เป็นข้าวเล็บนก – เฉี้ยง “2 ข้าวพันธุ์” พัทลุง ยิ่งใหญ่ข้าวเล็บนก

ที่ได้จากการรวบรวมพันธุ์ 307 พันธุ์ จาก 104 อำเภอใน 14 จังหวัดภาคใต้ ในปี 2527 โดยพันธุ์เล็บนกที่เก็บมาจากตำบลชะรัด อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง มีคุณสุชาติ อ่อนเรือง เป็นผู้เก็บรวบรวมไว้ โดยคุณละม้าย เศรษฐสุข เป็นเจ้าของนา และได้ดำเนินการพัฒนาพันธุ์โดยสถานีทดลองข้าวปัตตานี และศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จนเป็นที่นิยมของผู้บริโภคมาจนถึงขณะนี้

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ระบุว่า ข้าวพันธุ์เล็บนก (PTNC 84210 ) ที่ชาวนานิยมปลูกกันมาก มีมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 146,856 ไร่ คิดร้อยละ 15 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดของจังหวัด รองลงมาคือจังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ปลูกประมาณ 207,536 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 45 ของพื้นที่ปลูกทั้งจังหวัด รองลงมาอีกจังหวัด คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ปลูกประมาณ 30,672 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8 ของพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการปลูกในจังหวัดกระบี่ จำนวน 3,567 ไร่ และสตูล จำนวน 192 ไร่

โดยสรุปแล้วรวมพื้นที่ปลูกข้าวเล็บนกในภาคใต้ มีประมาณ 388,031 ไร่ เท่ากับร้อยละ 13 ในพื้นที่ปลุกข้าวภาคใต้ทั้งหมดที่มีอยู่จำนวนกว่า 2.9 กว่าล้านไร่ (ข้อมูลเมื่อปีพ.ศ.2561)

ข้าวพันธุ์เล็บนกมีผลผลิตเฉลี่ย 476 กก. /ไร่ ส่วนราคาที่โรงสีท้องถิ่นรับซื้อกัน ราคาอยู่ที่ระหว่าง 9,500 –10,000 บาท โดยกลุ่มโรงสีรับไม่จำกัดจำนวน และจะรับซื้อสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ หลังจากนำมาสีขายเป็นข้าวสารขายในพื้นที่แล้ว บางส่วนจะนำไปขายให้กับตลาดต่างจังหวัดด้วย เพราะเป็นข้าวที่มีคุณภาพ เมื่อหุงเป็นข้าวสุกจะอ่อน นุ่มนวล เป็นที่นิยมของผู้บริโภคและตลาดมีความต้องการมาก

ข้าวเล็บนกเป็นข้าวมีรสชาติ และมีคุณภาพการหุงต้มเป็นที่นิยมของผู้บริโภค เป็นพันธุ์ข้าวที่ผลิตเป็นการภายในท้องถิ่นภาคใต้ โดยเป็นการเพิ่มรายได้ที่ดีของเกษตรกร โดยในจังหวัดพัทลุงปลุกทั้ง 11 อำเภอ แต่ที่ปลูกมากคือ อำเภอกงหรา มีพื้นที่ปลูกมากถึง 11 หมู่บ้าน

ลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวพันธุ์เล็บนก เป็นข้าวเจ้า ประเภทไวต่อแสง มีอายุการเก็บเกี่ยวในเดือนกุมภาพันธ์ รวงยาวจับกันแน่น ระแง้ถี่ คอรวงยาว และความสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ข้าวพันธุ์เล็บนกให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เมื่อปลูกในสภาพนาเป็นลุ่มน้ำที่แห้งช้า ปรับตัวได้ดีในสภาพแวดล้อมของภาคใต้ตอนกลาง บริเวณพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง

สำหรับข้อจำกัดของพันธุ์ข้าวที่ต้องระมัดระวัง คือไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง เช่นเดียวกับพันธุ์นางพญา 132 และไม่ควรปลูกในพื้นที่ที่เป็นนาดอน เนื่องจากเป็นข้าวหนัก

