เมล็ดพืชผักคุณภาพเหล่านี้ ย่อมทำให้การหวนกลับมาปลูกพืช

ผักสวนครัวในปัจจุบันมีความหมายมากขึ้น เพราะนอกจากประกันอัตราการงอก ระยะเวลาที่เก็บได้นาน และความแน่นอนของเมล็ดพันธุ์แล้ว คนที่เลือกใช้ยังได้ชื่อว่าคำนึงถึงการเกษตรแบบอินทรีย์ (organic) ที่กระทำไปบนพื้นฐานความตระหนักถึงสมดุลของดินฟ้าอากาศ ภาวะแวดล้อม และวัฒนธรรมชุมชน โดยมีการแทรกแซงจากมนุษย์และกระบวนการเคมีเกษตรน้อยที่สุดด้วย

พอพูดถึงเรื่องเมล็ดพันธุ์ผัก โดยเฉพาะผักพื้นบ้าน ทั้งล้มลุกและยืนต้น จำพวกพริก บวบ ฟักทอง กะเพรา โหระพา มะเขือขื่น หรือหม่อน ผมก็เลยอยากเล่าเรื่องที่ผมเคยทำอยู่บ้างเท่าที่โอกาสจะอำนวย เวลาออกไปปั่นจักรยานเล่น หรือเมื่อไปตามชนบทต่างจังหวัด

คือมันนานกว่าสิบปีแล้วนะครับ ที่ผมเริ่มมีนิสัยชอบเก็บผักป่า ผักข้างทาง มาทำกับข้าวกิน เพื่อนฝูงหลายคนก็รู้ดี ทีนี้มีคนหนึ่ง อยู่ๆ เขาก็ถามผมว่า “นายเอาแต่เก็บมากิน แล้วนี่นายไม่คิดจะปลูกแทนเข้าไปบ้างเลยเหรอ?” คำถามของเขาโดนใจผมมากในตอนนั้น

ตั้งแต่นั้นมา ถ้าผมพอจะเตรียมข้าวของทัน ผมก็จะพกเอาเมล็ดพันธุ์พืช ที่ดูแล้วว่าพอจะงอกงามตามภูมิประเทศริมทางได้ ก็พวกถั่วพู พริก กะเพรา แมงลัก บวบ แตง ฯลฯ นั่นแหละครับ ติดไปด้วยทุกครั้ง โดยแยกเป็นห่อเล็กๆ อาจห่อด้วยกระดาษบ้าง ใบไม้บ้าง

ด้วยความระลึกถึงคำเพื่อน ผมจะทยอยโยนห่อเมล็ดพันธุ์เล็กๆ พวกนี้ไปตามซุ้มกอไม้ ริมหนองน้ำ หรือในทุ่งข้างทาง หวังว่ามันจะแทรกตัวอยู่ที่นั่น รอจนฤดูฝนมาถึง และถ้ามันเติบโตงอกงามขึ้นมาพร้อมๆ กับพืชอื่นๆ ได้ ใครที่ผ่านทางมาถึงตรงนี้ ก็จะได้เก็บเกี่ยวดอก ใบ และผลของมัน อย่างที่ผมเคยทำเป็นประจำสม่ำเสมอ

บ้านที่ผมอาศัยอยู่ตอนนี้มีพื้นที่ไม่พอจะปลูกพืชอะไรได้มากนัก แถมทิศทางของแดดยังไม่เอื้ออำนวยเสียอีก ก็เลยได้แต่อาศัยพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทำสวนครัวริมทางร่วมกับธรรมชาติแบบนี้แหละครับ ซึ่งกรณีแบบผมนี้ เมล็ดพันธุ์ดีมีคุณภาพจะช่วยให้ผลประกอบการอยู่ในระดับที่น่าพอใจแน่ๆ แม้ว่าในหลายๆ แห่ง หลายๆ พื้นที่ ผมจะยังไม่เคยย้อนกลับไปอีกเลยก็ตาม

