เพิ่มรสหวาน ด้วยขี้แดดนาเกลือขี้แดดนาเกลือ เป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับ

เพิ่มความหวานของมะพร้าวน้ำหอม ที่อาจารย์ประทีปแนะนำให้เกษตรกรมือใหม่ลองนำไปใช้ เพราะขี้แดดนาเกลือ มีส่วนประกอบของแมกนีเซียม โพแทสเซียม และสาหร่ายทะเลที่ให้ฮอร์โมนไซโตไคนินบำรุงไม้ผลอยู่ส่วนหนึ่ง ขี้แดดนาเกลือราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่ายบริเวณนาเกลือ ในจังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร โดยหว่านใส่รอบทรงพุ่มไม้ผล เฉลี่ยต้นละ 3 กิโลกรัม จะยิ่งเพิ่มรสชาติความหวานให้แก่ผลไม้

หากผู้อ่านท่านใด มีข้อสงสัยเกี่ยวกับการปลูกดูแลมะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง หรือไม้ผลอื่นๆ ให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับ ผมไม่ใช่หนุ่มเมียนมานะ อย่าอ่านแต่ชื่อที่ขึ้นต้นด้วย “มัง” แม้ว่าอาจจะพบผมได้ในประเทศพม่าบ้าง แต่ส่วนใหญ่ผมจะชอบอยู่ที่ญี่ปุ่น หรือเขตร้อนอินโดนีเซียมากกว่า ตามที่ผมบอกว่าไม่ยึดติดถิ่นที่ จนถูกหาว่าผมเป็น “ไม้ไร้ถิ่น” เพราะสามารถขึ้นได้ทุกสภาพภูมิประเทศ

เรื่องที่ผมย้ำว่าไม่เป็น “หม่อง” นุ่งโสร่ง เพราะชื่อผมขึ้นต้นด้วยมัง ใครๆ จึงคิดว่าผมมาจากพม่า เนื่องจากอ่านพงศาวดารแล้วพบชื่อแบบนี้มากมาย เช่น มหาอุปราช “มังกะยอชะวา” (พม่า ออกเสียง เมงเยจอสวา) หรือ ชื่อ มังสามเกียด บุตรชายของพระเจ้านันทบุเรง ทายาทแห่งอังวะ “มังกะยินโย” ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอู (2077) “มังกะยอดิน” กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูของพม่า (2216-2241) นอกนั้นที่เราได้ยินชื่อ “พระเจ้ามังระ” และ “มังจาปะโร”

ในเมืองไทยคนทั่วไปเรียกผมว่า “ทะโล้” ซึ่งทางภาคเหนือโดยเฉพาะชาวไทยภูเขาให้ความนับถือผมมาก จัดให้ผมอยู่ในพรรณไม้ศักดิ์สิทธิ์ไม่ตัดทำลาย ไม่นำไปใช้เหมือนไม้ทั่วไป แต่ผมรู้ความจริงแล้วคงจะเป็นเพราะเนื้อไม้ของผมมีเสี้ยนคันมาก มีน้ำยางที่เป็นพิษ พวกเขาจึงไม่นิยมตัดไปใช้ประโยชน์ใดๆ ทั้งๆ ที่ประโยชน์เชิงสมุนไพรของผมก็มีมากมาย

โดยธรรมชาติ หุ่นร่างทรงพุ่มผมสูงใหญ่ บางต้นสูงได้มากกว่า 30 เมตร ไม่ผลัดใบ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลปนดำ ขรุขระ แตกเป็นร่องลึกยาว ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างเหมือนมีเคลือบขาว แต่ใบอ่อนจะมีสีออกแดงๆ ผมออกดอกสีขาว บานสะพรั่งในฤดูร้อน ออกเป็นดอกเดี่ยว หรืออาจจะเป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง แต่กลีบดอกอาจมีสีชมพูหรือแดง มีเกสรเพศผู้สีเหลืองสด บานได้นาน 2-3 วัน เมื่อเป็นผลแห้งจะแตกเป็นพูตามยาว มีเมล็ด 1-2 เมล็ดกลมๆ เพาะพันธุ์ได้ หรือตอนกิ่งก็ได้

