เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำมาใช้พัฒนาการเกษตร

คุณภาพชีวิตของเกษตรกรในรูปแบบชุมชนเกษตรกร โดยใช้กิจกรรมในลักษณะลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตและยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เน้นกลุ่มเกษตรกรที่มีรายได้น้อย เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร เรียนรู้การคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน และก่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาพื้นที่ ฉบับนี้รันตีจึงอาสาพาท่านผู้อ่านไปชม โครงการ 9101 ที่กำลังเดินหน้าไปอย่างสวยงาม โดยมีผู้นำชุมชนที่เป็นคนรุ่นใหม่ใส่พลังขับเคลื่อนเพื่อความสุขอย่างยั่งยืนให้กับชุมชน ตามรันตีมาเลยค่ะ

พาท่านมาที่ บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ที่นี่สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา ดินมีลักษณะเป็นสีแดง แหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำแควน้อยนั้นอยู่ไกลกว่า 5 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ที่อยู่สูงและเป็นพื้นที่หินทำให้ไม่สามารถเจาะบ่อบาดาลได้ การทำการเกษตรจึงต้องอาศัยน้ำฟ้าน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้พี่น้องเกษตรกรในพื้นที่ต้องเลือกปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย อย่างพืชไร่ เช่น มันสำปะหลัง ไม้ผล อย่าง น้อยหน่า พืชผักจำพวกหัวไชเท้า ปัจจุบัน หมู่บ้านไตรรัตน์มีผู้ใหญ่บ้านคือ คุณเอนก อ่อนช้อย คนรุ่นใหม่ที่รักการพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ผู้ใหญ่เอนก บอกว่า หมู่บ้านไตรรัตน์ มีประชากรอยู่ 450 ครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกร แต่ปัญหาคือขาดแคลนแหล่งน้ำและผลผลิตเกษตรที่ราคาขึ้นๆ ลงๆ คนในหมู่บ้านจึงมองหาช่องทางสร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคง ยั่งยืน

ผู้ใหญ่เอนก เล่าว่า ได้มีการปรึกษาหารือกับลูกบ้านในเรื่องการทำมาหากินและอาชีพต่างๆ อยู่เสมอ จนเมื่อรัฐบาลได้เปิดโอกาสให้เสนอโครงการ จึงเสนอโครงการผลิตเห็ดเข้าไปและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากโครงการ 9101 จากรัฐบาลมาเพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้านไตรรัตน์ โดยการใช้งบประมาณมาลงทุนสร้างอาชีพการผลิตเห็ดแบบครบวงจรให้กับชาวบ้านนั้น ผู้ใหญ่เอนก บอกว่า “เราสรุปกันไว้ว่า จะผลิตเห็ดในแบบครบวงจร ตั้งแต่การอัดก้อนเห็ด การอบฆ่าเชื้อก้อนเห็ด การเขี่ยเชื้อ การเพาะเลี้ยง ไปจนถึงการตลาด งบประมาณส่วนหนึ่งเราจึงต้องเอาไปซื้อเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่น ตู้อบฆ่าเชื้อก้อนเห็ด ตะแกรงวางก้อนเห็ด อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ส่วนงบประมาณบางส่วนเราใช้งบประมาณเพื่อกระจายรายได้ให้กับชาวบ้านอย่างทั่วถึงตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เราใช้การจ้างแรงงานที่เป็นคนในหมู่บ้านมาร่วมกันทำโรงเพาะเห็ด ช่วยกันคนละไม้คนละมือไม่นานก็สำเร็จเป็นโรงเรือนเพาะเห็ด ขนาด 6×15 เมตร สามารถเพาะเลี้ยงเห็ดได้ 10,000 ก้อน” ผู้ใหญ่เอนก เล่าให้ฟัง

