เมื่อกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่อ้อยอัจฉริยะ นำเทคโนโลยี

เครื่องจักรสมัยใหม่เข้ามาใช้งานสามารถทุ่นแรงในการบริหารจัดการไร่อ้อย ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน จนถึงการเก็บเกี่ยว โดยใช้รถแทรกเตอร์ติดริปเปอร์ ทำการระเบิดดินดานลึกกว่า 40 เซนติเมตร เปิดช่องให้น้ำฝนเข้าไปกักเก็บใต้ดินได้สะดวก นอกจากนี้ การใช้ผานพรวน ไถกลบพืชปุ๋ยสดและวัชพืชให้อยู่ใต้ผิวดิน ช่วยเร่งอัตราย่อยสลายและปรับโครงสร้างดินให้ร่วนซุย เมื่อใช้โรตารี่ ปั่นดินให้ละเอียด เพื่อปิดผิวหน้าดิน ช่วยลดการสูญเสียความชื้นใต้ดิน

นอกจากนี้ เมื่อนำรถแทรกเตอร์ติดอุปกรณ์เครื่องฝังปุ๋ยแทนการหว่านปุ๋ย สามารถลดการสูญเสียปุ๋ยจากความร้อนและการพัดพาของน้ำ ทำให้ต้นอ้อยได้รับปุ๋ยอย่างทั่วถึง และดูแลกำจัดวัชพืชในไร่อ้อยได้ง่ายขึ้นโดยใช้รถแทรกเตอร์ติดอุปกรณ์โรตารี่ ปั่นดินและกำจัดวัชพืชในช่องว่างระหว่างแถวอ้อย เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว เกษตรกรใช้เครื่องตัดอ้อย ทดแทนแรงงานตัดอ้อย ลดปัญหาการเผาตอซังไปพร้อมๆ กัน

ที่ผ่านมา สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว ได้จัดงานเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรแม่นยำ หรือเกษตรอัจฉริยะเพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ถึงการนำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เกิดความแม่นยำ และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูงตรงกับความต้องการของตลาด กิจกรรมดังกล่าวทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน ปลูก และบำรุงรักษาตออ้อย การตัดอ้อยสดด้วยรถตัดอ้อย รวมทั้งการจัดการเศษวัสดุด้วยเครื่องม้วนใบอ้อย การพ่นสารป้องกันและกำจัดวัชพืชด้วยโดรน

กลุ่มวิสาหกกิจชุมชนปลูกอ้อยแปลงบ้านวังรี ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร เป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบของการทำเกษตรแปลงใหญ่ ที่นำเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเพาะปลูก โดยได้รับการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จังหวัดสระแก้ว สามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในฤดูการเก็บเกี่ยวได้แล้ว ยังเพิ่มปริมาณการตัดอ้อยสด ทำให้กลุ่มเกษตรกรมีการบริหารจัดการแปลงที่ดี ลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะทำไร่อ้อยปลอดการเผา ช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เตือนภัย จักจั่นระบาดในไร่อ้อย

ล่าสุด กรมส่งเสริมการเกษตร แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในทุกภาคของประเทศไทย เฝ้าระวังการระบาดของจักจั่นในไร่อ้อยโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกอ้อยต่อเนื่อง ทั้งนี้ วงจรชีวิตจักจั่น แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะไข่ โดยตัวเมียจะเจาะเส้นกลางใบอ้อยเป็นรูเล็กๆ เพื่อวางไข่ มักพบที่ใบแก่สีเขียว ประมาณใบที่ 3-5 นับจากใบล่าง จากนั้นเส้นกลางใบจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เมื่อไข่ฟักกลายเป็นตัวอ่อนทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 1-2 เดือน ระยะตัวอ่อนของจักจั่นในอ้อย มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย ต่างกันที่ตัวอ่อนในระยะแรกไม่มีปีก เมื่อลอกคราบ ปีกจะค่อยๆ ยาวออกมา

สำหรับระยะตัวอ่อน เป็นระยะที่สร้างความเสียหายให้กับอ้อย โดยตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดินที่ความลึกตั้งแต่ 30 เซนติเมตร ถึง 2.5 เมตร คอยดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากอ้อย ตัวอ่อนจะมีขาคู่หน้าขนาดใหญ่สำหรับไว้ขุดดิน ตัวอ่อนจะอาศัยอยู่ในดิน ใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานและทำความเสียหายให้กับผลผลิตอ้อยได้มาก

ส่วนระยะตัวเต็มวัย เมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตเต็มที่จะขุดรูโผล่ขึ้นมาเหนือผิวดินและจะไต่ขึ้นมาบนลำต้นอ้อยเพื่อลอกคราบเป็นตัวเต็มวัย ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม โดยระยะที่เป็นตัวเต็มวัยจะใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ดังนั้น วงจรชีวิตโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปี หรืออาจมากกว่าขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม

กรมส่งเสริมการเกษตร จึงแนะนำให้เกษตรกรดำเนินป้องกันกำจัดจักจั่นในอ้อย โดยหมั่นสำรวจแปลงอ้อย คอยสังเกตคราบของจักจั่นบนต้นอ้อยหรือบนพื้นดิน และตัวเต็มวัยที่เกาะบนต้นอ้อย ในพื้นที่ที่มีการระบาดให้ใช้วิธีเขตกรรม เช่น การขุด หรือไถพรวนเพื่อจับตัวอ่อนในดิน หรือการเก็บตัวเต็มวัยในเวลากลางคืน หรือใช้วิธีตัดใบอ้อยที่พบกลุ่มไข่ของจักจั่นไปทำลายนอกแปลง

นอกจากนี้ ยังชักชวนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยปลูกพืชหมุนเวียน เพื่อตัดวงจรชีวิตของจักจั่นในแปลงเพาะปลูก เช่น ปลูกข้าวสลับกับอ้อยใช้ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ แมลงหางหนีบ โดยปล่อยแมลงหางหนีบ จำนวน 500 ตัว ต่อไร่ ก่อนการระบาดของจักจั่น 1 เดือน เพื่อกำจัดตัวอ่อนระยะฟักจากไข่ จับตัวเต็มวัยเพื่อนำไปทำลายหรือประกอบอาหาร เพื่อกำจัดจักจั่นตัวเต็มวัยที่พร้อมจะผสมพันธุ์และวางไข่ ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณแมลงที่จะระบาดในฤดูกาลถัดไปได้

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบข่าวจาก สำนักงานเกษตรจังหวัดสระแก้ว กรมส่งเสริมการเกษตร คุณไกรจักร เผ่าพันธ์ ทำสวนผสมผสานอยู่ที่ ตำบลนางบวช อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เขาได้ศึกษาและปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน มีการจัดโซนการผลิตภายในสวนให้ลงตัว ทำให้สามารถมีผลผลิตออกขายสู่ตลาดได้หลากหลาย เมื่อพืชผลบางชนิดราคาตกต่ำ ก็ยังมีผลผลิตชนิดอื่นช่วยประคับประครอง ทำให้มีเงินจากการขายผลผลิตพอมีกำไรเป็นเงินเก็บได้

คุณไกรจักร เล่าให้ฟังว่า เมื่อครั้งที่ยังเป็นเด็ก ครอบครัวของเขามีอาชีพทำการเกษตรเป็นหลัก จึงทำให้เขาได้ซึมซับและเรียนรู้เรื่องของการทำเกษตรมาโดยเสมอ เมื่อมีโอกาสได้มาลงมือทำสวนเป็นของเขาเอง ทำให้เกิดแนวความคิดที่อยากทำเป็นสวนผสมผสาน โดยไม่ยึดการทำพืชเชิงเดี่ยวเหมือนครอบครัว มีพืชหลากหลายชนิดจัดสรรลงตัวในแบบที่เขาใฝ่ฝันไว้

“เราโตมากับครอบครัวที่ทำเกษตร ทุกอย่างที่เราเห็นก็เหมือนอยู่ในสายเลือด ซึ่งเราเองก็มีความชอบในเรื่องของการเกษตรอยู่แล้ว พอมีครอบครัว ก็เลยมองไปถึงว่าอยากจะปลูกไม้ผลหลายๆ ชนิด ไว้ให้ลูกได้มีสวนที่ผมทำไว้ จึงได้มาบุกเบินจากพื้นที่นา มาทำสวนไม้ผลแบบผสมผสาน ช่วงแรกๆ คนแถวนี้ก็มองผมว่าบ้ารึเปล่า เพราะพื้นที่รอบๆ นี่ทำนากันหมด มีเราที่มาปลูกไม้ผล แต่พอผลผลิตออกมา ก็มองว่าสิ่งที่เราทำตอบโจทย์ในเรื่องการตลาด เพราะสามารถมีสินค้าหลากหลายขายทำราคาได้” คุณไกรจักร เล่าถึงที่มา

พื้นที่ภายในสวนไม้ผลก่อนที่จะเริ่มนำไม้ยืนต้นต่างๆ มาปลูกนั้น คุณไกรจักร บอกว่า แหล่งน้ำถือว่าสำคัญในการทำเกษตร ขุดบ่อน้ำเป็นร่องสวนให้กับต้นไม้ พร้อมทั้งนำไม้หลายชนิดเข้ามาปลูก เช่น ไผ่ มะม่วง ขนุน มะนาว กล้วยหอม ส้มโอ ชะอม และอื่นๆ อีกหลายชนิด โดยจัดให้ไม้แต่ละชนิดอยู่ในโซนที่ต้องการ แต่ไผ่จะปลูกให้อยู่รอบนอกของสวนเพื่อเป็นแนวกำบังลมให้กับสวน

