เมื่อก่อนตนไม่ได้ชอบงานจัดสวนและไม่มีความรู้เรื่องต้นไม้มาก่อน

เพราะตนคลุกคลีอยู่แต่กับวงการหนัง ทำหนังสร้างภาพยนตร์มาโดยตลอด การจัดสวนเป็นเรื่องที่ไกลตัวมาก แต่ก็มีจุดพลิกผันให้ต้องมาทำงานสวนตนเองเพราะคุณแม่ คือ คุณนงนุช ตันสัจจา ท่านเป็นคนรักต้นไม้มากๆ เมื่อท่านได้มีโอกาสไปเที่ยวตามต่างประเทศ เห็นสวนของทางต่างประเทศสวย กลับมาท่านจึงอยากมีสวนเป็นของตัวเองบ้าง ซึ่งตอนนั้นผมก็คัดค้านว่าไม่มีใครเขาทำกัน มันยากและต้องใช้เงินลงทุนมหาศาล แต่ท่านบอกว่าที่ของเราอยู่ที่พัทยา เป็นแหล่งท่องเที่ยว ทำไปเหอะ เดี๋ยวก็มีนักท่องเที่ยว ทัวร์ มาหาเราเอง ด้วยปัจจัยเหล่านี้ผมจึงต้องยอมทิ้งวงการภาพยนตร์ มาลุยงานสวนที่ดูแล้วไกลตัวผมมากๆ

คุณกัมพล เริ่มทำสวนบนพื้นที่กว่า 1,300 ไร่ โดยมีสวนสวยของคุณแม่ 200 ไร่ ที่เหลือเป็นสวนมะม่วงกับมะพร้าว ปัจจุบันมีที่ดินทำสวนทั้งหมด 1,700 ไร่ คุณกัมพล บอกว่าการทำสวนของเขาคือ การค่อยเป็นค่อยไป เพราะพื้นฐานเริ่มจากศูนย์ ศึกษาโดยเรียนวิธีลัด เอาทีมงานคนจัดสวนไปเรียนกับผู้จัดสวนมืออาชีพ ขอตามมืออาชีพไปทำ ทำให้ฟรีไม่เอาค่าแรง ขอไปด้วย

ให้เขาสอนเรื่องการจัดสวน แล้วก็ดัดแปลงใส่แนวคิดในสวน ตั้งเป้าว่าการจัดสวนต้องมีพระเอกเพื่อดึงจุดสนใจของผู้มาเยี่ยมชมสวน ซึ่งใช้หลักการเดียวกันกับภาพยนตร์คือ ต้องมีพระเอก เขาจึงเลือกปาล์มเป็นพระเอกของสวน เก็บปาล์มมาจากทั่วโลก ปลูกมาเพื่อเป็นพระเอกของสวน แล้วก็รวบรวมพันธุ์ไม้ไว้เยอะมาก เพราะเป็นสวนพฤกษศาสตร์ จนตอนนี้มีพันธุ์ไม้กว่า 18,000 กว่าชนิด และยังเป็น เบอร์ 1 ของโลกรวบรวมพันธุ์ไม้หายากอีกหลายชนิด

สิ่งแรกคือ นักออกแบบสวนต้องเข้าใจองค์ประกอบของการจัดสวนก่อน

“เรื่องสวนถ้าไม่เข้าใจจะออกแบบไม่ได้ การบริการคุณเข้าใจไหม ยกตัวอย่าง สมมุติว่าคุณออกแบบสวน ต้องคิดแล้วว่าที่จอดรถควรอยู่จุดไหน ทางเข้า-ออก ตรงไหน ผู้ชมสวนต้องดูอะไรก่อน จุดแรกเสร็จแล้วไปไหนต่อ คุณต้องเล่าเรื่องราวให้เสร็จ ถ้าเข้าใจตรงนี้แล้ว คุณเสนอแล้วคนจ้างงานพอใจ จึงจะลงมือออกแบบได้” คุณกัมพล บอกและเล่าต่ออีกว่า

“แต่ทุกวันนี้ ออกแบบสวนสวยอย่างเดียว แต่องค์ประกอบไม่สัมพันธ์กัน อย่างสวนผมนั่งรถชมสวนแล้วไปไหนต่อ เมื่อก่อนผมเริ่มปั้นสัตว์ก็วางไว้ทั่ว แต่ไม่มีคนเดิน เราก็คิดใหม่ จะทำอย่างไร ให้คนสนใจในสิ่งที่เราอยากจะนำเสนอ เราจึงยกสัตว์ทั้งหมดไปไว้ระหว่างทาง ได้ผล คนดูชอบได้เห็นสัตว์นานาชนิด สร้างความสะดวกให้เขา ทำง่ายๆ ไม่ต้องใหญ่ แต่ทุกคนพอใจ เห็นแล้วประทับใจ สิ่งสำคัญคือ พยายามยกทุกอย่างมาอยู่ด้วยกัน…ที่นี่เราเปลี่ยนสวนทุกวัน ด้วยความที่ผมอยู่วงการหนังมาก่อน ผมจึงใช้หลักและวิธีการคิดของคนทำหนังคือ

