เป็นชาวตำบลเขาค่าย อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ได้ช่วยคุณพ่อ

ทำสวนกาแฟมาตั้งแต่เด็กๆ จึงมีความสนใจชื่นชอบในความสวยงามของเมล็ดกาแฟและรสชาติของกาแฟสดที่ปลูกเอง เก็บเอง คั่วเอง และชงกินเองมาตลอดระยะเวลาที่ได้รู้จักเรื่องราวของกาแฟ หลังจากได้มาทำงานที่จังหวัดระนอง ทุกกลิ่นหอมของกาแฟโชยติดตามตัวมาด้วยตลอดความทรงจำ ในที่สุดจึงตัดสินใจซื้อที่ดินตำบลหาดส้มแป้น เพื่อทำสวนกาแฟสืบทอดความต้องการของตัวเองทันที

พี่แอ๋วทำสวนกาแฟโรบัสต้า โดยใช้ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และยึดถือคติ “เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง” พร้อมได้รับการสนับสนุนทุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูบำรุงดินด้วยปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ จากสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองระนอง นำทีมโดย คุณชยุต เลียนกาญจนากร เกษตรอำเภอระนอง พร้อมทั้ง คุณจารุวรรณ บุญศิริ เกษตรตำบลหาดส้มแป้น และ คุณภมรรัตน์ แย้มจรัส เกษตรตำบลบางนอน รับผิดชอบด้านไม้ผลและไม้ยืนต้นระดับอำเภอในการดูแลให้คำแนะนำ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาด้านเกษตรทุกด้านที่มีปัญหา

รวมทั้งนักวิชาการของหน่วยงานต่างๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง คุณพัชรี ชูแก้ว นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดระนอง คุณอังคนา คณีกุล หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์พัฒนาการเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดระนอง เป็นที่ปรึกษาด้านการพัฒนาคุณภาพการผลิตเพื่อยกระดับพืชเศรษฐกิจ (กาแฟ) ของจังหวัดระนอง ทำให้เมล็ดกาแฟจากสวนพี่แอ๋วมีลักษณะที่โต อวบอิ่ม และปลอดสารพิษ จนได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตร สามารถเป็นแปลงเกษตรต้นแบบด้านกาแฟที่มีคุณภาพของกรมส่งเสริมการเกษตรอีกด้วย

ต่อมาพี่แอ๋ว มีความคิดที่ต้องการที่จะสร้างสรรค์ภายในสวนกาแฟให้เป็นมุมสำหรับไว้ต้อนรับผู้คนที่ต้องการมาเยี่ยมหาสนใจศึกษาดูงาน จึงทำให้เกิดซุ้มเล็กๆ ที่ใช้ชื่อว่า “กาแฟบ้านสวนสายหมอก” เพื่อให้ทุกเรื่องราวสอดคล้องกับบรรยากาศ เพราะที่นี่ล้อมรอบไปด้วยขุนเขาและสายหมอกในยามเช้าชนิดครอบคลุมไปทั่วสวนกาแฟ

นอกจากเรื่องกาแฟ พี่แอ๋ว ได้ทำชาดอกกาแฟ ที่มีความหอมตามธรรมชาติ ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเป็นตัวเลือกได้กับผู้ที่ชื่นชอบในรสสัมผัสนี้อีกด้วย ดอกชาที่นี่ได้มาจากการดูดน้ำหวานเพื่อผสมเกสรของผึ้งและแมลงทั่วไป นำมาผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกวิธี รสชาติที่ได้จึงกลมกล่อม หอมละมุนละไม ชาดอกกาแฟนี้มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีคุณสมบัติสามารถบำรุงหัวใจ ละลายไขมันในเส้นเลือด และลดความเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันได้อีกด้วย