ในช่วงแรกที่ไม้ผลภายในสวนยังไม่เจริญโตให้ผลผลิต คุณไกรจักร บอกว่า จะใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ด้วยการหาพืชผักสวนครัวมาปลูก โดยในช่วงนั้นจะมีรายได้จากการขายผักสวนครัว ทำให้เกิดรายได้ใช้จ่ายหมุนเวียน เมื่อไม้ผลเริ่มเจริญเติบโตพร้อมที่จะให้ผลผลิตได้ จะดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพพร้อมขายออกสู่ตลาด

“การที่เราปลูกหลายๆ อย่าง ต้องบอกเลยว่ามันทำให้ผลผลิตเรามีหลากหลาย อย่างช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ไผ่ที่ปลูกมีหน่อออกมา สามารถตัดขายได้ ส่วนไม้ไผ่นำมาใช้ประโยชน์ด้วยการเป็นไม้ค้ำกล้วยหรือค้ำยันไม้ผลอื่นๆ อย่างกล้วยหอมลงทุนปลูกครั้งเดียว สามารถทำเงินได้ทั้งปี หลากการปลูกมีน้ำรดอย่างเพียงพอ ซึ่งสวนเรามีร่องน้ำใช้น้ำเพียงพอ กล้วยหอยเลยให้ผลตัดขายได้ตลอดทั้งปี” คุณไกรจักร บอก

ดังนั้น ในเรื่องของการทำการตลาดเพื่อขายผลผลิตภายในสวนนั้น คุณไกรจักร บอกว่า จะดูไม้ผลตามฤดูกาลแต่ละชนิดตามความเหมาะสมที่จะส่งขาย หากช่วงไหนที่พืชครบรอบให้ผลผลิตจะดูแลเป็นอย่างดีและนำผลผลิตขาย ส่วนในเรื่องของราคาขายขึ้นอยู่ตามกลไกตลาด ถ้าช่วงนั้นผลผลิตในสวนบางตัวได้ราคาดี ก็ทำให้ได้ผลกำไรมากขึ้น แต่โดยรวมเมื่อเทียบกับปลูกพืชเชิงเดี่ยวแล้ว การทำสวนแบบผสมผสานสามารถทำเงินได้หลากหลายสำหรับเขา

โดยผลผลิตบางส่วนมีแม่ค้าที่อยู่ในพื้นที่เข้ามารับซื้อถึงสวน และที่เป็นผลผลิตที่มีปริมาณมากจะส่งให้กับลูกค้าที่ติดต่อไว้ จึงทำให้มีรายได้หมุนเวียนอยู่เสมอ เรียกได้ง่ายๆ ว่า ทุกอย่างภายสวนผสมผสานแห่งนี้สามารถเกิดรายได้ทุกช่วงเวลาทีเดียว

“สำหรับผมเวลานี้ สวนผสมผสานคือคำตอบ เพราะอย่างที่ได้สัมผัสมา ทุกอย่างขายได้จริง ช่วงไหนที่อีกอย่างราคาไม่ดี เรายังได้อีกอย่างที่มีราคา จึงทำให้เงินลงต้นที่ลงไปไม่เสียเปล่า มีผลกำไรมาชดเชยกัน ซึ่งผมมองว่าไม้ผลก็เหมือนน้ำซึมบ่อทราย หากดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยบำรุงดินอยู่เสมอ ไม้ภายในสวนทั้งหมดสามารถให้ผลผลิตได้ทุกฤดูกาลและทุกปี อย่างช่วงนี้เกิดโควิด เราก็ไม่ต้องไปซื้ออะไรที่ไหนสามารถเอาจากสวนเราเองได้ ส่วนที่เกินเราทานก็ขาย เรียกได้ว่าในวิกฤตเป็นโอกาส” คุณไกรจักร บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการทำเกษตร แต่อยากจะลงมือทำเพราะความชื่นชอบ คุณไกรจักร แนะนำว่า อาจจะเริ่มจากการปลูกพืชเพียงไม่กี่ชนิดแบบที่ชอบทานก่อนก็ได้ และเมื่อผลผลิตออกมาดีมีพื้นที่ว่างส่วนไหนของบ้าน ก็หาซื้อพืชหลายๆ ชนิดเข้ามาปลูก ช่วยทำให้ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าอย่างน้อยก็มีผลผลิตทางการเกษตรไว้ทานในครัวเรือน และเมื่อมีปริมาณที่มากขึ้นรายได้จากสิ่งที่ทำก็จะกลับคืนมาสู่ผู้ลงมือทำอย่างแน่นอน

