เพิ่มเติมเรื่องการปลูกผัก ก็ไปคุยกับปราชญ์ชาวบ้านด้านการปลูกผัก

อยากรู้เรื่องการปลูกมะพร้าวน้ำหอมและแก้วมังกร ก็ไปคุยกับปราชญชาวบ้านที่อำเภอหนองจิก อยากรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์ก็ไปคุยกับปราชญชาวบ้านที่อำเภอแม่ลาน เพื่อนำความรู้เรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริฯ ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และพัฒนาต่อยอดอาชีพด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

การทำเกษตรในปัจจุบันไม่ได้เน้นเพื่อผลิตสร้างอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการนำองค์ประกอบหลากหลายอย่างมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ทำให้สวนหรือพื้นที่ทำการเกษตรนั้นๆ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น สวนดูมีมิติมุมมองเพลิดเพลินสบายใจ ยามที่ได้อยู่ท่ามกลางในสิ่งที่ทำ จึงเกิดเป็นการสร้างผลผลิตและความสุขไปพร้อมๆ กัน

คุณพิทักษ์ สุภนันทการ เจ้าของสวนฟิวชั่นฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีแนวความคิดที่อยากจะสร้างสวนเป็นเชิงไร่นาสวนผสม โดยให้ทุกอย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เช่น ในยามที่ผลผลิตอีกชนิดราคาตกต่ำก็ยังมีพืชอีกหลายๆ ชนิดจำหน่ายได้ราคา ซึ่งพืชที่ปลูกเพื่อสร้างรายได้ระยะยาวนั้นคุณพิทักษ์เลือกปลูกอินทผลัม

ต่อยอดธุรกิจได้ทุกด้าน

คุณพิทักษ์ เล่าให้ฟังว่า ได้เลือกมาทำงานทางด้านการเกษตรเพื่อเป็นอาชีพเสริม เพราะในช่วงนี้เขายังมีงานประจำอยู่ การทำอาชีพเสริมในครั้งนี้ได้มองและเตรียมการไปภายหน้าแล้วว่า เมื่อเกษียณจากงานจะลงมาทำงานทางด้านนี้โดยตรง เพราะถ้าไม่ทำตั้งแต่ตอนนี้ ออกมาทำในช่วงหลังเกษียณเลย พละกำลังและระยะเวลาอาจจะไม่ทัน จึงจำเป็นต้องเริ่มทำในช่วงนี้ควบคู่กับงานประจำ

“สมัยก่อนที่ดินนี้เป็นที่นารกร้าง ช่วงนั้นผมก็ทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ พอมีโอกาสมาที่นี่ ก็เลยคิดว่า เราต้องกลับมาพัฒนาและสร้างให้ที่นี่เป็นเหมือนต้นแบบ การทำเกษตรที่สามารถต่อยอดทำได้ทุกเรื่อง พร้อมทั้งมีการสร้างสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้การทำสวนของผมตอบโจทย์ในทุกๆ เรื่อง ที่ผสมผสานให้ทุกอย่างมีอยู่ภายในสวน พอผมคิดได้แบบนี้แล้วก็ได้เริ่มวางแผนและลงมือทำอย่างจริงจัง ในช่วง ปี 2554 เป็นต้นมา” คุณพิทักษ์ เล่าถึงจุดเริ่มต้นของสวนฟิวชั่นฟาร์ม

เหตุที่ตั้งชื่อสวนว่า สวนฟิวชั่นฟาร์ม คุณพิทักษ์ บอกว่า เกิดจากการรวมสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน เกิดเป็นโมเดลใหม่ เพื่อให้การทำเกษตรมีมิติและมุมมองที่ออกไปในทางสวยงาม โดยสร้างให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นว่าการทำเกษตรสามารถปรับให้เข้ากับยุคที่ทันสมัยได้ เป็นเรื่องที่ไม่ได้น่าเบื่อเหมือนอย่างเช่นเคยที่ผ่านๆ มา จึงทำให้คนรุ่นหลังได้กลับมาสู่บ้านเพื่อสืบทอดการทำเกษตรในรูปแบบที่ทันสมัย จึงทำให้เขาทำสวนแห่งนี้ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและนำไปปรับใช้ได้กับที่ดินของตนเอง

ในช่วงแรกก่อนที่จะเริ่มทำสวนผสมผสานรังสรรค์ให้สวยเหมือนเช่นวันนี้ คุณพิทักษ์ บอกว่า จากพื้นที่ที่ไม่มีบ่อน้ำก็สร้างให้มีบ่อน้ำสำหรับเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง จากนั้นนำพันธุ์ไม้ต่างๆ มาลงปลูกภายในสวน โดยแบ่งพื้นที่ปลูกอินทผลัมอยู่ประมาณ 200 ต้น ช่วงแรกเน้นปลูกอินทผลัมที่ได้เป็นต้นใหญ่ให้ผลผลิตแล้วจากการเพาะเมล็ด ประมาณ 50 ต้น ต่อมาเมื่ออินทผลัมมีแบบเนื้อเยื่อ จึงนำมาปลูกเพิ่มอีก 150 ต้น ทั้งหมดปลูกให้ห่างอยู่ในระยะ 7 เมตร ต่อแถว