ท้ายสุดพี่แอ๋ว ให้บอกว่า “กาแฟบ้านสวนสายหมอก” ยินดีต้อนรับทุกท่านที่มีความสนใจในการศึกษาเรียนรู้การทำสวนกาแฟโรบัสต้า หรือต้องการมาสัมผัสกับกาแฟพร้อมบรรยากาศที่สุดประทับใจ จิบกาแฟดริปนิ่มๆ ตามติดด้วยชาดอกกาแฟที่นุ่มละไม พร้อมไอหนาวของหมอกที่อ่อนละมุน หอมกรุ่นกลิ่นดอกกาแฟที่บานลอยระรินมาแตะจมูก เป็นความสุขในการต้อนรับกับสิ่งดีๆ ในวันใหม่ พี่แอ๋ว แถมท้ายมาว่า “เวลานี้กำลังเริ่มปลูกกาแฟอาราบิก้า เพิ่มอีกด้วยนะค่ะ”

ติดต่อ “พี่แอ๋ว” โทร. 096-065-1305 หรือทางเฟซบุ๊ก จงจิตต์ สนเลม็ด เพจ…บ้านสวนสายหมอก สำหรับตัวผลิตภัณฑ์มีดังนี้ พร้อมราคา ชาดอกกาแฟ ขนาด 70 กรัม ราคา 70 บาท กาแฟดริป 1 กล่อง ขนาดบรรจุ 10 ซอง ราคา 200 บาท เมล็ดกาแฟคั่ว 1 กิโลกรัม ราคา 500 บาท และกาแฟคั่วบด 250 กรัม ราคา 150 บาท

สุดท้าย ขอขอบคุณ คุณภมรรัตน์ แย้มจรัส เกษตรตำบลคนเก่งมากๆ ของเกาะพยาม และตำบลบางนอน ที่อำนวยความสะดวกทุกเรื่องราว มีโอกาสจะไปเยี่ยมหาอีกนะครับ ใครบางคนบอกว่า เดินตามเส้นทางเดิมที่มีอยู่แล้วย่อมเดินได้อย่างปลอดภัยและวางใจที่สุด หากคิดเดินในเส้นทางสายใหม่นั้น อาจจะต้องเสี่ยงเนื่องจากเป็นการบุกเบิกเพราะเป็นการริเริ่ม ล้วนพบกับอุปสรรคแน่นอน

แต่เชื่อไหมว่าบางครั้งเราก็ต้องกล้าแตกต่าง ในเมื่อใจเราฝันต่างจากคนอื่น จำต้องเลือกวิถีทางที่เป็นตัวเอง ความแตกต่างก็คือความแตกต่าง มันเป็นเรื่องธรรมชาติไม่ใช่สิ่งผิดปกติ ทุกจุดที่เรายืนอยู่ ในทุกที่ ทุกสถานการณ์ โอกาสดีๆ เกิดขึ้นได้เสมอ เปิดให้กว้างทั้งดวงตาและดวงใจ ทุกความสำเร็จที่งดงามล้วนเกิดจากความขยันและอดทนที่งดงามทั้งสิ้น ไม่มีความสำเร็จใดเกิดขึ้นได้จากความบังเอิญ ขอบคุณ สวัสดี

ปัญหาเดียวที่แก้ไม่ตกของเกษตรกรไทย คือ ภัยจากธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้งและน้ำท่วม ซึ่งเกษตรกรที่ทำนาในหลายพื้นที่ ได้เลิกทำนาปรัง แล้วหันมาปลูกพืชน้ำน้อยทดแทน บางรายมีรายได้มากกว่าปลูกข้าวเสียอีก

เช่นเดียวกับคุณนงลักษณ์ สิงห์แอ้ซ์ เกษตรกรจังหวัดพิจิตร วัย 65 ปี หันมาปลูกมันญี่ปุ่น และมันเทศอีกหลายๆ สายพันธุ์ สลับกับทำนาปรัง ซึ่งมันญี่ปุ่นใช้น้ำน้อย สู้ภัยแล้งได้ดี ทำเงินได้ทั้งปี

