เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. จึงนำองค์ความรู้

เรื่องวัสดุศาสตร์โดยพัฒนาสูตรผสมเม็ดพลาสติก (polymer compound) ร่วมกับเทคโนโลยีการขึ้นรูปนอนวูฟเวน เพื่อให้วัสดุนอนวูฟเวนมีสมบัติให้น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้โดยง่าย รวมถึงมีสมบัติการคัดเลือกช่วงแสงที่เหมาะสมกับเซลล์รับแสงที่ผิวผลไม้ โดยได้ผลิตเป็นนวัตกรรมวิจัยต้นแบบชื่อทางการค้าว่า Magik Growth หรือ นวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวน ช่วยให้ทุเรียนที่ถูกห่อด้วยถุงห่อ Magik Growth สามารถสร้างสารสำคัญในผลไม้ทั้งแป้ง น้ำตาล สารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ

โดยได้ทดลองทั้งในระดับห้องปฏิบัติการและระดับภาคสนามร่วมกับภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ในพื้นที่สวนทุเรียน อำเภอแกลง จังหวัดระยองตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน และมีการจัดเก็บข้อมูลผลวิจัยอย่างเป็นระบบ

ทั้งนี้ ถุงห่อทุเรียน Magik Growth สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ถึง 3 ฤดูกาลผลิต เป็นการช่วยเกษตรกรประหยัดต้นทุนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากการลดใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูพืช สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) ที่รัฐบาลที่ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ

ซึ่ง นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน Magik Growth ตอบโจทย์ “ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ที่สามารถนำวัสดุต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด รวมทั้งตอบโจทย์ “ระบบเศรษฐกิจสีเขียว” ที่มีการมุ่งเน้นแก้ปัญหามลพิษเพื่อลดผลกระทบต่อโลก และผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน สำหรับนวัตกรรมถุงห่อทุเรียน Magik Growth ขณะนี้มีบริษัทเอกชนที่ได้รับสิทธิถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเพื่อเตรียมวางตลาดและจัดจำหน่ายได้ในช่วงปลายปีนี้

ผศ.ดร. ลำแพน ขวัญพูล อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ทีมวิจัย สจล. ซึ่งมีส่วนในการทดสอบให้กับทีมวิจัยเอ็มเทค สวทช. ภายใต้ โครงการการขยายผลนวัตกรรมถุงห่อผลไม้นอนวูฟเวนเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตชาวสวนทุเรียน ได้นำถุงห่อ Magik Growth จำนวน 4 สี (น้ำเงิน ขาว ดำ และแดง) มาทดสอบห่อทุเรียนที่สวนสไตล์ช๊าลฮิ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับทุเรียนที่ไม่ได้ห่อและทุเรียนที่ห่อด้วยถุงตาข่ายทางการเกษตรซึ่งเกษตรกรใช้อยู่เดิม เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถุงห่อ Magik Growth

โดยมีการเก็บข้อมูลทั้งความชื้น อุณหภูมิตลอดช่วงการห่อ ผลจากทดสอบต่อเนื่อง 3 ฤดูกาลผลิต พบว่า ถุงห่อทุเรียน Magik Growth สีแดง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจที่จะนำมาใช้ห่อทุเรียนแทนการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขนาดผลทุเรียน ตลอดจนมีปริมาณเนื้อของทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

โดยข้อมูลจากการทดสอบปี 2564 น้ำหนักผลทุเรียนสดที่ไม่ห่อผล มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.56 กิโลกรัม เปรียบเทียบกับการห่อผลด้วยถุง Magik Growth น้ำหนักเฉลี่ย 4.05 กิโลกรัม ความหนาเปลือกทุเรียน พบว่าผลที่ไม่ห่อเปลือกหนา 1.36 เซนติเมตร ส่วนผลที่ห่อด้วยถุง Magik Growth เปลือกหนาเพียง 1.01 เซนติเมตร และเมื่อวัดสัดส่วนน้ำหนักเปลือก น้ำหนักเนื้อ และน้ำหนักเมล็ด จะได้น้ำหนักในพูทุเรียน เปรียบเทียบการไม่ห่อผล (control) ได้น้ำหนัก 290 กรัม กับการห่อผลด้วยถุง Magik Growth ได้น้ำหนักสูงถึง 379 กรัม

