เมื่อต้นผักบุ้งอินทรีย์อายุได้ 20-22 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตออกขาย

เพราะเป็นระยะเวลาที่ผักบุ้งมีรสชาติกรอบ อร่อย ระวังอย่าปล่อยให้ผักบุ้งมีอายุเก็บเกี่ยวเกิน 25 วัน เพราะจะทำให้เนื้อผักบุ้งเหนียว กินไม่อร่อย ปัจจุบัน ทางกลุ่มเปิดฟาร์มแห่งนี้เป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการปลูกผักกางมุ้งอินทรีย์

ผู้สนใจสามารถแวะเยี่ยมกิจการได้ โดยติดต่อประสานงานล่วงหน้ากับ คุณยุทธการ บุญประคม หมายเลขโทรศัพท์ 084-519-4669 ระยะนี้อุณหภูมิลดต่ำลง มีหมอกในตอนเช้า และมีฝนตกเล็กน้อยบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงและหอมหัวใหญ่ให้เฝ้าระวังโรคหอมเลื้อย ที่สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น มักพบแสดงอาการของโรคบนใบ

กาบใบ หรือสวนหัว โดยเริ่มแรกพบจุดเล็กสีเขียวหม่นฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลขยายใหญ่เป็นแผลรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบลงเล็กน้อย บนแผลมีหยดของเหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแผลแห้งจะเห็นเป็นตุ่มเล็กสีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ถ้าแผลขยายใหญ่หรือหลายแผลมาชนกัน จะทำให้ต้นหักพับ แห้งตาย หรือเน่าตายทั้งต้น ทำให้ผลผลิตลดลง

หากแสดงอาการของโรคในระยะที่ต้นหอมยังไม่ลงหัว จะพบแสดงอาการต้นแคระแกร็น ใบบิดเป็นเกลียว ไม่ลงหัว ถ้าเป็นโรคในระยะที่ต้นหอมเริ่มลงหัว จะทำให้หัวลีบยาว บิดโค้งงอ ส่วนกาบใบที่อยู่บริเวณเหนือหัวหอม (คอหอม) มักยืดยาว มีระบบรากสั้นกว่าปกติ ทำให้ไม่ได้ผลผลิต

ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงและรอบแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดการสะสมเชื้อสาเหตุโรค ถ้าพบต้นที่เป็นโรค ให้ถอนต้นที่พบเชื้อรานำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชโพรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารไดฟีโนโคนาโซล 25% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์เบนดาซิม 50% เอสซี อัตรา 15 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง กรณีโรคยังคงระบาด ให้พ่นซ้ำทุก 5 วัน แต่ไม่ควรเกิน 4 ครั้ง และควรพ่นสลับกับสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อป้องกันการดื้อยาของเชื้อสาเหตุโรค

ทั้งนี้ ก่อนการปลูกหอมแดง เกษตรกรควรไถพรวนพลิกดินขึ้นมาตากแดด 2-3 แดด โดยไถให้ลึกจากผิวดินมากกว่า 20 เซนติเมตรขึ้นไป และตากดินไว้ให้นานกว่า 2 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจตกค้างในดิน และช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก จากนั้นให้ใส่ปูนขาว ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับสภาพดิน และเลือกใช้หัวพันธุ์ที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค โดยแช่หัวพันธุ์ก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 10-20 กรัม ต่อหอมแดง 1 กิโลกรัม หรือสารป้องกันกำจัดโรคพืชโพรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร แช่นาน 15-20 นาที อีกทั้งในแปลงที่เคยมีการระบาดของโรครุนแรง เกษตรกรควรเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชสกุลหอมและกระเทียมสลับหมุนเวียนอย่างน้อย 2 ปี

สับปะรด นับเป็นผลไม้เศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีความสำคัญเชิงเศรษฐกิจ และมากคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะมีสารอาหารอยู่ในสับปะรดจำนวนมาก แถมมีสรรพคุณทางยาสูง ช่วยย่อยอาหารจำพวกเนื้อ เสริมการดูดซึมอาหาร ดับร้อนแก้กระหาย สับปะรดยังมีสารจำพวก น้ำตาล กรด วิตามิน อยู่หลายชนิด การรับประทานสับปะรดเป็นประจำ จะช่วยบำรุงร่างกายให้ห่างไกลจากโรคไตอักเสบ ความดันโลหิตสูง หลอดลมอักเสบ ฯลฯ

สับปะรดสวี เป็นสับปะรดสายพันธุ์ดีของจังหวัดชุมพร และเป็นสินค้าสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (otop product champion ) รางวัล 3 ดาว ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร ระดับภาค ประจำปี 2546 สับปะรดสวี ไม่ได้ปลูกกันเป็นไร่ ๆ เหมือนสับปะรดทั่วไป เกษตรกรนิยมปลูกแซมไว้ในสวนมะพร้าว และสวนยาง