อีกพันธุ์ข้าวที่ขึ้นชื่อลือชาของภาคใต้ คือ ข้าวพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และเป็นที่ต้องการของตลาดกับโรงสีมาก โดยเฉพาะในอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นับตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา ปัจจุบันข้าวพันธุ์เฉี้ยง เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและผู้บริโภค เช่น จังหวัดพัทลุง นครศรีธรรมราช สงขลา สตูล และนราธิวาส

ข้าวเฉี้ยงเป็นพันธุ์หนึ่งที่มีความสามารถในการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมได้ดี และปลูกได้ในหลายท้องที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ อายุในการเก็บเกี่ยวปานกลาง ปลูกได้ในพื้นที่ที่มีชลประทาน และที่อาศัยน้ำฝน

ข้าวพันธุ์เฉี้ยง ปลูกมากที่สุดในพื้นที่จังหวัดพัทลุง และสงขลา โดยพัทลุงมีพื้นที่ปลูก จำนวน 94,707 ไร่ และสงขลาปลูกจำนวน 54,591 ไร่ ส่วนราคาข้าวนั้นทางโรงสีจะรับซื้อในราคาสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่นๆ อยู่ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลเมื่อปีพ.ศ.2561)

ความเป็นมาของข้าวพันธุ์เฉี้ยงมีประวัติว่า นายเฉี้ยง ทองเรือง อายุ 70 ปี ซึ่งเป็นเกษตรกรอำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง แต่เดิมนั้นมีนายเฉี้ยงมีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา นายเฉี้ยงได้ขอข้าวพันธุ์นี้จากเพื่อนบ้านชาวมุสลิมที่บ้านบางม่วง ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง และนำไปปลูกที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลาเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2517 เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดูในขณะนั้น

ลักษณะประจำพันธุ์ เป็นข้าวเจ้านาสวน มีส่วนสูงประมาณ 150 เซนติเมตร ไวต่อช่วงแสง อายุเก็บเกี่ยวประมาณ เดือนมกราคม มีใบสีเขียว ใบธงแผ่เป็นแนวนอน คอรวงยาว รวงยาวปานกลาง ระแง้ค่อนข้างถี่ เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง โดยมีระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 1 สัปดาห์ ให้ผลผลิตประมาณ 470 กิโลกรัม ต่อไร่ ส่วนเมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1x 6.7 x 1.6 มิลลิเมตร มีท้องไข่ปานกลาง ปริมาณอมิโลส 27 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์เฉี้ยงนั้นมีอายุเบา โดยจะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง และสม่ำเสมอ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวได้ดีทั้งในพื้นที่ที่เป็นนาดอน และนาลุ่ม มีความเหมาะสมกับพื้นที่ทุกจังหวัดในภาคใต้ทั้งที่เป็นน้ำชลประทาน และน้ำฝน มีการปลูกกันมากในจังหวัดพัทลุง และนครศรีธรรมราช

คุณภาพการสีดี และคุณภาพการหุงต้มดีทั้งข้าวเก่า และข้าวใหม่ ข้าวใหม่สามารถสีบริโภคได้ทันที สำหรับคุณภาพข้าวสุกแล้ว ร่วนแข็ง และหอม แต่สิ่งสำคัญมีข้อควรระวัง คือไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ และค่อนข้างอ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง

ทั้งข้าวพันธุ์เล็บนก และข้าวพันธุ์เฉี้ยงเป็นที่ต้องการตลาดเป็นอย่างมาก เกษตรกรเองก็ได้ราคาดีจากพันธุ์ข้าวทั้ง 2 พันธุ์ด้วย

ราคาข้าวพันธุ์เล็บนก ประมาณ 11,000 บาท/ตัน ข้าวพันธุ์เฉี้ยง 8,000 บาท/ตัน ส่วนราคาปลีกข้าวสารพันธุ์เล็บนก 30–35 บาท/กก. ส่วนข้าวพันธุ์เฉี้ยง ราคา 28–30 บาท/กก.

