เมล่อนเป็นพืชตระกูลแตง ดูแลง่าย แต่การปลูกในโรงเรือนจะทำ

ผลผลิตที่ดีในทุกฤดู สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ อีกทั้งยังลดปัญหาโรคและแมลง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำโรงเรือนมีขนาดตาถี่มาก ป้องกันแมลงเข้าภายในโรงเรือนได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบฟาร์มยังเป็นท้องนาอยู่ ทำให้ปัญหาแมลงศัตรูพืชพบได้น้อย เพราะไม่มีพืชตระกูลเดียวกันเป็นตัวชักจูง แต่การป้องกันโรค หลังเสร็จสิ้นการเก็บผลผลิตและเตรียมแปลงปลูก จะต้องกำจัดวัชพืชภายในโรงเรือนให้หมด เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้

การเพาะกล้า นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์เก็บ ห่อด้วยผ้าดิบชุบน้ำบิดหมาด เก็บในกระติกหรือที่อับชื้น 25 ชั่วโมง สังเกตเห็นมีรากงอก ให้นำไปเพาะในถาดปลูก ขนาด 104 หลุม โดยใช้พีทมอสส์ (Peat moss) เป็นวัสดุเพาะกล้า รดน้ำเช้าเวลาเดียว 7-10 วัน จากนั้นย้ายปลูกลงแปลง

ระยะปลูก 50×50 เซนติเมตร ทำค้างความสูง 180 เซนติเมตร หรือพิจารณาจากความสูงสุดเอื้อมของแรงงาน เพื่อสะดวกเมื่อต้องดูแลต้น นำกล้าลงปลูก ภายในแปลงเป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำเฉพาะเวลาเช้า นานประมาณ 10 นาที เมื่อติดลูกให้ลดปริมาณน้ำลงเรื่อยๆ ดูความชื้นเป็นหลัก และงดน้ำ ก่อนเก็บผล 10 วัน เมื่อติดผลขนาดไข่ไก่ให้โยงเชือกรับน้ำหนักผลเมล่อน และสามารถเก็บผลได้หลังจากย้ายปลูก 90 วัน

เมื่อเมล่อนให้ใบ 7 ใบ ให้แทงปุ๋ยลงกลางระหว่างต้น ใช้สูตร 16-16-16 จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ควรผสมเกสรไว้ 3 ผล เมื่อติดผลให้เลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว เมื่อผลเริ่มคล้อยให้แทงปุ๋ยลงระหว่างต้น ที่เดิม สูตร 11-6-34 ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

“เทพมงคล ฟาร์ม ให้ปุ๋ยเคมีน้อยมาก เพราะการปลูกให้เมล่อนได้ผลผลิตดี ควรดูแลด้วยอินทรียวัตถุดีกว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งหากจะให้ก็เพียงเป็นตัวบำรุงเสริมเท่านั้น”

ภายในโรงเรือนแปลงยาว 30 เมตร กว้าง 1 เมตร ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโคนม เพื่อให้ได้อินทรียวัตถุสูงและไม่มีเมล็ดหญ้าปะปนมา นอกจากนี้ ควรเลือกมูลโคนมที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยสับปะรด เพราะมูลดังกล่าวจะทำให้เมล่อนมีเนื้อสีเหลืองได้ ปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ 30 กระสอบ ต่อโรงเรือน และทุกๆ 2 สัปดาห์ จะเพาะกล้า เพื่อตัดเมล่อนหมุนเวียนขายได้ตลอดปี

ปัจจุบัน เมล่อน เป็นพืชหลักของเทพมงคล ฟาร์ม แต่ละสัปดาห์ต้องผลิตส่งห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 600 กิโลกรัม แต่ความสามารถในการผลิตต่อสัปดาห์ สามารถเก็บผลได้มากถึง 5 ตัน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อซื้อไปขายยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น เขาใหญ่ วังน้ำเขียว ฉะเชิงเทรา ในราคาส่งกิโลกรัมละ 85 บาท และอีกจำนวนหนึ่งยังคงเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ด้วย

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ต้องการสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว คุณมงคล แนะนำว่า ควรเริ่มจากโรงเรือน 3-5 โรงเรือน จำนวนผลผลิตต่อโรงเรือนเฉลี่ย 200 ต้น สร้างรายได้เฉลี่ย 40,000 บาท ต่อ 3 เดือน

นอกเหนือจากเมล่อน ซึ่งเป็นพืชหลักในการปลูกสร้างรายได้และพัฒนาพันธุ์ของเทพมงคล ฟาร์มแล้ว คุณมงคลยังสนใจพืชผักอีกหลายชนิด เช่น แตงกวา บวบงู มะเขือเทศเชอร์รี่สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งพืชผักที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ หากประสบความสำเร็จ เทพมงคล ฟาร์ม ก็พร้อมเปิดจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจทั่วไป

