เปิดเคล็ด (ไม่) ลับ ปลูกผักหวานป่า ออกยอดตัดขายได้ทั้งปี

จำได้ว่าสมัยก่อน ผักหวานป่า หากินยากมาก เพราะจะมีอยู่แต่ในป่าและได้กินเฉพาะช่วงหน้าร้อน-หน้าฝน เท่านั้น แต่หลายปีมานี้มีการนำเมล็ดพันธุ์ผักหวานป่ามาปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้ผู้ที่ชื่นชอบผักชนิดนี้มีกินได้ตลอดทั้งปี ในราคาที่จับต้องได้

สวนผักหวานป่า อมรฟาร์ม ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ที่ 2 ตำบลโพนสุง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นอีกแห่งที่ปลูกผักหวานป่าขายทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม โดยมี คุณพิมพ์พกานต์ ซ้ายกาละคำ อดีตพยาบาลสาว เป็นเจ้าของ ซึ่งในสวนนี้มีเนื้อที่ 23 ไร่ นอกจากจะปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ ยังแบ่งปลูกพืชผักผลไม้อื่นๆ อีก อาทิ ไผ่บงหวาน 6.5 ไร่ ปลูกข้าว รวมถึงมะม่วง มะขามเทศ หม่อน ฝรั่งไส้แดง มะเดื่อฝรั่ง สมุนไพรหลากหลาย พืชผักสวนครัวนานาชนิด และเห็ดขอนขาว

แปรรูปผลผลิตเพื่อสุขภาพ

สวนแห่งนี้ใช่จะขายใบผักหวานป่าอย่างเดียว ยังขายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ด้วย และยังนำพืชผักผลไม้ในสวนมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วย อย่างเช่น น้ำมัลเบอรี่ มัลเบอรี่ไซรัป แยมหม่อน ชาใบหม่อนขาว ชาใบมะเดื่อฝรั่ง ข้าวโปร่งหม่อน ฯลฯ ใช้ชื่อแบรนด์ “แอนนา” เรียกว่าเป็นสวนที่ทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำเลยทีเดียว

เดิมนั้น คุณพิมพ์พกานต์ ทำงานเป็นพยาบาล อยู่ที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯ และเป็นพยาบาลอิสระ รวมระยะเวลากว่า 10 ปี กระทั่งเริ่มสนใจการทำเกษตรอย่างจริงจังเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว แรงจูงใจที่อยากมาทำเกษตร เนื่องจากเจ้าตัวมองแล้วว่าคนต้องกินอาหารทุกวัน การทำธุรกิจอาหารและการเกษตรน่าจะเหมาะกับยุคปัจจุบันที่พืชผักอาหารราคาแพงขึ้น ในส่วนของราคาผักหวานป่าก็แพง ตกกิโลกรัมละ 300-500 บาท ถือว่าสูงมากทีเดียว อีกทั้งยังนำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง แกงจืด แกงส้ม เป็นต้น

ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2551 ทางครอบครัวได้ลองปลูกผักหวานป่า เพราะเห็นว่าคนอีสานชอบกินแกงผักหวานป่ามาก อีกทั้งคนในพื้นที่ยังไม่มีใครปลูกได้ ดูแล้วมีตลาดรองรับแน่นอน และได้ไปดูแนวทางการปลูกผักหวานป่าจากอำเภอบ้านหมอ จังหวัด สระบุรี จากนั้นสั่งเมล็ดพันธุ์มาเพาะกล้า หลังจากปลูกผักหวานป่ามาได้สัก 7 ปี พ่อก็เสียชีวิต ทำให้แม่ต้องดูแลสวนผักหวานป่าคนเดียว คุณพิมพ์พกานต์จึงได้เข้ามาช่วยงานในสวนเต็มตัว และยังเน้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยใช้ผลผลิตในสวนมาทำทั้งหมด

