เมล่อน เป็นผลไม้ที่คุณมงคลเลือกปลูก เพราะเห็นว่าเป็นพืช

ระยะสั้น แต่มีมูลค่าทางเมล็ดพันธุ์สูง ระหว่างที่ยังทำงานประจำ ยังไม่มีโอกาสทำหน้าที่เกษตรกรเต็มตัว คุณมงคล ก็เพิ่มรายได้เสริมให้กับครอบครัว ด้วยการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อคืนในราคา ลูกละ 10 บาท และนำไปจำหน่ายเองในราคา ลูกละ 35 บาท

เมื่อถึงจุดอิ่มตัวของการทำงาน และต้องการมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น อาชีพเกษตรกร จึงเป็นทางเลือกที่คุณมงคลเลือก ทำให้คุณมงคลลาออกจากงานประจำ เพื่อก้าวเป็นเกษตรกรเต็มตัว และคาดหวังจะใช้สิ่งที่ร่ำเรียนมาให้เกิดประโยชน์ในอาชีพของตนเอง

เริ่มต้นด้วยพื้นที่เพียง 4 ไร่ สำหรับทำโรงเรือนเมล่อน 8 หลัง บนเนื้อที่ 2 ไร่ และอีก 2 ไร่ ยังคงทำนา เพราะบริเวณโดยรอบที่ปลูกเป็นพื้นที่นาทั้งหมด ในการลงทุนครั้งแรกโรงเรือนเมล่อนลงทุนการก่อสร้างโรงเรือนและติดตั้งระบบทั้งสิ้น ประมาณ 40,000-50,000 บาท แต่เมื่อเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย พบว่า พลาสติกที่ใช้สำหรับติดตั้งโรงเรือนที่ผลิตในประเทศ มีขนาดความกว้างมากที่สุดเพียง 6 เมตร แต่โรงเรือนที่ตั้งใจสร้าง กำหนดขนาดไว้ที่ ความยาว 30 เมตร ความกว้าง 6.2 เมตร ทำให้ต้องมีรอยต่อ ซึ่งรอยต่อพลาสติกเป็นผลให้เกิดความชื้น เป็นรอยรั่วเมื่อถึงอายุขัย ไม่สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ จึงต้องนำเข้าพลาสติกสำหรับทำโรงเรือนจากประเทศกรีซ ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เมื่อแบ่งครึ่งม้วนพลาสติก จะได้ความกว้าง 6.2 เมตร และความยาว 30 เมตร พอดีกับขนาดโรงเรือนที่ตั้งใจ

“พลาสติกที่สั่งจากประเทศกรีซ มีความเหนียวมาก สามารถทานแรงลมได้มากถึง 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ไม่ก่อให้เกิดตะไคร่น้ำหรือปรสิต ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมากับเมล่อน ส่วนโครงสร้างเดิมเปลี่ยนจากเหล็กเป็นเหล็กแป๊บประปา ซึ่งไม่เป็นสนิม และทั้งโครงสร้างและระบบในโรงเรือนแบบที่ใช้อยู่ มูลค่าโรงเรือนละประมาณ 100,000 บาท อายุการใช้งานมากถึง 30 ปี”

พื้นฐานเดิมที่เรียนรู้มาทางด้านการเกษตร ทำให้คุณมงคลรู้จักการคัดเมล็ดพันธุ์ นำมาปรับปรุงพันธุ์ และคัดเลือกให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีคุณภาพดียิ่งมาก ซึ่งเมล่อนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ดำเนินการมาก่อนก่อตั้งฟาร์ม และได้เมล่อนสายพันธุ์ใหม่ขึ้นมา คือ สายพันธุ์ซันสวีท และ สายพันธุ์หยกเทพ

ซันสวีท เป็นเมล่อนเนื้อส้ม ข้อยืด โตไว ทำให้ดีหนีเพลี้ยได้ไว หวาน กรอบ มีความหวานโดยสายพันธุ์ 14-15 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 18 บริกซ์

