เมื่อต้นลำไยเริ่มออกดอกให้เห็นบนต้นมากขึ้น คุณปราณี บอกว่า

จะดูแลด้วยการฉีดพ่นด้วยแคลเซียม ส่วนในเรื่องของการป้องกันแมลงจะใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นเพื่อไล่แมลง เมื่อดอกของลำไยเริ่มแตกแขนงออกก็จะฉีดพ่นฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน เพื่อให้ช่อดอกของลำไยมีขนาดที่ยาวมากขึ้น ส่วนการบำรุงต้นก็จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเหมือนเดิม เมื่อลำไยเริ่มติดลูกเข้าสู่เดือนที่ 4 จึงจะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 13-13-21 เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 ก็จะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยอีกครั้งหนึ่งเป็นสูตร 8-24-24 และปุ๋ยสูตร 0-0-60

เมื่อสามารถทำให้ผลผลิตออกในช่วงเดือนตุลาคมได้แล้ว ก็จะเก็บผลผลิตให้หมดภายใน 1 เดือน หลังจากนั้น ก็จะหมุนเวียนไปเก็บชุดต่อไปที่ทำแบบสลับไว้ให้เก็บผลผลิตให้ได้ 5 รุ่น รุ่นละ 100-150 ต้น ซึ่งแต่ละรุ่นจะให้ผลผลิตประมาณ 15-20 ตัน

คุณปราณี บอกว่า เมื่อต้นลำไยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือโคนล้ม จะป้องกันด้วยการทำที่ค้ำยันให้กับต้นลำไย เพราะเวลาที่มีผลผลิตมากๆ ต้นจะรับน้ำหนักค่อนข้างมาก ดังนั้น ไม้ค้ำยันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยพยุงให้ต้นมีความแข็งแรง

มีพ่อค้าแม่ค้า มารับซื้อถึงสวน

ในเรื่องของการทำตลาดลำไยในช่วงแรกนั้น คุณปราณี เล่าว่า ยังไม่เป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ค้ามากนัก จึงต้องขนผลผลิตที่ได้ใส่รถกระบะไปส่งจำหน่ายเองตามแหล่งรับซื้อ ต่อมาเมื่อเป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ค้าก็จะมาติดต่อขอซื้อถึงสวนเอง จึงทำให้เวลานี้การจำหน่ายลำไยที่สวนเหมือนของเธอเป็นเสือนอนกินก็ว่าได้

“ผลลำไยที่เราจำหน่ายก็จะแบ่งเป็นหลายเกรด เป็นจัมโบ้กับขนาดใหญ่ ราคาส่งก็จะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 30-33 บาท บางช่วงก็ขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนเกรดที่ต่ำลงไปกว่านี้ก็จะเป็นไซซ์กลางอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท ส่วนราคาปลีกที่มีคนมาซื้อก็จะจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาท ซึ่งสวนเราก็อยู่ติดกับแหล่งท่องเที่ยวคือ สามพันโบก ก็สามารถจำหน่ายผลผลิตได้เช่นกัน ซึ่งผลผลิตที่ออกก็ยังถือว่าพออยู่ได้ เพราะช่วงแรกๆ เราก็ยังไม่ได้ออกมาดูแลเต็มที่ เพราะยังมีงานประจำที่ทำอยู่ และที่สำคัญเราทำให้ออกนอกฤดู ยังไงก็มีคนมารับซื้อ เพราะแม่ค้าต้องการ เขาก็มาติดต่อขอซื้อถึงสวน ครั้งละ 1 ตัน ก็จะมีให้เขาซื้อไปขายต่อ” คุณปราณี บอกถึงเรื่องราคา

สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำสวนลำไย คุณปราณี บอกว่า จะเป็นปัญหาเรื่องแรงงานที่จ้างเก็บและคัดผลผลิต เพราะเดี๋ยวนี้ปัญหาเรื่องแรงงานเป็นปัญหาสำคัญมากของภาคเกษตร โดยเฉพาะชาวสวน ซึ่งในตัวของไม้ผลเองโดยเฉพาะลำไยไม่มีปัญหาในเรื่องการปลูก ซึ่งถ้ามีการจัดการที่ดีก็ถือว่าเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี โดยเฉพาะการบังคับให้ออกผลผลิตนอกฤดูก็สามารถที่จะจำหน่ายได้ราคาดีตามไปด้วย

เรื่องที่สำคัญของการทำให้ออกนอกฤดูคือ น้ำ ซึ่งลำไยจัดว่าเป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำมากถ้าต้องการให้ออกนอกฤดู ดังนั้น ผู้ที่สนใจอยากจะปลูกนอกฤดู แต่ถ้าแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถทำเป็นนอกฤดูเหมือนอย่างเธอได้

“สำหรับคนที่อยากจะทำงานเกษตร ต้องบอกก่อนเลยว่า เรื่องของพื้นที่ก็สำคัญ ถ้ามีพื้นที่ดินกับแหล่งน้ำผลผลิตเราก็จะทำได้ดี โดยเฉพาะลำไยนี่ ถ้าอยากให้ออกนอกฤดู ต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ซึ่งถือว่าสวนเราโชคดีที่อยู่ติดแม่น้ำโขง จึงสามารถนำน้ำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี ส่วนคนที่จะทำเกษตรอีกอย่างที่สำคัญคือ เรื่องของใจรัก เพราะถ้าไม่มีใจรัก ก็จะทำออกมาได้ไม่ดีไม่เต็มที่ งานเกษตรจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่ถ้าทำด้วยใจรัก ยังไงมันก็ประสบผลสำเร็จแน่นอน เพราะว่าใจเรามันไปเกินร้อยแล้วที่จะลงมือทำ” คุณปราณี กล่าวแนะนำ

