เมนูอาหารแนะนำสำหรับผู้ป่วยพักฟื้น มีชื่อว่ายำอกไก่ชุ่มฉ่ำ

ยอดทานตะวันเป็นเมนูที่รับประทานง่าย มีรสชาติถูกปาก เปรี้ยวนิดๆ ไม่จืดจนเกินไปและย่อยง่าย เพราะประกอบด้วยผักหลากหลายชนิดและผลไม้ที่ดีต่อระบบขับถ่าย ที่สำคัญไม่มีไขมัน แถมแคลอรี่เบาๆ เพียง 165 กิโลแคลอรี่เท่านั้น อีกทั้งยังเหมาะกับผู้ที่รักสุขภาพอีกด้วย

ส่วนผสม ยอดอ่อนทานตะวัน 20 กรัม, อกไก่ 60 กรัม, ผักคอส 20 กรัม, ใบสะระแหน่ 1 กรัม, กะหล่ำปลีม่วง 10 กรัม, ข้าวโพดต้ม 15 กรัม, แอปเปิล 15 กรัม ส่วนผสมของน้ำสลัด น้ำมะนาว 50 มล., น้ำมันมะกอก, กระเทียมสับ, พริกไทยดำป่น, เกลือ, แครอต 10 กรัม, ตะไคร้ซอย 5 กรัม
ขั้นตอนการทำ 1.นำอกไก่หมักพริกไทยดำและเกลือเล็กน้อย ใส่ถุงซิปปิดสนิท ตุ๋นไฟกลางค่อนอ่อน ประมาณ 30-60 นาที จนสุกได้ที่

2.นำน้ำมะนาว น้ำมันมะกอก กระเทียมสับ พริกไทยดำป่น และเกลือเล็กน้อย ผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อทำเป็นน้ำสลัดใสมะนาว

3.จัดเรียงผักให้สวยงามบนภาชนะ หรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟ ที่บริเวณเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรีแหล่งต้นน้ำธรรมชาติ เหนืออ่างเก็บน้ำบ้านน้ำโจน หมู่ 12 ต.อ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายสุวิทย์ พุกกะเวส นายอำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ พร้อมด้วยนายชัยวุฒิ คุณาธิมาพันธ์ ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง นายดฤษกร สายศิวานนท์ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ นำกำลังร่วมกับอาสารักษาดินแดน ตชด.146 สภ.อ่าวน้อย ทหารอากาศกองบิน 5 ทหารชุดหน่วยเฉพาะกิจจงอางศึก กองกำลังสุรสีห์ ทหารชุดร้อยรักษาความสงบที่ 1 ศูนย์การทหารราบ ในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จิตอาสาเราทำความดีด้วยหัวใจ และชาวบ้านในพื้นที่ รวมกว่า 100 คน ร่วมกันสร้างฝายชะลอน้ำ-ทำโป่งเทียม เพื่อสร้างอาหารให้ช้างในป่า ตามโครงการคน-ช้างป่า อยู่ร่วมกันได้ ใต้ร่มพระบารมี

โดยการสร้างฝายชลอน้ำดังกล่าวใช้หินในแหล่งน้ำและวัสดุธรรมชาติมากั้นทำเป็นฝาย จำนวน 3 แห่ง เพื่อชลอน้ำไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำเร็วเกินไป และกักเก็บน้ำไว้ให้ช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ ได้ดื่มกินในช่วงฤดูแล้ง เป็นการลดและแก้ไขปัญหาผลกระทบช้างป่าลงมาหาอาหารกัดกินและทำลายพืชสวนการเกษตรในไร่ของชาวบ้านได้รับความเสียหาย พร้อมทำโป่งเทียมด้วยเกลือแกงอีก จำนวน 3 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งอาหารให้ช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ หากการสร้างฝายชะลอน้ำและทำโป่งเทียมสร้างอาหารให้ช้างประสบความสำเร็จจะสามารถลดผลกระทบจากช้างลงมารบกวนทำลายพืชไร่ของชาวบ้านในพื้นที่ได้