คุณค่าเชิงสมุนไพรของผม นอกจากที่ชาวไทยภูเขานับถือในด้านความเชื่อทางจิตวิญญาณ แต่ประโยชน์อื่นผมก็เป็นที่รู้จักมากมายในตำรา ก็ใช้ดอกแห้งแช่หรือชงน้ำให้สตรีที่คลอดบุตรใหม่ๆ ดื่มต่างน้ำแก้โรคขัดเบา โรคชักลมบ้าหมู ต้นและกิ่งอ่อนแก้คลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งทำน้ำหยอดหูแก้ปวด ส่วนเปลือกต้นก็ใช้ทำเหยื่อเบื่อปลา แต่ที่ผมรู้สึกว่าดอกสวยขัดแย้งกับบุคลิกผมก็คือ ดอกดก สีสวย กลิ่นหอม และเปลือกต้นหอมนี่แหละที่เขาใช้บดเป็นผง นำไปผสมเป็นธูปหอม เดี๋ยวนี้เขาปลูกผมไว้ตามข้างทางหลวงหลายสายแล้วนะครับ

เพียงชื่อ “มัง” ไม่ใช่ “หม่อง” พอมองดอกแล้วน่ากลัดแซมผมกับสาวพม่านัยน์ตาแขก แต่ถ้าเผลอเอาน้ำยางทาแก้มแทน “ทานาคา” รับรอง…แก้มคันคะเยอผื่นขึ้นคะเย้อแน่นอน

ในพื้นที่ 34 ไร่ จ่าก้อง หรือ จ.ส.ท. สุทิน ทองเอ็ม สามารถจัดสรรเนื้อที่เหล่านั้นทำไร่นาแบบผสมผสานได้อย่างดีเยี่ยม จากจุดเริ่มต้นที่พ่อแม่ทำนาเพียงอย่างเดียวมาตลอด จนเมื่อจ่าก้องจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็เริ่มเลี้ยงไก่สวยงามขาย ต่อมาเริ่มเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น เป็ดและไก่ ส่งให้กลุ่มปศุสัตว์ เริ่มทำสวนต่อจากปศุสัตว์หลังจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยเริ่มต้นจากการทำสวนไผ่ เพราะไม่ต้องดูแลมาก เดิมทีพ่อกับแม่มีที่นาเพียง 22 ไร่ ต่อยอดจนกลายมาเป็น 34 ไร่ ในปัจจุบัน

ได้รับรางวัล ปี 2560 เป็นเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ปี 2561 ได้รางวัลภูมิปัญญาศึกษาด้านเกษตร และ ปี 2562 ได้รางวัลปราชญ์ดีเด่นของ กศน. (การศึกษานอกสถานที่) ระดับประเทศ

จ.ส.ท. สุทิน เริ่มทำกิจกรรมเต็มรูปแบบเมื่อปี 2545 ถูกปลูกฝังและโตมากับการเกษตร แต่มีความคิดต่างจากพ่อกับแม่ที่เดิมทีทำนาเพียงอย่างเดียว และมีความคิดว่าถ้าทำหลายๆ อย่าง จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นยิ่งกว่านี้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำไร่นาสวนผสมของจ่าก้อง เมื่อก่อนที่บ้านปลูกข้าว กข 43 ได้ผลไม่ค่อยดี เพราะระบบชลประทานไม่ดี ชาวบ้านต่างไม่ขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ เพียงแต่รอน้ำฝน จ่าก้องจึงมีความคิดที่จะขุดบ่อน้ำขึ้นมาเพื่อเก็บน้ำ บ่อน้ำแบ่งออกเป็น 2 บ่อ โดยบ่อแรกเป็นพื้นที่สูงไว้เก็บน้ำ มีเนื้อที่ทั้งหมด 1 ไร่ บ่อที่สองไว้เลี้ยงปลา มีเนื้อที่ 1 ไร่ เช่นกัน น้ำที่ใส่แปลงนาเมื่อมีน้ำล้นจะมีบ่อดักน้ำอีก 1 บ่อ

