เพราะลิ้นจี่เป็นพืชหลักของครอบครัวที่ทำมายาวนานกว่า 40 ปี

และเป็นไม้ผลยืนต้นที่มีอายุยาวนาน คุณบัวขาวและครอบครัวใช้แรงงานในครอบครัวเท่านั้น จึงไม่คิดขยายพื้นที่ปลูก อีกทั้งสภาพอากาศปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก ระยะเวลาที่ช่วยให้ลิ้นจี่ติดผลลดลง ผลผลิตจึงได้น้อยกว่าที่ผ่านมาทุกปี แต่ก็ยังถือว่าเป็นอาชีพหลักของครอบครัว อีกทั้งลิ้นจี่เป็นไม้ผลที่ไม่พบปัญหาในการปลูกมากนัก อย่างไรก็ตาม คุณบัวขาวและครอบครัว ได้ใช้เวลาว่างที่มีปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานในครัวเรือนและส่งขาย มีรายได้จากการเก็บผักขาย วันละ 400-500 บาท

สวนลิ้นจี่ของคุณบัวขาว ถือเป็นสวนใหญ่และผลิตลิ้นจี่คุณภาพที่ดีที่สุดในจังหวัดเชียงราย หากสนใจกิ่งพันธุ์ หรือลิ้นจี่ตามฤดูกาล ทั้ง 4 สายพันธุ์ ติดต่อได้ที่ คุณบัวขาว ขันจันทร์แสง หมู่ที่ 7 บ้านนางแลใน ตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย หรือโทรศัพท์สอบถามกันก่อนที่เบอร์โทร. 087-179-0905 ได้ตลอดเวลา

มะขามป้อม ชื่อพื้นเมือง มะขามป้อม ทางเขมร-จันทบุรี เรียกว่า กันโตด จังหวัดราชบุรี เรียกว่า กำทวด ส่วนทางกะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียกว่า มั่งลู่ สันยาส่า

ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิดที่มีในโลก ในผลมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี ทำให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน ผลแห้ง เก็บไว้ในที่เย็น เช่น ในตู้เย็น นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 20

ผลสด ถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (29-37 องศาเซลเซียส) นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 67

เนื้อผลตากแดดให้แห้ง จะเสียวิตามินซีไปประมาณ ร้อยละ 60 ถ้าทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จะเสียวิตามินซีไปไม่มากนัก เนื้อผลแห้งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเสียวิตามินซีไป ร้อยละ 25 ในเวลา 2 สัปดาห์ เสียวิตามินซีไป ร้อยละ 50 ในเวลา 4 สัปดาห์ และเสียไป ร้อยละ 60 ในเวลา 48 สัปดาห์ น้ำคั้นจากผล ใส่ขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปมากกว่า ร้อยละ 50 แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นนาน 9 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปน้อยกว่า ร้อยละ 50 ในน้ำคั้นจากผลที่ใส่ขวดเก็บไว้ จะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นและมีความเป็นกรดคงที่ ที่ pH2

ผลมะขามป้อม จะมีช่องแบ่งระหว่างผลหรือเรียกว่ากลีบก็ได้ บางลักษณะมีช่องแบ่งผล 6 ช่อง บางลักษณะมี 8 ช่อง ส่วนใหญ่แล้วพบ 6 ช่อง หรือ 6 กลีบ มากกว่า การใช้ประโยชน์มะขามป้อมได้เกือบทุกส่วน ราก ลำต้น ต้น เปลือก ใบ ดอก ยาง เมล็ด

คนอินเดียใช้มาเป็นพันๆ ปี ในฐานะเป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงสายตา บำรุงสมอง ซึ่งคนอินเดียเรียกมะขามป้อมว่า Amla หรือ Amalaka แปลว่า พยาบาลหรือแม่ ซึ่งสะท้อนสรรพคุณทางยาอันมากมายของมะขามป้อมได้เป็นอย่างดี