จะเห็นว่างานเกษตรจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากหากเลือกสิ่งที่เหมาะสมให้เข้ากับพื้นที่และความถนัดของผู้ปลูก เหมือนเช่นคุณปราณี ที่ได้ดำเนินการปลูกลำไยเตรียมไว้ก่อนวัยเกษียณของเธอ เมื่อไม้ผลชนิดนี้เจริญเติบโตจึงทำให้เธอสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้ ซึ่งเธอบอกว่าเป็นงานหลังชีวิตเกษียณราชการที่ทำแล้วมีความสุขมาก

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปราณี เขียวสด หมายเลขโทรศัพท์ (081) 065-1133

ขอบพระคุณ คุณวราภรณ์ วงศ์ประเสริฐ เกษตรอำเภอโพธิ์ไทร พาลงพื้นที่ พบปะเกษตรกร หลังจากที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ปรากฏว่ามีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ให้ความสนใจในการเลี้ยงไหมอีรี่เป็นอาชีพเสริมมากขึ้น และเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่เดิม มียอดการผลิตไหมอีรี่เพิ่มขึ้น เช่น ในเขตพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ มีปริมาณไหมอีรี่มาส่งให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 750 กิโลกรัม ในรอบ 1 เดือนครึ่ง จากเดิมจะมีปริมาณไหมอีรี่ส่งเพียง 200-300 กิโลกรัม

ผศ.ดร. อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม เล่าว่า ขณะนี้มีเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้สนใจอาชีพเสริมเลี้ยงไหมอีรี่เพิ่มขึ้น โดยมีการขอตัวหนอนไหมอีรี่เพื่อไปเพาะเลี้ยง ซึ่งบางพื้นที่เกษตรกรจะไปขอรับพันธุ์หนอนไหมโดยตรงกับกรมหม่อนไหม อาทิ พื้นที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดร้อยเอ็ด เพราะกรมหม่อนไหมจะผลิตไข่ไหมสำหรับแจกเกษตรกร ส่วนพื้นที่ภาคกลางที่ใกล้เคียงจังหวัดนครปฐมก็สามารถขอรับพันธุ์หม่อนไหมได้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

“ปกติเกษตรกรจะสามารถมาขอรับพันธุ์หม่อนไหมได้โดยเริ่มต้นครั้งแรกของการเลี้ยงหนอนไหมอีรี่ จะให้ไปก่อนราว 10,000 ตัว เพื่อให้เป็นอาชีพเสริมสำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกมันสำปะหลังอยู่แล้ว” ผศ.ดร. อุไรวรรณ เล่า

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นในการเลี้ยงไหมอีรี่ของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังนั้นเป็นทิศทางที่ดี ซึ่งเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้น และทำให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ แต่ถึงกระนั้นปัญหาและอุปสรรคของไหมอีรี่มีหรือไม่ ทาง ผศ.ดร. อุไรวรรณ บอกว่า มี แต่เป็นปัญหาที่ทางศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม ได้เริ่มทำการวิจัยและศึกษาแล้ว

ปัญหาที่ว่านั้นคือ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ที่ส่งผลต่ออาหารของหนอนไหมอีรี่ ซึ่งจะกินใบมันสำปะหลัง และใบละหุ่ง เป็นอาหาร แต่ปรากฏว่า เมื่อปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สภาพภูมิอากาศของโลกร้อนขึ้น ส่งผลให้ใบมันสำปะหลังมีใบค่อนข้างแข็งและแห้ง ทำให้ทางศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม เริ่มทำการวิจัยถึงใบมันสำปะหลังในช่วงสภาพอากาศร้อนจัด โดยเริ่มในปีนี้เป็นปีแรก ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากงาน “การประชุมทางวิชาการด้านหม่อนไหม ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก” เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

ผศ.ดร. อุไรวรรณ เล่าว่า ได้มีโอกาสพบกับนักวิจัยชาวอินเดียและญี่ปุ่น ซึ่งได้ความรู้ว่า หนอนไหมอีรี่มีคุณสมบัติพิเศษคือ หนอนไหมตัวผู้ จะมียีนที่ต้านทานความร้อนได้สูงกว่าหนอนไหมตัวเมีย ส่งผลให้หนอนไหมตัวเมียวางไข่ได้น้อยลงในช่วงฤดูร้อน

“ช่วงฤดูร้อนของทุกปี หนอนไหมอีรี่ตัวผู้จะให้ผลผลิตเยอะเหมือนเดิม แต่หนอนไหมอีรี่ตัวเมียจะมีพฤติกรรมเปลี่ยน คือไม่ค่อยฟักไข่ หรือไม่ค่อยวางไข่ ซึ่งปีนี้ช่วงฤดูร้อนยังพอมีฝนตกให้สภาพอากาศเย็น แต่ต้องรอดูอีกทีในเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ โดยทุกๆ ปี มีข้อสังเกตว่า หนอนไหมอีรี่จะอยู่ได้ในสภาพอากาศที่ไม่ร้อนจัด ซึ่งอย่างปีที่แล้ว มีการจัดพื้นที่ให้หนอนไหมอีรี่อยู่ในอุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส” ผศ.ดร. อุไรวรรณ เล่าให้ฟัง