ด้านการทำปศุสัตว์และไก่สวยงามเมื่อปีที่ผ่านมา ไก่สวยงามเริ่มมีคนนิยมลดน้อยลง จึงเลี้ยงไว้เฉพาะบางส่วน มีหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่เหลืองหางขาว ไก่น้ำแดง แต่จะมีเฉพาะพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เท่านั้น แรกๆ รายได้หลักมาจากไก่สวยงามเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่หลังๆ มานี้คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมจากการซื้อไก่สวยงามมาเป็นซื้ออาหารเพื่อบริโภคและช่วงนั้นเป็นช่วงที่มีผลผลิตที่ได้จากไผ่ออกมาพอดี

ไผ่ ปลูกเพียงแค่ 3 ไร่ เป็นไผ่กิมซุ่ง การขายไผ่ไม่ได้ขายเป็นหน่อ แต่เลือกที่จะตัดยอดมาทำเป็นยอดหน่อไม้ดองแทน หากจะไม่ขายหน่อไม้ดองและหน่อไม้สด แต่จะขายยอดหน่อไม้และกิ่งชำของไผ่ โดยจะปล่อยให้ไผ่สูง ประมาณ 7 เมตร จะใช้ไม้ขอชักยอดลงมา จุดที่แตกต่างจากหน่อไม้ธรรมดาก็คือ หน่อจะเล็กกว่าหน่อไม้ปกติ แต่จะมีความกรอบที่มากกว่า

การดองยอดหน่อไม้นั้น จะใช้ยอดมาดองน้ำเกลือ หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขายเป็นชุดพร้อมกับแพ็กเกจใส่ตะกร้าเครื่องจักสาน ในราคาขวดละ 15 บาท ข้อดีของการตัดยอดหน่อไม้ขายนั้นคือ เมื่อตัดยอดแล้วจะได้ลำไม้ไผ่และลำไผ่ สามารถแตกกิ่งที่นำกิ่งไปชำและขยายพันธุ์เพื่อขายต่อไปได้อีก ลำสามารถเจาะน้ำไผ่ได้ทุกคืน ไผ่จะให้น้ำตอนกลางคืนและมีโมเลกุลเล็กกว่าน้ำทั่วไป

ซึ่งผลแล็บจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ชี้ว่า ในน้ำไผ่ 1 ขวด จะมีโซเดียม ประมาณ 40% มีแคลเซียมธาตุเหล็ก น้ำไผ่จะอยู่ในตระกูลของน้ำแร่ ถ้าเปิดขวดแล้วควรดื่มภายใน 1-2 ชั่วโมง เพราะคุณค่าทางโภชนาการจะค่อยๆ ระเหยไป การควบคุมตั้งแต่กระบวนการการเก็บ ควบคุมความสะอาดตั้งแต่วิธีการเจาะไผ่ โดยมีคณะเทคนิคการแพทย์มาให้คำแนะนำและสอนกระบวนการเก็บที่ควบคุมเชื้อโรค

เมื่อลำไผ่ที่มีอายุ 1-2 ปีขึ้นไป ยังสามารถนำมาเผาถ่าน ทำสบู่ชาโคล และนำไผ่มาแปรรูปทำเครื่องจักสานได้อีกด้วย เครื่องจักสานเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นเล็กๆ เช่น ที่รองแก้ว ตะกร้า ไผ่กิมซุ่งจะออกทั้งปี

