เป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ได้ร่ำเรียน หรือมีความรู้เกี่ยวกับการเกษตร

แต่ด้วยความเป็นคนที่ชื่นชอบต้นไม้ โดยเฉพาะมะม่วงจึงทำให้สนใจปลูกมาตั้งแต่อายุ 20 ปี ไม่ว่าจะเป็นที่อำเภอศรีราชา หรือแถวรังสิต นอกจากนั้น ยังแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ด้วยการเดินทางไปดูการทำสวนเกษตรที่ต่างประเทศ จนได้มาบุกเบิกไร่หุบผึ้งแห่งนี้เมื่อกว่า 30 ปี ที่ผ่านมา

โชคอนันต์ ราคาไม่คุ้ม มองหาพันธุ์ทางการค้าเสียบแทน

ไร่หุบผึ้ง เริ่มต้นจากการปลูกพันธุ์มะม่วงแก้ว ต่อมาใช้มะม่วงแก้วเป็นตอแล้วเปลี่ยนมาเสียบพันธุ์โชคอนันต์แทน โดยมะม่วงโชคอนันต์ปลูกไว้จำนวนกว่า 2,000 ไร่ กับมะม่วงฟ้าลั่นอีก จำนวน 300 ไร่ แต่ระยะหลังราคาขายมะม่วงโชคอนันต์ลดลง อย่างถ้าในฤดูมีราคาเพียง กิโลกรัมละ 10 บาท หรือถ้านอกฤดู ราคากิโลกรัมละ 30 บาท จึงทำให้คุณวิกรมมองหาพันธุ์ทางการค้าที่มีราคาสูงอย่าง น้ำดอกไม้สีทอง เพราะเป็นที่ต้องการของตลาดระดับบนและต่างประเทศ

“ดังนั้น ทุกวันนี้ได้ตัดโชคอนันต์แล้วเสียบน้ำดอกไม้สีทองแทน แล้วมีแผนว่าจะทำน้ำดอกไม้สีทอง จำนวน 1,000 ไร่ และฟ้าลั่น จำนวน 1,000 ไร่ พร้อมกับพัฒนาแนวทางการปลูกและดูแลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อต้องการผลิตมะม่วงคุณภาพเกรดพรีเมี่ยมป้อนตลาด”

แนะการทำมะม่วงส่งออก ต้องดูแลตั้งแต่ช่วงแทงดอก

คุณวิกรม บอกว่า การทำมะม่วงให้มีคุณภาพจะต้องเริ่มใส่ใจตั้งแต่ช่วงแทงดอก เพราะถือเป็นระยะสำคัญที่ต้องใส่ใจอย่างเต็มที่ จะต้องดูแล บำรุงรักษาอยู่ตลอดเวลาอย่างดี ควรฉีดพ่นยาป้องกันหนอนมากินช่อดอก ทั้งนี้หากดูแลได้อย่างดีมะม่วงทุกผลจะมีคุณภาพเท่ากัน

การห่อผลมะม่วงนับเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เนื่องจากผลมะม่วงที่มีสีสวย ผิวเรียบเกลี้ยง จะทำให้ขายตลาดต่างประเทศได้ในราคาสูง “เมื่อผลมะม่วงมีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร แล้วเป็นผลที่มีคุณภาพ สมบูรณ์ ผิวเรียบ ไม่มีตำหนิ จึงห่อผลได้ ขณะเดียวกันในช่วงนี้ต้องฉีดยาป้องกันเชื้อราและแมลง โดยเฉพาะศัตรูที่ร้ายที่สุดคือ เพลี้ยไฟ จำเป็นต้องฉีดพ่นยาป้องกันไว้ก่อนล่วงหน้า ทั้งนี้มะม่วงหลังห่อผลแล้ว ใช้เวลาประมาณ 40 วัน จึงสามารถเก็บผลผลิตได้”

คุณวิกรม บอกว่า มะม่วงที่ปลูกในไร่หุบผึ้ง ใช้วิธีไม่ต่างจากที่ชาวสวนมะม่วงแห่งอื่นปฏิบัติกัน เพียงแต่ที่สวนของเขามีพื้นที่กว้างใหญ่จึงจำเป็นต้องให้ความใส่ใจอย่างเต็มที่ ตลอดจนมีการนำระบบบริหารจัดการเรื่องปุ๋ย/ยาและฮอร์โมนอย่างครบถ้วน อีกทั้งยังคอยหมั่นดูแลอย่างใกล้ชิด และหากพบปัญหาความผิดปกติจะต้องรีบหาวิธีแก้ไขทันที

การมีทรงต้นเตี้ย ง่ายต่อการดูแล บริหารจัดการ ทั้งยังช่วยลดต้นทุน

หากสังเกตทรงต้นมะม่วงในไร่หุบผึ้งบางแปลงมีระดับไม่สูงนัก แล้วยังเตี้ยกว่าสวนมะม่วงแห่งอื่นที่พบเห็น คุณวิกรม บอกว่า สมัยแรกที่เริ่มปลูกมะม่วงได้หาความรู้ พร้อมเดินทางไปดูสวนผลไม้ในต่างประเทศ พบว่าส่วนใหญ่ทรงต้นเตี้ยทั้งนั้น แถมยังให้ผลผลิตดกและมีความสมบูรณ์กว่าต้นใหญ่ด้วย

