เป็นไม้ที่มีคุณค่ามาก ถ้าไม่มีทองหลาง ชื่อเสียงของทุเรียน

จังหวัดนนท์ คงไม่ขจรไกลและขายได้ลูกละเป็นพันเป็นหมื่นบาท สำคัญที่สุดเรื่องของการบำรุงดิน โดยเฉพาะที่ราก ทองหลางนี่ทน ปลูกแล้วน้ำท่วมไม่ตาย เพียงแต่ต้นอาจจะผุนิดหน่อยหากท่วมนานๆ ต้นของทองหลางมีประโยชน์คือเป็นปุ๋ยได้อย่างดี ใบกินกับปลาแนม กินกับลาบ ส้มตำ มีคนปลูกเพื่อขายใบโดยเฉพาะ ตัดยอดอ่อนจำหน่าย

คุณสุทธิพันธ์บอก และเล่าต่ออีกว่า

“สมัยก่อน บรรพบุรุษไม่ค่อยมีของเล่นให้กับลูกหลาน จึงนำไม้ทองหลางมาทำเป็นเรือขนาดเล็กๆ สามารถลอยน้ำอยู่ได้ให้ลูกหลานเล่น เพราะทองหลางเป็นไม้เนื้ออ่อนขุดเรือง่าย บางครั้งก็นำมาถากเป็นมีดดาบให้เด็กผู้ชายเล่นฟันดาบกัน วิธีปลูกทองหลาง นิยมใช้กิ่งปัก งอกง่ายมาก”

ถึงแม้ทองหลางจะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ก็ใช้ประโยชน์บางอย่างได้ดี

คุณสุทธิพันธ์ ในฐานะที่เป็นเกษตรกรในเขตปริมณฑล และมีประสบการณ์เกี่ยวกับทองหลางเล่าให้ฟังอีกว่า ทองหลาง เป็นไม้เนื้ออ่อน แต่ช่างสมัยโบราณ นิยมตัดทองหลางที่มีขนาดใหญ่ เป็นท่อน ไปวางเป็น “หมอน” คือทำหน้าที่คล้ายๆเสาเข็ม สำหรับการสร้างเรือนไทย หมอนจากทองหลางกันเรือนไทยทรุดได้ดี คุณสมบัติของทองหลางนั้น เมื่อต้นขนาดใหญ่แล้วแห้ง มีโอกาสผุได้ในเวลาไม่นาน แต่เมื่อใดที่ถูกน้ำ ต้นทองหลางจะอยู่ได้นาน เคยมีการรื้อเรือนไทย แล้วพบมีไม้หมอนจากทองหลางที่อายุกว่า 100 ปีโดยไม่ผุกร่อน

เกษตรกรบางพื้นที่ใช้ทองหลางเป็นหลักแล้วปลูกพลูที่กินกับหมากให้เลื้อยเจริญเติบโตไปตามต้น แรกทีเดียวเข้าใจว่า คงไม่มีใครทราบว่า ทองหลางจะเป็นหลักที่ดี แต่ชาวสวนหาหลักไม่ได้ ก็ลองปลูกๆไป ปรากฏว่าพลูกงอกงามดีกว่าไม้ชนิดอื่นเสียอีก

ยุคสมัยก่อนนิยมใช้ต้นทองหลางที่เป็นไม้เนื้ออ่อน ทำเป็นก้านไม้ขีด แต่ทุกวันนี้มีน้อยลง

งานสวนที่ปลูกทองหลางเป็นกลุ่มใหญ่ จะช่วยให้ธรรมชาติลงตัว มีการพึ่งพากันระหว่างพืชและสัตว์ ลดการระบาดของโรคแมลง ขณะเดียวกันต้นไม้หลักที่ปลูกก็มีความแข็งแรง สิ่งแวดล้อมโดยรวมก็จะดีขึ้น

งานปรับปรุงบำรุงดินของทางราชการ นิยมใช้พืชล้มลุก อย่างปอเทือง ถั่วพร้า โสนแอฟริกัน พืชเหล่านี้ใช้กับพืชไร่ได้ดี แต่หากนำทองหลางไปใช้ร่วมคงไม่เหมาะสม เพราะเป็นไม้ยืนต้น กรณีของพืชสวน น่าจะพิจารณาใช้ทองหลาง หากทำจริงๆจัง คงประหยัดปุ๋ยได้ไม่มากก็น้อย

