคั้นหัวกะทิที่ไม่ต้องเติมน้ำ บาคาร่าออนไลน์ พอขูดเป็นเนื้อแล้วไปคั้นเพื่อเป็นกะทิแล้วจึงแยกน้ำออกจากไขมัน ซึ่งน้ำกะทิที่แยกออกจากไขมันคือนมมะพร้าว ที่สามารถนำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตเป็นโยเกิร์ตหรือเครื่องดื่ม

ในอนาคตยังมีแผนจะเปิดร้านกาแฟเพื่อสุขภาพโดยจะนำความหวานจากน้ำตาลมะพร้าว หรือนมมะพร้าว ที่ใช้เป็นครีมเทียมใส่กาแฟเสิร์ฟเป็นเมนูพิเศษเพื่อสุขภาพ เนื่องจากจะมีลูกค้าในกลุ่มผู้สูงอายุตลอดจนกลุ่มผู้รักสุขภาพแวะเวียนมาที่สวนลุงสงค์จำนวนมาก ขณะเดียวกันลูกค้ากลุ่มนี้เมื่อได้สัมผัสแล้วติดใจก็อาจเป็นตัวแทนจำหน่ายต่อไปในอนาคต

สำหรับเศษวัสดุทุกส่วนของมะพร้าวยังเก็บไว้ใช้ประโยชน์ด้วยการนำมาผลิตเป็นสิ่งของ เครื่องตกแต่งเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า โดยไม่ทิ้งหรือสูญเสียน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกะลามะพร้าว ผลิตเป็นอุปกรณ์ใช้เหยียบเพื่อบริหารเท้า เปลือกมะพร้าว นำมาทำเป็นภาชนะปลูกต้นไม้ โป่งทางมะพร้าว ผลิตเป็นอุปกรณ์ช่วยทางด้านการดัดเท้า ซึ่งถือเป็นรายแรก โดยทั่วไปพบเห็นใช้ก้านตาล แต่ก้านมะพร้าวมีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ได้เช่นกัน หรือแม้กระทั่งใบมะพร้าวนำไปย่อยเพื่อหมักเป็นปุ๋ยใช้ในสวน เสวียนหม้อ/กระเช้า ไม้กวาดทางมะพร้าว สิ่งเหล่านี้เมื่อผลิตแล้วสามารถขายให้แก่นักท่องเที่ยว ตลอดจนผู้ที่เดินทางเข้ามาศึกษาดูงาน

คุณตู่ ปล่อยแตนเบียนเพื่อกำจัดศัตรูมะพร้าว
ไม่เพียงเท่านั้น ที่สวนลุงสงค์ยังเพาะต้นกล้ามะพร้าวอินทรีย์ขาย หน่อละ 80 บาท โดยจะต้องสั่งล่วงหน้า ตอนนี้กล้ามะพร้าวขายดีมาก เนื่องจากคนเปลี่ยนจากปลูกยางพาราและปาล์มมาเป็นมะพร้าวแทน

สำหรับช่องทางจำหน่ายหลักของแบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai)” อยู่ที่สวนลุงสงค์ ที่นี่มีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์แล้วยังได้มีโอกาสเห็นบรรยากาศสวนมะพร้าวพร้อมชมกิจกรรมต่างๆ ของมะพร้าว จะเปิดขายตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน นอกจากนั้น ยังนำไปวางขายขายที่ห้าง Tops ส่วนอีกช่องทางที่นิยมกันมากคือขายทางออนไลน์

การวางเป้าหมายการทำธุรกิจมะพร้าวด้วยการเน้นความเป็นอินทรีย์ปรากฏผลอย่างน่าภาคภูมิใจ เมื่อผลิตภัณฑ์แบรนด์ “พร้าวไทย (Prow Thai)” ได้รับการคัดสรรเป็นสินค้าโอท็อป เพื่อนำไปขายบนเครื่องของสายการบินไทย หลายชนิด อาทิ แผ่นเช็ดเครื่องสำอางจากน้ำมันมะพร้าว หรือชุด SET ที่ประกอบด้วย แชมพู ครีมนวดผม ครีมอาบน้ำ บอร์ดี้โลชั่น แฮนด์ครีม ที่ทุกอย่างล้วนผลิตมาจากมะพร้าวอินทรีย์