หนังต้องมีตัวเอก และสอนให้เราหลอกคนมาดูหนัง การหลอกคนคือ มองในมุมมองของคนอื่น อย่างในมุมมองของผู้หญิง เขาชอบดูอะไร ชอบพระเอกคนนี้ ผมก็เอาคนนี้มาเล่นหนังเลยครับ ผู้ชายชอบผู้หญิงคนนี้ เราก็เอาคนนี้มาเล่น เท่ากับเรามองในมุมของคนดู ไม่ใช่ทำสิ่งที่เราอยากทำ ต้องทำในสิ่งที่ผู้ชมชอบ ผมขอใช้ คำว่า การ์เด้นท์ออฟเอฟเวอรี่วัน คือสวนสำหรับทุกๆ คน ทุกคนมาแล้วต้องแฮปปี้ แม่ชอบต้นไม้ ลูกอาจจะชอบสัตว์ พ่ออาจจะชอบดูรถ หรือใครชอบกิน ที่นี่เราตอบโจทย์หมด คนมาก็แฮปปี้กลับไป ความสะดวกสบายเราก็ใส่ให้ครบ คนที่ทำสวนต้องเข้าใจกลุ่มลูกค้าด้วย ต้องแก้ไขไปเรื่อยๆ เพื่อให้ถูกจริตของนักท่องเที่ยว ทำสวนให้น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ”

อลังการ แปลก สะใจ คีย์เวิร์ดสู่ความสำเร็จ

คุณกัมพล บอกว่า การทำสวนให้ประสบผลสำเร็จให้ยึดหลักคีย์เวิร์ดมา 3 อย่าง คือ 1. อลังการ 2. แปลก 3. สะใจ ถ้าทำได้ 3 อย่างนี้ รับรองสิ่งที่ได้ไม่มีพลาด การทำสวนของคุณกัมพลคือ จะทำอย่างไร ให้คนเข้าสวน ชมสวน จึงมีการเปลี่ยนรูปแบบสวนไปเรื่อยๆ ไม่ให้ซ้ำ คือท่านที่เคยมาแล้วมาอีกก็ต้องตื่นเต้นกับสวนอีกครั้ง

“การทำสวนของผม ผมถือว่าเป็นสวนแบบเศรษฐกิจพอเพียง แต่พอเพียงแบบไม่รู้ตัว เพราะมีเท่าไรก็ทำเท่านั้น แต่ที่สำคัญคือ ทำไม่หยุด สร้างต่อเนื่อง เพื่อรองรับให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวร ตอนแรกมีสวนสัตว์เล็กๆ เลี้ยงไปสักพักสัตว์ก็ตายไปเรื่อยๆ เราจึงเปลี่ยนแนวคิดมาปั้นสัตว์ดีกว่า ไม่ต้องเลี้ยง ประหยัดต้นทุน ตอนนี้ปั้นสัตว์ได้กว่า 90 ชนิด โครงการปีหน้าจะเลิกทั้งหมด หันมาปั้นสัตว์แทน ประกอบกับเราสังเกตได้ว่านักท่องเที่ยวเข้ามาถึงสวนเดินไปไกลมาก เพื่อไปถ่ายรูปกับไดโนเสาร์ คุณกัมพลจึงสั่งปั้นเพิ่ม ซึ่งตอนนี้ถือได้ว่ารูปปั้นไดโนเสาร์เป็นที่ป๊อปปูล่าร์มากที่สุด และตั้งเป้าไว้ว่าจะปั้นสัตว์ทุกชนิดที่มีบนโลก คาดว่า 4 ปีข้างหน้าแล้วเสร็จ” คุณกัมพล บอก

จัดการดูแลต้นไม้บนพื้นที่สวนขนาดใหญ่

หลายคนคงตั้งคำถามว่า สวนใหญ่ขนาดนี้ดูแลอย่างไร คุณกัมพล บอกว่า เทคนิคไม่มีอะไรมาก เพียงต้องหมั่นคอยสอบถาม ย้ำกับพนักงานเป็นประจำว่า ต้องทำแบบนี้ คือพยายามถามวันนี้จะทำไร ตกเย็นทำหรือยัง ถึงจะได้อย่างทุกวันนี้ ส่วนไม้ที่นำมาจัดในสวนให้พยายามเลี้ยงไม้ที่เลี้ยงได้ ไม่ต้องพยายามทุกอย่าง อันไหนทำได้ เราถึงทำ ทุกอย่างในโลกนี้เราทำไม่ได้ทุกอย่าง

