เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในเกือบทุกพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่

จะปลูกกันในเขตภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2559 พบว่า มีการปลูกสะละในจังหวัดจันทบุรี รวมพื้นที่ประมาณ 10,325 ไร่ พื้นที่ที่ให้ผลผลิตแล้ว 9,483 ไร่ ผลผลิตประมาณ 1,087 กิโลกรัม ต่อไร่ ต่อปี (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2560)

ผลผลิตส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายในรูปผลผลิตสด ซึ่งมีทั้งการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ ตลาดส่งออกหลัก คือ ประเทศญี่ปุ่น สะละที่ออกสู่ตลาดผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ เป็นการจำหน่ายในรูปแบบของสะละผลสด โดยจำหน่ายในรูปแบบช่อและผลสะละร่วง สำหรับการแปรรูปส่วนใหญ่เป็นการทำสะละลอยแก้ว และสะละแช่อิ่ม สำหรับตลาดต่างประเทศจะส่งเป็นสะละผลเดี่ยว ซึ่งผู้บริโภคต้องการในรูปแบบของสะละไร้หนาม

ดร. พุทธธินันทร์ จารุวัฒน์ วิศวกรการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบัน กระบวนการขัดหนามสะละออก จะใช้แรงงานคนโดยตรง โดยการใช้ช้อนขูดหนามออกจากผลสะละ ซึ่งต้องขูดเบาๆ ที่ผิวสะละเพื่อป้องกันการเกิดรอยช้ำที่ผล แต่ละคนมีความสามารถในการทำงานต่ำ เพียงประมาณคนละ 5 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง เท่านั้น ประกอบกับปัจจุบันเกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และขาดความเอาใจใส่ในการทำงาน ตลอดจนขาดความสม่ำเสมอในการทำงาน หากผลสะละเกิดการกระแทกจะทำให้เกิดเป็นรอยช้ำสีดำที่เนื้อสะละ ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายได้ นอกจากนั้น หนามสะละยังเป็นปัญหากับกลุ่มแปรรูปสะละลอยแก้ว คือ ความไม่สะดวกในขั้นตอนการแกะเปลือกออกจากผลเพื่อมาทำลอยแก้ว

ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี จึงนำปัญหาดังกล่าวมาทำการศึกษาวิจัยและพัฒนาเครื่องมือต้นแบบสำหรับการขัดหนามออกจากผลสะละ เพื่อทดแทนการใช้แรงงาน และเพิ่มความสามารถในการทำงาน ให้รวดเร็วและผลสะละที่ได้มีคุณภาพดี เพราะหนามแหลมของเปลือกสะละ เป็นอุปสรรคต่อการรับประทานและเป็นการอำนวยความสะดวกและมีความสุขสำหรับผู้ที่ชอบรับประทานผลสะละสดมากกว่าการแปรรูปเป็นแช่อิ่มและลอยแก้ว

เครื่องขัดหนามผลสะละต้นแบบ

ดร. พุทธธินันทร์ อธิบายว่า หลักการประดิษฐ์เครื่องขัดหนามผลสะละต้นแบบ สร้างให้มีขนาด กว้าง 1.6 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 0.6 เมตร เป็นรูปแบบมีมุมเอียงเพื่อให้ผลสะละเกิดการขัดสีกับพื้นผิวตะแกรงและขัดสีระหว่างผลสะละด้วยกันเอง ทำให้หนามสะละหลุดออกและลอดผ่านพื้นตะแกรงโยกสู่ด้านล่างของเครื่อง และเครื่องจะมีการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าจนกระทั่งผลสะละออกจากเครื่อง และติดตั้งชุดแปรงขัดหนามสะละ ซึ่งทำจากวัสดุไนล่อนทั้งหมด 2 ชุด เพื่อช่วยขัดหนามผลสะละให้หมด

ดร. พุทธธินันทร์ อธิบายต่อว่า เครื่องขัดหนามผลสะละยังมีชุดดูดหนามเข้าสู่ถังเก็บหลังการขัดหนามผลสะละแล้วเพื่อให้พื้นที่บริเวณการทำงานสะอาด สำหรับหนามสะละที่ขัดออกจากผลแล้วยังนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้อีก

เครื่องจะทำงานแบบอัตโนมัติผ่านการควบคุมด้วยอุปกรณ์ Programmable Logic Controller ซึ่งสามารถเขียนโปรแกรมสำหรับควบคุมลำดับและระยะเวลาการทำงานของชุดอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมดได้