หลังจากมีเครื่องมืออุปกรณ์ รวมทั้งโรงเรือนเพาะเห็ดแล้ว ก็มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านทุกช่วงวัย ไม่ว่าจะเด็ก นักเรียน แม่บ้าน เกษตรกร ผู้สูงอายุ มาเรียนรู้การผลิตก้อนเชื้อเห็ด การผสมอาหารเลี้ยงเห็ด การนึ่งฆ่าเชื้อ การหยอดเชื้อ เขี่ยเชื้อเห็ด และการเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือน ผู้ใหญ่เอนก บอกว่า “เราตกลงกันว่าจะเพาะเลี้ยงเห็ดนางฟ้าภูฏานและเห็ดนางรมฮังการี เพราะเห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้เพาะเลี้ยงได้ค่อนข้างง่าย สามารถเพาะให้เกิดดอกได้ตลอดทั้งปี และเป็นที่ต้องการของตลาด เรามั่นใจว่าตลาดในพื้นที่กาญจนบุรียังมีช่องว่างให้เราเอาผลผลิตไปขายได้ เพราะในพื้นที่มีผู้ผลิตเห็ดไม่มากนัก” ตอนนี้ผลผลิตเห็ดจากโครงการได้ออกสู่ตลาดแล้ว ซึ่งได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี “ผลผลิตเห็ดของเราเริ่มจากการขายในหมู่บ้านก่อน หากเหลือแล้วก็จะนำออกไปวิ่งหาตลาดนอกหมู่บ้าน รวมทั้งมีพ่อค้าแม่ค้าที่เริ่มรู้ว่าหมู่บ้านของเรามีผลผลิตเห็ดก็เริ่มติดต่อเข้ามา เข้ามาซื้อผลผลิตของเราเพิ่มขึ้น ตอนนี้ราคาขายส่งเห็ดของเราอยู่ที่ 40 บาท ต่อกิโลกรัม” ผู้ใหญ่เอนก เล่า

โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนนั้น ให้งบประมาณมาเพื่อเป็นการเริ่มต้นสร้างอาชีพ หากงบประมาณหมดลงไป อาชีพเหล่านั้นจะอยู่ได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้นำชุมชนและลูกบ้านที่เป็นสมาชิกผู้ร่วมโครงการ ผู้ใหญ่เอนก เล่าว่า “ทุกวันนี้เราใช้งบฯ จาก โครงการ 9101 หมดไปแล้ว แต่ดอกผลที่ได้จากการขายผลผลิตก็ยังสามารถพาโครงการนี้ให้เดินหน้าต่อไปได้อีก เพราะเราได้แบ่งรายได้ 60% จากการขายผลผลิตเข้าไปรวมไว้เป็นกองทุนสำหรับดำเนินโครงการต่อไป ส่วนรายได้อีก 40% เรานำมาจัดสรรเป็นรายได้ให้แก่สมาชิกที่เข้าร่วมทำงานในโครงการ ดังนั้น แม้ว่างบฯ ตั้งต้นจะหมดไป แต่เรายังมีเงินรายได้ที่สามารถนำมาดำเนินงานได้ต่อไป เรามีรายรับเป็นรายได้จากการขายผลผลิตเห็ดทุกวัน ส่วนก้อนเห็ดชุดแรกเมื่อหมดอายุการให้ผลผลิต เราก็จะเอามาทำปุ๋ยหมักใช้ต่อไป ส่วนก้อนเชื้อเห็ดชุดต่อไปเราก็มีอุปกรณ์ ความรู้ และประสบการณ์พร้อมสามารถผลิตเองได้แล้ว ดังนั้น โครงการเห็ดของเราจึงสามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างยั่งยืนแน่นอนครับ”

ชาวบ้านหวังมีอาชีพต่อยอดจากโครงการ

คุณปทุมทิพย์ อยู่สำราญ เกษตรกรในพื้นที่บ้านไตรรัตน์ ที่เข้าร่วมผลิตเห็ดได้เล่าว่า “ป้าเข้าร่วมโครงการมาตั้งแต่ต้น ตอนนี้ก็ทำหน้าที่เก็บผลผลิตเห็ด ดูแลการผลิตทั้งหมด ที่ผ่านมาก็มองว่าโครงการนี้น่าจะเดินหน้าไปได้เป็นอย่างดี เพราะตอนนี้ผลผลิตของเรามีทั้งลูกค้าประจำที่มารับซื้อผลผลิตถึงที่ และยังมีลูกค้าจรที่รับรู้แล้วว่าหมู่บ้านของเรามีการผลิตเห็ดเต็มรูปแบบ นอกจากนั้น เรายังสามารถทำก้อนเห็ดเองได้ ถือว่าเราทำได้เกือบครบวงจร อนาคตเราจึงมองเห็นช่องทางว่านี่จะเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่สามารถเลี้ยงดูคนในหมู่บ้านไตรรัตน์ได้”

ทางด้านผู้ใหญ่เอนก บอกว่า “ผลผลิตของเราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เราจึงกำลังจะขยายโรงเรือนเพาะเลี้ยงเห็ดออกไปอีก เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตและเพิ่มปริมาณงานให้คนในหมู่บ้าน นอกจากนั้น เรายังวางแผนที่จะเป็นผู้ผลิตก้อนเห็ดออกจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่งนอกเหนือจากการขายผลผลิตเห็ดอย่างเดียว และยังมองในเรื่องการแปรรูปผลผลิตเห็ดในช่วงที่ราคาไม่ดีหรือมีผลผลิตล้นตลาด นอกจากนั้น ยังพยายามจะให้ที่นี่เป็นจุดเรียนรู้ เป็นศูนย์ดูงานการผลิตเห็ดสำหรับพี่น้องเกษตรกร ลูกหลาน นักเรียน นักศึกษา และคนที่สนใจทั่วไป เพื่อให้หมู่บ้านไตรรัตน์เป็นหมู่บ้านผลิตเห็ดครบวงจรในการรับรู้ของคนทั่วไปให้ได้”