“จากการเก็บข้อมูลภายในลูกทุเรียน พบว่าทุเรียนที่ห่อด้วยถุง Magik Growth มีความหนาของเปลือกบางลง 30% ทำให้ได้น้ำหนักรวมผลทุเรียน เพิ่มขึ้น 10% มีความแน่นเนื้อมากขึ้นและสีเนื้อเหลืองขึ้น และการห่อผลด้วยถุง Magik Growth ไม่มีผลต่อการแก่ของผลทุเรียนบนต้น โดยผลที่ห่อมีการสะสมน้ำหนักแห้งเพิ่มขึ้น เมื่อนำมาเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้องพบว่า ผลทุเรียนที่ห่อด้วยถุง Magik Growth มีการสุกช้ากว่าผลที่ไม่ได้ห่อประมาณ 2 วัน”

คุณนวลนภา เจริญรวย เจ้าของสวนทุเรียนสไตล์ช๊าลฮิ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เปิดเผยว่า เริ่มเป็นชาวสวนทุเรียนมือใหม่จากการปลูกทุเรียนเมื่อปี 2554 และได้ผลผลิตครั้งแรกใน 5 ปีถัดมา โดยในสวนมีการปลูกทุเรียนแบบกอ (1 โคก 3 ต้น) เพื่อช่วยในเรื่องของการค้ำยันลำต้นไม่ให้ล้มง่าย ลดปริมาณการไว้ผลต่อต้นลง ทำให้ต้นไม่โทรมหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต และเน้นการตัดแต่งต้นให้มีทรงพุ่มสูงไม่เกิน 6 เมตร

ทั้งนี้ จากประสบการณ์ทำสวนทุเรียนเกือบ 10 ปีทำให้เห็นว่าทุเรียนเป็นพืชที่ต้องอาศัยความใส่ใจดูแลทุกขั้นตอน จึงมีความตั้งใจที่จะลดใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงจากปัญหาโรคและแมลง โดยเฉพาะทุเรียนระยะพัฒนาผล (อายุ 65-70 วัน ผลทุเรียนมีขนาดเท่าขวดน้ำอัดลมขนาด 1.5 ลิตร) ซึ่งเป็นระยะที่ผลมีการสะสมแป้งก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล

เมื่อผลสุก (อายุ 110-120 วัน) โดยระยะพัฒนาผลนี้มักจะถูกหนอนเจาะผลทุเรียน หรือหนอนรัง เพลี้ยแป้ง และราดำเข้าทำลาย ทำให้ผลทุเรียนเล็กแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต คุณภาพของผลทุเรียนไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค

กระทั่งช่วงฤดูกาลที่ผ่านมา ได้ทราบผลทดสอบการใช้นวัตกรรมถุงห่อทุเรียน Magik Growth จากทีมนักวิจัย เอ็มเทค สวทช. และอาจารย์จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง ผลปรากฏว่าถุงห่อทุเรียน Magik Growth นอกจากจะช่วยตอบโจทย์การลดสารเคมี ป้องกันหนอนเจาะผลทุเรียน และเพลี้ยแป้ง ราดำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ผิวผลทุเรียนสวย ผลได้น้ำหนักดี และมีปริมาณเนื้อทุเรียนเพิ่มขึ้นด้วย

“เดิมทีเราก็ใช้ถุงตาข่ายทางการเกษตร ห่อทุเรียนเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชแทนการฉีดพ่นสารเคมีอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งป้องกันหนอนรังได้ แต่ก็ยังประสบปัญหาว่าไม่สามารถป้องกันเพลี้ยแป้งกับราดำได้ ทำให้ผิวทุเรียนไม่สวยและเกิดความเสียหาย แต่เมื่อเริ่มทดลองใช้ถุงห่อทุเรียน Magik Growth มาได้ระยะหนึ่งแล้ว นอกจากจะช่วยลดต้นทุนจากสารเคมีประมาณ 6 ครั้ง ยังช่วยป้องกันเพลี้ยแป้งและราดำได้ด้วย ทำให้ทุเรียนมีผิวผลสวย ผลเจริญเติบโตได้ดี ผลผลิตมีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งส่งผลถึงความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคที่ได้บริโภคทุเรียนที่ปลอดภัย ปริมาณน้ำหนักผลเพิ่มขึ้นช่วยให้เรามีรายได้เพิ่มขึ้นและลดการใช้สารเคมีส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสิ่งแวดล้อมในสวนดีขึ้นมาก ถือเป็นแนวทางในการสร้างความยั่งยืนให้กับชาวสวนทุเรียนยุคใหม่ โดยเฉพาะหากอนาคตมีปัญหาวิกฤตราคาทุเรียนจะทำให้เรายืนหยัดอยู่ได้” เจ้าของสวนทุเรียนสไตล์ช๊าลฮิ กล่าวทิ้งท้าย