เพราะเป็นไม้ที่มีคุณค่า จึงมีคำว่า “ทอง” ใช้เรียกทองหลาง

มีการนำชื่อไม้ทองหลางมาตั้งเป็นชื่อท้องถิ่น อย่างเขตบึงทองหลาง เข้าใจว่า เมื่อก่อนบริเวณนั้นมีบึงน้ำและมีต้นทองหลางขึ้นอยู่เต็มไปหมด ในต่างจังหวัดก็มีชื่อหมู่บ้านและตำบล ที่มีคำว่า”ทองหลาง” เข้าไปเกี่ยวข้อง เช่นตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี ตำบลทองหลาง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา ในแง่สมุนไพร ทองหลางก็มีคุณสมบัติทางด้านนี้

ใช้เปลือกลำต้นสด มาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ แก้ไข้ แก้ปวด บวมตามข้อ และแก้ปวดได้ทุกชนิด หรือนำมาบดเป็นผงละเอียดแล้วใช้น้ำผสมเล็กน้อย แล้วใช้อุดฟันแก้ปวดฟัน

นำใบสดมาต้มน้ำกิน แก้ไข้ แก้โรคบิด แก้ปวดเมื่อยตามไขข้อ

ดอกสด นำมาต้มกินเป็นยาขับระดู

เมล็ด นำมาตำละเอียดให้เป็นผง หรือนำมาต้มน้ำกิน เป็นยาแก้พิษงู รักษาฝี

เปลือกราก นำมาต้มกินเป็นยากระตุ้นหัวใจ กระตุ้นไขสันหลัง ทำให้ความดันโลหิตในเส้นโลหิตแดงเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ใบของทองหลางยังมีคุณค่าอาหาร นอกจากคนบริโภคได้แล้ว ยังเหมาะในการนำไปเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

ประชากรของทองหลางในปัจจุบันลดลง สาเหตุนั้นมาจาก พื้นที่การเกษตรลดลง

เกษตรกรหันมาใช้ปุ๋ยสมัยใหม่ที่ตอบสนองต่อพืชเร็วและสะดวกในการใช้

แต่ทองหลางก็ยังน่าปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน สะละอินโดฯ เป็นพืชท้องถิ่นของประเทศอินโดนีเซีย เกษตรกรไทยได้นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานหลายปีแล้ว โดยเริ่มในจังหวัดทางภาคใต้ก่อน เนื่องจากมีอากาศชื้นและฝนชุกคล้ายภูมิประเทศของอินโดนีเซีย ซึ่งมีเกาะเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้ขยายพื้นที่การปลูกไปหลายจังหวัด เช่น จังหวัดในภาคตะวันออก และจังหวัดภาคกลางบางจังหวัด

หลายคนที่มีโอกาสได้ชิมรสชาติสะละอินโดฯ ต่างรู้สึกประทับใจในความล่อนของเนื้อและความกรอบ ในสมัยนั้นสะละพันธุ์ดีๆ ของไทย เช่น สุมาลี เนินวง ยังไม่มีแพร่หลาย มีแต่ระกำหวาน ซึ่งคุณภาพยังเทียบกับสะละในปัจจุบันไม่ได้ แต่รสชาติหวานอมเปรี้ยวของสะละบ้านเราก็ยังเป็นที่นิยมมากกว่า เนื่องจากสะละอินโดฯ มีราคาแพงกว่าสะละบ้านเรา

เกษตรกรชาวสวนยางในอำเภอยะหา จังหวัดยะลา คุณดอเลาะ สะตือบา อยู่ที่บ้านเลขที่ 101 หมู่ที่ 8 ตำบลบาโร๊ะ ได้ปลูกสะละอินโดฯ แซมในสวนยาง ซึ่งมีพื้นที่ 3 ไร่ เป็นจำนวน 400 ต้น ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก 4 ไร่ ได้ขุดบ่อปลา เลี้ยงไก่ และทำการเกษตรผสมผสานอย่างอื่น โดยการปลูกยางพาราจะใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร และระยะห่างระหว่างแถว 3 เมตร ในช่วงว่างระหว่างต้น 8 เมตรนั้น คุณดอเลาะได้ปลูกสะละอินโดฯ ลงไป 3 ต้น ซึ่งเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และสะละอินโดฯ ก็สามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา

เริ่มต้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2549 คุณดอเลาะได้มีโอกาสชิมสะละอินโดฯ ก็ถูกใจในความกรอบล่อน จึงนำเมล็ดพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซียมาปลูกเพียง 20 ต้น เพียง 3 ปี ก็ได้ผลผลิต สามารถจำหน่ายในสวนขณะนั้นได้กิโลกรัมละ 50 บาท ลูกค้าที่ได้ชิมก็ติดใจ จำนวนผลผลิตที่ได้ไม่พอขาย จึงเกิดความคิดจะปลูกสะละอินโดฯ เพื่อจำหน่าย แต่ติดขัดที่พื้นที่ ต่อมาคิดได้ว่าช่วงว่างระหว่างต้นยางยังมีพื้นที่ว่างอยู่ จึงได้ปลูกสะละอินโดฯ ในระหว่างร่องยาง ร่องละ 3 ต้น

การปลูกโดยใช้เมล็ดจะต้องเลือกใช้เมล็ดที่มีขนาดใหญ่ สมบูรณ์เต็มที่ จากต้นที่มีผลดกและรสชาติดี นำมาผึ่งลมให้แห้งประมาณ 7 วัน อย่าตากแดด เพราะจะทำให้เปอร์เซ็นต์การงอกลดลง นำเมล็ดมาเพาะในถุงดำที่ใส่ดินผสมกับขี้วัวแห้ง ใส่เมล็ดลงไปให้เมล็ดพอจม แล้วนำดินผสมโรยปิดหน้าด้านบนอีกเล็กน้อย วางไว้ในที่ร่มรำไร หรือใต้ร่มไม้ รดน้ำเช้า-เย็น ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน เมล็ดก็จะเริ่มงอก รดน้ำเหลือแค่วันละครั้ง จนกระทั่งครบ 5 เดือน

เมื่อต้นสะละอินโดฯ มีขนาดใหญ่ก็จะเปลี่ยนถุงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ดูแลต่อไปอีกประมาณ 2-3 เดือน ต้นสะละอินโดฯ ก็โตพร้อมที่จะจำหน่าย ปัจจุบัน คุณดอเลาะจำหน่ายหน้าสวน ในราคาต้นละ 30 บาท การปลูกสะละอินโดฯ จะขุดหลุมลึกและกว้าง 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยขี้วัวหรือปุ๋ยมูลสัตว์และใบไม้แห้ง ฤดูปลูกที่เหมาะสมคือช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และควรเป็นที่ร่มรำไร ต้นจะเจริญเติบโตได้ดี

ในสวนคุณดอเลาะให้น้ำต้นสะละอินโดฯ ด้วยระบบสปริงเกลอร์ วันละครั้งหรือ 2 วันครั้ง แล้วแต่สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ก็ไม่เคยเจอโรคโคนเน่า เพราะบริเวณโคนจะต้องดูแลให้โล่งเตียน ไม่ให้รก ซึ่งจะเป็นแหล่งอาศัยของแมลงต่างๆ ที่เป็นศัตรูพืช การตัดแต่งใบของต้นสะละอินโดฯ ก็จำเป็นเพียงเพื่อไม่ให้รกคลุมดินมากเกินไปเท่านั้น ไม่ควรตัดแต่งจนโคนโล่งเกินไป

ในสวนจะเน้นการใช้ปุ๋ยคอก โดยใช้ในอัตรา 5-10 กิโลกรัมต่อปีต่อต้น ส่วนปุ๋ยเคมีจะใช้น้อยมาก โดยจะใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 60-0-0 ในอัตรา 250 กรัมต่อต้น เมื่อสะละเริ่มติดผลอ่อน และหลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน ก็จะใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ในอัตรา 250 กรัมต่อต้น และปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สูตรของคุณดอเลาะใช้น้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร นมยูเอชที 10 กล่อง หมักไว้ในที่ร่มประมาณ 20 วัน อัตราการใช้คือ น้ำหมัก 1 แก้วต่อน้ำ 1 ฝักบัว หรือประมาณ 20 ลิตร ใช้สำหรับรด 1 ต้น จะรดเฉพาะในช่วงเดือนสุดท้ายก่อนเก็บผล 3 ครั้ง โดยรดห่างกัน 10 วัน จะทำให้สะละอินโดฯ มีรสชาติดีขึ้น