รันตีขอเอาใจช่วยคนที่มีจิตสาธารณะ ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคบ้างก็คงไม่สามารถเอาชนะคน กลุ่มคน ที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจเพื่อส่วนรวมได้ ใครสนใจอยากไปเยี่ยมชมโครงการ อยากไปซื้อผลผลิตเห็ด ก้อนเชื้อเห็ด ติดต่อไปได้ที่ ผู้ใหญ่เอนก อ่อนช้อย โทร. (061) 629-8858 ฉบับนี้หมดพื้นที่แล้วขอลากันไปก่อนนะคะ สวัสดีค่ะ

“มะขามหวาน” เป็นพืชเอกลักษณ์และพืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์มาแต่ดั้งเดิม จนได้ชื่อว่า เมืองมะขามหวาน เมื่อเอ่ยถึงเมืองมะขามหวานประชาชนโดยทั่วไปก็เข้าใจเป็นอย่างเดียวกันว่า หมายถึง เมืองเพชรบูรณ์

“มะขามหวาน” เป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ปลูกได้ดีในสภาพพื้นที่ฝนตกไม่ชุกมากนัก ดินที่เหมาะสมในการปลูกมะขามหวานควรเป็นดินร่วน มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 5.5-6.5 ทั้งมีฝนตกไม่ชุกนัก มะขามหวานจึงเจริญเติบโตได้ดี ไม่มีปัญหาเรื่องเชื้อรามารบกวนเหมือนพื้นที่อื่นๆ มะขามหวานจะเริ่มให้ผลผลิตหลังจากปลูกไปแล้ว 4 ปีขึ้นไป และสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ปี

ตั้งแต่ติดดอกจนถึงดอกบานจะใช้ระยะเวลาประมาณ 20 วัน หลังจากดอกบานจนถึงฝักแก่จะใช้เวลาประมาณ 8 เดือน ต้นอายุ 10 ปี จะให้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัม ผลผลิต 1 กิโลกรัม จะมีประมาณ 30-45 ฝัก ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตจะเริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ในทุกๆ ปี ประกอบกับในดินที่จังหวัดเพชรบูรณ์ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุอาหารฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสูง อากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ

ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมีนาคม ซึ่งเป็นระยะที่ฝักสุก ทำให้มะขามหวานเพชรบูรณ์มีฝักใหญ่ เปลือกสีน้ำตาลเนียนสวย เนื้อหนา สวยสม่ำเสมอ ไม่แฉะ สาแหรกน้อยและมีรสหวานหอม แตกต่างจากถิ่นอื่น โดยพื้นที่ปลูกมะขามทั่วทั้งจังหวัดมีมากกว่า 60,000 ไร่ นิยมปลูกกันมากในอำเภอเมือง อำเภอชนแดน อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า อำเภอวังโป่ง เป็นต้น

คุณสมชาย เหลี่ยมศร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้ผลวังซับเปิบ เลขที่ 32 หมู่ที่ 9 ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. (087) 660-1152 เกษตรกรที่ปลูกมะขามหวานมานานกว่า 25 ปี คุณสมชาย เล่าย้อนกลับไปว่า แต่เดิมนั้นตนเองหรือเพื่อนเกษตรกรบ้านวังซับเปิบนั้นจะปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด ถั่ว ซึ่งราคาไม่แน่นอน ได้กำไรบ้างขาดทุนบ้างในแต่ละปี ก็เริ่มทดลองนำมะขามหวานมาปลูกที่อำเภอวังโป่ง ราวๆ ปี 2535

ในตอนนั้นก็ปลูกสายพันธุ์ขันตี สีชมภู และสีทอง ในพื้นที่ 3ไร่ และทยอยปลูกสายพันธุ์ใหม่ๆ ในยุคต่อมา เช่น พันธุ์ประกายทอง (หรือพันธุ์ตาแปะ) แต่ที่สวนจะเน้นปลูกพันธุ์ขันตีมากกว่าสายพันธุ์อื่น เหตุผลคือ นอกจากจำหน่ายในรูปแบบฝักแล้ว มะขามขันตีแบบแกะเปลือกยังเป็นที่ต้องการของโรงงานแปรรูปมะขามคลุกเป็นจำนวนมาก มีการสั่งจองสั่งซื้อจำนวนมาก