เรื่องปลูกผักปลูกพืชกินได้นี้ ใครมีวิธีดีๆ ก็เอามาเล่าสู่กันบ้างนะครับ อย่างที่บอกแหละครับ ว่าโลกหลังจากนี้คงเปลี่ยนไป ไม่เหมือนเดิมแน่ๆ

และเราคงต้องปรับตัวอยู่กับสถานการณ์แบบนี้ไปอีกนานพอดูทีเดียว คุณบุญล้วน โพนสงคราม อายุ 62 ปี ที่อยู่ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 188 หมู่ที่ 8 ตำบลวังหลวง อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคาย มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 27.5 ไร่ มีการจัดสรรเป็นพื้นที่ทำนา 8 ไร่ สวนยางพารา 7 ไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก 5 ไร่ สวนไผ่เลี้ยง 2 ไร่ และไผ่บงหวาน 1 ไร่ ทำประมง 3 ไร่ เลี้ยงสัตว์ 1 งาน เรือนเพาะชำกล้าไม้ จำนวน 1 งาน มีการใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นานกว่าที่จะประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้

ปี พ.ศ. 2540 ต้องไปเป็นลูกจ้างรับเหมาทำถนน ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และเป็นผู้จัดการฟาร์มวีราฟลอร่าแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยศึกษาเรียนรู้ที่ศูนย์พืชสวน จังหวัดกระบี่ ในการผลิตดอกหน้าวัว

ปี พ.ศ. 2542 มีความเชี่ยวชาญในการผลิตดอกหน้าวัว ได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนพิเศษที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เรื่องการดูแลรักษากิจกรรมเด่น
ปรับปรุงดินลูกรังที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ และใช้วิธีห่มดินด้วยหลักการของ “โคก หนอง นา โมเดล” จนสามารถปลูกพืชได้

นำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การหมักฟางข้าวกับปุ๋ยคอกหน่อกล้วยให้เกิดแพลงตอน เพื่อเป็นอาหารปลา ลดค่าอาหารปลา จาก 12,000 บาท/บ่อ เหลือ 5,000 บาท/บ่อ และทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ เชื้อจุลินทรีย์
เพิ่มผลผลิตข้าวโดยใช้วิธีตัดต้นข้าวระยะแตกกอพร้อมต้นหญ้าในแปลง แล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นข้าวจะเจริญเติบโตเร็วกว่าต้นหญ้า ผลผลิตเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 380 ถัง/ไร่ เป็น 400 กิโลกรัม/ไร่
มีการวางแผนผังฟาร์มดี สะดวกในการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต และจดบันทึกบัญชีฟาร์ม/บัญชีครัวเรือนสม่ำเสมอ
วางแผนการผลิตได้เหมาะสมกับกายภาพของดิน และสอดคล้องกับความต้องการของตลาด
ไม่ใช้สารเคมี ไม่เผาตอซัง ไถกลบตอซัง ใช้ทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ปลูกพืชหมุนเวียน และพืชหลังนา
ยื่นขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช 5 ชนิด กับกรมวิชาการเกษตร (ไผ่เลี้ยง กล้วยน้ำว้า เงาะนาสาร มะนาว ตะไคร้)

จัดตั้งกลุ่มปลูกพืชปลอดภัยจากสารพิษ และจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ปลูกข้าวอินทรีย์
เป็นประธาน ศพก.จังหวัดหนองคาย ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว และเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทอง
ซึ่งนอกจากจะให้ความใส่ใจกับการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์แล้ว คุณบุญล้วนยังมีกิจกรรมลดรายจ่ายในครัวเรือนเพิ่มเข้ามาอีกด้วย