จากการสอบถามชาวบ้านทราบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2551 มีช้างป่าจำนวน 3-4 โขลง แต่ละโขลงจะมีช้างประมาณ 3-6 ตัว ออกหากินนอกพื้นที่ป่า ลงมายังชุมชนที่ชาวบ้านอาศัย ซึ่งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ปลูกผลไม้ เช่น กล้วย สับปะรด มะละกอ ซึ่งเป็นอาหารที่ช้างโปรดปราน ลงมากินและหาแหล่งน้ำ สร้างความตกใจและเกิดความเสียหายของทรัพย์สินแก่เกษตรกรในพื้นที่เกษตรกรรมเป็นวงกว้าง ตั้งแต่หมู่ 5 หมู่ 9 และหมู่ 12 ต.อ่าวน้อย ซึ่งเป็นบริเวณติดแนวเทือกเขาตะนาวศรี โดยจะเดินเลียบเส้นทางน้ำลัดเลาะลงมาตามหาแหล่งอาหารในช่วงกลางดึก ชาวบ้านจึงเข้ามาสร้างฝายชะลอน้ำและสร้างโป่งเทียมด้านในป่า เพื่อให้ช้างป่าและสัตว์ป่าชนิดอื่นมีอาหารกิน ไม่ต้องออกจากป่ามารบกวนชาวบ้าน

ศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ โดยแม่ทัพน้อยที่ 3 มอบหมายให้ พล.ต.บุญยืน อินกว่าง รองแม่ทัพน้อยที่ 3 นำกำลังจับกุมแก๊งตัดไม้ทำลายป่าและล่าสัตว์ป่า หลังสืบทราบว่ามีการตัดไม้ทำลายป่าในพื้นที่

รองแม่ทัพน้อยที่ 3 นำกำลังเจ้าหน้าที่ ชพส 3 ศมพ.อ.อมก๋อย ลงพื้นที่หาข่าวตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ. ก่อนสนธิกำลังกับ ร้อย.ทพ.3606 (ส่วนปฏิบัติการข่าวและปราบปราม ศมพ.อมก๋อย) ร่วมกับ ชพส.3 , จนท.ตร.สภ.แม่ตื่น ,หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม 24 ,หน่วยห้ามล่าสัตว์ป่านันทบุรี และกำนันตำบลแม่ตื่น เข้าตรวจยึดไม้สักพร้อมอุปกรณ์แปรรูปไม้บริเวณบ้านดูเชอะ ม.11 ต.แม่ตื่น แต่ไม่พบบุคคลที่กระทำความผิดเนื่องจากหลบหนีการจับกุมไปก่อนเจ้าหน้าที่จะเข้าไปในพื้นที่แล้ว

เจ้าหน้าที่สามารถตรวจยึดไม้สักทองจำนวน 70 ท่อนและไม้สักแปรรูปยาว 200 ซ.ม. กว้าง 10 ซ.ม. หนา 4 ซ.ม. จำนวน 100 แผ่น และไม้สักแปรรูปยาว 300 ซ.ม. กว้าง 15 ซ.ม. หนา 2 ซ.ม. จำนวน 300 แผ่น , ไม้สักแปรรูปยาว 200 ซ.ม. กว้าง 15 ซ.ม. หนา 2 ซ.ม. จำนวน 250 แผ่น ,ไม้สักแปรรูปยาว 300 ซ.ม. กว้าง 20 ซ.ม. หนา 2 ซ.ม. จำนวน 130 แผ่น , เลื่อยวงเดือนขนาดรัศมี 15 นิ้ว พร้อมชุดจำนวน 1 ชุด , เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 1 เครื่อง และรถจักรยานยนต์ยี่ห้อฮอนด้าเวฟ สีฟ้า ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน จำนวน 1 คัน

หลังจากตรวจยึดของกลางเจ้าหน้าที่ได้ขนย้ายของกลางบางส่วนมาเก็บรักษาไว้ที่หน่วยเขตห้ามล่าสัตว์ป่านันทบุรี เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องขยายผลหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป

กรุงเทพฯ/ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือ IDE Center by UTCC เตรียมจัดงาน IDE 2018 ร่วมกับบริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด กลุ่มมิตรผล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด มหาชน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน) และภาคีพันธมิตร เตรียมจัดงาน IDE 2018 เปิดเวทีเฟ้นหาที่สุดของธุรกิจนวัตกรรมแห่งปีของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมจัดกิจรรม Think Big, Act Small Symposium รวบรวมผู้นำทางความคิดจากทั่วโลกแบ่งปันประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงสังคม เดินหน้าขยายเครือข่ายระบบนิเวศธุรกิจนวัตกรรมของประเทศไทย ร่วมสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม เร่งส่งเสริมเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “จากการประมาณการสภาวะทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและในระดับโลก โจทย์การพัฒนาธุรกิจในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากโดยเฉพาะการขับเคลื่อนธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นที่จะต้องกลับมาสร้างความแข็งแกร่งให้กับประเทศ อีกทั้งตัวผู้ประกอบการเองก็จำเป็นที่จะต้องปรับตัว เสริมศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับตนเอง ซึ่งแนวทางในการเพิ่มศักยภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องมีผู้ประกอบการที่สามารถนำนวัตกรรม