“อย่างผมได้ลองพูดคุยกับเกษตรกรจากจังหวัดเลยว่า ให้พวกเขาปลูกต้นไม้ที่คุณปลูกได้ ผมก็ใช้ต้นไม้ที่ผมใช้ได้ ไม้ที่ผมใช้ได้คืออะไร ผมเอาสีเป็นหลัก อะไรก็ได้แต่ขอให้ทน คนบอกต้นนี้หายาก หายากผมไม่สนใจ ผมต้องการให้ทนและสีจัดไหม คนต้องการตรงนี้ เพราะเราผลิตไม้ใหม่ๆ ออกมาไม่มีคนซื้อ เพราะฉะนั้นควรผลิตไม้ที่ทนและคนรู้จัก แต่ถ้าคุณบอกไม้นี้สวยมากแต่ไม่ทน สักพักคนก็จะเลิกใช้กันไปเอง” คุณกัมพล กล่าวทิ้งท้าย

“ส้มโอ” เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีชื่อเสียงและเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ของตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ส้มโอบ้านแท่นมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ เปลือกบาง ผิวสวย เนื้อมีปริมาณมาก รสหวานอมเปรี้ยวกำลังดี และมีกลิ่นหอม เคยคว้ารางวัลชนะการประกวดส้มโอ อันดับ 1 ระดับประเทศมาแล้ว

ว่าที่พันตรีวิเวก จงสูงเนิน เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กรุณาสละเวลาพาทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้านไปที่หมู่บ้านหนองผักหลอด ตำบลบ้านแท่น ซึ่งเป็นแหล่งปลูกส้มโอที่มีชื่อเสียงของอำเภอบ้านแท่นพร้อมพูดคุยกับ คุณบุญมี นามวงศ์ เป็นประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น คุณจักรินทร์ รัตนประทุม คุณสมสี พลนิกร และสมาชิกกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นอีกหลายท่าน

จุดกำเนิด “ส้มโอบ้านแท่น”

เมื่อปี 2530 คุณบุญมี นามวงศ์ โทรสศัพท์ (082) 749-9785 ได้นำมะม่วงจากอำเภอบ้านแท่นไปขายที่ตลาดสี่มุมเมือง เมื่อสินค้าไปถึงตลาด ปรากฏว่า ผลผลิตเสียหาย และขายได้ราคาถูก ขณะที่ส้มโอจากนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ที่นำมาวางขายในตลาดเดียวกัน กลับขายได้ราคาสูงและผลผลิตไม่เสียหายในระหว่างการขนส่ง แถมมีอายุจำหน่ายยาวนานกว่ามะม่วง คุณบุญมีจึงเกิดความสนใจปลูกส้มโอในเวลาต่อมา

คุณบุญมี ไปดูกิจการสวนส้มโอที่อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พร้อมซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอทองดีมาทดลองปลูกบนที่ดิน 18 ไร่ ของตัวเอง ในชื่อ “สวนส้มโอพรหมประทาน” ตั้งอยู่ในหมู่บ้านหนองผักหลอด อำเภอบ้านแท่น ปรากฏว่า ส้มโอพันธุ์ทองดีที่นำมาปลูกให้ผลผลิตดีและมีรสชาติอร่อย

เกษตรกรบ้านแท่นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา แต่ไม่ประสบผลสำเร็จทางด้านรายได้และมีหนี้สินรุงรัง เมื่อเห็นว่า คุณบุญมี บุกเบิกทำสวนส้มโอจนประสบความสำเร็จและมีรายได้งาม สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรในหมู่บ้านหนองผักหลอดและพื้นที่ใกล้เคียง เช่น บ้านหลุบค่าย บ้านมอญ บ้านนาดี ฯลฯ ปรับเปลี่ยนอาชีพจากการทำนามาทำสวนส้มโอ ทำให้ชุมชนบ้านแท่นมีพื้นที่ปลูกส้มโอที่ให้ผลผลิตแล้วกว่า 500 ไร่ มีเกษตรกรปลูกส้มโอ ประมาณ 200 ราย

ในเร็วๆ นี้ จะมีการขยายพื้นที่ชลประทาน จัดตั้งสถานีสูบน้ำพลังงานไฟฟ้าส่งมาในพื้นที่อำเภอบ้านแท่น เพิ่มความอุดมสมบูรณ์แหล่งน้ำในภาคการเกษตรกว่า 10,000 ไร่ เปิดโอกาสให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกส้มโอได้อีก จาก 500 ไร่ เป็น 2,500 ไร่ และมีโอกาสขยายเพิ่มทะลุหลักหมื่นไร่ได้ในอนาคต

เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอได้รวมตัวกันในรูป “กลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่น” โดย คุณบุญมี รับตำแหน่ง ประธานกลุ่มฯ ก่อนจะพัฒนาเป็น “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่น” ในเวลาต่อมา การรวมกลุ่มเกษตรกรฯ ได้เสริมสร้างจุดแข็งด้านการผลิตและการตลาดให้กับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่น ทำให้มีอำนาจต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง สามารถคัดแยกและตรวจสอบคุณภาพผลผลิตก่อนส่งออกจำหน่าย เพื่อกำหนดราคาซื้อขายตามเกรดของส้มโอ เป็นการยกระดับคุณภาพของผลผลิตและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคไปพร้อมๆ กัน

กลุ่มเกษตรกรฯ แห่งนี้ ยังมีความเข้มแข็งในการผลิต เพราะเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่องการปลูกส้มโอเชิงการค้าและมีความพร้อมด้านแหล่งเงินทุน โดยทางกลุ่มได้หักเงินรายได้จากการส่งออกส้มโอ ลูกละ 1 บาท ต่อปี มาจัดตั้งกองทุนหมุนเวียนในการบริหารงานกลุ่มฯ และเป็นทุนสำรองให้สมาชิกกู้ยืม ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรทำสวนบ้านแท่นเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องการทำสวนส้มโอปลอดสารพิษแห่งแรกของประเทศ ตั้งแต่ ปี 2551 จนถึงทุกวันนี้

จุดเด่น ส้มโอบ้านแท่น

พื้นที่บ้านแท่นได้เปรียบในเรื่องทำเลที่ตั้ง เนื่องจากปลูกส้มโอในแหล่งดินร่วนปนลูกรัง ที่มีปริมาณแร่ธาตุอาหารสมบูรณ์เอื้อต่อการเติบโตของต้นส้มโอ มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ เพราะอยู่ในแหล่งชลประทานอ่างเก็บน้ำบ้านเพชร เกษตรกรส่วนใหญ่มีประสบการณ์ปลูกส้มโอมากกว่า 5 ปีขึ้นไป จึงปลูกและดูแลให้ปุ๋ย ให้น้ำ ดูแลตัดแต่งทรงพุ่ม และห่อผลอย่างเหมาะสม จึงได้ส้มโอพันธุ์ทองดี คุณภาพดี ผิวสีสวย เปลือกผลบาง เนื้อมีสีเหลืองปนชมพู กุ้งใหญ่ เนื้อแห้ง ไม่แฉะ

การปลูกส้มโอของอำเภอบ้านแท่น เป็นสวนส้มโอที่ปรับสภาพสวนจากพื้นที่นา โดยนำเทคโนโลยีการผลิตมาจากสวนส้มโอในภาคกลางมาปรับใช้ในพื้นที่ มีการสร้างแปลงปลูกแบบยกร่องมีน้ำขัง เพื่อให้แปลงมีความชื้น และมีการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ภายในทรงพุ่มทุกต้น

“เกษตรกรแต่ละรายจะมีพื้นที่ปลูกส้มโอ เฉลี่ย 5-10 ไร่ ปลูกโดยใช้กิ่งพันธุ์ส้มโอที่ได้จากการเสียบยอด เพราะมีการเจริญเติบโตมากกว่าส้มโอที่ปลูกด้วยกิ่งตอน ปลูกด้วยวิธียกร่อง เดิมนิยมปลูกในระยะห่าง 6×6 เมตร ซึ่งปลูกชิดเกินไป เสี่ยงต่อการถูกโรคพืชรบกวน เมื่อต้นส้มโออายุครบ 10 ปี จึงแนะนำให้เกษตรกรมือใหม่ปลูกต้นส้มโอในระยะห่าง 7×7 เมตร หรือเฉลี่ยไร่ละ 36 ต้น ซึ่งเป็นระยะปลูกที่เหมาะสมต่อการปลูกดูแลต้นส้มโอในเชิงการค้ามากที่สุด” คุณจักรินทร์ กล่าว

ทั้งนี้เกษตรกรนิยมควบคุมการออกดอกของต้นส้มโอ โดยการงดให้น้ำในเดือนพฤศจิกายน และเริ่มให้น้ำอีกครั้งในเดือนธันวาคม เมื่อต้นส้มโอออกดอกในเดือนมกราคม จะฉีดพ่นสารฮอร์โมนพืช เพิ่มปริมาณการให้น้ำ ใส่ปุ๋ยทางใบและปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 และปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ในระหว่างฤดู จะหว่านปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 และใส่ปุ๋ยอินทรีย์บำรุงต้นส้มโอมากกว่าปีละ 1 ครั้ง เกษตรกรจะฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ และหยุดฉีดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน ผลส้มโอจะเริ่มสุกแก่ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม-เดือนสิงหาคม