“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

คุณอภิวรรษ สุขพ่วง (คุณพอต) อยู่บ้านเลขที่ 107 หมู่ที่ 10 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ผู้น้อมนำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างยอดเยี่ยม คุณพอต เล่าว่า หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี จากคณะการจัดการอุตสาหกรรม ได้เดินทางกลับบ้านเพื่อจะมาทำอาชีพเกษตรกรรมทันที ไม่ได้มองสายงานที่เรียนมา เนื่องจากที่บ้านมีพื้นที่มรดกไว้แต่ไม่มีใครสร้างประโยชน์ ปล่อยให้เป็นพื้นที่รกร้าง และด้วยนิสัยส่วนตัวที่เป็นคนรักธรรมชาติ และมีความคิดที่อยากเป็นนายตัวเอง ไม่อยากเป็นลูกน้องใคร จึงตัดสินใจได้ไม่ยากที่จะมาเริ่มต้นชีวิตการเป็นเกษตรกร

ทำเกษตรพอเพียงแบบไม่รู้ตัว
จนพัฒนาสร้างรายได้เลี้ยงคนในครอบครัวได้ 6 คน
คุณพอต เล่าว่า การเริ่มทำเกษตรอินทรีย์ไม่ได้ใช้เงินเป็นตัวตั้ง แต่เริ่มทำเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากความหิวโหย เพราะหลังจากที่เรียนจบกลับบ้าน ไม่มีเงินติดตัวเลยสักบาท รู้สึกว่าตัวเองเป็นภาระของครอบครัว จึงคิดว่าเราคงต้องหาอะไรทำเพื่อเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเอง และทำอย่างไรก็ได้ให้ครอบครัวมีรายจ่ายน้อยที่สุด

“ตอนนั้นคิดว่า การทำเกษตรเพื่อแลกเงินเป็นเรื่องที่เหนื่อย แต่ถ้าคิดว่าจะทำอย่างไร ให้คนในครอบครัวมีรายจ่ายน้อยลง มันเป็นเรื่องที่ง่ายกว่า จึงเริ่มสังเกตพฤติกรรมการกินของคนในครอบครัว มองดูแล้วว่าพวกเขาไม่ได้กินอะไรที่มากไปกว่าน้ำพริกผัก อาหารหลักคือ ข้าว คิดว่าถ้าลงมือทำคงไม่ยาก จึงเริ่มลงมือปฏิบัติใช้พื้นที่มรดกเป็นห้องเรียนและเรียนการทำเกษตรด้วยตัวเอง โดยอาศัยภูมิปัญญาของคุณตาคุณยาย” เจ้าตัวบอก

การทำนาของคนยุคโบราณ ท่านสอนว่า ต้องทำตามฤดูกาล เข้าใจธรรมชาติ รู้จักพฤติกรรมของพืชจะดีที่สุด การปลูกข้าวอินทรีย์จึงเป็นพืชอย่างแรกที่เขาเลือกปลูก เพราะข้าวคืออาหารหลักของทุกบ้าน ปลูกเพื่อคนในครอบครัว อยากให้ครอบครัวได้กินข้าวที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด ในนาข้าวของผมจะปฏิเสธการใช้สารเคมีทุกชนิด เราจะใช้ภูมิปัญญาไทย ที่เรียกว่าอินทรีย์วิถีไทย ใช้ขี้วัว ขี้ควาย ฤดูกาล และธรรมชาติช่วยปลูก

แต่เมื่อการดำเนินชีวิตคนเราจะกินแต่ข้าวอย่างเดียวก็ไม่พอ ต้องมีกับข้าวกับปลาด้วย เขามองพื้นที่รอบบ้าน แปลงหัวคันนา แปลงพื้นที่รอบบ้านเป็นพื้นที่ไว้ปลูกกับข้าว คนในบ้านชอบกินอะไรก็ปลูกอย่างนั้น การทำเกษตรอินทรีย์เริ่มจากการใช้พันธุกรรมท้องถิ่น เช่น ผักพื้นบ้าน ชะมวง กระโดน ยอดมะกอก ยอดสะเดา ยอดตำลึง ต่างๆ เหล่านี้ล้วนแต่มาจากพันธุกรรมพื้นบ้าน เราจะไม่เริ่มทำอันที่ยากๆ เพราะตอนนั้นยังไม่มีความสามารถขนาดนั้น