” สวี ” สับปะรดพันธุ์ดีมาจากปีนัง

ก่อนอื่นขอเล่าประวัติความเป็นมาของสับปะรดสวีสักเล็กน้อย สับปะรดสายพันธุ์นี้ มาจากประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เมื่อ 100 ปีที่แล้ว โดยพระยาจรูญโภคากร อดีตเจ้าเมืองหลังสวนเป็นผู้นำเข้าจากเมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย และนำพันธุ์สับปะรดมาแจกจ่ายให้ชาวบ้านพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรก่อน ชาวบ้านที่รับแจกพันธุ์ได้นำไปปลูกแซมสวนมะพร้าวและยางพารา ระยะแรกชาวบ้านเรียกสับปะรดชนิดนี้ตามสำเนียงท้องถิ่นว่า ” หยานัสฝรั่ง” หรือ “ สับปะรดฝรั่ง ” นั่นเอง

ต่อมาเกิดปัญหาราคามะพร้าวและยางพาราตกต่ำ ชาวบ้านจึงหันมาปลูกสับปะรดแซมในสวนมะพร้าวและสวนยางพาราเพื่อเป็นช่องทางสร้างรายได้เสริมเลี้ยงครอบครัว ระยะหลังมีการปลูกสับปะรดอย่างแพร่หลายในพื้นที่อำเภอสวี ผู้บริโภคจึงนิยมเรียกชื่อสับปะรดชนิดนี้ตามแหล่งที่ปลูกว่า “ สับปะรดสวี ” มาจนถึงทุกวันนี้

ลักษณะเด่นของ สับปะรดสวี

สับปะรดสวีมีผลเล็กทรงกระบอก น้ำหนักประมาณ 1 กก. มีจุดเด่นตรงจุกตั้งยาว ผลสุกมีเนื้อเหลือง กลิ่นหอม เยื่อใยมีน้อย และรสหวานกรอบ แกนยังกินได้ นับเป็นสับปะรดรสชาติดีที่สุดพันธุ์หนึ่ง หาซื้อได้ตามแผงขายผลไม้ที่ อ. สวีและหลังสวน วิธีเลือกซื้อ แนะนำให้เลือกซื้อผลสับปะรดที่มีเปลือกแน่นตึงสีเหลืองอมส้มสด ไม่เหี่ยวคล้ำ กดดูเนื้อยังแน่น จุกมีสีเขียวตั้งแข็ง ไม่ห่อห้อยลง

สับปะรดสวี จัดเป็นสับปะรดกลุ่มควีน (Queen) ที่มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบที่ต้นและขอบใบที่จุกผลมีหนามสั้นๆ แหลมคม ทรงโค้ง สีน้ำตาลแดง ผลเป็นรูปทรงกระบอก ผิวเปลือกเมื่อแก่สุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้มหรือเหลืองส้ม ตาใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกหนา ตาลึก ทนทานต่อการขนย้าย สับปะรดสายพันธุ์นี้ สามารถปลูกได้ตลอดปี ผล ขนาดเล็ก เนื้อสีทอง กลิ่นหอม แกนสับปะรดกรอบ

ความจริงแล้ว สับปะรดพันธุ์ภูเก็ต และ พันธุ์สวี ที่นิยมปลูกแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้แถบจังหวัดภูเก็ตและชุมพร ล้วนเป็นกลุ่มสับปะรดควีนเช่นเดียวกัน สังเกตได้จากต้นสับปะรดซึ่งเป็นพันธุ์ใบแคบ และยาว ใบสีเขียวอ่อน มีแถบสีแดงตอนกลางใบ ขอบใบเต็มไปด้วย หนามสีแดง ผลมีขนาดเล็ก ผลย่อยนูน ตาลึก เนื้อมีสีเหลือง รสหวานกรอบ และมีกลิ่นหอม

อำเภอสวี นับเป็นต้นกำเนิดดั้งเดิมของการทำไร่สับปะรดสวีพันธุ์แท้ มาตั้งแต่สมัยอดีต ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมปลูกสับปะรดพันธุ์สวีและพันธุ์ภูเก็ต แม้ทั้งสองสายพันธุ์จะอยู่ในกลุ่มควีน แต่มีจุดเด่นที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด โดยสับปะรดภูเก็ตมีขนาดผลยาวกว่า มีตาถี่กว่า ส่วนสับปะรดสวีขนาดหัวใหญ่และมีปลายแหลม นอกจากนี้ชาวบ้านบางส่วนยังนิยมปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง ซึ่งเรียกในภาษาท้องถิ่นว่า สับปะรดพันธุ์ตาดำ เพราะมีตาดำ ลักษณะฉ่ำน้ำเป็นจุดเด่นสำคัญ