“สวนผมเน้นปลูกแบบผสมผสาน โดยยึดหลักให้ทุกอย่างเข้ากันได้อย่างลงตัว และพืชผลต่างๆ ต้องต่อยอดไปด้วยกันได้ เวลาที่มีคนเข้ามาเยี่ยมชม สามารถมีมุมสวยๆ ถ่ายภาพ และที่ยิ่งไปกว่านั้น ภายในสวนของเราก็จะจัดการในสวนได้ง่าย เช่น การรดน้ำ การกำจัดวัชพืช สามารถทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว” คุณพิทักษ์ บอก

โดยพื้นที่ทั้งหมดบริเวณใกล้เคียงจะปลูกพืชผักสวนครัวที่สามารถเก็บผลผลิตได้ไว เพราะอินทผลัมเป็นพืชที่ให้ผลผลิตปีละ 1 ครั้ง แต่ผลตอบแทนสามารถจำหน่ายได้ราคาดี ฉะนั้น ในช่วงที่รอผลผลิตจากอินทผลัมก็สามารถเก็บผลผลิตจากพืชอื่นๆ นำเงินมาใช้จ่ายหมุนเวียนภายในสวน

เนื่องจากการปลูกอินทผลัมไม่ได้เน้นทำเป็นเชิงการค้า ดังนั้น ระยะการปลูกจึงเป็นแบบกึ่งประดับสวยงามผสมไปกับพืชผักสวนครัวอื่นๆ การดูแลอินทผลัมจะให้ต้นมีความสมบูรณ์เต็มที่ก่อนเดือนพฤศจิกายน จากนั้นเมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมอินทผลัมจะเริ่มแทงช่อดอกออกมาให้เห็น ปล่อยไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ จึงผสมเกสรให้กับไม้ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยสูตรที่บำรุงผลให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เมื่อดอกเริ่มติดเห็นเป็นผลจะดูแลห่อผลเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของแมลงศัตรูพืชอีกหนึ่งช่องทาง

“ช่วงที่ผสมเกสรเรียบร้อยแล้ว นับจากช่วงนี้ไปอีกประมาณ 140 วัน อินทผลัมก็จะเริ่มให้ผลผลิตที่แก่และเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งอายุการเก็บเกี่ยวมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ ถ้าสภาพอากาศดีอายุการเก็บเกี่ยวก็ตามกำหนด แต่ถ้าแปรปรวนอายุการเก็บเกี่ยวก็จะเลื่อนไปถึง 150 วัน ส่วนเรื่องโรคที่เกิดกับไม้ไม่ค่อยมีปัญหา ผมจะให้ธรรมชาติดูแลกันเอง ดังนั้น ที่นี่ไม่ได้ใช้เรื่องยาฆ่าแมลงมานานแล้ว เพราะสวนผสมผสานทุกอย่างจะเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เพราะเมื่อผมเกษียณมาเต็มตัว ผมจะไม่ยอมมานอนดมสารเคมีอย่างแน่นอน” คุณพิทักษ์ บอก

จำหน่ายราคาเดียว กิโลกรัมละ 400 บาท

ในเรื่องของการทำตลาดจำหน่ายอินทผลัมนั้น คุณพิทักษ์ บอกว่า เมื่อเข้าสู่ฤดูที่มีผลผลิตภายในสวน ลูกค้าที่รู้ว่าสวนของคุณพิทักษ์ปลูกอินทผลัมอยู่ จะเข้ามาติดต่อขอซื้อถึงที่สวน เพราะในจังหวัดสุรินทร์สวนแห่งนี้เป็นที่แรกๆ ที่มีอินทผลัมปลูก โดยลูกค้าจะเข้ามาติดต่อขอซื้อหมด จนผลผลิตมีไม่พอจำหน่ายเลยทีเดียว

“ผลอินทผลัมที่สวน จำหน่ายอยู่ที่ กิโลกรัมละ 400 บาท ซึ่งลูกค้าที่มาซื้อจะนำไปทำตลาดต่อเองก็ได้ เพราะสวนผมจำหน่ายอยู่ราคานี้ราคาเดียว ซึ่งอินทผลัมถือว่าตลาดยังสามารถไปได้ดี สำหรับคนที่สนใจอยากจะปลูก ผมก็จะแนะนำว่า การเลือกสายพันธุ์อินทผลัมไม่มีอะไรยาก เลือกพันธุ์ที่ดีที่รู้คุณภาพอย่างแน่นอนมาปลูก อย่างคนที่จะเริ่มใหม่ ก็อยากให้ลองศึกษาจากหลายๆ ที่ จากคนที่ประสบผลสำเร็จแล้ว เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ พร้อมทั้งทำสวนในรูปแบบที่ทุกอย่างต่อยอดได้หมด ก็จะทำให้ทุกอย่างสามารถดำเนินไปได้อย่างดี มีรายได้ที่เกิดจากความสุขในสิ่งที่เราทำ” คุณพิทักษ์ บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากศึกษาดูงาน หรือเข้าชมภายในสวนฟิวชั่นฟาร์ม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำเกษตรยุคใหม่ นำไปใช้กับการทำเกษตรในที่ดินของตนเอง

