เมื่อถามถึงปัญหา คุณสิริมณี บอกว่า การทำนาปลูกข้าวปลอดสาร

ให้เป็นอินทรีย์ ไม่ใช่เรื่องยาก อาจพบปัญหาโรคและแมลงบ้าง ใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นเอง ก็สามารถควบคุมและกำจัดได้แล้ว แต่ปัญหาที่ประสบและไม่สามารถควบคุมหรือจัดการได้ คือ ปัญหาภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะภัยแล้ง เพราะพื้นที่ปลูกข้าวไม่มีชลประทานผ่าน อาจใช้น้ำบาดาลช่วย แต่หากเกิดภัยแล้งหนัก จำเป็นต้องรอฝนเพียงอย่างเดียว ทำให้ปริมาณผลผลิตที่ควรได้ไม่ได้ตามเป้า อย่างไรก็ตาม จากการฝ่าฝันอุปสรรคมาด้วยกันของสมาชิกภายในกลุ่ม จึงตั้งใจดำเนินกิจกรรมให้ลุล่วงสำเร็จด้วยดี ดังนั้น เมื่อต้องนำข้าวมาขายให้กับกลุ่ม จึงมีการประกันราคาข้าวภายในกลุ่มให้ด้วย

แม้ว่าคุณสิริมณี เป็นเพียงเกษตรกรรุ่นใหม่ ที่ไม่ได้มีพื้นฐานการทำการเกษตรมาก่อน แต่มีผืนนาที่เป็นมรดกตกทอดจากครอบครัว และจำเป็นต้องอาศัยผืนนาเลี้ยงชีพ การฝึกปรือ สังเกตุ และความใส่ใจ จึงเป็นสิ่งที่สร้างให้คุณสิริมณีก้าวมาถึงจุดนี้

สนใจพูดคุยเพิ่มเติม คุณสิริมณี ยินดีตอบคำถาม สามารถติดตามได้ที่เฟสบุ๊ก ขายส่งข้าวไรซ์เบอรี่ หอมนิล มะลิอินทรีย์ ราคาชาวนา และเฟสบุ๊ก ขายข้าวไรซ์เบอรี่ 60 บาท ส่งทั่วไทย หรือติดต่อทางโทรศัพท์ได้ที่ 062-535-3991 ที่ตั้งแปลงนาอยู่ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ชะอม ผักพื้นบ้านที่คุ้นเคยกันดี เพราะสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย ทำให้กลายเป็นพืชยอดนิยมที่สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกไม่น้อยไปกว่าพืชผักชนิดอื่นๆ

ชะอมเป็นไม้ยืนต้นที่สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศและมีชื่อเรียกต่างกันไป โดยใบอ่อนหรือส่วนยอดของใบสามารถนำมารับประทานได้แตกยอดทั้งปี นิยมปลูกเป็นรั้วบ้านเนื่องจากมีหนามแหลมคม แต่ปัจจุบันมีเกษตรหันมาปลูกชะอมจำหน่ายเป็นอาชีพเสริม อย่างแปลงที่เห็นนี้เป็นของ คุณเพ็ญ รุจิรัตน์ ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

คุณเพ็ญ เล่าให้ฟังว่า เธอตัดสินใจลาออกจากงานประจำ กลับมาสู่อาชีพเกษตรกรรม เพราะเป็นอาชีพที่คุ้นเคยดี อีกทั้งทางบ้านมีที่นาเป็นของตัวเอง แต่การทำนาข้าวพื้นที่ไม่มากพอ ผลได้ไม่คุ้มต้นทุน จึงหันมาปลูกพืชที่ใช้พื้นที่และลงทุนน้อยแต่ได้ผลผลิตดีอย่างชะอม โดยเนรมิตพื้นที่นาจำนวน 4 ไร่ กลายเป็นสวนชะอมที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัว มานานกว่า 5 ปี

สำหรับขั้นตอนการปลูก คุณเพ็ญบอกว่า จะไถพรวนและยกเป็นร่อง โดยรอบแปลงจะมีร่องระบายน้ำรอบๆ ป้องกันน้ำในช่วงฤดูฝน จากนั้นโรยปุ๋ยคอกและไถกลบอีกรอบ รดน้ำให้ชุ่มก่อนนำกิ่งตอนขนาดสูง 40 เซนติเมตร ลงหลุมปลูกโดยวางกิ่งให้เอียง 45 องศา ระยะห่างระหว่างต้นและแถว 60 เซนติเมตร กลบดินและรดน้ำให้ชุ่ม บำรุงด้วยปุ๋ยเคมีทุก 7 วัน ฉีดฮอร์โมนเร่งยอดทุก 15 วัน และโรยมูลวัว ปรับสภาพดินทุก 1 เดือน ประมาณ 70-80 วัน ก็เก็บยอดขายได้แล้ว

หลังจากเก็บยอดจำหน่ายไปแล้ว เมื่อต้นชะอมเริ่มโทรมหรืออายุมาก จะทำสาว โดยจะตัดแต่งใบแก่และตอนกิ่งที่จะตัดทิ้งทำเป็นต้นพันธุ์และจำหน่ายแทน ซึ่งในช่วงนี้จะให้น้ำวันเว้นวัน และฉีดฮอร์โมนทางใบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 27-0-0 เสริมเดือนละ 1 ครั้ง โดยจะโรยรอบๆ โคนต้นเท่านี้ใบก็งอกงามขึ้นมาพร้อมกับยอดอ่อนทันตาเห็นแล้ว

สำหรับการเก็บชะอมจำหน่าย คุณเพ็ญบอกว่า เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่ต้องใช้กาบของต้นกล้วย ห่อก้านและมัดด้วยเส้นตอก โดยในแต่ละวัน จะเก็บจำหน่ายได้ราว 150-200 กำ ต่อวัน ราคาเฉลี่ยทั้งปีกำละ 10-20 บาท ทำรายได้ 1,500-2,000 บาท ต่อวัน เลยทีเดียว

ผู้สนใจอาชีพการปลูกชะอม หรือสนใจซื้อชะอมสดๆ ยุคนี้ ทุเรียน เป็นไม้ผลขายดี ที่ใครๆ ก็อยากปลูก แต่การปลูกทุเรียนให้ประสบความสำเร็จก็ไม่ใช่เรื่องง่าย หากใครอยากเรียนรู้เทคนิคการปลูกดูแลทุเรียนแบบมืออาชีพ ที่ได้มาตรฐาน GAP เกรดส่งออก ขอแนะนำให้แวะไปเรียนรู้กันที่ “ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตการเกษตร (ศพก.) เขาคิชฌกูฏ” ของ คุณเปี๊ยก หรือ คุณกิติภูมิ พรเจีย ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 90/5 หมู่ที่ 5 ตำบลชากไทย อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

ผู้ที่เข้าเยี่ยมชม “ศพก. เขาคิชฌกูฏ” จะได้เรียนรู้เรื่อง การผลิตผลไม้มาตรฐาน GAP เกรดส่งออก ที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม บนพื้นที่ดำเนินงาน 6 ไร่ ประกอบด้วย ฐานเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิต การจัดการดินและปุ๋ย การอารักขาพืช ฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ เทคโนโลยีการผลิต 4.0 (เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ) และการจัดการสิ่งแวดล้อม (การคัดแยกขยะการเกษตร) เรียกว่า มาสวนคุณลูกหมูแห่งเดียว มีโอกาสเรียนรู้ปลูกดูแลไม้ผลหลากหลายชนิด ทั้ง มังคุด ทุเรียน ลองกอง ฯลฯ คุ้มเสียยิ่งกว่าคุ้ม หากอยากรู้เขามีเคล็ดลับและเทคนิคบริหารจัดการอย่างไร …ไปหาคำตอบด้วยกันได้เลย

สถานีวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินนโนบายเกษตร 4.0 เพื่อเปลี่ยนภาคเกษตรแบบเดิม ไปสู่ด้วยวิถีทางแห่ง นวัตกรรม การเพิ่มมูลค่า และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ร่วมมือกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ได้คัดเลือก “สวนคุณลูกหมู” เป็นหนึ่งในศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ที่ได้รับการติดตั้งสถานีวัดอากาศอัตโนมัติ ซึ่งเป็นอุปกรณ์วัดสภาพอากาศ ประกอบด้วย อุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลม ทิศทางลม ปริมาณน้ำฝน และทิศทางของแสง โดยบันทึกข้อมูลและแสดงผลแบบ real-time ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถติดตามผลการทำงานของสถานีวัดอากาศอัตโนมัติ ผ่านทางเว็บไซต์ http://agritronics.nstda.or.th ข้อมูลดังกล่าวเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านการเกษตรของประเทศในอนาคต

แนวคิดการปลูกทุเรียนต้นคู่ ของ คุณธีรภัทร อุ่นใจ เกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดี คุ้มค่ากับการปลูกทุเรียนเชิงการค้า คุณกิติภูมิ พรเจีย หรือ คุณเปี๊ยก จึงหันมาขยายพื้นที่การเพาะปลูก โดยปลูกทุเรียนต้นคู่ซึ่งมีข้อดีหลายประการ เช่น ช่วยป้องกันการโค่นล้มของทุเรียนเกิดจากแรงลม หรือภัยธรรมชาติน้อยลง เนื่องจากการปลูกทุเรียนต้นคู่ เกิดการยึดประสานระหว่างกันของราก ทำให้ต้นทุเรียนมีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น ลดปัญหาความสูญเสียของผลผลิตทุเรียน ประการต่อมา การปลูกทุเรียนต้นคู่ต่อหลุม เมื่อทุเรียนเจริญเติบโตขึ้นมา จะส่งผลให้ระบบรากสามารถหาอาหารได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตทุเรียนมีปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย

หนีภัยแล้งด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน

ปัจจุบัน สวนคุณลูกหมู ลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม ด้วยการทำธนาคารน้ำใต้ดินกระจายรอบสวน ทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับใช้ดูแลสวนผลไม้ตลอดทั้งปี ซึ่งหลักการทำธนาคารน้ำใต้ดินเริ่มจากจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ประกอบด้วย ยางรถยนต์เก่า หินเบอร์ 2 และหินขนาดใหญ่ ท่อพลาสติก ขนาด 2 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร จำนวน 1 ท่อน และตาข่ายไนล่อน

ขั้นตอนการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ได้แก่

ขุดหลุม ขนาด 2x2x2 เมตร
ใส่ยางรถยนต์เพื่อป้องกันขอบบ่อพังทลาย
ใส่วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ขวดน้ำ (ใส่น้ำ 1 ใน 3 ส่วน) ท่อนไม้ หรือหินขนาดใหญ่ให้เต็มช่องว่างด้านนอกยางรถยนต์
นำท่อ PVC มาวางตรงกลางบ่อ เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ หินขนาดใหญ่เติมใส่ช่องว่างด้านในให้เต็ม
คลุมด้วยตาข่ายไนล่อน แล้วทับด้วยก้อนหิน และตามด้วยหินเบอร์ 2 อีกที เพื่อเป็นตัวกรองให้เศษดินหรือขยะไม่ให้เข้าไปอุดตันในบ่อ

ข้อดีของธนาคารน้ำใต้ดินคือ ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมได้ เพราะช่วยให้น้ำซึมลงใต้ดินได้ดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง เป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ในดิน แก้ปัญหาน้ำเค็ม เพราะมวลน้ำเค็มจะมีน้ำหนักมากกว่าน้ำจืด ฉะนั้น น้ำเค็มจะอยู่ด้านล่าง แก้ปัญหาน้ำสกปรก เพราะระบบน้ำแบบปิดจะช่วยกรองน้ำให้สะอาดขึ้น

“เนื่องจากทุเรียนไทยได้รับความนิยมสูงจากตลาดจีน ขายได้ราคาดี มีเท่าไรก็ไม่พอขาย สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกทุเรียนกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะจังหวัดจันทบุรี มีการตัดโค่นต้นยางถึง 4,000 ไร่ เพื่อนำมาปลูกทุเรียน ซึ่งคาดว่า ภายใน 3-4 ปีข้างหน้า ปริมาณน้ำในแหล่งธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะมีไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการใช้งาน ดังนั้น ปัญหาการขาดแคลนน้ำจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของจังหวัดจันทบุรี เกษตรกรชาวสวนทุเรียนจึงควรลงทุนขุดสระเก็บน้ำหรือธนาคารน้ำใต้ดินของตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในอนาคต” คุณเปี๊ยก กล่าว

“นกหยิบ” ขายดี ทนทานทุกสภาพอากาศ

คุณเปี๊ยก แนะนำให้เกษตรกรมือใหม่ ปลูก “นกหยิบ” เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปลูกทุเรียน เนื่องจาก นกหยิบ เป็นทุเรียนพื้นบ้านที่ทนทานต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และทนทานต่อปัญหาโรคพืชของทุเรียนได้เป็นอย่างดี ด้านการปลูกดูแล ก็ไม่แตกต่างจากการปลูกทุเรียนสายพันธุ์ทั่วไป นกหยิบใช้เวลาปลูกดูแล 5 ปี ก็ให้ผลผลิต โดยมีผลผลิตเฉลี่ยปีละ 50-60 ผล ต่อต้น ที่สำคัญขายได้ราคาดีกว่าทุเรียนหมอนทองเสียอีก

“ปัจจุบัน ตลาดจีนสนใจรับซื้อทุเรียนพันธุ์นกหยิบ เพราะมีรสชาติหวานมัน เนื้อเนียน ถูกใจผู้บริโภค เช่นเดียวกับ ทุเรียนมูซังคิง ซึ่งเป็นทุเรียนพื้นบ้านของมาเลเซีย ปีที่ผ่านมา ทุเรียนหมอนทอง ขายได้กิโลกรัมละ 150-180 บาท แต่ทุเรียนพื้นบ้าน เช่น นกหยิบ และพวงมณี ขายตรงถึงผู้บริโภคผ่านตลาดออนไลน์ ได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 250 บาทแล้ว ทุเรียนพันธุ์นกหยิบปลูกดูแลง่าย ทนทานต่อภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และปัญหาโรคพืชได้ดีกว่าหมอนทอง ซึ่งเป็นทุเรียนสายพันธุ์ลูกผสมเสียอีก นอกจากนี้ หลังเจอภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน ทุเรียนพันธุ์นกหยิบก็ไม่สลัดผลทิ้งเหมือนทุเรียนพันธุ์อื่นๆ อีกด้วย ถือได้ว่า นกหยิบ เป็นทุเรียนพื้นบ้านที่ทนทานต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงอากาศได้ดีที่สุด” คุณเปี๊ยก กล่าว

ตลาดทุเรียน

คุณเปี๊ยก กล่าวว่า ปีนี้ ไทยมีผลผลิตทุเรียนเข้าสู่ตลาดน้อยลง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนสภาพอากาศ ฝนมาเร็วกว่าปกติ และเจอสภาพอากาศร้อนชื้น กระตุ้นให้ต้นทุเรียนที่ติดผลแล้ว แตกใบอ่อนอีกรอบ พร้อมสลัดผลอ่อนทิ้ง 10-30% แม้ใช้สารเคมีเข้าช่วยแต่ไม่ได้ผล เพราะปริมาณความชื้นในอากาศสูงมาก มังคุดก็ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศด้วยเช่นกัน ทำให้ผลผลิตเสียหายมากถึง 60% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

“ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ทำให้มีปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อยลง สวนทางกับยอดสั่งซื้อทุเรียนจากจีน ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ล้ง 600 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี เกิดการแข่งขันด้านราคารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในราคาที่สูงขึ้น แม้กระทั่งทุเรียนผลดำ ผลทุเรียนที่หนอนเจาะ ซึ่งเป็นทุเรียนตกเกรด เดิมเกษตรกรมักขายทิ้งในราคาถูก 10-20 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ปีนี้ล้งจีนประกาศรับซื้อทุเรียนตกเกรดเหล่านี้ ในราคาประกันขั้นต่ำ กิโลกรัมละ 60 บาท ดังนั้น ปีนี้คงเหลือทุเรียนขายในประเทศไม่มาก และราคาขายแพงขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา” คุณเปี๊ยก กล่าวในที่สุด

ทริปพิเศษ ตะลุยสวนผลไม้ให้อิ่มพุงกาง 1 ปี มีครั้งเดียว “เทคโนโลยีชาวบ้าน” อาสาพาทัวร์ตะลุยสวน “ชวนชิม & ช็อปผลไม้ จันทบุรี” วันเสาร์ที่ 15 พฤษภาคม 2564

ผู้สนใจ สมัครจองที่นั่งก่อน แล้วโอนเงิน1,800 บาทเข้าธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนประชาชื่น เลขที่บัญชี 193-079484-5 บัญชีออมทรัพย์ ชื่อบัญชี บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) Fax (02) 580-2300 เลขที่ผู้เสียภาษี 0107536001451 หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. (02) 580-0021 ต่อ 2335, 2339, 2342, 2343 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณธานินทร์ ใจห้าว อยู่บ้านเลขที่ 28 หมู่ที่ 14 ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเกษตรกรที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนมาปลูกไม้ผล ซึ่งสะละเป็นอีกหนึ่งพืชที่ให้ผลผลิตทำรายได้ให้กับเขาได้ดีทีเดียว โดยบำรุงรักษาต้นให้มีความสมบูรณ์ ส่งผลให้สะละที่ปลูกมีผลผลิตจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี พร้อมทั้งทำสินค้าให้มีคุณภาพจำหน่ายได้ราคาอีกด้วย

คุณธานินทร์ เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีนั้นเป็นพนักงานบริษัทอยู่ในกรุงเทพมหานคร แต่ด้วยมีเหตุทำให้ต้องกลับมาอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ยึดการทำสวนเป็นอาชีพให้กับตนเองในขณะนั้น เพราะวิชาความรู้ทางด้านการเกษตรเห็นมาตั้งแต่ครั้งที่ยังเด็ก เพราะครอบครัวมีอาชีพทางการเกษตรอยู่แล้ว จึงทำให้ความรู้ทางการปลูกพืชอยู่ในสายเลือดก็ว่าได้ เมื่อมีโอกาสจึงได้มาสานงานต่อและยึดเป็นอาชีพหลักต่อไป

“ช่วงที่มาอยู่ที่นี่ใหม่ๆ เราก็ทำสวนทั่วไป ตอนมาเลยคิดว่าไม่น่าจะทำพืชเชิงเดี่ยวมากเกินไป ประมาณปี 2539 จึงได้ปรับเปลี่ยนพื้นที่มาทำสวนสะละ โดยหาซื้อพันธุ์จากแหล่งที่มีคุณภาพ พันธุ์หลักๆ ก็จะมีสะละพันธุ์เนินวง พันธุ์สุมาลี ซึ่งพันธุ์เนินวงก็จะเป็นผลผลิตหลักที่ขาย จากวันนั้นมาถึงปัจจุบันขยายการปลูกสะละมาเรื่อยๆ ตอนนี้มีอยู่ประมาณ 12 ไร่ ลองผิดลองถูกมาจนประสบผลสำเร็จ ตอนนี้สะละในสวนทั้งหมดสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี จึงทำให้มีรายได้จากการขายสะละทุกเดือน” คุณธานินทร์ บอก

ในเรื่องของขั้นตอนการปลูกสะละให้ได้คุณภาพนั้น คุณธานินทร์ เล่าว่า จะเตรียมพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมโดยสมัยก่อนที่เริ่มใหม่ๆ จะเน้นปลูกรวมเข้าไปกับไม้ชนิดอื่นๆ ต่อมาเมื่อมีการขยับขยายพื้นที่ปลูกมากขึ้น จึงสร้างสวนให้มีความพร้อมและเหมาะสม โดยแสงแดดที่สะละได้รับต้องไม่มากจนเกินไป อย่างน้อย 60-70 เปอร์เซ็นต์ ต่อวัน จะช่วยให้สะละต้นและใบไม่ไหม้แดดและผลผลิตมีคุณภาพจำหน่าย

“ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูก จะใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุประมาณ 1 ปี ความสูงอยู่ที่ 1 เมตร มาปลูกให้มีระยะห่างระหว่างต้นอยู่ที่ 6×6 เมตร แต่ถ้านำมาปลูกแซมกับไม้อื่นๆ มีที่ว่างตรงไหนก็สามารถปลูกได้ โดยไม่ต้องกำหนดระยะห่างมากนัก การให้นำเป็นระบบสปริงเกลอร์ ในช่วงแรกที่ปลูกลงใหม่ๆ ต้องระวังด้วง เพราะจะกินยอดให้เกิดความเสียหาย เมื่อปลูกไปเรื่อยๆ จะดูแลด้วยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักทุก 2 เดือนครั้ง สลับกับใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 15-15-15 ทุก 1 เดือนครั้ง” คุณธานินทร์ บอก

เมื่อต้นสะละภายในสวนปลูกได้อายุ 1 ปีครึ่ง จะเริ่มออกดอกมาให้เห็นบนต้น จากนั้นจะช่วยผสมเกสรให้กับดอกตัวเมียที่บานออกมาภายใน 3 วัน ซึ่งเกสรตัวผู้จะได้จากต้นสะละตัวผู้ที่ปลูกควบคู่ไว้กับต้นตัวเมีย ในอัตราส่วนต้นตัวผู้ 1 ต้น ต่อต้นตัวเมีย 10 ต้น ซึ่งการช่วยผสมเกสรจะทำให้การติดผลสมบูรณ์มากขึ้น โดยสวนของเขาจะช่วยผสมเกสรวันเว้นวัน

หลังจากผสมเกสรติดแล้วนับไปอีกประมาณ 1 เดือน ดอกที่ผสมเกสรติดสมบูรณ์จะเริ่มติดผลออกมาให้เห็น ดูแลผลต่อไปอีก 8-9 เดือน สะละจะมีผลแก่ที่พอดีสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้ ซึ่งภายใน 1 ต้น จะมีผลที่แก่ไม่พร้อมกัน ทำให้เก็บช่อที่พร้อมก่อนไปจำหน่าย และดูแลผลที่อยู่บนต้นอีกไปอีกเรื่อยๆ สลับแบบนี้ตลอดทั้งปี

“ช่วงติดผลก็บำรุงต้นใส่ปุ๋ยให้น้ำเหมือนเดิม ส่วนช่วงออกดอก และมีผลถ้าเห็นมีแมลงศัตรูพืชและโรคพืชเข้ามาก่อกวน ก็จะใช้สารชีวภัณฑ์ต่างๆ เข้ามาฉีดพ่นเพื่อป้องกัน ซึ่งสารชีวภัณฑ์เหล่านี้จะให้มีประสิทธิภาพ ต้องฉีดพ่นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ตั้งแต่มาใช้สารชีวภัณฑ์เหล่านี้ ก็ช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง สุขภาพเราก็ดีตามไปด้วย เพราะการปลูกไม่ได้ใช้สารเคมี โดยการจัดการก็จะหมุนเวียนอยู่แบบนี้ตลอดทั้งปี” คุณธานินทร์ บอก

เมื่อมีการจัดการที่ดีและบำรุงรักษาต้นสะละภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ คุณธานินทร์ บอกว่า จะทำให้ผลสะละมีเก็บจำหน่ายได้ทุกเดือน ถึงจะเก็บผลไปจากต้นแล้ว แต่ก็ยังมีผลที่ติดใหม่ให้ดูแลต่อ ดังนั้น ในเรื่องของการบำรุงต้นให้สมบูรณ์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

ซึ่งผลผลิตที่ส่งจำหน่ายออกจากสวนจะเน้นแบบมีคุณภาพ สร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสวน ทำให้ลูกค้านอกจากติดใจในรสชาติแล้ว ยังเชื่อมั่นในผลผลิตของสวนอีกด้วย โดยทำตลาดทั้งจำหน่ายส่งทางไปรษณีย์และลูกค้ามาซื้อถึงหน้าสวนกันเลยทีเดียว

“พื้นที่ปลูกของผมมีอยู่ประมาณ 12 ไร่ ผลผลิตต่อเดือนที่ขายได้ ก็ตกอยู่ที่ 1,000 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 80 บาท ซึ่งตลาดจะเน้นสร้างจุดขายเป็นของตนเอง ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ทุกพวงทุกผลจะเน้นคุณภาพ ผลแก่พอดีพร้อมเก็บเกี่ยว เมื่อถึงมือลูกค้าแล้วทำให้มีรสชาติที่ดี เมื่อลูกค้าติดใจในรสชาติ ก็จะทำให้ทุกครั้งที่อยากทานสะละ ต้องนึกถึงสะละจากสวนเรา จึงทำให้กลับมาซื้อซ้ำและเป็นลูกค้ากันอยู่ประจำจนถึงทุกวันนี้ พร้อมทั้งมีการบริการส่งทางไปรษณีย์ ทำให้ลูกค้าที่อยู่ไกลยังจังหวัดอื่น สามารถทานสะละจากสวนที่ส่งตรงไปถึงบ้านได้อย่างง่ายๆ” คุณธานินทร์ บอก

สำหรับการทำสวนสะละให้ประสบผลสำเร็จและเป็นอาชีพที่ยั่งยืนได้นั้น คุณธานินทร์ แนะนำว่า ผู้ที่จะเริ่มต้นปลูกต้องมีความพร้อมในเรื่องของความอดทน เพราะสะละต้องมีการใส่ใจดูแลในบางขั้นตอน เช่น การผสมเกสร การดูแลต้นให้มีความสมบูรณ์ เมื่อใจพร้อมมีความชอบงานด้านนี้จริงๆ ผลผลิตที่ได้ก็จะออกมามีคุณภาพจำหน่ายได้ราคา เกิดเป็นรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างแน่นอน

มะเขือเปราะ เป็นพืชทนแล้ง อายุสั้น ปลูก 3 เดือน ให้ผลผลิต เก็บได้นาน 1 ปี ปลูกได้ทุกสภาพอากาศ ถือว่าเป็นพืชอายุสั้น และให้ผลผลิตดี

มะเขือขาวหยก เป็นพันธุ์ที่ได้มาจากจังหวัดสระบุรี ข้อดีของพันธุ์นี้คือ จุกใหญ่ เหี่ยวช้า หากวันไหนเหลือขายไม่หมด สามารถเก็บไว้ได้ยังไม่เหี่ยว รสชาติหวาน ลูกใหญ่ เป็นที่ต้องการของตลาด ปลูก 10 ไร่ ผลผลิตดก เก็บขายวันละ 300 กิโลกรัม ต่อวัน

การเตรียมดิน ไถตากดินไว้ 1 เดือน ไพ่เสือมังกรออนไลน์ เมื่อไถเสร็จให้ขึ้นร่องใหญ่กว่าร่องอ้อย ความกว้าง ประมาณ 150 เซนติเมตร ยกร่องสูงทำเป็นร่องน้ำ โดยสวนทั่วไปจะใช้ระบบน้ำหยด แต่ถ้าสายตันขึ้นมาจะลำบาก มะเขือจะไม่ชุ่ม พอไม่ชุ่มจะเกิดไรแดง เพลี้ยหนอน แต่ถ้าเราขุดร่องน้ำไว้ ถึงเวลาฝนตกหรือปล่อยน้ำเข้า ก็วิดน้ำรดได้เลย มะเขือจะชุ่ม ความชื้นจะเยอะเขาจะชอบ

การปลูก จะเพาะต้นกล้าเองหรือใช้วิธีซื้อต้นกล้าที่เขาเพาะไว้แล้วมาปลูก 1 ถาด มี 120 ต้น ราคาถาดละ 100 บาท นำกล้าลงหลุม ความห่างระหว่างหลุม 70 เซนติเมตร ความกว้าง 150 เซนติเมตร เพื่อจะได้เดินในร่องทางซ้ายและขวาได้สะดวก

การดูแล ใส่ปุ๋ยเคมี สูตรเสมอ 16-16-16 พอลูกออกให้หยุดใส่ แล้วเปลี่ยนมาใช้ชีวภาพแทน หมั่นถางหญ้าให้เตียน

“เรื่องแมลงมีบ้าง ดูแลโดยการใช้น้ำส้มควันไม้ฉีดไล่ แต่ถ้าใช้ชีวภาพต้องฉีดบ่อย วิธีแก้ที่ง่ายที่สุดคือ ให้ขยันเก็บ หนอนจะชอบกินลูกใกล้เก็บ ถ้าเราเก็บเร็วโอกาสที่หนอนจะฟักไข่เป็นตัวได้มีน้อยมาก แต่ถ้ารอให้ลูกใหญ่มากหนอนจะเจาะทัน สมมุติแทนที่จะเก็บวันนี้ แต่ไม่เก็บ รออีก 2 วัน วันที่ 2 นี่แหละหนอนก็กินแล้ว ให้เก็บหนี แล้วลูกใหม่ก็โต เพราะเราเก็บทุกวัน”

เริ่มการตลาดด้วยการส่งที่ตลาดแถวบ้านก่อนก็ได้ เพราะมะเขือถือว่าเป็นพืชผักที่ชาวบ้านคุ้นเคย และนำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท ราคาขาย 10 กิโลกรัม 150 บาท เราก็ได้ 150 บาท ถ้าพรุ่งนี้เหลือ 120 บาท เราก็ได้ 120 บาท ไม่มีราคาตายตัว

สำหรับเกษตรกรที่อยากปลูกเป็นรายได้เสริม

ไม่ยาก ขอให้คำนึงเพียง

แหล่งน้ำต้องดี
ปลูกแล้วต้องมีตลาดรองรับ เรื่องเงินลงทุนไม่มาก มีค่าไถ 700 บาท ค่ากล้า 1 ไร่ ใช้ 9 ถาด ถาดละ 100 บาท เป็นเงิน 900 บาท รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าคนงาน ตกไร่ละ 2,500 บาท ไม่ต้องทำเยอะ สมมุติมีน้ำพอแค่ทำ 2 ไร่ ก็ทำแค่ 2 ไร่ อาจจะเอาพืชอย่างอื่นผสมไป อย่าง ข้าวโพด อายุสั้น 60 วัน เก็บได้ มะเขือเราร่องห่างก็เอาข้าวโพดไปปลูก พอข้าวโพดโตเก็บผลผลิต เราก็เอาต้นออก มะเขือก็โตพอดี ถือเป็นการสร้างรายได้ 2 ทางด้วย เกษตรกรยุคนี้ต้องปลูกพืชแซมถึงจะอยู่ได้