ปลูกสับปะรดสวีแซมสวนยาง

ผู้เขียนแวะชมการปลูกสับปะรดแซมสวนยางเนื้อที่ 10 ไร่ ของครอบครัว “ ศุภสวัสดิ์ ” ที่ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 20 หมู่ 1 ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร “คุณอารีรัตน์ ศุภสวัสดิ์ ” เจ้าของไร่สับปะรดแห่งนี้ เล่าว่า พื้นที่แห่งนี้ เป็นที่ดินมรดกจากคุณแม่เขียว ศุภสวัสดิ์ ตั้งแต่เธอจำความได้ก็เห็นแม่ปลูกสับปะรดแซมสวนมะพร้าวมาตลอด

สมัยก่อน ปลูกสับปะรดเป็นกอใหญ่ ๆ จนแทบไม่มีที่ดิน เวลาเก็บผลผลิตออกขาย จะต้องเอาทางมะพร้าวปูเป็นทางเดินเพื่อเข้าไปเก็บสับปะรด ตอนหลังแม่เขียวตัดสินใจรื้อแปลงปลูกสับปะรด โดยนำช้างมาปล่อยเพื่อกินสับปะรดจนหมด ก่อนลงทุนปลูกสับปะรดรอบใหม่

สวนแห่งนี้ปลูกสับปะรดพันธุ์สวีแท้ คอยตัดหน่อออกและปลูกใหม่ มิฉะนั้นต้นสับปะรดจะแตกหน่อเยอะมาก และได้ผลขนาดเล็ก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เธอสืบทอดอาชีพการปลูกสับปะรดแซมสวนมะพร้าวมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเธอตัดสินใจโค่นสวนมะพร้าวและเปลี่ยนมาปลูกยาง แต่ยังคงปลูกสับปะรดแซมในสวนเช่นเดิม

แม้สับปะรดสวีจะมีอายุยืนยาว 3- 4 ปี แต่ชาวบ้านนิยมรื้อแปลงเพื่อปลูกใหม่ทุกปี เพราะให้ผลผลิตคุ้มค่ากว่า โดยทั่วไปนิยมปลูกสับปะรดสวีในระยะห่างประมาณ 50 – 100 เซนติเมตร เพื่อให้สับปะรดมีขนาดผลที่สวยงาม พื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกสับปะรดพันธุ์ทั่วไปได้ประมาณ 5,000 กว่าต้น แต่สับปะรดสายพันธุ์สวี ปลูกแถวเดี่ยวได้ประมาณ 7,000 ต้นต่อไร่ทีเดียว

เกษตรกรนิยมปลูกสับปะรดสวีตลอดทั้งปี ยกเว้นเฉพาะช่วงที่มีฝนตกหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการระบายน้ำและโรคระบาดซึ่งมักจะติดตามมาหลังจากเกิดฝนชุกติดต่อกัน การเตรียมแปลงปลูก หากไม่มีปัญหาวัชพืช เกษตรกรจะขุดหลุมปลูกเลย หากมีวัชพืช จะฉีดยาฆ่าหญ้าสักครั้งก่อนใส่ปุ๋ยยูเรีย บำรุงต้นละประมาณ ครึ่งช้อนโต๊ะ

หลังจากปลูกดูแลไปได้ปีเศษ จะเก็บผลผลิตรุ่นแรกออกขายได้ โดยมีแม่ค้าเข้ามารับซื้อผลผลิตถึงไร่ สับปะรดสวีขายได้ราคาดี ในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ ช่วงตรุษจีน สับปะรดผลใหญ่สามารถขายได้ในราคาผลละ 20 – 25 บาท ช่วงเวลาปกติจะขายผลผลิตได้ในราคาผลละ 18 – 20 บาท

เกษตรกรบางรายไม่อยากสูญเสียโอกาสการขายสินค้าในช่วงเทศกาลสำคัญ ก็จะเลือกใช้วิธีการหยอดยา ซึ่งเป็นแก๊สบ่มผลไม้ขนาดก้อนเล็กๆ มาหยอดใส่บริเวณยอดสับปะรด เพื่อให้ยอดเน่า วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นให้ต้นสับปะรดขึ้นดอกไวกว่าปกติ และมีผลผลิตออกขายภายในระยะ 5 เดือนหลังจากหยอดแก๊ส

หลังปลูกสับปะรด เกษตรกรสามารถเริ่มต้นหยอดยาครั้งแรกได้ เมื่อต้นสับปะรดมีอายุครบ 8 เดือน หลังจากหยอดยา รอไปอีก 5 เดือน เมื่อต้นสับปะรดอายุครบ 13 เดือนก็จะตัดผลผลิตรุ่นแรกออกขายได้ สมัยก่อน เกษตรกรจะใช้แก๊สหยอดบริเวณยอดสับปะรด เนื่องจากสับปะรดแต่ละหน่อจะมีจุดต่อต้านไม่เท่ากัน ทำให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดไม่พร้อมกัน ระยะหลังเกษตรกรจึงหันมาใช้ฮอร์โมนช่วยกระตุ้นให้ต้นสับปะรดออกดอกได้พร้อมกันทั้งไร่