คุณพิมพ์พกานต์ เล่าว่า ช่วงแรกได้ใช้เงินลงทุน ประมาณ 500,000 บาท ลงทุนปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ เนื่องจากที่ดินแปลงปลูกไม่มีไฟฟ้าและแหล่งน้ำ ต้องขุดสระ 2 สระ ประมาณ 1 ไร่ แล้วนำดินไปถมในพื้นที่ลุ่มต่ำ และใช้เงินในการปลูก เตรียมเมล็ดพันธุ์ เครื่องสูบน้ำ 2 ตัว ค่าแรงงานปลูกและดูแลอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ได้เริ่มเก็บผักหวานป่าเมื่อเข้าปีที่ 5 ผักหวานป่าเริ่มโตเต็มที่ คาดว่าจะได้เงินทุนคืนภายในปีนี้ และปีหน้ามีเป้าหมายจะได้ผลผลิตจากผักหวานป่า 500,000 บาท ต่อปี

“หลังจากดิฉันได้ทำการตลาดออนไลน์ เพื่อโปรโมตสวนผักหวานป่าให้คนในพื้นที่ได้รู้จักเพิ่มมากขึ้น ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าในชุมชนทั่วอำเภอและทั้งจังหวัด มีออเดอร์จองผักหวานป่ากันข้ามวัน ลูกค้าต้องเข้าคิวรอ แจ้งจองล่วงหน้ากัน 1-2 วัน ลูกค้ากินแล้วติดใจผักหวานป่ายอดอ่อนๆ เก็บสดใหม่ทุกวัน ซึ่งต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 ถึงตี 5 ทุกวัน เพื่อเก็บผักหวานป่าให้ทันออเดอร์ ซึ่งทำให้มีรสชาติหวาน หอม กรอบ อร่อย และลูกค้าต่างบอกปากต่อปากว่า ถ้าจะกินแกงผักหวานป่าให้อร่อยต้องซื้อจาก อมรฟาร์มเท่านั้น”

คุณพิมพ์พกานต์ บอกด้วยว่า ผักหวานป่านอกจากจะทำเป็นอาหารได้หลายเมนูแล้ว คนโบราณยังนิยมนำมาทำยาสมุนไพรเพื่อรักษาโรคได้หลายชนิด เนื่องจากเป็นพืชที่มีโปรตีน วิตามินซี และใยอาหารสูง ช่วยลดอาการเลือดออกตามไรฟัน และช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี ในส่วนของรากผักหวานป่า สามารถนำมาต้มเพื่อแก้อาการปวดมดลูกและแก้ดีพิการ อีกทั้งแก่นต้นผักหวานนำมาต้มน้ำดื่มแก้อาการปวดตามข้อ

สำหรับชาผักหวานป่า มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิด โรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก ดื่มง่าย ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย

เทคนิคการปลูกผักหวานป่า

คุณพิมพ์พกานต์ ยังได้แจกแจงเทคนิควิธีการปลูกและการดูแลผักหวานป่าเพื่อให้ออกตลอดทั้งปีว่า ทางฟาร์มเน้นปลูกจากการเพาะเมล็ดเป็นหลัก เนื่องจากจะได้ต้นผักหวานป่าที่มีรากเดินดีและแข็งแรง อีกทั้งจะมีชีวิตอยู่ได้นานเป็น 100 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ชั่วลูกชั่วหลาน

สำหรับขั้นตอนการปลูกก็ไม่ยาก เริ่มจาก

รองก้นหลุมด้วยขี้วัว
ปลูกหลังจากเพาะกล้าเมล็ดได้สัก 1 เดือน
ขุดหลุมปลูกไม่ต้องให้ลึกมาก
ระยะปลูกที่แนะนำ 1×1 เมตร จะได้จำนวน 400 ต้น ต่อไร่ และระยะ 2×2 เมตร จะได้ 200 ต้น ต่อไร่
ต้นอ่อนต้องครอบด้วยกระถางหรือเข่งไม้ไผ่ ให้ต้นกล้าผักหวานป่าต้นอ่อนโดนแสงแดดน้อย เป็นเวลา 1 ปี
หลังปลูกเสร็จ ต้องให้น้ำประมาณ 1 เดือน ก่อนที่ฤดูฝนจะมาถึง
ในฤดูกาลแตกยอดเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปี ในช่วงที่ต้องการให้ผักหวานป่าออกยอด ควรตัดแต่งกิ่ง
ให้ขี้วัว ขี้หมู ขี้ไก่ ปีละ 2-3 ครั้ง
พ่นน้ำหมักชีวภาพหัวปลีฉีดพ่นยอดผักหวานป่า จะทำให้ยืดยาวได้น้ำหนัก
ช่วงที่เหมาะแก่การปลูกในพื้นที่ราบดอนประมาณเดือนเมษายน-เดือนพฤษภาคม เมื่อได้รับน้ำสม่ำเสมอผักหวานป่าจะเจริญเติบโตเร็ว ถ้าพื้นที่ปลูกเป็นเนินเขา ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก จะต้องปลูกประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