ต้องช่วยผสมเกสร

ดอกของต้นสะละอินโดฯ จะเริ่มบานจำนวนมากตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม ในช่วงเวลาเช้าไม่เกิน 9 โมงเช้า คุณดอเลาะจะเอาเกสรตัวผู้มาผสมกับเกสรตัวเมีย โดยเด็ดเกสรตัวผู้จากต้นตัวผู้มาเคาะใส่ดอกตัวเมีย สังเกตได้ว่าเกสรดอกตัวเมียจะใหญ่กว่าเท่าหนึ่งของเกสรดอกตัวผู้ โดยใช้จำนวนดอกต่อดอกจึงจะทำให้ติดผลได้ดี ตรงนี้มีเทคนิคของคุณดอเลาะ ซึ่งบอกว่า “จะต้องดูลมด้วย ถ้าลมแรง เกสรตัวผู้ที่ผสมจะโดนลมพัดปลิวทำให้ผลติดน้อย เมื่อผสมเกสรแล้วควรเอาใบที่ตัดทิ้งหรือใบกล้วยมาปิดทับไว้ 2-3 วัน ค่อยเอาใบกล้วยออก จะทำให้ผลติดดี และเกสรตัวเมียจะบานเพียง 2 วัน จึงต้องเร่งผสมให้ทันเวลา”

ในช่วงที่สะละอินโดฯ ติดผล จำเป็นต้องหมั่นดูแลและตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์ออก เพื่อให้ผลอื่นในช่อมีความสมบูรณ์ หลังจากที่ผสมติดแล้ว ผลของสะละอินโดฯ จะใช้เวลา 5 เดือน จึงจะสามารถเก็บผลผลิตได้ คือประมาณช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี แต่ในสวนที่มีการจัดการอย่างดี จะจำหน่ายผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปถึงเดือนสิงหาคม

อย่างสวนของคุณดอเลาะในช่วงเวลาที่ติดผล คุณดอเลาะจะสังเกตเห็นว่าการที่ช่อผลของสะละอินโดฯ โดนน้ำจากการรดด้วยสปริงเกลอร์จะสมบูรณ์กว่าช่ออื่น ส่วนการเก็บผลผลิตจะสังเกตจากผิวที่เงามันและขนจะหลุดร่วงไป โดยไม่จำเป็นต้องชิม เนื่องจากมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มานาน

ต้นสะละอินโดฯ 400 ต้น ในสวนคุณดอเลาะ อายุได้ประมาณ 13 ปี มีผลผลิตสมบูรณ์เต็มที่แล้ว ในปีที่ผ่านมาผลผลิตสะละอินโดฯ ทั้งปี ประมาณ 1,500 กิโลกรัม จำหน่ายหน้าสวน กิโลกรัมละ 80 บาท มีรายได้เฉพาะสะละอินโดฯ อย่างเดียวปีละ 120,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่ต้องซื้อคือ ปุ๋ยเคมี ปีละ 3 กระสอบ ส่วนปุ๋ยคอกได้จากการเลี้ยงไก่ในสวน ไม่ต้องซื้อหา นอกจากการทำสะละอินโดฯ แล้ว คุณดอเลาะยังทำเกษตรผสมผสานอย่างอื่นอีกหลายอย่าง ไว้มีโอกาสจะนำมาเสนอให้อ่านอีก

สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลาส่งเสริมการปลูกสะละอินโดฯ

คุณไมตรี สุขเกษม หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า “การปลูกสะละอินโดฯ มีปัจจัยหลัก 3 ประการ คือการตัดแต่งหน่อและใบสะละจะทำให้แตกหน่อออกรอบลำต้น ถ้าไม่ดูแลจะมีหน่อที่เจริญเติบโตออกเป็นลำต้นจำนวนมาก ใน 1 กอ ควรเลี้ยงต้นไว้ไม่เกิน 3 ต้น