“ฉะนั้น ขนาดความสูงต้นมะม่วงจึงไม่เกี่ยวข้องกับจำนวนผลผลิตที่ได้มาก-น้อย แต่อยู่ที่การบริหารจัดการมากกว่า นอกจากนั้น ข้อดีของการไว้ต้นขนาดเตี้ยยังช่วยให้การทำงานทุกขั้นตอนตั้งแต่การตัดแต่งกิ่ง การฉีดพ่นยา การห่อผล/เก็บผล เป็นไปอย่างง่าย สะดวก รวดเร็ว ช่วยให้ลดต้นทุนได้หลายทาง”

ไร่หุบผึ้ง เปิดเป็นสวนผลิตมะม่วงขายทั้งในและต่างประเทศมาเป็นเวลากว่า 30 ปี ความจริงแล้วพื้นที่แห่งนี้เคยเป็นไร่อ้อยมาก่อน ส่วนคำว่า หุบผึ้ง เป็นชื่อที่ชาวบ้านแถวนี้เรียกกัน พื้นที่ของไร่หุบผึ้งจัดว่ายังคงมีความเป็นป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ เนื่องจากโอบล้อมไปด้วยภูเขาและต้นไม้ อีกทั้งการเดินทางเข้า-ออก สามารถใช้เพียงเส้นทางเดียวเท่านั้น แล้วยังมีความสมบูรณ์เรื่องแหล่งน้ำ เนื่องจากมีอ่างเก็บน้ำห้วยไทรงามที่ทางชลประทานก่อสร้างไว้ 1 แห่ง กับที่ไร่หุบผึ้งได้ขุดไว้บนเนื้อที่ 30 ไร่ อีก 1 แห่ง

ฉะนั้น ด้วยความได้เปรียบในเชิงนิเวศทั้งความสมบูรณ์ของป่าไม้ ความชุ่มชื้นของผิวดิน ตลอดจนความเป็นดินใหม่ อาจเป็นอีกเหตุผลที่ช่วยทำให้มะม่วงในไร่หุบผึ้งมีคุณภาพด้วยเช่นกัน

ผลิตส่งออก 2 รอบ ต่อปี

คราวนี้มาดูด้านการตลาดกันบ้าง คุณอภิชาติ กล่าวว่า ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ใน 1 ปี มีผลผลิต จำนวน 2 รอบ คือในฤดูกับนอกฤดู หากเฉลี่ยแล้วได้ผลผลิตประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ มะม่วงที่ติดผลจะเก็บไว้เกือบทั้งหมด เพราะทุกผลมีคุณภาพ เพียงแต่ว่าจะนำมาจัดแบ่งเกรดใดเท่านั้น

ทั้งนี้ ผลผลิตที่เกิดในฤดูจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ฉะนั้น ถ้าเลยพฤษภาคมไปแล้วจะเป็นมะม่วงนอกฤดู ซึ่งถือเป็นช่วงที่มะม่วงน้ำดอกไม้มีราคาสูง เพราะเป็นไปตามกลไกการตลาด

อย่างไรก็ตาม การเก็บผลมะม่วงเพื่อการส่งออกจะต้องเก็บสุก ที่ความแก่ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผลผลิตรวมประมาณ 450 ตัน ต่อปี (2 รุ่น) โดยจะแบ่งเป็นมะม่วงน้ำดอกไม้ส่งออกและขายในประเทศ แล้วยังมีฟ้าลั่น ส่วนโชคอนันต์ที่ยังคงมีเหลืออยู่จะเน้นขายตลาดในประเทศเป็นหลัก มีขายทั้งผลสดและแปรรูปเข้าโรงงาน

“สำหรับเกรดมะม่วงเพื่อส่งขายต่างประเทศจะแบ่งเฉพาะขนาดผลเท่านั้น โดยกำหนดให้ทุกผลเป็นมะม่วงเกรดพรีเมี่ยม เพราะผ่านการคัดคุณภาพและความสมบูรณ์มาแล้ว เพียงแต่กำหนดขนาดตามน้ำหนัก อย่างถ้าน้ำหนักอยู่ระหว่าง 300-500 กรัม จัดเป็นรุ่นใหญ่ แล้วถ้าน้ำหนักรองลงมาเป็นรุ่นกลางและเล็ก”

คุณอภิชาติ เผยถึงการติดต่อซื้อ-ขาย มะม่วงเพื่อการส่งออกไปยังต่างประเทศนั้นมีการดำเนินการขั้นตอนผ่านตัวแทนหรือโบรกเกอร์ ขณะเดียวกันตัวแทนผู้รับซื้อมะม่วงก็จะมีตลาดรับซื้อที่ชัดเจนแล้ว