ทำแบบนี้มาสักพักก็ทำให้ครอบครัวมีข้าวอินทรีย์กิน มีกับข้าว มีผักสวนครัวไว้ประกอบอาหาร แต่ก็ยังขาดเนื้อสัตว์ จึงเริ่มคิดต่อยอดที่จะเลี้ยงไก่ไข่ ขุดบ่อเลี้ยงปลา เพราะไม่มีความกังวลเรื่องต้นทุนค่าอาหารสัตว์ มีพืชผักเราใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านนำผลไม้ ข้าวเปลือก มาทำอาหารเลี้ยงสัตว์เอง

ทำทุกอย่างจนครบ กลายเป็นว่าตัวเองทำเกษตรพอเพียงโดยที่ไม่รู้ตัว จากที่ไม่มีเงินติดตัวสักบาท ตอนนี้เลี้ยงคนในครอบครัวได้ 6 คน ด้วยวิธีการแบบนี้ เมื่ออาชีพเกษตรกรรมตอบโจทย์เรื่องปากท้องคนในครอบครัวได้แล้ว จึงเริ่มขยายสเกลปลูกเพื่อสร้างฐานะทางเศรษฐกิจด้วย

ขยายการผลิต จากปลูกกินเอง เป็นปลูกเพื่อการค้า
อุปสรรคมากมาย เอาชนะได้ด้วยศาสตร์พระราชา
เมื่อสามารถปลูกผักเลี้ยงคนในครอบครัวได้แล้ว จึงเริ่มคิดที่จะทำเพื่อสร้างรายได้ขยายพื้นที่ปลูกให้มากขึ้น แต่เมื่อเริ่มขยายพื้นที่มากขึ้น ปัญหาเริ่มเกิด น้ำไม่พอใช้ พื้นที่ดินเสื่อมโทรม มีโรคพืช โรคแมลง อุปสรรคเข้ามามากมายจำเป็นที่จะต้องไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ ศึกษาว่าที่ไหนสามารถช่วยเราได้บ้าง

ปัญหาหลักมีอยู่ 2 เรื่อง คือภัยแล้งและดินเสื่อมโทรม ปลูกอะไรก็ไม่งาม พยายามค้นหาบุคคลที่เก่งเรื่องน้ำ เรื่องดินมากที่สุด แล้วค้นพบได้ว่าท่านคือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 จึงใช้เวลาหลังจากนั้นเดินทางไปเรียนรู้ตามโครงการพระราชดำริที่ศูนย์ต่างๆ รวมถึงการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า คน เมื่อเรียนรู้จนเข้าใจมีหลักคิดที่เป็นระบบมากขึ้น เข้าใจ คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างลึกซึ้ง จนรู้ว่า คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ไม่จำเป็นต้องยึดติดอยู่กับความยากจนเพียงอย่างเดียว แต่สามารถพัฒนาเป็นความก้าวหน้าด้านเศรษฐกิจได้ เมื่อเข้าใจแล้วนำคำสอนมาปฏิบัติ

เริ่มจากมีพื้นที่ทำการเกษตร 25 ไร่ การทำเกษตรระบบชลประทานเป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งแรกที่เราคำนึงถึงก่อนการปลูกพืช น้อมนำคำสอนของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในเรื่องของการจัดการน้ำโคกหนองนาโมเดล เช่น การสร้างคลองใกล้-ไกล การสร้างบ่อเก็บน้ำขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำหัวคันนาขนาดใหญ่เพื่อให้เก็บน้ำฝนได้ รวมถึงการปลูกป่าเพื่อให้ป่าช่วยซับน้ำ เพราะฉะนั้นพื้นที่เลยมี 4 ส่วน

1. ที่อยู่อาศัย
2. นาข้าว
3. ป่า
4. คอกสัตว์ ทำในรูปแบบของป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ส่วนที่ 1 แบ่งเป็นที่อยู่อาศัย และคอกสัตว์ อยู่ในโซนเดียวกัน มีการเลี้ยงไก่ปล่อย เลี้ยงหมูป่า เป็ด ขุดบ่อเลี้ยงปลา มีทั้งปลานิลจิตรลดา ปลาหมอไทย ปลาเบญจพรรณ การดูแลเลี้ยงสัตว์ของเราจะปฏิเสธอาหารจากระบบอุตสาหกรรมทุกชนิด เราจะให้อาหารแบบวิถีคนโบราณ ที่ไร่มีข้าวเราจะมีเครื่องสีข้าวเล็กๆ ในบ้าน เราก็จะได้แกลบ รำ ปลายข้าวจากตรงนี้มาทำอาหารเลี้ยงสัตว์