ส่วนการตัดแต่งใบ ให้ตัดทางใบออกตั้งแต่เริ่มแทงช่อดอก เพื่อไม่ให้มีใบมากเกินไป เป็นการลดการใช้อาหารและช่วยให้การติดผลรวมถึงทะลายมีพื้นที่มากขึ้น ไม่เบียดกัน ผลก็จะโตขึ้นและสะดวกในการปฏิบัติงาน
ต้องช่วยผสมเกสร เนื่องจากสะละอินโดฯ เป็นพืชที่มีดอกแยกเพศ คือเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่คนละต้นกัน การติดผลตามธรรมชาติต้องอาศัยแมลง การช่วยผสมเกสรจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม็ดเต็มหน่วย

การดูแลเอาใจใส่มีส่วนสำคัญ การใส่ปุ๋ย การให้น้ำ ต้องศึกษาพฤติกรรมของสะละว่าช่วงเวลาไหนต้องการน้ำ ช่วงไหนต้องการปุ๋ย จะต้องให้ตรงกับความต้องการของพืช ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมเรื่องการลดต้นทุน โดยการใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยอินทรีย์ การเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการให้ปุ๋ยตามช่วงระยะการเจริญเติบโตของผล การตัดแต่งผล จะทำให้ผลผลิตได้คุณภาพ เกรดเอ ตรงกับความต้องการของตลาดและขายได้ราคา

ส่วนเรื่องการตลาด สะละอินโดฯ นั้น มีปลูกใน 3 จังหวัดภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดยะลามีพื้นที่ปลูกประมาณ 2,300 ไร่ รสชาติและคุณภาพเป็นเครื่องการันตี ราคาขายหน้าสวนของสะละอินโดฯ กิโลกรัมละ 80 บาท จำนวนผลผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการ”

หากใครสนใจที่จะปลูกสะละอินโดฯ สามารถสั่งซื้อต้นพันธุ์ของคุณดอเลาะได้ ในราคาต้นละ 30 บาท ที่เบอร์โทรศัพท์ 081-096-9047 คุณดอเลาะ สะตือบา แนะนำการปลูกสะละอินโดฯ ทิ้งท้ายว่า สะละอินโดฯ ควรปลูกแซมใต้ร่มเงาต้นไม้ใหญ่ และจะต้องมีเวลาดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะช่วงติดผล ถ้าทำไม่ได้อย่าปลูกเด็ดขาด

คุณนิโรจน์ แสนไชย เกษตรกรวัย 70 ปี บ้านหมู่ที่ 1 ตำบลวังผาง อำเภอเวียงหนองล่อง จังหวัดลำพูน เกษตรกรผู้คร่ำหวอดกับวงการปลูกลำไยมานานมาก จนได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการใช้วิชาการเกษตรที่ดีและเหมาะสม ตามโครงการจัดการระบบการจัดลำไยคุณภาพ เป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร กิจกรรมเทคนิคการจัดทรงพุ่ม ได้รับการประกาศเกียรติคุณปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน ระดับจังหวัด ประจำปี 2558 สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น

ปัจจุบัน เป็นคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำพูน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2559 ภายในสวนได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานที่อบรมและให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกลำไยและการใช้ระบบน้ำเพื่อการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง

คุณนิโรจน์ แสนไชย ได้ให้คำแนะนำว่า ลำไยพันธุ์ดีที่มีอยู่ในจังหวัดลำพูน ได้แก่ พันธุ์อีดอ เป็นลำไยพันธุ์เบา ออกดอกและเก็บเกี่ยวผลได้เร็วกว่าพันธุ์อื่นๆ ทนทานต่อโรคและแมลงได้ดี นิยมปลูกมากในประเทศไทย ประมาณ ร้อยละ 90