พร้อมกับชี้ว่าตลาดมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมีความต้องการอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ที่ไร่หุบผึ้งจะผลิตได้มากเท่าไรก็ไม่เคยพอ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องไปวิ่งหาตลาดเอง เพราะผู้ซื้อได้สั่งจองล่วงหน้าไว้ทั้งหมดแล้ว “ทางด้านมะม่วงดิบ ขณะนี้มีฟ้าลั่นและโชคอนันต์เท่านั้น โดยโชคอนันต์จะเก็บผลดิบขายในช่วงนอกฤดู พอเข้าในฤดูจะเก็บเฉพาะผลสุกขาย ทั้งนี้ฟ้าลั่นส่งขายประเทศเพื่อนบ้านใกล้ๆ”

ในด้านราคาขาย ถ้าเป็นมะม่วงคุณภาพเกรดส่งนอก ขายในราคาเฉลี่ย กิโลกรัมละ 110 บาท ซึ่งราคานี้ผู้ขายเพียงแค่ตัดมาจากต้นในขณะที่ยังห่อผลอยู่ จากนั้นที่เหลือไม่ว่าจะเป็นการคัดแยก การบรรจุใส่ลัง ฯลฯ เป็นหน้าที่ของตัวแทนรับซื้อเพื่อจะรับช่วงต่อทั้งหมด

“ผลผลิตมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนใหญ่ ร้อยละกว่า 90 ส่งขายต่างประเทศ เท่าที่ทราบส่งขายทั้งในเอเชียและยุโรปหลายประเทศ รวมถึงบางส่วนของประเทศเพื่อนบ้าน โดยแหล่งวางจำหน่ายในต่างประเทศมักอยู่ตามห้างแบรนด์ดัง หรือบางส่วนนำไปใช้ในโรงแรมหรู” คุณอภิชาติ กล่าว

สนใจสั่งซื้อมะม่วงคุณภาพจากไร่หุบผึ้ง ติดต่อ คุณอภิชาติ ชำนาญผล โทรศัพท์ (081) 174-8584 หรือเข้าไปชมภาพสวนมะม่วงกับบรรยากาศธรรมชาติสวยๆ ได้ที่ยูทูบ “ไร่หุบผึ้ง” วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์คลองโยง เป็นกลุ่มผู้ผลิตพืชผักอินทรีย์ ตั้งอยู่ที่หมู่๑ ตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ก่อตั้งเมื่อปี ๒๕๕๘ โดยการรวมตัวของสมาชิกที่มีความสนใจในการทำเกษตรอินทรีย์ เหตุผลที่ทำให้เกษตรกรกลุ่มนี้หันมาปรับเปลี่ยนทำเกษตรแบบใช้สารเคมีมาเป็นสารอินทรีย์ชีวภาพ เนื่องจากในอดีตพื้นที่แห่งนี้มีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ส่งผลเสียต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประกอบกับหน่วยงานภาครัฐ

คุณอุษา อุตสาหกุล ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินนครปฐม กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมพรเกษตรอินทรีย์คลองโยง นับเป็นกลุ่มผู้ผลิตผักอินทรีย์กลุ่มหนึ่งในจังหวัดนครปฐมที่มีความเข้มแข็ง จัดเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับนโยบายของภาครัฐในเรื่องของการลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ทำให้ปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวเข้าสู่ระบบการทำเกษตรอินทรีย์อย่างมั่นคง สามารถผลิตพืชผักอินทรีย์ป้อนสู่ตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในจังหวัดเสมอมา โดยไม่มีปัญหาเรื่องของสารตกค้างรวมถึงปัญหาอื่นๆ เนื่องจากระยะเวลาในการทำเกษตรในรูปแบบอินทรีย์ของกลุ่มนี้มีระยะเวลาดำเนินการมาร่วม 10 ปี จึงทำให้การปนเปื้อนในดิน และสารเคมีตกค้างในดินและพืชผักหมดไปโดยสิ้นเชิงประกอบกับปัจจุบันกลุ่มดังกล่าวมีสมาชิกที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แล้วบางส่วน จึงสามารถส่งออกพืชผักบางชนิดไปยังตลาดต่างประเทศได้ อาทิ การส่งผักชีไปประเทศไต้หวัน ในขณะที่สมาชิกที่เหลือกำลังอยู่ในช่วงของการขอรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM

“ในด้านการส่งเสริมด้านการตลาดของพืชผักอินทรีย์นั้น ปัจจุบันสินค้าของกลุ่มฯ จะส่งไปยังตลาดคนรักสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ตลาดสุขใจ ตลาดในมหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยศิลปกร นอกจากนี้ในปี 2560 รัฐบาลยังมีนโยบายให้โรงพยาบาลสนับสนุนผลผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยนำร่องในจังหวัดนครปฐมเป็นจังหวัดแรก ซึ่งคาดว่าการทำตลาดของสินค้าเกษตรอินทรีย์น่าจะขยายออกไปเป็นวงกว้างมากขึ้น พร้อมทั้งกระตุ้นให้ผู้บริโภคตระหนักถึงการบริโภคผักปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่แม้ว่าช่องทางการตลาดจะมากขึ้นแต่การส่งเสริมก็จะไม่เน้นการขยายพื้นที่ในกลุ่มผู้ผลผลิตเดิม ทั้งนี้ก็เพื่อรักษามาตรฐานการผลิตให้คงไว้ภายใต้การทำเกษตรประณีตแบบพอเพียง”