ปัญหาอุปสรรค

เวลาต้นสับปะรดเจอฝนตกหนัก เสี่ยงทำให้ผลผลิตเน่าเสียได้ง่าย หากมีผลผลิตเข้าตลาดในช่วงฤดูผลไม้ ที่มีผลไม้เข้าตลาดจำนวนมาก เท่ากับมีคู่แข่งขันในตลาดมากขึ้น โอกาสการขายก็น้อยลง ต้องตัดใจขายผลผลิตในราคาถูก

ปัจจุบันพื้นที่การปลูกสับปะรดสวี มีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับในอดีต เนื่องจากทุกวันนี้ สวนมะพร้าวในพื้นที่อำเภอสวีไม่ค่อยมีแล้ว เพราะถูกปรับมาเป็นพื้นที่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ชาวบ้านปลูกสับปะรดสวีได้ในสวนยางต้นเล็กเท่านั้น เนื่องจากสับปะรดสวีมีขนาดเล็ก ในระยะหลังชาวบ้านก็ไม่ค่อยนิยมปลูก แต่หันไปปลูกสับปะรดพันธุ์ตราดสีทองที่มีขนาดผลใหญ่แทน

ลักษณะเด่นของสับปะรดสวี ที่หลายคนอาจไม่ทราบคือ สับปะรดสวีมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าสับปะรดพันธุ์อื่นๆ สับปะรดสวีที่ตัดออกจากต้น หากไม่โดนฝนจะมีเนื้อแห้ง มีอายุการขายนานเกือบ 2 สัปดาห์ ขณะที่สับปะรดพันธุ์ตราดสีทองจะมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่า เพียง 7-8 วันเท่านั้น

สับปะรดสวี มีรสชาติอร่อย เป็นที่นิยมของผู้บริโภค หากปลูกเป็นแสนต้น ก็จะมีรายได้หลักแสนเช่นเดียวกัน ทำให้ เกษตรกรบางรายตัดสินใจปลูกสับปะรดสวีในลักษณะแปลงใหญ่ เก็บผลผลิตแต่ละวันสร้างรายได้ทะลุหลักหมื่น เรียกได้ว่า สับปะรดสวีเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ไม้ผลชนิดอื่น

ผู้ใหญ่บ้านนิเวศน์ เชื้อหงษ์ บ้านวังไทรทองเหนือ หมู่ที่ 7 ตำบลซับเปิบ อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. 080-506-8863, 091-841-8261 ผู้ใหญ่นิเวศน์ เล่าว่า หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์เสร็จแล้ว ก็จะพักต้นไว้สัก 1-2 เดือน เพื่อให้ต้นมะขามได้สะสมอาหาร จากนั้นก็จะตัดแต่งกิ่ง โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งเบียดในทรงพุ่ม กิ่งที่เป็นโรคและแมลงเข้าทำลายออก ใช้ยาป้องกันเชื้อราทาที่รอยแผล การตัดแต่งกิ่งเป็นการกระตุ้นให้ต้นมีการเจริญเติบโต และแตกกิ่งก้านใหม่ก่อนที่จะให้ผลผลิตในปีต่อไป

การตัดแต่งกิ่งมะขามเปรี้ยวจะตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตในส่วนที่ต้องการ เป็นการพัฒนาต้นพืชให้มีโครงสร้างที่แข็งแรง ได้รูปทรงที่พึงประสงค์ ทำให้การให้ดอกออกผลดีขึ้นในปีต่อไป

ดังนั้น การทำสวนผลไม้ให้ติดผลดกและมีคุณภาพดี นอกจากการดูแลรดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ย กำจัดศัตรูพืชแล้ว ยังต้องมีการตัดแต่งกิ่ง หากไม่ให้ความสำคัญเรื่องนี้ ปล่อยให้พืชเจริญเติบโตตามธรรมชาติในช่วงแรกๆ ที่ต้นไม้อายุยังน้อย อาจยังไม่เกิดปัญหา แต่เมื่อต้นไม้มีอายุมากขึ้น ปัญหาต่างๆ จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับคนเมื่อมีอายุมากขึ้น จะเกิดปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ ตามมา