เทพมงคล ฟาร์ม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งนอกจากจะปลูกเมล่อนเชิงพาณิชย์ การปรับปรุงพันธุ์สำหรับพืชผักอีกหลายชนิด การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ แล้วยังเป็นสถานศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับคนรักเมล่อน โดย คุณมงคล ธราดลธนสาร เปิดฟาร์มเป็นแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงเกษตร ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เกษตรไทยไม่จน” จัดให้มีการอบรมการปลูกเมล่อน รับจำนวน 15 คน ต่อรุ่น ระยะเวลา 3 วัน (ศุกร์-อาทิตย์) และเปิดอบรมทุก 3 เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้สนใจสามารถติดตามผ่านทางเฟซบุ๊ก : เทพมงคล ฟาร์ม (Melon Farm) หรือติดต่อได้ที่ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 528 หมู่ที่ 14 ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ (086) 115-6295

นายเศวต วิชัยดิษฐ ปราชญ์ชาวบ้าน อยู่บ้านเลขที่ 15/3 หมู่ 2 ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี เปิดเผยถึงสถานการณ์ การผลิตมะพร้าวแกงในพื้นที่อำเภอเกาะสมุยว่า ปัจจุบันพื้นที่ลดลง เนื่องจากมีสิ่งก่อสร้างเข้ามาแทนที่ ทางสำนักงานเกษตรอำเภอเกาะสมุย จึงได้ร่วมกับเกษตรกรอนุรักษ์และปลูกมะพร้าวแกงขึ้น โดยปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่นอย่างลางสาด มังคุด ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรได้ตระหนักถึงของดีที่มีอยู่

นายเศวตกล่าวว่า มะพร้าวเกาะสมุย ที่อายุมากๆและให้ผลผลิตอยู่ ปัจจุบันบางสวนมีอายุกว่า 100 ปี ซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ เกษตรกรที่มีความเข้าใจก็ปลูกทดแทน ในอดีตที่ผ่านมานั้น นอกจากอาชีพทะเลแล้ว เกษตรกรอยู่ได้เพราะมะพร้าว ราคาซื้อขายกัน ผลละ 10-20 บาท แล้วแต่ฤดูกาลแล้วก็การติดผลมากน้อยแค่ไหน

“หลังจากปลูกไม่เกิน 8 ปี มะพร้าวแกงที่ปลูกก็จะให้ผลผลิตได้ แต่หากใครดูแลดี อาจจะให้ผลผลิตเร็วกว่านี้ มะพร้าวแกงสมุยทะลายหนึ่งติดผล 18-20 ผลต่อทะลาย ผลมี 2 ลักษณะคือสีเขียวอ่อนและสีเหลืองแดง ขนาดผลปานกลาง เนื้อหนา จุดเด่นคือเมื่อนำไปคั้นกะทิมีความมัน และกลิ่นหอมมาก เป็นมะพร้าวแกงระดับแนวหน้าของประเทศ…การอนุรักษ์ ทางเกษตรกรร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ อยากให้ชาวบ้านได้ดูเป็นตัวอย่าง เป็นการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร ส่วนใหญ่เกาะสมุยอยู่ได้ด้วยมะพร้าวกัน..ต้นพันธุ์พอมี แต่ต้องติดต่อล่วงหน้า ที่เบอร์โทรศัพท์ 087-8846832 และ086-1204118”นายเศวตกล่าว

พลูเป็นไม้เลื้อยที่มีข้อและปล้องชัดเจน โดยแต่ละข้อจะมีรากสั้นๆออกรอบๆ จัดเป็นพืชใบเดี่ยวติดกับลำต้นแบบสลับ ซึ่งลักษณะของใบจะแหลมคล้ายใบโพธิ์ ผิวใบมัน มีรสเผ็ดร้อน นิยมนำมาทากับปูนแดงเคี้ยวร่วมกับหมาก นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีมงคลเป็นเครื่องเซ่นไหว้ การทำเครื่องบายศรีสู่ขวัญ

สวนพลูกว่า 20 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลคลองใหม่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยมี คุณสิตา หิมารัตน์ หรือคุณเจี๊ยบ เจ้าของสวนพลูแห่งนี้

คุณเจี๊ยบ เล่าว่า การปลูกพลูการเกษตรที่ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ และเธอเอง ก็มาสืบสานอาชีพนี้ต่อ พลูเป็นพืชที่ปลูกได้ทุกสภาพพื้นที่ แต่จะให้ผลผลิตดีต้องปลูกในพื้นที่ที่สภาพอากาศร้อนชื้นและมีแสงแดดส่งถึงอย่างน้อย 50-60 เปอร์เซ็นต์ โดยสามารถปลูกได้ทุกฤดู

