เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักคะน้าเด็ดยอด ปลูกทีเดียวอยู่ได้หลายปี

“ยิ่งเด็ดยอด ยิ่งเกิดยอด” ผักคะน้าเด็ดยอด หรือ ผักคะน้าปูเล่ เป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำ ที่สามารถเจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องยาวนานหลายปี การใช้ประโยชน์ทำได้โดยเด็ดยอดอ่อนไปประกอบอาหารแบบผักคะน้าได้ทุกเมนู

หลังจากเด็ดยอดอ่อนไปบริโภคแล้ว ตาข้างที่อยู่ส่วนล่างของยอดเดิมจะสามารถพัฒนาเกิดเป็นยอดใหม่เพิ่มขึ้นมาได้อีกประมาณ 2-3 ยอด ต่อการเด็ดยอดเก่า 1 ยอด ยอดใหม่เหล่านี้จะมีขนาดเหมาะสมต่อการเด็ดไปบริโภคในรอบต่อไปได้อีก เมื่อมีอายุประมาณ 24-26 วัน หลักการสำคัญของการเกิดยอดของผักชนิดนี้จึงสามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางวิชาการ ที่เรียกว่า หลักการตายอดข่มตาข้าง (apical dominance) พอสรุปได้ว่า ส่วนปลายยอดของพืชจะผลิตฮอร์โมนชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า ออกซิน (auxin)

ซึ่งจะถูกลำเลียงจากส่วนยอดไปยังส่วนต่างๆ ของพืชที่อยู่ด้านล่าง การเคลื่อนที่ของออกซินจะส่งผลทำให้เกิดการยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้างที่อยู่ด้านล่าง ทําให้ตาข้างไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ ตราบใดที่ยังได้รับออกซินจากส่วนยอด ดังนั้น หากเราตัดหรือเด็ดส่วนยอดออกไป ตาข้างก็จะเจริญเติบโตและพัฒนาเกิดเป็นยอดใหม่ได้ทันที การเกิดยอดใหม่ของผักคะน้าเด็ดยอดก็เป็นไปตามหลักการนี้คือ จำเป็นต้องมีการเด็ดยอดไปบริโภคบ่อยๆ ในลักษณะ “ยิ่งเด็ดยอด ยิ่งเกิดยอด” ตามเหตุผลที่กล่าวมา

ผักคะน้าเด็ดยอด เป็นผักที่ตอบสนองต่อการดูแลและเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ต้องการแสงแดดตลอดวัน สภาพวัสดุปลูกควรมีความชื้นเหมาะสม ไม่ชอบสภาพที่มีน้ำขังแฉะ หรือสภาพฝนตกหนัก ดังนั้น ในช่วงฤดูฝนจึงควรย้ายต้นพันธุ์ลงปลูกในกระถาง หรือเลือกพื้นที่ปลูกตามแนวชายคาบ้านที่รับแสงแดดหรือปลูกเป็นแปลงภายใต้โรงเรือนปลูกพืชแบบต่างๆ ส่วนในฤดูหนาวและฤดูร้อนผักชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในสภาพกลางแจ้งเหมือนพืชผักชนิดอื่นๆ ทั่วไป

ศัตรูของผักคะน้าเด็ดยอด
โรค ยังไม่พบโรคสำคัญที่ก่อให้เกิดการระบาดหรือสร้างความเสียหายกับผักชนิดนี้มากนัก แต่ก็มีข้อเสนอแนะบางประการสำหรับการดูแลเพื่อลดโอกาสของการเกิดโรค ดังนี้
1.1 ผักคะน้าเด็ดยอด เป็นผักที่ไม่ชอบน้ำขังหรือวัสดุปลูกเปียกแฉะตลอดเวลา สภาพดังกล่าวจะก่อให้เกิดอาการเหี่ยวเฉาเน่าเสียหาย เชื้อแบคทีเรียเข้าทําลายได้ง่าย ดังนั้น จึงอาจแก้ไขโดยจัดระบบการให้น้ำเฉพาะในช่วงเวลาเช้าที่มีแสงแดด ส่วนช่วงเวลาบ่ายซึ่งเป็นช่วงที่พระอาทิตย์ใกล้ตกดินก็งดการให้น้ำ เป็นต้น