เครื่องขัดหนามผลสะละ ประกอบด้วยชุดโครงเครื่อง ซึ่งทำจากวัสดุเหล็ก ขนาดกว้าง 1.6 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 0.6 เมตร ชุดตะแกรงโยกของหนามผลสะละทำจากวัสดุตะแกรงอะลูมิเนียมและชุดแปรงขัด ประกอบด้วย แปรงขัด 2 ชิ้น ทำจากวัสดุไนล่อน ชุดตะแกรงโยกและชุดแปรงขัดจะใช้ต้นกำลังร่วมกัน ได้แก่ มอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 1 แรงม้า 220โวลต์ ขั้นตอนการทำงานของชุดตะแกรงโยกจะเป็นการเคลื่อนไหวในแนวราบ สามารถยกขึ้นเพื่อให้สะละมีการเคลื่อนที่ผ่านชุดแปรงขัดและลงสู่ภาชนะเก็บหลังการขัดหนามแล้ว

ชุดตะแกรงโยกใช้ต้นกำลังมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 0.5 แรงม้า 220 โวลต์ และเมื่อตะแกรงโยกขึ้นถึงจุดสูงสุดชุดดูดหนามสะละใต้ตะแกรงโยกจะดูดหนามสะละเข้าสู่ถังเก็บ เครื่องขัดหนามผลสะละมีความสามารถในการทำงาน 900 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง ใช้พลังงานไฟฟ้ารวม 1.47 กิโลวัตต์ สภาวะในการทำงานที่เหมาะสมคือ ความเร็วรอบตะแกรงโยก 110 รอบ ต่อนาที มุมเอียง 14 องศา สามารถขัดหนามผลสะละได้หมด และผลสะละสามารถเก็บรักษาได้เกิน 3 วัน ที่อุณหภูมิแวดล้อมปกติ โดยไม่ช้ำและไม่แตกต่างจากการใช้แรงงานคนขูดผลสะละ ซึ่งมีความสามารถในการขัดหนาม 5 กิโลกรัม ต่อชั่วโมง ต่อคน

ดร. พุทธธินันทร์ บอกว่า ผลการวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์วิศวกรรม จากการลงทุนใช้เครื่องต้นแบบในการขัดหนามผลสะละ พบว่า มีต้นทุนค่าใช้จ่าย 82.92 บาท ต่อกิโลกรัม ในขณะที่ใช้แรงงานคนมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงกว่า คือ 90.61 บาท ต่อกิโลกรัม เมื่อขัดหนามผลสะละในปริมาณที่เท่ากันและคุณภาพที่ได้ไม่แตกต่างจากการใช้แรงงานคน

สนใจติดต่อสอบถาม และขอดูเครื่องต้นแบบได้ที่ ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมจันทบุรี ทุกวันในเวลาราชการ โทร. 039-609-652 การขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นช่วงหน้าแล้งหลังเก็บเกี่ยว หรือช่วงฝนทิ้งช่วง พบว่าเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกร และพบประจำต่อเนื่องแทบทุกปี ปรากฏการณ์ฝนทิ้งช่วงนาน ที่เกิดขึ้นใน ปี 2562 พบว่า พืชที่ปลูกหรือกล้าข้าวที่ลงไว้ตั้งแต่ต้นฤดูฝนแห้งตายเป็นบริเวณกว้าง และจะปลูกซ้ำช่วงฝนรอบสองก็จะไม่ทันเก็บเกี่ยว สภาวะแล้งยังส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อ เนื่องจากปริมาณฝนที่ลดลง ทำให้แหล่งน้ำผิวดินที่กักเก็บตามเขื่อน อ่างเก็บน้ำ มีปริมาณไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรอย่างทั่วถึง ส่งผลต่อผลผลิตที่ลดลงจึงเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจค่อนข้างมาก ดังนั้น แหล่งน้ำใต้ดินจึงต้องเป็นบทบาทสำคัญในการนำน้ำมาใช้ด้านการเกษตร

ศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและแหล่งกักเก็บ เช่น ชั้นน้ำที่กักเก็บในชั้นตะกอน หรือในรอยแตกชั้นหินดานในพื้นที่นั้นๆ แนวทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรในหลายพื้นที่ช่วยตัวเองได้แบบไม่เดือดร้อนเรื่องค่าใช้จ่ายมาก โดยเฉพาะในยามสภาวะแล้ง คือ แหล่งน้ำใต้ดินตื้น (ที่ระดับความลึกไม่เกิน 15 เมตร) เป็นแหล่งน้ำใต้ดินในชั้นตะกอนหินร่วน (Unconsolidated Aquifer) และส่วนใหญ่พบว่าเป็นชั้นน้ำในสภาวะไร้แรงดัน ซึ่งเป็นตัวอย่างของแนวทางการจัดการน้ำ ช่วยเกษตรกรช่วงวิกฤตแล้งที่เหมาะสมอย่างหนึ่ง แต่ต้องมีการประยุกต์เทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์สมัยใหม่ ช่วยในการสแกนใต้ผิวดิน วิเคราะห์บริเวณที่เป็นแหล่งน้ำใต้ดิน เมื่อเข้าใจธรรมชาติของชั้นน้ำใต้ดินตื้น การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผล

การพัฒนาเทคนิค และเครื่องมือวิจัยที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการสำรวจ ศึกษาธรรมชาติของสายน้ำใต้ดินตื้น ซึ่งเป็นองค์ความรู้ ที่ศูนย์วิจัยสำรวจธรณีประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ศึกษาวิจัยโดยเน้นแหล่งน้ำใต้ดินระดับตื้น สำหรับเป็นแหล่งน้ำใช้ด้านการเกษตร จนประสบความสำเร็จในการสร้างแผนที่แนวน้ำใต้ดินตื้น กำหนดพิกัดตำแหน่งที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในท้องที่ เจาะน้ำด้วยทุนตัวเอง

เครื่องมือวิจัยที่นำมาใช้ (อธิบายพร้อมหลักการไว้ใน รูปที่ 1) ประกอบด้วย

1.เครื่องมือวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแบบหลายความถี่ (ได้ข้อมูลหลายระดับความลึก) ใช้หลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกเหนี่ยวนำ (EM Induction) ใต้ผิวดินระดับตื้น (ประมาณ ไม่เกิน 20 เมตร) เพื่อหาแนวเขตชั้นน้ำใต้ดินตื้น หรือก็คือ แนวร่องสะสมตะกอนกรวดทรายโบราณ แยกออกจากบริเวณที่เป็นดินเหนียว ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ไม่ให้น้ำ จากความแตกต่างกันของค่าสภาพนำไฟฟ้าใต้ผิวดิน

2.เครื่องมือวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าแบบหลายขั้วไฟฟ้า โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงใต้ดินผ่านทางขั้วไฟฟ้า และวัดศักย์ไฟฟ้าจากระบบสายเคเบิ้ลที่วางบนผิวดิน ทำให้ทราบค่าสภาพความต้านทานไฟฟ้าใต้ผิวดิน ซึ่งแยกค่าที่แตกต่างกันของชั้นน้ำใต้ดิน ชั้นดินหรือหินในพื้นที่ ที่แตกต่างกันในเชิงธรณีไฟฟ้า

ตัวอย่างกรณีศึกษา แหล่งน้ำใต้ดินตื้นและการจัดการน้ำเพื่อการเกษตรตามสภาพท้องที่ ลักษณะแนวสายน้ำใต้ดินตื้น ไม่เกิน 10 เมตร (หรือแนวสะสมตะกอนทรายโบราณ) จะได้ข้อมูลเชิงพื้นที่จากเครื่องวัดค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และได้ข้อมูลเชิงลึกแบบภาคตัดขวางจากการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า เมื่อกำหนดเกณฑ์การแปลความหมายข้อมูล ในการแบ่งเขตชั้นน้ำใต้ดิน (หรือที่เป็นแนวร่องสะสมตะกอนกรวด ทราย) แยกออกจากบริเวณที่เป็นชั้นดินเหนียวได้อย่างชัดเจน จากค่าสภาพต้านทานไฟฟ้า ประมาณ 35 โอห์มเมตร และน้อยกว่า 10 โอห์มเมตร ตามลำดับ