30 วันเก็บ 1 ครั้ง ไม่งั้นใบจะแก่เกินไป

เริ่มต้นการปลูก ดินต้องเป็น ดินร่วน ขุดหลุม ลึก 15 เซนติเมตร กว้าง 30 เซนติเมตร โดย กิ่งพันธุ์ต้องเป็นยอดที่ขยายพันธุ์โดยการชำ

ระยะปลูกระหว่างต้น ระหว่างแถว อยู่ที่ 1.2 เมตร คูณ 1.5 เมตร และต้องให้น้ำวันเว้นวัน และปุ๋ยเดือนละ 2 ครั้ง หลังจากปลูกแล้ว 3 เดือนเก็บใบขายได้ และเมื่อ คิดตค่าติดตั้งโรงเรือน ระบบน้ำ 1 ไร่ ใช้เงินทุนประมาณ 40000 บาท

สำหรับตลาดที่สำคัญคือ ปากคลองตลาด และส่งออกไป ไต้หวัน ด้วย ส่วน ราคาจำหน่าย จะแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ ขนาดใบใหญ่ จำหน่ายกิโลกรัมละ 70 บาท ใบขนาดกลางเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ จำหน่ายกิโลกรัมละ 100 บาท ส่วนใบขนาดเล็กจะจำหน่ายกิโลกรัมละ 30-50 บาท โดยราคาแต่ละขนาดจะปรับขึ้น-ลง ตามปริมาณใบพลูในช่วงเวลานั้นๆ

ทั้งนี้ คุณเจี๊ยบ มีคำแนะ สำหรับคนที่อยากปลูกคือ ต้องเริ่มต้นจากหาตลาดก่อน ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญอันดับแรก

ผู้สนใจ ติดต่อ คุณเจี๊ยบได้ที่ โทร. 062-4239236 หรือ เข้าไปดูในเพจ ขายใบพลูราคาส่ง by เจี๊ยบ ปีที่ผ่านมาพบว่า มีขนุนวางจำหน่ายในตลาดผลไม้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ทำให้ปริมาณการผลิตลดน้อยตามไปด้วย อีกทั้งมีการส่งออกไปจีนและอินโดนีเซียอีกจำนวนหนึ่ง

แนวคิด ที่จะยืดเวลาการผลิตขนุนให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีบังคับให้ออกนอกฤดูนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลกับขนุนนั้น เคยเกิดความเสียหายมาแล้ว ขอเล่าย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกน่าฉงน

มีเกษตรกรท่านหนึ่ง ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ราดให้กับต้นมะม่วงเพื่อบังคับให้ออกนอกฤดู แต่ในสวนดังกล่าวเกษตรกรปลูกแซมด้วยต้นขนุน ซึ่งมีผลกระทบเมื่อขนุนแตกใบอ่อนออกมาใหม่ ใบเกิดมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับมือของมนุษย์ที่แบคว่ำลง ที่ใต้ใบมีผลขนุนขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือติดอยู่ตามแฉกของใบเต็มไปหมด ในที่สุดเกษตรกรต้องตัดต้นขนุนทิ้งไปหลายต้น

แพคโคลบิวทราโซล เป็นสารที่มีความสามารถในการยับยั้ง การผลิตฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน ที่ทำหน้าที่ยืดความยาวของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตทางลำต้น รวมทั้งกิ่งและใบ แต่กลับไปกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกได้ในชั่วระยะหนึ่งกับต้นไม้บางชนิด ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ต้นมะม่วง ปัจจุบัน มีการนำมาใช้กับมะนาวกันบ้างแล้ว แต่สำหรับขนุนเป็นสารต้องห้ามอย่างยิ่งยวด

ยุคสมัยข้าวยากหมากแพง ผู้คนส่วนหนึ่งเลือกหันหลังให้เมืองใหญ่ กลับถิ่นฐานบ้านเกิด หาประกอบอาชีพเลี้ยงปากท้อง บางส่วนถ้าไม่เปิดร้านขายของเล็กๆ ก็เลือกเป็นเกษตรกร ฝากความหวังไว้กับผืนดิน สายน้ำ และท้องฟ้า

ซึ่งสิ่งหนึ่งที่จะทำให้การเลือกเดินบนเส้นทางสายเกษตร ประสบความสำเร็จได้ คือความรู้ เพราะมีบางคนที่เลือกเป็นนายตัวเอง แต่ยังขาดความรู้ ต้องล้มเหลวกลับเข้ามาขายแรงในเมือง

การปลูกมะนาว ที่สวนมะนาวย่านภาษีเจริญของ ลุงจำรัส คูหเจริญ อดีตข้าราชการวัย 74 ปี เจ้าของสวนมะนาวลุงจำรัส ที่ปลูกมะนาวจนประสบความสำเร็จ และยังสามารถเพาะพันธุ์มะนาวได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจนำความรู้ไปต่อยอดต่อไป