เจ้าของอมรฟาร์มบอกว่า การปลูกผักหวานป่าหลายคนบอกว่า ปลูกง่าย ดูแลยาก ตายง่าย โตช้า มีแนวโน้มตายมากกว่ารอด แต่จากประสบการณ์หลายปีที่ผ่านมาของทางฟาร์ม ค้นพบเทคนิคการปลูกผักหวานป่าให้รอด และโตไวด้วยวิธีธรรมชาติแบบง่ายๆ ดังนี้

ปลูกในพื้นที่ป่าที่มีอยู่แล้ว เช่น ป่าเต็งรัง สวนป่า
ผักหวานป่าชอบแดดรำไร ชอบมีต้นไม้พี่เลี้ยง เช่น ตะขบ มะขามเทศ ยางนา ขี้เหล็ก มะม่วง ประดู่
ที่ดินเหมาะแก่การปลูก ต้องเป็นที่เนิน ดอน ภูเขา น้ำไม่ท่วมขัง
การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการปลูกผักหวานป่า เช่น ห้ามน้ำท่วมขัง ให้น้ำในหน้าแล้ง ต้องวางระบบน้ำให้ดี
สำหรับการดูแลต้นผักหวานป่าให้ได้ใบดกและดี มีหลายปัจจัยที่ต้องระมัดระวัง อย่างเช่น ระวังหนู และแมงอีนูน หนอนจาะแทะต้น ระวังน้ำขัง รากเน่า ฝนฟ้าพายุ และระวังอย่าเหยียบหรือกระแทกต้นผักหวานบ่อยๆ

คุณพิมพ์พกานต์ ให้ข้อมูลอีกว่า ด้วยความที่ดินเป็นที่ราบดอน การบริหารจัดการน้ำเป็นสิ่งจำเป็น จึงขุดสระน้ำและเจาะบ่อบาดาลไว้ใช้ พอถึงหน้าแล้งก็บริหารจัดการน้ำด้วยระบบสปริงเกลอร์ หน้าฝนก็คอยดูแลไม่ให้น้ำท่วมขัง เพราะถ้าปล่อยให้น้ำแช่ขังจะทำให้รากเน่า ต้นผักหวานจะตายได้ ที่สำคัญต้องคอยตรวจว่ามีหนอนเจาะต้นผักหวานป่าหรือไม่ เพราะแมลงหนอนร้ายจะมากับพวกปุ๋ยขี้ไก่

แรกทีเดียวนั้น ทางอมรฟาร์มปลูกผักหวานป่า 6.5 ไร่ แต่ปีนี้ได้เพิ่มมาเป็น 10 ไร่ เนื่องจากที่ผ่านมาผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าพืชชนิดนี้ต้องมีพืชพี่เลี้ยงด้วย โดยทางฟาร์มปลูกมะม่วง หม่อน และฝรั่ง เป็นพืชพี่เลี้ยง

เล็งทำท่องเที่ยวฟาร์มสเตย์

คุณพิมพ์พกานต์ ระบุว่า เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพมาตรฐาน เพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าว่าผักหวานป่าอมรฟาร์มปลอดสารพิษแน่นอน จึงได้มองถึงการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย (GAP) ซึ่งทางสวนอยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาต การรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร

สำหรับการแข่งขันทางการตลาดในเพื้นที่ คุณพิมพ์พกานต์ ระบุว่า มีผักหวานป่าราคาถูกจากสระบุรีเข้ามาตีตลาดมาก แต่ด้วยคุณภาพของผักหวานป่าอมรฟาร์มที่สวนเก็บใหม่สดทุกวัน รสชาติดีกว่าผักหวานสระบุรี และปลอดสารพิษแน่นอน จึงได้รับความนิยมมากกว่าผักหวานสระบุรี