ทั้งนี้ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน นอกจากเข้ามาดำเนินงานด้านการให้ความรู้เรื่องการผลิต การปรับปรุงบำรุงดิน การตรวจวิเคราะห์ดินแล้ว กรมฯ ยังได้เข้ามาดูและประสานงานเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกเรื่องของเอกสารขอรับการตรวจรับรองจากหน่วยงานราชการอื่นๆ อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว และหน่วยงานรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ต่างๆ อีกด้วย

คุณไพบูลย์ สวัสดีจุ้ย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านคลองโยง กล่าวว่า กลุ่มฯ มีสมาชิกอยู่ 12 ราย มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งกลุ่มมาจากความสนใจการทำเกษตรอินทรีย์ และต้องการดูแลสุขภาพ เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาการทำเกษตรโดยใช้ผลิตภัณฑ์ทางเคมีนั้นส่งผลเสียต่อดิน ทำให้ต้นสูง ผลผลิตน้อย คุณภาพต่ำลง และเกษตรกรมีสุขภาพที่ไม่ดีเพราะต้องปนเปื้อนอยู่กับสารเคมี

“ปลูกพืช ต้องเริ่มจากบำรุงดินซึ่งเป็นส่วนสำคัญ โดยเราใช้น้ำหมักชีวภาพทำจากเศษปลาผสมกับเศษผักผลไม้ในแปลง น้ำตาลทรายแดงแบบบออร์แกนิคและสารเร่งซุปเปอร์พด.๒ น้ำหมักที่ได้จะนำไปคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมัก แล้วนำไปใส่ปุ๋ยให้กับพืช ดินร่วนซุยมากขึ้น พืชเจริญเติบโตได้ดี ในเรื่องโรคและแมลงจะใช้สมุนไพรพื้นบ้านที่ปลูกในแปลงเกษตรอินทรีย์ของสมาชิกในกลุ่ม อาทิ พริก ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด นำมาหมักด้วยสารเร่งซุปเปอร์พด.๗ เป็นสมันไพรไล่แมลง”

นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงบำรุงดินที่เน้นการใช้พืชตระกูลถั่วหว่านคลุมดินเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด พร้อมทั้งปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยกันแมลงไว้ในแปลงปลูก ซึ่งสามารถเก็บขายสร้างรายได้หลักจากเก็บเกี่ยวผลผลิตผักอีกทางหนึ่ง โดยก่อนปลูกเกษตรกรจะเก็บตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร และปรับปรุงโครงการสร้างดินด้วยปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ รวมทั้งทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เองด้วยการนำเศษใบไม้ในพื้นที่ผสมกับแกลบเผา รำข้าวและมูลสัตว์มาหมักกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ส่วนน้ำหมักก็จะใช้เศษปลา เศษผักหมักกับน้ำตาลทรายแดงกับสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 ไว้ฉีดเพื่อสร้างความร่วนซุยให้พืช

“จากการทำเกษตรในระบบอินทรีย์ โดยไม่ใช้สารเคมีเลยนั้นทำให้กลุ่มสามารถผลิตพืชผักปลอดภัยส่งต่อให้กับผู้บริโภค โดยไม่ทำลายทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ขายได้ราคาดีโดยไม่ต้องกังวลกับความผันผวนในเรื่องของราคา อีกทั้งผักบางชนิดยังสามารถทำตลาดส่งออกไปยังต่างประเทศได้อีกด้วย อย่างเช่น ผักชีฝรั่งที่ในขณะนี้มีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกที่ผ่านการตรวจรับรองมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ IFOAM จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ซึ่งเป็นมาตรฐานการทำเกษตรอินทรีย์ระดับสากลนั้นสามารถส่งผักชีฝรั่งไปขายยังตลาดต่างประเทศสร้างรายได้เข้าประเทศ และคาดว่าในอนาคตจะมีผักชนิดอื่นๆ สามารถส่งขายไปยังต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นอีก” นายไพบูลย์ กล่าว

ด้านคุณสมทรง ม่วงพารา เลขานุการและสมาชิกกลุ่ม เป็นอีกหนึ่งที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นในการทำเกษตรอินทรีย์ แปลงพืชผักเกษตรอินทรีย์ของคุณสมทรงจะทำอย่างประณีต มีการขุดร่องล้อมรอบแปลงเพื่อกักน้ำและเพื่อป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี รูปแบบแปลงจะวางแนวไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดปรุงอาหารและช่วยฆ่าเชื้อโรค ใช้พืชตระกูลถั่วมาหว่านคลุมดินเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดปรับปรุงดิน

“รอบแปลงจะมีการปลูกพืชสมุนไพรที่ช่วยกันแมลง เช่น พริก ข่า ตะไคร้ กะเพรา โหระพา เป็นต้น แปลงจะมีการยกร่องเพื่อปลูกพืชผัก โดยก่อนปลูกได้เก็บตัวอย่างดินนำไปวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่อยู่ในดิน และปรับปรุงโครงสร้างดินด้วยปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ เช่น มูลวัวโดยจะต้องเป็นวัวที่กินพืชตามธรรมชาติ มีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ใช้เองในกลุ่มตามหลักมาตรฐานที่กำหนด