ต้นไม้ที่มีอายุมากขึ้น ลำต้นก็จะมีขนาดสูงใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามอายุ กิ่งแน่นทึบเกะกะ มีกิ่งเล็กกิ่งน้อย กิ่งแก่กิ่งแห้งตาย เพราะแสงแดดส่องเข้าไปในทรงพุ่มไม่ทั่วถึง คือกิ่งได้รับแสงไม่เพียงพอการติดผลจะน้อย ติดเฉพาะรอบๆ ทรงพุ่ม ผลเล็ก แคระแกร็น คุณภาพต่ำ มะขามก็เช่นเดียวกัน ต้นที่ไม่มีการตัดแต่งกิ่ง ฝักจะเล็กลีบแห้ง ไม่สมบูรณ์ มีรสอมเปรี้ยว มะขามพันธุ์ประกายทองจะเกิดเชื้อรามาก เพราะความชื้นในทรงพุ่มสูง แสงแดดไม่สามารถส่องเข้าไปทั่วถึง น้ำค้างแห้งช้า การถ่ายเทของอากาศเกิดขึ้นไม่ดี มะขามที่ไม่ตัดแต่งกิ่งมักมีปัญหาการติดฝักรุ่น 2 เพราะดอกรุ่นแรกไม่ติด เนื่องจากมีฝักมะขามรุ่นแรกติดอยู่ ทำให้การออกฝักน้อย แล้วก็มีการติดฝักรุ่น 2 อีก หากไม่มีการตัดแต่งกิ่งและตัดฝักเก่าทิ้ง ปัญหานี้จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ดังนั้น การปลูกมะขามเพื่อการค้าจำเป็นต้องใช้วิธีการต่างๆ ควบคุมขนาดและรูปร่างของต้นให้เป็นไปตามที่ต้องการ

การปลูกและการดูแลรักษามะขามเปรี้ยวยักษ์

มะขามเปรี้ยวยักษ์ ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่สภาพดินที่เหมาะสมที่สุดคือ ดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำดี นอกจากนั้นยังเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี สามารถขึ้นได้ในที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ระยะปลูกที่เหมาะสม คือ 8×8 เมตร จะได้จำนวน 25 ต้น ต่อไร่ หรือห่างกว่านี้เป็น 10×10 เมตร ก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรเองว่ามีมากน้อยแค่ไหน เนื่องจากมะขามเป็นพืชอายุยืน ชอบแดด ถ้าปลูกชิดทรงพุ่มมีร่มเงาบังแดดกัน ก็จะไม่ออกดอก หรือออกดอกได้ไม่ดี ขุดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร ดินที่ขุดจากหลุมปลูกให้แยกเป็นสองกอง คือดินชั้นบนและดินชั้นล่าง แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอกเก่า ประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ ต่อหลุม จากนั้นจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมก่อน แล้วจึงกลบทับด้วยดินชั้นล่าง ก็จะได้หลุมปลูกเป็นแบบหลังเต่า

หลังปลูกควรผูกต้นติดกับไม้หลักเพื่อป้องกันลมโยกในระยะแรก หากปลูกในหน้าฝนก็อาศัยฝนจากธรรมชาติเป็นหลัก แต่หากปลูกในช่วงเวลาอื่น ควรรดน้ำ 1-2 วัน ต่อครั้ง จนกว่าต้นจะตั้งตัวได้ จึงเว้นช่วงห่างประมาณ 3 หรือ 7 วัน ต่อครั้ง เมื่อต้นมะขามมีอายุ 1-3 ปี ควรใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ เช่น 16-16-16 อัตรา 500 กรัม ต่อต้น (ประมาณ 1 กระป๋องนม) โดยให้แบ่งใส่สัก 3 ครั้ง ในรอบ 1 ปี และเมื่อมะขามเริ่มออกดอกให้ผลผลิต ใส่ปุ๋ย 16-16-16 จะช่วยให้มีการติดผลมากขึ้น

สำหรับฤดูปลูก ควรจะปลูกต้นฤดูฝน เนื่องจากพื้นที่เขตนี้เป็นพื้นที่เขาไม่มีระบบน้ำ เพราะเมื่อปลูกเสร็จแล้วต้นมะขามที่ยังเล็กอยู่จะได้รับน้ำฝน สามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเข้าถึงฤดูแล้ง ต้นมะขามที่ปลูกใหม่ควรจะผูกยึดกับหลัก เพื่อให้ต้นมะขามขึ้นตรงไม่โค่นล้ม เนื่องจากลมแรง ก่อนปลูกหากปลูกด้วยกิ่งทาบจำเป็นต้องแกะเอาเชือกฟางหรือพลาสติกตรงรอยต่อออก เพราะถ้าไม่ได้แกะออก จะทำให้ต้นมะขามแคระแกร็นหรืออาจจะตายได้ ในช่วงแรกของการปลูก เนื่องจากการปลูกมะขามหวาน ใช้ระยะห่าง 8×8 เมตร ขณะที่มะขามหวานยังเล็กอยู่ อาจจะปลูกพืชอื่นแซมระหว่างแถวได้ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง สับปะรด หรือพริก อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ต่อเนื้อที่ให้มากขึ้น

ราคารับซื้อมะขามเปรี้ยว ในปีนี้ก็ถือว่ายังอยู่ได้

เนื่องจากมีแม่ค้าคนกลางมารับซื้อที่สวน ถ้าเขามาเก็บเองที่สวน เรามีหน้าที่มาดูชั่งกิโลแล้วรับเงิน ก็ กิโลกรัมละ 13 บาท ซึ่งดีที่เราไม่ต้องจ้างแรงงานมาเก็บหรือขนย้ายอะไรเลย แต่ถ้าเราเก็บให้แม่ค้าเอง เราก็ต้องจ้างคนมาเก็บ ก็จะได้กิโลกรัมละ 16-18 บาท ซึ่งคิดแล้วก็พอๆ กัน จึงให้แม่ค้าเข้ามาเก็บกันเอง โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยมาก ช่วงหลายปีก่อนใช้วิธีการขายแบบเหมาสวน ก็เฉลี่ยๆ ต้นละ 800-1,500 บาท แต่เมื่อต้นมะขามโตขึ้นอายุมากขึ้นผลผลิตก็สูงขึ้น