เกษตรทฤษฎีใหม่ ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากเป็นการทำที่ได้รับผลสำเร็จ เกษตรกรสามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตได้จริง หลักการสำคัญคือ พออยู่ พอกิน พอใช้ คุณนฤมล ชูทรัพย์ อยู่บ้านเลขที่ 58/2 หมู่ที่ 8 ตำบลคลองควาย อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เล่าว่า เริ่มจากการทำงานในโรงงานแห่งหนึ่ง ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2540 ทำมาได้สักระยะหนึ่งทางโรงงานต้องย้ายที่ทำการไปอยู่จังหวัดลำปาง และด้วยอุปสรรคเรื่องระยะทางที่แสนไกล ทำให้ต้องคิดหาอาชีพใหม่ ซึ่งในช่วงนั้นนึกถึงที่ดินที่พ่อกับแม่เคยให้ไว้เป็นมรดก ก็เลยตัดสินใจลาออกจากการทำงานในโรงงาน หันมาทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นชาวไร่ ชาวสวนธรรมดา ที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ โดยเป็นเกษตรแบบผสมผสานที่นำมาประกอบเป็นอาชีพนั้น ถือว่ามีความหลากหลาย เริ่มตั้งแต่อาชีพหลักอย่าง การทำนา การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ ไปจนถึงการปลูกกล้วยและพืชตระกูลผักสวนครัว อย่าง พริกขี้หนู เพื่อนำไปขายสร้างรายได้ต่อไป

เนื้อที่ 11 ไร่ ที่ใช้ในการประกอบอาชีพนั้น ส่วนใหญ่แล้วใช้เป็นที่นาปลูกข้าว เสริมด้วย การเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา และปลูกพืชผักสวนครัว ที่เหลือจากการกินก็นำไปขาย เพื่อเป็นช่องทางในการหารายได้เสริม ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่สอนให้ พออยู่ พอกิน พอใช้

เกษตรผสมผสาน ส่วนใหญ่แล้วจะเน้นในเรื่องของการเพิ่มกำไรและลดต้นทุนเป็นหลัก อย่างเช่น การเลี้ยงปลา ที่ก่อนหน้านี้มีการเลี้ยงปลาอย่างเดียว และเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป จึงทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ไม่ทัน เนื่องจากว่าอาหารสำเร็จรูปมีต้นทุนที่แสนแพง จึงต้องหาวิธีแก้เพื่อที่จะได้ลดต้นทุนในการเลี้ยงปลา และนี่คือ เหตุผลเดียวที่ต้องเลี้ยงไก่ขึ้นมา เพราะว่ามูลไก่สามารถนำไปให้เป็นอาหารปลาได้ หรือแม้กระทั่งการนำปลายข้าวที่ได้จากการทำนามา ก็เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถลดต้นทุนในการเลี้ยงปลาได้

ตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ลาออกจากลูกจ้างในโรงงานแล้วหันมาทำการเกษตร รู้สึกมีความสุขและภาคภูมิใจทุกครั้งเพราะเป็นงานที่ไม่หนัก ว่างเมื่อไรก็สามารถทำได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีกินมีใช้ เพราะตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงแล้วถือเป็นวิชาชีวิตที่สอนทุกอย่างในการดำรงชีวิตอย่างไรให้มีความสุข มีความพอดี และรู้จักแบ่งปันพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตรให้ชาวบ้านเข้ามารับความรู้เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดต่อไป

“สำหรับรายได้ในการทำการเกษตรที่เข้ามาหลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ไม่มี คำว่า ขาดทุน เพราะการทำเกษตรแบบผสมผสานนั้น เป็นการทำการเกษตรที่เน้นพออยู่ พอกิน พอใช้ จึงไม่มีปัญหาตามมา โดยปัญหาที่พบบ่อยนั้น มักจะเป็นปัญหาแมลงที่เข้ามาคุกคามพืชทางการเกษตร ถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เกษตรกรส่วนใหญ่ต่างต้องยอมรับและหาวิธีการต่างๆ เพื่อที่จะกำจัด” คุณนฤมล บอก

คุณนฤมล บอกต่อว่า การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะว่าการที่หน่วยงานรัฐให้ความสำคัญกับเกษตรกรนั้น ทำให้เพิ่มความมั่นใจในการลงทุนแก่เกษตรกรมากยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีนี้จะกระตุ้นให้เศรษฐกิจมีการปรับตัว และเพิ่มอัตราของนักลงทุน แม้ว่ากระแสเศรษฐกิจในปัจจุบันจะดิ่งลงไปบ้าง แต่ความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเกษตร ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น

ในส่วนการบริหารจัดการพื้นที่ของเกษตรผสมผสานนั้น แน่นอนต้องมีการบริหารจัดการเวลาให้ดี อาจจะแบ่งตามความเหมาะสมของพืชก็ได้ แต่ควรที่จะให้ความสำคัญเท่าๆ กัน อย่างเช่น ช่วงเช้าอาจจะไปดูแลในเรื่องของนาข้าว และพอมาถึงช่วงสายๆ ก็กลับมาให้อาหารปลา และอาหารไก่ ต่อมาในส่วนของพืชผักสวนครัวนั้นก็สามารถรดน้ำในช่วงเย็นก็ได้ ซึ่งอาจจะรดน้ำวันเว้นวัน ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการวางแผนและบริหาร ทำให้ผลผลิตที่ออกมาเป็นที่น่าประทับใจทั้งผู้ปลูกและผู้ซื้อ