1.2 ควรหมั่นตกแต่งใบหรือกิ่งแก่ที่หมดอายุในส่วนล่างของทรงพุ่มออกบ่อยๆ เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งโล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก แสงแดดสามารถส่องได้ทั่วถึงทั้งทรงพุ่ม และควรกำจัดวัชพืชชนิดต่างๆ ในบริเวณพื้นที่เพาะปลูกอย่างสม่ำเสมอด้วย

2.1 เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงปากดูดตัวเล็กๆ มักพบดูดน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ส่งผลให้ใบหรือยอดชะงักการเจริญเติบโต เพลี้ยอ่อนเคลื่อนที่ได้ช้า แต่จะมีมดชนิดต่างๆ เป็นตัวช่วยขนย้ายลําเลียงไปยังจุดต่างๆ ของทรงพุ่ม ส่วนมดก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นน้ำหวานจากเพลี้ย ดังนั้น จึงต้องคอยสังเกตการระบาด โดยอาจใช้แว่นขยายส่องหาตัวเพลี้ยหรือมดที่ไต่ไปตามลำต้นและใบ

วิธีการแก้ไข ทำได้โดยใช้น้ำแรงๆ ฉีดพ่นบริเวณตำแหน่งที่พบเพลี้ยบ่อยๆ (2-3 วันครั้ง) ความแรงของน้ำจะกระแทกตัวเพลี้ยหรือมดให้กระเด็นหลุดไป อีกวิธีการหนึ่งอาจใช้ยาฉุน (ใบยาสูบหั่นฝอย) มาแช่ในน้ำจนน้ำเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม จากนั้นจึงกรองเอาน้ำไปฉีดพ่นบริเวณที่พบเพลี้ยอ่อนอาศัยอยู่ ก็สามารถกำจัดได้ผลดี

2.2 หนอนใยผัก พืชผักตระกูลกะหล่ำมีศัตรูเป็นหนอนชนิดต่างๆ มากมาย ผู้เขียนใช้เชื้อจุลินทรีย์ ชื่อ เชื้อ บีที (Bacillus thuringiensis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในการป้องกันและกำจัดหนอนได้อย่างดี ปัจจุบันมีหน่วยงานราชการหลายหน่วยดําเนินการผลิต เชื้อ บีที เพื่อใช้ควบคุมแมลงและหนอนชนิดต่างๆ และสนับสนุนให้มีการใช้ทั่วไป นอกจากนี้ ก็มีภาคเอกชนผลิตเชื้อจุลินทรีย์ดังกล่าวออกมาจำหน่ายด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนและวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อผักคะน้าเด็ดยอด
เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการขยายพันธุ์พืชหลายชนิด ซึ่งพอยกตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มๆตามวัตถุประสงค์ของการขยายพันธุ์ได้ ดังนี้

กลุ่มที่ขยายพันธุ์ได้ยาก เช่น การขยายพันธุ์กล้วยไม้ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือการผลิตมะพร้าวกะทิด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเอมบริโอ
กลุ่มที่ผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรค เช่น สตรอเบอรี่ กล้วย มันฝรั่ง และอ้อย
กลุ่มที่ต้องการขยายสายพันธุ์จำนวนมาก เช่น การผลิตต้นพันธุ์หน้าวัว เยอร์บีร่า เบญจมาศ และมะละกอ

นอกจากนี้ ยังมีการใช้ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์พืชผักอีกหลายชนิด เช่น ขิง หน่อไม้ฝรั่ง ปูเล่ (พืชตระกูลกะหล่ำที่มีอายุยืน) และผักคะน้าเด็ดยอด พืชสองชนิดหลังมีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแบบเดียวกัน สรุปเป็นขั้นตอนได้ ดังนี้

การคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ดี ต้นแม่พันธุ์ผักคะน้าเด็ดยอดที่คัดเลือกมาจะต้องมีความแข็งแรงเจริญเติบโตรวดเร็วไม่แสดงอาการของโรค เช่น โรคเน่าที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยนำยอดอ่อนที่มีอายุประมาณ 24-26 วัน ซึ่งเป็นยอดที่ไม่แก่เกินไป มาใช้เป็นชิ้นส่วนสำหรับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ยอดอ่อนของผักคะน้าเด็ดยอดจะถูกนำมาตัดแต่งส่วนใบทิ้งไป จากนั้นจึงนำมาตัดเป็นท่อนสั้นๆ ให้มีส่วนตาข้างติดอยู่ นําไปฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสารละลาย โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (คลอร็อกซ์) ความเข้มข้น 10% เป็นเวลานาน 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว จํานวน 3 ครั้ง นำชิ้นส่วนตาไปวางเลี้ยงบนอาหารสูตรเพิ่มปริมาณ