นอกจากนี้ ยังพบว่า ไหมอีรี่ที่เริ่มตั้งแต่เป็นตัวหนอน กินอาหาร จนกระทั่งคายไหมเพื่อให้ผลผลิต และกลายเป็นดักแด้นั้น จากเดิมมีวงจรชีวิต 21 วัน เมื่อเจอสภาพอากาศร้อนจัด วงจรชีวิตเหลือเพียง 17-19 วัน เท่านั้น เพราะฉะนั้นสภาพอากาศที่ร้อนส่งผลให้วงจรชีวิตไหมอีรี่สั้นลง เฉลี่ย 1-2 วัน แต่ในระหว่างวงจรที่สั้นลง ก็พบว่า ไหมอีรี่มีการเติบโตเร็วขึ้นเช่นกัน

เพราะฉะนั้นงานวิจัยด้านไหมอีรี่ จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อไป เมื่อต้องเจอโจทย์ใหญ่ โจทย์สำคัญที่ทั่วโลกประสบอยู่ในเวลานี้คือ ภาวะโลกร้อน ที่มีตัวแปรหลักในเรื่องของ “สภาพอากาศ” ของโลกที่ร้อนขึ้นนั่นเอง

ภาคเอกชนทยอยหนุนไหมอีรี่ สร้างระบบต่อยอดภาคอุตสาหกรรม

ระหว่างที่งานวิจัยไหมอีรี่ต้องพบกับโจทย์ใหม่ๆ อยู่ในเวลานี้ ก็ปรากฏว่ามีภาคเอกชนรายใหม่ให้ความสนใจนำไหมอีรี่ต่อยอดไปสู่ภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีเพียงบริษัทเดียวในประเทศไทย คือ บริษัท สปันซิลค์ เวิลด์ จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยมี ดร. ปาจรีย์ คิวเจริญวงษ์ กรรมการผู้จัดการของ บริษัท สปันซิลค์ฯ ทายาท รุ่นที่ 2 ของครอบครัวคิวเจริญวงษ์ นั่งเป็นผู้บริหารดูแลด้านการตลาด

ล่าสุดมี 2 บริษัทใหญ่ ร่วมมือกันที่จะผลักดันไหมอีรี่ให้แข็งแกร่งตั้งแต่ภาคการเกษตรไปจนถึงภาคอุตสาหกรรม โดย ผศ.ดร. อุไรวรรณ เล่าว่า ทาง บริษัท จุลไหมไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทที่จะส่งเสริมการเลี้ยงไหม ให้การสนับสนุนเกษตรกรเลี้ยงไหม และทำสัญญากับ บริษัท จุลไหมไทย ว่าจะมีการส่งไหมให้ ซึ่งจะเป็นการรับประกันความมั่นใจให้กับเกษตรกรไปในตัว และทางภาคเอกชนก็มั่นใจในเกษตรกรว่าจะมีไหมส่งให้แน่นอน จากนั้นเมื่อได้ไหมอีรี่มาแล้ว ทาง บริษัท จุลไหมไทย จะนำไหมอีรี่ที่ได้ส่งต่อให้กับบริษัทอีกแห่ง ซึ่งจะมีโรงงานทอเส้นไหมอีรี่

“ทาง บริษัท จุลไหมไทย เริ่มส่งพนักงานของบริษัทมาเรียนรู้การเลี้ยงไหมอีรี่ตั้งแต่เริ่มต้น ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เพื่อเตรียมสร้างเครือข่ายด้านเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมอีรี่ และนำผลผลิตไปต่อยอดยังภาคอุตสาหกรรม” ผศ.ดร. อุไรวรรณ กล่าว

เพราะฉะนั้นเรื่องของไหมอีรี่ยังมีภาคต่อๆ ไปให้ติดตาม ทั้งในแง่ที่เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง จะได้พี่เลี้ยงจากศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม นำตัวหนอนไหมอีรี่ไปเลี้ยงเพื่อให้เกิดรายได้เสริม ขณะที่นักวิจัยเองก็มีเรื่องจะต้องวิจัยกันต่อ โดยเฉพาะผลกระทบเรื่องโลกร้อนที่มีผลต่อวงจรชีวิตของตัวหนอนไหมอีรี่ และลักษณะของใบมันสำปะหลังซึ่งเป็นอาหารสำคัญของไหมอีรี่

เกษตรกรที่สนใจข้อมูล หรือขอพันธุ์หนอนไหมอีรี่ไปเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม ติดต่อได้โดยตรงที่ ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านไหม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

อำเภอโพธิ์ไทร เป็นอำเภอหนึ่งที่อยู่ในอุบลราชธานี มีระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 96 กิโลเมตร มีแหล่งท่องเที่ยวภายในอำเภอที่หลายๆ คนรู้จัก เช่น สามพันโบก ผาชัน หาดสลึง ฯลฯ และที่สำคัญเป็นอำเภอที่อยู่ริมแม่น้ำโขง