“สำหรับคนที่อยากจะเริ่มต้นทำเกษตรแบบผสมผสานนั้น แน่นอนจะต้องมีการศึกษา ก่อนที่จะลงมือทำ เพราะการทำเกษตรแบบผสมผสานจำเป็นต้องใช้ความรู้จากต้นแบบ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จได้ ซึ่งความรู้ต้นแบบที่ว่านั้นก็คือ ความรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ดั่งคำว่า พออยู่ พอกิน พอใช้ นั่นเอง” คุณนฤมล แนะนำ คุณคอลีเยาะ ลาเตะ หรือ พี่คอลี เจ้าของสวนไผ่ยิ้ม ออร์แกนิก อยู่ที่หมู่ที่ 4 ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์สาวใต้ที่ต้องต่อสู้กับโรคร้าย ชีวิตใกล้หมดหวัง พลิกกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งเพราะอาชีพเกษตร ปลูกไผ่กิมซุง สร้างรายได้แบบครบวงจร ทั้งขายลำไผ่ ขายหน่อไม้ และขายน้ำไผ่ สร้างรายได้หมุนเวียนไม่รู้จบ

พี่คอลี เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรว่า ก่อนที่จะมาเป็นเกษตรกรปลูกไผ่ ตนเองประกอบอาชีพทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไหล่ยนต์มาก่อน ต่อมาตนเองต้องมาประสบกับปัญหาสุขภาพ เป็นมะเร็งตับอ่อนระยะที่ 3 ซึ่งหมอได้บอกกับตนเองว่าจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกิน 1 เดือน เป็นสาเหตุให้ต้องเลิกทำธุรกิจอะไหล่ยนต์เพื่อกลับมาใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ที่บ้าน แต่พอหลังจากกลับมาอยู่บ้านเป็นระยะเวลาได้เกือบ 2 ปี ตนเองก็ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ ในขณะที่เงินเก็บเริ่มหดหายเพราะไม่ได้ทำงาน จึงทำให้ตนเองกลับมาฮึดสู้อีกครั้งเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ ด้วยการพยายามมองหาอาชีพใหม่ที่เหมาะกับคนสุขภาพไม่ค่อยดีอย่างตนเอง จนวันหนึ่งได้ไปเปิดเจอวิดีโอที่สอนเกี่ยวกับการทำเกษตร การสร้างอาชีพโดยที่สามารถทำงานอยู่ที่บ้านได้ ด้วยแนวการสอนเริ่มจากการให้เลือกปลูกพืชที่เหมาะกับพื้นที่ เหมาะสมกับสภาพดิน น้ำ อากาศ และความชอบของตนเอง

ซึ่งหลังจากนั้นตนเองก็ได้นำพืชตัวเลือกที่เหมาะปลูกในสภาพพื้นที่เป็นดินทรายของที่สวน ได้แก่ มะม่วงหิมพานต์ มะพร้าว และไผ่ ที่เป็นพืชที่ตอบโจทย์ที่สุดในขณะนั้น เนื่องจากได้ไตร่ตรองมาแล้วว่าหากเลือกปลูกมะพร้าว หากถึงเวลาที่ต้องเก็บผลผลิตก็ต้องอาศัยคนอื่นมาเก็บให้ แต่ถ้าเลือกปลูกเป็นมะม่วงหิมพานต์ก็คิดว่าไม่เหมาะกับนิสัยของตนเอง สุดท้ายจึงได้มาลงเอยที่การปลูกไผ่ เพราะไผ่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้ทุกส่วน อย่างน้อยหากเก็บหน่อไม่ทันก็ยังมีลำให้ขาย หรือถ้าในสถานการณ์ที่หน่อไม้สดล้นตลาดก็สามารถเก็บไว้ทำหน่อไม้แปรรูปไว้ขายนอกฤดูได้ และที่พิเศษไปกว่านั้นคือการต่อยอดทำน้ำไผ่ขายให้สำหรับกลุ่มลูกค้าทางเลือกใหม่ได้อีกด้วย

ต่อสู้กับโรคร้าย ด้วยจิตใจที่เป็นนักสู้
“ปลูกไผ่กิมซุง 6 ไร่” สร้างรายได้ไม่รู้จบ
เจ้าของบอกว่า สำหรับคนที่ไม่มีความรู้ด้านการเกษตรมาก่อนเลยอย่างตนเองถือว่าการปลูกไผ่เป็นเรื่องยาก เริ่มต้นจากความล้มเหลว ลงทุนซื้อต้นพันธุ์ไผ่มาปลูก 100 ต้น ก็ตายหมดเลย 100 ต้น แต่ก็ไม่คิดจะยอมแพ้ พยายามหมั่นศึกษาหาความรู้ทั้งจากมืออาชีพด้านการปลูกไผ่และศึกษาด้วยตนเองในช่องยูทูปแบบค่อยเป็นค่อยไปที่ละขั้น จนประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้