ส่วนที่ 2 นาข้าวอินทรีย์ จำนวน 1 ไร่กว่าๆ ปลูกไว้กินกันในครอบครัว เมื่อเหลือจึงแบ่งขาย

ส่วนที่ 3 พื้นที่ปลูกป่า ป่าที่ 1 ป่ากินได้ คือพืชผักสวนครัว พริก ขิง ข่า ตะไคร้ ผลไม้ชนิดต่างๆ ไม้ผล ป่าที่ 2 ป่าโตเร็ว คือสามารถใช้ประโยชน์ได้เร็ว เช่น ไม้ไผ่ ตอนนี้ผลิตภัณฑ์หลักที่เราทำคือ การแปรรูปน้ำตาลอ้อย เราต้องใช้พลังงานจากฟืน เราก็ต้องการไม้ที่โตเร็ว นั่นก็คือ ไผ่ ป่าที่ 3 ป่าขนาดใหญ่ เลือกปลูกไม้ที่มีแก่น เช่น พะยูง ยางนา ไม้แดง เมื่อมีป่า 3 อย่างนี้รวมกัน จะพบถึงความมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้น คือ

1. เกิดความร่มเย็น สวนเกิดระบบนิเวศ ส่งผลให้โรคพืช โรคสัตว์น้อยลง

2. เกิดสมุนไพร เกิดเห็ดโคน เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เมื่อสวนป่ามีความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์เราก็ไม่ต้องเหนื่อยรดน้ำ ทุกอย่างดีขึ้น เพราะฉะนั้นการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง จึงตอบโจทย์เรื่องนี้ได้ทั้งที่อยู่อาศัย ของกิน ยารักษาโรค ได้หมดทุกข้อ

เมื่อเรียนรู้แล้วเข้าใจ ปลูกพืชได้ตามความต้องการของตลาด
ต่อยอดสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว เลี้ยงคนในชุมชน
หลังจากจัดการระบบสวนลงตัว ผลผลิตที่มาจากสวนปลูกแบบระบบอินทรีย์ทั้งหมด คิดว่าในเมื่อเรามีของดีอยู่ในมือแล้ว ก็รอแค่การทำตลาดให้ถูกวิธี เราจะไม่แห่ปลูกพืชตามกระแสที่ปลูกตามกันมากๆ แล้วแข่งกันขาย แต่สิ่งที่ดีกว่าคือการหยิบจับสิ่งรอบตัวมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด เช่น การแปรรูปสินค้า นำพืชผักสมุนไพรในสวนมาแปรรูปเป็นสบู่ ยาสระผม หรือนำผลไม้อย่างกล้วยก็นำมาทำกล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ นำองค์ความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัยมาประยุกต์ใช้ มีอ้อยนำอ้อยแปรรูปเป็นน้ำตาลอ้อย เมื่อทำได้ค่อยเริ่มหัดค้าขาย

แต่สิ่งที่พูดมาทั้งหมดที่ไหนก็มีขาย เราจึงต้องดึงจุดเด่นของสินค้ามาให้ได้ เพื่อต่อสู้กับเจ้าอื่น ผลิตภัณฑ์เราใช้วิธีการเล่าเรื่อง เช่น วันนี้ถ้าคุณกินของเรา คุณจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือใครหรือเกื้อกูลใคร เราทำตลาดในรูปแบบแบรนดิ้ง ทำในชื่อแบรนด์ไร่สุขพ่วง หมายความว่า ถ้าคุณเป็นส่วนหนึ่งในการซื้อผลิตภันฑ์ของไร่สุขพ่วง คุณจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือชุมชน ช่วยเหลือสิ่งแวดล้อม เพราะว่าเราไม่ใช้สารเคมี เราเดินตามเศรษฐกิจพอเพียง ก็กลายเป็นเรื่องราวที่ติดไปกับแบรนด์ของเรา สร้างมาตรฐานอินทรีย์วิถีไทย เป็นตรารับรองสินค้าที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ทั้งหมดนี้ถือว่าไร่สุขพ่วงได้ทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม เขาไม่ทำงานคนเดียว เกิดการสร้างเครือข่ายทั่วประเทศไทย แบ่งตลาดเป็น 3 ระดับ