มังคุดผลไม้ยอดนิยมของคนไทยและคนต่างชาติ แต่กับชาวสวนแล้ว มักจะมีปัญหาด้านราคาอยู่เสมอ เป็นอย่างนี้มาตลอด จนเรียกว่า “เป็นตำนาน” โดยเฉพาะชาวสวนภาคตะวันออกที่ต้องวุ่นวายกับราคามังคุดที่ตกต่ำเกือบทุกปี ตัวอย่างเมื่อปี 2553 ราคามังคุดตกต่ำมาก ชาวสวนหลายรายถึงกันโค่นต้นมังคุดทิ้งไป แล้วปลูกพืชใหม่ทดแทน จะด้วยความคับแค้นหรือน้อยใจคงจะปะปนกันไป ข้ออ้างที่พวกเขาได้รับฟังจากผู้รับซื้อก็คือ มังคุดคุณภาพต่ำ ผิวลาย เนื้อแก้ว ยางไหล หู (กลีบเลี้ยง) ไม่สวย สรุปว่ามังคุดของชาวสวนด้อยคุณภาพ ส่งออกก็ไม่ได้ ขายภายในประเทศราคาก็ไม่ดี

สำหรับลักษณะของมังคุดผิวมันได้กำหนดไว้ ดังนี้ เป็นผลมังคุดที่มีผิวเปลือกสะอาด เป็นมัน อาจมีร่องรอยหรือตำหนิได้ไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ผิวเปลือก เนื้อในคุณภาพดี-สีขาวสะอาด ไม่มียางไหล ไม่เป็นเนื้อแก้ว และเนื้อไม่ติดเปลือก

ส่วนมังคุดผิวลาย หมายถึง ผลมังคุดที่เปลือกนอกอาจมีร่องรอยการทำลายของโรค/แมลงศัตรูหรือจากเหตุอื่นๆ ทำให้มีตำหนิได้ไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ผิวเปลือก เนื้อในมีคุณภาพเหมือนกับมังคุดผิวมัน

อย่างที่กล่าวไว้ตอนต้นแล้วว่า ผู้บริโภคที่มีกะตัง และลูกค้าต่างประเทศ เขาต้องการมังคุดคุณภาพ ผู้ซื้อจะดูจากลักษณะภายนอก ที่ดูดีไว้ก่อน มันเป็นเครื่องบ่งชี้คุณภาพภายใน หากย้อนไปที่ภาษิตไทยบทหนึ่งที่ว่า “ไก่งามเพราะคน คนงามเพราะแต่ง” ก็คงจะถึงบางอ้อว่า การทำมังคุดผิวมัน เป็นกลยุทธ์หนึ่งทางการค้า ที่ต้องเริ่มต้นจากชาวสวน ต้องประณีตในการปฏิบัติในแปลง ให้ได้ผลมังคุดคุณภาพดี และต้องทำความสะอาดผล/ คัดเกรด แยกผลผลิตมังคุดตามคุณภาพ ตามการสั่งซื้อของผู้ค้า ซึ่งเป็นวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ชัดเจน ราคารับซื้อจากผู้ค้าจะสูงขึ้นอย่างมาก ตรงนี้ครับ เป็นที่มาของการผลิตมังคุดผิวมัน ช่องทางแก้ปัญหาด้านราคาที่ยั่งยืน

มังคุดผิวมัน: ขั้นตอนและวิธีการผลิต

คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ ได้อธิบายถึงวิธีการผลิตมังคุดผิวมันไว้ว่ามีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1.การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องฟื้นฟูต้นมังคุดให้สมบูรณ์ ปกติฤดูการเก็บเกี่ยวมังคุดจะเริ่มราวๆกลางเดือนเมษายน ไปหมดที่กลางเดือนมิถุนายน ภายหลังการเก็บเกี่ยวผลมังคุดแล้ว จะต้องทำการตัดแต่งกิ่งมังคุด กำจัดวัชพืช ให้น้ำและใส่ปุ๋ย ให้เสร็จภายในเดือนกรกฎาคม โดยเริ่มจากการปฏิบัติ ดังนี้

1.1 ตัดแต่งกิ่งมังคุด ตัดตรงส่วนปลายกิ่ง และขอบทรงพุ่ม ที่ปลายกิ่งทับซ้อนและสะกัน กิ่งแห้ง กิ่งหัก กิ่งที่เสียหายจากการทำลายของโรค-แมลงศัตรู และกิ่งที่แตกเกะกะภายในทรงพุ่มทำให้แน่นทึบ ทั้งนี้เพื่อให้โปร่ง แสงแดดส่องผ่านเข้าในทรงพุ่มได้ทั่วถึง ส่วนต้นที่สูงเกินไปจะตัดส่วนยอดทิ้งบางส่วน

1.2 กำจัดวัชพืช จะการใช้เครื่องมือตัดแทนการใช้สารกำจัด วัชพืช แล้วนำเศษวัชพืชทั้งหมดไปคลุมบริเวณโคนต้นมังคุด เพื่อช่วยป้องกันและเก็บความชื้นในดิน และเมื่อสลายตัวแล้วจะเป็นปุ๋ยให้ต้นมังคุด การปฏิบัติตรงนี้เป็นการเร่งให้มังคุดแตกใบอ่อนได้เร็วยิ่งขึ้น

1.3 ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น หลังจากการตัดแต่งกิ่ง และกำจัดวัชพืชแล้ว ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นมังคุดทันที เพื่อฟื้นฟูสภาพต้นให้สมบูรณ์ โดยใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ในอัตรา 1 – 2กก./ต้น หรือ 2 – 3 กก./ต้น พิจารณาจากขนาดของต้นมังคุดว่าเล็กหรือใหญ่ หว่านปุ๋ยบริเวณใต้ทรงพุ่มให้ทั่ว เสริมด้วยการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ ทุกๆ 10 – 15 วันประมาณ 4 – 5 ครั้ง โดยการผสมและปล่อยไปพร้อมๆ กับการให้น้ำตามระบบพ่นฝอย (มินิสปริงเกอร์)