การเพิ่มปริมาณ อาหารสูตรที่เหมาะสมต่อการเพิ่มปริมาณผักคะน้าเด็ดยอดคือ อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนิน โดยใช้สารตัวที่ชื่อว่า BA สารตัวนี้มีอิทธิพลกระตุ้นการแบ่งเซลล์และยังกระตุ้นให้เกิดตาและพัฒนาให้เกิดยอดจำนวนมากได้ด้วย คะน้าเด็ดยอดมีอัตราการเพิ่มปริมาณยอดใหม่ ประมาณ 3-4 เท่า ต่อการเปลี่ยนอาหาร 1 ครั้ง (30 วัน) การเพิ่มปริมาณต้นพันธุ์ให้ได้จำนวนที่เพียงพอ จึงทำได้โดยการเปลี่ยนย้ายชิ้นส่วนผักคะน้าเด็ดยอดไปเพาะเลี้ยงในอาหารสูตรเพิ่มปริมาณทุกๆ 30 วัน

การชักนำให้เกิดราก เมื่อเพาะเลี้ยงจนได้จำนวนต้นพันธุ์ผักคะน้าเด็ดยอดเพียงพอตามต้องการ ต้นพันธุ์เหล่านั้นจะถูกนำมาชักนำให้เกิดระบบรากที่สมบูรณ์แข็งแรง บนอาหารเพาะเลี้ยงสูตรที่เหมาะสม คืออาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มออกซิน โดยใช้สารตัวที่ชื่อว่า NAA ที่มีอิทธิพลชักนำให้เกิดระบบรากที่สมบูรณ์
การอนุบาลต้นพันธุ์ ต้นพันธุ์ผักคะน้าเด็ดยอดที่มีระบบรากสมบูรณ์จะถูกนำมาล้างเศษอาหารวุ้นที่ติดมากับระบบรากออก จากนั้นจึงนำไปแช่ในสารป้องกันเชื้อรา และนำไปอนุบาลในวัสดุทรายผสมขี้เถ้าแกลบ ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ปรับสภาพแวดล้อมให้มีความเหมาะสมต่อการอนุบาล โดยควบคุมสภาพความเข้มแสงประมาณ 60% อุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 25 ถึง 30 องศาเซลเซียส รักษาความชื้นพอประมาณ ใช้เวลาประมาณ 30 วัน ต้นพันธุ์ที่อนุบาลก็จะมีสภาพแข็งแรง เพียงพอต่อการนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้ต่อไป

เนื่องจากเป็นพืชผักตระกูลกะหล่ำที่อาจเกิดความเสียหายจากเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการปลูกเลี้ยงและทําให้เกิดโรคเหี่ยวเน่า ดังนั้น ระบบการผลิตต้นพันธุ์ที่เหมาะสมจึงควรเริ่มจากการผลิตต้นพันธุ์ปลอดโรคจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แล้วจึงนําไปปลูกในพื้นที่เฉพาะเพื่อผลิตยอดสําหรับนำไปใช้ขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชํา ต้นพันธุ์ที่ได้จากการปักชําจะถูกใช้เป็นต้นพันธุ์สําหรับปลูกเก็บผลผลิตต่อไป ส่วนการปลูกเพื่อเป็นผักสามัญประจําบ้านอาจปลูกเพียง 10 ต้น ต่อครอบครัว ก็เพียงพอต่อการบริโภค เนื่องจากผักชนิดนี้เมื่อเด็ดยอดไปบริโภคบ่อยๆ ก็จะเกิดยอดใหม่อีกมากมาย จนเด็ดไปบริโภคไม่ทัน สำหรับท่านที่สนใจปลูกแบบธุรกิจ ผู้เขียนขอเสนอให้ลองปลูกจํานวนน้อยๆ ก่อน เพื่อเรียนรู้วิธีการปลูกและดูแลจนชํานาญ จากนั้นจึงค่อยๆ ขยายพื้นที่ปลูกเพื่อทำธุรกิจต่อไป ผักคะน้าเด็ดยอด จึงอาจเป็นพืชผักที่มีความน่าสนใจเเละมีประโยชน์ในธุรกิจผักสดของบ้านเราเพิ่มขึ้นอีกชนิดหนึ่ง