“ผักหวานป่า ที่สวนเน้นขายผักสดทำกับข้าวในช่วงหน้าร้อน ระหว่างเดือนมกราคม-เดือนพฤษภาคม ซึ่งผักหวานป่าจะออกมาก พอหน้าฝนผักหวานป่าราคาถูก ช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน ทางสวนจะเก็บใบมาแปรรูปเป็นชาใบผักหวานป่า นอกจากนี้ จะนำผลผลิตของสวนที่มีหลากหลายมาแปรรูป ทั้งนี้ทั้งนั้นจะดูตามความเหมาะสมของตลาดเป็นหลัก อย่างถ้าช่วงไหนผักหวานป่าราคาถูกจะนำมาแปรรูปทำชา”

ในฐานะพยาบาลเก่า คุณพิมพ์พกานต์แจกแจงสรรพคุณของชาผักหวานป่าว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สำคัญช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินซี และสารประกอบฟีนอลิก ดื่มง่าย ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ซึ่งทางฟาร์มขายกล่องละ 50 บาท มี 12 ซอง

เจ้าของสวนผักหวานป่าอมรฟาร์ม เล่าถึงเทคนิคการทำผักหวานป่านอกฤดูว่า หลังจากปลูกกล้าผักหวานป่าได้ 3-5 ปีแล้ว ให้เริ่มตัดแต่งกิ่ง โดยให้ตัดปลายกิ่งทุกกิ่งทิ้ง ประมาณ 15-20 เซนติเมตร พร้อมกับรูดใบแก่บริเวณโคนกิ่งทิ้ง และเหลือไว้ 3-4 ใบ หลังจากนั้น หว่านโรยด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น และปุ๋ยเคมี สูตร 23-5-5 จำนวน 1 กำมือ ต่อต้น พร้อมรดน้ำให้ชุ่มทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ประมาณ 7-14 วัน

ผักหวานป่าจะแตกยอดยาวพร้อมเก็บ และเก็บได้ต่อเนื่องจนถึงเดือนกรกฎาคม หากต้องการเก็บยอดจนถึงเดือนสิงหาคม สามารถกระตุ้นให้แตกยอดได้ด้วยการลิดใบแก่ออก และให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่หลังจากเดือนสิงหาคมแล้ว ให้หยุดการเก็บยอด จนกว่าจะถึงกลางเดือนกันยายน ค่อยเริ่มการตัดแต่งกิ่งลิดใบออกอีกครั้ง เพื่อจะได้ยอดอีกครั้งกลางเดือนตุลาคม ซึ่งผักหวานป่าจะพักตัวช่วงหน้าฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน และในช่วงฤดูหนาว ถ้าเจออากาศหนาวเย็นผักหวานป่าจะไม่ชอบ เริ่มจากเดือนธันวาคม-เดือนมกราคม จะหยุดชะงัก ยอดหงิกงอ หลังจากนั้นผักหวานป่าจะออกยอดดีในฤดูร้อน อากาศร้อนอบอ้าว

พร้อมกันนี้ทางอมรฟาร์มมีจำหน่ายเมล็ดผักหวานป่า พันธุ์ยอดเหลืองใบใหญ่ ราคากิโลกรัมละ 400 บาท โดยการันตีให้ด้วย และขายต้นกล้าผักหวานป่า ความยาวต้นประมาณ 15-30 เซนติเมตร ราคาถุงละ 20 บาท ซึ่งข้างในถุงจะมีต้นลำไยให้ด้วย เพื่อใช้เป็นต้นพี่เลี้ยง สามารถนำไปปลูกได้เลย ส่วนกิ่งพันธุ์ต้นหม่อนขาวที่ใช้การเสียบยอด ทาบกิ่ง และกิ่งตอน ขายกิ่งละ 150 บาท

ด้วยความที่สวนมีผักหวานป่าให้ลูกค้าได้ซื้อตลอด และยังมีผลผลิตแปรรูปอื่นๆ ขายด้วย จึงมีนักท่องเที่ยวและผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูสวนอยู่ตลอด ซึ่งทางฟาร์มเปิดให้ชมฟรี แต่ขอให้โทร.แจ้งล่วงหน้าก่อน