พันธุ์ดอก้านอ่อน เมื่อแตกยอดใหม่ ใบอ่อนออกสีเหลืองตองอ่อน ก้านอ่อนโน้มลง เมื่อติดผลทำให้ช่อผลย้อยโน้มลงข้างล่าง เปลือกผลบาง แตกง่าย เนื้อค่อนข้างหนา เมล็ดเล็ก เนื่องจากออกผลเป็นพวง จึงทำให้ใส่ในเข่งหรือตะกร้าได้ง่าย

พันธุ์บ้านโฮ่ง 60 เริ่มปลูกที่บ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน เป็นลำไยที่กลายพันธุ์มาจากอีดอ เปลือกหนาแข็ง เมื่อแกะเปลือกออกจะมีสีฝ้าขาวคล้ายกับลิ้นจี่

พันธุ์พวงทอง เป็นลำไยที่มีช่อดอกขนาดใหญ่ ทำให้ผลผลิตติดเป็นพวงใหญ่และดกคล้ายองุ่น ผิวผลมีสีเหลืองทอง เนื้อหนา กรอบ สีขาวครีม กลิ่นหอม เนื้อหวานไม่มาก

พันธุ์สีชมพู เป็นลำไยพันธุ์ดั้งเดิม ไม่ทนแล้ง กิ่งเปราะหักง่าย ผลที่แก่จัดจะเห็นเนื้อสีชมพูชัดเจน เหมาะสำหรับรับประทานผลสด สิ่งที่ต้องคำนึงในการปลูกลำไย

ในการปลูกลำไยหรือการทำการเกษตรใดๆ ก็ตามนั้น ต้นทุนการผลิตมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะลำไย เกษตรกรจะต้องคำนึงถึง

ประการแรก ต้องปลูกลำไยด้วยกล้าลำไยเสียบยอดซึ่งมีรากแก้ว จึงไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำยัน ช่วยลดต้นทุนที่ไม่ต้องหาซื้อไม้ค้ำ และไม่เกะกะในสวน อีกทั้งไม้ค้ำยังเป็นที่อยู่ของหนูและมดด้วย

ประการที่สอง การกำจัดวัชพืช ควรใช้เครื่องจักรขนาดที่เหมาะสมกับสวนของตนเอง ทำให้ตัดหญ้าได้รวดเร็ว ประหยัดค่าจ้างแรงงานคนที่หายาก และค่าจ้างแพง อีกทั้งทำงานช้ากว่าเครื่องจักร อาจจะใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีอยู่แล้ว ดัดแปลงไปใช้เป็นเครื่องมือตัดแต่งกิ่งก็ได้

ประการที่สาม ระบบการให้น้ำ เป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะฤดูแล้ง ควรใช้ระบบมินิสปริงเกลอร์ทั้งสวน ประหยัดทั้งค่าไฟฟ้าและแรงงานคน

ประการที่สี่ การให้ปุ๋ย จะต้องเหมาะสมกับความต้องการของพืช โดยใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี

ประการที่ห้า การพ่นยาเคมีหรือสารอินทรีย์ต่างๆ ควรใช้ทั้งแรงงานคนและเครื่องพ่นแบบใช้ลมผสมผสานกันไป หากเป็นลำไยต้นเตี้ยจะได้รับการพ่นอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เกิดโรคแมลงบางชนิดระบาดลุกลามอย่างรวดเร็ว สามารถใช้วิธีกลร่วมด้วย คือการตัดกิ่งทิ้งทดแทนการพ่นสารเคมี อีกทั้งเป็นการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ต้นลำไยต้นเตี้ยไปในตัวด้วย