พัทลุงพันธุ์มีข้าว 3 พันธุ์ สังข์หยด เล็บนก และพันธุ์เฉี้ยง ข้าวพันธุ์เหล่านี้สร้างชื่อเสียง หากสนใจข้าวพันธุ์เล็บนก หรือข้าวพันธุ์เฉี้ยง ติดต่อศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง จังหวัดพัทลุง ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร มีข้อแนะนำ 5 ประการในการบำรุงดูแลสวนมะพร้าวที่ออกผลแล้วให้ติดผลดกสม่ำเสมอ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

เกษตรกรควรไถพรวนระหว่างแถวมะพร้าวไม่ให้ลึกเกินกว่า 20 เซนติเมตร ไถแถวเว้นแถวให้ห่างจากต้นข้างละ 2 เมตร ไถสลับกันทุก 2 ปี ตอนปลายฤดูแล้งรากที่อยู่ผิวดินจะแห้งไม่ดูดอาหาร เมื่อถูกตัดก็จะแตกใหม่เมื่อฝนตก

2. การขุดคูระบายน้ำและการรดน้ำในฤดูแล้ง

หากมีฝนตกมากและหากปลูกมะพร้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงแปลงปลูก เกษตรกรควรขุดคูระบายน้ำออก อย่าให้มีน้ำขังในแปลง ถ้าฝนแล้งนานก็จะกระทบต่อการผลิดอกออกผล ดังนั้น เมื่อถึงฤดูแล้ง หากพื้นที่ใดพอจะหาน้ำรดให้ต้นมะพร้าวได้ก็จะช่วยให้ต้นมะพร้าวงามดี ออกผลดกไม่เหี่ยวเฉา น้ำที่รดต้นควรใช้น้ำจืด แต่น้ำทะเลก็สามารถใช้รดต้นมะพร้าวได้

3. การควบคุมวัชพืชในสวนมะพร้าว

หากใครปลูกมะพร้าวในพื้นที่แล้งนาน ควรคอยถางหญ้าให้เตียน หรือใช้จอบขุดหมุนตีดินบนหน้าดิน อย่าให้ลึกกว่า 10 เซนติเมตร หรือใช้จานพรวนระหว่างแถวมะพร้าวส่วนบริเวณที่ฝนตกต้องเก็บหญ้าหรือพืชคลุมไว้แต่ไม่ให้ขึ้นรกมาก ควรตัดหญ้าหรือใช้จานพรวนลาก แต่ไม่กดให้ลึกมากเพื่อให้พืชคลุมดินหรือหญ้านั้นราบลงไปบ้างหรือการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ในมะพร้าวต้นเล็กให้ใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่ไม่ทำลายใบมะพร้าว แต่จะช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโตดี ส่วนแปลงปลูกมะพร้าวที่ตกผลแล้วไม่แนะนำให้ใช้สารกำจัดวัชพืช

4. พืชคลุมดิน
การปลูกพืชคลุมในสวนมะพร้าว สามารถช่วยควบคุมวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน นอกจากนั้น พืชคลุมยังช่วยเพิ่มธาตุอาหารและช่วยปรับปรุงดินในสวนมะพร้าว โดยเฉพาะพืชคลุมที่เป็นพืชตระกูลถั่ว จะช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจน พืชคลุมที่นิยมปลูกกันมาก ได้แก่ เพอราเรีย เซ็นโตรซีมา และคาโลโปโกเนียม

5. ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสด

ปุ๋ยอินทรีย์มีอยู่หลายชนิด ทั้งปุ๋ยคอกประเภท ปุ๋ยมูลวัว มูลไก่ มูลหมู มูลแพะ เป็นต้น รวมทั้งปุ๋ยหมักประเภทต่างๆ และปุ๋ยพืชสด เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วระหว่างแถวมะพร้าว เช่น โสน คาโลโปโกเนียม เมื่อต้นมะพร้าวเริ่มออกดอก ตัดเอาไปใส่ในร่อง ในกรณีที่ขุดดินเป็นร่องรอบโคนต้นหรือคลุมต้นมะพร้าว ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยพืชสดช่วยทำให้ดินร่วนซุย เหมาะสาหรับการไชชอนของราก