ด้านการประมง เริ่มต้นด้วยการเลี้ยงกบในกระชัง กลุ่มคนเลี้ยงกบนั้นจะมีการลงหุ้นและเปิดบัญชีกลุ่มเพื่อรวบรวมเงินใช้เป็นกองกลางในการลงทุน กบ 1 รอบ จะจับได้ประมาณ 1.2-1.3 ตัน ในกระชังกบจะแบ่งกันอย่างชัดเจน โดยมีชื่อของผู้เลี้ยงติดไว้หน้ากระชัง กบจะเลี้ยงรวมในบ่อเดียวกันและจำหน่ายพร้อมกันในรูปแบบของการค้ากลุ่ม โดยการซื้อพันธุ์กบมาจากอีกหนึ่งหมู่บ้านที่เพาะพันธุ์ไว้แล้ว ปล่อยกบล็อตละ 15,000 ตัว เลี้ยงประมาณ 2 เดือนครึ่ง ถึง 3 เดือน ทุนต่อ 1 รุ่น ประมาณ 80,000-90,000 บาท ขายส่งหน้าบ่อราคาอยู่ที่ กิโลกรัมละ 50 บาท กลุ่มผู้ซื้อจะเป็นกลุ่มพ่อค้าที่ทำข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งทำการค้าขายร่วมกันมาได้ 4-5 ปีแล้ว ต่อมาเริ่มมีการเลี้ยงปลาควบคู่ไปด้วย แต่จะเลี้ยงไม่มากนัก เป็นปลาจำพวกปลาดุก ปลาหมอ ไว้ขายให้กับคนในชุมชน จะเลี้ยงในบ่อเล็กๆ บ่อกว้างประมาณ 4 เมตร ยาว 7 เมตร ลึก 1.20 เมตร เพื่อที่จะสะดวกในการจับได้ง่าย โดยราคาขายนั้นจะถูกกว่าท้องตลาดถึง 10 บาท

การทำนาอินทรีย์ ปลูกข้าว 1 ไร่ ทำระบบเกี่ยวด้วยมือ สีด้วยการตำและมีเครือข่ายสมาชิกที่นำกลับไปทำเองที่บ้านทั้งหมด 14 ราย ต่อมาได้พัฒนาในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีการสร้างกลุ่มรถไถนำเที่ยวในชุมชน จุดเด่นคือการนั่งชมบรรยากาศสวนไผ่ พร้อมกับดื่มน้ำไผ่ไปด้วย มีการพัฒนาในเรื่องของการแปรรูปสมุนไพร นำตะไคร้หอมไปแปรรูปเป็นน้ำมันตะไคร้ ยากันยุง และกำลังจะทำน้ำยาล้างจานจากตะไคร้หอม

นอกจากนี้ พื้นที่นี้ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ มีการอบรมหลักสูตรเรื่องการทำประมง หลักสูตรเกษตรจุลินทรีย์ การทำน้ำหมัก การแปรรูปและการขยายพันธุ์พืชแก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย สินค้าเด่นจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มาจากไผ่ เช่น ไผ่แปรรูป เครื่องจักสาน

อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากทำไร่ ทำนาแล้ว ยังมีการปลูกสะละพันธุ์จากประเทศอินโดนีเซีย รู้จักกันดีทางภาคใต้ว่า สะละน้ำผึ้ง

แม่เปิ้ล-พ่อเจริญ ศรีหาญ อยู่บ้านเลขที่ 86 หมู่ที่ 1 บ้านโนนมาลี ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด โทร.097-234-8433 เป็นเกษตรกรผู้ปลูกสะละน้ำผึ้งได้ผลดี

แม่เปิ้ล เล่าวิธีการปลูกให้ฟังงว่า ขุดหลุมกว้าง ยาว ลึก 50 เซนติเมตร ผสมดินปลูกปุ๋ยอินทรีย์ : ดินร่วน อัตราส่วน 3 : 1 ปลูก 1 ต้น มีการแตกหน่อ ให้ไว้ไม่เกิน 4 ต้น ระยะปลูก 2.50×2.50 เมตร ได้ประมาณ 256 ต้น/ไร่ ระยะเวลา 3 ปี ได้ผลผลิต 40-50 กิโลกรัม/ต้น หน้าสวนราคา 100 บาท/กิโลกรัม สะละ 1 ต้น ทำเงิน 4,000-5,000 บาท มากกว่าทำนาข้าว 1 ไร่ สะละเป็นพืชต้องการความชื้นสูง ห้ามขาดน้ำ