ลุงจำรัส เริ่มเล่าว่า มีพื้นเพมาจากครอบครัวชาวสวน อาศัยอยู่ในเขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ มานานแล้ว เรียกว่าทำสวนเป็นอาชีพหลักมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ส่วนตนสนใจปลูกกล้วยไม้เป็นอาชีพ ตามคำแนะนำของ ศ.ระพี สาคริก บิดาแห่งกล้วยไทย ตอนนั้นทำสวนกล้วยไม้ได้ประมาณ 8 ปี จึงสอบชิงทุนไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นได้ ช่วงประมาณปี 2506 ไปเรียนประมาณ 5 ปีครึ่ง ด้านวิศวกร ควบคู่สาขาการเกษตร ช่วงนั้นต้องให้เเม่ดูเเลต้นไม้เพียงลำพัง หลังจากเรียนจบได้กลับมาที่บ้าน พบว่า ต้นไม้ที่ปลูกไว้ตายหมด จากนั้นจึงปลูกพืชชนิดต่างๆเช่น ซ่อนกลิ่น กุหลาบ ปลูกได้ไม่นานก็ตายอีกเช่นเคย เลยลองหันมาปลูกส้มโอกับมะม่วง แต่โดนเวนคืนที่เพื่อทำถนนจึงต้องเลิกปลูก

เจ้าของสวนมะนาว เล่าต่อว่า ต่อมาได้มาปลูกต้นโป๊ยเซียน สร้างรายได้และประสบความสำเร็จถึง 100 เปอร์เซ็นต์ จึงเลิกปลูก และหันมาปลูกมะนาวแทน โดยมะนาวนั้นปลูกมาตั้งแต่สมัยรุ่นของพ่อแม่ กว่า 60 ปีแล้ว แต่มาเริ่มพัฒนาสายพันธุ์อย่างจริงจังเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเทคนิคที่ได้ในการพัฒนาสายพันธุ์มะนาวคือ ใช้หลักการผสมตามหลักของตนเอง เพราะเมื่อตอนที่ปลูกพืชชนิดต่างๆสมัยก่อนก็ผสมสายพันธุ์เอง ฉะนั้นสิ่งพวกนี้จึงอยู่ในหัวมาโดยตลอด และอาศัยว่าเป็นเรื่องที่ใจรัก ประกอบกับพอจะมีความรู้พื้นฐานด้านการทำเกษตรอยู่บ้าง

ผมเริ่มจากการพัฒนาสายพันธุ์มะนาวใหม่เพื่อต้านทานโรคแคงเกอร์ โดยมีชื่อว่ามะนาวพันธุ์จำรัส 9ก่อนจะต่อยอดปรับปรุงพันธุ์เพิ่ม โดยลองผิดลองถูกมาหลายปีกว่าจะได้มะนาวพันธุ์จำรัส 28 และ 29ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์นี้ได้จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ประหยัดแรงงานที่จ้างมาฉีดยาป้องกันและกำจัดโรค ตลอดจนลดปริมาณการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ซึ่งจะลดปัญหาสารตกค้างในผลผลิต อันจะนำมาสู่ความปลอดของผู้บริโภค

“สำหรับมะนาวจำรัส 28 และจำรัส 29 ได้พัฒนามาจากมะนาวพันธุ์จำรัส 9 ซึ่งเป็นมะนาวลูกผสมระหว่างแป้นพวง(พันธุ์แม่) ผสมกับมะนาวน้ำหอม(ด่านเกวียน) จุดเด่นคือให้ลูกดก ผลโตและมีน้ำมาก น้ำ เนื้อ กลิ่นเหมือนมะนาวแป้น เปลือกบาง น้ำหนักผล 70-100 กรัม การเจริญเติบโตของต้นดี ใบใหญ่และต้านทานโรคดีมาก โดยมะนาวจำรัส 28 เป็นผลจากการผสมระหว่างมะนาวจำรัส 9 และใช้มะนาวแป้นจริยาเบอร์ 1 มาผสม เพื่อเพาะเมล็ดจนเป็นต้นแล้ว ออกดอกให้ผลเมื่อต้นยังเล็ก แต่ผลโตมาก ทรงของผลแบนแบบมะนาวแป้นทั่วไป น้ำ เนื้อ กลิ่น เหมือนมะนาวแป้นทุกอย่าง และมีเปลือกที่บาง ออกดอกง่ายโดยที่ไม่ต้องบังคับก็ออกดอกทั้งปี และต้านทานโรคได้ดีมาก

และมะนาวพันธุ์จำรัส 29 เป็นผลจากการผสมระหว่างมะนาวจำรัส 9 (พันธุ์แม่) และใช้ส้มโชกุนเป็นพ่อ เมื่อได้เพาะเมล็ดจนขึ้นมาเป็นต้นแล้ว จะให้ผลเมื่อต้นยังเล็กแต่ออกดอกเร็ว ผลโตมาก ลักษณะผลเหมือนมะนาวแป้นทั่วไป เปลือกบาง มีน้ำมากเหมือนมะนาวจำรัส 28 ผลที่ออก 2 เดือนก็มีน้ำมากแล้ว และผลโตมากโดยไม่ต้องบังคับเช่นเดียวกับพันธุ์จำรัส 28 มีการเจริญเติบโตและการต้านทานโรคดีมาก” ลุงจำรัส เผยเคล็ดลับ