หยกเทพ เป็นเมล่อนเนื้อเขียว คล้ายเมล่อนญี่ปุ่น ข้อสั้น โตช้า ผลใหญ่ น้ำหนักผล 2-3 กิโลกรัม เนื้อหนา หวาน หอม ความหวานโดยสายพันธุ์ 13-14 บริกซ์ หากใส่ปุ๋ย ความหวานจะสูงถึง 16 บริกซ์

เรื่องของสีเนื้อเมล่อน คุณมงคล บอกว่า เมล่อนเนื้อสีเขียว เป็นสีที่ตลาดผู้บริโภคระดับกลางและระดับสูงต้องการมากกว่า เมล่อนเนื้อสีส้ม ดังนั้น หากเกษตรกรปลูกเมล่อนเนื้อสีใด ควรคำนึงถึงตลาดที่จะส่งจำหน่ายด้วย

สำหรับโรงเรือนมาตรฐานของฟาร์ม มีขนาดกว้าง 6.2 เมตร ยาว 30 เมตร ปลูกได้ 350 ต้น ในแต่ละต้นเมื่อให้ผล จะปลิดทิ้งเหลือเพียง 1 ผล ต่อต้น น้ำหนักต่ำสุดของผล 1.5 กิโลกรัม น้ำหนักมากที่สุดของผล 3 กิโลกรัม เฉลี่ยน้ำหนักผลอยู่ที่ 1.8 กิโลกรัม

คุณมงคล กล่าวว่า เมล่อนเป็นพืชตระกูลแตง ดูแลง่าย แต่การปลูกในโรงเรือนจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีในทุกฤดู สามารถควบคุมความหวานของเมล่อนได้ อีกทั้งยังลดปัญหาโรคและแมลง เนื่องจากวัสดุที่ใช้ทำโรงเรือนมีขนาดตาถี่มาก ป้องกันแมลงเข้าภายในโรงเรือนได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บริเวณโดยรอบฟาร์มยังเป็นท้องนาอยู่ ทำให้ปัญหาแมลงศัตรพืชพบได้น้อย เพราะไม่มีพืชตระกูลเดียวกันเป็นตัวชักจูง แต่การป้องกันโรค หลังเสร็จสิ้นการเก็บผลผลิตและเตรียมแปลงปลูก จะต้องกำจัดวัชพืชภายในโรงเรือนให้หมด เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคได้

การเพาะกล้า นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำอุ่น 2 ชั่วโมง จากนั้นนำเมล็ดพันธุ์เก็บ ห่อด้วยผ้าดิบชุบน้ำบิดหมาด เก็บในกระติกหรือที่อับชื้น 25 ชั่วโมง สังเกตเห็นมีรากงอก ให้นำไปเพาะในถาดปลูก ขนาด 104 หลุม โดยใช้พีทมอสส์ (Peat moss) เป็นวัสดุเพาะกล้า รดน้ำเช้าเวลาเดียว 7-10 วัน จากนั้นย้ายปลูกลงแปลง

ระยะปลูก 50×50 เซนติเมตร ทำค้างความสูง 180 เซนติเมตร หรือพิจารณาจากความสูงสุดเอื้อมของแรงงาน เพื่อสะดวกเมื่อต้องดูแลต้น นำกล้าลงปลูก ภายในแปลงเป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำเฉพาะเวลาเช้า นานประมาณ 10 นาที เมื่อติดลูกให้ลดปริมาณน้ำลงเรื่อยๆ ดูความชื้นเป็นหลัก และงดน้ำ ก่อนเก็บผล 10 วัน เมื่อติดผลขนาดไข่ไก่ให้โยงเชือกรับน้ำหนักผลเมล่อน และสามารถเก็บผลได้หลังจากย้ายปลูก 90 วัน