ข้อมูล และมาตรฐานต่าง ๆ เข้ามาส่งเสริมภาคธุรกิจ ซึ่งการสร้างผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมถือเป็นความท้าทายใหม่ของประเทศและเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยในระยะยาวด้วยการสร้างผู้ประกอบการแบบ Startup Nation เช่นเดียวกับประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวัน ซึ่งธุรกิจที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมหรือ IDE ดังกล่าวคือหนึ่งในหนทางที่จะตอบโจทย์ให้กับประเทศ”

จากการคาดการณ์โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังระบุว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ที่ผ่านมามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 เติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าโดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งนี้หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยยังได้ประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2561 ว่ามีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวดีขึ้นถึงร้อยละ 4.2 แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งทางหอการค้าไทยและสภาหอการแห่งประเทศไทยได้แนะนำว่าภาคธุรกิจในประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนเพื่อก้าวข้ามไปสู่ยุคการสร้างนวัตกรรมอย่างจริงจัง

“การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม หรือ IDE เพื่อสร้างสรรค์ธุรกิจรูปแบบใหม่ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการนำนวัตกรรมเข้ามาขับเคลื่อน ซึ่งสำหรับ IDE เป้าหมายการทำธุรกิจไม่ได้มุ่งเฉพาะภายในประเทศ หรือภายในภูมิภาคเท่านั้น หากแต่ยังมองไกลไปถึงตลาดโลก ตลอดจน โมเดลธุรกิจ (Business Model) ที่มีความโดดเด่นไม่ซ้ำใคร ทำให้สามารถดึงดูดความสนใจจากแหล่งเงินทุนภายนอกประเทศ ก่อให้เกิดศักยภาพทางการแข่งขัน และเพื่อร่วมส่งเสริมนวัตกรรมหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยจึงได้นำระบบการค้าอัจฉริยะ หรือ Smart Trade Platform ซึ่งประกอบด้วย Trade 4.0 และ Service 4.0 มาส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนของการค้าขายสินค้าและบริการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ” นายกลินท์ กล่าวเสริม

รศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การเสริมสร้างโมเดลธุรกิจนวัตกรรมให้กับประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในพันธกิจหลักของศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หรือ IDE Center by UTCC ซึ่งที่ผ่านมา IDE Center by UTCC ได้ส่งเสริมและสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ IDE ที่ได้พัฒนาร่วมกับสถาบัน MIT สหรัฐอเมริกา เพื่อปรับเปลี่ยน Mindset จากการเป็นผู้ประกอบการแบบเดิม ผ่านการการฝึกอบรม พัฒนาและบ่มเพาะ ไปจนถึงการสรรหาและสนับสนุนแหล่งทุน สร้างเครือข่ายระบบนิเวศธุรกิจนวัตกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีแนวคิด เทคโนโลยีไปจนถึงแผนธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อให้สามารถขยายธุรกิจไปสู่ตลาดภูมิภาคและตลาดระดับโลกได้

ทั้งนี้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ IDE Center by UTCC จึงได้เดินหน้าสร้างเครือข่ายภาคีพันธมิตรและพัฒนาระบบนิเวศธุรกิจนวัตกรรม หรือ IDE Ecosystem ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในประเทศไทย ผ่านความร่วมมือจากทั้ง 5 ภาคส่วน อันประกอบไปด้วย ผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) ภาครัฐบาล (Government) ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ (Corporate) ภาคเงินทุน (Risk Capital) และภาคการศึกษา (University) การสร้างระบบนิเวศธุรกิจนวัตกรรมจะขาดภาคส่วนใดไปมิได้ ซึ่งแต่ละภาคส่วนจะต้องผลักดันและส่งเสริมซึ่งกันและกัน