เจ้าของสวนมะนาวชื่อดัง เผยถึงเทคนิคการปลูกมะนาวว่า จะปลูกในวงบ่อซีเมนต์ ขนาด 80 เซนติเมตร แต่ละวงบ่อซีเมนต์วางห่างกัน ประมาณ 3 เมตร เพื่อให้สะดวกในการดูแลต้นมะนาว โดยทั่วไปพื้นที่ปลูก 1 ไร่ จะสามารถปลูกมะนาวได้ 135 บ่อ ใช้เงินลงทุน ประมาณ 50,000 บาท สำหรับค่าปุ๋ย ค่าต้นพันธุ์มะนาวรวมทั้งค่าวงบ่อซีเมนต์ หลังจากปลูกมะนาวแล้ว ภายใน 1 ปี สามารถถอนทุนคืนได้ทั้งหมด และในปีที่ 2 จะสามารถทำกำไรได้ถึง 1 เท่าตัว หรือสามารถทำเงินได้ 100,000 บาท เนื่องจากการปลูกมะนาวในวงบ่อซีเมนต์สามารถควบคุมน้ำและปุ๋ยได้ดี สามารถผลิตมะนาวนอกฤดูออกขายทำกำไรได้ตามที่ต้องการ ขณะที่การปลูกมะนาวลงดิน แม้จะมีผลผลิตสม่ำเสมอ แต่ยังทำผลกำไรสูงไม่ได้ เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ต้นมะนาวมีผลผลิตออกนอกฤดูได้”

เมื่อถามถึงการเตรียมวัสดุปลูก ของสวนแห่งนี้ ลุงจำรัส บอกว่า สวนของผมเลือกใช้ดินเหนียวแห้ง ใส่จนเต็มวงบ่อซีเมนต์ จากนั้นเติมปูนขาวลงไป 1 กำมือ ต่อ 1 หลุม รดน้ำตามหนึ่งครั้งพอให้ดินชุ่มชื้น ขุดหลุมลึกประมาณ 20 เซนติเมตร จากนั้นให้นำกิ่งพันธุ์มะนาวที่จัดเตรียมไว้ ปลูกลงในวงบ่อซีเมนต์ได้เลย และนำไม้ไผ่มาผูกกับต้นมะนาว เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นมะนาวโอนเอนไปมาในช่วงที่มีลมแรง จากนั้นเทแกลบเหลืองโรยหน้าดิน ตามด้วยปุ๋ยคอก เทให้หนาประมาณ 1 นิ้ว คอยดูแลให้น้ำและใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ต้นมะนาวเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ โดยผลผลิตจะพุ่งสูงสุดในช่วงเดือน มี.ค. และเม.ย. ซึ่งเป็นช่วงหน้าแล้งที่มะนาวในตลาดจะให้ผลน้อย ทำให้สามารถกำหนดราคาในการขายได้

ผู้ใดสนใจเรื่องการปลูกมะนาว อยากเรียนรู้หลักการปลูก เพื่อนำไปประกอบอาชีพสร้างรายได้เลี้ยงตนเองเเละครอบครัว ลุงจำรัสยินดีเปิดสอนให้ฟรี และหากเรียนแล้วสนใจซื้อต้นมะนาวของลุงจำรัสไปปลูก ก็มีขายให้ในราคาต้นละ 200 บาท

สามารถเดินทางมาหาลุงจำรัส ได้ที่บ้านเลขที่ 363 ถนนพัฒนาการ แขวงปากคลอง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากสถานีบีทีเอสวุฒากาศ มุ่งหน้าไปทางถนนราชพฤกษ์ ประมาณ 1 กิโลเมตร หรือโทรศัพท์ไปสอบถามก่อนได้ที่หมายเลข 081-552-6700 หรือ 02-457-0920

“เมืองไพลิน” ในอดีตเคยเป็นค่ายอพยพของเขมรแดง เรียกว่า “ฐานภูลำเจียก” และเคยเป็นเหมืองพลอยสีน้ำเงิน (บลู แซฟไฟร์) หรือ “พลอยไพลิน” ที่มีชื่อเสียงติดอันดับโลก แต่ทุกวันนี้เมืองไพลินไม่เหลือพลอยให้ขุดอีกแล้ว เมืองไพลินได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางหุบภูเขาสูง มีแหล่งน้ำอุดมสมบรูณ์ มีสภาพภูมิอากาศที่ดี เอื้อต่อการเติบโตของไม้ผล ทำให้เมืองไพลินกลายเป็นแหล่งปลูกลำไยที่สำคัญของประเทศกัมพูชา