นอกจากนั้น ธาตุอาหารที่มีอยู่ในอินทรียวัตถุยังช่วยทำให้แบคทีเรียในดินทำงานได้ดี ซึ่งแบคทีเรียจะช่วยเปลี่ยนธาตุอาหารที่พืชดูดไปใช้ไม่ได้ ให้มาอยู่ในรูปธาตุที่พืชดูดไปเป็นอาหารได้ การเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดินจึงเป็นประโยชน์ต่อต้นมะพร้าวมาก การเพิ่มอินทรียวัตถุทำได้ดังนี้ ใส่ปุ๋ยคอก ขี้ควาย ขี้ไก่ ปุ๋ยหมัก ฝังกาบมะพร้าวหรือจะปลูกพืชคลุมแล้วไถกลบ หรือเลี้ยงสัตว์ในสวนมะพร้าวก็ได้ วัสดุเหล่านี้นำมาใช้เป็นปุ๋ยได้โดยคำนวณปริมาณธาตุอาหารให้เท่ากับที่แนะนำไว้คือ ให้มีปริมาณไนโตรเจน 520 กรัม ฟอสฟอริกแอซิด 520 กรัม โพแทสเซียม 840 กรัม

แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละประมาณ 40 กิโลกรัม ถ้าใส่ต้นมะพร้าวใหญ่มีวิธีใส่ให้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 หว่านลงไปบนดินแล้วพรวนกลบหรือใช้จอบหมุนพรวนให้ลึกประมาณ 10 เซนติเมตร โดยให้ใส่ต้นละประมาณ 50 กิโลกรัม

วิธีที่ 2 ใส่ในรางซึ่งขุดระหว่างต้นมะพร้าวหรือรอบต้นมะพร้าว แล้วใส่ปุ๋ยลงไปกลบ ปุ๋ยที่ใส่ควรใช้ปุ๋ยพืชสด การใส่ปุ๋ยควรใส่ตอนต้นฤดูฝน โดยทั่วไป การใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยขยะ ควรใส่ในรางหรือขุดรอบต้น ห่างต้นละประมาณ 2 เมตร แล้วใส่ปุ๋ยลงไปแล้วกลบ การขุดรางบริเวณรอบต้นอย่าขุดให้ลึกจนตัดรากมากนัก อาจขุดเป็นหลุมแล้วใส่ก็ได้

การใช้กาบมะพร้าวเป็นปุ๋ย

เกษตรกรควรนำกาบมะพร้าวใส่หลุมกว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 60 เซนติเมตร แล้วกลบ การฝังกาบมะพร้าวช่วยทำให้มะพร้าวออกผลดกขึ้น และช่วยสงวนความชื้นไว้ในดินในฤดูแล้ง กาบมะพร้าวนอกจากจะใช้ฝังดินแล้วยังนำมาเผาเป็นเถ้าถ่านซึ่งมีธาตุโพแทสเซียมถึงประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

การใส่ปุ๋ยเคมี

ก่อนใส่ปุ๋ยให้กับต้นมะพร้าว เกษตรกรควรทราบว่าในปัจจุบันบริเวณที่ปลูกมะพร้าวขาดธาตุอาหารอะไรบ้าง วิธีการตรวจสอบที่สะดวกและได้ผลดีคือ เก็บเอาใบมะพร้าวไปตรวจวิเคราะห์ โดยใช้ใบมะพร้าวใบที่ 14 ผลการวิเคราะห์ใบเป็นเปอร์เซ็นต์ของธาตุต่างๆ คือ N, P, K, Ca, Mg นำมาเปรียบเทียบกับมาตรฐานซึ่งเรียกว่า ระดับวิกฤต (Critical level) ซึ่งระดับมาตรฐานของธาตุอาหารในใบมะพร้าวใบที่ 14 ประกอบด้วย N 18, P 0.12, K 0.8-1.0, Ca 0.35, Mg 0.35, Na 0.30 ทั้งนี้ เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อให้ได้ปริมาณธาตุอาหารเพียงพอ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ สามารถเพิ่มผลผลิตมะพร้าวได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ความต้องการธาตุอาหารของมะพร้าว ธาตุ N, P, K, Ca, Mg และ S พบมากในส่วนของใบและผล ซึ่งธาตุดังกล่าวจำเป็นสำหรับมะพร้าวในการสร้างใบและผล พบว่า มะพร้าว 1 ไร่ จะดูดธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรอง ประกอบด้วย N 9 กิโลกรัม, P 4.4 กิโลกรัม, K 5.68 กิโลกรัม, Ca 7.68 กิโลกรัม และ Mg 3.56 กิโลกรัม