เมื่อเมล่อนให้ใบ 7 ใบ ให้แทงปุ๋ยลงกลางระหว่างต้น ใช้สูตร 16-16-16 จำนวน 1 ช้อนโต๊ะ ควรผสมเกสรไว้ 3 ผล เมื่อติดผลให้เลือกผลที่สมบูรณ์ที่สุดไว้เพียงผลเดียว เมื่อผลเริ่มคล้อยให้แทงปุ๋ยลงระหว่างต้นที่เดิม สูตร 11-6-34 ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ

“เทพมงคล ฟาร์ม ให้ปุ๋ยเคมีน้อยมาก เพราะการปลูกให้เมล่อนได้ผลผลิตดี ควรดูแลด้วยอินทรียวัตถุดีกว่าปุ๋ยเคมี ซึ่งหากจะให้ก็เพียงเป็นตัวบำรุงเสริมเท่านั้น”

ภายในโรงเรือนแปลงยาว 30 เมตร กว้าง 1 เมตร ใช้ปุ๋ยคอกจากมูลโคนม เพื่อให้ได้อินทรียวัตถุสูงและไม่มีเมล็ดหญ้าปะปนมา นอกจากนี้ ควรเลือกมูลโคนมที่ไม่ได้เลี้ยงด้วยสับปะรด เพราะมูลดังกล่าวจะทำให้เมล่อนมีเนื้อสีเหลืองได้ ปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ 30 กระสอบ/โรงเรือน และทุกๆ 2 สัปดาห์ จะเพาะกล้า เพื่อตัดเมล่อนหมุนเวียนขายได้ตลอดปี

ปัจจุบัน เมล่อน เป็นพืชหลักของเทพมงคล ฟาร์ม แต่ละสัปดาห์ต้องผลิตส่งห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ 600 กิโลกรัม แต่ความสามารถในการผลิตต่อสัปดาห์ สามารถเก็บผลได้มากถึง 5 ตัน ซึ่งผลผลิตส่วนใหญ่มีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อซื้อไปขายยังแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น เขาใหญ่ วังน้ำเขียว ฉะเชิงเทรา ในราคาส่ง กิโลกรัมละ 85 บาท และอีกจำนวนหนึ่งยังคงเก็บไว้สำหรับปรับปรุงพันธุ์ด้วย

สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ต้องการสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัว คุณมงคล แนะนำว่า ควรเริ่มจากโรงเรือน 3-5 โรงเรือน จำนวนผลผลิตต่อโรงเรือนเฉลี่ย 200 ต้น สร้างรายได้เฉลี่ย 40,000 บาท/3 เดือน

นอกเหนือจากเมล่อน ซึ่งเป็นพืชหลักในการปลูกสร้างรายได้และพัฒนาพันธุ์ ของเทพมงคล ฟาร์ม แล้ว คุณมงคล ยังสนใจพืชผักอีกหลายชนิด เช่น แตงกวา บวบงู มะเขือเทศเชอรี่สีเหลือง เป็นต้น ซึ่งพืชผักที่อยู่ระหว่างการปรับปรุงพันธุ์ หากประสบความสำเร็จ เทพมงคล ฟาร์ม ก็พร้อมเปิดจำหน่ายให้กับเกษตรกรที่สนใจทั่วไป

เทพมงคล ฟาร์ม เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ ปี 2555 ซึ่งนอกจากจะปลูกเมล่อนเชิงพาณิชย์ การปรับปรุงพันธุ์สำหรับพืชผักอีกหลายชนิด การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ แล้ว ยังเป็นสถานศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม สำหรับคนรักเมล่อน ผู้สนใจสามารถติดตามผ่านทางเฟซบุ๊ก : เทพมงคล ฟาร์ม (Melon Farm) หรือติดต่อได้ที่ บริษัท เทพมงคลเมล็ดพันธุ์ จำกัด 528 หมู่ที่ 14 ตำบลปะหลาน อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โทรศัพท์ 086-115-6295