1.4 บังคับให้แตกใบอ่อน พอถึงต้นเดือนสิงหาคม ทำการเร่งหรือบังคับให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนพร้อมกัน โดยการฉีดพ่นสารไทโอยูเรีย อัตรา 30 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม เพื่อต้นมังคุดจะแตกใบอ่อนพร้อมกัน ประมาณปลายเดือนสิงหาคม – ต้นเดือนกันยายน เมื่อมังคุดแตกใบอ่อนแล้ว จะต้องดูแลใบอ่อนให้ดี โดยการฉีดปุ๋ยชีวภาพเพื่อเสริมธาตุอาหารทางใบ ให้น้ำสม่ำเสมอ พร้อมฉีดพ่นสารสกัดจากพืชสมุนไพรสูตรไล่แมลง ทุก 10 – 15 วัน

ระยะนี้ใบอ่อนจะมีการพัฒนาเป็นใบแก่ที่สมบูรณ์ จึงต้องทำการสำรวจแมลงศัตรูทุก 7 วัน เพื่อตรวจดูเพลี้ยไฟและหนอนกินใบอ่อน หากพบหนอนกินใบอ่อนระบาดมาก ประมาณ 20 % ของจำนวนยอดทั้งหมดในต้น จะพ่นสารเคมีพวกไซเปอร์เมทริน 35 % อัตรา 50 ซีซี ผสมน้ำ 200 ลิตร และหากพบเพลี้ยไฟ มากกว่า 1 ตัวต่อยอด จะฉีดพ่นสารเคมีอิมิดาโคลพริด 10 % อัตรา 20 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่น1 – 2 ครั้งเพื่อกำจัดให้ทันกาล ช่วงนี้เป็นระยะการพัฒนาของใบอ่อน และตายอดมังคุด ไปเป็นใบแก่ที่พร้อมจะออกดอก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 9 – 12 สัปดาห์ คือ ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม- กันยายน -ตุลาคม ถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูหนาวนั่นเอง

การเตรียมต้นมังคุดก่อนการออกดอก หลังการตัดแต่งกิ่ง มังคุดจะแตกใบอ่อนภายใน 10 – 15 วันและเริ่มพัฒนาเป็นใบแก่ ดั้งนั้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม กันยายน ตุลาคม ช่วงนี้ใส่ปุ๋ยบำรุงต้นให้สมบูรณ์ เน้น ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม ใส่สูตร 8 – 24 – 24 อัตรา 1 – 2 กก.ต่อต้น หว่านใต้ทรงพุ่ม และให้น้ำทุก 10 – 15 วัน พอถึงเดือนตุลาคมหยุดให้น้ำ ปล่อยให้มังคุดเครียด หยุดให้น้ำติดต่อกันนานสัก 3 สัปดาห์ สังเกตดูที่ปล้องสุดท้ายของปลายกิ่งมังคุด ที่แสดงอาการเหี่ยวอย่างชัดเจน ใบคู่สุดท้ายมีอาการใบตก(เหี่ยว) จึงเริ่มให้น้ำต่อไป โดยครั้งแรกให้น้ำตามปริมาณปกติที่เคยให้ ส่วนครั้งที่สองจะให้น้ำในปริมาณเพียงครึ่งหนึ่งของครั้งแรก แล้วก็ให้แบบโชยๆ อย่างต่อเนื่อง จนประมาณกลางเดือนพฤศจิกายนมังคุดจะเริ่มออกดอกจึงให้น้ำในปริมาณที่ให้แบปกติ ร่วมกับการให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ เทคนิคการปฏิบัติแบบนี้ ทำให้มังคุดออกดอกในระดับ 50 – 60 % ของยอดทั้งหมดจนถึงระยะผลอ่อน ซึ่งเป็นปริมาณผลมังคุดที่พอดี ผลมังคุดจะโตสม่ำเสมอ เนื้อมาก รสชาติหวาน และผลได้ขนาดมาตรฐานของผู้ซื้อ
การปฏิบัติระยะมังคุดออกดอกถึงและติดผลอ่อน ต้นมังคุดที่สมบูรณ์ดี จะเริ่มออกดอกประมาณ กลางเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจากระยะออกดอกถึงผลอ่อน เป็นช่วงที่สำคัญที่สุด ของการผลิตมังคุดผิวมัน เพราะช่วงนี้มักจะมีเพลี้ยไฟเข้าทำลายผลอ่อน ทำให้ผลมังคุดมีผิวลาย ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด จึงต้องเข้าแปลงสำรวจและควบคุมให้ได้
3.1ทำการสำรวจและควบคุมเพลี้ยไฟ โดยเคาะดอกมังคุดลงบนแผ่นกระดาษสีขาว หากพบว่ามีเพลี้ยไฟมากกว่า 1 ตัวต่อดอกหรือผลอ่อน ทำการฉีดพ่นสารอิมิดาโคลพริด 10 % อัตรา 20 กรัมผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นสัก 4 – 5 ครั้ง จนถึงระยะดอกบานประมาณ 4 สัปดาห์ ช่วงนี้ยังต้องให้น้ำตามปกติ เพื่อผลมังคุดจะไม่ขาดน้ำ เนื้อจะแน่นและน้ำหนักจะดีมาก