ในกระบวนการเจริญเติบโตของพืช ไม่ว่าจะเป็นกิ่ง ก้าน ใบ ตลอดจนส่วนอื่น ล้วนมีธาตุอาหารหลายธาตุเข้าไปมีบทบาทร่วมกันเกื้อกูลกัน อีกทั้งพืชแต่ละชนิดมีความต้องการธาตุอาหารแตกต่างกัน ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้ปลูกพืชทุกคนต้องยึดมั่นในหลักที่ว่า “พืชต้องได้รับอาหารครบทุกธาตุอย่างเพียงพอและในปริมาณที่สมดุลเท่านั้น” พืชจึงจะเจริญเติบโตได้ตามปกติ สามารถออกดอก ผล ตามที่ต้องการ

ในกรณีของ “มะนาว” ไม้ผลใกล้ตัวที่ใช้ประโยชน์จาก “น้ำมะนาว” เป็นหลัก แล้วการปลูกมะนาวให้มีน้ำมากนั้นมีเทคนิคการบำรุงอย่างไร?

รศ.ดร.รวี เสรฐภักดี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน สิ่งสําคัญคือน้ำและปุ๋ย ปุ๋ยที่ไม่แนะนําให้ใช้คือ ปุ๋ยสูตรเสมอ 8-24-24 เนื่องจากฟอสฟอรัสราคาแพงที่สุดในค่า NPK ของปุ๋ย และปุ๋ยสูตรเสมอ 8-24-24 มีค่าฟอสฟอรัสสูง ไม้ยืนต้นไม่ต้องการฟอสฟอรัสมากอย่างที่เกษตรกรเข้าใจ

เมื่อฟอสฟอรัสเกินความต้องการของต้นไม้ ส่วนที่เหลือจะทําปฏิกิริยากับสังกะสี ทําให้ตกตะกอน จากนั้นส่วนที่ตกตะกอนจะทําปฏิกิริยากับแคลเซียม กลายเป็นแคลเซียมฟอสเฟตตกตะกอนอยู่ในดิน แต่ต้นไม้นําไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ นอกจากนี้ ฟอสฟอรัสจะทําหน้าที่ตรึงสังกะสี ต้นไม้จึงขาดสังกะสี และมีโอกาสขาดแคลเซียมด้วย

ดังนั้น การใส่ปุ๋ยควรพิจารณาที่ความต้องการของต้นไม้ สูตรที่แนะนําและเหมาะสมกับไม้ผลทุกชนิด ไม่เฉพาะมะนาวคือ สูตรโยกหน้าหรือโยกหลัง ปุ๋ยโยกหน้า หมายถึงปุ๋ยที่ธาตุอาหารไนโตรเจน (N) สูงกว่าฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ซึ่งปุ๋ยสูตรโยกหน้าจะช่วยด้านการเจริญเติบโตของลำต้นก้านกิ่งใบผล

อัตราส่วนหรือเรโชตัวอย่าง คือ 3:1:2 และ 4:1:3 และ 5:1:4 เช่น ปุ๋ยสูตร 21-7-14 (เรโชคือ 3:1:2)

ปุ๋ยโยกหลัง หมายถึงปุ๋ยที่ธาตุอาหารโพแทสเซียม (K) สูงกว่าธาตุอาหารไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส(P) ซึ่งช่วยด้านการสะสมอาหารให้มะนาวออกดอก–ติดผล

เรโชตัวอย่างคือ 1:1:2 และ 2:1:3 ถ้าเป็นสูตรปุ๋ยก็สูตร 15-5-20 (เรโชคือ 2:1:3) ซึ่งใช้ทางดินแต่ถ้าใช้ฉีดพ่นทางใบก็เช่น สูตร 9-19-34 เป็นต้้น ความต้องการปุ๋ยของต้นไม้ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตไม่เหมือนกัน เช่น ต้นไม้ผลิใหม่ต้องโยกหน้า ติดลูกใหม่ต้องโยกหน้า แต่ต้องให้ตัวหลังค่อนข้างสูง เพราะหากตัวหลังต่ำจะเกิดปัญหากิ่งย้วย เป็นโรคง่าย เช่น สูตร 25-7-7 หากใช้ต่อเนื่อง จะทําให้กิ่งย้วย โดยเฉพาะมะนาวกิ่งเป็นสามเหลี่ยม แม้จะผลิยอดดี แต่จะทําให้เป็นกระจุก และกิ่งไม่แข็งแรง หากกิ่งอ่อนลักษณะเดียวกับไม้เลื้อย หมายถึง ลําต้นกําลังอ่อนแอ ส่วนโยกหลังควรให้ก่อนออกดอก