สะละ อำเภอหนองพอก ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม-ธันวาคม จะสุกแก่ช่วงเดือนเมษายนของทุกปี ช่วงสะละสุกแก่ เดินทางเข้าในสวนหอมกรุ่นตลอดสวน รสชาติ “สะละ” อำเภอหนองพอก อร่อย หอม หวาน ชุ่มฉ่ำ ปัจจุบัน สวนแม่เปิ้ลเพาะกล้าสะละจำหน่าย ราคามิตรภาพ มั่นใจเชื่อถือได้ ติดต่อได้ ไปท่องเที่ยวเชิงเกษตรและวัฒนธรรม วัดป่าผาน้ำทิพย์ นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ พระมหาเจดีย์ศรีชัยมงคล ผาหมอกมิวาย แวะชิม “สะละ” รสชาติดี แห่งดินแดนภูเขาเขียว เมืองหนองพอก เมืองแห่งอนาคต ยินดีต้อนรับ

คุณชาญศักดิ์ หงษ์ทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอหนองพอก กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า สะละ เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีมากมายหลายกว่า 30 สายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่นิยมรับประทานมากที่สุดคือ สะละพันธุ์อินโดน้ำผึ้ง พันธุ์ปนโดะห์ (Salak pondoh) จากเมืองยอร์ก ยาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีรสหวาน กลิ่นหอม น่ารับประทาน และสะละพันธุ์บาหลี (Salak Bali) จากเกาะบาหลี ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว เนื้อเยอะ ลักษณะของผลสะละเป็นรูปทรงรียาว ผลอ่อนเป็นสีน้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงอมน้ำตาล เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกัน และบนผลมีขนแข็งสั้นคล้ายหนาม

คุณชาญศักดิ์ บอกว่า ต้นสะละ จะมีหนามแข็งแหลมออกจากก้านใบ ดอกแยกเพศสีน้ำตาล โดยสะละออกผลเป็นทะลายเรียกว่า “คาน” ซึ่งในแต่ละคานก็จะมีทะลายย่อย ซึ่งเราจะเรียกว่า “กระปุก”

ประโยชน์ของสะละ แก้อาการกระหายน้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย สะละเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันบำรุงสมอง เสริมสร้างความจำ (โพแทสเซียมและเพกทิน) บำรุงและรักษาสายตา บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียมและฟอสฟอรัส) บำรุงและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด บำรุงเลือด ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ป้องกันอาการหวัด บรรเทาอาการไอ ใช้เป็นยาขับเสมหะ (เนื้อสะละ)

ป้องกัน รักษา และบรรเทาอาการของโรคท้องร่วง ในการย่อยอาหาร ลดกรดในกระเพาะ ป้องกันอาการท้องผูก ในต่างประเทศมีการนำใบของต้นสะละมาทำเป็นชาผสมกับน้ำผึ้ง เพื่อใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง ใช้รับประทานเป็นผลไม้ ทำน้ำผลไม้ สะละเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก ปกติแล้วนิยมรับประทานเป็นผลไม้สด สะละลอยแก้ว ใช้ทำน้ำผลไม้ หรือนำไปสกัดกลิ่นเพื่อใช้แต่งกลิ่นอาหาร เป็นต้น

สำหรับสายพันธุ์สะละที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น สะละเนินวง (ผลหัวท้ายเรียว สีส้มอมน้ำตาล มีหนามยาว ผลดิบรสฝาด ส่วนผลสุกมีรสหวาน หอม), สะละหม้อ (ผลยาว ปลายแหลมเป็นจะงอย และเปลือกมีสีแดงเข้ม), สะละสุมาลี (ผลป้อมสั้น เนื้อสีส้มคล้ายระกำ แถมทรงต้นยังคล้ายระกำอีกด้วย)

สะละ กับ ระกํา ต่างกันอย่างไร … ผลระกำ จะออกเป็นทะลาย ลูกจะป้อมๆ กลมๆ อ้วนๆ เปลือกหุ้มผลเป็นเกล็ดสีน้ำตาลหรือดำ ถ้าแก่ผลจะเป็นสีแดง 1 ผล จะมีกลีบ 2-3 กลีบ เนื้อน้อย มีสีเหลืองอมส้ม มีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่ มีหนามเยอะและยาวกว่าหนามสะละ