โดยสายพันธุ์ที่เลือกปลูกเป็นไผ่กิมซุง เนื่องจากได้ทำการศึกษารายละเอียดก่อนปลูกแล้วว่าในแต่ละส่วนของไผ่กิมซุงสามารถนำมาสร้างรายได้อย่างไรได้บ้าง ซึ่งประโยชน์ของไผ่กิมซุงก็ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างคือ 1. ในส่วนของลำไผ่สามารถนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ได้ 2. ส่วนของหน่อนำมารับประทานอร่อยกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เพราะไม่มีเสี้ยน คนป่วยสามารถรับประทานได้ และ 3. พิเศษที่สุดคือไผ่กิมซุงสามารถเก็บน้ำไผ่ขายได้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค

จึงได้ลงมือปรับพื้นที่ดินที่มีอยู่ 6 ไร่ ปลูกไผ่กิมซุงทั้งหมด โดยช่วงแรกของการสร้างรายได้จะเน้นไปที่การขายหน่อไม้ แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาต่อยอด เน้นมาเป็นการขายหน่อไม้แปรรูปนอกฤดูและเน้นขายน้ำไผ่เป็นหลักแทน ด้วยรายได้จากการขายหน่อไม้สดและการขายน้ำไผ่มีความแตกต่างกันชัดเจน เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆ คือถ้าหากขายหน่อไม้สดได้กิโลกรัมละ 25 บาท แต่ถ้าทำน้ำไผ่ขาย 1 ลิตร นำมาบรรจุใส่ขวดได้ 18 ขวด สามารถทำเงินได้ประมาณ 300 บาท และสามารถเก็บขายได้ทุกวัน หากวันนั้นไม่มีมรสุม ไม่มีพายุ น้ำไผ่ก็จะให้ผลผลิตตลอด แต่น้ำไผ่จะไม่สามารถเก็บได้ในช่วงที่มีน้ำขัง ซึ่งใน 1 ปี จะเกิดเหตุการณ์น้ำขังเพียง 1 ครั้ง

เทคนิคการปลูก
การเตรียมดิน สำหรับเกษตรกรมือใหม่ควรมีการไถปรับพื้นที่ให้ดีก่อนปลูก แต่สำหรับสวนไผ่ของตนเองในตอนนั้นเริ่มต้นทำด้วยเงินทุนที่มีไม่มาก การเตรียมดินจึงมีแค่การถางป่า แล้วลงต้นพันธุ์ปลูกเลย แต่จะมาให้ความสำคัญในเรื่องของระบบน้ำแทนเพราะไผ่เป็นพืชที่ทนแล้ง ทนน้ำท่วมได้ดี แต่ช่วงที่ปลูกใหม่ๆ ก็ต้องการน้ำที่สม่ำเสมอเช่นกัน

การปลูก ขุดหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก แต่ด้วยสภาพดินที่สวนมีลักษณะเป็นดินทรายจะไม่นิยมใช้ปุ๋ยขี้วัวรองก้นหลุมจะทำให้หนอนทรายมีเยอะขึ้น ส่งผลให้ต้นยังไม่ทันโตก็ถูกหนอนกินรากไผ่จนหมด ดังนั้น วิธีแก้ไขคือที่สวนจะทำการหมักปุ๋ยจากเศษผักผลไม้มารองก้นหลุม จากนั้นลงต้นพันธุ์ที่เตรียมไว้ลงหลุมปลูก โดยให้วางต้นพันธุ์เอียงประมาณ 45 องศา เพื่อไม่ให้หน่อไม้แทงหน่อลงไปลึกมาก ทำให้ง่ายต่อการเก็บและทำให้โอกาสที่ต้นจะเกิดต้นตายมีน้อยลง

ระยะห่างระหว่างต้น ที่เหมาะสมคือระยะ 6×6 เมตร เพื่อป้องกันไม่ให้ระหว่างกออัดกันแน่นจนเกินไป ควรมีช่องให้แสงส่องลงมาถึง และยังสามารถปลูกพืชแซมระหว่างร่องได้ด้วย

การดูแล ด้วยสภาพพื้นดินของที่สวนเป็นดินทรายจำเป็นต้องขยันรดน้ำ ให้ปุ๋ยมากเป็นพิเศษกว่าพื้นที่อื่น โดยที่สวนจะทำการรดน้ำทุกวัน รดจนกว่าไผ่จะแตกหน่อ หลังจากนั้น จึงค่อยเว้นระยะการรดน้ำลงมาเป็น 2 วันรดครั้ง ด้วยระบบสปริงเกลอร์ เนื่องจากที่สวนเน้นการเก็บหน่อไม้นอกฤดูและเน้นการเก็บน้ำไผ่ จึงจำเป็นต้องทำให้ดินมีความชุ่มชื้นเพื่อที่จะได้หน่อไม้และน้ำไผ่ที่ออกมามีความสมบูรณ์และมีคุณภาพที่สุด