การปลูกหญ้าเลี้ยงวัวนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรผู้รักการเลี้ยงวัวในปัจจุบันนิยมปลูกในพื้นที่ที่ไม่ต้องใช้ที่ดินมากก็ปลูกได้ หญ้ากินนีสีม่วง Megathyrus maximus cv.Tanzania (Purple guinea) แท้จริงแล้วหญ้าโดยทั่วไปนั้นมีสีเขียว เหตุใดหญ้าชนิดนี้จึงมีชื่อว่า “กินนีสีม่วง” และหญ้าชนิดนี้มีวิธีปลูกและหาเมล็ดพันธุ์มาปลูกอย่างไร การปลูกหญ้ากินนีสีม่วงที่ลงทุนเพียงครั้งเดียวแต่ผลตอบรับนั้นน่าสนใจไม่น้อยเลย ด้วยลักษณะกอหญ้าตั้งตรง ใบใหญ่ดก และนุ่ม สีใบและลำต้นสีเขียวอมม่วง จึงเป็นที่มาของชื่อกินนีสีม่วง นั่นเอง

คุณรม ลากุล อายุ 74 ปี อยู่บ้านเลขที่ 62/2 หมู่ที่ 10 บ้านโพธิ์ตาก ตำบลบ้านผือ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กล่าวถึงหญ้าชนิดนี้ว่า หญ้าที่ปลูกเลี้ยงวัวคือหญ้ากินนีสีม่วง ตอนนี้เลี้ยงวัว 4 ตัว เป็นวัวตัวเมียทั้งหมด เมล็ดหญ้าซื้อกิโลกรัมละ 300 บาท ที่ร้านค้าในตลาดดอนโมง ปลูกหญ้ามา 4-5 ปีแล้ว ในเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา ใช้เมล็ดหญ้า 3 กิโลกรัม วันหนึ่งเกี่ยวหญ้า 2 ครั้ง ครั้งละ 1 รถเข็นน้ำ ที่ปลูกหญ้าเพราะชอบเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงวัวมาเกือบ 10 ปีแล้ว เลี้ยงเพราะไม่มีงานประจำ เลี้ยงวัวเป็นงานอดิเรก อายุหญ้าอยู่ถึง 10 ปี บำรุงใส่ปุ๋ยยูเรียกับปุ๋ยคอก

ปลูกหญ้าต้องเริ่มตั้งแต่จ้างเขามาไถ 500 บาท ปลูกเอง หว่านแล้วคราดกลบ ให้รถไถนั่นแหละกลบให้ แต่เราเป็นคนหว่าน หญ้ากินนีสีม่วงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ จะใส่ปุ๋ยยูเรียปีละ 2 ครั้งช่วงเดือน 6-8 ส่วนปุ๋ยคอกจะใส่เรื่อยๆ ไม่มีกำหนด เกี่ยวหญ้าครั้งหนึ่ง 3 วันก็งอกแล้ว ยาวประมาณวันละ 3 เซนติเมตร เช่น หญ้าที่เกี่ยววันนี้อายุประมาณ 10-15 วัน หญ้าอื่นก็ปลูก เช่น หญ้าเนเปียร์ ซื้อมากิโลกรัมละ 100 บาท ปลูกครึ่งงาน หญ้ารูซี่ซื้อมากิโลกรัมละ 200 บาท ตอนนี้เหลือไม่มาก

ฟาง ปีที่แล้วใช้ 500 ก้อน จ้างช่างบ้านหนองแสง อัดก้อนละ 17 บาท วัวกินวันละ 3 ก้อน ฟางที่นาของตัวเอง แต่ถ้าซื้อฟางจะราคาก้อนละ 35 บาท (วัวกิน 3 ก้อนเป็นเงิน 105 บาทต่อวัน) รายได้จากการเลี้ยงวัว