แหล่งปลูกมะม่วงส่งออกทำเงินของประเทศไทย หากดูจากแผนที่ประเทศไทยแล้ว จะพบว่ากระจายอยู่ทั่วประเทศ จะมีกลุ่มที่รวมตัวกันหลายจังหวัดที่เป็นเขตติดต่อกันบ้าง เช่น พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร ในภาคอีสานก็เป็นจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น ภาคเหนือเกาะกลุ่มจังหวัดลำพูนประปราย น่าน เชียงราย และเชียงใหม่ ภาคกลางมีไม่มากนักในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี อ่างทอง และสุพรรณบุรี ส่วนภาคใต้เป็นพื้นที่ที่พบว่ามีการปลูกมะม่วงส่งออกน้อยกว่าภาคอื่น

จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วงรวมตัวกันจัดตั้งเป็นกลุ่ม 2 แห่ง คือที่อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก ตำบลบ้านโภชน์ และอีกกลุ่มเป็นกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออก จ.เพชรบูรณ์ นำโดย คุณไตรรัตน์ เปียถนอม ผู้ซึ่งการันตีด้วยรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาอาชีพทำสวน ปี 2557

ทำมะม่วงส่งออก แทนมะม่วงตามกระแส

คุณไตรรัตน์ เปียถนอม เริ่มทำสวนมะม่วงมาตั้งแต่ปี 2530 ทุกปีประสบปัญหาขาดทุน เพราะไม่ได้อยู่ดูแลสวนมะม่วงด้วยตนเอง กระทั่งปี 2533 จ้างคนดูแลและปลูกมะม่วงตามความนิยมของท้องถิ่น คือ พันธุ์เขียวเสวย พันธุ์ฟ้าลั่น พันธุ์หนองแซง และพันธุ์น้ำดอกไม้ ไม่ถึงกับขาดทุน แต่ขายได้ตามฤดูกาลภายในประเทศบ้างเท่านั้น ขณะนั้นคุณไตรรัตน์ ยังทำงานประจำ แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาทำสวนมะม่วงอย่างจริงจัง

คุณไตรรัตน์ เคยศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทำสวนมะม่วง ในระหว่างที่ทำงานประจำ และทราบว่า มีการส่งมะม่วงไปจำหน่ายยังประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ ปี 2535 และราคาส่งออกค่อนข้างสูง จึงคิดว่า การทำสวนมะม่วงเพื่อการส่งออกจะทำให้เกษตรกรอย่างเขาอยู่รอด

หลังลาออกจากงานเริ่มศึกษาแนวทางการผลิตมะม่วงคุณภาพอย่างจริงจัง เดินทางไปศึกษาดูงานยังแหล่งที่ประสบความสำเร็จเท่าที่ทำได้ ทำให้ทราบว่า มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เป็นพันธุ์ที่ต่างประเทศต้องการ จึงตัดสินใจปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองแซมพันธุ์เขียวเสวย หนองแซง และฟ้าลั่น ในพื้นที่ 40 ไร่ก่อน จากนั้นไม่นาน ก็เปลี่ยนเป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองทั้งหมดในพื้นที่ 100 ไร่

พื้นที่ 100 ไร่ เป็นมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง 95 เปอร์เซ็นต์ และ มะม่วงพันธุ์มหาชนก อีก 5 เปอร์เซ็นต์ อาศัยน้ำในการเพาะปลูกจากน้ำฝน 100 เปอร์เซ็นต์