คุณวราภรณ์ วงศ์ประเสริฐ เกษตรอำเภอโพธิ์ไทร ให้ข้อมูลว่า การเกษตรหลักๆ ของเกษตรกรในพื้นที่นี้จะทำนาเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาเป็นมันสำปะหลัง และไม้ผล ซึ่งไม้ผลนับว่ายังเป็นพืชที่ยังไม่ปลูกมากนักของเกษตรกร โดยเกษตรกรบางรายได้ใช้ประโยชน์ของที่ดินที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขงมาช่วยในเรื่องของการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกลำไยให้ออกผลนอกฤดู จึงทำให้ได้ผลผลิตที่ดีสามารถจำหน่ายได้ราคา และเป็นต้นแบบให้กับเพื่อนเกษตรกรรายอื่นได้อีกด้วย

คุณปราณี เขียวสด อยู่บ้านเลขที่ 165 หมู่ที่ 1 ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่ประสบผลสำเร็จมากว่า 30 ปี โดยเธอจะเน้นให้ผลผลิตออกนอกฤดูจึงทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นที่ต้องการของตลาด นับว่าเป็นอาชีพแบบเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว

คุณปราณี สาววัยเกษียณอัธยาศัยยิ้มแย้มแจ่มใส เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีรับราชการเป็นนักวิชาการสาธารณสุข ต่อมาได้มีโอกาสไปเที่ยวบ้านเพื่อนที่อยู่จังหวัดลำพูน จึงได้พบเห็นสวนลำไยที่อยู่ในภูมิภาคนั้นเป็นที่นิยมกันมาก จึงได้ตัดสินใจอยากที่จะนำมาทดลองปลูกภายในที่ดินของครอบครัวที่ว่างอยู่

“ช่วงนั้นประมาณปี 27 พอเราเห็นเขาทำกันมากที่ภาคเหนือ ก็ติดต่อขอซื้อมาทดลองปลูกประมาณ 200 ต้น เป็นลำไยพันธุ์อีดอก้านยาว ก็ปลูกแบบให้เป็นไม้ผลทั่วไป ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในอนาคต เพราะลำไยเป็นไม้ผลที่ต้องใช้เวลาเจริญเติบโตพอสมควร ก็ปล่อยไว้ประมาณ 5 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต ซึ่งช่วงนั้นเราก็ทำควบคู่ไปด้วยกับงานประจำที่เราทำอยู่” คุณปราณี เล่าถึงที่มาของการทำสวนลำไย

เมื่อลำไยที่ปลูกทั้งหมดเจริญเติบโตจนให้ผลผลิตได้แล้ว คุณปราณี บอกว่า จึงตอนกิ่งพันธุ์จากต้นเดิมที่มีอยู่ เพื่อขยายให้มีต้นลำไยมากกว่าเดิมที่มีเพียง 200 ต้น

คุณปราณี อธิบายช่วงแรกที่นำต้นลำไยมาปลูกใหม่ๆ ว่า ปลูกให้แต่ละต้นมีระยะห่างอยู่ที่ 8×8 เมตร ภายในหลุมจะรองก้นด้วยปุ๋ยคอกและสารกำจัดปลวกผสมลงไปด้วยเล็กน้อย โดยก่อนที่ลำไยจะให้ผลผลิตได้นั้น ในช่วงนั้นเธอบอกว่าจะปลูกพืชแซมเข้ามาช่วยด้วยคือ มะละกอ เพราะใช้เวลาที่สั้นทำให้สามารถมีเงินมาหมุนเวียนก่อนที่ลำไยจะโตเต็มที่ได้ผล

“ช่วงที่รอผลผลิตโตเราก็ยังอยู่ในงานประจำนะ ยังไม่ได้ออกมาทำ เพราะไม้ผลพวกนี้มันต้องใช้เวลา เราก็เน้นขยายพื้นที่ปลูกเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นลำไย หรือมะขามหวานบ้าง จนทำให้สวนเรามีไม้ผลเยอะ สามารถเก็บผลผลิตขายได้หลากหลาย” คุณปราณี บอก

เนื่องจากพื้นที่สวนปลูกลำไยของคุณปราณีอยู่ใกล้กับแม่น้ำโขง เธอจึงไม่มีปัญหาในเรื่องน้ำที่ใช้รด โดยสามารถเน้นทำผลผลิตลำไยให้ออกนอกฤดูได้ จึงทำให้จำหน่ายได้ราคาดีและสินค้าไม่ล้นตลาด

โดยหลังจากที่เก็บผลผลิตจำหน่ายได้หมดทั้งต้นแล้ว คุณปราณี บอกว่า จะตัดแต่งกิ่งทันทีและรดน้ำเพื่อเป็นการพักฟื้นให้กับต้นลำไยประมาณ 1 ปี เมื่อครบระยะเวลาแล้วจึงสำรวจภายในสวนว่า ลำไยสามารถผลิตจำหน่ายได้กี่รุ่น เพื่อไม่ให้ผลผลิตออกซ้ำกันจึงทำให้ผลผลิตมีในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป

“ช่วงที่เราพักต้นลำไยเป็นเวลา 1 ปี ช่วงนั้นเราก็จะมีการบำรุงต้น ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ในอัตราส่วน 2 กิโลกรัม ต่อต้น ทุก 2 เดือนครั้ง พอครบกำหนดที่เราจะทำให้ออกผลผลิตนอกฤดู เราก็จะเตรียมราดสารก่อนผลผลิตออกประมาณ 6 เดือน เช่น เราจะให้ผลผลิตออกจำหน่ายเดือนตุลาคม เราก็จะราดสารในช่วงเดือนเมษายน หลังจากราดสารได้ 1 เดือน ต้นลำไยก็จะเริ่มออกดอกเพื่อติดผลผลิต” คุณปราณี อธิบาย