1. ตลาดระดับล่าง คือการนำสินค้ามาขายในชุมชน หรือตลาดใกล้ตัวทำตลาดให้ใกล้บ้านที่สุด

2. ตลาดระดับกลาง เราเรียกว่า Business-to-Business (B2B) หมายความว่า เราจะหากลุ่มธุรกิจที่ต้องการสินค้าของเรา เช่น

2.1 ร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านปลาเผา ร้านส้มตำ ที่ต้องการถั่วงอก มะละกอ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ หาความต้องการของลูกค้า อย่างร้านก๋วยเตี๋ยว 1 ร้าน ต้องการถั่วงอก วันละ 10 กิโลกรัม ตอนนี้เราหาร้านก๋วยเตี๋ยวได้ 10 ร้าน เท่ากับเราต้องมีถั่วงอกส่งร้านก๋วยเตี๋ยว วันละ 100 กิโลกรัม แต่กำลังการผลิตเราไม่พอ เราก็รวมกลุ่มให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกส่ง

2.2 สร้างนโยบาย 3 ร. เข้ามา ร.ที่ 1 โรงพยาบาล โรงพยาบาลมีผู้ป่วย เมื่อมีคนป่วยก็ต้องกินอาหารที่ดีไร้สารเคมีและผลผลิตของเราก็ปลอดสารทุกชนิด เราจึงรณรงค์ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุขว่า ถ้าโรงพยาบาลสนับสนุนสินค้าของไร่สุขพ่วง หรือกลุ่มเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมี มันจะเป็นผลดีกับผู้ป่วยอย่างไร

ร.ที่ 2 โรงเรียน เด็กเยาวชน ต้องการอาหารที่ดีถูกหลักโภชนาการที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตามวัย ก็ไปกินผักจากตลาดที่ไม่รู้ที่มา เราจึงเอาเรื่องสินค้าเกษตรอินทรีย์วิถีไทยของเราเข้าไปร่วมกับโรงเรียน

ร.ที่ 3 โรงแรมหรือธุรกิจเอกชน เช่น โรงแรมต้องการไข่ไก่ของไร่สุขพ่วง ทางโรงแรมจะสั่งไข่ไก่ของที่ไร่ไปจัดเลี้ยงเป็นอาหารเช้าทุกวัน มีการเล่าที่มาให้แขกฟังว่า ไข่ไก่ที่คุณรับประทานมีที่มาอย่างไร เรามีการเลือกสรรความปลอดภัยและสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกค้า

3. ตลาดระดับบน โมเดิร์นเทรด ห้างสรรพสินค้าต่างๆ เป็นตลาด จึงมีความจำเป็นต้องขับเคลื่อนในลักษณะของกลุ่ม ทุกวันนี้ไร่สุขพ่วงมีสินค้าขายในห้างเซ็นทรัลมหาชัย กาญจนบุรี ราชบุรี ความสำเร็จต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการเดินทางตั้งแต่ตอนที่ยังไม่เข้าใจเศรษฐกิจพอเพียง เกิดขึ้นเพียงแค่อยากให้ครอบครัวหลุดพ้นจากความหิวโหย จนกลายเป็นอาชีพที่ทำให้เรามีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีได้ถึงทุกวันนี้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้สอนให้เรายากจน แต่สอนให้เราเข้าใจความสามัคคี การทำงานร่วมกัน สุดท้าย ไร่สุขพ่วง จึงตัดสินใจเปิดบ้านตัวเองเป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อถ่ายทอดความสุข ถ่ายทอดเรื่องราวประสบการณ์มานานกว่า 8 ปี

ฝากถึงเกษตรกร การทำเกษตรให้อยู่รอด
ให้เริ่มจากปลูกเพื่อมีกินในครอบครัว
แล้วจึงขยายสร้างฐานะทางเศรษฐกิจ
การทำเกษตอินทรีย์ สิ่งสำคัญที่สุดมี 3 เรื่อง