เกษตรกรบางรายมีเคล็ดลับในระหว่างการปลูกส้มโอให้ได้รสชาติอร่อย ถูกใจตลาด โดยใช้วิธีการแต่งผล หากมีกิ่งแห้งชนหรือทับผลส้มโอ จะใช้วิธีตัดออกเพื่อไม่ให้กิ่งชนผลส้มโอ ทำให้ผิวไม่สวย นอกจากนี้ ยังใช้วิธีการระบายน้ำออกจากร่องก่อนที่จะเก็บผลผลิต เพื่อช่วยให้ส้มโอมีรสหวาน อร่อย ขณะเดียวกันเน้นบำรุงต้นอย่างเต็มที่และต่อเนื่องหลังจากตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อช่วยให้ต้นส้มโอมีผลต่อต้นดกมาก นอกจากนี้ จะใช้วิธีฉีดสารแมงกานีสในระหว่างปลูกเพื่อช่วยให้ผลส้มโอมีผิวสวย ขายได้ราคา ทั้งนี้พบว่า เกษตรกรที่ปลูกส้มโอแบบร่องคู่ทำให้เก็บผลผลิตง่าย ฉีดยาง่าย ดูแลรักษาง่าย แต่รากส้มโอจะหาอาหารลำบาก ส่วนแปลงที่ปลูกร่องเดี่ยวเก็บผลผลิตยาก แต่รากส้มโอจะหาอาหารได้ดีกว่าการปลูกร่องคู่

ด้านการตลาด

ฤดูส้มโอปี จะเริ่มมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-กันยายน ส่วนส้มโอทะวายหรือส้มโอนอกฤดู จะมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน บางครั้งอาจพบส้มโอนอกฤดูบ้างในช่วงเดือนมกราคม พันธุ์ส้มโอที่เกษตรกรนิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์ทองดี พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ผลผลิตเฉลี่ย 1,400-1,500 กิโลกรัม ต่อไร่

“สาเหตุที่เกษตรกรนิยมปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีเป็นหลัก เพราะมีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้ซื้อในประเทศและส่งออก ในปีนี้ส้มโอทองดีขายได้ราคาดี เฉลี่ย 38-43 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ขายส่งในราคา 40-45 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนส้มโอพันธุ์ขาวแป้น ปลูกไม่เยอะ ราคาขายเฉลี่ย 20 บาท ต่อกิโลกรัม” คุณบุญมี กล่าว

ปัจจุบัน เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่นจำหน่ายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางหรือผู้รวบรวมผลผลิต เพื่อส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ไต้หวัน ฮ่องกง ฯลฯ ส่วนตลาดในประเทศ คู่ค้าหลักคือ ห้างแม็คโคร และห้างสรรพสินค้าชั้นนำในกรุงเทพฯ รวมทั้งขายส่งให้กับพ่อค้าในจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด และนครปฐม เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบ้านแท่นจะมีรายได้จากการขายผลผลิตต่อรุ่น ประมาณ 90,000-100,000 บาท ต่อไร่

คุณสุนิสา ประพงษ์ มีแผงขายส้มโอพันธุ์บ้านแท่นอยู่บริเวณริมถนนเส้นทางหนองเรือ-หนองแวง ซึ่งเป็นแหล่งขายส้มโอหรือตลาดส้มโอของบ้านแท่นแห่งใหญ่มาหลายปี คุณสุนิสาใช้เวลาว่างภายหลังจากการทำนา เพื่อมาขายส้มโอบ้านแท่นได้สักปีกว่า โดยรับมาจากชาวสวนส้มโอ แม่ค้าส้มโอรายนี้บอกว่า ในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน ถือเป็นฤดูผลผลิต แล้วทางจังหวัดได้จัดให้มีงานขึ้นเป็นประจำ หลังจากนั้นอาจมีผลผลิตบ้างซึ่งเป็นส้มโอทะวาย จึงทำให้ส้มโอบ้านแท่นมีขายตลอดทั้งปี

คุณสุนิสา บอกว่า จะรับส้มโอบ้านแท่นมาขายในช่วงปกติ ครั้งละ 200 กิโลกรัม แต่พอมาถึงหน้าเทศกาลส้มโอของจังหวัดราวเดือนสิงหาคมของทุกปีจะนำมาขายไม่ต่ำกว่า วันละ 300 กิโลกรัม ขนาดส้มโอที่ขายมีตั้งแต่ราคา 2 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลไม่ต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม ขนาด 3 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลเฉลี่ย 1 กิโลกรัม และขนาด 4 ผล 100 บาท มีน้ำหนักต่อผลประมาณ 8 ขีด ทั้งนี้คุณสุนิสาเผยว่า ทุกขนาดได้รับความนิยมเนื่องจากลูกค้าชอบต่างกัน แต่ถ้าเป็นขนาด 3 ผล 100 บาท จะขายดีกว่า เพราะมีความพอดีทั้งขนาดผลและราคา