เมื่อต้นลำไยเริ่มออกดอกให้เห็นบนต้นมากขึ้น คุณปราณี บอกว่า จะดูแลด้วยการฉีดพ่นด้วยแคลเซียม ส่วนในเรื่องของการป้องกันแมลงจะใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดพ่นเพื่อไล่แมลง เมื่อดอกของลำไยเริ่มแตกแขนงออกก็จะฉีดพ่นฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน เพื่อให้ช่อดอกของลำไยมีขนาดที่ยาวมากขึ้น ส่วนการบำรุงต้นก็จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอเหมือนเดิม เมื่อลำไยเริ่มติดลูกเข้าสู่เดือนที่ 4 จึงจะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 13-13-21 เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 ก็จะเปลี่ยนสูตรปุ๋ยอีกครั้งหนึ่งเป็นสูตร 8-24-24 และปุ๋ยสูตร 0-0-60

เมื่อสามารถทำให้ผลผลิตออกในช่วงเดือนตุลาคมได้แล้ว ก็จะเก็บผลผลิตให้หมดภายใน 1 เดือน หลังจากนั้น ก็จะหมุนเวียนไปเก็บชุดต่อไปที่ทำแบบสลับไว้ให้เก็บผลผลิตให้ได้ 5 รุ่น รุ่นละ 100-150 ต้น ซึ่งแต่ละรุ่นจะให้ผลผลิตประมาณ 15-20 ตัน

คุณปราณี บอกว่า เมื่อต้นลำไยมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สิ่งที่ต้องระวังมากที่สุดคือโคนล้ม จะป้องกันด้วยการทำที่ค้ำยันให้กับต้นลำไย เพราะเวลาที่มีผลผลิตมากๆ ต้นจะรับน้ำหนักค่อนข้างมาก ดังนั้น ไม้ค้ำยันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะช่วยพยุงให้ต้นมีความแข็งแรง

มีพ่อค้าแม่ค้า มารับซื้อถึงสวน

ในเรื่องของการทำตลาดลำไยในช่วงแรกนั้น คุณปราณี เล่าว่า ยังไม่เป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ค้ามากนัก จึงต้องขนผลผลิตที่ได้ใส่รถกระบะไปส่งจำหน่ายเองตามแหล่งรับซื้อ ต่อมาเมื่อเป็นที่รู้จักของพ่อค้าแม่ค้าก็จะมาติดต่อขอซื้อถึงสวนเอง จึงทำให้เวลานี้การจำหน่ายลำไยที่สวนเหมือนของเธอเป็นเสือนอนกินก็ว่าได้

“ผลลำไยที่เราจำหน่ายก็จะแบ่งเป็นหลายเกรด เป็นจัมโบ้กับขนาดใหญ่ ราคาส่งก็จะอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 30-33 บาท บางช่วงก็ขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 35 บาท ส่วนเกรดที่ต่ำลงไปกว่านี้ก็จะเป็นไซซ์กลางอยู่ที่กิโลกรัมละ 25 บาท ส่วนราคาปลีกที่มีคนมาซื้อก็จะจำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 50-60 บาท ซึ่งสวนเราก็อยู่ติดกับแหล่งท่องเที่ยวคือ สามพันโบก ก็สามารถจำหน่ายผลผลิตได้เช่นกัน ซึ่งผลผลิตที่ออกก็ยังถือว่าพออยู่ได้ เพราะช่วงแรกๆ เราก็ยังไม่ได้ออกมาดูแลเต็มที่ เพราะยังมีงานประจำที่ทำอยู่ และที่สำคัญเราทำให้ออกนอกฤดู ยังไงก็มีคนมารับซื้อ เพราะแม่ค้าต้องการ เขาก็มาติดต่อขอซื้อถึงสวน ครั้งละ 1 ตัน ก็จะมีให้เขาซื้อไปขายต่อ” คุณปราณี บอกถึงเรื่องราคา

สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการทำสวนลำไย คุณปราณี บอกว่า จะเป็นปัญหาเรื่องแรงงานที่จ้างเก็บและคัดผลผลิต เพราะเดี๋ยวนี้ปัญหาเรื่องแรงงานเป็นปัญหาสำคัญมากของภาคเกษตร โดยเฉพาะชาวสวน ซึ่งในตัวของไม้ผลเองโดยเฉพาะลำไยไม่มีปัญหาในเรื่องการปลูก ซึ่งถ้ามีการจัดการที่ดีก็ถือว่าเป็นไม้ผลที่ให้ผลผลิตดี โดยเฉพาะการบังคับให้ออกผลผลิตนอกฤดูก็สามารถที่จะจำหน่ายได้ราคาดีตามไปด้วย

เรื่องที่สำคัญของการทำให้ออกนอกฤดูคือ น้ำ ซึ่งลำไยจัดว่าเป็นไม้ผลที่ต้องการน้ำมากถ้าต้องการให้ออกนอกฤดู ดังนั้น ผู้ที่สนใจอยากจะปลูกนอกฤดู แต่ถ้าแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอก็จะไม่สามารถทำเป็นนอกฤดูเหมือนอย่างเธอได้