3.2ใส่ปุ๋ยบำรุงผลมังคุด ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กก.ต่อต้น และฉีดเพาเวอร์แพ้ลน อัตรา 200 ซีซี.ผสมน้ำ 200 ลิตร เพื่อเป็นอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงผลมังคุดให้มีการสะสมความหวาน ช่วยให้ผลโต และกลีบเลี้ยงมีสีเขียว และให้น้ำอย่างต่อเนื่อง

3.3 การปฏิบัติด้านการใช้สารเคมี หยุดการใช้สารเคมีทุกอย่างก่อนการเก็บเกี่ยวผลมังคุดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อให้ผลมังคุดปลอดสารตกค้าง และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

การเก็บเกี่ยวและคัดคุณภาพผลผลิตมังคุด การเก็บเกี่ยวผลผลิตมังคุด จะเริ่มเก็บในระยะที่ผิวเปลือกเป็นระยะสายเลือด คือมีจุดประสีชมพู สีแดง หรือผิวเป็นสีชมพู โดยสอยด้วยตะกร้อผ้า เพื่อป้องกันผลมังคุดตกลงพื้นดิน ผลมังคุดที่เก็บลงมา จะถูกคัดคุณภพตั้งแต่ที่สวนโดยแยกมังคุด ผลแตก ผลร้าว มังคุดตกดินออกต่างหาก ส่วนผลที่ดีนำใส่ตะกร้าพลาสติค แล้วขนย้ายไปที่โรงคัดคุณภาพ เพื่อคัดเกรด และทำความสะอาดผิวเปลือก โดยทำการขูดยางตามผิวเปลือกออกให้สะอาด มีการแบ่งเกรดมังคุดเป็น 4 เกรด คือ

ผิวมันใหญ่ น้ำหนัก 90 กรัมขึ้นไป

2 ) ผิวมันเล็ก ขนาดน้ำหนัก 70 – 89 กรัม

3) ผิวมันจิ๋ว ขนาดน้ำหนัก 60 – 69 กรัม

และ 4 ) มังคุดตกเกรด มีผิวลาย ผลดำ และผลเล็กสุด จากการปฏิบัติด้วยหลักวิชาการภายใต้ระบบ จี เอ พี และปรับใช้กับประสบการณ์ ทำให้ได้มังคุดผิวมัน ถึง 80 % ของผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ ส่งผลต่อราคารับซื้อของผู้ค้าที่ให้ราคาสูง ไม่มีปัญหาด้านตลาดในประเทศและการส่งออก

มังคุดคุณภาพดี : มีตลาดรองรับ

จากความสำเร็จในการผลิตมังคุดผิวมัน ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด มีผู้ส่งออกติดต่อขอซื้อผลผลิตคุณภาพทั้งหมด ส่งขายประเทศจีน และบางส่วนได้มีผู้ค้าจากกรุงเทพฯมารับไป ขณะที่คุณสมชาย บุญก่อเกื้อ ได้ร่วมกับสมาชิกกลุ่มผู้ผลผลิตมังคุด ไปออกร้านจำหน่ายตามงานต่างๆ ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดระยอง และกรมส่งเสริมการเกษตร เป็นการประชาสัมพันธ์ผลผลิตมังคุดคุณภาพ เพื่อให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูล และมีโอกาสได้ซื้อผลผลิตคุณภาพไปรับประทาน นอกจากนี้ยังจัดผลผลิตส่วนหนึ่ง ส่งห้างสรรพสินค้าใหญ่หลายแห่ง สำหรับการขายส่งมังคุดผิวมันทุกเกรด ราคาเฉลี่ยที่สวนปี 2555 อยู่ที่ 25 บาท/กก. ขณะที่ราคาขายของชาวสวนทั่วไป ราคาระหว่าง 8 – 12 บาท/กก. เมื่อหักต้นทุนแล้ว คุณสมชายมีกำไรจากการผลิตมังคุดผิวมันเป็นเงิน14,267บาท/ไร่ นับว่าเป็นชาวสวนมังคุดที่ประสบความสำเร็จคนหนึ่งที่เป็นแบบอย่างที่ดี

ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา กระแสการปลูกมะนาว ทั้งลงดินและปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์เริ่มซาลงไป สาเหตุหลักๆ มาจากราคามะนาวที่ตกต่ำ หลังจากที่มีการปลูกมะนาวกันเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ แต่ถ้าย้อนกลับไปการที่ราคามะนาวตกต่ำนั้นมาจากปัจจัยใหญ่ๆ 2 ประการ คือ
หนึ่ง ผลผลิตที่ออกมามากเกินความต้องการของตลาด และสอง มีการส่งเสริมการปลูกมะนาวสายพันธุ์ที่ตลาดไม่ต้องการ เมื่อขายไม่ได้ ก็ต้องมาลดราคาขายเผื่อจะได้ขายมะนาวเหล่านั้นให้ได้ ทำให้เกิดผลกระทบในกลไกของตลาดมะนาวทั้งหมด