สําหรับมะนาว เป็นพืชที่ให้ปุ๋ยสูตรโยกหน้าได้ตลอด แต่ควรให้ตัวหลังค่อน ข้างสูงไว้ด้วย เพื่อป้องกันกิ่งอ่อนแอ เช่น สูตร 4-1-3 หรือ 5-1-4

ส่วนน้ำ มะนาวเป็นพืชที่ต้องการน้ำตลอดตั้งแต่ติดผล กระทั่งเก็บขาย

เรื่องน้ำ พืชที่ต้องการน้ำตลอดตั้งแต่ติดผลกระทั่งเก็บขายอย่างมะนาว “ขนาดผลของมะนาวขึ้นอยู่กับการขยายเซลล์” ซึ่งต่อเนื่องมาจากการได้รับปริมาณน้ำจํานวนมาก เซลล์จะขยายตัวได้เมื่อมีแรงดันของน้ำ หากระหว่างที่ผลมะนาวกําลังเจริญเติบโต ได้รับน้ำไม่พอ ผนังเซลล์จะเริ่มหนา ผลมะนาวจะแกร็น ปุ๋ยโยกหน้า-โยกหลัง ใส่ในอัตราเท่าไหร่ต่อต้น?
ปุ๋ยสูตรโยกหน้า (สูตร 21-7-14 สูตร 21-4-16) ใส่ช่วงดอกบาน เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนและช่วยขยายผล ส่วนปุ๋ยโยกหลัง (สูตร 15-5-20) ใช้ก่อนต้นมะนาวออกดอก หรือช่วงกำลังฟอร์มดอก

ปริมาณการใช้ปุ๋ยขึ้นอยู่กับขนาดพุ่มต้น สำหรับต้น ขนาด 1-2 เมตร ผมจะใช้ปุ๋ย ประมาณ 1-1.5 ขีด ต่อต้น ต่อเดือน

สิ่งสำคัญที่เน้นคือ ความต่อเนื่องของปุ๋ย หากสามารถแบ่งปริมาณปุ๋ยที่กำหนด และทยอยการให้ปุ๋ยเป็น 2 ครั้ง ต่อเดือน ก็นับเป็นเรื่องที่ดี และหลังจากให้ปุ๋ยทุกครั้ง จะต้องรดน้ำตามทันที

คุณสุทธิพร กาฬสุวรรณ เจ้าของโรงสีข้าวโสภณเจริญพาณิชย์ นายกกิตติมศักดิ์โรงสีข้าวและกลุ่มชาวนาภาคใต้ และอุปนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย ให้ข้อมูลว่า นาข้าวทางภาคใต้ โดยภาพรวม 3 จังหวัดภาคใต้ นครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง จะปลูกข้าว ประมาณ 500,000-600,000 ไร่/ปี

แต่ละปี ปริมาณข้าวที่ออกมาจะใกล้เคียงกัน ในบางปีจังหวัดสงขลาจะมากกว่า และบางปีจังหวัดนครศรีธรรมราช ส่วนพัทลุงปริมาณจะน้อยที่สุด ภาพรวมการผลิตจะมากกว่า 300,000 ตัน และบางปี 400,000 ตัน/ปี

ภาวะข้าวภาคใต้ขณะนี้ มีผลผลิตต่อการบริโภค เพราะพื้นที่ทำนาลดลง จากเดิมที่มีอยู่ประมาณกว่า 1 ล้านไร่ ใน 3 จังหวัด คือ พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา โดยเกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน 500,000-600,000 ไร่ และเป็นสวนยางพารา นอกนั้นยังเป็นนาร้างอีก 20-30 เปอร์เซ็นต์

“ความจริงที่นายังมีอีกมาก แต่เมื่อราคาข้าวไม่ดี ชาวนาก็ทิ้งไป จนกลายมาเป็นนาร้างกัน ทั้งนี้นาข้าวก็จะขยายตัวเติบโตมาก สมัยที่รัฐบาลมีโครงการ เช่น โครงการการรับจำนำข้าว ประกันราคาข้าว ภาคใต้ขณะนั้นจะมีข้าวประมาณ 400,000-500,000 ตัน/ปี”