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ลำไยสดจะถูกส่งออกผ่านชายแดน ที่ด่านช่องพรม บ้านโอร์สะกรอม เพื่อนำมาขายล้งจีนที่ฝั่งไทย ผ่านทางด่านถาวรบ้านผักกาด อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี โดยใช้ระยะทางขนส่งสินค้า ประมาณ 17 กิโลเมตร หากใครมีโอกาสผ่านไปแถวด่านถาวรบ้านผักกาด คงจะเคยสังเกตเห็นรถบรรทุกจากฝั่งเขมรที่บรรจุสินค้าลำไยสด รวมทั้ง มันสำปะหลัง และข้าวโพด มาส่งขายพ่อค้าในฝั่งไทยแทบทุกวัน

ลุงแยม หรือ “ซา จำเจริญ” เกษตรกรชาวกัมพูชา เจ้าของสวนลำไยสองพี่น้อง ในพื้นที่ฝั่งไทยที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี และเป็นผู้ปลูกลำไยมากที่สุดในเมืองไพลิน เนื้อที่ปลูกลำไยมากกว่า 125 ไร่ ปัจจุบัน สวนลำไยในเมืองไพลินแห่งนี้ มีต้นทุนการผลิตลำไย เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8-10 บาท ขายผลผลิตในราคาหน้าสวนกว่า 40 บาท/กิโลกรัม หลังหักต้นทุนค่าใช้จ่าย ยังเหลือผลกำไรก้อนโต เรียกว่า โกยผลกำไรเกินร้อย มีรายได้สูงกว่าการปลูกพืชชนิดอื่นๆ สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเขมรจำนวนมาก หันมาสนใจอาชีพปลูกลำไยกันอย่างกว้างขวางในจังหวัดไพลินและจังหวัดพระตะบอง

สวนลำไยสองพี่น้อง ได้นำกิ่งพันธุ์ลำไยสายพันธุ์อีดอจากเมืองไทย มาปลูกที่เมืองไพลิน ในระยะห่าง 8×8 เมตร ทุกๆ 8 ปี จะตัดลำไยออก 1 ต้น เพื่อป้องกันไม่ให้ปลายกิ่งชนกัน ในปีที่ 15 จะมีต้นลำไยเฉลี่ย 32 ต้น ต่อไร่ ลำไยแต่ละต้นจะให้ผลผลิตมากกว่าต้นละ 150 กิโลกรัม สร้างรายได้มากกว่าต้นละ 10,000 บาท โดยมีพ่อค้าขาประจำจากฝั่งไทยเข้ามาเหมาซื้อผลผลิตถึงสวนอย่างต่อเนื่อง

ลุงแยม การันตีคุณภาพลำไยเขมรว่า มีรสชาติอร่อยกว่าลำไยไทย เพราะสภาพดินในเมืองไพลินมีความอุดมสมบรูณ์ของแร่ธาตุมากกว่าฝั่งไทย ประกอบกับเกษตรกรไทยใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำนวนมาก จนโครงสร้างดินได้รับความเสียหาย ทำให้รสชาติลำไยไทยเปลี่ยนแปลงไป สังเกตได้จากเนื้อลำไยไทยจะกรอบน้อยกว่า และมีรสชาติหวานแหลม เนื้อฉ่ำน้ำ ขณะที่ลำไยเขมรจะมีรสชาติหวาน กรอบ เนื้อแน่นกว่าลำไยไทย

หลังจากสิ้นสุดฤดูเก็บเกี่ยว ลุงแยม จะฟื้นฟูต้นลำไยให้มีสภาพแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนเร่งการแตกใบอ่อน โดยใช้สารกลูโคมิค อัตรา 10 ซีซี ผสมกับสารอินทรีย์ไก่ทอง ชนิดเข็มข้น 10 ซีซี และสินแร่ภูเขาไฟ 1 กิโลกรัม ผสมเข้าไปกับน้ำ 20 ลิตร และใช้สินแร่ภูเขาไฟ 10 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตรเสมอ 10 กิโลกรัม หว่านรอบทรงพุ่ม ในสัดส่วน ต้นละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อให้ต้นลำไยแตกใบอ่อนก่อน เว้นระยะห่างไป ประมาณ 7-15 วัน จึงเสริมด้วย จี-อะมิโน (กรดอะมิโนบริสุทธิ์) ในช่วงใบเพสลาด หากพบว่า มีการแตกใบอ่อน 3-4 ชุด ซึ่งเป็นระยะที่ใบของต้นลำไยเริ่มสะสมอาหาร ให้ใช้สูตรเดิมฉีดพ่นอีก 3 ครั้ง