คุณนงลักษณ์ เผยว่า เป็นเกษตรกรปลูกข้าวมาตลอดทั้งชีวิต เดิมทำนาปี ปลูกข้าวหอมมะลิ พื้นที่ 36 ไร่ กระทั่งประสบปัญหาภัยแล้งน้ำน้อย เคยแก้ปัญหาด้วยวิธีไปซื้อน้ำบาดาล ระยะหลังสู้ราคาไม่ไหว เลยปรับมาเป็นนาปรัง และปลูกมันญี่ปุ่นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ลักษณะเป็นการปลูกสลับกับการทำนาข้าว

สำหรับจุดเริ่มต้นที่คุณนงลักษณ์คิดอยากปลูกมันญี่ปุ่น เธอบอกว่า น้องสาวกลับจากประเทศญี่ปุ่น โดยซื้อมันญี่ปุ่นมาด้วย 5 กิโลกรัม ในราคา 600 บาท จึงทดลองปลูก เพราะขายได้ราคาดี ใช้ระยะเวลาปลูกไม่นานมากเพียง 95 วันเท่านั้น หนที่สุด เลยทดลองปลูก

“ช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงที่เก็บเกี่ยวข้าวหอมมะลิ เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว จะเตรียมแปลง เพื่อลงมันญี่ปุ่นและมันสายพันธุ์อื่นๆ อาทิ มันเหลืองเกาหลีใต้ มันม่วงญี่ปุ่น พันธุ์แคร์รอตไทย โดยมันญี่ปุ่นจะต้องทำการเตรียมดินโดยการไถแปร ตากหน้าดินทิ้งไว้เป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบ 10 วัน นำมันญี่ปุ่นมาลงปลูก โดยปักชำลงดิน ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนระบบน้ำ ใช้ระบบน้ำหยด ต้นทุนต่อไร่ 25,000 บาท ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปลูกไป 95 วันสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้” ในระยะเวลา 1 ปี คุณนงลักษณ์จะปลูกมันเทศ 2 ช่วง คือ ช่วงเดือน พ.ย. – ม.ค. ผลผลิตได้เกือบ 5 ตัน และช่วง มี.ค. – พ.ค. ซึ่งช่วงนี้อากาศค่อนข้างร้อน บางปีประสบปัญหาภัยแล้ง ได้ผลผลิตไม่มากราว 2 ตันเท่านั้น

ด้านตลาดที่รับซื้อ คุณนงลักษณ์ เผยว่า มีทั้งขายปลีกเอง และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อ ขายในราคากิโลกรัมละ 15 – 20 บาท รายได้เฉลี่ยประมาณไร่ละ 75,000 – 75,000 บาท รายได้ตรงนี้ช่วยในเรื่องของการปลดหนี้ จนชีวิตครอบครัวดีขึ้น เป็นอาชีพเสริมที่สอดคล้องกับการทำนาได้เป็นอย่างดี เพราะหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมันญี่ปุ่นเสร็จก็จะเป็นช่วงเตรียมดินเพื่อปลูกข้าวนาปีในฤดูกาลถัดไปพอดี

หลังได้รับข้อมูลว่า ณ บ้านพะโค ตำบลท่าแร่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีเกษตรกรท่านหนึ่งรักการเกษตรเป็นชีวิตจิตใจ โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้-ใบหญ้า ตั้งแต่ปลูกผักชี ไปจนถึงไม้ยืนต้นที่ให้ผลผลิตแทบทุกชนิด แม้วัยจะล่วงเข้าเกือบ 80 ปี ก็ยังขยันขันแข็ง ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติด้วยการปลูกพืชไว้มากมาย แต่ที่สำคัญท่านผู้เฒ่ารายนี้ปลูกแล้วมักจะมอบให้หรือแจกฟรี สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปปลูก

วันนี้มีโอกาสดี จึงเดินทางไปที่บ้านพะโค ห่างจากตัวเมืองสกลนคร ราว 35 กิโลเมตร ขับรถเลาะเลียบริมหนองหาร แหล่งทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ ที่รองลงมาจากบึงบอระเพ็ด มุ่งหน้าออกจากตัวเมืองสกลนคร ไปตามถนนสายสกลนคร-นครพนม ที่มองดูท้องทุ่งนาเริ่มเขียวชอุ่ม ด้วยข้าวกล้าที่เกษตรกรลงมือหว่านและปักดำ ด้วยใจเบิกบาน มองผ่านไปทางด้านทิศตะวันออก มองเห็นท้องน้ำกว้างใหญ่ของหนองหาร สายหมอกและก้อนเมฆ ลอยอ้อยอิ่ง จับกันเป็นกลุ่มก้อน ขาวเป็นเงาทะมึนเมื่อกระทบแสงแดด ทำให้มองแล้วเพลินตา ฟากน้ำโพ้น มองเห็นทิวเทือกเขาภูพาน เป็นสีเขียวครามเย็นตาเป็นเงางาม หมอบสงบนิ่งอย่างทรนง สวยงามแฝงไว้ความน่าเกรงขาม

ใช้เวลานั่งรถประมาณครึ่งชั่วโมงมาถึงหมู่บ้าน “บ้านแร่” หมู่บ้านนี้ ที่เอ่ยชื่อแล้วน้อยคนนักที่ไม่รู้จัก เพราะบ้านท่าแร่แต่เดิมเคยเป็นแหล่งเลื่องลือ เกี่ยวการค้าขาย “สุนัข” แต่ปัจจุบัน บ้านท่าแร่ เป็นชุมชนที่อยู่ติดหนองหาร ภาพเก่าไม่มีให้เห็น เป็นชุมชนประมงและทำการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพดและแตงกวา ปลูกได้ตลอดปี

จากนั้นเลี้ยวตรงไฟแดง เส้นทางท่าแร่-ศรีสงคราม ขับรถผ่านออกมาหน้าเทศบาลตำบลท่าแร่ ประมาณ 5 กิโลเมตร ก็จะถึงบ้านพะโค ที่มีบ้านเรือนเรียงรายยาวจากท่าแร่ ออกมาที่บ้านพะโค ประมาณ 4 กิโลเมตร ก็จะพบกับบ้านสวนอภิวัฒน์ ที่อยู่ติดริมถนนหาง่าย ที่สะดุดตา เป็นป่าไม้ที่มีความชุ่มชื่น มีไม้ ทั้งไม้ประดับและไม้ยืนต้นเต็มพื้นที่

พอเลี้ยวรถเข้าไปด้านในก็ต้องตะลึง เนื่องจากมีไม้ประดับและไม้ยืนต้นมีมากมาย ได้รับการต้อนรับจาก คุณลุงสำเริง สกลธวัฒน์ หรือชาวบ้านเรียก อาจารย์เริง วัย 75 ปี และ คุณป้าทองหล่อ สกลธวัฒน์ ภรรยาวัย 74 ปี อยู่ด้วยกันสองคน

เมื่อทักทายเข้าใจกันดีแล้ว คุณลุงสำเริงหรืออาจารย์เริง บอกว่าตนเองเขียนจดหมายไปถึงบรรณาธิการ คุณพานิชย์ ยศปัญญา ที่รู้จักเนื่องดีจากเป็นแฟนหนังสือพิมพ์ในเครือมติชน โดยเฉพาะที่รับเป็นประจำคือ เทคโนโลยีชาวบ้าน เพราะอ่านแล้วได้ความรู้และพัฒนาตนเอง

“ผมไม่ได้ต้องการอยากดังหรืออยากให้ทางคุณพานิชย์ ช่วยอะไร เพียงแต่อยากบอกว่า ผมศึกษาพืชและต้นไม้มาน้อย แต่ก็ปลูกพืชและไม้ประดับไว้มากเหมือนกัน โดยแต่เดิมทำมาควบคู่กับงานที่เป็นอาชีพรับเหมา ส่วนหนึ่งโดยศึกษาจากตำรา” คุณลุงสำเริง บอก