“การจัดกิจกรรม IDE 2018 เป็นหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ประจำปีของ IDE Center by UTCC ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของภาคีพันธมิตร IDE Ecosystem ทั้ง 5 ภาคส่วน กิจกรรม IDE 2018 จะเป็นการรวมตัวกันของการประกอบการนวัตกรรม เทคโนโลยี และโมเดลธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากทั่วทุกมุมโลก ไปจนถึงการเฟ้นหาและคัดเลือกที่สุดของธุรกิจนวัตกรรมแห่งปีทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจนวัตกรรมในประเทศ และแสวงหาโอกาสที่ให้ธุรกิจไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย” รศ.ดร.เสาวณีย์ กล่าวทิ้งท้าย

กิจกรรม IDE 2018 ประกอบไปด้วยการแข่งขันแผนธุรกิจ IDE Competitions 3 รายการ ได้แก่การแข่งขันกะเทาะเปลือก การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจเพื่อสังคม (Global Social Venture Competition: GSVC) ในระดับภูมิภาคอาเซียน และการแข่งขัน MITEF Startup Competition Thailand ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับโลก ซึ่งมีมูลค่ารางวัลรวมทั้งสิ้นกว่า 2 ล้านบาท การแข่งขันแผนธุรกิจจะช่วยบ่มเพาะให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนแนวคิดให้เกิดผลกระทบเชิงบวกที่ครอบคลุมในทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้กิจกรรม IDE 2018 ยังได้เปิดเวที Think Big, Act Small Symposium ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด Innovators Under 35 ซึ่งได้นำผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมระดับโลกที่ประสบความสำเร็จ มาร่วมแบ่งปันและเสริมสร้างความรู้และผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยรุ่นใหม่ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรมและสามารถนำไปพัฒนาตนเองให้แข่งขันในระดับโลกได้ต่อไป

ทั้งนี้ การแข่งขันแผนธุรกิจ IDE Competitions 3 รายการได้เฟ้นหาผู้เข้าร่วมแข่งขันจากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ IDE Accelerator ที่จะได้จัดขึ้นตลอดระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา โดยได้คัดเลือกผู้เข้ารอบกว่า 200 ทีม และเหลือเพียง 27 ทีมสุดทายจากในประเทศไทยและในภูมิภาคอาเซียนเพื่อเข้าแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศในระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรม IDE 2018

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรม IDE 2018 ในระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2561 โดยการแข่งขัน IDE Competitions ทั้ง 3 รายการแข่งขันจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรม เรดิสัน บลู สุขุมวิท 27 และกิจกรรม Think Big, Act Small : Innovators Under 35 ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ณ โรงภาพยนต์ ไอแมกซ์ พารากอน ซีนีเพล็กซ์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสำรองบัตรเข้าร่วมงานได้ที่ http://go.eventpop.me/ideutcc

เอสเอ็มอีเครื่องประดับเงินไทยกระอัก เจอปัญหาหลายเด้งกระทบส่งออก หลายประเทศออกกฎตรวจรับรองโรงงานผ่านถึงให้นำเข้า ขณะที่กฎหมายฟอกเงินคุมเข้มผู้ซื้อต่างประเทศยังหนักอก แถมหลายประเทศหันมาทำเครื่องประดับเงินส่งออก “เวียดนาม” คู่แข่งสำคัญใช้สิทธิ์ GSP ได้เปรียบไทย เป้าหมายส่งออกปีཹ ขยายตัว 3-5%

นายวิบูลย์ หงส์ศรีจินดา นายกสมาคมผู้ส่งออกเครื่องประดับเงิน เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การส่งออกเครื่องประดับเงินในปี 2561 จากการประเมินเบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะขยายตัว 3-5% โดยกลุ่มผู้ส่งออกรายใหญ่ที่มีศักยภาพในการแข่งขันสามารถผลักดันให้เติบโตได้ ขณะที่ผู้ประกอบการรายย่อย (SMEs) ซึ่งมีประมาณ 35% ของผู้ส่งออกเครื่องประดับเงินยังประสบปัญหาและอุปสรรคหลายด้าน ทั้งปัญหาการไม่ได้สิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) พ่อค้าคนกลาง ซึ่งปกติจะรับซื้อไปจำหน่ายต่อเริ่มหยุดรับซื้อ เนื่องจากความต้องการหายจากเศรษฐกิจไม่ดี โดยเฉพาะตลาดยุโรปการไม่ได้สิทธิ์ GSP ส่งผลให้สินค้าไทยมีราคาสูงกว่าคู่แข่ง