“ในอนาคต อมรฟาร์ม อยากจะทำเป็นธุรกิจเกษตรในรูปแบบฟาร์ม&แฟคทอรี่ ที่ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ รวมถึงการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบฟาร์มสเตย์”

ผู้สนใจสามารถซื้อผลิตภัณฑ์ของที่สวนผักหวานป่า อมรฟาร์ม ได้ที่ร้านส้มตำอมร ช่องนนทรี โทร. (02) 013-1765 และที่ร้านหลิงหลิง วุ้นกะทิ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ที่ปั๊ม ปตท. นอกจากนี้ ยังสั่งซื้อทางออนไลน์ได้ที่ ไอดีไลน์ 095-763-3555 และที่

ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ มีถิ่นกำเนิดในสุมาตรา หรือบอร์เนียว มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ดูริโอ ไซเบทินัส เมอร์ (Durio zibethinus Murr.) เชื่อว่ามีการปลูกในประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา และหากจะนับกันจริงๆ แล้ว ทุเรียนมีมากกว่า 600 สายพันธุ์ แต่ในปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้วเป็นจำนวนมาก ส่วนพันธุ์ที่เหลือก็หายากเต็มที

คุณขจร พฤฒิสุขนิรันดร์ (เฮียย้ง) เจ้าของสวนทุเรียน สวนบ้านเรา อยู่บ้านเลขที่ 324 หมู่ที่ 8 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ถือเป็นเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนในเจเนอเรชั่นที่สอง สืบทอดต่อจากรุ่นพ่อ รุ่นแม่ ปลูกทั้งเพื่อการค้า และเพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไว้ไม่ให้สูญหาย

เฮียย้ง เล่าว่า สืบเนื่องมาจาก เมื่อ 18 ปีก่อน ทุเรียนถือว่าราคาตกมาก เหลือเพียงกิโลกรัมละไม่กี่บาท เกษตรกรจึงโค่นทุเรียนทิ้ง แล้วมาปลูกยางพารา เพราะตอนนั้นยางพาราคือพืชเศรษฐกิจที่กำลังมาแรง ส่งผลให้ทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์หายากบางพันธุ์ถูกโค่นทิ้งมาตั้งแต่ตอนนั้น จึงมานั่งคิดว่า จะทำอย่างไรที่จะอนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนไว้ให้ลูกหลานต่อไป

ปัจจุบัน เฮียย้ง ปลูกทุเรียนบนพื้นที่กว่า 100 ไร่ ใช้เวลากว่า 2 ปี เพื่อรวบรวมสายพันธุ์ทุเรียนมากถึง 111 พันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะได้สายพันธุ์มาจากจังหวัดนนทบุรี อุตรดิตถ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี และพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดระยอง

ในระหว่างช่วงที่ใช้เวลาเก็บรวบรวมทุเรียนสายพันธุ์ต่างๆ เฮียย้งได้มีการปลูกชะนีเป็นต้นตอไว้ก่อน แล้วมาเสียบยอดทีหลัง ด้วยเหตุผลที่ว่าชะนีเป็นทุเรียนสายพันธุ์ที่ทนต่อสภาพอากาศ หากินเก่ง เหมาะสำหรับใช้เป็นต้นตอ

ที่นี่รวบรวมทุเรียนของ สวนบ้านเรา 111 พันธุ์ แบ่งตามลักษณะพันธุ์เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

ทุเรียนพันธุ์หายากที่ สวนบ้านเรา จะปลูกไว้รวมกันในพื้นที่ 100 ไร่ โดยจะแบ่งพื้นที่ปลูกเป็น 2 โซน โซนแรก ใช้ปลูกทุเรียนพันธุ์ต่างๆ จำนวน 1,600 ต้น พันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดคือ หมอนทอง รองลงมาคือ พวงมณี ส่วนพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์หายากใกล้สูญพันธุ์จะปลูกไว้อย่างละ 2-3 ต้น โซนที่สอง ทำเป็นสวนผสม ปลูกเงาะ มังคุด และทุเรียน ซึ่งทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีความโดดเด่นแตกต่างกันออกไป แต่ขอย้ำว่า กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ที่ปลูกในพื้นที่นี้เป็นทุเรียนที่หายากที่สุด ยกตัวอย่างเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มกบ มี 21 สายพันธุ์