การลดรายจ่ายในครัวเรือน
นำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรมาทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมักชีวภาพ จุลินทรีย์จากหน่อกล้วย สารสกัดจากสมุนไพร และอาหารปลา
จัดระบบการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ได้อย่างเหมาะสมกับพื้นที่
ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ โดยกินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน
ขยายโอกาส โดยจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ผลิตข้าว กข 12 รักษาประเพณีลงแขกทำนาเกี่ยวข้าวและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ขยายพันธุ์เองอีกด้วย เกษตรกรผู้ปลูกถั่วฝักยาว ควรเฝ้าระวังโรคพืช 2 ชนิดที่มักเกิดในช่วงฤดูฝน คือโรคใบจุดที่เกิดจากเชื้อราเซอโคสปอร่า และโรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรายูโรมายเซส ซึ่งสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของถั่วฝักยาว

อาการโรคใบจุด สังเกตได้จาก จุดแผลสีน้ำตาลปนแดงขนาดเล็กที่ใบล่างใกล้ผิวดิน ต่อมาแผลขยายใหญ่กลมสีน้ำตาล ขอบแผลไม่สม่ำเสมอ กลางแผลมีจุดไข่ปลาเล็กสีเทาดำเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ถ้ารุนแรง แผลกระจายทั่วบนใบ และพบเชื้อราขึ้นปุยสีน้ำตาลเข้มที่หลังใบ ใบแห้งกรอบและร่วง ลำต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง
หากพบโรคดังกล่าว กรมวิชาการเกษตรแนะนำให้เกษตรกรตัดใบที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราเบโนมิล 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15-20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไทโอฟาเนต-เมทิล 70% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 40-60 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน

ส่วนโรคราสนิม มักพบในระยะถั่วฝักยาวเริ่มออกดอก มักพบอาการโรคราสนิมบริเวณใต้ใบแก่เหนือผิวดินก่อนแล้วค่อยลามขึ้นด้านบนของลำต้น มักมีจุดแผลสีเหลืองซีด กลางแผลมีตุ่มนูนสีน้ำตาลแดง รอบแผลสีเหลือง ต่อมาตุ่มนูนขยายใหญ่จนปริแตกออกเป็นผงสีน้ำตาลแดงคล้ายสีสนิม หากรุนแรง จะพบแผลกระจายทั่วทั้งใบ ใบเหลือง และหลุดร่วง

หากพบโรคราสนิม แนะนำให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อราคลอโรทาโลนิล 50% เอสซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไตรอะดิมีฟอน 20% อีซี อัตรา 10-15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน+ไดฟีโนโคนาโซล 20%+12.5% เอสซี อัตรา 10-20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน

สำหรับแปลงปลูกถั่วฝักยาวที่เจอการระบาดของโรคพืชทั้งสองชนิด หลังสิ้นสุดฤดูปลูกหลังเก็บเกี่ยวถั่วฝักยาวเรียบร้อยแล้ว กรมวิชาเกษตรแนะนำให้เกษตรกรทำความสะอาดเก็บต้น เก็บกวาดเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดปริมาณการสะสมเชื้อสาเหตุของโรคไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพาะขยายพันธุ์ข้ามฤดูกาล ลดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเชื้อสาเหตุโรค และสามารถลดการเกิดโรคได้ หลีกเลี่ยงการให้น้ำในช่วงเย็นหรือช่วงใกล้ค่ำ ในฤดูปลูกถัดไป ไม่ควรปลูกถั่วฝักยาวแน่นจนเกินไป ควรปรับระยะปลูกให้มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีแสงแดดส่องผ่านแปลงปลูกได้

“ข้าวโพดฝักอ่อน” พืชสร้างรายได้งาม แต่หลายคนมองข้าม ต้นทุนต่ำ ปลูกได้ตลอดทั้งปี เก็บขายทำเงินไว