ส่วน สะละ ผลจะมีสีคล้ำออกน้ำตาล หนามที่เปลือกไม่แข็งเท่าระกำ มีผลยาวกว่า เนื้อเยอะกว่า เนื้อเป็นสีเหลืองอ่อน ผลมี 1-2 กลีบ เมล็ดเล็กกว่าระกำ มีรสชาติหวานกว่า การแกะรับประทานก็ง่ายกว่าระกำ และลักษณะของต้นสะละทางใบจะสั้นกว่าต้นระกำ ลำต้นก็เตี้ยกว่าด้วย (ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสายพันธุ์ด้วย)

วิธีปอกเปลือกสะละ เทคนิคง่ายๆ ก็คือ ต้องปอกเปลือกจากปลายหางแล้วบิดเฉียง จะทำให้ผลสะละที่อยู่ด้านในไม่สกปรกด้วยหนามของเปลือกสะละ และวิธีนี้ก็ทำให้ไม่โดนหนามของเปลือกสะละทิ่มหรือตำมือด้วย ง่ายๆ

ประเทศไทยใช้ปุ๋ยทุกวันนี้ปีหนึ่ง 4-5 หมื่นล้าน ถ้าเราลดปุ๋ยในนาข้าวได้เมื่อไหร่ ก็คือการลดใช้ปุ๋ยในประเทศได้มาก นอกจากนี้พบว่า ในฟางข้าว ประมาณ 60 ล้านไร่ ที่ทำนาอยู่ ปุ๋ยที่อยู่กับฟางข้าวมีมูลค่า 3-4 หมื่นล้าน แต่เราเผาทำลายไปเกือบครึ่งหนึ่ง

คิดง่ายคร่าวๆ ว่า ในฟางข้าว 1 ไร่ เป็นมูลค่าปุ๋ย NPK เป็นพันบาท ถ้าเราไม่เผาก็ต้องหาทางเลือกให้ชาวบ้าน จริงๆ สาเหตุที่ชาวบ้านเผา หนึ่ง ไม่รู้จะจัดการฟางยังไงให้มันไว เพราะทุกวันนี้ปลูกข้าว 2 ปี 5 รอบ และจากการพัฒนาพันธุ์ที่ดีเกินไป ปลูกยังไงก็ออกดอก นี่เป็นข้อดี แต่ข้อเสียคือสภาพแวดล้อมในประเทศเสียหายมาก ศัตรูพืชก็ระบาด สอง ถ้าใช้วิธีปกติ คือ ไถกลบ อย่างน้อยต้องใช้เวลา 40-60 วัน

ถ้าใช้วิธีไถกลบแล้วปลูกเลย ตอซังจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่มีอยู่ทั่วไปในธรรมชาติ ซึ่งไม่สามารถจะย่อยสลายได้ในระยะเวลาอันสั้น ปลูกข้าวไปก็จะเหลือง ไม่โต แคระแกร็น อาการนี้เรียกว่า อาการข้าวเมา เมาตอซัง

ดร.กฤษณพงศ์ ศรีพงษ์พันธุ์กุล รองอธิบดีกรมการข้าว ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการนำฟางข้าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ว่า ประเทศไทยมีพื้นที่การปลูกข้าว ทั้งฤดูนาปีและนาปรังคร่าวๆ กว่า 66 ล้านไร่

ในการทำนา 1 ไร่ จะให้ฟางข้าวประมาณ 800 กิโลกรัม ซึ่งประกอบด้วย ปริมาณธาตุไนโตรเจน ประมาณ 5 กิโลกรัม ฟอสฟอรัส ประมาณ 1 กิโลกรัม และโพแทสเซียม ประมาณ 11 กิโลกรัม นอกจากนี้ ยังมีจุลธาตุที่เป็นประโยชน์จากการเจริญเติบโตของต้นข้าวอีกไม่น้อย และจากการประมาณการในแต่ละปีประเทศไทยมีฟางข้าวและตอซังข้าว ไม่น้อยกว่า 50 ล้านตัน