คุณลุงสำเริง เล่าว่า แต่ก่อนมีอาชีพค้าขายและรับเหมา แต่ต่อมาอายุมากขึ้น จึงได้หันพลิกผันตัวเองออกมาอยู่ที่บ้านสวน ในปัจจุบัน ส่วนลูกๆ ก็มีอาชีพค้าขาย ออกมาอยู่ที่บ้านสวนหวังจะมุ่งมั่นทำตามใจรัก ครั้งแรกก็ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ 30 ไร่ ปลูกไม้ยืนต้นที่คิดว่าทั้งกินผลและไม่กินผล แซมให้เป็นร่มเงา จากนั้นก็ขุดบ่อไว้เลี้ยงปลา 13 บ่อ นำปลาที่คิดว่าสามารถจับขายได้เร็ว เช่น ปลานิล ตะเพียน ตลอดจนปลาธรรมชาติมาลงไว้ และสิ่งที่ทำอีกอย่างคือการเลี้ยงหมู ขายส่งทำเป็นฟาร์มขนาดใหญ่ ควบคู่ไปกับการปลูกต้นไม้

หลังจากนั้นไม่นาน ปัญหาหมูราคาถูกและไม่มีความรู้เกี่ยวกับกลไกตลาด ทำให้ต้องเลิกเลี้ยงหมูและไก่ คงเหลือไว้เฉพาะปลาและไก่พื้นบ้านเท่านั้น จากนั้นจึงหันมาศึกษาและปลูกไม้ประดับอย่างจริงจัง ไม้ประดับมีมากมายหลายชนิด โดยการเพาะเองปลูกเอง จนพื้นที่ในโรงเรือนไม่พอ จึงขยายออกไปอีก โดยการทำงานจะช่วยกับภรรยา 2 คนเท่านั้น ไม่มีการจ้างคนงาน ทุกอย่างทำเองหมด ตั้งแต่ผสม คลุกดิน ยัดถุงดำ จนลูกๆ บอกขอให้เลิกปลูกเลิกทำเพราะอายุมากแล้ว แต่ด้วยความที่คิดว่าการอยู่กับธรรมชาติ โดยเฉพาะป่าไม้ จะทำให้มีสุขภาพดี แข็งแรง ซึ่งก็เป็นเรื่องจริง ไม่เคยเจ็บป่วยถึงขั้นรุนแรง

คุณป้าทองหล่อ บอกว่า ในแต่ละวันจะไม่ไปไหน ตื่นมาก็ปลูก ดูแลต้นไม้ที่มีอยู่จำนวนมากมาย มีทุกชนิด ขนุน มะม่วง ลำไย มะกรูด มะนาว มีครบ นอกจากนั้น ทุกวันนี้ยังมีการเพาะไม้ประดับประเภทจันทน์ผาไว้จำนวนมากจนแน่นบ้าน

การจำหน่ายก็ขายเฉพาะคนที่มาขอซื้อถึงสวน จะเป็นการให้ฟรี มอบให้กับองค์กร หรือสถาบันการศึกษา รวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ไปปลูกและประดับ ซึ่งหน่วยงานก็ช่วยค่าดิน ค่าปลูกบ้าง แต่ไม่มาก เรียกว่า ที่ทำเพราะใจรักมากกว่า เคยชวนหยุดปลูก แต่คุณลุงสำเริง บอกว่า บั้นปลายชีวิตและก็ชอบ ดีกว่าไปทำอย่างอื่นอย่างน้อยก็ออกกำลังกาย ไม่เหงา ก็เอาเวลาว่างมาดูแลต้นไม้ เดินไปเดินมา ก็ค่ำมืดแล้ว มีความสุขไปอีกแบบหนึ่ง