คุณรำเพย เทียมเมฆา หรือ พี่ดา อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ที่ 12 ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรสาวคนเก่งอดีตพนังงานปั๊มผู้ไม่ย่อท้อ เรียนจบ กศน. หันเอาดีด้านการเกษตร โดยเริ่มจากการช่วยแม่ปลูกผัก ทำไร่ข้าวโพด จนพัฒนามาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัวนานกว่า 30 ปี ปลูกเอง หักเอง ขายเอง เริ่มจากแนวคิดที่จะทำเกษตรพอเพียง ปลูกผักสวนครัวไว้กินเองที่บ้านก่อน หวังว่าให้ในทุกวันมีกิน เมื่อทำงานเหนื่อยกลับมาบ้านก็ไม่ต้องออกไปซื้อกับข้าวที่ตลาด เพียงแค่เปิดประตูหลังบ้านมาก็เจอผักสวนครัวที่ปลูกไว้เลย มีของในครัวนำมาประกอบอาหารโดยที่ไม่ต้องเสียเงิน อันนี้คือจุดยืนสำคัญของเธอ ใช้เงินให้น้อยที่สุด ทุกอย่างมีอยู่ในบ้าน ไม่ได้หวังกำไรมากมาย ทำไปเรื่อยๆ ไม่อาศัยทฤษฎี ไม่มีสูตรที่ตายตัว ต้องเรียนผิดเรียนถูก การทำเกษตรปลูกพืชผักไม่มีอะไรที่ตายตัว อย่างเช่น สูตรน้ำหมักที่ทำเองแล้วได้ผลดี พืชเจริญงอกงาม ชาวบ้านที่พบเห็นจะเข้ามาถามสูตร แต่บางทีสูตรที่ใช้ไม่ได้เหมาะกับทุกพื้นที่ หรือบางที่มีโรคแมลงไม่เหมือนกัน ก็ต้องต่างเรียนรู้ดัดแปลงให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของตัวเองต่อไป

ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน 2 ไร่ครึ่ง
สร้างรายได้ 40,000 บาท ในเวลา 2 เดือน
พี่ดา บอกว่า การปลูกข้าวโพดฝักอ่อนเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ตลอดทั้งปี เป็นพืชหมุนเวียน ปลูกได้ทุกฤดู ใช้ต้นทุนต่ำ ทำเงินไว แต่ยังมีคนปลูกน้อยเนื่องจากอากาศที่ร้อนจัด คนไม่สู้ และเมื่อถึงเวลาตอนหัก หาคนงานไม่ได้ เขาจึงหันไปปลูกพืชชนิดอื่นกันหมด แต่ที่ตนยังทำได้เพราะตนปลูกเอง หักเอง ทำทุกอย่างเอง แบ่งปลูกเป็นรุ่น รุ่นละ 2 ไร่ครึ่ง ทำเองคนเดียวได้สบาย วิธีการปลูกก็ไม่ยุ่งยากอะไร

การเตรียมดิน…ไถดะโดยใช้ผาน 3 แล้วตากดินไว้สัก 1 สัปดาห์ เป็นอย่างต่ำ จากนั้นชักร่องแล้วหยอดเมล็ดได้เลย การหยอดเมล็ด…จะใช้ไม้กระแทก จะไวกว่าใช้มือหยอด ระยะห่างระหว่างหลุม 30 เซนติเมตร 1 หลุม หยอด 4-5 เมล็ด หลังจากหยอดเมล็ดเสร็จให้รดน้ำได้ทันทีเพื่อป้องกันนกพิราบมาจิกกินเมล็ดสร้างความเสียหาย (การรดน้ำเพื่อเป็นการปิดปากหลุมไปในตัว)

การดูแลรดน้ำ… ระบบน้ำจะปล่อยไปตามร่องสวน จากนั้นหมั่นคอยดูแลให้น้ำทุกๆ 2-3 วันครั้ง หลังจากนั้นประมาณ 20 วัน ข้าวโพดจะมีความสูงได้ประมาณสัก 2 คืบ จะเริ่มให้ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย…จะพยายามใช้เคมีให้น้อยที่สุด บางรุ่นก็ไม่ได้ฉีดเลย ถ้าจำเป็นต้องใส่จะใส่ปุ๋ยเคมีเพียง 2 รอบ แต่จะใช้ปริมาณน้อยที่สุด รอบที่ 1 ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 พอใส่ปุ๋ยเสร็จให้หมั่นรดน้ำ แล้วเริ่มใส่ปุ๋ยรอบที่ 2 ตอนที่ต้นกำลังจะดึงยอดคือ ช่วงประมาณ 35-40 วัน ยอดจะตูม แข็ง ช่วงนั้นต้องใส่ปุ๋ยรอบที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรที่ตัวหลังเยอะหน่อยเพื่อที่จะเพิ่มน้ำหนัก และหลังจากนั้นอีกประมาณ 3 วัน ยอดจะเริ่มบานก็จะเริ่มดึงยอดทิ้งเอาไปให้วัว