ด้วยที่พันธุ์ขันตีจะมีรสหวานนำ มีรสอมเปรี้ยวเล็กน้อย ซึ่งเป็นรสชาติที่เหมาะแก่การนำไปแปรรูปเป็นมะขามคลุก และอีกหนึ่งความภาคภูมิใจคือ มะขามหวานพันธุ์ขันตี ที่สวนนั้นได้รับรางวัลชนะเลิศและอีกหลายรางวัลในการประกวดมะขามหวานของจังหวัดเพชรบูรณ์
ในแต่ละปี

คุณสมชาย อธิบายว่า มะขามหวาน “พันธุ์ขันตี” เดิมนั้นมีถิ่นกำเนิดบ้านป่าม่วง ตำบลท่าพล อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะประจำพันธุ์ เปลือกของลำต้นเป็นสีเทาขาว มีรอยแตกตามยาวแต่ละเอียด เกล็ดของเปลือกเรียบเล็ก ใบเล็ก ใบสีเขียวแก่ยอดอ่อนสีเขียวอมชมพูเล็กน้อย ทรงพุ่มกว้างและทึบ มีกิ่งแขนงมาก ฝักใหญ่กลมตรงโค้งบ้างเล็กน้อย ท้องฝักไม่แบน เปลือกฝักออกสีน้ำตาลเข้ม ข้อฝักห่าง เนื้อสีน้ำตาลแดง เยื่อหุ้มเมล็ดหนาและเหนียว รสชาติหวานหอม เนื้อหนาสีน้ำตาลเข้ม การติดฝักดี ฝักดกสม่ำเสมอทุกปี

ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ฝักสุกเดือนธันวาคม-มกราคม ข้อเสีย มีกิ่งแขนงและใบเล็ก การสังเคราะห์แสงอาจไม่ดี พอมีฝักออกร่วงหล่น มีรสชาติอมเปรี้ยวหากขาดการบำรุงอย่างดี แต่ถ้าบำรุงดีในเรื่องการให้ปุ๋ยก็จะมีรสชาติหวานจัด และขันตีมีรกหยาบ สุกช้า

วิธีปลูก และบำรุงรักษามะขามหวาน

การเลือกพื้นที่ปลูกควรเป็นที่น้ำท่วมไม่ถึง สามารถปลูกได้ในดินทั่วๆ ไป หากเป็นดินลูกรังควรขุดหลุมให้กว้างและลึกเป็นพิเศษ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก เตรียมดินในหลุมไว้ประมาณ 1 เดือน แล้วจึงนำต้นมะขามลงปลูก

ระยะปลูก คุณสมชาย เลือกใช้ระยะปลูก 9×9 เมตร ซึ่งจะได้จำนวนต้น 20 ต้น ต่อ 1 ไร่ แต่สวนมะขามหวานแต่ละสวนจะเลือกใช้ระยะปลูกไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์มะขามหวานที่เลือกปลูกว่ามีการเจริญเติบโตทรงพุ่มเป็นอย่างไร หรือบางคนเน้นขยันตัดแต่งควบคุมทรงพุ่ม ก็จะปลูกระยะชิด คือ 6×6 เมตร เป็นต้น หากเป็นพันธุ์สีทอง ควรใช้ระยะปลูก 10×10 เมตร เนื่องจากเป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่ทรงพุ่มใหญ่

วิธีปลูก ขุดหลุมให้กว้างและลึกพอสมควร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักครึ่งหนึ่งของหลุม ส่วนบนใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 4 ต่อ 1 ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุม โดยให้ระดับของดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อย ใช้มีดที่คมกรีดถุงจากก้นถุงขึ้นมาถึงปากถุงทั้ง 2 ด้าน (ซ้ายและขวา) ดึงถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึงรอยทาบ กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือกยึด เพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟางข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม

และคอยรดน้ำอยู่เสมอในช่วงแรกของการปลูก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดดในช่วงแรก แกะพลาสติกที่พันรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน ควรปลูกต้นหรือกลางฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม มะขามที่ปลูกจากต้นทาบกิ่งจะให้ผลผลิตในปีที่ 3-4 หลังการปลูกแต่จะให้ผลเต็มที่ ต้องมีอายุ 6 ปีขึ้นไป

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะแรกปลูก

หากฝนไม่ตกควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนกว่าจะตั้งตัวและรากแข็งแรง ต้องคอยกำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นรกโคนต้น การกำจัดอาจใช้แรงคนหรือสารเคมีกำจัดวัชพืชฉีดพ่นเมื่อมะขามตั้งตัวได้แล้ว เริ่มตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งแก่ และกิ่งที่ไม่ต้องการออก