สำหรับจันทน์ผาและไม้ประดับหลากหลายชนิด ขณะนี้เพาะกล้าไว้จำนวนมาก ทั้งจำหน่ายทั้งแจกฟรี คุณลุงสำเริงท่านเป็นคนใจดี หากใครแวะเวียนมาเที่ยวหาก็จะนำกระถาง หรือต้นไม้ฝากให้ไปปลูก โดยท่านบอกว่าดีกว่าให้อย่างอื่น เพราะต้นไม้จะทำให้อากาศดีและสดชื่น

สวนอภิวัฒน์หาง่าย หากใครที่อยากศึกษาหรือเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้-ใบหญ้า หากมีเวลาและโอกาสผ่านไปก็สามารถแวะเยี่ยมชมได้ คุณลุงสำเริงยินดีให้คำแนะนำในการปลูกทั้งไม้ยืนต้นและไม้ประดับ และยินดีที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน

ก่อนจาก วันนั้นผู้เขียนยังได้รับต้นไม้จำนวนหนึ่งจากคุณลุงสำเริง เพื่อนำไปมอบให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ซึ่งเป็นความประสงค์ของท่านที่จะมอบให้กับส่วนราชการเป็นการปลูกฝังในการรักต้นไม้ และส่งเสริมการปลูกป่า เพราะท่านบอกว่า “ป่าไม้คือชีวิต”

ในระยะนี้จะมีฝนตกและฝนตกหนักบางพื้นที่ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคต้นเน่า มักพบแสดงอาการในระยะที่ต้นข้าวโพดเริ่มออกดอกจนถึงระยะต้นข้าวโพดติดฝัก ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก

โดยอาการของโรคจะพบใบข้าวโพดมีสีเขียวอมเทา ต่อมาใบจะเหี่ยวสลด และไหม้แห้งตาย ส่วนบริเวณลำต้นเหนือดินพบแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาแผลจะแห้งยุบตัวลง ลำต้นจะแตกหรือฉีก เมื่อผ่าดูภายในลำต้นจะพบเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดอาการของโรคเป็นสีชมพูอมม่วง ลำต้นจะกลวงเพราะถูกเชื้อราย่อยสลาย ทำให้ต้นหักล้มได้ง่าย

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และควรหมั่นกำจัดวัชพืชภายในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก รวมทั้งก่อนการปลูกข้าวโพดในฤดูต่อไป เกษตรกรควรไถพรวนพลิกดินขึ้นมาตากแดด 2-3 แดด โดยไถให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจตกค้างในดิน และช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน และใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเติมอินทรียวัตถุในแปลงปลูก

นอกจากนี้ ในการเพาะปลูกข้าวโพดครั้งถัดไป เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ต้านทานโรค และคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 7-10 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือสารเมทาแลกซิล-เอ็ม 35% อีเอส อัตรา 3.5 มิลลิลิตร ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือสารไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม

อีกทั้งควรปรับระยะปลูกให้เหมาะสม ให้มีการระบายน้ำที่ดี ไม่ปลูกชิดกันเกินไป และไม่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณมากเกินไป ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ในเชิงพาณิชย์ในประเทศไทยเริ่มมีมากขึ้นเป็นลำดับ เนื่องจากกล้วยไข่ไทยมีการส่งออกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนผลผลิตไม่พอต่อการส่งออก โดยเฉพาะตลาดสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกง มีการสั่งซื้อมากที่สุด “กล้วยไข่” จัดเป็นกล้วยที่มีผลขนาดเล็ก นิยมนำมารับประทานแบบผลสด มีรสชาติหอมและอร่อย กล้วยไข่สามารถปลูกได้ในเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย และเกษตรกรสามารถวางแผนการผลิตการปลูกได้ตลอดทั้งปี ซึ่งแหล่งผลิตกล้วยไข่ 5 อันดับที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ จันทบุรี และเพชรบุรี