พื้นที่ปลูกดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ไม่อุ้มน้ำ เมื่อถึงฤดูแล้งจะแห้งแล้งมาก ส่งผลให้ผลผลิตคุณภาพต่ำ คุณไตรรัตน์ แก้ปัญหาโดยยึดแนวพระราชดำริ ในการทำการเกษตร ที่ต้องมีแหล่งน้ำเป็นของตนเอง อย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ ของพื้นที่ จึงขุดแหล่งน้ำเป็นบ่อไว้กักเก็บน้ำรวมพื้นที่ 25 ไร่ กระจายไปตามจุดต่างๆ ทั่วพื้นที่ปลูก การขุดบ่อกักเก็บน้ำพิจารณาจากความเหมาะสมของพื้นที่ บริเวณที่ลาดเมื่อฝนตกน้ำไหลไปรวมกัน จึงขุดบ่อบริเวณนั้น และขุดบ่อลึกกว่าบ่อมาตรฐาน 2-3 เท่า เน้นความลึก เพื่อให้เก็บกักน้ำในปริมาณมาก และพื้นผิวด้านบนของบ่อแคบ เพื่อลดปริมาณการสูญเสียจากการระเหย

ระยะปลูก 6 x 4 และ 5 x 4 จำนวนต้นอยู่ที่ 60-80 ต้น ต่อไร่ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่

คุณไตรรัตน์ มีเทคนิคในการผลิตมะม่วงส่งออก โดยพยายามประยุกต์ใช้เทคโนโลยีมาใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ คำนึงถึงการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ นำมาประยุกต์ใช้ในสวนของตนเอง ดังนี้

1.นำเครื่องขุดเจาะหลุมมาใช้ในการขุดหลุมปลูกมะม่วงเพื่อลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากการจ้างขุดหลุมเพื่อปลูกมะม่วงต่อหลุม ปัจจุบันราคาประมาณ 20 บาท หากปลูก 1 ไร่ จำนวน 70 ต้น จะเสียค่าขุดหลุมปลูกเป็นเงิน 1,400 บาท หากใช้เครื่องขุดเจาะจะมีต้นทุนหลุมละ 5 บาท เป็นเงิน 350 บาท ประหยัดต้นทุนได้ไร่ละ 1,050 บาท

2.การใช้น้ำระบบมินิสปริงเกลอร์และทำคันดินเล็กรอบๆ บริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกนอกบริเวณชายพุ่ม ซึ่งสามารถแก้ปัญหาสภาพดินที่ไม่อุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี และเป็นการลดต้นทุนเรื่องแรงงานในการให้น้ำมะม่วง ทั้งยังเป็นระบบที่ประหยัดน้ำ

3.ใช้การพ่นสารเคมีแบบแอร์บัส คือการใช้แรงดันพ่นผ่านปั๊มแรงดันสูง มีพัดลมช่วยกระจายสารเคมีให้ละอองกระจายทั่วถึง ทำให้ประหยัดต้นทุนในการผลิต เนื่องจากแอร์บัสจะประหยัดสารเคมีลง 30 เปอร์เซ็นต์ ใช้แรงงานในการพ่นสารเคมีเพียง 1 คน ทำงานได้รวดเร็ว จากเดิมพื้นที่ 30 ไร่ ใช้แรงงานพ่นสารเคมี 2 คน ต้องใช้เวลาพ่น 5 วัน แต่การใช้แอร์บัส ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้น ทำให้การป้องกันโรคและแมลงทำได้ทันเวลา

4.มะม่วงที่ปลูกอยู่เดิมเป็นพันธุ์เขียวเสวย ฟ้าลั่น ไม่สามารถส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีได้ จึงใช้เทคนิคการเปลี่ยนยอดและอุ้มบุญ ในการเปลี่ยนยอดมะม่วงในพื้นที่ให้เป็นพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง เพื่อลดระยะเวลาในการปลูกใหม่ และเทคนิคการอุ้มบุญ คือ การนำมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองไปเสียบฝากในต้นพันธุ์เขียวเสวยและฟ้าลั่น ทำให้เกษตรกรยังมีรายได้จากการขายมะม่วงฟ้าลั่น เขียวเสวย และมีผลพลอยได้จากมะม่วงฝากท้องในช่วง 1-3 ปี ก่อนที่จะทยอยตัดกิ่งต้นเดิมเหนือรอยทาบออก เพื่อให้เป็นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง 100 เปอร์เซ็นต์