อย่างตัวเลขของปีที่แล้วที่แม่ค้าเก็บได้ราว 15 ตัน ต่อ 60 ต้น ซึ่งหากเราขายชั่งเป็นกิโล ก็จะมีรายได้สูงกว่าการขายเหมาเกือบเท่าตัว มาในปีนี้จึงใช้วิธีขายแบบชั่งกิโลแทน ก็มีรายได้สูงขึ้นกว่าเดิมมาก และคาดว่าผลผลิตน่าจะมากกว่า 20 ตัน แน่นอน ในปีนี้อนาคตจะต้องมีการรวมกลุ่มแน่นอนเพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองระหว่างเกษตรกรกับพ่อค้าแม่ค้าคนกลางหรือแม้แต่โรงงานรับซื้อ เพราะตอนนี้เกษตรกรต้องผ่านแม่ค้าพ่อค้าคนกลาง ทำให้การรับซื้อมะขามเปรี้ยวยังอยู่ในราคาที่ไม่สูงมากนักจากความเป็นจริง

ปีนี้ก็จริงจังกับเรื่องแปรรูปมะขามเปรี้ยวดองและแช่อิ่มมากขึ้น เนื่องจากเพิ่มมูลค่าได้สูงหลายเท่า เป็นการสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นหลายเท่าตัวจากการขายเป็นมะขามเปรี้ยวดิบ ส่วนหนึ่งก็เป็นการสร้างรายได้เสริมของกลุ่มแม่บ้าน คนแก่ในหมู่บ้านที่ใช้เวลายามว่างมารับจ้างในการมาช่วยแปรรูปมะขามเปรี้ยว ซึ่งตอนนี้เราขายมะขามดองหรือแช่อิ่มได้ กิโลกรัมละ 100-150 บาท เลยทีเดียว

ซึ่งขายทั้งแบบปลีกและราคาส่ง นั่นขึ้นอยู่กับปริมาณในการสั่งซื้อ ซึ่งตอนนี้ได้การตอบรับดีมากทั้งในเรื่องของรสชาติ คุณภาพ เนื่องจากมีการสั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง และกลับมาซื้ออีกหลายรอบ ตอนนี้การทำมะขามแปรรูปจำหน่ายจะเน้นทำสดใหม่ ทำตามออเดอร์ที่ลูกค้าสั่งจองไว้ล่วงหน้า เผื่อเราจะได้วางแผนการผลิตไว้ล่วงหน้าได้ วิธีการทำมะขามแช่อิ่ม

เป็นการแปรรูปที่สามารถสร้างรายได้อย่างดีสำหรับเกษตรกรหรือคนที่มีสวนมะขาม อันดับแรกต้องนำมะขามแกะเปลือกแช่น้ำเกลือ 3 วัน วิธีการแกะเปลือกมะขามเปรี้ยวนั้น จะนำมะขามเปรี้ยวมาลวกในน้ำร้อน ประมาณ 2 นาที ให้เปลือกมะขามนิ่ม หลังลวกเสร็จก็จะตักมะขามขึ้นจากน้ำร้อน นำไปพักในตะกร้าให้สะเด็ดน้ำ จากนั้นเทมะขามลงน้ำสะอาด

กลุ่มแม่บ้านหรือแรงงานก็จะใช้มีดแกะเปลือกมะขามออกได้อย่างง่ายดาย แกะเปลือกจนหมด ก็จะนำมะขามมาแช่ในน้ำปูนใสที่เตรียมเอาไว้ จากนั้นเป็นขั้นตอนการเตรียมน้ำปูนใส อัตราส่วน น้ำสะอาด 100 ลิตร ต่อ ปูนแดง 2 กิโลกรัม คนให้เข้ากัน แล้วทิ้งไว้ 1 คืน หลังจากนั้นตักน้ำปูนใส ส่วนบนที่ไม่มีตะกอนเทราดบนมะขาม ที่แช่น้ำเกลือไว้ข้างต้นมาแช่ในน้ำปูนใส ประมาณ 2-3 ชั่วโมง