โดยเฉพาะชาวจีนติดใจในรสชาติของกล้วยไข่ คือ ความอร่อยและมีกลิ่นหอม เหตุผลหลักอีกประการหนึ่งของความนิยมกล้วยไข่ไทย กล้วยไข่เป็นไม้ผลที่จัดระบบการปลูกแบบปลอดภัยไม่ต้องใช้สารปราบศัตรูพืชมาก หรือถ้าใช้ก็น้อยมากๆ คนจีนกลับไม่ชอบบริโภคกล้วยหอมเหมือนชาวต่างชาติอื่นๆ เนื่องจากเมื่อบริโภคมากๆ อาจจะทำให้จุกท้องได้ โดยจากข้อมูลพบว่า ประเทศที่สั่งซื้อกล้วยไข่จากประเทศไทยมาก คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน 70% และ ฮ่องกง 30%

หากให้แนะนำตามหลักวิชาการคือ ระยะปลูกกล้วยไข่ คือ 2×2 เมตร ก็จะได้จำนวนต้น 400 ต้น ต่อไร่ ซึ่งในพื้นที่ปลูกจริงของเกษตรกรมักจะปลูกชิดกว่านั้น คือ ระยะ 1.5 x 2 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้นราว 500 ต้น ต่อไร่ โดยระยะปลูกที่แตกต่างกันนั้นก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ในพื้นที่ปลูกระยะชิดคือ ระยะ 1.5 x 2 เมตร ได้จำนวนต้นที่มากกว่าก็จริง แต่หากไม่เจอมรสุม ไม่มีลมแรง ก็จะทำกำไรแก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าบังเอิญในปีนั้นลมแรงมาก เกิดมรสุม เจอลมพายุ การปลูกกล้วยไข่ระยะชิด 1.5 x 2 เมตร สวนกล้วยไข่จะไม่มีช่องให้ลมพัดผ่าน

จะเป็นแนวบังลมเมื่อต้นกล้วยมันล้ม 1 ต้น มักจะล้มแบบโดมิโน่ คือ ล้มกันเป็นทอดๆ เลยทีเดียว แต่หากใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร อาจจะได้จำนวนต้นน้อยกว่าก็จริง แต่กลับมีช่องว่างให้ลมพัดผ่านได้อย่างสบาย ไม่ต้านแรงลมมากนัก หรือหากเกิดความเสียหายกลับพบการโค่นล้มน้อยกว่าระยะชิดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ในแต่ละพื้นที่ ก็ควรพิจารณาสภาพพื้นที่ของตนว่ามีปัญหาความเสี่ยงเรื่องลมหรือไม่ จะได้นำแนวทางนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกำไรแก่ตัวเกษตรกรเอง ซึ่งในบางพื้นที่จะต้องปลูกพืชชิดอื่นเพื่อเป็นแนวกันลมช่วยอีกทางรอบๆ สวนกล้วยไข่ เช่น ปลูกไผ่เป็นแนวกันลม แล้วไม้ไผ่ก็จะถูกนำมาใช้ในการค้ำยันต้น หรือเครือกล้วยได้ด้วย

ไถพื้นที่ด้วยผาน 3 ก็เพียงพอ สมัครสโบเบ็ต จากนั้นก็จะจ้างคนมาขุดหลุมปลูก ให้หลุม กว้าง x ยาว x ลึก ราวๆ 30 x 30 x 30 เซนติเมตร โดยระยะปลูกที่แนะนำก็คือ 2 x 2 เมตร 1 ไร่ จะปลูก ได้ 400 ต้น การปลูกก็วางหน่อพันธุ์ลงหลุม ถ้าทำได้ควรวางหน่อพันธุ์ให้ด้านที่ติดกับต้นแม่อยู่ในทิศเดียวกัน กลบดินลงหลุมปลูกและกดดินให้แน่น จากนั้นก็ต้องรดน้ำให้ชุ่ม ในช่วงแรกอาจจะต้องมีการกำจัดวัชพืชให้กล้วยไข่ พอกล้วยโตก็จะหมดปัญหา สำหรับการใส่ปุ๋ย ต้องใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมทุกครั้งที่ปลูก ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอกเก่า ประมาณ 1 กำมือใหญ่ๆ โดยอาจจะใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น 15-15-15 หรือ 16-16-16 อีกเล็กน้อย คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ หน่อจะโตเร็ว จากนั้นไปเกษตรกรก็จะบำรุงหน่อให้เจริญทางลำต้นด้วยปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ สลับกับปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) กระตุ้นการเจริญเติบโต โดยจะใส่ให้ทุกๆ 15-30 วัน ตามความสมบูรณ์ของต้น แต่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเราจะใส่ให้ทุกๆ เดือนเช่นกัน ต้นละ 1 กำมือ การใส่ปุ๋ยจะใส่จนถึงการเก็บเกี่ยว ในการใส่ปุ๋ยก็โรยรอบๆ โคนต้นให้ห่างออกมาอย่างน้อย 1 คืบมือ