แล้วเมื่อเกษตรกรมือใหม่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนักในการขายผลผลิต หรือไม่ประสบผลสำเร็จในการปลูก ดูแล รักษา จนให้เก็บผลผลิตมะนาวขาย จึงเริ่มดูแลน้อยลง จนถึงทิ้งแปลงปลูกไปในที่สุด แล้วไถทิ้งเพื่อเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นหรือประกอบอาชีพใหม่แทนก็มี แต่เกษตรกรที่ยึดการปลูกมะนาวเป็นอาชีพหลัก ปลูกมานานจนมีความเข้าใจ ความชำนาญ และประสบผลสำเร็จในการดูแลรักษา ตลอดจนขายผลผลิตมะนาว จะมีกำไรมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลายๆ อย่างในแต่ละปี

แต่โดยรวมแล้ว ชาวสวนมะนาวจะอยู่ได้ไม่มีขาดทุนจากการทำสวนมะนาวเลย แต่เกษตรกรมืออาชีพกลับมองว่า หลังจากที่เกษตรกรมือใหม่ถอดใจล้มมะนาวออกไปส่วนหนึ่ง ราคามะนาวจะกลับมาสู่ภาวะปกติ โดยเฉพาะมะนาวหน้าแล้งที่เกษตรกรมุ่งหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้น

มะนาวมีราคาสูงสุดในรอบปี คือราคาขยับขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน มะนาวจะกลับมาแพงแล้วจะแพงต่อเนื่องไปอีก ลองมาดูเกษตรกรที่มีประสบการณ์ที่ปลูกมะนาวเป็นอาชีพ เขาจะปฏิบัติอย่างไร ที่ปลูกมะนาวให้ได้เงินทุกปี

โดยปกติแล้ว มะนาว จะมีราคาสูงในช่วงหน้าแล้ง บางทีขายถึงผู้บริโภค ราคาผลละ 5-10 บาท ทำให้เกษตรกรหลายรายต่างพยายามบังคับมะนาวของตนให้ออกดอก ติดผล ไว้ขายในช่วงฤดูแล้งเป็นหลัก ประสบการณ์ในการทำมะนาวขายหน้าแล้งของ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร.

โดยเน้นการปลูกมะนาวพันธุ์ “แป้นดกพิเศษ” เนื่องจากเป็นมะนาวที่ผลใหญ่ ทรงผลแป้น น้ำหอม เมล็ดน้อย เปลือกบาง ติดผลดกมาก และเป็นที่ต้องการของตลาดหากปลูกเชิงการค้า โดยที่ผ่านมาในรอบ 1 ปี จะบังคับมะนาวให้มีผลผลิตขายได้เพียง 5 เดือน โดยจะเริ่มเก็บผลผลิตขายตั้งแต่เดือนธันวาคม-เมษายนของทุกปี ซึ่งช่วงดังกล่าวจะเป็นช่วงมะนาวมีราคาแพง และจะแพงมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน

และคำถามที่ถูกถามมากที่สุดก็คือ “จะทำอย่างไร ให้มะนาวติดผลหน้าแล้ง” ทางสวนคุณลีจึงได้สรุปขั้นตอนการปฏิบัติเป็นรายเดือนไว้ให้เป็นแนวทางในการปฏิบัติได้จริง เพื่อวางแผนปฏิบัติงานในสวนมะนาวของท่าน ดังต่อไปนี้

1. ปลายเดือนเมษายน (ตัดแต่งกิ่ง) ปกติแล้วการตัดแต่งกิ่ง ถ้าจะให้ได้ผลดี เกษตรกรควรจะเริ่มตัดแต่งกิ่งในช่วงปลายเดือนเมษายน หรือช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เพราะช่วงนั้นเป็นช่วงที่ราคามะนาวเริ่มลดลง และเป็นช่วงที่ฝนตกน้อย สภาพอากาศเหมาะกับการแต่งกิ่งมาก เคล็ดลับ การตัดแต่งกิ่งในช่วงที่ฝนทิ้งช่วงจะช่วยลดการเกิดโรคกับต้นมะนาวได้มาก โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์และโรคเปลือกและกิ่งเน่า การตัดกิ่งช่วงที่ฝนตกชุก ถ้าเราตัดกิ่งใหญ่ๆ จะเกิดปัญหาเปลือกเน่าลุกลามไปตามกิ่งต่างๆ บางครั้งทำให้ต้นมะนาวแห้งตายได้

หลังแต่งกิ่งต้องเร่งการแตกใบอ่อน เป็นปกติของต้นไม้ คือหลังจากเราเก็บผลผลิตเสร็จแล้ว และตัดแต่งกิ่งแล้ว เราจะต้องเร่งการแตกใบอ่อน เพื่อเป็นการฟื้นสภาพต้นให้แข็งแรง สมบูรณ์ดังเดิม (ช่วงติดผลมะนาวจะโทรมเหมือนคนคลอดลูกใหม่ๆ ต้องบำรุงให้แข็งแรง)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจในการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้แก่ต้นมะนาว จะต้องเป็นปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกที่ผ่านการหมักจนย่อยสลายดีแล้ว