ส่วนเมล็ดพันธุ์ผักที่นำมาปลูกต้องนำไปล้างน้ำที่มีความร้อน ประมาณ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที นำขึ้นมาคลุกกับกากสะเดาก่อนแล้วนำไปหว่านลงแปลง การปลูกพืชผักอินทรีย์ต้องปลูกพืชสมุนไพรก่อนและต่อเนื่อง มีการปลูกพืชหมุนเวียนสลับกันไป ไม่ปลูกพืชผักชนิดเดิมๆ ในแปลงเดิมจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ก่อนรดน้ำควรขยี้ให้สมุนไพรช้ำจะได้มีกลิ่นไล่แมลง”

นอกจากนี้ พืชสมุนไพรที่ปลูกยังสามารถนำไปขายเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งด้วย เมื่อเก็บเกี่ยวพืชผักแล้ว ต้องรีบทำความสะอาดแปลง เศษพืชที่เป็นโรคให้รีบทำลายนอกพื้นที่ปลูก ส่วนที่ไม่เป็นโรคก็สามารถนำมาทำปุ๋ยต่อไปได้ กลุ่มจะใช้ทรัพยากรในแปลงให้เกิดประโยชน์สูงสุด(Zero waste)

ปัจจุบันกลุ่มฯ มีการผลิตพืชผักกว่า 20 ชนิด เป็นการปลูกแบบหมุนเวียนกันไป ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริก คะน้า ผักชีฝรั่ง กวางตุ้ง กล้วย โหระพา ถั่วพู ผักบุ้งจัน ผักสลัด ฝรั่ง เป็นต้น โดยวิธีการปลูกนั้นจะเน้นการปลูกแบบยกร่องรอบแปลงเพื่อกักน้ำและป้องกันน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี โดยรูปแบบแปลงจะวางแนวไปตามตะวัน เนื่องจากพืชใช้แสงแดดในการปรุงอาหารและช่วยฆ่าเชื้อโรคไปในตัว

ความสำเร็จของกลุ่มเกิดจากความมุ่งมั่นตั้งใจและเสียสละของสมาชิก ทั้งยังเป็นเครือข่ายของสามพรานโมเดลจึงมีการประชุมกลุ่มทุกเดือนอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเครือข่ายสามพรานโมเดลได้นำระบบการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมพีจีเอสกับกลุ่มผู้ผลิตในเครือข่าย เป็นการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รูปแบบหนึ่ง รับรองเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของกลุ่มโดยองค์กรผู้ผลิตเอง แต่ในบางกรณี ก็อาจเป็นการดำเนินการของผู้ซื้อผลผลิตจากเกษตรกร แต่ไม่ใช่เป็นการตรวจรับรองโดยหน่วยงานอิสระ โดยระบบชุมชนรับรองนี้จะให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในระบบ การประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่องทุกเดือนทำให้สมาชิกได้แบ่งปันความรู้และเมื่อเกิดปัญหาก็จะมาร่วมกันแก้ไข

เลยจากตัวเมืองนครสวรรค์หรือเมืองสี่แคว ไปทางกำแพงเพชรเล็กน้อย บริเวณนั้นคือ พื้นที่ของอำเภอบรรพตพิสัย สองข้างทางทิวทัศน์สวยงามดี คุณธนกร ฐานะปัญญาดี ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ได้ขับรถนำไปยังแปลงปลูกแตงโมพันธุ์ทรายทอง ของ คุณมานะ เพชรนิล อยู่บ้านเลขที่ 385 หมู่ที่ 5 ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

คุณมานะ เพชรนิล หรือที่คุณธนกรเรียกอานะ ปลูกแตงโมหมุนเวียนตลอดปี โดยปลูกครั้งละ 30 ไร่ ตัวเขาเองมีที่ดิน 2 แปลง จึงสลับทำนากับปลูกแตงโม ช่วงหน้าฝนปลูกแปลงที่สูงหน่อย ครั้นหน้าแล้งก็ย้ายลงยังแปลงที่ลุ่ม

สมัยเก่าก่อน แตงโมมีขายมากๆ คือช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน แตงโมเย็นๆ ในสภาวะอากาศที่อบอ้าว ช่วยลดอุณหภูมิและทำให้ร่างกายสดชื่น

ในยุคดิจิตอล แตงโมมีผลผลิตวางขายมากทุกฤดูกาล

ทั้งนี้เพราะมีการวิจัยพันธุ์ให้เหมาะสมแต่ละฤดู การเลือกพื้นที่ปลูกก็สำคัญ เทคโนโลยีก็ก้าวหน้า แต่ที่สำคัญมากนั้น เกษตรกรผู้ปลูกสั่งสมประสบการณ์ กลายเป็นภูมิปัญญาล้ำค่า

คุณธนกร เล่าว่า บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด มีชื่อเสียงทางด้านเมล็ดพันธุ์แตงโมมานานแล้ว ที่โด่งดังและได้รับความนิยมมากๆ ในอดีตคือ แตงโมจินตหรา แตงพันธุ์นี้ น้ำหนักผล 3-4 กิโลกรัม เปลือกบาง เนื้อสีแดง ทนทานต่อการขนส่ง ขนาดผลเหมาะสำหรับบริโภคในครัวเรือนที่มีขนาดเล็ก