1. มีความรู้และรู้จักตัวเอง หมายความว่า คุณต้องรู้ถึงพื้นที่ที่อยู่มีฐานทรัพยากรเป็นอย่างไร มีน้ำมาก มีน้ำน้อย มีความเหมาะสมในการปลูกพืชชนิดไหน นี่คือ การรู้จักตัวเอง รู้จักภูมิศาสตร์และสังคม คือพฤติกรรมของคนในครอบครัวหรือคนในชุมชน เมื่อคุณมีเงื่อนไขความรู้จะสามารถคิดออกได้ว่า คุณจะเริ่มต้นอะไร เริ่มจากความเหมาะสมของตัวเอง นี่เรียกว่าความรู้ อย่าไปทำตามคนอื่น ทุกวันนี้เกษตรกรรุ่นใหม่เข้าถึงสื่อความรู้ได้รวดเร็ว เพราะเห็นคนอื่นทำก็ทำตาม โดยก้าวข้ามเงื่อนไขความรู้ไป

2. ต้องมีคุณธรรม มีศีลมีธรรม ปลูกพืชไม่ใช้สารเคมีถือเป็นการช่วยชีวิตคน

3. ความพอ เริ่มทำอะไร ต้องทำให้ตัวเองหลุดพ้นจากความขาดแคลนก่อน ไม่มีกินต้องทำให้ตัวเองมีกินก่อน ไม่มีใช้ต้องทำให้ตัวเองมีใช้ก่อน ปัจจัยการผลิตต้องทำให้ได้ก่อน

สนใจสอบถามข้อมูล หรือติดต่อเยี่ยมชมสวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ไร่สุขพ่วง โทร.089-379-8950 บัณฑิตแม่โจ้ เผยเคล็ดลับ ทำงานเกษตรบนพื้นที่จำกัดอย่างไร ให้สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ตลอดปี คุณสุชาดา ดวงต๋า (คุณแพรว) อยู่บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 6 ตำบลแช่ช้าง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เรียนจบจากคณะผลิตกรรมการเกษตร สาขาพืชศาสตร์ เอกพืชสวนประดับ จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลังเรียนจบได้เข้าทำงานที่บริษัทเกี่ยวกับการเกษตร ทำงานในส่วนห้องแล็บเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ทำได้ปีกว่าๆ มีเหตุให้ต้องออกจากงาน หลังจากนั้นจึงกลับไปอยู่บ้าน เริ่มจับงานเกษตรด้วยการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ และมะเขือเทศราชินี เป็นพืชหลักทำเงิน

ทำเกษตรบนพื้นที่ 2 งาน
สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ทั้งปี
คุณสุชาดา ดวงต๋า (คุณแพรว) เริ่มทำงานเกษตรมาเป็นระยะเวลากว่า 7 ปี 5 ปีแรกเริ่มจากการเพาะต้นกล้าพริก ขายที่ภาคกลางมาก่อน ช่วงนั้นถือว่าขายดีมาก แต่ต้องเปลี่ยนจากการเพาะต้นกล้า เพราะได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านที่ภาคเหนือ ซึ่งทางภาคเหนือไม่นิยมซื้อต้นกล้าไปปลูก เนื่องจากน้ำไม่เอื้ออำนวย จึงต้องเปลี่ยนวิธีและแนวคิดใหม่

โดยเริ่มต้นจากการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์บนพื้นที่ข้างบ้าน มีพื้นที่เพียง 2 งาน ในการทำเกษตรเลี้ยงชีพ ซึ่งพื้นที่เพียงเท่านี้หลายคนสงสัยว่าพอหรือที่จะทำเลี้ยงชีพ ตอบได้เลยว่าพอ แต่ต้องจัดสรรวางแผนการปลูกให้ดี

คุณแพรว บอกว่า “ในเมื่อมีพื้นที่น้อย ต้องจัดสรรพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด และต้องฉลาดเลือกเน้นปลูกพืชที่มีมูลค่าและดูแลไม่ยาก เพราะทำกับแม่แค่สองคน ในบริเวณที่ปลูกผักจะใช้พลาสติกคลุมเกือบทั้งหมด เพื่อลดแรงงานการถอนหญ้า และประหยัดต้นทุนในการใช้สารเคมี”