“สำหรับคนที่อยากจะทำงานเกษตร ต้องบอกก่อนเลยว่า เรื่องของพื้นที่ก็สำคัญ ถ้ามีพื้นที่ดินกับแหล่งน้ำผลผลิตเราก็จะทำได้ดี โดยเฉพาะลำไยนี่ ถ้าอยากให้ออกนอกฤดู ต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ซึ่งถือว่าสวนเราโชคดีที่อยู่ติดแม่น้ำโขง จึงสามารถนำน้ำมาใช้ได้ตลอดทั้งปี ส่วนคนที่จะทำเกษตรอีกอย่างที่สำคัญคือ เรื่องของใจรัก เพราะถ้าไม่มีใจรัก ก็จะทำออกมาได้ไม่ดีไม่เต็มที่ งานเกษตรจะว่าง่ายก็ง่าย จะว่ายากก็ยาก แต่ถ้าทำด้วยใจรัก ยังไงมันก็ประสบผลสำเร็จแน่นอน เพราะว่าใจเรามันไปเกินร้อยแล้วที่จะลงมือทำ” คุณปราณี กล่าวแนะนำ

จะเห็นว่างานเกษตรจึงเป็นสิ่งที่ไม่ยากหากเลือกสิ่งที่เหมาะสมให้เข้ากับพื้นที่และความถนัดของผู้ปลูก เหมือนเช่นคุณปราณี ที่ได้ดำเนินการปลูกลำไยเตรียมไว้ก่อนวัยเกษียณของเธอ เมื่อไม้ผลชนิดนี้เจริญเติบโตจึงทำให้เธอสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้ ซึ่งเธอบอกว่าเป็นงานหลังชีวิตเกษียณราชการที่ทำแล้วมีความสุขมาก

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณปราณี เขียวสด หมายเลขโทรศัพท์ (081) 065-1133

ขอบพระคุณ คุณวราภรณ์ วงศ์ประเสริฐ เกษตรอำเภอโพธิ์ไทร พาลงพื้นที่ พบปะเกษตรกร คุณณัฐวุฒิ พิมพ์แก้ว อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ที่ 9 ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เล่าให้ฟังว่า เริ่มทำงานเกี่ยวกับการส่งออก ต่อมาเริ่มรู้สึกอยู่ตัวกับสายงานทางด้านนี้ มีแนวคิดตัดสินใจอยากจะมาทำอาชีพทางการเกษตร เพราะอยากมีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น จึงได้มาปรับเปลี่ยนสวนมะขามที่มีอยู่มาทดลองปลูกแคนตาลูป ที่มองว่าน่าจะประสบผลสำเร็จได้ดี

“สมัยก่อนนั้นคุณแม่ก็ยังไม่ได้ทำอะไร เราก็เลยทดลองปลูกแตงโมกัน ผลปรากฏว่าประสบผลสำเร็จดี ต่อมาพอผมไปทำงานประจำด้านอื่นก็ไม่ได้อยู่ที่บ้าน การปลูกแตงโมก็เลยล้มเลิกไป พอเราไปอยู่ไกลบ้าน ก็เริ่มอยากที่จะมีเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น ก็เลยตัดสินใจอยากกลับมาอยู่บ้านและทำงานที่ใช้ประโยชน์จากที่ดินเราเอง ก็เลยได้แนวคิดว่าจะปลูกแคนตาลูป เพราะในเรื่องของราคาน่าจะดีกว่าแตงโมที่เคยปลูกมาก่อน” คุณณัฐวุฒิ เล่าถึงแนวคิด

โดยวิธีการปลูกแคนตาลูปของเขาจะใช้วิธีที่ง่ายๆ คือ การปลูกลงในแปลงดินที่เป็นสภาพแวดล้อมแบบเปิด ทำการไถพรวนดินให้ทั่วและยกร่อง จากนั้นนำมูลไก่และปุ๋ยชีวภาพมาผสมลงไปภายในแปลง เพื่อปรับสภาพดินให้มีความสมบูรณ์ จากนั้นปูผ้ายางสีดำด้านบนเพื่อเป็นการควบคุมวัชพืช

โดยก่อนหน้านั้นจะทำการเพาะต้นกล้าเตรียมไว้ในถาดเพาะที่อยู่ภายในโรงเรือน เมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 15 วัน จึงย้ายต้นกล้าลงปลูกภายในแปลง

“ระยะห่างที่เราปลูกประมาณ 40 x 40 เซนติเมตร หลังจากนั้นดูแลไปอีกประมาณ 40-45 วัน ผลผลิตก็จะเริ่มมีลูกให้เราเก็บเกี่ยวขายได้ ซึ่งพอหลังจากที่เราปลูกลงดินได้ 2 สัปดาห์ ก็จะเริ่มออกดอก ช่วงนั้นการผสมเกษรก็จะเกิดขึ้น แมลงและผึ้งก็จะผสมให้เราเองเป็นแบบธรรมชาติ หลังจากเกษรผสมแล้ว นับไปอีก 21 วัน แคนตาลูปก็จะแก่พร้อมเก็บขายได้เลย สามารถเก็บผลผลิตได้ทุกวันจนกว่าต้นจะโทรม” คุณณัฐวุฒิ บอกถึง

ส่วนในเรื่องของการใส่ปุ๋ยนั้น คุณณัฐวุฒิ บอกว่า จะใส่ในสัปดาห์ที่ต้นเริ่มออกดอกเป็นสูตร 12-14-14 เมื่อแคนตาลูปเริ่มติดผลมีขนาดผลเท่ากำมือ จะเปลี่ยนปุ๋ยเป็นสูตร 14-7-24 โดยจะผสมให้ไปพร้อมกับน้ำที่ใช้รด โดยสุดท้ายก่อนเก็บผลผลิตจะหยุดให้น้ำ เพื่อทำให้แคนตาลูปมีรสชาติที่ดีก่อนเก็บเกี่ยว