5.การปรับปรุงคุณภาพดิน เนื่องจากพื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่แห้งแล้ง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในช่วงแรกของการปลูกมะม่วง จึงปรับปรุงคุณภาพดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ (มูลไก่แกลบ) บำรุงดินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี มีการปลูกปอ ซึ่งเป็นพืชบำรุงดิน เพื่อเป็นปุ๋ยพืชสดเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน

ควบคุมแมลงวันผลไม้ ผลสวย ด้วยการห่อ การตัดแต่งทรงพุ่ม เป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมาก มะม่วงสวนคุณไตรรัตน์ต้นเตี้ยทุกต้น เพื่อสะดวกต่อการห่อ เก็บ โดยควบคุมความสูงของต้นไม่ให้เกิน 3.50 เมตร เมื่อตัดแต่งกิ่งภายในทรงพุ่มที่ไม่มีผลผลิต ควรรูดใบแก่ที่มีเพลี้ยแมลงทำลายออกบางส่วน เช่น เพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย แล้วนำไปเผาทิ้งลดการระบาดได้ การควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูพืช ควรทำเมื่อมะม่วงติดผลขนาดหัวแม่มือ

มีการควบคุมแมลงวันผลไม้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยการห่อผลด้วยถุงห่อทุกผล สำหรับผลที่ไม่ได้คุณภาพ จะตัดแต่งผลทิ้งในช่วงผลมะม่วงมีอายุ 30-40 วัน ก่อนการห่อผล

“ถ้าสังเกตจะเห็นดอกออกตามต้นได้ หากเราทำทรงพุ่มให้โปร่ง จะปลูกชิดกันก็ได้ แต่ทำให้โปร่ง จะทำให้ออกดอกตามต้น แต่ถ้าทำสวนให้ทึบ มันก็จะไม่ออกดอกตามกิ่งก้านให้ ยิ่งหน้าร้อนถ้าออกดอกให้ผลจะถูกแดดเผา แต่ถ้าติดดอกออกผลใต้พุ่ม ไม่ถูกแดด จะทำให้ผิวผลสวยงาม”

การใช้สารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชและเชื้อรา สวนแห่งนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของคู่ค้า คือ มาตรฐานญี่ปุ่น และ GAP ของกรมวิชาการเกษตร ไม่ใช้สารเคมีต้องห้าม มีการจดบันทึกตามระบบ GAP

เดิมมีการให้ปุ๋ย ซึ่งเป็นปุ๋ยจากงานวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกซว.) ประกอบกับประสบการณ์เน้นการให้ปุ๋ยเมื่อมะม่วงติดผลแล้ว โดยให้ทีละน้อยทุกๆ 7 วัน ตามการติดผลของมะม่วงแต่ละต้น สูตรปุ๋ย 25-5-18 หรือ 4.5-1-3.8 ผลผลิตมากให้มาก ผลผลิตน้อยให้น้อย

เทคนิคล่าสุดที่คุณไตรรัตน์ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพมะม่วงคือ การให้น้ำเสมือนฤดูฝน ดินจะต้องชุ่มอยู่ตลอดเวลา แม้ฤดูแล้ง เพื่อให้ต้นไม้ได้รับน้ำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ด้วยวิธีการขุดรอบโคนต้นมะม่วง 3 ส่วน 4 ของรัศมีทรงพุ่ม เพราะเมื่อให้ปุ๋ยและน้ำ จะซึมออกมาบริเวณรากพืชที่อยู่ชายพุ่ม ทำให้ต้นมะม่วงได้รับปุ๋ยและน้ำเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะชายพุ่มต้นมะม่วงจะเป็นเขตรากที่หาอาหารได้ถึง 60 เปอร์เซ็นต์