“ต่อมา ความนิยมเปลี่ยนไป คนนิยมซื้อแตงโมที่หั่นเป็นชิ้นแล้ว โดยเฉพาะตามรถเข็น หรือนำไปเป็นผลไม้ในอาหารบุฟเฟ่ต์ แตงโมทรายทองจึงตรงกับความต้องการ ผลมีขนาดใหญ่ ทรงกลมรี น้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม ต่อผล เรานำเข้าเมล็ดมาจากบริษัทแม่คือ โนนยู จากไต้หวัน ช่วงแรกที่นำเข้ามาทดลองปลูกทั้ง 3 ฤดู ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ทรายทองตอบสนองดีมาก คุณภาพเนื้อเด่น เป็นที่นิยมของผู้ปลูก ผู้ค้าและผู้บริโภค ความหวานมากกว่า 12 บริกซ์ หลังเก็บเกี่ยวอยู่ได้นาน 15-20 วัน”

คุณธนกร บอก และเล่าต่ออีกว่า

“การลงทุนเรื่องเมล็ดพันธุ์ อานะปลูกพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 1 กระป๋อง 300 บาทเศษ ถือว่าคุ้มค่า เพราะหากใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่เหมาะสม ไม่มีคุณภาพ หลังปลูกไปแล้วแก้ไขยาก”

พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 1,000 ต้น

อานะ เล่าถึงวิธีการปลูกแตงโมพันธุ์ทรายทองว่า

เริ่มจากเตรียมดิน โดยการไถ จากนั้นคลุมพลาสติก

ระหว่างนี้เพาะกล้าแตงโมพันธุ์ทรายทอง เมื่อกล้าอายุ 10 วัน จึงปลูก โดยใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 6 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกแตงโมได้ 1,000 ต้น โดยประมาณ เหตุที่ใช้ระหว่างแถวกว้างถึง 6 เมตร เพื่อที่จะให้เถาแตงโมเลื้อยอย่างเป็นอิสระ

ระบบน้ำ ใช้ระบบน้ำพุ่ง มีสายต่อจากพีวีซีอีกทีหนึ่ง สายน้ำจะถูกทับด้วยพลาสติก

หลังปลูกใหม่ๆ ให้น้ำ 2 วันครั้ง จากนั้นให้ทุกวัน

ปุ๋ยสำคัญ ช่วงเตรียมดินหว่านปุ๋ย 15-15-15 จำนวน 25 กิโลกรัม ต่อไร่ เป็นการรองพื้น

จากนั้นให้ปุ๋ยกับระบบน้ำ 4 วันครั้ง พื้นที่ 30 ไร่ ใช้ปุ๋ยครั้งละ 50 กิโลกรัม

ระยะสุดท้าย ก่อนเก็บผลผลิต 10 วัน เจ้าของเปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็น 13-13-21 ให้กับน้ำ 1-2 ครั้ง เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

อานะ บอกว่า ปุ๋ยที่ให้กับแตงโม พื้นที่ 1 ไร่ ใช้ปุ๋ยตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 75 กิโลกรัม หรือกระสอบครึ่งนั่นเอง

ผลผลิต 6 ตัน ต่อไร่

การไว้ผลแตงโม ได้รับคำแนะนำว่า ไว้ข้อที่ 17-25 ดีที่สุด

หลังปลูกไป 65 วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

พื้นที่ปลูก 1 ไร่ ปลูกได้ จำนวน 1,000 ต้น แต่ละต้นให้ผลผลิต 1 ผล แต่ละผลของพันธุ์ทรายทอง น้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม เจ้าของจึงมีผลผลิตโดยเฉลี่ย 6 ตัน

ราคาที่ขายนั้น อานะบอกว่า อยู่ที่ 7-8 บาท ต่อกิโลกรัม เคยมีที่ได้สูงสุด 12 บาท แต่นานๆ ครั้ง กระนั้นก็ตาม ราคากิโลกรัมละ 7-8 บาท ผู้ปลูกบอกว่า อยู่ได้อย่างสบาย

“ต้นทุนต่อไร่ ประมาณ 1 หมื่นบาท” เจ้าของบอก

เรื่องของการซื้อขายผลผลิตแตงโม จากแปลงปลูกของเกษตรกร สนนราคา กิโลกรัมละ 7-10 บาท แต่ถึงผู้บริโภคแล้วสูงไม่ใช่น้อย หรือหากซื้อตามรถเข็น ถุงละ 20 บาท บางครั้งคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร เรื่องนี้คุณธนกรให้แง่คิดว่า แตงโมจากผู้ปลูกจะมีขั้นตอนการตลาดค่อนข้างมาก บางครั้งเสียหายง่าย ราคาถึงผู้บริโภคกับแปลงปลูกจึงแตกต่างกันค่อนข้างมาก

เคยขาดทุน 2 ครั้ง เพราะศัตรูระบาด

ข้อมูลของอานะ ดูแล้วเหมือนจะทำง่ายรายได้ดี แต่ได้รับการบอกเล่าว่า ปลูกแตงโมมานานกว่า 10 ปี มี 2 ครั้ง ที่ขาดทุนย่อยยับ เมื่อปี 2548-2549