เรื่องของการป้องกันโรคนั้น คุณณัฐวุฒิ บอกว่า เมื่อปลูกต้นกล้าแคนตาลูปลงดินจะหมั่นฉีดพ่นด้วยเชื้อไตรโครเดอร์มาเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อราเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแมลงศัตรูพืชอื่นๆ จะป้องกันตามอาการที่เกิดขึ้น

ซึ่งหลักการทำตลาดจะทดลองนำไปขายให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวในพื้นที่บริเวณสามพันโบกก่อน เมื่อผลผลิตเริ่มเป็นที่รู้จักก็จะมีพ่อค้าแม่ค้าที่ทราบเข้ามาติดต่อขอซื้อถึงสวนอีกด้วย โดยขายส่งอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 15-25 บาท

“ซึ่งการปลูกแบบลงดินผมมองว่าในเรื่องรสชาติ ก็ยังพอได้อยู่นะครับ มีความหวาน แต่จะไม่ดีในช่วงฤดูฝน เพราะจะทำให้ผลผลิตแตกเสียหายเกิดจากการบวมน้ำ ดังนั้นจึงต้องมีการจัดการในเรื่องของการวางแผนการปลูกให้ดี อย่าให้ผลผลิตออกในช่วงฤดูฝน ซึ่งการเกษตรสามารถทำเงินได้ ขอให้เรียนรู้และศึกษา” คุณณัฐวุฒิ กล่าวแนะนำ

ในสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งทางธรรมชาติ อันมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด การพัฒนาและปรับปรุงเมล็ดพันธุ์พืช ผัก ตลอดจนไม้ผลนานาชนิดให้สอดคล้องเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดภาคเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง

อย่างมะละกอ ที่ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด มุ่งมั่นพัฒนาปรับปรุงให้มีคุณภาพอย่าง พันธุ์เรดเลดี้ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ปลูกในตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ให้ทนแล้ง ตอบสนองความต้องการของพื้นที่

คุณธนิต นาดี เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเขตภาคเหนือ เปิดเผยว่า เดิมทีชาวบ้านแห่งนี้ปลูกมะละกอพันธุ์แขกดำและฮอลแลนด์ แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เพราะไม่ทนโรค จึงทำให้ชาวบ้านลองเปลี่ยนมาปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้แทน เพราะมีคุณสมบัติทนแล้งดี แล้วยังทนต่อโรค/แมลงศัตรู ช่วยให้ผลเน่าเสียลดลงหรือไม่มี จึงทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น ลดต้นทุนการใช้ยาป้องกันได้ด้วย

นอกจากนั้น มะละกอพันธุ์นี้ยังมีเปลือกหนา ทำให้มีความปลอดภัยระหว่างขนส่ง เพราะไม่ทำให้เนื้อช้ำเสียหายง่าย ส่วนเนื้อผลแน่น มีความหวาน ปกติประมาณ 13-14 บริกซ์ และถ้าสุกเต็มที่อาจได้ความหวานถึง 16 บริกซ์ แล้วยังมีเมล็ดน้อย จึงทำให้มีปริมาณเนื้อมากขึ้น ซึ่งระยะเริ่มต้นการปลูกในพื้นที่อาจจะมีปัญหาบ้างแต่ได้มีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์จนสมบูรณ์ แล้วประสบความสำเร็จปลูกได้ดีในแปลง

จนถึงขณะนี้มีปริมาณส่งเข้าตลาดอย่างเพียงพอ ทั้งตลาดผู้บริโภคสดและตลาดโรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อ ปี 2559 ถึงแม้จะประสบปัญหาวิกฤติแล้ง แต่เกษตรกรสามารถพัฒนาการปลูกมะละกอเรดเลดี้ได้อย่างดี จนทำให้มีน้ำหนักเกือบ 4 กิโลกรัม ต่อผล สูงกว่าปกติที่มีน้ำหนักเพียง 2 กิโลกรัม ต่อผล

คุณธนิต ชี้ว่า เรดเลดี้ เป็นพันธุ์มะละกอที่เพื่อนเกษตรกรมีการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ตอบสนองกับพื้นที่ปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฉะนั้นลักษณะผลในทุกสวนจึงมีรูปร่างทรงกลมต่างจากมะละกอสุกทั่วไปที่มีรูปร่างยาว ซึ่งความจริงไม่ได้เป็นพันธุ์ที่มีรูปร่างกลม แต่พอมาปลูกในพื้นที่บริเวณนี้กลับเป็นผลทรงกลม อย่างไรก็ตาม กลับเป็นเรื่องดี เพราะตลาดชอบลักษณะผลกลม จึงทำให้มี 2 รูปลักษณะ ที่ตลาดต้องการคือผลรียาวและทรงกลม

“พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกมะละกอเรดเลดี้ได้ถึง 355 ต้น ช่วงที่มีผลผลิตเต็มที่ อยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ปกติจะเก็บผลผลิตกัน 3-4 คอ หลังจากเลิกปลูกจะตัดทิ้งไม่เก็บไว้ เพราะอาจทำให้พันธุ์ในรุ่นต่อมาเปลี่ยนไป ทั้งนี้ การโค่นต้นทิ้งจะเป็นปุ๋ยอย่างดีในดิน จากนั้นชาวบ้านจะเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น”

เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายบอกว่ามะละกอเรดเลดี้มิใช่ไม้ผลเพื่อการค้าอย่างเดียว แต่สามารถปลูกตามบ้านพักอาศัยได้อาจปลูกบ้านละ 1-2 ต้น เพราะลำต้นไม่สูงมาก เก็บผลผลิตได้สะดวกและดูแลง่าย

ตรงตามความต้องการ แห่ปลูกกันเพิ่ม

การปรับปรุงพันธุ์จนมีจุดเด่นและข้อดีหลายประการของมะละกอเรดเลดี้ จึงทำให้ คุณสิริภัค จันทบุรี (คุณณี) อยู่บ้านเลขที่ 171/4 หมู่ที่ 3 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เกิดความสนใจโดยนำพันธุ์เรดเลดี้ที่ทางเพื่อนเกษตรกรแนะนำมาปลูกในพื้นที่ตัวเอง

คุณณี บอกว่า เรดเลดี้จะติดดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ของทุกปี ช่วงราวเดือนกรกฎาคมจะเริ่มมีผลผลิต และจะทยอยเก็บไปเรื่อยจนกระทั่งประมาณเดือนตุลาคม เป็นจังหวะเดียวกับช่วงที่น้ำเริ่มท่วมตามปกติ และมะละกอหมดคอพอดี ทำอะไรไม่ได้ จนกระทั่งถึงปลายปีจึงจะเริ่มทำรุ่นใหม่อีกครั้ง แต่ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม จะสั่งเมล็ดพันธุ์มาเพาะไว้ก่อน พอเดือนพฤศจิกายนจะเริ่มปลูกได้ แต่ถ้าปีไหนน้ำไม่ท่วมก็โชคดีจะเก็บไปได้เรื่อย

คุณณี ปลูกเรดเลดี้มานานกว่า 10 ปี ปลูกแบบยกร่อง เธอเผยว่าข้อดีของพันธุ์นี้คือ ทนแล้ง มีรสหวาน เนื้อแดง มีน้ำหนักผลปกติเฉลี่ย 2 กิโลกรัม ซึ่งผลผลิตถ้าดูแลเต็มที่จะได้ประมาณอย่างต่ำไร่ละ 30 ตัน

พร้อมกับให้รายละเอียดการปลูกมะละกอพันธุ์นี้ว่า สมัครเว็บคาสิโน เริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ ซึ่งจะใช้เวลา 25-30 วัน จึงย้ายลงแปลงปลูกที่เตรียมไว้ ขนาดร่องปลูกกว้างประมาณ 3 เมตร ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 1.50 เมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ จำนวน 5 กรัม ต่อไร่ ทั้งนี้ภายหลังที่ย้ายลงแปลงแล้วต้องสังเกตว่าต้นกล้ามีความแข็งแรงพอหรือยัง จากนั้นจึงเริ่มใส่ปุ๋ย และในช่วง 1-3 เดือนแรก จะต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ต้นมีความแข็งแรง

“ต้นมะละกอเล็ก จะใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 จนเข้าเดือนที่ 6 หรือในช่วงเริ่มติดดอกจึงเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 แล้วใช้ปุ๋ย สูตร 13-0-46 ก่อนเก็บสักเดือน เพราะต้องการให้ผลมีความหวานพอเหมาะ โดยผลผลิตรุ่นแรกจะเริ่มประมาณเดือนมิถุนายน แล้วจะเก็บผลผลิตไปถึงประมาณคอสามจะหยุดเก็บ เพราะต้นจะสูง เก็บยาก ขณะเดียวกับคุณภาพผลผลิตลดลง

ดังนั้น เมื่อถึงคอสามแล้วจะรื้อแปลงทิ้งในราวปลายปี เพื่อเตรียมปรับดินแล้วเตรียมปลูกรุ่นต่อไปในแปลงอื่น จากนั้นจึงไถแปลงเตรียมปรับดินเพื่อรอปลูกพืชชนิดอื่น ส่วนมะละกอจะย้ายไปปลูกแปลงอื่นที่ไม่ใช่แปลงเดิมเพื่อป้องกันการเกิดโรค”

คุณณี เผยว่าสามารถปลูกมะละกอเรดเลดี้ได้ จำนวน 300 ต้น ต่อไร่ มีผลผลิตต้นละประมาณ 50 ผล มีน้ำหนักเฉลี่ยผลละ 2 กิโลกรัม เคยเก็บตัวเลขรายได้ต่อต้น ได้ต้นละ 1,000 บาท ฉะนั้น ถ้าในพื้นที่ 1 ไร่ ที่มีจำนวน 300 ต้น จะมีรายได้ก่อนหักต้นทุน ประมาณ 300,000 บาท โดยมีต้นทุนไร่ละประมาณ 15,000 บาท

สำหรับโรคที่พบคือ เพลี้ยไฟไรแดง แต่พันธุ์นี้ไม่เคยพบ หรือถ้ามีโรค/แมลงระบาดเกิดขึ้น แต่เรดเลดี้ยังกลับให้ผลผลิตเก็บได้ไม่ประสบความเสียหาย ส่วนการป้องกันคุณณีบอกว่าอาจจะพ่นยาป้องกันแมลงบ้างถ้าเกิดระบาดอย่างหนัก แต่จะใช้ในปริมาณน้อย นอกจากนั้น ยังใช้สารชีวภัณฑ์ฉีดพ่นด้วย เพื่อเป็นการบำรุงต้นและป้องกันโรค/แมลง