การดูแลต้นกล้วยไข่ หลังปลูกลงดิน

การให้น้ำแก่ต้นกล้วย แม้ว่าต้นกล้วยเป็นพืชที่ค่อนข้างทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ แต่ถ้าปลูกกล้วยเป็นการค้า การให้น้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งกล้วยมีความต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยกล้วยเป็นพืชใบใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ และน้ำจะช่วยส่งเสริมเรื่องของการเจริญเติบโต เช่น ในช่วงหน้าแล้งจึงไม่ควรให้ต้นกล้วยขาดน้ำ หน้าดินควรมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ เพราะรากกล้วยส่วนใหญ่จะเจริญและแผ่กระจายเป็นจำนวนมากบริเวณผิวดิน วิธีการให้น้ำแก่ต้นกล้วยมีหลายวิธี เช่น ใช้สายยางเดินรด, ติดตั้งระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ ปล่อยน้ำเข้าร่องปลูก ฯลฯ

ค่อนข้างมีความสำคัญ ส่งผลถึงการเจริญเติบโต และผลผลิตที่จะออกมาก โดยเกษตรกรมักจะเน้นการใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 อัตราการให้ ประมาณ 200-300 กรัม หรือเฉลี่ย 1 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี โดยจะแบ่งใส่ 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 จะใส่หลังปลูกหน่อกล้วยไปแล้ว ประมาณ 1 สัปดาห์ ต่อจากนั้นทุกๆ 3 เดือน ก็จะมีการให้ปุ๋ยครั้งที่ 2, 3 และ 4 ซึ่งการใส่ปุ๋ยเคมีครั้งที่ 4 เกษตรกรหลายรายที่ใส่ใจในเรื่องของรสชาติ ก็มักจะเปลี่ยนจากสูตร 16-16-16 มาใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ก่อนการเก็บเกี่ยว

หลังจากปลูกกล้วยได้ประมาณ 5-6 เดือน หน่อใหม่จะเกิดขึ้นมาก่อนที่กล้วยจะตกเครือเล็กน้อย ซึ่งเราควรเลือกไว้หน่อ เพียง 2 หน่อแรกก็เพียงพอ เพื่อเตรียมไว้ทดแทนต้นแม่เดิมที่จะต้องถูกตัดทิ้งในอนาคต หน่อใหม่ที่เลือกควรอยู่ตรงกันข้ามกันของลำต้นเดิม โดยหน่อแรกๆ นั้นจะมีรากลึกและแข็งแรงถือว่าดีที่สุด ส่วนหน่อที่เกิดมาทีหลัง ชาวสวนมักเรียกว่า “หน่อตาม” ไม่ควรปล่อยให้เกิดขึ้นมา จะทำให้กล้วยเครือเล็กลง จึงทำลายทิ้งเสียโดยการทำลายหน่อกล้วย ก็อาจจะวิธีการขุดหน่อออก แต่ต้องกระทำเฉพาะตอนที่กล้วยยังไม่ตกเครือเท่านั้น เพื่อไม่ให้ต้นกล้วยชะงักทำให้ผลกล้วยเล็กลงได้