ถ้าหากชาวนาในบ้านเราไม่เผาหรือทำลายฟางข้าว บาคาร่าออนไลน์ แต่ให้ไถกลบฟางและตอซัง หรือไถพรวนตีหมักลงดิน ภายหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว จะทำให้ลดการใช้ปุ๋ยลงได้ส่วนหนึ่ง ถ้าหากดูจากตัวเลข ฟางและตอซังข้าวจำนวน 50 ล้านตัน จะเป็นธาตุไนโตรเจนประมาณ 330,000 ตัน ธาตุฟอสฟอรัสประมาณ 47,000 ตัน ธาตุโพแทส เซียมประมาณ 720,000 ตัน กำมะถัน ประมาณ 2,400 ตัน และธาตุอาหารอื่น ๆ ถ้าคิดเป็นตัวเลขประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือประมาณ 105 บาทต่อไร่ ซึ่งจะช่วยให้ชาวนาลดค่าปุ๋ยลงได้ทันที

แต่สิ่งสำคัญถ้าหากชาวนาไม่เผาฟาง ตอซัง จะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ไม่ไปเร่งให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น และจะช่วยลดอุบัติเหตุจากควันไฟ นอกจากนี้ฟางข้าวที่ไถกลบหรือไถพรวน จะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ดีที่สุดด้วย

โดยมีวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ช่วยย่อยสลายฟางให้เร็วขึ้น โดยให้ปฏิบัติดังนี้

ช่วงก่อนที่จะเกี่ยวข้าว 7-10 วัน ให้ทำน้ำหมัก พด. 2 ทำง่าย ๆ โดยการใช้กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม ผสมกับรำหยาบ 15 กิโลกรัม ใส่ถังหมักพลาสติกความจุ 100 ลิตร แล้วเติมน้ำสะอาดลงในถังหมักพลาสติก ให้ได้ปริมาณ 100 ลิตร จากนั้นใส่เชื้อจุลินทรีย์ พด. 2 (ขอได้จากสถานีพัฒนาที่ดินทุกแห่ง) ซึ่งบรรจุอยู่ในซอง 1-2 ซอง ลงในถังหมัก ใช้ไม้คนให้เข้ากันดีแล้วปิดฝาถังหมัก หมักทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 7-10 วัน เพื่อเพิ่มปริมาณเชื้อจุลินทรีย์น้ำหมัก จะใช้การได้โดยสังเกตจากการเปิดฝาถังหมักจะพบว่ามีเส้นใยเชื้อราจำนวนมาก

ซึ่งก็พอดีเกี่ยวข้าวเสร็จ หากชาวนารีบเตรียมแปลงก็ให้เอาน้ำหมักที่ใช้การได้แล้วนี้ เทใส่ในนาพร้อมกับการเอาน้ำเข้านาที่เกี่ยวแล้ว ในอัตราการใช้น้ำหมัก 10 ลิตร ต่อไร่ น้ำที่ไหลเข้านาจะกระจายน้ำหมักที่มีเชื้อจุลินทรีย์ที่มีความสามารถในการย่อยสลายฟางข้าวได้ดีไปทั่วแปลงนา ให้แช่น้ำหมักฟางและตอซังข้าวในระดับท่วมตอซังข้าว โดยแช่หมักนานประมาณ 10-14 วัน ฟางและตอซังข้าวจะเปื่อย สามารถไถพรวนดินตีหมักฟางข้าวได้อย่างสบาย ๆ ด้วย

วิธีการอย่างนี้ชาวนาจะสามารถทำนาได้มากรอบขึ้น และจะสามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้ส่วนหนึ่ง และยังส่งผลดีต่อการป้องกันกำจัดข้าววัชพืช ข้าวเรื้อ ข้าวค้างฤดู หรือเมล็ดวัชพืชได้อีกทางหนึ่งด้วย