“ปีนั้นช่วงปลูกใหม่ๆ เพลี้ยไฟและแมลงหวี่ขาวระบาดหนักเอาไม่อยู่ เมื่อมีแมลง-โรค ก็ตาม จึงต้องดูเป็นพิเศษช่วงที่ต้นอายุยังน้อย หากมีนิดหน่อยก็ต้องรีบป้องกันกำจัด ไม่อย่างนั้นจะเสียหายหนัก อย่างเพลี้ยไฟก็หมั่นตรวจดูแปลง ดูทุกวัน เพราะต้องให้น้ำทุกวันอยู่แล้ว ตั้งแต่ปี 2548-2549 เป็นต้นมา ก็ไม่เจอปัญหา” อานะบอก

ช่วงที่ผ่านมา ราคาข้าวผันผวน เรื่องราวของพืชทดแทนจึงมีการพูดถึงกันมาก ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน พืชตระกูลถั่ว รวมทั้งแตงโม การปลูกแตงโมของอานะ น่าสนใจ แต่ผู้ที่อยากทำ ต้องรู้จริง มีทุนดำเนินการ และอาจจะต้องใช้เวลาเรียนรู้หาประสบการณ์ เหมือนอย่างเกษตรกรรายนี้ กว่าที่จะลงตัว ปลูกแตงโมเป็นอาชีพหลักได้ต้องใช้เวลานาน

มีข่าวการปลูกพืชทดแทนแล้วได้ผลดี แต่จะให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย

ขอย้ำอีกครั้ง “ไม่ได้ทำง่ายๆ”

แต่ก็สามารถเรียนรู้กันได้

ผู้สนใจถามไถ่กันได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ (085) 729-9938

หากต้องการเมล็ดพันธุ์ สอบถามได้ที่ บริษัท เพื่อนเกษตรกร ช่วงนี้ใครไปแอ่วเมืองเหนือ ย่อมจะได้ลิ้มชิมรสสตรอเบอรี่ที่มีวางขายอยู่ทั่วไปตามเส้นทางท่องเที่ยวสำคัญของหลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นเชียงใหม่ เชียงราย หรือแม่ฮ่องสอน ฯลฯ โดยเฉพาะบนดอยต่างๆ อย่างถ้าใครขึ้นไปดอยอ่างข่าง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะผ่านบ้านปางควาย ที่นี่ก็มีเกษตรกรหลายรายที่ปลูกสตรอเบอรี่

คุณธนพร พัฒนาวรกุล ก็เป็นเกษตรกรอีกรายที่ปลูกผลไม้ลูกสีแดงนี้ด้วย ในเนื้อที่ 3 ไร่ ชื่อไร่ชลธาร โดยมีหน้าร้านขายอยู่ติดกับตัวไร่ นอกจากลูกค้าจะได้ซื้อสตรอเบอรี่จากไร่สดๆ กันแล้ว ยังสามารถเข้าไปชมสวนและถ่ายรูปกันได้อย่างสนุกสนาน

เน้นพันธุ์พระราชทาน 80

ทั้งนี้ ก่อนที่จะมาปลูกสตรอเบอรี่ คุณธนพรเคยปลูกลิ้นจี่และส้มมาก่อน แต่ช่วงหลังอากาศแปรปรวน ส้มมีปัญหาเลยโค่นทิ้ง แล้วหันมาปลูกสตรอเบอรี่แทน เพราะทางโรงงานหลวงที่ฝางส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำและยังรับซื้อผลผลิตอีกด้วย

เจ้าของไร่ชลธาร วัยกว่า 40 ปี เล่าให้ฟังว่า ปลูกสตรอเบอรี่มา 4 ปีแล้ว ทั้งพันธุ์พระราชทาน 80 และมีอีกพันธุ์คือ พันธุ์ 329 แต่จะเน้นปลูกพันธุ์พระราชทาน 80 มากกว่า เพราะเป็นที่นิยมของลูกค้าที่ชอบรสชาติหวาน ไม่เปรี้ยว ผลผลิตแต่ละปีก็ดี เก็บได้ปีละ 3,000-4,000 กิโลกรัม อากาศปีสองปีนี้ก็ใช้ได้ สำหรับพันธุ์พระราชทาน 80 จะปลูกเพื่อขายผลสด ส่วนพันธุ์ 329 เน้นส่งเข้าโรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ที่อยู่ในพื้นที่

การปลูกสตรอเบอรี่ก็เหมือนกับการปลูกพืชผักผลไม้ชนิดอื่นๆ ก็คือ จะต้องมีการเตรียมดิน เธอให้รายละเอียดว่า ช่วงแรกก่อนปลูก 1 เดือน ในเดือนสิงหาคม จะมีการไถดินตากไว้ ประมาณ 1 เดือน พร้อมใส่ปูนขาวเข้าไปปรับสภาพดิน แล้วใช้รถไถเพื่อขึ้นแปลง ซึ่งรถไถช่วยได้เยอะ แต่ก่อนใช้แรงงานคน ทำให้ช้าเสียเวลามาก และเปลืองค่าใช้จ่าย