สำหรับลูกค้าที่มาอุดหนุนส้มโอโดยปกติจะเป็นคนในพื้นที่ ทั้งที่เป็นชาวบ้านทั่วไปและพนักงานบริษัท หรือข้าราชการ โดยจะซื้อไปรับประทานที่บ้านหรือซื้อไปเป็นของฝากบ้าง ทั้งนี้ขาประจำมักจะมาสั่งไว้ล่วงหน้า หากมีโอกาสเดินทางไปจังหวัดชัยภูมิ อย่าลืมแวะไปชิมและเลือกซื้อส้มโอบ้านแท่นกันให้ได้นะ

ชวนช็อปชิม “งานส้มโอบ้านแท่น”

ว่าที่พันตรีวิเวก จงสูงเนิน เกษตรอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า ส้มโอบ้านแท่น ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ทองดี ปลูกมากที่ตำบลบ้านแท่นและตำบลสามสวน พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ จำนวน 36 ต้น สวนส้มโอที่ปลูกใหม่ จะให้ผลผลิตรุ่นแรกในปีที่ 4 จะมีผลผลิตเฉลี่ย ต้นละ 40-50 ผล เมื่อส้มโออายุต้น 5 ปีขึ้นไป เก็บผลผลิตได้ 100 ผล ต่อต้น ต่อปี แต่ละผลมีน้ำหนักเฉลี่ย 1.3-1.8 กิโลกรัม ส้มโอนำเงินเข้าสู่อำเภอบ้านแท่นมากกว่าปีละ 60 ล้านบาท

ในปีนี้ อำเภอบ้านแท่น เตรียมจัดงานเทศกาลส้มโอหวานบ้านแท่น ประจำปี 2560 ระหว่าง วันที่ 26-27 สิงหาคม 2560 ณ ตลาดกลางส้มโอ บ้านหนองผักหลอดเหนือ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแท่น เพื่อประชาสัมพันธ์ส้มโอบ้านแท่นให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายในงานมีการประกวดส้มโอ การแข่งขันการกินส้มโอ จำหน่ายส้มโอและผลิตภัณฑ์ชุมชนโอท็อป (OTOP) ของดีอำเภอบ้านแท่น สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ในสภาพอากาศที่มีแดดออกสลับกับมีฝนตกชุก และมีลมกระโชกแรงบางช่วงระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกเผือกเฝ้าระวังโรคใบจุดตาเสือหรือโรคใบไหม้ ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของเผือก อาการบนใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดขยายใหญ่เป็นวงซ้อนกันคล้ายดวงตา กรณีที่อากาศยังมีความชื้นหรือในช่วงเช้า จะพบบริเวณแผลมีหยดสีส้ม เมื่ออาการของโรครุนแรง แผลจะขยายติดกัน ทำให้ใบไหม้

หากอากาศมีความชื้นหรือมีฝนพรำ ใบจะเหี่ยวม้วนพับเข้า ใบแห้ง หรือใบอาจเน่า อาการบนก้านใบ พบจุดเล็กสีน้ำตาลฉ่ำน้ำ ต่อมาจุดจะขยายใหญ่ยาวรีสีน้ำตาลอ่อนจนถึงเข้ม ทำให้ก้านใบช้ำ ใบเหี่ยว ก้านหักพับได้ง่าย สำหรับในแปลงที่เป็นโรครุนแรง เผือกจะมีจำนวนใบเหลือน้อย จนทำให้ส่งผลต่อคุณภาพและปริมาณของผลผลิต และเชื้อสาเหตุโรคอาจเข้าทำลายหัวเผือก ทำให้หัวเผือกเน่าได้

เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรค ให้พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไพราโคลสโตรบิน 25% อีซี อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอีทาบอกแซม 10.4% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 5-7 วัน โดยพ่นให้ทั่วทั้งต้น บริเวณใบ และก้านใบ

สำหรับแปลงปลูกเผือกที่พบการระบาดของโรค หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ให้เก็บนำส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดแหล่งสะสมเชื้อสาเหตุโรค หลีกเลี่ยงไม่ปลูกเผือกซ้ำในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน ควรเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน

นอกจากนี้ การป้องกันกำจัดโรคใบจุดตาเสือหรือโรคใบไหม้ของเผือกในฤดูถัดไป เกษตรกรควรปรับปรุงดินให้มีสภาพเหมาะสมกับการปลูก โดยไถพรวนดินให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป ใส่ปูนขาว และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ จะสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

ในแหล่งที่พบการระบาดของโรค ให้เลือกใช้พันธุ์ต้านทานหรือทนทานต่อโรค เช่น พันธุ์ พจ.06 หรือใช้ส่วนขยายพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค จากนั้น เกษตรกรควรจัดระยะปลูกเผือกให้เหมาะสม ไม่ปลูกเผือกในระยะที่ชิดกันเกินไป เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรที่ใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

ความเหมาะสมทางทรัพยากรธรรมชาติของไทยได้เอื้อประโยชน์ต่อการนำพืชผัก ไม้ผล หลายชนิดไปปลูกได้ดียังภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ มิหนำซ้ำบางพื้นที่อาจได้ผลผลิตดีทั้งคุณภาพและปริมาณกว่าเจ้าของพื้นที่เดิมเสียด้วยซ้ำ