หลังจากดึงยอดเสร็จ ให้นับไปอีก 5-7 วัน ข้าวโพดจะเริ่มมีฝักให้หักได้ รวมระยะเวลาตั้งแต่การปลูกจนถึงเก็บเกี่ยว เพียง 50-55 วัน ถ้ามีคนงานหลายคนจะใช้เวลาหักเพียง 5-7 วัน แต่ที่ไร่หักเองคนเดียว จะใช้เวลาประมาณ 10 วัน ทยอยหักไปเรื่อยๆ

ผลผลิตดก ไร่ละ 2.1 ตัน ถือว่าได้ผลผลิตเยอะกว่าคนในละแวกเดียวกัน เพราะว่าการปลูกของที่ไร่มีเทคนิคพิเศษ ทำน้ำหมักรกหมูไว้ใช้เอง ในถัง 200 ลิตร ปล่อยไปตามร่องสวน และฉีดพ่นเป็นระยะ เป็นการบำรุงพืชใช้ทดแทนปุ๋ยเคมีได้เป็นอย่างดี เมื่อเทียบกับสวนใกล้เคียงที่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีรุ่นละ 2 รอบเท่ากัน แต่ปริมาณการใส่จะต่างกันมาก อย่างปกติทั่วไปจะใส่ปุ๋ยเคมี ไร่ละ 1 ถุง ของที่ไร่ในพื้นที่ 2 ไร่ครึ่ง จะใส่ปุ๋ยเคมีไม่ถึง 1 ถุง นอกจากนี้ จะอาศัยน้ำหมักรกหมูตลอด ทั้งฉีดและให้ไปกับน้ำ

สูตรน้ำหมักรกหมู
เพิ่มผลผลิตดก ลดต้นทุนค่าปุ๋ย
เจ้าของบอกว่า เนื่องจากมีความสนใจในเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์เป็นพิเศษ และได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมการทำเกษตรที่มหาวิทยาลัยเกษตรกรศาสตร์ กำแพงแสน มีช่วงหนึ่งของการอบรมมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง ตนเกิดความสนใจเป็นพิเศษจึงตั้งใจฟังและจดเนื้อหาที่เข้าอบรมเพื่อมาเป็นแนวในการกลับมาทำเกษตรอินทรีย์ที่บ้าน มีการดัดแปลงสูตรมาเรื่อยๆ เพื่อให้ตรงกับสภาพพื้นที่ของตัวเอง จนได้สูตรน้ำหมักรกหมูมาใช้จนถึงปัจจุบันนี้

“ช่วงแรกที่ทำ จะได้รกหมูมาจากคอกหมูของเพื่อนที่เขาเลี้ยงหมูขาย แล้วหมูของเพื่อนคลอดลูก เราก็ถามเพื่อนว่า รกหมูที่ได้มาตรงนี้จะเอาไปไหน เพื่อนก็ตอบกลับมาว่าก็เอาไปทิ้งหละสิจะเก็บไว้ให้เน่าเหม็นหรือไง พอเพื่อนบอกจะเอาไปทิ้งจึงคิดขึ้นมาว่าอยากทดลองทำน้ำหมักรกหมูตามตำราที่เคยได้อ่านมา จึงเอ่ยปากขอรกหมูกับเพื่อน เพื่อนก็ถามว่าจะเอาไปทำอะไร เราก็ตอบไปแบบติดตลกว่าไม่เอาไปกินหรอกหน่า แต่จะเอาไปทำน้ำหมัก ตอนนั้นได้รกหมูจากเพื่อนมาประมาณ 10 กิโลกรัม ก็นำรกหมูทั้งที่ยังไม่ได้ล้างมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปใส่ในถังหมัก 200 ลิตร