ตัวอย่างพื้นที่เกษตรกรรมบริเวณเขตภาคกลาง บริเวณใกล้ขอบแอ่งเจ้าพระยาด้านตะวันตก เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบและเป็นบริเวณที่มีชั้นตะกอนหนา ความสูงของภูมิประเทศ 25-80 เมตร ลักษณะของชั้นน้ำบาดาลตื้นไหลจากตะวันตกไปทางตะวันออก เช่น พื้นที่อำเภอด่านช้าง-หนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี การใช้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย สายน้ำใต้ดินตื้นเป็นชั้นตะกอนทรายเกิดจากเขตตะกอนน้ำพัดรูปพัดขนาดใหญ่ และยังพบว่าปริมาณน้ำที่ได้ยังขึ้นกับขนาดของกรวดทรายอีกด้วย (ตามรูปที่ 2) และพื้นที่ใกล้ๆ กันทางด้านเหนือ

ในเขตอำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพืชผสมผสาน อ้อย ข้าว และมันสำปะหลัง ชั้นน้ำใต้ดินตื้นเป็นชั้นตะกอนที่เกิดจากการผุพังของหินแกรนิตที่เป็นหินดานและอยู่ด้านตะวันตก จากข้อมูลพบมีสายน้ำใต้ดินหลายแนว (จากค่าสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) ขนาดกว้าง 50-150 เมตร ยืนยันขนาดและความลึกประมาณ 10 เมตร (จากค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเชิง 2 มิติ) ตาม (รูปที่ 4) ส่วนพื้นที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีการใช้พื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกพืชหลากหลาย มีลักษณะของชั้นน้ำใต้ดินตื้นเกิดการกัดเซาะของชั้นตะกอน มีทิศทางไหลจากเทือกเขาด้านตะวันตกไปทางตะวันออกลงลำตะเพิน พบสายน้ำใต้ดินตื้นหลายสาย ความกว้างและลึกของสายน้ำใต้ดินไม่แน่นอน ตามรูปที่ 5

2.การสำรวจและพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินตื้นในหลายพื้นที่ ด้วยการวัดค่าสภาพต้านทานไฟฟ้าเชิง 2 มิติ ประสบผลสำเร็จในการใช้น้ำเพื่อการเกษตรมาแล้ว แต่ละพื้นที่มีลักษณะของชั้นน้ำใต้ดินที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่ภาคกลางที่ทำนาข้าวกันเป็นส่วนมาก และมักปลูกข้าวมากกว่า 1 ฤดูเก็บเกี่ยว น้ำใต้ดินตื้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการทำนาปรัง ลักษณะชั้นน้ำใต้ดินตื้นพบว่า สะสมในชั้นตะกอนกรวดทราย ค่อนข้างลึก ประมาณ 14 เมตร เช่น ตัวอย่างผลการสำรวจ พื้นที่อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท และพื้นที่อำเภอไทรงาม

จังหวัดกำแพงเพชร (ตาม รูปที่ 6 และ รูปที่ 7 ตามลำดับ) ส่วนพื้นที่ภาคตะวันออก บางบริเวณพื้นที่เกษตรพืชสวน พบว่ามีแหล่งน้ำใต้ดินตื้น เป็นชั้นน้ำหน้าหิน โดยมีหินดานในท้องที่รองรับ การเลือกตำแหน่งที่เหมาะสม คือตำแหน่งที่ลึกกว่าบริเวณทั่วไป (เปรียบเสมือนลักษณะก้นกระทะ) เช่น ตัวอย่างที่อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง (ตามผลสำรวจใน รูปที่ 8) หลายบริเวณของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถใช้น้ำคุณภาพดี (ไม่เค็ม) เช่น บริเวณพื้นที่อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ (ข้อมูลตาม รูปที่ 9) ชั้นน้ำที่พบอยู่ระดับความลึก 12-25 เมตร ปริมาณมากกว่า 12 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง เป็นน้ำจืด เหมาะสมเพื่อใช้ในการเกษตรแบบผสมผสาน

แนวทางในการจัดหาน้ำใช้ด้านกิจกรรมทางการเกษตร ใช้วิธีการพัฒนาแหล่งใต้ดินตื้นที่เหมาะสม เมื่อทราบลักษณะธรรมชาติของแหล่งกักเก็บน้ำใต้ดิน ด้วยการใช้เครื่องมือทางธรณีฟิสิกส์ที่ทันสมัยเป็นตัวช่วย การช่วยเหลือเกษตรกรในสถานการณ์แล้ง หรือช่วงฝนทิ้งช่วงนั้นควรต้องรีบช่วยเหลือ เมื่อทราบลักษณะแหล่งน้ำใต้ดิน ค่าใช้จ่ายในการเจาะน้ำไม่แพงมาก เกษตรกรพอที่จะช่วยตัวเองได้ ควรมีการแนะนำการใช้น้ำอย่างเหมาะสม หากต้องการใช้น้ำปริมาณมาก ก็ต้องมีหลายบ่อและกระจายตำแหน่งกัน

จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำใต้ดิน ช่วง 2 ปีที่ผ่าน (ดู รูปที่ 10 ผลการวัดค่าระดับน้ำใต้ดินอย่างต่อเนื่อง บริเวณต้นน้ำและปลายน้ำ) พบว่าศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินตื้น บริเวณพื้นที่สุพรรณบุรี ถึงแม้มีการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลแต่ก็ยังพอมีน้ำเหลือใช้ตลอดปี และถ้ามีการเพิ่มศักยภาพของแหล่งน้ำใต้ดินตื้น ด้วยการใช้น้ำผิวดินเติมกลับอย่างถูกหลักวิธี (Artificial recharge) ในช่วงหน้าฝน (หรือที่เรียกกันว่า ธนาคารน้ำใต้ดิน) บริเวณที่เป็นสายน้ำใต้ดินตื้น ดังนั้น การจัดการใช้น้ำใต้ดินตื้นอย่างสมดุล ก็ยังสามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้ยาวนาน

อนึ่ง แหล่งน้ำใต้ดินตื้น ไม่ได้พบทั่วไปทุกพื้นที่ ดังนั้น การจัดการน้ำตามกรณีดังกล่าวจึงสามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ครั้งนี้ได้รับการเชิญชวนจาก คุณนพรัตน์ ไชยอิ่นคำ หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร ไปชม สำนักงานสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร ที่ยึดและขับเคลื่อนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร โดยการเดินทางมี คุณกรวิภา คงอิ่ม สหกรณ์จังหวัดสกลนคร ร่วมเดินทางและเยี่ยมชมด้วย

นัดแนะกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสหกรณ์จังหวัด รวมตัวขึ้นรถพร้อมกัน เป็นรถของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร จัดให้ที่บริเวณหน้าอาคารภูพานเพลซ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เวลาเก้าโมงเช้า

มุ่งหน้าไปตาม ถนนสกลนคร-อุดรธานี ใช้เวลา 45 นาที ถึงอำเภอพังโคน สภาพบรรยากาศสองข้างทางยามนี้ มองแล้วหดหู่หัวใจแทนพี่น้องเกษตรกร เนื่องจากสภาพความแห้งแล้ง ปลายเดือนมีนาคม ย่างเข้าสู่เดือนเมษายน

เลี้ยวขวาตรงสี่แยกพังโคนไปตาม ถนนสายพังโคน-บึงกาฬ ผ่านอำเภอวานรนิวาส ผ่านมาถึงสามแยกบ้านนาบัว เขตอำเภอวานรนิวาส ก่อนถึงแยกเข้าอำเภอบ้านม่วง จะพบกับตลาดริมทางบ้านนาบัว ที่นี่จะพบรถทั้งขนาดใหญ่และเล็กจอดเรียงรายเปิดไฟกะพริบ จอดลงมาซื้อหาสินค้าที่นี่เป็นแบบดั้งเดิมพื้นเมือง เช่น ฝักบัว ข้าวเม่า ที่ตลาดนาบัว สินค้าหลักเป็นฝักบัว จนมีหลายคนบอกว่า นี่คือ ที่มาของชื่อบ้าน “นาบัว” ด้วย

เลยมาอีกราว 10 กม. เข้าเขตอำเภอคำตากล้า ก่อนเข้าถึงตัวอำเภอพบกับร้านขายสินค้าริมทาง วางแผงเรียงราย จำหน่ายสินค้าพื้นบ้าน เช่น กระติบข้าว และของใช้ในครัวเรือนแบบคนอีสานที่ใช้ ตลอดจนของกิน ของแซ่บ ไข่มดแดง ผักหวานป่า เห็ดอีกหลากหลาย