อย่างราย คุณรุ้งตะวัน ช้างสาร หรือ คุณแป๋ว เป็นคนนครปฐมโดยกำเนิด เป็นลูกชาวสวนเต็มตัว ครั้นแต่งงานได้ย้ายไปร่วมชีวิตกับสามีที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา พร้อมกับนำความรู้ ความสามารถจากอาชีพชาวสวนที่บ้านเกิดไปบุกเบิกปลูกไม้ผลชนิดถอดแบบจนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้และชื่อเสียงให้แก่จังหวัดได้อย่างดี

ถอดแบบการปลูกไม้ผล ที่นครปฐม ไปใช้ที่สงขลา ได้ผลดี

คุณแป๋ว เล่าว่าด้วยความที่เป็นลูกชาวสวนผลไม้ เมื่อเห็นว่าสภาพดินในพื้นที่มีความคล้ายกับทางนครปฐม จึงนำแนวทางปลูกผลไม้และพืชชนิดอื่นที่เคยปลูกอยู่ที่บ้านเกิดมาใช้กับพื้นที่ของสามี จำนวน 6 ไร่

เริ่มต้นด้วยการปรับผืนนาเดิมให้เป็นร่องสวนตามแบบอย่างของจังหวัดนครปฐม แล้วนำพันธุ์ฝรั่งแป้นสีทองจำนวน 250 กิ่ง มาปลูก กระทั่งพบว่าคุณภาพดิน ตลอดจนสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่สร้างปัญหาแต่ประการใด อีกทั้งยังตอบสนองต่อการปลูกฝรั่งจนได้ผลดี และมีจุดเด่นตรงที่ให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง

จากนั้นจึงนำพันธุ์ชมพู่ทูลเกล้ากับเพชรน้ำผึ้งมาปลูกต่อ เพราะในพื้นที่แถบนี้ไม่เคยมี จนเมื่อปลูกชมพู่ประสบความสำเร็จทำให้ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงทำให้ไม้ผลทั้ง 3 ชนิด ที่ปลูกผสมผสานในพื้นที่ 6 ไร่ ได้ผลดีตามคาด

อย่างไรก็ตาม ภายหลังการปลูกชมพู่ทูลเกล้ากับเพชรน้ำผึ้งต้องประสบปัญหาโรค/แมลง ทำให้ผลผลิตขาดคุณภาพ ขณะที่ชมพู่พันธุ์น้องใหม่อย่าง ทับทิมจันท์ กำลังได้รับความนิยมเนื่องจากมีคุณลักษณะเด่นหลายอย่าง จึงทำให้คุณแป๋วเปลี่ยนมาปลูกทับทิมจันท์แทนในเวลาต่อมาแล้วประสบผลสำเร็จอย่างดีจนถึงทุกวันนี้

ขณะเดียวกันเมื่อมาดูแนวโน้มของตลาดที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้คุณแป๋วตัดสินใจเพิ่มพื้นที่อีก จำนวน 32 ไร่ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้ทันกับความต้องการ พร้อมไปกับการวางผังการปลูกพืชอายุสั้น อย่าง พริก แคนตาลูป มะเขือเทศเชอร์รี่ ร่วมด้วย

ล่าสุดเมื่อ ปี 2559 ได้ลองนำพันธุ์พุทราจัมโบ้แอปเปิ้ลจากนครปฐมมาปลูกเพิ่มอีก จำนวน 20 ต้น ปรากฏว่าได้ผลออกมาดีสมบูรณ์ทุกอย่าง จากนั้นจึงเพิ่มจำนวนอีกกว่า 200 ต้น ในเวลาต่อมา แล้วคาดว่าคงมีผลผลิตในปี 2561

เน้นปลูกแบบอินทรีย์ ผลผลิตสมบูรณ์

คุณแป๋ว ยกตัวอย่างการปลูกชมพู่ทับทิมจันท์ว่า ปลูกมาได้ 13 ปี ต้องหมั่นตัดแต่งกิ่งเพื่อทำสาวอยู่ทุก 3 ปี ได้ผลผลิตเป็นรุ่นๆ ทั้งนี้เนื่องจากไม่ได้พึ่งพาสารเคมี จึงอาศัยผลผลิตเฉพาะในช่วงฤดูกาล คือประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน แล้วพักต้น 3 เดือน เพื่อให้ต้นสามารถกลับมาให้ผลผลิตได้อีก

“ผลผลิตชมพู่แต่ละรุ่น เฉลี่ย 100 กิโลกรัม ต่อต้น อันนี้เป็นต้นที่มีอายุมาก แล้วเวลามีผลผลิตแต่ละรุ่นจะไม่เก็บไว้มาก เพราะจะทำให้ต้นโทรมเร็ว ส่วนต้นที่อายุน้อยก็จะได้ประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อต้น โดยมีขนาด 8-9 ผล ต่อกิโลกรัม”