การจัดสรรพื้นที่การปลูกให้มีผลผลิตออกตลอดทั้งปี มีดังนี้

พื้นที่ 2 งาน คุณแพรว แบ่งปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ครึ่งงาน และมะเขือเทศราชินีอีกครึ่งงาน พืชสองชนิดนี้เป็นพืชหลักมีผลผลิตออกขายได้ทั้งปี ส่วนพื้นที่ที่เหลือแบ่งปลูกเป็น กวางตุ้ง ผักบุ้ง แตงร้าน ถั่วฝักยาว และพืชผักสวนครัวทั่วไปที่คนในชุมชนต้องรับประทานกันเป็นประจำ ผักที่ปลูกเรียกว่า ผักปลอดภัย ใช้สารชีวภัณฑ์ น้ำส้มควันไม้ น้ำหมัก เป็นหลัก มีใช้สารเคมีเข้ามาช่วยบ้างแต่ใช้ในปริมาณที่น้อยมาก

ผักไฮโดรโปนิกส์ ครึ่งงาน แบ่งปลูกเป็น 4 โต๊ะ มีผักออกทุกสัปดาห์ ทยอยปลูกวนกันไปเรื่อยๆ “ต้นทุนปลูกครั้งแรก 80,000 บาท 1 ปี คืนทุน หลังจากนั้นลงทุนเพียงค่าเมล็ดพันธุ์และค่าจิปาถะอื่นๆ อีกเล็กน้อย ผักสลัดใช้เวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวขายใช้เวลาเพียง 45-60 วัน ต้นทุนการปลูกต่อต้น รวมค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ตกต้นละ 4 บาท หรือคิดต้นทุนเป็น 2 ใน 3 ของรายได้ ถ้าผักสลัดขายได้ 100 บาท ต้นทุนอยู่ที่ 30-40 บาท ช่วงอากาศเย็น ผักจะต้นใหญ่ขายได้ราคาหน่อย เพราะเป็นฤดูที่เหมาะสม ผักจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 2-3 ขีด ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นหน้าฝน จะมีปัญหาคือ เชื้อราที่มากับน้ำฝน และอาจจะมีหนอน มีแมลงบ้าง ส่วนหน้าร้อนต้นจะเล็กลงจากเคยเก็บ 10 ต้น ได้ 1 กิโลกรัม อาจจะต้องเก็บ 17-20 ต้น ถึงจะได้ 1 กิโลกรัม”

ในส่วนของ มะเขือเทศราชินี ใช้เงินลงทุนน้อยกว่าผักไฮโดรโปนิกส์กว่าครึ่งหนึ่ง ระยะปลูกถึงเก็บเกี่ยว 2 เดือน สามารถเก็บผลผลิตต่อเนื่องได้ 2-3 เดือน ขึ้นอยู่กับการดูแล

วิธีปลูก ปลูกลงดิน เพาะเมล็ด 30 วัน หลังจากนั้น ย้ายกล้าลงปลูกในดิน 40-45 วัน เริ่มเก็บผลผลิตได้ ระยะห่างระหว่างต้น 80 เซนติเมตร ปักค้างกะระยะห่าง 2-2.5 เมตร แล้วใช้ตาข่ายขึงให้เป็นซุ้มสี่เหลี่ยม เพื่อให้เก็บผลผลิตง่ายลูกไม่ช้ำ

ตลาดหาไม่ยาก แค่คิดและวางแผน
ก่อนลงมือทำ
การตลาดของคุณแพรว มีเคล็ดลับไม่ยาก Royal Online V2 เพียงแค่คิดและวางแผนก่อนลงมือทำ คุณแพรว บอกว่า จะไม่ใช้วิธีแบบเกษตรกรยุคก่อน คือปลูกก่อนแล้วหาตลาดทีหลัง ซึ่งวิธีนี้ทำให้เราเสียเปรียบเกษตรกรเจ้าถิ่น และเสียเปรียบพ่อค้าคนกลาง โดนกดราคา เพราะถ้าเขาไม่ซื้อของเราก็จะเสีย เราก็จำเป็นต้องขาย

“การตลาดที่ถูกต้องคือ การหาตลาดก่อนปลูก ต้องรู้ว่าตอนนี้ตลาดต้องการอะไร เราสามารถทำตามความต้องการของตลาดได้ไหม ถ้าทำได้ จึงค่อยลงมือทำในขนาดย่อมๆ ก่อน ถ้าตลาดไปได้สวยถึงค่อยขยับขยาย ไม่แนะนำให้ปลูกก่อน แล้วหาตลาดทีหลัง หรืออีกเทคนิคคือ ทำเป็นตัวอย่างไปให้ผู้รับซื้อดูก่อน ว่าเรามีผักแบบนี้ มาตรฐานแบบนี้ จะรับไหม อย่าไปทำสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะทุกอย่างมีต้นทุน”