จากนั้นตักมะขามขึ้นมาทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ ระหว่างนี้ให้จัดเตรียมการทำน้ำเชื่อม สำหรับแช่อิ่มในอัตราส่วน น้ำตาล 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 1.5 กิโลกรัม เคี่ยวจนได้ที่ รอให้เย็นแล้วเทน้ำเชื่อมที่ได้ให้ท่วมมะขามที่จัดเตรียมไว้ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง พอครบเวลาเทน้ำเชื่อมทิ้ง ซึ่งขั้นตอนนี้เราจะทำทั้งหมด 3-4 ครั้ง โดยน้ำเชื่อมครั้งแรกและครั้งที่สองที่เททิ้งนั้นเพื่อล้างน้ำปูนที่แช่มะขามไว้ หากใครต้องการมะขามแช่อิ่ม ที่อมเปรี้ยวอมหวานก็ให้ผ่านขั้นตอน แค่ 2-3 ครั้ง

หากต้องการมะขามแช่อิ่มที่มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย ก็ให้ทำให้ครบ 4 ครั้ง และเพื่อให้มะขามแช่อิ่มสามารถเก็บไว้ได้นานโดยไม่ต้องพึ่งสารกันบูด สามารถเก็บในตู้เย็นได้นานนับปี ซึ่งตอนนี้ได้ คุณณัฐวุฒิ เชื้อหงษ์ บุตรชายที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการตลาดมะขามแปรรูปมากขึ้น ซึ่งจะขายในช่องทางออนไลน์ ซึ่งได้การตอบรับดีมาก มียอดสั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง ลูกค้าที่เคยซื้อไปก็กลับมาซื้ออีกและซื้อมากขึ้นกว่าเดิม โดยสอบถามดูก็รู้ว่า มะขามแช่อิ่มของเราสดใหม่ สะอาด และรสชาติอร่อย

อย่างที่อธิบายไว้ว่า มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นพืชที่ทนแล้งมาก สามารถเจริญเติบโตได้ดีแม้ในพื้นที่ที่แห้งแล้ง ธรรมชาติของมะขามมีความแข็งแรงทนทานมาก มะขามเปรี้ยวจะเริ่มสลัดใบในช่วงมีนาคม-เมษายน ในช่วงหน้าร้อนยิ่งแล้งก็ยิ่งร่วง ใช้เวลาตั้งแต่ออกดอกจนถึงฝักแก่ ก็ประมาณ 3-4 เดือนเลยทีเดียว แต่ถ้าจะเก็บฝักดิบในการนำไปแช่อิ่มจะอยู่ประมาณกันยายน-ตุลาคม ชุดแรกฝักแก่ประมาณธันวาคมแล้วก็ไล่ไปเรื่อยจนถึงชุดสุดท้าย อาจเก็บฝักแก่ประมาณมีนาคม

วิธีจะดูว่าฝักมะขามจะเก็บได้หรือยังในฝักแก่หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า มะขามกอก เราจะสังเกตจากสีของเปลือกมะขาม จะมีสีน้ำตาลนวลๆ หรืออาจเป็นสีน้ำตาลเหลือง เวลาสุกให้ใช้นิ้วดีดเบาๆ จะมีเสียงออกกลวงๆ แต่ถ้ายังไม่สุกเสียงในการดีดฝักจะออกแน่นๆ ในฝักที่สุกแล้วใช้นิ้วขูดที่ผิวของฝักจะไม่เป็นริ้วรอย เนื้อจะแห้งยุบตัวแยกออกจากเปลือก โรคของมะขามเปรี้ยวที่อาจจะเกิดคือ โรคของแมลงรบกวนมากัดกินใบอ่อนบ้างแต่ไม่มาก ส่วนอีกโรคคือ โรคราแป้งขาว จะเกิดเชื้อระบาดรุนแรง ในสภาพอากาศที่เย็นและแห้ง
ซึ่งจะทำให้ต้นมะขามโทรม ถ้าเป็นในช่วงออกดอกติดฝักจะทำให้ลดจำนวนลง มักเกิดในช่วงปลายฝนเราสามารถใช้กำมะถันผงฉีดพ่นช่วงเย็นๆ ประมาณ 1-2 ครั้ง ราแป้งก็จะหายไป

การเก็บเกี่ยว มะขามส่วนมากจะแก่และเก็บเกี่ยวได้ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งปลูกและสภาพดินฟ้าอากาศ การเก็บฝักมะขามควรใช้กรรไกรตัดขั้วให้หลุดออกจากกิ่ง ไม่ควรใช้มือปลิด เพราะจะทำให้ฝักแตก

การดูแลรักษาต้นมะขามหลังการเก็บเกี่ยว การดูแลรักษาต้นมะขามหลังการเก็บเกี่ยว หลังเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวแล้ว ให้ตัดแต่งกิ่งมะขาม โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลง หรือกิ่งที่ไขว้กันออก และให้ใช้สีน้ำพลาสติกหรือยากันราทารอยแผลเพื่อป้องกันโรคราที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

สำหรับกิ่งที่ตัดออก ควรรีบนำออกจากแปลงมะขามไปทิ้งหรือทำลายที่อื่น โดยเฉพาะกิ่งที่เป็นโรคหรือมีแมลง ควรรีบทำลายโดยการนำไปเผาทิ้ง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคหรือแมลง

ปัจจุบัน การทำปศุสัตว์กำลังได้รับความนิยมควบคู่กับการทำเกษตรผสมผสานมากขึ้น โดยแบ่งพื้นที่จากที่เคยทำสวนทำไร่เพียงอย่างเดียว แบ่งสันปันส่วนสำหรับเลี้ยงสัตว์สร้างรายได้อีกช่องทาง เช่น การเลี้ยงโค แพะ แกะ ซึ่งสัตว์เหล่านี้กำลังเป็นที่นิยมของตลาด สามารถขายได้ราคาส่งผลตอบแทนกับผู้เลี้ยงได้ค่อนข้างดีทีเดียว

โดยการเลี้ยงให้ประสบผลสำเร็จมีกำไรเพิ่มขึ้น สมัคร GClub ในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตเป็นอีกสิ่งที่ต้องคำนึงถึง จึงทำให้ผู้เลี้ยงบางรายแบ่งพื้นที่สำหรับปลูกหญ้าสายพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะหญ้าเนเปียร์ไว้ให้สัตว์ที่เลี้ยงได้กิน ทำให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการประหยัดต้นทุนในเรื่องของการซื้อหญ้าเนเปียร์ ซึ่งหญ้าเนเปียร์เป็นพืชอาหารสัตว์ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง เมื่อปลูกและมีการจัดการที่ดี หญ้าชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้เร็วให้ผลผลิตที่สูง เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดทั้งปี และที่สำคัญเมื่อปลูกไปแล้วอายุของหญ้าเนเปียร์สามารถอยู่ได้นานถึง 5 ปี ทำให้การปลูกไม่จำเป็นต้องลงทุนในเรื่องของการซื้อต้นพันธุ์ใหม่

คุณอารีย์ พุ่มมะปราง อยู่ที่บ้านเลขที่ 130 หมู่ที่ 7 ตำบลหัวนา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ โดยใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดและช่วงเช้ามาจัดการหญ้าที่ปลูกไว้ เพื่อส่งขายให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ ที่เลี้ยงโคอยู่ในพื้นที่ ทำให้เกิดรายได้เสริมที่เธอทำแล้วมีความสุขในทุกๆ วัน

คุณอารีย์ สาวผู้มากด้วยรอยยิ้มเล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักของคุณอารีย์คือ รับราชการครู แต่งานทางด้านการเกษตรนั้น สมัยคุณพ่อคุณแม่ทำมาอยู่นานแล้ว จึงทำให้แม้เป็นครูก็ยังไม่ได้ล้มเลิกการทำเกษตร แต่ทำไว้เพื่อเสริมรายได้ ซึ่งพืชหลักๆ สมัยก่อนคือ ปลูกอ้อย ต่อมาได้นำโคมาเลี้ยง 6 ตัว เพื่อไว้สร้างรายได้เป็นรายปี จึงทำให้ต้องมีการจัดสรรพื้นที่ปลูกหญ้าสร้างอาหาร เพื่อให้โคที่นำมาเลี้ยงได้กิน เป็นการประหยัดต้นทุน

ซึ่งหญ้าเนเปียร์ที่ซื้อมาปลูก คุณอารีย์ บอกว่า เป็นพันธุ์ปากช่อง ที่สั่งมาจากพ่อค้าขายทางออนไลน์ที่เชื่อถือได้ นำต้นพันธุ์มาลงปลูกในพื้นที่ 5 ไร่ ปลูกทดแทนการทำไร่อ้อยทั้งหมด เมื่อหญ้าเติบโตเต็มที่มีผลผลิตมากพอสำหรับโคที่เลี้ยงภายในฟาร์ม และยังเหลืออีกมากสำหรับขาย จึงทำให้มีเพื่อนเกษตรกรรายอื่นที่เลี้ยงโคมาติดต่อขอซื้อ จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้คุณอารีย์ได้มีรายได้จากการขายหญ้าเนเปียร์

“พอหญ้าเนเปียร์ออกมามากๆ ก็เริ่มรู้สึกว่ามีเยอะ เกินกว่าที่โคเราจะกินหมด ในพื้นที่นี้เขาก็เลี้ยงโคกันเยอะอยู่ ช่วงที่เราทำก็หวังไว้เหมือนกันว่าจะทำขายควบคู่ไปด้วย เพราะบางรายที่เขาเลี้ยงโคเยอะๆ เขาไม่มีพื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์มากพอ ก็จำเป็นต้องสั่งซื้อ มันก็เลยเป็นช่องทางที่ทำให้เราได้เกิดรายได้จากตรงนี้ เราพูดคุยกันไว้ก่อนที่จะเริ่มปลูก ว่าถ้ามีหญ้าเนเปียร์จะซื้อไหม เขาก็ต้องการที่จะซื้อ ก็เลยปลูกสร้างรายได้เสริมตั้งแต่นั้นมา ทำให้เกิดรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวได้ดีทีเดียว” คุณอารีย์ เล่าถึงที่มา