หากใครมีโอกาสไปเยือน “เมืองปาย…เสน่ห์แห่งเมืองสามหมอก” อำเภอเล็กๆ ที่โอบล้อมไปด้วยภูเขาสูงสลับทับซ้อน และป่าไม้นานาพันธุ์ของจังหวัดแม่ฮ่องสอน คงจะติดใจในวิถีชีวิตเรียบง่าย สงบสุข ท่ามกลางธรรมชาติขุนเขา สายน้ำ และวัฒนธรรมพื้นเมืองอันดีงามของชาวเมืองปาย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวไทยภูเขา และคนไทยเชื้อสายไทยใหญ่ ที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ริมแม่น้ำสาละวิน แถบรัฐฉาน บริเวณเมืองหมอกใหม่ เมืองนาย เมืองลานเคอ ฯลฯ ก่อนจะอพยพเข้ามาอาศัยในแผ่นดินไทย ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน (พ.ศ. 2374) ในช่วงรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ทุกวันนี้ลูกหลานไทยเชื้อสายไทยใหญ่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีรายได้หลักจากการทำอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืช ทำไร่ ทำนาแล้ว พวกเขายังมีมรดกทางพันธุกรรมพืชที่สำคัญอีกอย่างคือ “ดอกเมย์เมียว” บางคนเรียกว่า ดอกเมียววดี หรือดอกเมียวเมียว ในช่วงฤดูหนาว หากใครไปเดินเที่ยวแถวตลาดสดยามเช้า จะเห็น “ดอกเมย์เมียว” ดอกไม้ดอกเล็กๆ สีขาวและสีชมพูอ่อน กลีบดอกและก้านใบดูบอบบาง ถูกมัดรวมกันเป็นช่อมาวางขายให้แก่ผู้สนใจ

ชาวเมืองปายยังนิยมนำดอกเมย์เมียวไปไหว้สักการะที่เจดียอนุสรณ์สถานพระนางสุพรรณกัลยา พระเชษฐภคินีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในบริเวณวัดน้ำฮู เพราะเชื่อว่า ดอกเมย์เมียว เป็นดอกไม้ที่พระนางสุพรรณกัลยาทรงชื่นชอบเป็นพิเศษ “จรัล มโนเพ็ชร” ศิลปินชื่อดังชาวล้านนา มีความประทับใจดอกไม้ชนิดนี้มาก จนนำไปแต่งเป็นบทเพลงส่งเสริมให้กำลังใจ ชื่อว่า “เมียวเมียว มู…มู” โดย จรัล มโนเพ็ชร ขับร้องเพลงนี้ร่วมกับ สุนทรี เวชานนท์ ในอัลบั้มชุด ฉันมีความรักมาให้ บันทึกเสียง เมื่อปี 2531

ชมสวนดอกเมย์เมียว ที่บ้านป้าแหลง
“ป้าแหลง-คุณอาภรณ์ แสงโชติ” ประธานเครือข่ายคณะทำงานเสริมสร้างความเข้มแข็งองค์กรชุมชน อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน บอกว่า ดอกไม้ชนิดนี้ คนพม่าเรียกว่าดอกเมียววดี คนเมืองปายเรียกกันติดปากว่า ดอกเมย์เมียว แต่ภาษาไทยใหญ่เรียกว่า ดอกซะเทวะต๊ะ คำว่า “ซะเท” ในภาษาไทยใหญ่หมายถึง เศรษฐี ส่วนคำว่า “วะต๊ะ” หมายถึง วาระ คำว่า “ซะเทวะต๊ะ” มีความหมายว่า วาระแห่งเศรษฐี เมื่อดอกเมย์เมียวผลิบาน ผู้เฒ่าผู้แก่ชาวไทยใหญ่จะนิยมตัดดอกไม้ชนิดนี้ไปไหว้บูชาพระและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