การให้ปุ๋ยควรดายหญ้าโคนต้นแล้วพรวนดินรอบทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละประมาณ 100 กรัม และใช้ปุ๋ยหมักโรยทับ ประมาณ 1-2 กิโลกรัม ควรดายหญ้าพรวนดินและใส่ปุ๋ยทุกๆ 2-3 เดือน จนกว่าต้นมะขามจะให้ผลผลิต เมื่อต้นมะขามมีอายุมากขึ้นควรเพิ่มปริมาณปุ๋ยตามความเหมาะสม

ปริมาณการใส่ปุ๋ย ประมาณ 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง สำหรับต้นอายุ 8-10 ปี และเพิ่มปริมาณปุ๋ยมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของอายุ และทรงพุ่มปกติแล้วมะขามหวานเป็นพืชที่ทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี แต่ขณะเดียวกันในช่วงที่ให้ผลผลิตก็จะขาดน้ำไม่ได้เช่นกัน เพราะจะทำให้ฝักมีคุณภาพไม่ดี ในระยะปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อมีอายุมากขึ้น การให้น้ำอาจมีช่วงห่างมากขึ้น ต้นมะขามหวานที่ให้ผลผลิตแล้วในระยะก่อนออกดอกจะต้องมีการให้น้ำเพื่อให้มีการออกดอกเร็วขึ้น หลังจากติดฝักแล้ว หากฝนทิ้งช่วงจะต้องมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ฝักจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และมีคุณภาพดี

หลังจากหมดฤดูฝนแล้วจะงดการให้น้ำ ฝักมะขามหวานจะเริ่มแก่และสุกในช่วงปลายปีพอดี การตัดแต่งกิ่งต้นมะขามหวานมีไม่มากนัก ถ้าต้นยังเล็กอยู่จะปล่อยให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะตัดแต่งกิ่งที่โคนต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

นิยมตัดให้มีลำต้นโคนเดียว โดยทั่วไปจะนิยมไว้โคนต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วให้แตกกิ่งแขนง 4 กิ่ง และบังคับกิ่งแขนงแตกเป็นแขนงย่อยไปเรื่อยๆ จนได้ทรงพุ่มเตี้ย

เมื่อมะขามหวานให้ผลแล้ว การตัดแต่งกิ่งก็ทำไม่มากเช่นกัน ส่วนมากแล้วจะตัดแต่งกิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งที่แตกออกไขว้กันจนแน่นทึบ การตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง จะช่วยให้ออกดอกติดฝักกระจายทั่วถึง ช่วยให้มีคุณภาพดี และลดปัญหาเรื่องการหักของกิ่งเมื่อฝักโตมากขึ้น

นอกจากนี้ ควรทำความสะอาดบริเวณสวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรู ส่วนเรื่องการดูแลรักษา ระยะแตกใบอ่อน ให้เน้นการฉีดป้องกันโรคราแป้ง โดยฉีดพ่นสารกลุ่มเบนโนมิล (ชื่อการค้าโกลโนมิล) และป้องกันแมลงกินใบ เช่น ด้วงปีกแข็ง หนอนบุ้ง หนอนกระทู้ หนอนมังกร โดยฉีดพ่นสารกลุ่มคาร์บาริล (ชื่อการค้า เซฟวิน หรือ เอส-85)

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไม้ผลวังซับเปิบ

ตอนนี้รวมกลุ่มกันขึ้นมามีสมาชิกรวม 70 คน เพื่อต้องการพัฒนาการค้าขายมะขามหวานของตำบลซับเปิบให้ดีขึ้น เนื่องจากได้พูดคุยกับเพื่อนๆ เกษตรกรที่ปลูกมะขามหวาน ก็มีความคิดไปในทางเดียวกันที่มุ่งหวังให้มะขามหวานที่ตำบลซับเปิบเป็นที่รู้จักมากขึ้น

และจากการสำรวจพื้นที่ปลูกมะขามหวานด้วยตัวเองของคุณสมชายนั้น พบว่า ที่ตำวังซับเปิบ มีมะขามหวานปลูกมากถึง 150,000 ต้นทีเดียว คาดว่าอีกไม่กี่ปีผลผลิตมะขามหวานที่นี่จะมีปริมาณที่มากขึ้นตามลำดับ

การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจฯ นั้น ก็จะมาช่วยในเรื่องของระบบการซื้อขายของเพื่อนเกษตรกรหรือสมาชิกกลุ่ม ขายมะขามหวานให้พ่อค้าแม่ค้าผ่านกลุ่ม ซึ่งกลุ่มสามารถกำหนดราคารับซื้อและราคาขายได้ ซึ่งที่ผ่านมานั้นเกษตรกรอาจจะถูกกดราคาในการรับซื้อให้ต่ำ หรือขายแข่งกันเองในราคาที่ต่ำในช่วงที่ผลผลิตมีจำนวนมาก

ทางกลุ่มก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องระบบการซื้อขายให้ดีขึ้น มีการรับซื้อมะขามหวานอยู่ 2 เกรด คือ มะขามหวานเกรดเอ คือฝักสวยไม่แตก ฝักมีความยาวมากกว่า 4 ข้อ ขึ้นไป อย่างพันธุ์ขันตี รับซื้อที่กิโลกรัมละ 30-35 บาท

ส่วนพันธุ์อื่นๆ อย่าง ประกายทอง สีชมภู สีทอง รับซื้อกิโลกรัมละ 50 บาท อีกเกรดคือ มะขามที่ข้อสั้น มี 3 ข้อ ลงมา จะรับซื้อมาแกะเปลือกขายป้อนโรงงานแปรรูปมะขามคลุก รับซื้อพันธุ์ขันตีที่แกะเปลือกแล้ว กิโลกรัมละ 25 บาท

หลังจากการรับซื้อมะขามหวานจากสมาชิก ทางกลุ่มก็จะนำไปเก็บรักษาในห้องเย็นที่เพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจัดสร้างห้องเย็นจากสำนักบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งหน้าที่ห้องเย็นคือ การเก็บรักษาผลผลิตมะขามหวานที่ซื้อเข้ามาจากสมาชิกกลุ่มนำมาเก็บรักษาให้คุณภาพเอาไว้ได้นาน เพื่อรอนำออกไปจำหน่ายเมื่อมะขามมีราคาสูง

ยกตัวอย่าง ที่กลุ่มรับซื้อมะขามหวานเข้ากลุ่มในช่วงฤดูกาล กิโลกรัมละ 50 บาท แต่หลังจากหมดฤดูกาลมะขามหวานแล้ว ถ้าทางกลุ่มนำออกมาขายอย่างช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็อาจจะมีราคาสูงถึง กิโลกรัมละ 100-150 บาท เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนให้สมาชิกได้เห็นภาพ ผลกำไรก็จะนำมาปันผลกลับคืนไปให้สมาชิกอีกทีหนึ่ง เป็นต้น

ซึ่งการเก็บรักษามะขามหวานด้วยห้องเย็น ใช้เก็บรักษาฝักมะขามหวานไว้จำหน่ายนอกฤดูกาลอย่างได้ผลและได้รับความนิยมสูง เหมาะสำหรับเก็บมะขามหวานคราวละมากๆ ข้อดีคือ สามารถรักษาสีของเนื้อมะขามไว้ได้ สีไม่คล้ำหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มแม้จะเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลานาน

เคล็ดลับการดูแลมะขามหวานให้ติดผลดกและคุณภาพดี

คุณสมชาย เล่าว่า เจ้าของสวนต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี ตั้งแต่เก็บเกี่ยวฝักหมดแล้วให้ตัดแต่งกิ่งให้ในพุ่มต้นโปร่งไม่แน่นทึบ เพราะจะเป็นสาเหตุของเชื้อราและโรคราแป้ง ตัดกิ่งจากโคนกิ่งใดกิ่งหนึ่งไปหาปลายกิ่ง จะตัดกิ่งแห้ง กิ่งชี้เข้าในพุ่ม กิ่งฉีกหัก กิ่งเป็นโรคแมลง และฝักแตก ฝักแห้งออก

ถ้าปลายกิ่งพ้นชายพุ่มไปหาแสงได้จะเอาไว้ ยอดของพุ่มที่ไม่สามารถพ่นยาป้องกันแมลงและโรคได้ถึง ให้ตัดออกได้ ควรให้ปุ๋ย 15-15-15 ทางดิน ตามความเหมาะสมของขนาดทรงพุ่ม แล้วให้น้ำจนชุ่มเพื่อละลายปุ๋ย มะขามจะเริ่มแตกตาเจริญเป็นกิ่ง

เมื่อแตกกิ่งใหม่ในระยะนี้ ควรพ่นด้วยยาป้องกันกำจัดแมลง ด้วยยา “คาบาริล” (ชื่อการค้า เซฟวิน หรือ เอส-85) ผสมกับยาป้องกันกำจัดราแป้ง เช่น สารเฮกซาโคนาโซล (ชื่อการค้า ช้างมาวิน) ผสมปุ๋ยทางใบ สูตร 10-52-17 ที่มีอาหารธาตุรอง และยาจับใบ ฉีดพ่นช่วย 1-2 ครั้ง ช่วยให้กิ่งที่แตกใหม่สมบูรณ์และมีตาดอก เมื่อช่อดอกเจริญควรพ่นยาป้องกันแมลงโดยเฉพาะเพลี้ยไฟและราแป้งขาวอีก 1-2 ครั้ง ก่อนดอกบาน