1. กบสุวรรณ 2. กบทองเพ็ง
3. กบตาท้วม 4. กบพิกุล
5. กบเบา 6. กบชายน้ำ
7. กบซ่อนกลิ่น 8. กบแม่เฒ่า
9. กบหน้าศาล 10. กบตาโห้
11. กบหลังวิหาร 12. กบสีนาค
13. กบก้นป้าน 14. กบทองคำ
15. กบวัดกล้วย 16. กบรัศมี
17. กบตาปุ่น 18. กบตาขำ
19. กบงู 20. กบเล็บเหยี่ยว
21. กบหัวล้าน

2. กลุ่มลวง มี 5 สายพันธุ์
1. ชะนี 2. ย่ำมะหวาด
3. รวงทอง 4. ชมพูศรี
5. ชะนีน้ำตาลทราย

3. กลุ่มก้านยาว มี 6 สายพันธุ์
1. ก้านยาว (พันธุ์เมืองนนท์) 2. ต้นใหญ่
3. ก้านยาววัดสัก 4. ก้านยาวสีนาค
5. ทองสุข 6. ชมภูบาน

4. กลุ่มกำปั่น มี 8 สายพันธุ์
1. หมอนทอง 2. กำปั่นตาแพ
3. กำปั่นดำ 4. กำปั่นเหลือง
5. กำปั่นเดิม 6. กำปั่นพวง
7. ชายมะไฟ 8. ปิ่นทอง
5. กลุ่มทองย้อย มี 8 สายพันธุ์
1. ทองย้อยฉัตร 2. อีทุย
3. ทองใหม่ 4. นกหยิบ
5. ธรณีไหว 6. ทับทิม
7. นมสวรรค์ 8. ฉัตรสีทอง
6. กลุ่มเบ็ดเตล็ด มี 63 สายพันธุ์
1. พวงมณี 2. สาวชมฟักทอง
3. สาวชมเห็ด 4. ยินดี
5. สีทอง 6. เม็ดในยายปราง
7. ฝอยทอง 8. บางขุนนนท์
9. ทองม้วน 10. ทองแดง (ตะโก)
11. ตะพาบน้ำ 12. ดาวกระจาย
13. แดงสาวน้อย 14. ชายมังคุด
15. จอกลอย 16. ขุนทอง
17. เขียวตำลึง 18. กระดุมทอง
19. กะเทยเนื้อแดง 20. กะเทยเนื้อขาว
21. หางสิงห์ 22. อีลีบ
23. อีหนัก 24. ตอสามเส้า
25. ทองนพคุณ 26. นมสด
27. เม็ดในกระดุม 28. เม็ดในก้านยาว
29. ลวงเพาะเมล็ด 30. ห้าลูกไม่ถึงผัว
31. หลงลับแล 32. หลินลับแล
33. หมอนละอองฟ้า 34. สาวใหญ่
35. สาวน้อย 36. สาวเจ้าเนื้อ
37. เมล็ดเผียน 38. ไอ้เม่น
39. ไอ้ใหม่ 40. เหลืองทอง
41. อีลีบนายทิพย์ 42. ทูลถวาย
43. กระปุกทองดี 44. เนื้อเหลือง
45. บางกอก 46. การะเกด
47. ไอ้หยิบ 48. จำปา
49. สาริกา 50. เมล็ดอารีย์
51. เมล็ดอุปถัมภ์ 52. ก้านสั้น
53. ทองหยิบ 54. จำปาใน
55. ทองลินจง 56. นวลทองจันทร์
57. จันทบุรี 1 58. จันทบุรี 2
59. จันทบุรี 3 60. กะเทยขั้วสั้น
61. ไอ้งวงยาว 62. นวลทอง
63. ทองกมล