ป้าแหลง เล่าอีกว่า โดยทั่วไปดอกไม้มงคลในความเชื่อของคนไทยใหญ่ มี 2 ชนิด คือ ดอกเมย์เมียว และดอกแก้วเมืองอินทร ที่มักจะผลิบานในช่วงเทศกาลออกพรรษา ดอกแก้วเมืองอินทร ในท้องถิ่นเมืองปายก็หายากใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน ดอกแก้วเมืองอินทร มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “จินจูฉ่าย” คนจีนนิยมเอายอดไปใส่ในเมนูต้มเลือดหมู แต่ชาวไทยใหญ่มีความเชื่อว่า หากนำดอกแก้วเมืองอินทรมาบูชาพระในช่วงเทศกาลออกพรรษา จะได้บุญมาก เมื่อตายไปแล้วจะได้ขึ้นสวรรค์

ป้าแหลง พาเดินไปชมแปลงปลูกดอกเมย์เมียว ที่มีก้านยาว ดอกเล็ก กลีบดอกบางเบา ทั้งสีขาวและสีชมพูกำลังบานสะพรั่งอยู่เต็มสวน แม้สายหมอกยามเช้าจะจางหายไปแล้ว แต่ยังมีหยาดน้ำค้างอาบชุ่มบนกลีบดอกเล็ก ที่สวยน่ารักเหมือนดอกจิปโซ กลีบดอกบอบบาง พลิ้วไหวเวลาต้องลม ช่างสวยงามเกินบรรยายจริงๆ

ป้าแหลง เล่าให้ฟังว่า สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงโปรดดอกไม้ชนิดนี้มาก ทุกครั้งที่เสด็จฯ มาทรงงานที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จะมีดอกเมย์เมียวประดับแจกันไปถวายพระองค์ท่านฯ เสมอ ดอกเมย์เมียวจะเก็บได้นานถึง 10 วัน ดอกตูมจะทยอยค่อยผลิบานออกมาเรื่อยๆ ดอกเก่าก็จะค่อยแห้งเหี่ยวลงไป หากเก็บไว้เป็นดอกไม้แห้งใช้ประดับบ้านเรือนก็สวยแปลกตาน่าชม

การปลูก-ดูแล
ดอกเมย์เมียวจะเริ่มผลิบานเฉพาะช่วงฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนธันวาคมไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ ป้าแหลง บอกว่า ขั้นตอนการปลูกดอกเมียววดีทำได้ง่ายๆ ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม จะเริ่มนำเมล็ดพันธุ์เมย์เมียว ออกมาหว่านในแปลงเช่นเดียวกับการปลูกผักกาด เปิดน้ำฉีดเช้า-เย็น แค่พอหน้าดินชุ่มชื้นเท่านั้น หากปีไหนโชคร้าย เจอฝนตก ต้นเมย์เมียวก็เสี่ยงเจอปัญหาเชื้อราเข้ารบกวน หากปีไหนไม่เจอฝนตก ก็เจริญงอกงามด้วยดี

เมล็ดพันธุ์ดอกเมย์เมียวจะงอกออกเป็นต้นกล้าเล็กๆ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ และค่อยเจริญงอกงามอย่างเต็มที่ในระยะเวลาประมาณ 75 วัน หลังจากเบ่งบานอย่างเต็มที่แล้วก็จะค่อยแห้งเหี่ยวลง ป้าแหลง จะปล่อยให้ดอกเมย์เมียวแห้งเหี่ยวคาต้นประมาณ 1 เดือน จึงค่อยเก็บดอกแห้งไว้ทำพันธุ์สำหรับปลูกขยายพันธุ์ในปีต่อไป

เทคนิคสำคัญในการเก็บรักษาพันธุ์ดอกเมย์เมียวของป้าแหลงคือ ห้ามเก็บใส่ในขวดพลาสติกอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไม่งอก ป้าแหลงจะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ในขวดแก้วเท่านั้น วิธีนี้สามารถรักษาคุณภาพเมล็ดพันธุ์ได้นาน 1-2 ปี หากเก็บดอกเมย์เมียวที่แห้งแล้วมาลองบีบบริเวณช่อดอก จะเจอเมล็ดพันธุ์สีดำ ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดแมงลักจำนวนมาก ป้าแหลง แบ่งปันเมล็ดพันธุ์ดอกเมย์เมียวให้เกษตรกรที่เป็นเครือข่ายได้ร่วมกันปลูกอนุรักษ์สายพันธุ์ดอกเมย์เมียวให้เป็นมรดกแก่แผ่นดินเมืองปาย