ประการที่หก การเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไย โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรชาวสวนลำไยแบบเดิม ลำต้นสูง ทำให้ใช้ต้นทุนการเก็บเกี่ยวสูงตามไปด้วย แต่หากปลูกลำไยแบบต้นเตี้ยแล้ว สามารถใช้คนเก็บโดยไม่ต้องใช้บันไดปีนขึ้นไปเก็บบนต้นที่สูง ค่าจ้างแรงงานจะถูกและเก็บลำไยคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในด้านการผลิตลำไยคุณภาพนั้น เนื่องจากเป็นการปลูกลำไยแบบต้นเตี้ย ทำให้สามารถตัดแต่งช่อผลไม่ให้มีปริมาณมากเกินไป ทำให้ผลใหญ่ได้มาตรฐาน ลำไย 1 ช่อ ควรมีผลประมาณ 30-40 ลูก ควรให้ปุ๋ยตามช่วงความต้องการของต้นลำไย ควรให้ความสำคัญของการฉีดพ่นสารเคมี ไม่ให้มีสารตกค้างในผลลำไย ไม่ใช้สารเคมีที่ต้องห้ามจากกรมวิชาการเกษตร การจัดทรงพุ่มต้องจัดให้มีความเหมาะสม เพื่อช่วยทำให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึง ทำให้สีผิวของลำไยสวยงาม ข้อดีของการปลูกลำไยต้นเตี้ยอีกประการหนึ่งคือ เมื่อปีใดผลผลิตออกมาก ลำไยราคาตกต่ำ เราจะต้องตัดดอกลำไยออกทิ้ง เพื่อให้ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย มีคุณภาพและราคาดี

ระบบการให้น้ำในสวนลำไย

คุณนิโรจน์ แนะนำว่า ในอดีตน้ำสวนลำไยของตนเอง จำนวน 80 ไร่ ใช้วิธีการสูบน้ำเข้ามาในสวน แล้วให้คนงานใช้สายยางฉีดน้ำพ่นแบบราดบนพื้นดิน ต้องใช้คนงาน 5 คน คนละ 300 บาท ต่อวัน คิดรวมทั้งเดือนต้องใช้เงินไม่ต่ำกว่า 45,000 บาท จึงเกิดแนวคิดในการลดต้นทุน โดยนำระบบน้ำเข้ามาใช้ในสวนลำไย ประกอบกับปัจจุบันความแห้งแล้งจะเกิดขึ้นทุกปี ดังนั้น จะต้องใช้ระบบน้ำด้วยการวางท่อ ขนาด 1 นิ้ว ไว้ใต้ดิน แล้วลดขนาดให้เหมาะสมใช้กับระบบมินิสปริงเกลอร์ ใช้ท่อเอสล่อนวางตามแบบผังสี่เหลี่ยม ต่อหัวมินิสปริงเกลอร์บริเวณทรงพุ่ม ทำให้ช่วยประหยัดน้ำได้มากกว่าในอดีต จากการจดบันทึกการใช้น้ำในสวนลำไย พบว่า ลำไยแต่ละต้นได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอ ต้องใช้น้ำ 150 ลิตร ต่อวัน ต่อต้น พร้อมติดตั้งเครื่องวัดความชื้นด้วย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีระบบน้ำชลประทาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำระบบน้ำแบบนี้เข้ามาใช้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสวนแต่ละสวน หากคิดในระยะยาวจะเป็นการลดต้นทุนอีกทางหนึ่ง ในการติดตั้งระบบน้ำนั้น ลงทุนระยะแรกเท่านั้น นับว่าต้นทุนต่ำมาก คือจะต้องมีหม้อแปลงเปลี่ยนจากไฟฟ้า 220 โวลต์ ผ่านเข้ามาระบบปรับกระแสไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นระบบไฟกระแสตรง หรือไฟดีซี เข้ามาทำงานกับเครื่องตั้งเวลา เพื่อเปิด-ปิด น้ำอัตโนมัติ จากค่าใช้จ่ายค่าแรง วันละ 1,500 บาท ขณะนี้เหลือ วันละ 100 บาท เท่านั้น

“หมอดินอาสา” เป็นเกษตรกรอาสาเข้ามาเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดิน โดยเป็นเครือข่ายที่ช่วยถ่ายทอดข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการพัฒนาที่ดินต่างๆ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ทั่วประเทศ และยังเป็นต้นแบบด้านการจัดการดินอย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาดินเพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดและยั่งยืน

คุณเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า สมัครเว็บ SBOBET “กรมพัฒนาที่ดินให้ความสำคัญกับการพัฒนาหมอดินอาสา ทั้งหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด ซึ่งมีอยู่มากถึง 77,672 รายทั่วประเทศ ให้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินอย่างต่อเนื่อง โดยนำกิจกรรมต่างๆ พร้อมอุปกรณ์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน ปัจจัยการผลิตแจกจ่ายให้กับหมอดินอาสาทั่วประเทศ ตลอดจนเข้าพัฒนาพื้นที่ของหมอดินอาสาให้เป็นศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นตัวอย่างการพัฒนาที่ดินของเกษตรกรในหมู่บ้านนั้นๆ และให้หมอดินอาสาเป็นศูนย์กลางสำหรับเกษตรกรในการเข้าถึงงานบริการของกรมพัฒนาที่ดินได้อย่างเต็มที่ ปัจจุบันกรมพัฒนาที่ดิน ได้เร่งพัฒนาศักยภาพหมอดินอาสา 4.0 ให้เพิ่มพูนความรู้และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ มากขึ้น สามารถนำไปใช้พัฒนาตนเองและชุมชน เกิดการแก้ไขปัญหาดินได้ถูกต้อง ช่วยให้เกษตรกรมีที่ดินทำกินที่สมบูรณ์ นำมาซึ่งรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น”

คุณไกรวรรณ์ อัครกุล หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านชุมพล ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร เป็น 1 ในหมอดินอาสาดีเด่นต้นแบบที่ได้น้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตและหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่ในการประกอบอาชีพ เน้นการพึ่งพาตนเองทำการเกษตรแบบผสมผสานและมีการอนุรักษ์ดินและน้ำในพื้นที่เกษตรกรรม โดยผสานภูมิปัญญาผนวกเข้ากับความรู้ที่ได้รับจากการถ่ายทอดของกรมพัฒนาที่ดิน นำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเองจนสามารถฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมให้กลับมาทำการเกษตรที่หลากหลายได้สำเร็จ เป็นแบบอย่างให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

คุณไกรวรรณ์ กล่าวว่า “ผมเคยเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง แต่ก็ตัดสินใจลาออกเพื่อมาประกอบอาชีพส่วนตัวจะได้อยู่กับครอบครัว โดยเลือกทำอาชีพเกษตรที่บ้านเกิด จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี 2543 ตั้งใจแน่วแน่ที่จะยึดหลักการเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้ในการจัดการดินและพื้นที่ สามารถสร้างอาชีพที่มั่นคงได้ จนกระทั่งปี 2557 ได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่หมู่บ้านชุมพล ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นบ้านของภรรยา แต่ก็ต้องเจอกับอุปสรรคใหญ่คือปัญหาดิน ที่เรียกว่า “ปรมาจารย์ของดินที่แย่ที่สุด คือเป็นดินลูกรัง” ลักษณะของดินนอกจากจะมีความเสื่อมโทรมแล้ว ดินยังขาดธาตุอาหาร ขาดน้ำ และขาดอากาศในดินอีกด้วย จึงได้นำประสบการณ์ทำเกษตรที่ภาคใต้ที่ประสบความสำเร็จจากศาสตร์พระราชามาใช้กับพื้นที่เกษตรในภาคอีสานบ้าง

เริ่มต้นจากสมัครเป็นหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านชุมพล เพื่อเข้ารับการอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในเรื่องต่างๆ จากสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 และได้นำเอาองค์ความรู้และปัจจัยต่างๆ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานีพัฒนาที่ดินสกลนครมาปรับใช้ในพื้นที่ ซึ่งจากการเก็บตัวอย่างดินไปตรวจวิเคราะห์พบว่า สภาพพื้นที่เป็นชุดดินโพนพิสัย (Pp) กลุ่มชุดดินที่ 49 พบปัญหาคือ ดินตื้นถึงชั้นกรวดลูกรัง มีหน้าดินลึกเพียง 10-20 เซนติเมตร เนื้อดินบนค่อนข้างทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายและสูญเสียหน้าดิน ดินมีความเสื่อมโทรมและเป็นกรดจัดมาก ในช่วงฤดูแล้งจะขาดน้ำ แต่ในฤดูฝนน้ำจะซึมผ่านชั้นดินลูกรังยากมากทำให้เกิดน้ำขังในแปลงที่ทำการเกษตรหลายวัน ดังนั้น จำเป็นต้องทำการปรับปรุงบำรุงดินและจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการทำการเกษตรมากที่สุด