เมื่อต้นลำไยเริ่มแทงช่อดอกต้องคุมใบอ่อนที่แตกออกมาในช่วงแทงช่อ โดยฉีดพ่นแคลเซียม-โบรอน เพื่อช่วยให้ขั้วลำไยเหนียวไม่หลุดร่วง และติดผลดก การที่ใช้กลูโคมิคผสมกับแคลเซียม-โบรอน ฉีดพ่นก็เพื่อขยายขนาด ช่วยให้ผลลำไยใหญ่ขึ้น ช่อผลของลำไยติดดกและสม่ำเสมอทั้งช่อ ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต 45 วัน จะใช้กลูโคมิคผสมกับจีแมกและแคลเซียม-โบรอน ฉีดพ่นทุก 10 วัน ฉีดต่อเนื่องกัน 3 ครั้ง เน้นให้ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ยตัว K หรือธาตุโพแทสเซียม เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ลำไยมีเนื้อแน่น กรอบ มีรสหวานสูง ผิวเปลือกสวย ตรงกับความต้องการของตลาด

ตัวเลขการค้าชายแดนไทย-เขมร เพิ่มขึ้นทุกปี

คุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ไทย-กัมพูชา เป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจการค้า จากการใช้ประโยชน์จากความตกลงทางการค้าในอนุภูมิภาค รวมทั้งการพัฒนาตลาดการค้าชายแดนไทย-กัมพูชา พบว่า จังหวัดพระตะบอง และจังหวัดไพลิน มีมูลค่าการค้าโดยรวมระหว่างกันเพิ่มขึ้นสูง โดยเฉพาะช่วง 7 เดือนแรกของปี 2559 (มกราคม-กรกฎาคม) มีมูลค่าการค้ารวมกันกว่า 8,000 ล้านบาท ประชากรกัมพูชาส่วนใหญ่ต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทย ได้แก่ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ พลาสติก น้ำตาล ขนมที่ทำจากน้ำตาล เป็นต้น ส่วนสินค้ากัมพูชาที่ส่งมาขายไทยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสินค้าเกษตร ประเภท ข้าวโพด มันสำปะหลัง ลำไย เป็นต้น

ด้าน ดร. รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติขจร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กรมการค้าต่างประเทศ ร่วมกับจังหวัดพระตะบอง จังหวัดไพลิน จัดงานแสดงสินค้าไทย ณ จังหวัดพระตะบอง ประเทศกัมพูชา นับเป็นการเปิดประตูการค้าผ่านชายแดนบ้านแหลม และด่านผักกาด จังหวัดจันทบุรี สู่จังหวัดพระตะบอง ซึ่งเป็นจังหวัดใหญ่ อันดับ 5 ของกัมพูชา และมีจำนวนประชากรมากเป็น อันดับที่ 4 ของประเทศ

จังหวัดพระตะบอง ได้ชื่อว่าเป็นเมือง “ชามข้าวแห่งกัมพูชา” เพราะที่นี่คือ แหล่งปลูกข้าวที่เลี้ยงคนกัมพูชาทั้งประเทศ และเป็นเมืองใหญ่ อันดับ 5 ของกัมพูชา คนกัมพูชานิยมสินค้าที่ผลิตจากไทยมากที่สุด จึงเป็นโอกาสของผู้ผลิตไทย หากจะหันมาให้ความสำคัญกับตลาดเพื่อนบ้านมากขึ้น เพราะที่นี่แค่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าไทย คนกัมพูชาก็พร้อมจะซื้อแล้ว ยิ่งถ้าของดีจริง คนกัมพูชายิ่งภักดีในแบรนด์และบอกต่อ จนเรียกได้ว่าถ้าสินค้าตัวไหนทำดีจนได้ใจคนกัมพูชา ก็จะได้ใจตลอดไปจนยากที่ใครจะมาแข่งได้เลยทีเดียว

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ผู้สื่อข่าวสืบทราบว่ามีชาวบ้านที่ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร มีอาชีพทำนาและทำข้าวเม่าขาย สร้างรายได้ให้ครอบครัวได้อย่างดี จึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่บ้านบัวใหม่พัฒนา หมู่ 2 ต.หนองแวงใต้ อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร ผู้สื่อข่าวพบกับ นายสมาน พลเสน อายุ 49 ปี

โดยนายสมาน เปิดเผยว่า มีอาชีพทำนามาตั้งแต่รุ่นเก่าแก่ ไม่เคยขายข้าวได้ราคาสูงถังเกิน 15,000 บาท/ตัน ดังนั้น จึงคิดหาทางแปรรูปและนำเอาภูมิปัญญาที่สืบทอดมาจากรุ่น พ่อแม่ มาเพิ่มรายได้ ด้วยการทำข้าวเม่า จำหน่ายให้กับประชาชนทั่วไป