ปุ๋ย เน้นใส่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นหลักอย่างเดียว โดยช่วงเริ่มปลูกแรกๆ ใส่ปุ๋ยทุกๆ 10-15 วัน โดยใช้เทคนิคการใส่ปุ๋ยแบบสลับ คือมีการใส่ปุ๋ยหมักน้ำที่ทำมาจากเศษอาหาร เศษผักผลไม้เหลือทิ้ง สลับกับปุ๋ยหมักแห้งที่ทำมาจากใบไผ่นำมาผสมกับขี้แพะ โดยมีอัตราการผสมที่ น้ำเปล่า 10 ลิตรต่อปุ๋ยหมัก 1 ลิตร ละลายไปพร้อมกับระบบน้ำทุกสัปดาห์ ส่วนปุ๋ยหมักแห้งจะใส่ที่กอ 2-3 เดือนครั้ง

ผลผลิต เน้นแปรรูปขายนอกฤดูและการทำน้ำไผ่เป็นหลัก เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ดี น้ำไผ่สามารถเก็บขายได้ทุกวันและถือเป็นเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มทางเลือกใหม่ มีกลุ่มลูกค้าต่อเนื่อง โดยต้นไผ่ที่จะเหมาะแก่การเจาะน้ำขายต้องมีอายุ 3 ปีขึ้นไป 1 กอที่สวนสามารถเจาะน้ำไผ่ออกมาได้ประมาณ 2 ลิตร เนื่องจากกอไผ่ของที่สวนไม่ใหญ่ ไว้กอละ 5-6 ลำ แต่ถ้าหากสวนไหนมีสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย มีลำต้นที่สมบูรณ์ ลำใหญ่ ลำเยอะ ก็จะสามารถเจาะน้ำไผ่ได้ปริมาณมากกว่านี้

วิธีหาตลาด เริ่มจากความกล้า
สลัดความกลัวทิ้งไป
พี่คอลี เล่าถึงประสบการณ์การเริ่มต้นหาตลาดให้ฟังว่า การเริ่มต้นหาตลาดของตนเองนั้นไม่ง่าย เนื่องจากไม่เคยทำอาชีพเกษตรมาก่อน แล้วต้องมาสวมบทเป็นแม่ค้าขายหน่อไม้ ถือเป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับตนเอง ซึ่งในช่วงแรกๆ ที่ผลผลิตของที่สวนออก ก็ยอมรับตรงๆ ว่าตนเองเป็นคนขี้อายมาก ไม่กล้าเอาหน่อไม้ไปขาย ไม่กล้าออกไปหาตลาด แต่ด้วยสถานการณ์บังคับทำให้ต้องยอมสลัดความกลัวทิ้งไป แล้วเริ่มต้นเดินหาตลาดด้วยตนเอง โดยการนำผลผลิตของตนเองไปเสนอให้กับแม่ค้าในตัวเมืองปัตตานีให้ได้รับรู้ว่าตอนนี้ที่สวนของตนเองปลูกไผ่อยู่จำนวน 6 ไร่ มีผลผลิตเป็นจำนวนเยอะ มีคุณภาพแบบนี้ สนใจอยากจะซื้อไหม ซึ่งก็ได้ผลตอบรับจากแม่ค้าค่อนข้างดีให้ความสนใจและหาตลาดได้ในที่สุด จนได้สลัดความกลัวทิ้งไปและถือคติว่าในเมื่อเราทำงานสุจริตและของที่เราขายมีคุณภาพ ก็ไม่ต้องไปอายใคร

จนถึงปัจจุบันสามารถสร้างช่องทางการตลาดได้ทั้ง 3 ช่องทางด้วยกัน คือ 1. แม่ค้าตลาดสดรับซื้อเป็นประจำ 2. ลูกค้าที่เป็นชาวประมงจะนิยมซื้อหน่อไม้แปรรูปลงเรือไปไว้รับประทาน และ 3. ตลาดออนไลน์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม โดยกลุ่มลูกค้าออนไลน์จะเป็นลูกค้าซื้อต้นพันธุ์และน้ำไผ่เป็นหลัก เป็นกลุ่มลูกค้าทางเลือกใหม่ที่สนใจดื่มเพื่อสุขภาพ ดื่มเพื่อสร้างความสดชื่น สร้างรายได้ดีและตอบสนองความต้องการของตนเองได้