วัวปีนี้จะออกลูก 2 ตัว ตอนนี้ท้องใหญ่แล้ว รายได้ขายครั้งละ 30,000 บาท ปีนี้ขายแล้ว 2 ตัว ได้เงิน 60,000 บาท ออกลูกทยอยขายไป เฉลี่ยแล้วเลี้ยงวัวรายได้ประมาณปีละ 50,000 บาท ส่วนการทำนาปีนี้ได้ข้าว 80 กระสอบ มีนา 10 ไร่ แต่ปลูกข้าว 6 ไร่

การปลูกหญ้าเลี้ยงวัว นอกจากจะช่วยให้เกิดความประหยัดในเรื่องอาหารวัวแล้ว ยังสะดวก เพราะอยู่ใกล้บ้านไม่ต้องไปหาเกี่ยวหญ้าที่อื่นให้ยุ่งยาก การซื้อเมล็ดพันธุ์เมล็ดหญ้ากินนีสีม่วงมาปลูกนั้น สามารถเกี่ยวได้หลายปีและงอกไว แม้ปลูกในพื้นที่ไร่เศษ เท่านี้ก็เพียงพอกับการเลี้ยงวัวแล้ว

ผลไม้ที่เป็นไม้ยืนต้นอีกชนิด พบว่าปลูกทั่วประเทศไทย แต่ไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักคือ ละมุด ทั้งที่ว่ากันว่า ละมุดเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่นิยมรับประทาน เพราะเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน มีกลิ่นหอม มีน้ำตาลสูง แต่อุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี ธาตุแคลเซียม และธาตุฟอสฟอรัส

ในตลาดผลไม้เมืองไทย แม้จะเดินเข้าออกในทุกวัน ทุกฤดูกาล ก็อาจไม่ได้เห็นผลไม้ชนิดนี้วางอยู่บนแผง จนเกือบลืมไปแล้วว่ายังมีอยู่

อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา เป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่า มีละมุดอร่อยที่สุดของประเทศ เรียกติดปากกันว่า ละมุดบางกล่ำ (ภาคใต้เรียกละมุด ว่า ลูกสวา)

แต่ปัจจุบันมีผลไม้อีกมากมายหลายชนิด ขึ้นแท่นผลไม้ชื่อดังของจังหวัดไปแล้ว ทำให้ล่าสุด ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา อนุมัติงบประมาณส่งเสริมการปลูกละมุดในพื้นที่อำเภอบางกล่ำอย่างจริงจัง เพื่อให้ชื่อเสียงละมุดบางกล่ำ กลับมารุ่งเรืองเช่นอดีต

สวนที่ได้ชื่อว่า เป็นสวนที่มีละมุดผลใหญ่ รสชาติดี กว่าละมุดในละแวกใกล้เคียงทั้งหมดคือ สวนของ คุณจู้ฮ่อง เจริญแสง และ คุณจำเนียน เจริญแสง สองสามีภรรยา คุณจู้ฮ่องฟื้นความทรงจำเกี่ยวกับการปลูกละมุดให้ฟังว่า เขาเติบโตมากับสวนละมุด ตั้งแต่จำความได้ก็เห็นต้นละมุดปลูกอยู่รอบบ้าน พ่อของคุณจู้ฮ่องบอกกับคุณจู้ฮ่องว่า นำพันธุ์ละมุดนี้มาจากเมืองกลันตัน (สมัยนั้น เมืองไทรบุรี กลันตัน ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทย แต่ปัจจุบันเป็นรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย) เป็นพันธุ์ยักษ์ ผลใหญ่ ผลยาว ผิวสวย เนื้อเนียน กลิ่นหอม หวาน รสชาติดี และเมล็ดน้อย

และสวนละมุดที่คุณจู้ฮ่องเห็นมาตั้งแต่เด็ก ก็ตกเป็นสมบัติจากบรรพบุรุษสู่คุณจู้ฮ่องให้ได้ดูแลต่อเนื่อง

ไม่ต้องถามว่านานแค่ไหน เพราะต้นละมุดที่ปลูกอยู่หลังบ้าน มีต้นที่อายุมากที่สุดอยู่ 1 ต้น อายุประมาณ 130 ปี ลำต้นเจริญเติบโต แข็งแรง และให้ผลดกอย่างสม่ำเสมอ พื้นที่รอบบ้านราว 2 ไร่ อยู่ติดคลองบางกล่ำ ที่อดีตใช้สัญจรทางน้ำ เชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา ซึ่งการค้าขายก็ใช้เส้นทางคลองบางกล่ำ จนมีถนนตัดผ่าน การสัญจรและค้าขายทางน้ำก็ยุติลง