คุณไตรรัตน์ ให้ข้อมูลว่า ปี 2557 ผลผลิตมะม่วงเกรด A เพื่อการส่งออกของจังหวัดเพชรบูรณ์ผ่าน บริษัท สยาม เอ็กซ์ปอร์ต มาร์ท จำกัด เพียงบริษัทเดียว มีปริมาณถึง 555 ตัน คิดเป็นเงิน 31,822,643 บาท และมีแนวโน้มเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากเกษตรกรรักษาคุณภาพของมะม่วงให้มีคุณภาพตามความต้องการของตลาด โดยเฉพาะปัจจุบันประเทศจีนนิยมมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองมาก เพราะคนจีนถือเป็นผลไม้มงคล ยิ่งในเทศกาลตรุษจีนและเช็งเม้ง ความต้องการในประเทศจีนสูงมาก ทำให้มีการเรียกชื่อสั้นๆ ว่า มะม่วงทอง

กลุ่มปรับปรุงคุณภาพมะม่วงเพื่อการค้าและการส่งออกนี้ ตั้งอยู่ที่แปลงมะม่วงของคุณไตรรัตน์ ไว้สำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้สนใจปลูกและปรับปรุงคุณภาพมะม่วง โทรศัพท์ 089-858-7358

นับเป็นข่าวดีของชาวอีสานและผู้ที่ชอบกินข้าวเหนียว เมื่อศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี พบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นข้าวพันธุ์เหนียวหอมแดงแสงแรก มีคุณค่าทางอาหารสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในข้าวถึง 20 ชนิด พร้อมขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ช่วยลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม ไขข้ออักเสบ และพบเกษตรกรที่ปลูกข้าวชนิดนี้กินภายในครอบครัว ไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดัน รวมทั้งยังมีความพิเศษของกลิ่นข้าวที่หอมเหมือนกลิ่นดอกลาเวนเดอร์ และมีราคารับซื้อสูงกว่าข้าวเหนียวขาวทั่วไป

ที่แปลงเพาะปลูกข้าวของเกษตรกรชาวนาบ้านยางน้อย ตำบลก่อแอ้ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังศูนย์ศิลปาชีพบ้านยางน้อย กลุ่มเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์หอมแดงแสงแรก รวมตัวแข่งขันเกี่ยวข้าว พร้อมจัดประกวดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก โดยมีกองเชียร์คอยให้กำลังใจ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองนี้ พร้อมทั้งขยายพันธุ์เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกให้กว้างขวางมากขึ้น จากเดิมที่มีผู้ปลูกอยู่กว่า 20 ราย

เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่เกิดประโยชน์ต่อผู้กินข้าวเหนียวพันธุ์ดังกล่าว เพราะช่วยลดการเกิดโรค ดังคำกล่าวที่ว่า กินข้าวแทนยา อย่ากินยาแทนข้าว ส่วนความพิเศษของพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีความพิเศษแตกต่างจากข้าวเหนียวขาวพันธุ์อื่นๆ ทั่วไปอย่างไร

ดร. พันณ์ชิตา เวชสาร นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานี ให้รายละเอียดไว้ว่า จากผลการวิจัยเกษตรกรที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์พื้นเมืองเป็นข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกไว้กินภายในครอบครัวเป็นประจำพบว่า คนในครอบครัวมีสุขภาพดี ไม่เป็นโรคเบาหวานและโรคความดัน

ศูนย์วิจัยข้าวฯ จึงได้นำพันธุ์ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมาวิจัยยังพบ มีคุณค่าทางสารอาหารหลายชนิดที่อยู่ในพันธุ์ข้าวนี้มากกว่าข้าวสายพันธุ์อื่น โดยเฉพาะเมื่อหุงเป็นข้าวสุก ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีการเพิ่มของดัชนีน้ำตาลกลูโคสต่ำกว่าพันธุ์ข้าวเหนียวขาวทั่วไป วัดได้ประมาณ 10.60 กรัม ต่อข้าว 100 กรัม