ขณะเดียวกันประเทศผู้นำเข้าเริ่มวางกติกาว่า สินค้าที่จะส่งเข้าไปขายต้องผลิตจากโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่เอสเอ็มอีไทยไม่มีโรงงาน ขณะเดียวกันการขออนุญาตตั้งโรงงานใหม่มีขั้นตอนและระเบียบที่ยุ่งยาก ทำให้ผู้ส่งออกรายย่อยไม่สามารถดำเนินการได้ แต่เอื้อให้นักลงทุนต่างชาติมากกว่า ทั้งเรื่องของพื้นที่ เงินลงทุน เครื่องจักร การดูแลไม่ให้มีมลภาวะทำลายสิ่งแวดล้อม

รวมถึงเรื่องพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ที่กำหนดให้บริษัทผู้ผลิต ผู้ส่งออกเครื่องประดับ ต้องส่งรายละเอียดของผู้ซื้อ หรือผู้นำเข้าให้กับ ปปง. เมื่อซื้อสินค้าในมูลค่าที่กำหนดในกฎหมาย ยกตัวอย่าง ซื้อสินค้ามูลค่า 100,000 บาทขึ้นไปให้ส่งรายละเอียดของผู้ซื้อ กรณีนี้หากซื้อขายภายในประเทศอาจจะไม่มีปัญหา ผู้ซื้ออาจจะยินยอมให้ข้อมูลได้ แต่กรณีผู้ซื้อจากต่างประเทศ หากขอข้อมูลที่มาที่ไปของลูกค้า อาจจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการซื้อขายและการส่งออกสินค้า

นายวิบูลย์กล่าวต่อไปว่า ยังมีประเด็นเรื่องของการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการคืนภาษีให้อย่างรวดเร็วเพื่อให้เอสเอ็มอีสามารถนำเงินดังกล่าวไปเสริมสภาพคล่องในการทำธุรกิจ เนื่องจากขั้นตอนในปัจจุบันล่าช้ามาก

“ในอดีตไทยมีอินเดียเป็นคู่แข่งสำคัญ แต่ปัจจุบันหลายประเทศเริ่มหันมาทำตลาดส่งออกเครื่องประดับเงิน เช่น เวียดนาม กัมพูชา จีน เมียนมา แม้ตอนนี้ยังส่งออกไม่มาก แต่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะเวียดนามได้สิทธิ์ GSP ขณะที่สินค้าเครื่องเงินของจีนขายในราคาถูกกว่าไทย” นายวิบูลย์กล่าวและว่า

นายวิบูลย์กล่าวต่อไปว่า ในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่แข็งนั้นไม่มีผลกระทบมากนัก ขณะที่ตัวโลหะเงินแม้มีความผันผวนในเรื่องราคา ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 17.50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ไม่ได้ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตหรือการส่งออก ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้เนื่องจากเป็นปัจจัยที่รับมือได้เนื่องจากรู้ถึงสถานการณ์ ยกเว้นกรณีที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้

สำหรับปัจจัยสนับสนุนการส่งออกในปี 2561 ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องมาช่วย เช่น การผลักดันตลาดส่งออกใหม่และในการรักษาตลาดเดิม การพาไปร่วมงานแสดงสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้สินค้า โปรโมตสินค้าไทยให้กับลูกค้าใหม่ การช่วยงานวิจัยและนำนวัตกรรมเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มมูลค่าเครื่องประดับเงินไทย

อย่างไรก็ดี ตลาดสำคัญยังต้องรักษาไว้ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐ ยุโรป ฮ่องกง เป็นต้น ขณะที่ภาพรวมการส่งออกเครื่องประดับเงินปี 2560 มูลค่า 1,789 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยาย 14.74% โดยเฉพาะตลาดที่ขยายตัวดี ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐ จีน ฮ่องกง

เมื่อวันนี้ 12 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี รายงานว่า ที่หน้าปากทางเข้าบริษัท SCG ไทยเคนเปเปอร์จำกัด (มหาชน) ติดริมถนนสายบ้านหนองสังข์-บ้านวังท่าช้าง ต.บ่อทองอ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี มีการจัดทุ่งสวนดอกไม้หลายชนิด ที่กำลังออกออกดอกหลากสีสวยงามบานสะพรั่ง ท่ามกลางนักท่องเที่ยวจากทั่วสารทิศ มากกว่าวันละมากว่า 500 คน เดินทางมาชื่นชมความงดงามตระการตานี้ สร้างเศรษฐกิจรายได้เพิ่มแก่ชาวชุมชน