สำหรับประชากรภาคใต้ มีมากกว่านาข้าว ข้าวจึงไม่พอต่อการบริโภค และหากมีการรื้อฟื้นนาร้างก็จะมีนาข้าวขยายตัวขึ้น ประมาณ 700,000 ไร่ ทั้ง 3 จังหวัด แต่ถึงอย่างไร ทางภาคใต้ข้าวก็ยังไม่พอ

“ทิศทางการทำนาข้าว จึงมีแนวโน้มที่ดีมาก SBOBET นาร้างจะเริ่มฟื้นขึ้นมา เพราะชาวนาเริ่มมีรายได้ที่ดี พัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช ชาวนามืออาชีพและมีศักยภาพ บางรายมีรายได้ประมาณ 100,000 บาท/ไร่/ปี”

การทำนามืออาชีพ ทำนาสวนผสม โดยทำหลังเสร็จนาข้าว ทำเกษตร พืชผัก ปศุสัตว์ ประมง เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว ฯลฯ พืชผักล้มลุก ดีปลี มะเขือ ฯลฯ ผลไม้ยืนต้น เช่น มะพร้าว มะม่วง เป็นต้น

นาข้าวขณะนี้ เป็นพืชเศรษฐกิจ อันดับ 1 ของภาคใต้ ที่ราคาสูงนำยางพารา ปาล์มน้ำมัน ราคาดี มีเสถียรภาพ โดยเฉพาะข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ราคาจะมีเสถียรภาพมาตลอด และราคาสูงดีมาตลอดเช่นกัน เช่น

ข้าวสายพันธุ์เล็บนก ราคา 12,000-15,000 บาท/ตัน จากเดิม 10,000-11,000 บาท ข้าวหอมปทุม ราคา 12,000-15,000 บาท เฉี้ยง 15,000 กาบดำ 10,000 บาท ไข่มดริ้น 10,000 สังข์หยด 12,000-13,000 บาท/ตัน แต่ต้องเป็นข้าว 15 เปอร์เซ็นต์

“ข้าวสายพันธุ์ 6 ตัว ทุกปีไม่เคยตกต่ำ เพราะเป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีปริมาณปลูกกันจำนวนจำกัดและเป็นข้าวนาปี ราคาข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ขยับขึ้นมาถึง 10 เปอร์เซ็นต์” ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐ รัฐบาล ไม่ได้มีนโยบายส่งเสริมเท่าใดนัก จึงขอให้มีนโยบายเน้นส่งเสริมปลูกข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง และก็ไม่ได้ปลูกทั้งหมด เช่น พื้นที่นาปี เน้นให้ปลูกข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง เพราะภาคใต้นั้นเป็นพื้นที่เหมาะสมกับข้าวสายพันธุ์นี้

“ข้าวพันธุ์พื้นเมือง 6 ตัวนี้ มีส่วนแบ่งการตลาด ประมาณ 35 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้มีส่วนแบ่ง 50 เปอร์เซ็นต์ ข้าวขาว กข อีก 50 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นการสร้างรายได้ที่ดี”

คุณสุทธิพร กล่าวอีกว่า ทิศทางโอกาสทางด้านการตลาดภาคใต้ มีสูงกว่าภาคอื่นๆ ของประเทศ เพราะจำนวนประชากรมีมากกว่าพื้นที่ทำนา ชาวนาจึงมีโอกาสมากกว่าที่อื่นๆ เพราะข้าวยังไม่เพียงพอบริโภค และในภาคใต้ยังไม่สามารถล้นตลาดได้

ที่ผ่านมาเน้นปลูกข้าวที่คนไม่กินกัน เช่น ข้าวพันธ์ุ กข ต่างๆ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐก็ช่วยกันส่งเสริมพันธุ์ข้าวพื้นเมือง และช่วยกันบริโภคด้วย เพราะข้าวสายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีโภชนาการ มีคุณค่าทางอาหาร และที่ผ่านมาการช่วยเหลือจากภาครัฐ อุตสาหกรรมโรงสีข้าว เรื่องชดเชยดอกเบี้ยเสียโอกาสไป เนื่องจากไม่ได้กู้เงินมาทำ พีเอ็นสต๊อก