เพราะเมื่อนำไปใส่ต้นมะนาวหรือพืชอื่นจะนำไปใช้ได้เลย ยกตัวอย่าง เช่นการใส่ปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว ถ้าไม่ผ่านการหมักหรือทิ้งไว้ให้ย่อยสลายดีก่อนที่เราจะนำมาใช้ จะพบปัญหาหลายอย่าง เช่น ปัญหาวัชพืชที่ติดมากับขี้วัว เนื่องจากวัวไปกินมา ซึ่งชนิดของวัชพืชก็จะขึ้นอยู่กับแหล่งเลี้ยงสัตว์ บางครั้งสวนของเราก็จะมีวัชพืชชนิดใหม่ๆ แปลกๆ ขึ้นในสวนมะนาวของเรา เช่น ต้นพุทรา ต้นฉำฉา หนามกระสุน เป็นต้น

ปัญหาใบมะนาวจะเหลืองหลังใส่ปุ๋ยคอก แทนที่ใบจะเขียวเข้ม ง่ายๆ คือ ปุ๋ยคอก ที่ไม่ผ่านการหมักหรือทิ้งระยะเวลาให้ย่อยสลาย เมื่อนำปุ๋ยคอกใหม่หรือสดมาใส่ จุลินทรีย์ที่ทำหน้าที่ย่อยสลายจะมีการดึงไนโตรเจนและปุ๋ยต่างๆ ออกมาจากดินหรือบริเวณใต้ต้นมะนาวที่เราใส่

ทำให้ต้นมะนาวสูญเสียธาตุอาหาร โดยเฉพาะธาตุไนโตรเจน (N) เบื้องต้นหากใส่ปุ๋ยที่หมักมาไม่ดี แนะนำว่าควรใส่ปุ๋ยเคมีที่มีสูตรตัวหน้าหรือไนโตรเจนสูง เช่น 46-0-0 เล็กน้อย เพื่อช่วยทดแทนธาตุอาหารลงในดิน การใส่ปุ๋ยจะช่วยให้ใบมะนาวไม่เหลืองหลังการใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมักให้กับต้นมะนาว

ทางดิน แนะนำให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน จากนั้นจะต้องตรวจวัดความเป็นกรด-ด่าง หรือ pH ในดิน ให้อยู่ในช่วง 6.5-7 ถ้า pH ของดินต่ำกว่า 6 จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินให้เหมาะสม

สิ่งที่ควรรู้ ดินที่เป็นกรด หรือมี pH ต่ำกว่า 6 จะเป็นเหตุทำให้มะนาวเกิดโรครากเน่า โคนเน่าได้ง่าย นอกจากนั้น ยังทำให้ต้นมะนาวเหลืองเหมือนขาดธาตุอาหาร แต่จริงๆ แล้ว เกิดจากสภาพดินที่เป็นกรด จะไปตรึงธาตุอาหารในดิน ทำให้ต้นมะนาวแสดงอาการขาดธาตุอาหาร เกษตรกรบางรายไม่รู้ก็ใส่ปุ๋ยเคมีลงไป ยิ่งทำให้ดินเป็นกรดมากขึ้น มะนาวก็ไม่งาม ใบไม่เขียว

เบื้องต้นถ้าทราบว่าดินมีความเป็นกรดก็จะแก้ไขโดยการหว่านปูนขาวรอบๆ ทรงพุ่ม เพื่อเป็นการปรับ pH ให้ขยับมาเป็นกลางมากขึ้น ดังนั้น ควรจำไว้เสมอว่า “จะต้องตรวจดินทุกครั้งที่เห็นมะนาวไม่งาม หรือมีใบเหลือง” ซึ่งอุปกรณ์ตรวจเช็ก pH ดินมีจำหน่าย ราคาไม่แพง ในปัจจุบันหาซื้อได้ไม่ยากนัก ส่วนทางใบ เกษตรกรบางท่านอาจฉีดพ่นปุ๋ย นิวตริไจเซอร์ ร่วมกับ เฟตามิน คอมบี เพื่อเร่งให้มะนาวแตกใบอ่อนสม่ำเสมอกัน

ช่วงแตกใบอ่อน ศัตรูที่พบมากที่สุด คือ “หนอนชอนใบ” เป็นแมลงศัตรูที่ทำลายใบมะนาวมากที่สุด โดยจะเข้าทำลายใบอ่อนมะนาวตั้งแต่เริ่มแตกใบอ่อน จนถึงระยะเพสลาด วิธีสังเกตว่าเป็นหนอนชอนใบทำลายหรือไม่ ให้ดูที่ใบอ่อนจะม้วนลง เมื่อพลิกดูใต้ใบจะพบหนอนตัวเล็กๆ ชอนไชอยู่ โดยมองเห็นเป็นทางสีขาววกไปเวียนมา หนอนชอนใบ

นอกจากจะทำลายพื้นที่ใบแล้ว ยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดโรคแคงเกอร์ตามมาอีกด้วย ป้องกันและกำจัดได้ง่าย ด้วยสารอะบาเม็กติน เช่น โกลแจ็กซ์, แจคเก็ต อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน หรือใช้สารโปรวาโด อัตรา 1-2 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

โรคแคงเกอร์ เป็นโรคที่มักทำลายมะนาวให้เกิดความเสียหายอย่างมาก โดยเฉพาะมะนาวกลุ่มแป้นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างอ่อนแอ (แป้นพวง แป้นรำไพ ฯลฯ) ป้องกันโดย จะต้องป้องกันใบมะนาวไม่ให้เกิดแผลจากแมลงศัตรู โดยเฉพาะ หนอนชอนใบ หรือฉีดพ่นสารคอปเปอร์ ไฮดรอกไซด์ เพื่อป้องกันโรคควบคู่กับไปกับยาฆ่าแมลง เช่น ฟังกูราน อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ฉีดพ่นช่วงมะนาวแตกใบอ่อน-ใบเพสลาด เพื่อป้องกันโรคแคงเกอร์ (รวมถึงโรคสแค็ป โรคเมลาโนส ฯลฯ)