ทุกปีจะมีแม่ค้าดอกไม้จากจังหวัดเชียงใหม่มารับซื้อดอกเมย์เมียวถึงสวนป้าแหลง ในราคากิโลกรัมละ 500 บาท สำหรับเนื้อที่ปลูก 1 แปลง ขนาด 8 เมตรx 60 เซนติเมตร เมื่อเก็บดอกเมย์เมียวออกขายจะมีรายได้สูงถึงแปลงละ 20,000 บาท ทีเดียว ป้าแหลงบอกว่า ชาวไทยใหญ่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและเชียงใหม่นิยมใช้ดอกเมย์เมียวจัดพุ่มดอกไม้มงคลถวายพระหรือมอบให้เป็นของขวัญให้กับผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ เพราะความหมายของชื่อ ซะเทวะต๊ะ ที่แปลว่า ดอกไม้เศรษฐี เป็นนามมงคลเสมือนเป็นคำอวยพรให้มีโชคลาภทั้งผู้ให้และผู้รับ

ดอกเมียววดี ผลิบานเพียงช่วงสั้นๆ ปีละครั้ง ในช่วงฤดูหนาว ประมาณเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี หากใครสนใจอยากชื่นชมดอกไม้พันธุ์นี้ ป้าแหลงขอเชิญชวนให้แวะเข้ามาเยี่ยมชมได้ที่สวนของป้าแหลง ตั้งอยู่เลขที่ 212 หมู่ที่ 2 ตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน 58130 โทรศัพท์ 081-893-3649 และ 053-698-149

ดอกเมย์เมียว หรือที่เรียกว่า ดอกเมียวเมียว หรือดอกเมียววดี มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Vaccaria pyramidata สกุล Caryophyllaceous ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ พืชล้มลุก ใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยมแคบ ปลายใบแหลม ขนาดประมาณกว้าง 0.5-2 เซนติเมตร ยาว 2-4 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว-ชมพู ผลแห้งแตกได้ขนาดเล็ก เมล็ดขนาดเล็กสีดำ-น้ำตาล ดูจากลักษณะดอกเมย์เมียวที่เป็นไม้ดอกเมืองหนาว คาดว่ามีถิ่นกำเนิดอยู่ในโซนเขตหนาวอย่างยุโรป และถูกนำมาปลูกในภูมิเอเชียตั้งแต่ในสมัยอดีต

คุณโดม วุฒิชัย เคยเขียนเรื่อง “เมย์เมียวในสายหมอก” ตีพิมพ์ในคอลัมน์ “โลกในเม็ดทราย” ของนิตยสาร กุลสตรี คุณโดม ได้รับการบอกเล่าจากไกด์ชาวพม่าว่า ประเทศพม่ามีดอกไม้ชื่อว่า ดอกเมย์เมียว ถูกตั้งตามชื่อเมือง “เมย์เมียว” ซึ่งเป็นเมืองขนาดเล็กแห่งหนึ่งในพม่า อยู่ใกล้ๆ กับเมืองมัณฑะเลย์

เมืองเมย์เมียว มีชื่อเดิมในภาษาพม่าว่า เมือง “ปินอูลวิน” หลังจากพม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ พันเอกเมย์ ฟลาวเวอร์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบอังกฤษ ได้รับมอบหมายให้มาดูแลความสงบเรียบร้อยในประเทศพม่า เนื่องจากผู้พันเมย์ เป็นคนชอบดอกไม้ เขาจึงนำพันธุ์ดอกไม้ในเมืองหนาวเข้ามาปลูกที่เมืองแห่งนี้ ต่อมาเมืองปินอูลวินถูกเรียกว่า เมืองเมย์เมียว หมายถึง เมืองของผู้พันเมย์ และกลายเป็นชื่อดอกไม้พันธุ์เมืองหนาวที่ปลูกในเมืองแห่งนี้

แม้ว่าจะชื่อ ดอกเมย์เมียวเหมือนกัน แต่เมย์เมียวที่ปลูกในพม่ามีลักษณะคล้ายดอกเบญจมาศเล็กๆ แตกต่างจากดอกเมย์เมียวที่พบในจังหวัดแม่ฮ่องสอน อย่างไรก็ตาม คุณโดม มีความเชื่อว่า เมย์เมียวอาจจะใช้เรียกดอกไม้ชนิดต่างๆ ที่ผู้พันเมย์นำมาจากบ้านเกิดเพื่อมาปลูกที่พม่า ต่อมาจึงพากันเรียกชื่อดอกไม้ตามชื่อเมืองเมย์เมียว ที่ปลูกก็เป็นได้ คุณโดม กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “ดอกเมย์เมียว ไม่ได้เป็นของชนชาติใด แต่เป็นดอกไม้ของมวลมนุษยชาติ เพราะดอกไม้มีอิสระเสรีที่จะเติบโตและแพร่พันธุ์ ดอกไม้ไม่เคยหวงความงามไว้เฉพาะสำหรับผู้ปลูกเท่านั้น แต่มันเบ่งบานเพื่อเผยความงามให้แก่ทุกคนที่ได้พบเห็น” เชื่อว่า ผู้อ่านทุกท่านคงจะเห็นด้วยเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ …จริงไหมคะ