ซึ่งข้าวเม่าของคนภาคอีสานจะทำจากข้าวที่เริ่มแตกรวง และเป็นน้ำนมอ่อนๆ เก็บเกี่ยวจากที่นา จากนั้นจะนำมารูดเมล็ดออกจากรวง แล้วนำมาคั่วใส่กระทะด้วยความร้อนที่อยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะ คั่วจนสุก แล้วนำมาตากให้เย็นสนิท

จากนั้นจะนำมาใส่ครกตำ และใช้กระด้งฝัดเอาเปลือกออกก็จะได้ข้าวเม่าที่อ่อนนุ่ม มีรสชาติหอม เพราะกลิ่นสีเขียวจากข้าวที่กำลังเป็นน้ำนม และนำมาห่อใส่ใบบัว ทั้งนี้ หากนำไปใส่ถุงพลาสติก ข้าวเม่าเมื่อถูกปล่อยให้ถูกอากาศเย็นจะแข็งตัว เหมือนข้าวแห้งกินไม่อร่อย จึงนิยมนำมาใส่ห่อด้วยใบตองกล้วย หรือห่อด้วยใบบัวที่กินฝัก

นางเทอดนารี พลเสน อายุ 48 ปี ภรรยานายสมาน กล่าวว่า การทำข้าวเม่าทำง่าย แต่ก็ไม่ยากหรือง่ายเกินไป เพราะหากไม่รู้วิธีการจะได้ข้าวเม่าที่ไม่อร่อยหรือแข็ง ผู้ที่จะทำข้าวเม่าเป็น จะต้องดูข้าวที่ออกมาว่า มีเวลาหรือพอที่จะทำได้หรือไม่ ความหมายก็คือหากนำข้าวที่อ่อนเกินไปมาทำ ก็จะเหนียวจับกันเป็นก้อนๆภาษาอีสานว่า “ขาวเม่าขี้แมว” ขายที่กิโลกรัมละ 200 บาท หรือประมาณตันละ 2 แสนบาท

“ในการทำข้าวเม่าไม่ต้องเรียน เพราะเคยทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ กินกันในหน้าที่จะออกพรรษา ตอนแรกทำเสร็จจะนำไปถวายพระในวัดหรือใส่บาตรทำบุญก่อน จึงนำมากินไม่มีการขาย ต่อมาพัฒนามาขายทำให้ขายดี คนนิยมซื้อกินกัน ข้าวเม่ามีกินเฉพาะข้าวที่ออกรวงใหม่เท่านั้น เพราะข้าวที่แก่จะไม่สามารถทำข้าวเม่าได้ หรือหากทำได้จะไม่อร่อยเหมือนข้าวที่เริ่มออกรวงหรือเป็นน้ำนมในแต่ละปีข้าวพันธุ์พื้นบ้านที่นิยมปลูกและให้ผลผลิตเร็ว คือพันธุ์ข้าวฮากไผ่ ข้าวขี้ต้ม เป็นภาษาเรียกของคนอีสาน และข้าวพันธุ์ที่กล่าวมาให้ผลผลิตเร็วเป็นข้าวเบา

ชาวบ้านจึงนิยมปลูกเพราะนำมาทำข้าวเม่า ได้ก่อนพันธุ์อื่นๆ ปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านมักปลูกกันคนละไม่เกิน 4-5 ไร่ เพราะหากเกินนั้นจะนำมาทำข้าวเม่าไม่ทัน ซึ่งหนึ่งไร่สามารถทำข้าเม่าได้ประมาณ 200 กิโลกรัม กิโลกรัมละ 200 บาท หรือประมาณไร่ละ 40,000 บาท ทำทั้งหมด 5 ไร่ ก็อยู่ที่ 200,000 บาท โดยระยะเวลาการทำข้าวเม่า ประมาณต้นเดือนตุลาคม ไปจนใกล้จะสิ้นเดือนหรือเวลาประมาณเดือนครึ่ง ก็จะหมดหน้าเนื่องจากข้าวในนาแก่เกินไปพอที่จะเก็บเกี่ยว ดังนั้นระยะเวลาจะอยู่ที่ 45 วันเท่านั้น” นางเทอดนารี กล่าว

นางเทอดนารี กล่าวต่อว่า สมัครแทงบอลออนไลน์ ในแต่ละปีจะสามารถทำข้าวเม่าได้ช่วงเดียว แต่ก็ทำให้มีความพอใจ เพราะสามารถมีรายได้ช่วงสั้นเป็นแสนบาท ส่งลูกเรียนหนังสือได้สบายพออยู่พอกิน ไม่ถึงขั้นรวย แต่ก็มีทรัพย์สินเพิ่ม เช่น รถยนต์ และทำบ้านใหม่ได้ ในหมู่บ้านจึงพากันนิยม ทำนาปลูกข้าวทำข้าวเม่ากันมาก แล้วนำมาวางขายริมทางในหมู่บ้าน วันหนึ่งจะขายได้ประมาณวันละ 3,000-4,000 บาท จึงเป็นที่มาคำว่า “บ้านนาบัวข้าวเม่า”