อัตราส่วนรกหมู 10 กิโลกรัม กากน้ำตาล 5 กิโลกรัม หัวเชื้อพด.2 จำนวน 2 ซอง ใส่ไปในถังแล้วปิดฝาไว้ แต่พอหมักไปได้ 3 วัน เกิดกลิ่นเหม็นขึ้นมา จึงนึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเจอว่าถ้าใส่สับปะรดหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยลดกลิ่นลงได้ ก็เลยไปซื้อสับปะรด มะม่วง ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมาสับใส่เข้าไป กลิ่นก็ดีขึ้น 2 วัน เปิดคนทีหนึ่ง หมักทิ้งไว้ 4-5 เดือน สามารถนำมาใช้ได้ ซึ่งจริงๆ แล้วหมักเพียง 3 เดือนก็ใช้ได้แล้ว แต่ของเรามีการใส่รกหมูเพิ่ม ใส่ส่วนผสมเพิ่มไปเรื่อยๆ มีการเปิดฝาบ่อยจึงต้องใช้เวลานานกว่าปกติ

แต่ถ้าเป็นสูตรที่มือใหม่อยากทดลองทำแนะนำให้ผสมส่วนผสมทีเดียวให้เต็มถังไม่ต้องเปิดเติมบ่อยๆ ส่วนผสมก็มีรกหมู กากน้ำตาล หัวเชื้อพด.2 เปลือกสับปะรด น้ำสะอาด ใส่รวมคนให้เข้ากันหมักไว้ในถัง เปิดคนทุก 2 วัน 3 เดือนเริ่มนำมาใช้ได้ แต่ถ้าไม่รีบใช้แนะนำให้หมักทิ้งไว้ไปถึง 5-6 เดือน เพราะยิ่งหมักนานยิ่งดีส่วนผสมจะเกิดการย่อยสลาย จะได้ประสิทธิผลที่เต็มเม็ดเต็มหน่วย” พี่ดา กล่าวถึงที่มาและสูตรน้ำหมักรกหมู

อัตราการใช้
สำหรับฉีดพ่นอัตราส่วนน้ำหมักรกหมู 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร นำมาฉีดพ่นช่วงเช้าๆ ฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และปล่อยให้ตามน้ำด้วย ถือเป็นเทคนิคที่เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี ผลผลิตที่ได้ออกมาน้ำหนักดี สีเหลืองสวย กรีดออกมาเรียงกันเป็นแถวสวยงาม

รายได้ต่อ 1 รอบการปลูก
2 ไร่ครึ่ง ประมาณ 40,000 บาท
หักต้นทุนไปแล้วยังเห็นกำไร สามารถนำมาจุนเจอครอบครัวได้เป็นอย่างดี ราคาขายขึ้นอยู่กับช่วงเวลา ช่วงราคาดี ขายทั้งเปลือกกิโลกรัมละ 6-7 บาท ช่วงราคาถูกกิโลกรัมละ 4-5 บาท จะอยู่ในราคานี้ไม่ต่ำไปกว่านี้ ซึ่งนอกจากขายฝักอ่อนไปแล้ว ส่วนอื่นก็สามารถสร้างเงินได้อีก ไม่มีส่วนไหนที่ต้องทิ้งเลยตั้งแต่ต้น ยอด เปลือกที่กรีดออกมา นำไปขายให้คนเลี้ยงวัวได้ หรือถ้าไม่ขายต้นก็สามารถไถกลบเพื่อบำรุงดินต่อไปได้ จะเห็นได้ว่าทุกส่วนของข้าวโพดไม่ได้มีส่วนไหนที่ต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์และไม่ได้เงินเลย ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ดีอีกทางหนึ่งเพียงแค่ต้องขยันสามารถปลูกเอง หักเองได้ ไม่ต้องง้อแรงงานคนอื่น