ไฮไลต์เด็ด 9 สายพันธุ์ ต้องห้ามพลาด เมื่อมา สวนบ้านเรา

ที่นี่เก็บรวบรวมทุเรียนไว้มากถึง 111 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไป ครั้งนี้ เฮียย้ง ยกตัวอย่างจุดเด่นทุเรียนมาให้ชมกว่า 9 สายพันธุ์ ซึ่งเฮียย้งบอกว่าถ้าจะพาชมให้ครบทั้ง 111 สายพันธุ์ ใช้เวลาวันเดียวคงไม่พอ สายพันธุ์แรกที่เฮียย้งแนะนำคือ

พวงมณี…ถือเป็นพันธุ์ยอดฮิตของผู้ที่ชื่นชอบรับประทานทุเรียน ด้วยรสชาติที่หวานแหลม เนื้อมีสีเหลืองจำปา ทำให้เป็นที่ติดอกติดใจของลูกค้าจนมีออเดอร์สั่งจองกันข้ามปี ล็อตแรกออกมา 2,600 ลูก เฮียย้ง บอกว่า ไม่พอขาย

เม็ดในยายปราง…หรือคนระยองรู้จักกันในชื่อ นกกระจิบ แต่ที่สวนมีพันธุ์ดั้งเดิมมาจากเมืองนนท์ เป็นสายพันธุ์ยอดนิยมอีกสายพันธุ์ ด้วยกลิ่นที่มีความหอมเฉพาะตัว มีเนื้อสีเหลืองทอง รสชาติหวาน มัน หอม ตรงนี้ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างที่ลูกค้าชอบ โดยน้ำหนักเฉลี่ยแต่ละลูกประมาณ 2 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 250 บาท

ย่ำมะหวาด…อยู่ในกลุ่มเบ็ดเตล็ด จุดเด่นคือ เนื้อละเอียดเป็นครีม รสชาติมีความมันนำหน้าและปนรสหวาน

หลินและหลงลับแล…ถือเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างจะหารับประทานยาก บางครั้งอาจจะต้องไปไกลถึงอุตรดิตถ์ เพราะด้วยรสชาติที่อร่อยมาก กลิ่นไม่แรง เปลือกบาง เนื้อละเอียด หอม มัน จำหน่ายราคากิโลกรัมละ 350-500 บาท ถามว่าทำไมถึงแพง เพราะบางครั้ง 1 ต้น ให้ผลผลิตเพียง 5-10 ลูก ขึ้นอยู่ที่การดูแลรักษา

ชมพูศรี…อยู่ในกลุ่มลวง เป็นอีกพันธุ์ที่หารับประทานได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์ ที่สวนบ้านเรามีเพียง 2 ต้น มีรสชาติและกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ เนื้อเยอะ ผลผลิตปีนี้มีประมาณ 100 ลูก

กบตาปุ่น…ที่นี่มีต้นเดียว เพราะฉะนั้นคนที่อยากรับประทาน ต้องจองล่วงหน้า เราจะไม่ไว้ลูกเยอะ คำนึงถึงความสมบูรณ์ของต้นเป็นหลัก

กบทองเพ็ง…ลูกค้าสั่งเยอะ คนจะจับจองเป็นพิเศษ เพราะรสชาติหวานเหมือนน้ำอ้อย เนื้อละเอียด สีเหลือง

ห้าลูกไม่ถึงผัว…เป็นพันธุ์พื้นเมือง ลูกเล็ก แต่เม็ดใหญ่ รสชาติไม่อร่อยเท่าไรนัก แต่ผลผลิตไม่เคยเหลือ เพราะจะมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มที่ชอบชิมทุเรียนพันธุ์แปลก หรือบางคนชอบที่ชื่อแปลกถึงซื้อ วิธีการดูแลทุเรียนหลากสายพันธุ์ ให้ได้ผลผลิตดีทุกต้น

เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่าน ต้องมีข้อสงสัยเดียวกันกับผู้เขียนว่า เฮียย้ง มีวิธีการปลูกดูแลรักษาอย่างไร เพราะทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ย่อมมีการดูแลรักษาที่แตกต่างกันออกไป ลำพังปลูกสายพันธุ์เดียวกันก็ดูแลยากแล้ว แต่เฮียย้งต้องดูแลเป็นร้อยๆ สายพันธุ์