พอรถขึ้นแปลงเสร็จก็ใช้คนงานไปปรับพื้นที่แปลงนิดหน่อย ที่สำคัญต้องเตรียมระบบน้ำให้ดี ที่ไร่ชลธารใช้ระบบน้ำ 2 ระบบ ทั้งสปริงเกลอร์และน้ำหยดด้วย ถ้าเป็นพันธุ์ 329 จะใช้ 2 อย่าง ทั้งสปริงเกลอร์และน้ำหยด แต่พันธุ์พระราชทาน 80 ใช้แต่สปริงเกลอร์เท่านั้น

ทั้งนี้ ก่อนจะลงไหลสตรอเบอรี่ คุณธนพร บอกว่า จะใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ลงไปก่อน พอปลูกแล้วก็ให้น้ำทุกวันช่วงเช้า ซึ่งถ้าให้น้ำสม่ำเสมอต้นจะสมบูรณ์ ถ้าไร่ไหนไม่มีน้ำพอก็ให้แบบวันเว้นวัน แต่โชคดีที่ไร่ชลธารน้ำดี ในส่วนของน้ำหมักชีวภาพนั้น เกษตรกรในพื้นที่มีการรวมกลุ่มกันทำ และที่ไร่ยังใส่ปุ๋ยขี้ค้างคาวด้วย ทำให้ลูกสวย โดยใส่ช่วงแรกก่อนจะออกดอกออกลูก เป็นการบำรุงต้นให้แข็งแรงสมบูรณ์

เพลี้ยไฟ ระบาดช่วงร้อน

ไร่ชลธารนั้น เป็นการทำเกษตรแบบปลอดภัย มีการใช้สารเคมีบ้างอย่างที่คุณธนพรระบุ ทางไร่เน้นใช้ปุ๋ยอินทรีย์ อย่าง พวกน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก แต่บางครั้งก็ใช้สารเคมีบ้าง กรณีที่มีโรคระบาดรุนแรง อย่างพวกเพลี้ยไฟในช่วงที่อากาศร้อน แต่ปีนี้ยังไม่ได้ใช้เลย เพราะอากาศยังเย็นอยู่

คุณธนพรแจงว่า สมัคร GClub ในการซื้อไหลมาปลูกนั้น ต้องดูไหลที่สมบูรณ์ด้วย ซึ่งสังเกตได้ไม่ยาก ต้องเป็นใบเขียวไม่แข็งไม่เหลือง พอลงไหลแล้วนอกจากจะให้น้ำอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยังต้องหมั่นลงเช็กแปลงตลอด ถ้าผิดสังเกต เช่น เริ่มเห็นใบเหี่ยว เหลือง ควรกำจัดออกทันที

พร้อมกันนี้คุณธนพรยังใช้ฮอร์โมนที่ทำจากน้ำหมักชีวภาพด้วย ซึ่งหมักไว้ใช้เอง มีทั้งหมักจากมะนาว มะกรูด และเศษผักต่างๆ โดยจะฉีดตอนเช้าหรือไม่ก็ฉีดตอนเย็น เพราะถ้าฉีดตอนกลางวันอาจจะมีปัญหาเรื่องความร้อนและทำให้เกิดใบไหม้

คุณธนพร บอกว่า ช่วงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษคือ ช่วงที่จะเริ่มออกดอกจะต้องระมัดระวัง ซึ่งเมื่อลงไหลได้ประมาณ 2เดือน ต้นสตรอเบอรี่ก็จะเริ่มออกดอกและไหลพร้อมกัน ซึ่งชุดแรกที่ออกจะติดต้นไหลมา ดังนั้น จะออกดอกออกลูกไม่เยอะ ลูกไม่ใหญ่และไม่ค่อยสมบูรณ์ บางไร่จะเด็ดดอกเด็ดลูกชุดแรกออกเลย เพราะจะรอดอกชุดสอง ชุดสาม ซึ่งลูกจะโตสมบูรณ์มากกว่า

ทั้งนี้ ในช่วงฝนตก อากาศเปลี่ยน ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นกัน คือต้องให้อากาศถ่ายเท ถ้าฝนตกต้องใช้สารชีวภาพไตรโคเดอร์มา พ่นฆ่าเชื้อให้ต้านทานโรคได้ ส่วนสารเคมีก็ใช้บ้าง แต่ก่อนจะเก็บผลผลิต ระยะ 10-15 วัน จะไม่ใช้สารเคมีเลย

เจ้าของไร่ชลธาร บอกว่า 4 ปี ของการปลูกสตรอเบอรี่ ช่วงทำใหม่ๆ ก็เจอปัญหา รู้สึกท้อเหมือนกัน เพราะจับไม่ถูกทาง แต่พอทำไปเรื่อยๆ ศึกษาหาความรู้ข้อมูลจากคนมีประสบการณ์ และดูจากยูทูบ รวมทั้งคลุกคลีและเอาใจใส่ตลอด ถ้าอากาศโอเค ไม่ร้อนจัดก็ไม่มีปัญหา สามารถเก็บผลผลิตได้ 3-4 รุ่น ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงเดือนเมษายน ซึ่งหักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว แต่ละปีจะเหลือรายรับ ประมาณ 300,000-400,000 บาท