3. ค้ำกิ่ง เพื่อช่วยจัดทรงพุ่มและลดการเกิดโรค หลังแต่งกิ่งทุกครั้ง เกษตรกรจะต้องหาไม้ไผ่มาค้ำยันกิ่ง เพื่อช่วยจัดทรงต้นให้เหมาะสม และป้องกันลมโยกต้นมะนาว ถ้ามะนาวต้นไหนไม่ค้ำยัน กิ่งจะคลุมดิน ทำให้เก็บผลยาก และโคนต้นชื้น เกิดโรครากเน่าได้ง่าย อีกอย่างการค้ำกิ่งจะช่วยลดการฉีกขาดของใบ ทำให้ลดการเกิดโรคแคงเกอร์ได้มาก

. เดือนสิงหาคม-กันยายน สะสมอาหารเร่งความพร้อมให้ต้นมะนาวออกดอกได้ง่ายหลังจากเรารักษาใบอ่อนมะนาวได้ 1-2 ใบแล้ว ให้เริ่มสะสมอาหารให้ใบมะนาวแก่ พร้อมจะออกดอก ทางดิน ปกติจะใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ใส่อัตรา ต้นละ 1-2 กิโลกรัม (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง) แล้วแต่ขนาดพุ่ม เช่น ถ้าต้นมะนาว อายุ 2 ปี หรือต้นที่มีทรงพุ่ม 1-2 เมตร จะใส่ปุ๋ย 2-3 ครั้ง ครั้งละ 3-5 ขีด ห่างกัน 20 วัน แต่ถ้าทรงพุ่มใหญ่ขึ้นก็ให้เพิ่มตามความเหมาะสม

เคล็ดลับการใส่ปุ๋ยทางดิน สมัครคาสิโนออนไลน์ จะต้องใส่ในช่วงดินมีความชื้น หลังใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำจนปุ๋ยละลายทุกครั้ง สำหรับท่านที่ปลูกมะนาวไว้ในวงบ่อซีเมนต์ การใส่ปุ๋ยเคมีสูตรสะสมอาหารจะต้องลดอัตราลง เหลือต้นละ 2-3 ขีด เท่านั้น หากใส่มาก ดินจะเป็นกรดได้ง่าย ทำให้มะนาวเกิดปัญหาโรครากเน่าโคนเน่าได้ในอนาคต

รู้หรือเปล่า ถ้าสภาพดินที่ปลูกมะนาวเป็นดินทราย หรือร่วนปนทราย แนะนำให้ใช้ปุ๋ยสะสมอาหารสูตร 12-24-12 แทนสูตร 8-24-24 ทางใบ ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มีสูตรตัวกลางและท้ายสูง เช่น ปุ๋ยเฟอร์ติไจเซอร์ (3-16-36) หรือปุ๋ยซุปเปอร์เค (6-12-26) หรือปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 หรือปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 ฉีดพ่นปุ๋ยสูตรใดสูตรหนึ่ง ร่วมกับธาตุอาหารรอง เช่น โฟลบาย อย่างใดอย่างหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ช่วงสะสมอาหารในช่วงนี้ จะต้องงดปุ๋ยที่มีสูตรไนโตรเจนสูงๆ (ตัวหน้า) ยกตัวอย่าง สูตรปุ๋ยที่นิยมฉีดสะสมอาหารทางใบ

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ แต่ละครั้งอาจใส่ยาป้องกันโรคและแมลงลงไปในคราวเดียวกันก็ได้ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการฉีดพ่นยา ส่วนจะเลือกใช้สูตรไหน ก็ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละสวน

รู้ไว้ใช่ว่า ช่วงสะสมอาหาร หากช่วงนั้นอากาศร้อนอบอ้าว หรือสังเกตเห็นใบมะนาวมีสีซีดหรือจางลง หรือมีสีเหลืองด้าน ให้พยายามดูที่ใบว่า มี “ไรแดง” ลงทำลายหรือไม่ (ไรแดง เป็นแมลงที่มีขนาดเล็กมาก อาจจะต้องใช้แว่นขยายส่องดู)

หากพบไรทำลายให้ฉีดพ่นด้วยสาร “โอเบรอน” (ชื่อสามัญ สไปโรมีซิเฟน คุณสมบัติเป็นสารกลุ่มใหม่ล่าสุด กำจัดไรได้ดี กำจัดไรได้ทุกวัย โดยเฉพาะตัวเมียคุมไรได้นานกว่า 30 วัน ฉีดพ่นได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช (ฉีดพ่นช่วงออกดอกได้) ปลอดภัยต่อแมลงมีประโยชน์ เช่น ผึ้ง และแมลงศัตรูตามธรรมชาติ อัตรา 6 ซีซี

หรือฉีดสลับกับสาร “โอไม้ท์” (ชื่อสามัญ โพรพาไกต์ คุณสมบัติ ใช้กำจัดไรศัตรูพืชชนิดต่างๆ เช่น ไรแดงแอฟริกัน แมงมุมแดง ไรสนิม ไรกำมะหยี่ และไรศัตรูพืชดื้อยาอื่นๆ)