เฮียย้ง บอกว่า ทุเรียนแต่ละสายพันธุ์มีวิธีการดูแลที่แตกต่างกัน ถ้าเป็นกลุ่มกบจะดูแลยาก อ่อนไหวต่อโรครากและโคนเน่า ถ้าจะให้ดีต้องหมั่นดูแลให้ทั่วถึงทุกต้น ต้องดูแลด้วยใจ ดูแลตั้งแต่วันแรกที่เราเก็บผลผลิตเสร็จ เท่ากับว่า 365 วัน เราต้องดูทุกวัน

หลังการเก็บเกี่ยวเสร็จต้องรีบบำรุงทันที เพื่อให้ต้นสมบูรณ์ ทุเรียนที่สมบูรณ์คือ ใบจะต้องเยอะเพื่อที่จะปรุงอาหารจากใบสู่ลูก ทุเรียนจะอร่อยหรือไม่ จะอยู่ที่การดูแลตั้งแต่หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ

การใส่ปุ๋ยทางดินสำคัญมาก สมัครไฮโลออนไลน์ ปุ๋ยที่นี่จะใส่ผสมระหว่างอินทรีย์และเคมี เพราะที่นี่เราทำแค่ GAP หมายความว่า เป็นการทำทุเรียนที่ปลอดภัย ไม่ใช่ออร์แกนิก การใช้ยา หรือปุ๋ย สามารถใช้สารเคมีได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม

ป้ายสี แก้ปัญหาการตัดทุเรียนอ่อนสู่ท้องตลาด

นอกจากการดูแลรักษาทุเรียนที่ดีแล้ว การเก็บเกี่ยวก็ต้องมีขั้นตอนการใส่ใจไม่แพ้กัน เพราะทุเรียนแต่ละพวงมีระยะดอกบานไม่พร้อมกัน เมื่อดอกบานไม่พร้อมกัน เราจะไม่สามารถกำหนดรุ่นที่ชัดเจนได้ ดังนั้น ตอนตัดก็จะมีทุเรียนแก่ทุเรียนอ่อนปนกันไป ที่สวนจึงแก้ปัญหาโดยการใช้สีป้ายที่ก้านของทุเรียนให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็นสีเหลือง คือลูกที่พร้อมตัด สีแดง คือตัดทีหลังสีเหลือง 1 อาทิตย์ และสีน้ำเงิน คือตัดรุ่นสุดท้าย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ชาวสวนมีระบบการจัดการสวนที่ดีขึ้น และถือเป็นการแก้ปัญหาการตัดทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานออกสู่ตลาดอีกด้วย

เลขรหัสทุเรียน ตัวช่วยสำคัญในการดูแลทุเรียนให้ได้ครบทุกต้นทุกลูก

รหัสต้นคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร เฮียย้ง บอกว่า มีไว้เพื่อช่วยให้ชาวสวนมีระบบการจัดการที่ดี สะดวกและแม่นยำมากขึ้น เกษตรกรจะสามารถดูแลทุเรียนได้ทั่วถึงทุกต้น ยกตัวอย่าง ที่สวนเฮียย้ง มีทุเรียน 1,600 ต้น ถ้าเกิดปัญหาหรืออยากจะให้คนงานไปตัดทุเรียนต้นที่ต้องการ คนงานไม่มีทางรู้ว่าต้นไหน แต่ถ้าเมื่อไรเรามีรหัสต้น เราแค่ถ่ายรูปรหัสต้นส่งไปให้ คนงานก็จะรู้ละว่าต้นที่เราให้ไปดูคือต้นที่เท่าไร แถวอะไร อย่างรหัสต้นเรา 4-3-12-7 เขาก็จะรู้และวิ่งไปที่แปลงที่ 4 แถวที่ 3 ต้นที่ 12 และเมื่อตัดขายก็จะมีสติ๊กเกอร์มาแปะที่ขั้ว โดยสติ๊กเกอร์ที่แปะจะบอกทั้งรหัสต้น เบอร์โทรศัพท์ ชื่อสวน เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้ เมื่อเขาได้รับประทานอาจติดใจต้องการผลผลิตจากต้นนี้อีก เขาก็สามารถสั่งจองจากรหัสต้นได้ด้วย