“คลองบางกล่ำ เป็นคลองที่เป็นเสมือนคลองสายหลักของอำเภอ ยาวไปเชื่อมต่อกับทะเลสาบสงขลา มีช่วงเวลาน้ำขึ้นน้ำลง มีความเค็มของน้ำทะเลเจือจางเป็นน้ำกร่อยผ่านคลองเข้ามา เมื่อก่อนทุกครั้งที่มีการขุดลอกคลอง ดินจากการขุดคลองก็นำขึ้นมาถมไว้ภายในสวน และดินนั้นเป็นดินเหนียวสีดำที่ดีมาก มีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์อยู่ในดิน”

ต้นละมุดเก่าแก่ราว 130 ปี มีเพียงต้นเดียว ในพื้นที่ 2 ไร่ รวมที่พักอาศัยด้วยแล้ว ยังมีละมุดอายุประมาณ 70 ปี อีกหลายต้น รวมทั้งสวนพื้นที่ 2 ไร่ มีละมุดประมาณ 45 ต้น ระยะปลูก 10×10 เมตร คุณจู้ฮ่อง บอกว่า ละมุดเป็นพืชที่ดูแลง่าย ที่ผ่านมาเคยเกิดกรณีน้ำท่วม มีภาวะแล้ง ละมุดก็ยังไม่ตาย แค่ชะลอการเจริญเติบโตไปบ้างเท่านั้น แต่เมื่อกลับสู่สภาพปกติ ละมุดก็เจริญเติบโตดี ซึ่งนอกจากดินดีแล้ว เชื่อว่าเป็นเพราะสายพันธุ์ที่นำมาปลูกเป็นสายพันธุ์ที่ดีด้วย

การให้น้ำ หากสภาพอากาศปกติ ไม่จำเป็นต้องให้ ยกเว้นเกิดสภาวะแล้งต่อเนื่องนานมาก จึงให้น้ำ เพราะละมุดเป็นพืชที่มีเปลือกหนา และเก็บน้ำไว้ที่เปลือก ซึ่งเป็นธรรมชาติของต้นละมุดเอง

การให้ปุ๋ย ภายในสวนปราศจากสารเคมีปะปน เพราะทุกครั้งที่ให้ปุ๋ย คุณจำเนียนจะให้ปุ๋ยรอบโคนต้น และไม่กำหนดระยะเวลาการให้ ขึ้นกับความสะดวกของผู้ปลูก โดยทั่วไปประมาณ 2-3 เดือนต่อครั้ง และใช้ปุ๋ยขี้วัวหรือปุ๋ยขี้ไก่ ตามความสะดวกที่หาได้ในละแวกใกล้เคียงเช่นกัน

หลังลงปลูก ประมาณ 5 ปี ละมุดจะเริ่มให้ผลผลิต ผลผลิตจะออกเต็มต้น เก็บไปจำหน่ายได้ในช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน และอีกช่วงในเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม

“ผลผลิตละมุดจะมากที่สุดในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน แต่หลังจากนั้นอาจเก็บได้เรื่อยๆ เพียงแต่ไม่มากเหมือนในฤดู หรือในบางปีที่สภาพอากาศดี น้ำดี มีผลผลิตให้เก็บขายได้ต่อเนื่องมาอีกหลายเดือน บางปีเก็บผลผลิตครั้งละมากๆ ได้ถึง 2 รอบ”

เมื่อถามถึงโรคและแมลงศัตรูพืช คุณจู้ฮ่อง ยืนยันว่า ละมุดเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีด้วยตนเองในธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้น โรคและแมลงศัตรูพืชจึงพบน้อย ที่ผ่านมาพบด้วงกัดยอด ทำให้เจริญเติบโต้ช้า และกินผล เมื่อผลมีขนาดใหญ่ แต่ด้วยการจัดการภายในสวนไม่ได้ใช้สารเคมี จึงใช้วิธีกำจัดแบบธรรมชาติ เมื่อพบด้วงกัดยอดและฝังตัวเข้าไปในลำต้น จะใช้ยาเส้นใส่เข้าไปในรูที่พบ อัดให้แน่น ก็เป็นการทำลายด้วงหรือแมลงที่เข้ามาทำลายละมุดได้อย่างดี