ฝากถึงนักสู้มือใหม่ทุกท่าน
“หากอยากจะเริ่มทำเกษตรจริงๆ ขั้นแรกคืออยากให้ศึกษารายละเอียดในสิ่งที่จะทำให้ละเอียด ศึกษาให้รู้แจ้ง รู้จริง เพราะถ้าหากทำโดยปราศจากความรู้ก็จะทำให้การลงทุนสูญเปล่าไปง่ายๆ ไม่ได้อะไรกลับคืนมา แต่ถ้าใครมีเงินเยอะก็สามารถลองผิดลองถูกได้บ่อยหน่อย แต่สำหรับท่านใดที่มีทุนน้อยก็ต้องศึกษาหาความรู้ก่อน แล้วถามตัวเองว่าเรารักกับสิ่งที่ทำไหม อย่าทำตามกระแสเพราะการปลูกต้นไม้ต้องใช้ความใส่ใจและการดูแลอย่างสม่ำเสมอ ถามตัวเองพร้อมลุยไหม ถ้าพร้อมก็ลุยเลย” พี่คอลี กล่าวทิ้งท้าย

กล้วย เป็นพืชอาหารที่มีวิตามิน เกลือแร่ ทางเข้า Royal Online ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพผู้บริโภค กล้วยที่เรารู้จักมักคุ้นกันดี เช่น กล้วยหอม กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง หรือกล้วยน้ำว้า กล้วยปลูกได้ทั้งหัวไร่ปลายนา หรือปลูกเป็นสวนในเชิงธุรกิจ แต่ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวน กล้วยน้ำว้ายักษ์ เป็นพืชที่มาแรงและน่าสนใจ เพื่อการยกระดับรายได้สู่การดำรงชีพที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง กล้วยน้ำว้ายักษ์ มหัศจรรย์พืชเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างรายได้ สู่วิถีมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน

คุณพี่พัชนี ตุษยะเดช เกษตรกรตัวอย่างผู้ปลูกกล้วยน้ำว้ายักษ์ประสบความสำเร็จ เล่าให้ฟังว่า พันธุ์กล้วยน้ำว้ายักษ์นี้ มีที่มาจากได้พันธุ์กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องจาก ครูลออ จังหวัดนนทบุรี แล้วนำไปปลูกที่จังหวัดกาญจนบุรี หลังการปลูกราว 1 ปี ต้นกล้วยเจริญเติบโตสมบูรณ์แตกปลี ติดเครือติดผลดี แต่แปลกใจในสิ่งที่ได้คือ ต้นพันธุ์กล้วยเปลี่ยนไปในลักษณะพิเศษคือ ต้น เครือและผลขนาดใหญ่กว่ากล้วยน้ำว้าทั่วไป ผลกล้วยที่สุกพอดีได้เนื้อเหนียวนุ่มหวานมีกลิ่นหอมอ่อนๆ อร่อยมาก สันนิษฐานว่าที่ได้กล้วยน้ำว้าลักษณะเด่นนี้อาจจะเกิดจากการกลายพันธุ์ที่มีสาเหตุจากสภาพดินฟ้าอากาศเป็นตัวแปร

จากนั้นจึงนำกล้วยน้ำว้ายักษ์นี้มาปลูกที่จังหวัดราชบุรี และปลูกต่อเนื่องกัน 3 ปี ซึ่งผลปรากฏว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ต้น เครือ หรือหวี ก็ยังมีขนาดใหญ่เหมือนเดิม ฝ่ายวิชาการได้แนะนำให้เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์กล้วยนี้ไปสู่เพื่อนเกษตรกร หรือผู้ที่สนใจได้มีพันธุ์กล้วยน้ำว้ายักษ์ไปปลูกให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

การปลูก ให้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 50 หรือ 70 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกแห้ง วางต้นพันธุ์กล้วยน้ำว้ายักษ์ลงปลูกเกลี่ยดินกลบ ระยะปลูกระหว่างต้นและแถวห่างกัน 4×4 เมตร หรือ 5×5 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกกล้วยได้ราว 100 ต้น หลังการปลูกให้น้ำแต่พอชุ่ม ถ้าปลูกต้นฝนก็ปล่อยให้ได้รับน้ำจากน้ำฝน

การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา ทั้งการใส่ปุ๋ย ให้น้ำ หรือการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช การใส่ปุ๋ย ให้เลือกใส่ปุ๋ยที่สะดวกหาซื้อได้ง่าย เช่น ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยชีวภาพ โดยปุ๋ยเคมีให้ใส่ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อต้น ต่อปี แบ่งใส่ 3 ครั้ง เว้นระยะห่าง 3 เดือน ต่อครั้ง แล้วให้น้ำแต่พอชุ่ม

การให้น้ำ กล้วย เป็นพืชที่ปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในเขตภูมิประเทศบ้านเรา หลังการปลูกต้องให้ต้นกล้วยได้รับน้ำพอเพียง ในทุก 2-3 วัน ควรให้น้ำต่อครั้ง หรือถ้าดินแห้งจัดควรเพิ่มการให้น้ำได้อีก ถ้ามีฝนตกก็งดการให้น้ำ ด้วยความตั้งใจขยันอดทนและเมื่อปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่ดีก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตกล้วยดีมีคุณภาพ