ตลาด…มีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่ อยากปลูกตอนไหนเวลาไหนก็ได้พ่อค้ารับหมด เพราะความเชื่อใจและผลผลิตที่ออกมาสวยเป็นที่ต้องการของตลาด เขามารับไปขายก็ขายได้ราคาดี

เป็นเกษตรกรแบบพอเพียง
ทำเท่าที่ไหว ดีอย่างไร
“ทุกวันนี้มีความสุขกับการเป็นเกษตรกรมากๆ ไม่ต้องการอะไรไปมากกว่านี้แล้ว แค่ในทุกวันมีกิน ไม่ต้องกระเสือกกระสนไปหาของกินที่อื่น ตกเย็นมาก็ไม่ต้องไปเดือดร้อนว่าจะมีอะไรกินไหมเพราะที่ข้างบ้านเรามีผักผลไม้ให้เลือกเก็บกินมากมาย ไข่ก็มี ผักก็มี ทุกอย่างไม่ต้องใช้เงิน ไม่ต้องกลัวว่าจะอดแค่นี้ก็พอใจแล้ว” พี่ดา กล่าวทิ้งท้าย

ปีนี้ เป็นปีที่ คุณจำลอง ขุริรัง อดีตข้าราชการครูบำนาญและครูต้นแบบ มีอายุครบ 80 ปี

แม้วัยจะสูงขึ้นตามลำดับ แต่อดีตข้าราชการครูคนนี้ ก็ไม่เคยว่างเว้นจากงานเกษตร สองมือยังคงจับจอบเสียมอยู่ทุกวัน ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงเสมือนหนุ่มๆ วันที่พูดคุยกัน คุณจำลอง ยังถือจอบกลับกองปุ๋ยหมักที่เตรียมไว้สำหรับใส่สวนมะม่วงที่มีอยู่

“ผมเป็นครูเกษตร สอนมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2509 เกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้อำนวยการ มาเริ่มต้นทำสวนมะม่วงก่อนเกษียณ ราวปี พ.ศ. 2530 และเริ่มทำมะม่วงนอกฤดูในอีก 5 ปีถัดมา”

คุณจำลอง ได้รับรางวัลครูต้นแบบ ในปี พ.ศ. 2561 ความหมายของครูต้นแบบที่ครูจำลองบอก คือ ครูที่ดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย และไม่เป็นหนี้ เริ่มต้นปลูกมะม่วง บนพื้นที่ 30 ไร่ เป็นมะม่วงเขียวเสวย และฟ้าลั่น

ผลผลิตที่ได้ มีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน ไม่ต้องเสียค่าขนส่งไปไหน มีกำไรมาก เพราะคุณจำลองบริหารจัดการภายในสวนให้เกิดต้นทุนน้อยที่สุด

แต่ปัจจุบัน ลูกชายแบ่งพื้นที่ไปปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา ทำให้เหลือพื้นที่สวนมะม่วงที่คุณจำลองบริหารจัดการเองเพียงคนเดียว เพียง 12 ไร่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีรายได้เข้ามาเป็นกอบเป็นกำ จากผลผลิตทั้ง 12 ไร่ ประมาณ 8-10 ตัน ต่อปี

พื้นที่บ้านหินลับ ตั้งอยู่ที่ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีระบบชลประทานหรือแหล่งน้ำใกล้เคียง สวนมะม่วงทั้งหมดจึงอาศัยเพียงน้ำฝนที่ตกตามฤดูกาลเท่านั้น