ระยะนี้จะมีอากาศเย็น มีลมแรง และมีหมอกในตอนเช้า กรมวิชาการเกษตร แนะให้เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาวเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยอ่อน และหนอนเจาะฝักลายจุด โดยจะพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นถั่วออกดอกและติดฝัก

สำหรับเพลี้ยอ่อน มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเพลี้ยอ่อนดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อน ทำให้ส่วนที่ถูกทำลายบิดเบี้ยวและแกร็น หากพบการระบาด ให้พ่นด้วยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดโนทีฟูแรน 10% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

สำหรับ หนอนเจาะฝักลายจุด จะพบหนอนที่ฟักออกจากไข่เจาะเข้าไปกัดกินภายในดอกอ่อน ต่อมาจะกัดกินส่วนของดอกและเกสรดอก ทำให้ดอกร่วงหล่น เมื่อหนอนโตขึ้นจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในฝักส่วนที่เป็นเมล็ดอ่อน ทำให้ฝักและเมล็ดลีบ

แนวทางในการป้องกันกำจัด ให้เกษตรกรใช้วิธีกล โดยก่อนปลูกพืชประมาณ 2 สัปดาห์ ให้เกษตรกรไถพรวนพลิกดินขึ้นมาตากแดด โดยไถให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นาน เพื่อกำจัดดักแด้ที่อาจหลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก

หากพบการระบาด ให้เกษตรกรใช้เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร จากนั้น ให้ใช้สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพป้องกันกำจัด สารเบตา-ไซฟลูทริน 2.5% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

กรณีปัญหาราคายางพาราตกต่ำที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้ปริมาณการใช้ยางลดลง สวนทางกับไทยที่มีผลผลิตยางเพิ่มขึ้น จากการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราในอดีต

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ “ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 ว่า เกษตรกรไทยปลูกยางเป็น “พืชเชิงเดี่ยว” เป็นส่วนมาก เมื่อเจอปัญหาราคายางผันผวน จึงส่งผลกระทบต่อรายได้ของครัวเรือนอย่างรุนแรง แนวทางการแก้ไขยางพาราอย่างยั่งยืน คือส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก “พืชทางเลือก” เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ปลูกพืชเชิงซ้อนอื่นๆ หรือทำประมง ฯลฯ เพื่อสร้างรายได้เพิ่มควบคู่กับการปลูกยาง เช่นเดียวกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลกำกับด้านการปลูกยางพาราโดยตรง ได้ถ่ายทอดแนวคิดเชิงนโยบายของรัฐบาลสู่ภาคปฏิบัติ โดยส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพาราทั่วประเทศ เปลี่ยนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยว มาทำ “เกษตรผสมผสาน” ตามศาสตร์พระราชา เพื่อก้าวไปสู่ เกษตร 4.0 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์รัฐบาล

ทั้งนี้ ภาครัฐได้สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยทั่วประเทศประกอบอาชีพเสริมไปแล้วกว่า 380,000 ราย โดยปี 2560 มีชาวสวนยางหันมาทำเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้นกว่า 3,000 ราย คิดเป็น ร้อยละ 7 ของจำนวนเกษตรกรทั้งหมดที่โค่นยางในปีที่ผ่านมา โดยอาชีพเสริมที่เกษตรกรชาวสวนยางให้ความสนใจ ได้แก่ การปลูกพืชแซม ประเภทไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร รวมทั้งการทำปศุสัตว์และการประมง ควบคู่ไปกับการทำสวนยาง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันและกระจายความเสี่ยง เพราะมีช่องทางสร้างรายได้ที่หลากหลาย ลดการพึ่งพารายได้จากการทำสวนยางแต่เพียงอย่างเดียว

ช่วงต้นปี 2561 การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้จัดนิทรรศการ เรื่อง “ทำเกษตรแบบผสมผสาน ตามศาสตร์พระราชา” ในงานวันยางพาราและงานกาชาดบึงกาฬ 2561 โดยนำเสนอแนวคิดการสร้างรายได้เสริมในสวนยางพาราในหลากหลายรูปแบบ