คุณจู้ฮ่อง เปรียบเทียบขนาดของละมุดภายในสวนที่เก็บได้ ว่ามีขนาดใหญ่กว่าสวนอื่น น้ำหนักที่เคยเก็บได้อยู่ที่จำนวน 4-5 ผลต่อกิโลกรัม หรือให้เห็นภาพชัดๆ ก็ขนาดเกือบเท่าผลส้มโชกุน ซึ่งขนาดผลมีผลต่อราคาซื้อขาย เช่น ขนาดใหญ่ 4-5 ผลต่อกิโลกรัม ขายหน้าสวนราคากิโลกรัมละ 100 บาท แต่ถ้าขนาดเล็กลงตามลำดับ ก็ขายในราคาหน้าสวน 40 บาทต่อกิโลกรัม และ 60 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งนอกเหนือจากน้ำหนักผลที่มากแล้ว เนื้อละมุดมีความเนียนมาก ทั้งยังหวานหอมอีกด้วย

ต้นละมุดก็เหมือนกับไม้ผลชนิดอื่น เมื่ออายุต้นมากขึ้น ผลผลิตที่ได้จะมากขึ้นด้วย โดยคุณจำเนียน บอกว่า ละมุดแต่ละต้นให้ผลผลิตไม่น้อย เก็บได้แต่ละฤดูกาล ต้นละ 150-200 กิโลกรัมทีเดียว

ในอดีต คุณจู้ฮ่องนำผลผลิตที่ได้ขึ้นรถโดยสารประจำทาง ไปขายยังตัวอำเภอหาดใหญ่ แต่ปัจจุบัน ละมุดบางกล่ำเป็นที่รู้จัก ทำให้ไม่ต้องนำไปขายด้วยตนเอง มีลูกค้ามาซื้อถึงบ้าน ในราคาที่ไม่ต่ำไปกว่าที่ต้องการเลย

แม้จะเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและตลาดเปิดกว้างสำหรับละมุดบางกล่ำ แต่การขยายพื้นที่ปลูกละมุดของคุณจู้ฮ่องและคุณจำเนียน ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย จากการสอบถามทราบว่า ต้นละมุดแต่ละต้นอายุไม่น้อย การขยายพันธุ์จึงทำได้ยาก วิธีที่สามารถทำได้มีเพียงวิธีเดียวคือ การทาบกิ่ง ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตร เพราะคุณจู้ฮ่องและคุณจำเนียน เคยทำก็ไม่ประสบความสำเร็จ

คุณสมโภช นันทวงศ์ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม้ผลบางกล่ำ กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม้ผลบางกล่ำ ก่อตั้งขึ้นมาเป็นเวลากว่า 2 ปี เป็นการรวมตัวของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลบางกล่ำ 40 ราย พื้นที่ปลูกผลไม้กว่า 100 ไร่ เช่น ละมุด มังคุด กระท้อน และผักพื้นเมือง ซึ่อตำบลบางกล่ำมีจุดเด่นในการดูแลสวนโดยไม่ใช้สารเคมี และการรวมกลุ่มกันของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อสะดวกต่อการขอสนับสนุนงบประมาณส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนในการปรับปรุงสวนและดูแลผลผลิต นอกจากนี้ ยังใช้เวลาว่างในการแปรรูปผลไม้ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตที่ได้ เช่น ละมุดผลเล็ก หากขายสดราคากิโลกรัมละ 20 บาท เมื่อนำมาแปรรูปเป็น ละมุดลอยแก้ว หรือ สวาลอยแก้ว จำหน่ายได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 100 บาท โดยใช้ผลละมุดเพียง 1-2 ผลเท่านั้น

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศไม้ผลบางกล่ำ กล่าวอีกว่า กลุ่มยินดีให้คำแนะนำในการเที่ยวชมสวนผลไม้ของเกษตรกรในพื้นที่ โดยเฉพาะการให้ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์ละมุดบางกล่ำ ซึ่งเป็นไม้ผลที่ขึ้นชื่อของอำเภอ ทั้งนี้ มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวสวนผลไม้ในพื้นที่บางกล่ำ โดยเปิดตลาดน้ำประชารัฐบางกล่ำ วัดบางหยี หมู่ที่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ รองรับนักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2560 และจะเปิดเป็นประจำทุกวันเสาร์เท่านั้น