คุณจำลอง เล่าว่า ปัจจุบันผลิตทั้งในฤดูและนอกฤดู UFABET เพิ่มสายพันธุ์โชคอนันต์ แก้วลืมรัง มหาชนก และมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จากเดิมมีเพียงเขียวเสวย และฟ้าลั่น ซึ่งตลาดต้องการมากคือ เขียวเสวย และน้ำดอกไม้สีทอง ต้นทุนทั้งหมดต่อปีเพียง 30,000-40,000 บาท จากการจ้างแรงงานห่อมะม่วง แรงงานตัดหญ้า แรงงานใส่ปุ๋ยคอกและแต่งกิ่ง ทำให้มีรายได้เมื่อหักลบต้นทุนการผลิตแล้ว เหลือปีละไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท

“หลังบ้านผมเลี้ยงหมู ผมนำขี้หมูมาทำปุ๋ยคอก ใส่ให้กับมะม่วง ผสมขี้หมูกับแกลบและกากน้ำตาลจากอ้อย ทำให้ประหยัดต้นทุนเรื่องปุ๋ยไปได้มาก” คุณจำลอง เผยเทคนิคการทำมะม่วงนอกฤดูให้ฟัง ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

เลือกสถานที่ที่จะปลูกเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง หรือจะเป็นคันคูขอบสระก็ปลูกได้

บุกเบิกโดยการไถ กำจัดวัชพืชจนดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายหรือดินหินลูกรังก็สามารถปลูกได้ การเตรียมต้นกล้า โดยแกะเอาเมล็ดในฝักผลมะม่วงสุก (มะม่วงอะไรก็ได้) เพาะลงในถุงดำ จนต้นกล้าโต

ขั้นตอนที่ 3

การปลูก เมื่อต้นกล้าโต สูงประมาณ 1 ฟุต ก็นำต้นกล้าไปปลูกลงหลุมในแปลงที่เราเตรียมไว้แล้ว ซึ่งก้นหลุมควรมีปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละ 2-3 ถ้วย หลุมไม่ควรให้ลึกเกินไป ห่างกันระหว่างต้นและแถว 4×4 หรือ 4×5 เมตร เพื่อประหยัดพื้นที่ หมั่นใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชอยู่ประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี ก็สามารถนำยอดพันธุ์ที่เราต้องการมาเปลี่ยนยอดได้ โดยการเสียบข้าง

การเปลี่ยนยอด เมื่อต้นกล้าที่เราปลูกโตได้ขนาดเท่าเทียนไข ให้นำยอดมะม่วงพันธุ์ที่เราต้องการ ยาวประมาณนิ้วชี้ ตัดเอายอดที่กำลังมีตา ยอดกำลังจะโผล่ ยาว 1 นิ้วชี้ (ลงปลูกช่วงต้นฤดูฝน) เอามีดคัตเตอร์ปาดต้นตอตามแนวขวางและปาดตามแนวดิ่ง 2 ข้าง ขนานกัน พอให้ดึงเปลือกออกมาได้ แล้วปาดยอดเป็นลิ่มข้างเดียว นำมาเสียบข้างที่เราดึงเปลือกออกมา

แล้วก็พันด้วยพลาสติกใสจากข้างล่างขึ้นบน กันไม่ให้น้ำและอากาศเข้าแผลต่อได้ ทิ้งไว้ประมาณ 2-4 สัปดาห์ หากยอดที่เรานำมาเสียบข้างมียอดโผล่ออกมา ให้แก้พลาสติกที่เราพันออกให้ยอดพันธุ์โผล่จนยาวค่อยตัดต้นตอทิ้ง เราก็จะได้มะม่วงพันธุ์ตามที่เราต้องการ จากนั้นให้หมั่นกำจัดวัชพืช พรวนดิน ใส่ปุ๋ย ประมาณ 2 ปี มะม่วงพันธุ์ใหม่จากยอดที่เรานำมาเปลี่ยนก็จะเจริญงอกงาม แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นทรงพุ่ม และเริ่มออกดอกออกผล เมื่อเริ่มออกดอกออกผลให้ตัดทิ้งก่อน เพราะต้นยังเล็กอยู่ และรอคอยการให้ผลผลิตในรอบต่อไป จะทำให้ได้มะม่วงแบบลงทุนน้อย ประหยัด มีคุณภาพต่อไป