จะว่าไป ความโชคดีของสายการเรียนและความสนใจในแต่ละบุคคล นับเป็นพื้นฐานที่ดี ที่สร้างรากฐานของชีวิตได้ดีไม่น้อย เพราะอย่างน้อยนอกจากจะมีพื้นฐานความรู้เฉพาะทางในสิ่งนั้นแล้ว ยังมีความคิดสร้างสรรค์จากความสนใจโดยส่วนตัว นำไปต่อยอดเป็นอาชีพที่แตกต่างและมั่นคงให้กับตนเองและครอบครัว

ดังเช่น คุณมงคล ธราดลธนสาร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด จบการศึกษามาทางด้านพืชผัก ภาควิชาพืชสวน คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพราะความสนใจในงานด้านการคัดสายพันธุ์พืช เมื่อจบออกมาจึงหันหน้าเข้าทำงานตรงสายการเรียน คือ ตำแหน่งนักส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ ทำให้ตลอดระยะเวลาของการทำงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การเก็บเมล็ดพันธุ์ การปรับปรุงพันธุ์ รวมถึงการเดินทางไปส่งเสริมเมล็ดพันธุ์ยังต่างประเทศ ตามตำแหน่งหน้าที่ในบริษัท

จึงเป็นโอกาสเก็บเมล็ดพันธุ์พืชผัก ผลไม้ จากต่างประเทศติดมือกลับมา

ถิ่นฐานที่ตั้งที่พักอาศัยอยู่บนแผ่นดินอีสาน ลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย “เมล่อน” จึงเป็นพืชที่คุณมงคลเลือกปรับปรุงพันธุ์เพื่อนำมาปลูก เพียง 3 เหตุผล ของการเลือกปลูกเมล่อน ก็แปลกแตกต่างจากเกษตรกรรมของเกษตรกรในจังหวัดอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อเมล่อนเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ คุณค่าทางเมล็ดพันธุ์ที่สูงอยู่แล้ว ยิ่งสร้างมูลค่าของเมล่อนให้สูงขึ้นอีก

ปี 2555 เป็นปีแรกของการตัดสินใจลงทุน เริ่มต้นด้วยที่ดินเพียง 4 ไร่ สร้างโรงเรือนเมล่อน 8 หลัง บนเนื้อที่ 2 ไร่ ส่วนอีก 2 ไร่ ยังคงทำนา ปลูกข้าวไว้รับประทานเอง การลงทุนก่อสร้างโรงเรือนและระบบ 8 หลัง เป็นเงินทั้งสิ้นเกือบ 50,000 บาท

โรงเรือนและระบบที่ลงทุนไปในครั้งแรก ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะพบข้อบกพร่องหลายประการ และเมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย พบว่า พลาสติกที่ใช้สำหรับติดตั้งโรงเรือนที่ผลิตในประเทศ มีขนาดความกว้างมากที่สุดเพียง 6 เมตร แต่ขนาดโรงเรือนที่ตั้งใจสร้าง กำหนดขนาดไว้ที่ ความยาว 30 เมตร ความกว้าง 6.2 เมตร ทำให้เกิดรอยต่อ ซึ่งรอยต่อพลาสติกเป็นผลให้เกิดความชื้น ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ จึงศึกษาพบว่ามีพลาสติกที่มีความยาวมากพอทำโรงเรือนตามขนาดที่ต้องการ โดยไม่เกิดรอยต่อ