และหลังจากที่กินเข้าไป 120 นาที หรือราว 2 ชั่วโมง ปริมาณค่าน้ำตาลกลูโคสจะลดลงเหลือเพียง 8.59 กรัม ต่อข้าว 100 กรัม จึงส่งผลให้ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าข้าวเหนียวทุกสายพันธุ์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถจะกินได้ทุกวัน รวมทั้งเหมาะกับการสนับสนุนให้ทุกครัวเรือนหุงกิน เพื่อลดความเสี่ยงการป่วยเป็นเบาหวานหรือน้ำตาลในเลือดสูงในอนาคตได้

นอกจากนี้ ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก เว็บ UFABET ยังมีสรรพคุณอื่นๆ อาทิ สารอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในข้าวถึง 20 ชนิด ได้แก่ สารทองแดง ธาตุเหล็ก เบต้าโคโรทีน วิตามินอี ลูทีน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารแอนติออกซิแดนต์ ใช้ขจัดอนุมูลอิสระออกจากร่างกาย ช่วยลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็ง ลดอัตราความเสี่ยงของโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ โรคความจำเสื่อม ไขข้ออักเสบ พร้อมช่วยชะลอไม่ให้แก่ก่อนวัยอันควร จึงเหมาะกับการสนับสนุนให้มีการปลูกไว้บริโภคและขาย

ด้าน คุณพยอม ตระการจันทร์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก เล่าว่า เดิมครอบครัวได้ปลูกข้าวพื้นเมืองสายพันธุ์นี้ไว้บริโภคภายในครอบครัว การปลูกจะไม่ใช้สารเคมี ทำให้สุขภาพของคนในครอบครัวไม่มีอาการป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการกินข้าวเหนียวเหมือนครอบครัวอื่นๆ

โดยเฉพาะโรคเบาหวาน ที่เกิดจากน้ำตาลในข้าวเหนียวที่มีอยู่สูง หรือโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งตามมาหลังป่วยเป็นโรคเบาหวานแล้ว สำหรับคนในครอบครัวของตนไม่มีใครป่วยเป็นโรคเหล่านี้เลย

และเมื่อมีผู้มารับซื้อข้าวเปลือกเหนียวหอมแดงแสงแรก พร้อมให้การรับประกันราคาข้าวเหนียวสายพันธุ์นี้ในราคาที่สูงกว่าข้าวเหนียวขาวทั่วไป โดยปีก่อนรับซื้อกิโลกรัมข้าวเปลือกละ 16-17 บาท แต่ปีนี้ให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 19 บาท ซึ่งสูงกว่าข้าวเหนียวขาว…ในฤดูการผลิตปีหน้าตนจะขยายพื้นที่การปลูกเพิ่มขึ้นอีก

เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับราคาข้าวเหนียวทั่วไปจะมีราคาสูงกว่ากันมาก แม้ข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรกเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้เฉพาะพื้นที่นาลุ่ม และให้ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าข้าวขาวทั่วไป แต่ก็ยังถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุนปลูก

ด้าน คุณหญิงพรรณทอง มณีศิลป์ เจ้าของบริษัท ข้าวแม่ จำกัด ผู้สนับสนุนการปลูกข้าวเหนียวสายพันธุ์หอมแดงแสงแรก ที่ให้การประกันราคารับซื้อข้าวเปลือกที่เกษตรกรปลูก จนเหลือไว้กินในครัวเรือนแล้วทั้งหมด กล่าวว่า เพราะเล็งเห็นสรรพคุณอันโดดเด่นในข้าวเหนียวหอมแดงแสงแรก พร้อมสนับสนุนให้มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์นี้เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสร้างสุขภาพของเกษตรกรให้แข็งแรง