เจ้าของสวนชี้ว่า การพึ่งพาผลผลิตตามฤดูกาลต้องทุ่มเทกำลังกายและใจอย่างเต็มที่ ควรหมั่นดูแลกำจัดวัชพืชออกให้หมด เพื่อให้บริเวณสวนมีความสะอาด โล่ง เตียน เป็นการป้องกันโรคและศัตรูพืชด้วย สำหรับการใส่ปุ๋ยจะเน้นที่ปุ๋ยขี้เป็ดเท่านั้น เพราะมีแคลเซียมสูงช่วยสร้างลำต้นให้แข็งแรง ช่วยทำให้ต้นสามารถตั้งทรงได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ โดยเทใส่รอบโคนต้น ส่วนปุ๋ยสูตรจะใส่ไม่บ่อยนัก เป็นสูตรเสมอ 15-15-15

คุณแป๋ว บอกว่า การสร้างคุณภาพของชมพู่ตามแบบอย่างจังหวัดนครปฐมคือ ต้องกำหนดระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 7 คูณ 7 หรือ 8 คูณ 8 ก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของพื้นที่แต่ละแห่ง เพราะชมพู่เป็นไม้พุ่มใหญ่ ขณะเดียวกันต้องตัดแต่งทรงพุ่มเมื่อเห็นว่าทึบมาก พร้อมกับการห่อผลเพื่อป้องกันแมลงวันทอง ขณะเดียวกันยังต้องหาทางป้องกันค้างคาวและกาดำที่เป็นศัตรูสำคัญในช่วงห่อผลด้วย

ความใส่ใจต่อการปลูกเช่นนี้ จึงทำให้คุณแป๋วมั่นใจว่ารสชาติชมพู่ทับทิมจันท์ที่ปลูกในตำบลพังยาง อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา มีความหวานจัด เปลือกหนาและกรอบ เนื้อแห้งกำลังดี จึงเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้า ต่างจากที่ปลูกแถวนครปฐมที่เนื้อมีน้ำมาก ฉะนั้นถือว่าคุณแป๋วเป็นคนแรกของชาวบ้านในพื้นที่ที่นำชมพู่ทับทิมจันท์มาปลูกจนได้รับความนิยม

จากคุณภาพและความสมบูรณ์ของชมพู่ทับทิมจันท์ เว็บเล่นสล็อต รวมถึงไม้ผลชนิดอื่น จึงทำให้ภาคราชการเล็งเห็นความสำคัญด้วยการสนับสนุนงบประมาณมาช่วยต่อยอดเพื่อถ่ายทอดให้ความรู้แก่ชาวบ้านคนอื่นๆ พร้อมสนับสนุนเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ

สำหรับตลาดขายผลไม้ของคุณแป๋วจะอยู่ในจังหวัดสงขลา หรือตลาดสองเล กับอีกแห่งคือที่ชมรมรักสุขภาพสยามนครินทร์ที่หาดใหญ่ โดยกำหนดราคาผลไม้แต่ละชนิด ได้แก่ ชมพู่ ขายกิโลกรัมละ 50 บาท ตลอดทั้งปี ฝรั่งแป้นสีทอง ขายกิโลกรัมละ 30 บาท ตลอดทั้งปี พุทราจัมโบ้ ขายกิโลกรัมละ 50 บาท

เหตุผลที่ทำให้อำเภอระโนดปลูกไม้ผลได้ดีมีคุณภาพกว่าทางนครปฐมนั้น คุณแป๋ว ชี้ว่าอาจเป็นเพราะมีปัจจัยทางธรรมชาติที่เอื้อประโยชน์ต่อพืช ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ คุณภาพดินที่มีโพแทสเซียมสูง ความสมบูรณ์ของน้ำมากกว่า เพียงแต่มีข้อเสียตรงที่มีวัชพืชมากกว่า แต่ถึงกระนั้นคุณแป๋วก็ไม่ได้ใช้สารเคมีเลย แต่ได้ใช้แรงงานคนในการหมั่นกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ

ยึดเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่เป็นหลัก

ความสำเร็จอันเป็นผลมาจากความใส่ใจและทุ่มเทให้แก่การปลูกไม้ผลหลายชนิดของคุณแป๋วไม่ได้เกิดขึ้นเพียงทักษะจากความเป็นลูกชาวสวน แต่ความที่เป็นคนยึดมั่นศรัทธาในหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และการปลูกพืชแนวทางทฤษฎีใหม่มาตลอด จึงทำให้สามารถสร้างกรอบในแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจนจนประสบความสำเร็จ พร้อมไปกับการตั้งชื่อสวนผลไม้ผสมผสานแห่งนี้ว่า “รุ้งตะวัน”