“พลาสติกที่ทำโรงเรือนสั่งซื้อจากประเทศกรีซ มีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแบ่งครึ่งม้วนพลาสติก จะได้ความกว้าง 6.2 เมตร และความยาว 30 เมตร พอดีกับขนาดโรงเรือนที่ตั้งใจ มีความเหนียวมาก สามารถทานแรงลมได้มากถึง 80 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ไม่ก่อให้เกิดตะไคร่น้ำหรือปรสิต ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมากับเมล่อน ส่วนโครงสร้างเดิมเปลี่ยนจากเหล็กเป็นแป๊บประปา ซึ่งไม่เป็นสนิม และทั้งโครงสร้างและระบบโรงเรือนแบบที่ใช้อยู่ปัจจุบัน มูลค่าโรงเรือนละประมาณ 100,000 บาท แต่อายุการใช้งานนานถึง 10 ปี”

พื้นฐานเดิมที่เรียนรู้มาทางด้านการเกษตร ทำให้คุณมงคลรู้จักการคัดเมล็ดพันธุ์ นำมาปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น และทำให้ได้เมล่อนสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา คือ สายพันธุ์ซันสวีท และ สายพันธุ์หยกเทพ

ซันสวีท เป็นเมล่อนเนื้อสีส้ม ข้อยืด โตไว ทำให้ดีดหนีเพลี้ยได้ไว รสชาติหวาน กรอบ มีความหวานโดยสายพันธุ์ 14-15 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 18 บริกซ์

หยกเทพ เป็นเมล่อนเนื้อสีเขียว คล้ายเมล่อนญี่ปุ่น ข้อสั้น โตช้า ผลใหญ่ น้ำหนักผล 2-3 กิโลกรัม รสชาติหวาน หอม ความหวานโดยสายพันธุ์ 13-14 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 16 บริกซ์

จากการสำรวจตลาดผู้บริโภค พบว่า สมัครแทงบอลออนไลน์ ผู้บริโภคระดับกลางและระดับสูงต้องการเมล่อนเนื้อสีเขียวมากกว่า ดังนั้น จึงมีข้อแนะนำสำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกเมล่อนในเชิงพาณิชย์ ควรคำนึงถึงตลาดที่จะส่งจำหน่ายด้วย

โรงเรือนมาตรฐาน มีขนาดกว้าง 6.2 เมตร ยาว 30 เมตร ปลูกได้ 350 ต้น ในแต่ละต้นเมื่อให้ผล จะปลิดทิ้งเหลือเพียง 1 ผลต่อต้น น้ำหนักต่ำสุดของผล 1.5 กิโลกรัม น้ำหนักมากที่สุดของผล 3 กิโลกรัม เฉลี่ยน้ำหนักผลอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม

ปัจจุบัน เมล่อน เป็นพืชหลักของเทพมลคล ฟาร์ม แต่ละสัปดาห์ต้องผลิตส่งห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 600 กิโลกรัม แต่ความสามารถในการผลิตต่อสัปดาห์ สามารถเก็บผลได้มากถึง 5 ตัน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่มีทั้งพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อรับซื้อไปขายยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วังน้ำเขียว ฉะเชิงเทรา ในราคาส่งกิโลกรัมละ 85 บาท และอีกจำนวนหนึ่งยังคงเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ด้วย

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ต้องการสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว คุณมงคล แนะนำว่า ควรเริ่มจากโรงเรือน 3-5 หลัง จำนวนผลผลิตต่อโรงเรือนเฉลี่ย 200 ต้น สร้างรายได้เฉลี่ย 40,000 บาท/3 เดือน

นอกเหนือจาก เมล่อน ซึ่งเป็นพืชหลักในการปลูกสร้างรายได้และพัฒนาพันธุ์ ของเทพมงคล ฟาร์ม แล้ว คุณมงคล ยังสนใจพืชผักอีกหลายชนิด เช่น แตงกวา บวบงู มะเขือเทศเชอรี่สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งพืชผักที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ หากประสบความสำเร็จ เทพมงคล ฟาร์ม ก็พร้อมเปิดจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจทั่วไป

เทพมงคล ฟาร์ม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2555 ซึ่งนอกจากจะปลูกเมล่อนเชิงพาณิชย์ การปรับปรุงพันธุ์สำหรับพืชผักอีกหลายชนิด การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แล้ว ยังเป็นสถานศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับคนรักเมล่อน โดยเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตร ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เกษตรไทยไม่จน” จัดให้มีการอบรมการปลูกเมล่อน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ยังผลให้เทพมงคล ฟาร์ม เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แม้จะเปิดดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ตาม