โดยมีไม้ดอกหลากสี จัดตกแต่งเป็นโซน ๆ อาทิ โซนดอกคอสมอส (Comos) หรือ ดงดาวกระจาย ที่มีทั้งสีขาว,สีเหลือง,สีชมพู,สีม่วง ,โซนดอกหงอนไก่ ,โซนทุ่งดอกทานตะวัน และ ซุ้มนิทรรศการตามรอยพ่อ – เศรษฐกิจพอเพียง บนเนื้อที่รวมกว่า 8 ไร่เศษ ซึ่งนักท่องเที่ยว ที่ผ่านไป – มา ต่างเห็นแล้วต้องแวะลงมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกแล้วแชร์ภาพความงดงามนี้ผ่านโลกโซเชี่ยล

โดยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์นี้ ซึ่งเป็น “วันแห่งความรัก” องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง(อบต.) ร่วมกับ อำเภอกบินทร์บุรี และ บริษัท SCG ไทยเคนเปเปอร์จำกัด (มหาชน) จะจัดเทศกาลท่องเที่ยววิถีชุมชน ครั้งที่ 1 ขึ้น กลางสวนไม้ดอกนี้ นำคู่รัก-บ่าว-สาว จำนวน 14 คู่ จาก 14 ตำบล ของ อ.กบินทร์บุรี มาจดทะเบียนสมรสหมู่กลางสวนดอกไม้ที่กำลังเบ่งบานสะพรั่งหลากสีทั้งดงดาวกระจาย-คอสมอส ,ดงดอกหงอนไก่ และทุ่งทานตะวันพร้อมบันทึกภาพแห่งความงามนี้

นายวัลลภ ประวัติวงศ์ นอภ.กบินทร์บุรีกล่าวว่า “ในวันแห่งความรัก จะมีการจัดงานเทศกาลแห่งความรักโดยทางอำเภอกบินทร์บุรี ได้จัดให้มีการจดทะเบียนคู่สมรสถึง 14 คู่ จาก 14 ตำบล ตำบลละ 1 คู่ มาร่วมในโครงการโดยทางอ.กบินทร์บุรี จะได้นำทะเบียนสมรสไปลงนามแล้วก็มอบให้กับผู้ร่วมโครง ณ บริเวณหน้าบริเวณบริษัทไทยเคนเปเปอร์ ตำบลบ่อทอง กลางดงดอกไม้ที่กำลังอออกดอกงดงาม
ซึ่งในตำบลบ่อทองได้มีการจัดงาน เทศกาลท่องเที่ยววิถีชุมชน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 14-18 ก.พ. 61

โดยหลังจากจดทะเบียนสมรสหมู่กลางดอกไม้ ได้เสริมสิริมงคลให้คู่รัก ได้นมัสการพระแก้วนิลกาล พระคู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งรัตนโกสินทร์ ,การเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เหมืองทองคำของตำบลบ่อที่ผลิตค้นหาแร่ทองคำในอดีตสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมการถ่ายรูปไร่ดอกทานตะวัน – ชมทุ่งดงดาวกระจายหรือดอกคอสมอส (Comos) ที่สวยงามหน้าบริษัทไทยเคนเปเปอร์

ด้านนางพิสมัย วารินทร์ กล่าวว่า “เป็นอีกคนหนึ่งที่อยากมาเที่ยวสวนดอกไม้ที่นี่ จึงพาน้องสาวและลูกๆมาถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก และขอชมเชยว่าที่นี่ได้จัดสวนดอกไม้ ได้สวยมากเชื่อว่าจะมาเที่ยวที่นี่อีกช่วงกลางเดือน เชื่อว่าดอกทานตะวันจะออกดอกสีเหลืองอร่ามเต็มที่ อยากเชิญชวนเพื่อนๆที่ชื่นชอบดอกไม้มาถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันได้”นางพิสมัย

ขณะที่ นางชมพูนุช ทองดี อายุ 34 ปี 68หมู่ 2 ต.กรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า “ ทราบข่าวดงไม้ดอกเริ่มบานจึงมาเที่ยวชม เป็นชาว อ.ศรีมหาโพธิ เคยมาเที่ยวเมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีแต่ดอกทานตะวัน แต่ปีนี้พบมีดอกดอกคอสมอส (Comos) หรือ ดงดาวกระจายเพิ่มขึ้นหลากสีสวยงามมาก”นางชมพูนุชกล่าว