การวางแผนของคุณแพรวคือ เลือกที่จะไปเป็นลูกไร่คนอื่นก่อน เพราะเขามีที่ส่งอยู่แล้ว เราก็ไปขอเป็นเครือข่ายเขา เมื่อเราเข้าเป็นเครือข่ายได้สักระยะ เริ่มจะมีช่องทางเป็นของตัวเองจึงค่อยขยับขยาย และจะไม่เน้นขายส่งอย่างเดียว เรามีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า มีผักสลัด และมะเขือเทศราชินีเป็นพืชหลัก มีพืชผักตามฤดูกาลเป็นพืชเสริม ซึ่งทั้งหมดนี้คุณแพรวปลูกเอง ขายเอง ดูแลเอง ในเดือนๆ หนึ่งมีรายได้จากการขายผักเดือนละประมาณ 15,000-18,000 บาท นับเป็นเงินไม่น้อยสำหรับพื้นที่แค่นี้

การขายจะมีทั้งแบบขายส่งและขายลูกค้ารายย่อยที่ตลาด แบบขายส่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน ราคาส่งผักสลัดกิโลกรัมละ 100 บาท มะเขือเทศราชินี กิโลกรัมละ 80 บาท และผักตามฤดูกาลแบ่งขายเป็นกำให้คนในหมู่บ้านได้รับประทานของดีราคาถูก

อีกส่วนจะแบ่งไว้ขายตลาดคนรักสุขภาพทุกวันเสาร์และอาทิตย์ ในส่วนของผักที่ขายที่ตลาดถือเป็นการเพิ่มมูลค่า นำผักที่ปลูกไปทำสลัดโรล ขายกล่องละ 50 บาท ผักสลัดแบ่งขายเป็นต้น ต้นละ 20 บาท เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายและได้ราคาดีกว่าขายเป็นกิโล มะเขือเทศก็แบ่งขาย ใส่กล่องบรรจุ 300 กรัม ราคากล่องละ 50 บาท ในทุกๆ ครั้ง ลูกค้าจะได้ผักสดและปลอดภัยจากเกษตรกรโดยตรง

อาชีพเป็นเกษตรกร 365 วัน
คือความท้าทาย
การทำงานเกษตร ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับคนที่ไม่ตั้งใจ สำหรับตัวคุณแพรว การปลูกพืชผักต้องใจเย็น ทำไปเรื่อยๆ การทำงานเกษตรคือสิ่งที่ต้องทำเองทุกขั้นตอน เพื่อสร้างประสบการณ์ความชำนาญ เมื่อเกิดปัญหาจะได้แก้ทัน ถ้าคิดจะปลูกแบบทิ้งๆ ขว้างๆ 3-4 วัน ดูแลครั้ง ไม่มีทางสำเร็จ

การที่จะเลือกปลูกพืชสักชนิด อย่างน้อยต้องคลุกคลีกับผักชนิดนั้นเป็นระยะเวลา 1 ปี ทำไมต้อง 1 ปี เพราะใน 1 ปี สภาพอากาศทั้ง 365 วัน ไม่เหมือนกัน พืชแต่ละชนิดการปลูกการดูแลรักษาก็ไม่เหมือนกัน จึงต้องศึกษาทดลองปลูกเพื่อดูพฤติกรรมของพืช เพื่อเป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที และถ้าพืชที่ทดลองปลูกสามารถไปต่อได้ รู้จักนิสัยพืชของตัวเองดีพอแล้ว ก็ไปต่อได้ แต่ถ้ารู้ว่าไปต่อไม่ได้ เราไม่เหมาะกับพืชชนิดนี้ ให้หยุดปลูก แล้วหาพืชตัวใหม่ที่โอเคกว่าทันที หรือขณะที่ทำให้เริ่มต้นทีละน้อยๆ เริ่มจากผักที่ชอบรับประทานก่อน เพราะจะทำให้เราใช้ความอดทนได้มากที่สุด สำหรับท่านที่สนใจอยากจะทดลองปลูกผักข้างบ้าน เป็นอาชีพเสริม สามารถปรึกษา คุณสุชาดา ดวง