เลี้ยงหนูนาในบ่อซีเมนต์ สร้างรายได้งาม

ทุกวันนี้ “หนูนา” กลายเป็นอาหารพื้นบ้านเมนูเด็ดที่ถูกใจคนไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง หนูนาจะหายากมาก เกษตรกรหลายรายจึงใช้เวลาว่างเลี้ยงหนูนาในบ่อซีเมนต์ขาย เพราะหนูนาเลี้ยงง่าย ขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดตลอดทั้งปี สร้างรายได้ทะลุหลักหมื่นบาทต่อเดือน

คุณพิชิต ศรีจันทร์ อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ที่ 6 ตำบลนาสะแบง อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกาฬ โทร. (098) 367-1802 เกษตรกรชาวสวนยางรายนี้ ได้ปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตร จากเดิมทำสวนยางเป็นพืชเชิงเดี่ยว มาทำสวนยางพาราแบบผสมผสาน บนเนื้อที่ 11 ไร่ โดยมีอาชีพเสริมที่หลากหลาย ทั้งปลูกไม้ผล เลี้ยงสัตว์ และปลูกผักสวนครัว นอกจากนี้ ยังเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หนูนา ซึ่งเป็นที่นิยมบริโภค การเลี้ยงหนูนาใช้เวลาเลี้ยงสั้น ต้นทุนต่ำ ที่สำคัญขายได้กำไรดีมาก

คุณพิชิต เลือกเลี้ยงหนูนาเป็นรายได้เสริม โดยลงทุนซื้อบ่อท่อซีเมนต์ จำนวน 2 วง นำมาวางซ้อนกัน จำนวน 3-4 บ่อ หลังจากนั้น เจาะด้านล่างท่อซีเมนต์และเชื่อมบ่อด้วยท่อ พีวีซี เพื่อให้หนูนาได้มีพื้นที่ในการนอน กินอาหาร และวิ่งหากันได้ รองพื้นด้วยฟางข้าวแห้ง แกลบดิบ เพื่อดูดกลิ่น เสิร์ฟด้วยหัวอาหารผสมรำอ่อน กล้วยสุก หญ้าเนเปียร์ ข้าวเปลือก ซึ่งเป็นอาหารที่หนูนาหนูช้อบชอบ คุณพิชิตใช้เวลาเลี้ยงหนูนา ประมาณ 3 เดือน ก็ขายเป็นพ่อแม่พันธุ์ น้ำหนัก 4-5 ขีด ในราคาคู่ละ 500 บาท ใครสนใจไอเดียนี้ก็นำไปทดลองใช้ได้ไม่สงวนลิขสิทธิ์

เลี้ยงแพะในสวนยางพารา

คุณพันธ์ ยามดี เกษตรกรเจ้าของสวนยางพารา สมัคร Holiday Palace อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 18 หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โทร. (063) 137-2489 ปัจจุบันเขามีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ด้วยการเลี้ยงแพะในสวนยางพาราของตนเองมากกว่า 3 ปี โดยเลี้ยงแพะพันธุ์ลูกผสม ที่สามารถต้านทานโรคได้ดี ใช้เวลาเลี้ยงขุนแพะในสวนยางพาราประมาณ 4 เดือน ก็จับแพะออกขายได้ ในราคากิโลกรัมละ 145 บาท

ปัจจุบัน คุณพันธ์ ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะขุนจำหน่าย ภายใต้ชื่อ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปศุสัตว์พัฒนาเจริญก้าวหน้าบ้านภูทรายทอง” อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ โดยมีสมาชิกกลุ่มจำนวน 59 ราย เลี้ยงแพะขุนรวมกันกว่า 280 ตัว มีตลาดหลักอยู่ที่จังหวัดหนองคาย และ สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีพ่อค้าเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงในสวน เพื่อส่งแพะไปขายต่อที่ประเทศเวียดนาม

หลายคนอาจคิดว่า “แพะ” เป็นสัตว์เลี้ยงที่เหม็นสาบ สกปรก กินอาหารไม่เลือก แต่ความจริงแล้ว แพะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันมากที่สุด เพราะการเลี้ยงแพะมีจุดเด่นหลายประการ เช่น ให้ผลตอบแทนเร็ว ใช้ระยะเวลาสั้นกว่าการเลี้ยงโค แพะหากินเก่ง กินพืช ใบไม้ได้หลายชนิด แพะทนทานต่อทุกสภาพภูมิอากาศ แพะมีขนาดตัวเล็กใช้พื้นที่น้อย เลี้ยงง่าย และให้ผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

คุณพันธ์ ยืนยันว่า การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้เป็นอย่างดี แม้จะมีปัญหาด้านราคายางพาราตกต่ำหรือปัญหาภัยแล้ง ก็ไม่มีผลกระทบต่อรายได้ในการเลี้ยงครอบครัวมากนัก