บางบ้านปลูกไม้ผลไว้หลายชนิด แต่พบว่าไม้บางชนิดไม่ค่อยผลิดอกออกมาให้เห็น ต้นไม้ที่ไม่มีดอก อย่าหวังว่าจะได้เก็บผลกิน

สาเหตุที่ต้นไม้ไม่ออกดอกนั้น diariodeunacomunicadora.com มีปัจจัยหลายประการด้วยกัน ที่เห็นอยู่ประการหนึ่งคือ เจ้าของมักดูแลดีเกินไป รดน้ำเป็นประจํา เช่น มะม่วง ในช่วงปลายฝนต้นมะม่วงจะสะสมอาหาร เมื่อฝนหยุดจะเตรียมออกดอก หากไปรดน้ำ อาหารจะไม่สมดุล เกิดใบอ่อนออกมาแทนดอก ปีนั้นเลยไม่ติดผล ทางที่ดีควรงดน้ำช่วงปลายฝน

เป็นวิธีการเดียวกับชาวสวนส้ม ชาวสวนชมพู่ จะกักน้ำเพื่อให้ส้มและชมพู่ออกดอก

นอกจากนี้ สาเหตุที่ต้นไม้ไม่ออกดอก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตําแหน่งที่ปลูกมีประชากรหนาแน่นเกินไป เช่น มะม่วงไปซุกอยู่ใต้ต้นขนุน ใส่ปุ๋ยไม้ผลอย่างไรให้เกิดประโยชน์
ทุกวันนี้มีการแบ่งประเภทปุ๋ยอย่างชัดเจน

แรกสุดคือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ ชิ้นส่วนของพืช รวมทั้งของเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรม
ต่อมาเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมี ซึ่งมีธาตุอาหารอยู่ 16 ธาตุ ด้วยกัน แต่ธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม

ไนโตรเจน (N) ช่วยบํารุงต้นพืช บํารุงใบ ฟอสฟอรัส (P) ช่วยสร้างดอกแก่ต้นพืช โพแทสเซียม (K) ช่วยปรับปรุงผลผลิตให้หวานและสีสวยขึ้น ปุ๋ยอินทรีย์ มีธาตุอาหารมากบ้างน้อยบ้างแล้วแต่วัตถุดิบที่ได้ เช่น ขี้ค้าง คาวมีโพแทสเซียมสูง ใส่แล้วผลไม้มีสีสันสวยงาม รสชาติหวาน

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 25-7-7 ใส่สําหรับบํารุงต้น, สูตร 8-24-24 ใส่ เตรียมให้ต้นออกดอก และสูตร 13-13-21 ให้เมื่อต้นไม้ติดผล ใส่เพื่อปรับปรุง คุณภาพของผลผลิต “เมล่อน” จัดเป็นพืชอยู่ในตระกูลแตง คล้ายแคนตาลูป แต่มีความแตกต่างกันที่รสชาติ ความหอม กลิ่น เนื้อ และลวดลายที่สวยงามของผล ขึ้นกับสายพันธุ์ชนิดต่างๆ ปัจจุบัน ในเมืองไทยนิยมปลูกและรับประทานเมล่อนสายพันธุ์ญี่ปุ่น ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความหวาน หอม อร่อย และมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จนกลายเป็นผลไม้ทำเงินให้กับเกษตรกรในประเทศไทยได้มูลค่าไม่น้อย

คุณสุดารัตน์ สุขนุ่ม หรือ คุณยุ้ย ลูกสาวเจ้าของฟาร์มเมล่อนญี่ปุ่น GAP ตั้งอยู่ที่วิสาหกิจชุมชนเมล่อนหมู่ใหญ่ร่วมใจพัฒนา หมู่ที่ 4 ตำบลคู้สลอด อำเภอลาดบัวหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลูกหลานชาวนาพลิกฟื้นที่ดินทำกินให้เจริญงอกเงยยิ่งขึ้น ด้วยการปลูกเมล่อนญี่ปุ่น พร้อมสร้างมาตรฐาน GAP เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดและเพิ่มมูลค่าสินค้าจนประสบผลสำเร็จ และยังเป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนร่วมกับคุณพ่อในการสร้างมาตรฐานควบคุมผลผลิตเมล่อนจนสามารถส่งห้างได้ต่อเนื่องนานถึง 7 ปี ทำรายได้เข้ากลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า 500,00-600,000 บาท