แม่ค้าในเพิงขายของเอ่ยเชิญชวนลูกค้า บอกสรรพคุณและราคา พร้อมบอกว่า เป็นของหายาก บางชนิดกว่าจะถึงฤดูไม่ได้หากินได้ง่าย อย่าต่อรองราคาเลย ถึงสำนักงานสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า เป็นเวลาเที่ยงพอดี สภาพอากาศร้อนจ้า หลังจากทักทายแนะนำตัวกันแล้ว ไปดูการทำ “ปุ๋ย” จากมูลสัตว์อัดเม็ด แต่ไม่เรียกว่า ปุ๋ย เพราะยังไม่ได้ผ่านการรับรองอะไร แต่ชาวบ้านนำไปใช้ กับผลผลิตแล้วแนะนำว่าดีกว่าปุ๋ยเคมี แถมยังราคาถูกกว่าด้วย

การทำ “มูลสัตว์อัดเม็ด” มี คุณสุริยา บุญเค้า ประธานสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า และ คุณพงษ์สวัสดิ์ ศรีสุราช ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร และคุณลำไย บึงแก้ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า เป็นผู้นำเยี่ยมชมและให้ข้อมูล

คุณกรวิภา คงอิ่ม สหกรณ์จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้เริ่มดำเนินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักสหกรณ์มีส่วนที่สอดคล้องกัน เนื่องจากปลายทางของหลักเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักสหกรณ์คือให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีสันติสุข สามารถช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนครได้คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเพื่อเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย

– สหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด ซึ่งเคยเข้าโครงการ เมื่อปี 2555 และ ปี 2558

– สหกรณ์การเกษตรผู้เลี้ยงโคกระบือสร้างดู่ จำกัด ซึ่งเคยเข้าโครงการ เมื่อปี 2558

– กลุ่มเกษตรกรทำสวนขัวขอนแคน

– กลุ่มเกษตรกรทำนานาเพียง

– กลุ่มเกษตรกรทำนาวัฒนา

ในส่วนของกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ ประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 คัดเลือกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริม แนะนำ ให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่เคยเข้าร่วมโครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551-2556 โครงการขับเคลื่อน ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ปี พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน และขยายผลสู่สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ได้นำแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ ในการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งส่งเสริมให้สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างแพร่หลาย

กิจกรรม 2 ประสานงาน แนะนำ และส่งเสริมการดำเนินการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

วัตถุประสงค์ เพื่อให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีกิจกรรมการดำเนินงานที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการธุรกิจหรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งในระดับองค์กรและระดับสมาชิก

ระดับองค์กร ให้การแนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร มีการดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งดำเนินงานตามแผนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

ระดับสมาชิก ให้การแนะนำ ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสมาชิก และส่งเสริมการจัดทำแผนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการ ฝ่ายจัดการและสมาชิก

วัตถุประสงค์ เพื่อให้มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินงานของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร และในชีวิตประจำวันของสมาชิก เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ พร้อมทั้งมีแผนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แผนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่ 4 การจัดทำแผนการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรและแผนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางในการดำเนินการและกิจกรรม รวมถึงการแก้ไขปัญหาของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ด้วยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและดำเนินการตามแผนการประเมินการดำเนินงานสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร

กิจกรรมที่ 5 การติดตามและรายงานผลการดำเนินโครงการ ติดตามและรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ในระดับองค์กรและระดับสมาชิก ติดตามการดำเนินการตามแผนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ติดตามการดำเนินแผนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิก

ข้อมูลทั่วไปของสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด

สหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด เป็นสหกรณ์ประเภทการเกษตร จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2522 มีสมาชิก 1,555 คน ทุนดำเนินงาน ประมาณ 98,085,793.17 บาท เป็นทุนของสหกรณ์ 40,305,638 บาท คิดเป็น ร้อยละ41.09 เงินรับฝาก 50,559,900.58 บาท คิดเป็น ร้อยละ 51.55 ธุรกิจหลักประกอบด้วย การจ่ายเงินกู้ 37,971,324 บาท จัดหาสินค้ามาจำหน่าย 3,046,110 บาท ประกอบด้วย ปุ๋ย อาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นต้น

จากผลการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา GClub สหกรณ์มีผลประกอบการ โดยมีกำไรสุทธิ 3,439,317.08 บาท นอกเหนือจากการดำเนินในธุรกิจหลักดังกล่าวข้างต้น สหกรณ์ได้นำเงินอุดหนุนที่ได้รับจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ตามโครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อย เพื่อนำไปฟื้นฟูอาชีพของสมาชิก ประมาณ 1.9 ล้านบาท โดยนำไปผลิตมูลสัตว์อัดเม็ด จำนวน 1,370 กระสอบ มูลค่า 383,600 บาท โดยจำหน่ายราคากระสอบละ 280 บาท ซึ่งเป็นการส่งเสริมการลดใช้ปุ๋ยเคมีและลดต้นทุนการผลิตแก่สมาชิก โดยมีวัตถุดิบหลักคือ ปุ๋ยคอก ซึ่งรับซื้อจากสมาชิก

ในส่วนของการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในสหกรณ์ ได้มีการจัดทำโครงการที่สำคัญมารองรับ ประกอบด้วย

– โครงการจัดชั้นสมาชิก โดยแบ่งสมาชิกเป็น 4 ชั้น คิดดอกเบี้ยเงินกู้ตามระดับชั้นสมาชิก

– โครงการให้การศึกษาอบรม

ประชุมกลุ่มให้การศึกษาอบรมเกี่ยวกับหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการสหกรณ์แก่สมาชิก ปีละ 2 ครั้ง/กลุ่ม

เข้าร่วมการศึกษาอบรมตามหน่วยงานต่างๆ

การส่งเสริมสวัสดิการของสมาชิก

– สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ ร่วมกับ 4 สหกรณ์ ในพื้นที่ใกล้เคียง

– สมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์สหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด

– โครงการเอื้ออาทรสมาชิก ครอบครัว ผู้ยากไร้และผู้พิการ

– โครงการส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิก เช่น การเลี้ยงโคคุณภาพ การเลี้ยงปลา การเกษตรผสมผสาน เป็นต้น

จากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในระดับองค์กร โดยการให้การแนะนำ ส่งเสริมให้สหกรณ์มีการดำเนินธุรกิจและบริหารจัดการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งดำเนินงานตามแผนการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินงานของสหกรณ์ลดลง จากร้อยละ 46.99 เป็นร้อยละ 41.51 และมีกำไรเพิ่มขึ้นจาก 2.17 ล้านบาท เป็น 3.43 ล้านบาท

ส่วนการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในระดับระดับสมาชิก ได้ให้การแนะนำ ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงในระดับสมาชิก และส่งเสริมการจัดทำแผนครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการอยู่ดีกินดี มีสันติสุข สามารถช่วยเหลือตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

คุณพงษ์สวัสดิ์ ศรีสุราช ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส กลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมการทำ “มูลสัตว์อัดเม็ด” ของสหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด มีส่วนผสมของมูลสัตว์อัดเม็ด ดังนี้

อัดเม็ดคุณสมบัติ และส่วนประกอบ

1. มูลสัตว์ หรือกากอ้อย 38 กิโลกรัม ให้ความโปร่ง ดินร่วนซุย เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน
2. แกลบดิบ 1 กิโลกรัม ให้ความโปร่ง ดินร่วนซุย
3. แกลบดำ 3 กิโลกรัม ให้ความร้อนในการหมัก
4. ดิน 3 กิโลกรัม เปลี่ยนแปลงน้ำจากร้อนให้เย็น เพิ่มน้ำหนัก
5. รำอ่อน 0.5 กิโลกรัม เป็นอาหารเชื้อจุลินทรีย์
6. กรดซีลีคอน 0.5 กิโลกรัมปรับสภาพให้เป็นกรดอ่อนๆ
7. น้ำหมัก 2 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์/ปุ๋ยน้ำ

ในกิจกรรม “มูลสัตว์อัดเม็ด”…มีวัตถุประสงค์ ในการให้สมาชิกลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ปรับปรุงสภาพดินให้มีโครงสร้างที่ดี เหมาะแก่การปลูกพืช เป็นแหล่งเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักของสมาชิก

อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกร หน่วยงานราชการใด สนใจอยากศึกษาหรือขอข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่ สหกรณ์การเกษตรคำตากล้า จำกัด คุณสุริยา บุญเค้า ตำแหน่งประธานกรรมการ โทร. 081-954-5796 คุณลำไย บึงแก้ ตำแหน่งผู้จัดการ โทร. 085-693-0510

ส่วนราชการ คุณพงษ์สวัสดิ์ ศรีสุราช ตำแหน่งเจ้าพนักงานส่งเสริมสหกรณ์อาวุโส สังกัดกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ 4 สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสกลนคร