เมื่อถึงช่วงเก็บผลผลิตจะจ้างแรงงานมาเฉพาะเก็บเท่านั้น

โดยให้ค่าตอบแทนกิโลกรัมละ 10 บาท จะต้องใช้บันไดปีนเก็บทีละฝักอย่างระมัดระวัง ผู้รับซื้อจะนำไปแพ็กใส่ถุงขายตามร้านในจังหวัดและจังหวัดอื่น หรือบางรายส่งมะขามหวานไปขายประเทศเพื่อนบ้าน อย่างลาว เขมร ขนาดผลประกายทองที่สมบูรณ์ประมาณ 15-16 ฝักต่อกิโลกรัม ส่วนสีชมพูประมาณ 20 ฝักต่อกิโลกรัม

คุณติ๋ว ชี้ว่า แม้ประกายทองมีข้อดีเรื่องเนื้อผลมาก แต่เสี่ยงต่อการเกิดเชื้อราได้ง่ายหากได้รับความชื้นสูง ทำให้ยากต่อการป้องกันเชื้อรา ดังนั้น มะขามพันธุ์นี้จึงเหมาะปลูกในพื้นที่อย่างจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเคยมีการนำไปปลูกทางภาคเหนือพบว่าไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพบมีเชื้อราเกิดในผล เพราะทางภาคเหนือเป็นพื้นที่มีความชื้นสูง

ส่วนกระบวนการแปรรูปพันธุ์สีชมพู เริ่มจาก 1. นำมาตากแดดทั้งเปลือกให้แห้งอีกรอบเพื่อไล่ความชื้นให้หมด 2. ปอกเปลือกแล้วดึงซังออก 3. ผ่าแล้วนำเมล็ดออก 4. นำไปอบ 5. บรรจุใส่แพ็ก สำหรับสินค้ามะขามหวานที่แปรรูป ได้แก่ 1. แบบดั้งเดิมที่มีรสเปรี้ยวหวานเล็กน้อย 2. แบบคลุก 3 รส (เผ็ด เค็ม หวาน) และ 3. คลุกบ๊วย

ผลมะขามที่จำหน่ายมีหลายแบบโดยกำหนดตามข้อผลตั้งแต่ 1-3 ข้อ ไปจนถึงแบบเกรด A คุณติ๋ว เล่าว่า ผลมะขามแบบข้อเดี่ยวเมื่อก่อนมีเยอะมากเก็บไปขายให้ใครก็ไม่สนใจ จึงลองมาคัดความสมบูรณ์แล้วบรรจุใส่แพ็กเกจสวย สะอาด นำไปขายทางออนไลน์ราคากระปุกละ 50 บาท ขนาด 200 กรัม (เนื้อล้วน) ปรากฏว่าได้รับความนิยมอย่างดีที่จังหวัดขอนแก่น สั่งซื้อกันเป็นร้อยกระปุก

เรื่องการตลาดคุณติ๋วมองว่า ถ้าต้องการให้สินค้าขายดีควรได้รับการการันตีคุณภาพจากหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น จึงได้นำมะขามหวานในสวนส่งประกวดเพื่อชิงรางวัลมาตั้งแต่ปี 2560 ก็ไม่ประสบผล แต่ไม่ลดละหรือท้อแท้ กลับไปพัฒนาปรับปรุงคุณภาพ จนเมื่อปี 2563 ได้ส่งพันธุ์สีชมพูเข้าประกวดได้รางวัลที่ 3 ระดับจังหวัด และปี 2564 ส่งอีก คราวนี้ส่งทั้งประกายทองและสีชมพูเข้าประกวดได้รางวัลชนะเลิศทั้งคู่ พร้อมกันนี้ พันธุ์สีชมพูยังได้รางวัลยอดเยี่ยมถ้วยพระราชทานอีก 1 รางวัล จึงทำให้ในปี 2564 สวนมะขามคุณติ๋วกวาดรางวัลประกวดมะขามไปถึง 3 รางวัลเลยเชียว

สวนมะขามหวานคุณติ๋ว จำหน่ายมะขามแบบฝักและแปรรูปมาอย่างยาวนาน จนได้รับความนิยมจากลูกค้าจำนวนมากทั้งแบบขายตรงและออนไลน์ สวนแห่งนี้ยังกระจายรายได้สู่ชุมชนด้วยการชักชวนผู้สูงอายุมาช่วยงานบางประเภทที่ทำไม่ยาก อาทิ การแกะเปลือกมะขาม ช่วยให้บรรดาผู้สูงอายุมีกิจกรรมทำกันทุกวัน มาพูดคุยกันอย่างสนุกสนานทำให้ไม่เหงา ช่วยให้พวกเขามีความสุขแทนการอยู่เฉยๆ ทั้งยังสร้างรายได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรบกวนลูกหลาน

“อยากเชิญชวนผู้อ่านมาเที่ยวจังหวัดเพชรบูรณ์ที่มีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง หลายสไตล์ตามรสนิยม แต่ที่สำคัญอย่าลืมแวะอุดหนุนมะขามที่สวนคุณติ๋วด้วยแล้วกัน โทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่หมายเลข 084-665-0368” คุณติ๋ว กล่าวทิ้งท้าย

บอนสี มีชื่อสามัญว่า Caladium และชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Caladium bicolor Vent. จัดอยู่ในวงศ์ Araceae นอกจากเรียกว่าบอนสีแล้ว ยังมีชื่ออื่นๆ ที่เรียกขานกันว่า บอนฝรั่ง ไม้ชนิดนี้มีหัวหรือเหง้าเป็นลำต้นอยู่ใต้ดิน ส่วนที่อยู่เหนือดินขึ้นมานั้นเป็นกิ่งก้านของใบ ซึ่งใบของบอนสีมีทรงที่สวยแตกต่างกันไปแต่ละชนิด บางสายพันธุ์มีใบที่ใหญ่หรือบางสายพันธุ์มีปลายใบที่แหลม ตลอดไปจนถึงโคนใบเว้าคล้ายกับรูปหัวใจ พร้อมกันนี้ใบยังมีสีสันและลวดลายที่แตกต่างกันออกไปแต่ละชนิด ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะนี้เองจึงทำให้บอนสีเมื่อนำมาพัฒนาสายพันธุ์ให้เกิดลูกไม้ใหม่ๆ จึงทำให้มีลูกเล่นไม่รู้จบแบบไม่สิ้นสุดเลยก็ว่าได้

จากการพัฒนาสายพันธุ์อยู่เสมอนี้เอง จึงทำให้บอนสีมีการปลูกและสะสมสายพันธุ์กันมาเป็นระยะนาน จากรุ่นสู่รุ่น หรือบางครั้งคนรุ่นใหม่ที่สนใจบอนสี เมื่อได้ศึกษาตามตำราต่างๆ และเกิดความสนใจจนได้ไปพบว่าบอนสีชนิดนั้นมีประวัติความเป็นมาไม่ได้อยู่เพียงแต่ในตำราเท่านั้น แต่ยังมีการขยายพันธุ์และปลูกมาจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักสะสมรายใหม่ได้ค้นหาและเก็บสะสมมาเรื่อยๆ จนสามารถพัฒนาต่อยอดเกิดรายได้เป็นอาชีพให้กับตัวเองได้

คุณอนาวิล อมิตาถาวรกิจ เจ้าของสวนหมื่นเฮงแกลลอรี่ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านกาด/ตรงข้ามร้านกาแฟครามเฟอีน ตำบลแม่หอพระ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ชื่นชอบการปลูกและสะสมบอนสีด้วยเช่นกัน โดยเขาเริ่มจากการซื้อมาขายไปเพื่อทำรายได้ก่อนในช่วงแรก ต่อมาเมื่อเกิดความรักความชอบอย่างจริงจัง จึงทำให้เขาได้พัฒนาต่อยอดบอนสีมาเรื่อยๆ และเป็นอาชีพสร้างรายได้มาจนถึงทุกวันนี้

ชอบและหลงใหลบอนสี ตั้งแต่เรียนจบมัธยมปลาย

คุณอนาวิล เล่าว่า จุดเริ่มต้นที่ได้มารู้จักกับบอนสีเป็นช่วงที่เรียนจบมัธยมปลาย ได้มีโอกาสตามเพื่อนไปจำหน่ายบอนสีที่ตลาดนัด โดยไม่ได้มองว่าจะเป็นอาชีพทำเงินให้กับเขาได้จนถึงปัจจุบัน ช่วงแรกเน้นแบบซื้อมาขายไปเท่านั้น เพื่อหารายได้พิเศษให้กับตัวเขาเอง แต่เมื่ออยู่กับสิ่งนี้นานวันเริ่มรู้สึกว่าบอนสีเป็นไม้ที่น่าหลงใหล สามารถต่อยอดพัฒนาให้เกิดเป็นลูกไม้ใหม่ได้ไม่สิ้นสุด จึงทำให้เขาได้ไปหาซื้อบอนสีจากผู้เล่นรุ่นเก่าๆ มาสะสมเก็บไว้ จนเมื่อไม้มีจำนวนที่เยอะขึ้นจึงได้ทำการพัฒนาให้เกิดลูกไม้ใหม่อย่างต่อเนื่องให้ลูกค้าอยู่เป็นประจำ

“บอนสีสำหรับผม การพัฒนาสายพันธุ์นี่มันไม่สิ้นสุดจริงๆ นะครับ ยิ่งเราพัฒนาให้ได้ลูกไม้ใหม่ๆ ออกมา ทำให้ลูกค้ามีไม้ใหม่ได้เห็นได้ซื้ออยู่เป็นประจำ ช่วงที่ผมทำแรกๆ ราคาขายยังสูงขนาดนี้นะครับ พอประมาณปี 2563 อยู่ๆ การซื้อขายก็ดีขึ้น ผมก็เลยนำบอนสีที่สะสมไว้อยู่แล้วมาพัฒนาเพิ่มให้มากกว่าของเดิมที่มีอยู่ พร้อมทั้งหาพ่อแม่พันธุ์สวยๆ จากสวนอื่นเข้าพัฒนาต่อยอดกับไม้ในสวนเราด้วย พอมีลูกไม้ใหม่ๆ แล้ว ก็ทำจำนวนให้มากและขาย”

ซึ่งราคาบอนสีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มีราคาดีและเป็นที่สนใจเพิ่มขึ้น คุณอนาวิล ให้เหตุผลว่า เกิดจากการวนรอบความนิยมกลับมาอีกครั้ง จึงทำให้เกิดกระแสและเป็นที่สนใจทำให้ราคากลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง ที่จริงบอนสีเป็นไม้ประดับที่นิยมปลูกอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้วสำหรับผู้ชื่นชอบและต้องการสะสม คัดบอนสีตั้งแต่ต้นเล็ก เพื่อกำหนดเป็นพ่อแม่พันธุ์

การคัดเลือกสายพันธุ์บอนสีเพื่อนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์นั้น คุณอนาวิล บอกว่า จะทำการคัดต้นบอนสีที่มีลักษณะเด่นๆ ตั้งแต่ต้นเล็กๆ ที่แยกมาจากชิ้นผ่าหัวแล้ว ดูแลจนได้อายุ 7-8 เดือน ไม้ก็จะออกดอกมาให้เห็น จากนั้นทำการผสมเกสรให้เรียบร้อย ดูแลหลังจากนี้ประมาณ 45 วัน ดอกที่ผ่านการผสมสมบูรณ์จะมีฝักเมล็ดออกมาให้เห็น นำเมล็ดที่ได้มาเพาะให้งอกอีกประมาณ 2 อาทิตย์ จากนั้นดูแลต่อไปอีก 1 เดือน เมื่อต้นบอนสีเริ่มโตพอสมควรก็จะแยกมาปลูกลงในกระถางขนาด 4 นิ้ว

วัสดุปลูกที่ใช้มีส่วนประกอบของขุยมะพร้าว ดินร่วน ใบก้ามปูป่น และแกลบหมัก สิ่งเหล่านี้จะทำให้ดินโพรงรากของบอนสีเดินไปได้ง่าย ซึ่งในช่วงนี้จะนำบอนสีที่ผ่านการปลูกลงในกระถาง 4 นิ้ว ใส่ในตู้อบดูแลต่อไปอีกประมาณ 1-2 เดือน บอนสีก็จะได้ขนาดไซซ์ที่สามารถจำหน่ายให้กับลูกค้าได้ เป็นไม้ที่มีทรงสวยทรงใบดีเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นไม้ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดหรือไม้ที่ผ่านการผ่าหัว

“ถ้าเราไม่ขายช่วงปลูกในกระถาง 4 นิ้ว จากนั้นเราก็จะย้ายไปปลูกลงในกระถาง 6 นิ้ว เพื่อให้มีขนาดที่ใหญ่ สามารถสร้างเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ ซึ่งลูกค้าที่มาซื้อบอนสีในสวนผมมีหลายกลุ่ม ถ้าเป็นพ่อค้าแม่ค้ามารับไปเพื่อขายต่อก็จะชอบไม้ไซซ์เล็ก แต่ถ้าเป็นนักสะสมก็จะชอบไม้ตั้งแต่กระถาง 6-10 นิ้ว เพราะไม้ที่มีขนาดใหญ่จะมีความแข็งแรงกว่าไม้ขนาดเล็ก เพราะฉะนั้นเราก็จะผลิตไม้ให้หลากหลาย เพื่อรองรับความชอบของลูกค้าที่แตกต่างกันไป”

ในเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ คุณอนาวิล บอกว่า เนื่องจากในพื้นที่ที่เขาอยู่เป็นภาคเหนือ จะมีปัญหาเกี่ยวกับสภาพอากาศหนาว จึงทำให้บางช่วงภายในตู้อบต้องเอาน้ำออก จะไม่แช่น้ำเข้าไปในตู้ เพราะถ้าเกิดมีน้ำภายในตู้และน้ำได้สัมผัสอากาศเย็นๆ จะทำให้รากของบอนสีเน่าเสียได้ ส่วนแมลงศัตรูพืชไม่ค่อยมีปัญหามากนัก แต่ถ้าเป็นช่วงปลายฝนต้นหนาวจะป้องกันในเรื่องของเพลี้ยเป็นส่วนใหญ่ โดยการฉีดพ่นน้ำส้มควันไม้หรือเคมีภัณฑ์บ้างในบางครั้งคราว แต่ส่วนใหญ่จะใช้สารชีวภัณฑ์เป็นหลัก

บอนสีเป็นไม้ที่ติดตลาด ขายได้ทั้งออนไลน์และออนไซต์

การทำตลาดเพื่อจำหน่ายบอนสีภายในสวน คุณอนาวิล เล่าว่า ยุคปัจจุบันถือว่าการจำหน่ายและระบบขนส่งมีความทันสมัยมากขึ้น ทำให้การค้าขายมีความง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อนมาก โดยเฉพาะลูกค้าที่อยู่ไกลยังต่างจังหวัด ทางสวนสามารถส่งรูปภาพของบอนสีในสวนไปยังลูกค้าได้โดยตรง ทำให้เกิดการสนทนาและแนะนำสินค้าตามที่ลูกค้าต้องการได้ ซึ่งเขาเองมองว่าการจำหน่ายบอนสีในยุคนี้ค่อนข้างตอบโจทย์ในเรื่องของการจำหน่ายสินค้าได้กว้างขึ้น ทั้งการขายแบบออนไลน์และออนไซต์

โดยทางสวนแห่งนี้การผลิตบอนสีจะมีการผลิตที่หลากหลาย แต่ที่ลูกค้ารู้จักดีจะเป็นในเรื่องของบอนสีที่ทำเป็นกอ เพราะในแต่ละปีจะมีการคัดบอนสีภายในสวนส่งประกวดในทุกงาน จึงช่วยส่งเสริมให้ลูกค้าได้รู้จักว่าบอนสีแถบภาคเหนือมีเอกลักษณ์ในเรื่องของการทำบอนกอ ส่วนในเรื่องของการจำหน่าย ราคาเริ่มต้นกระถาง 4 นิ้ว จำหน่ายอยู่ที่ 50 บาท ส่วนกระถาง 6 นิ้ว ถ้าเป็นสายพันธุ์ที่ดีและมีทรงต้นที่สวย ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 500 บาท และนอกจากนี้ สำหรับบอนสีที่ผ่านการพัฒนามีเพียงต้นเดียว ลูกค้าซื้อเพื่อไปพัฒนาสายพันธุ์ต่อได้ ราคาอยู่ที่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นบาท

“คนที่เริ่มเล่นหรือสนใจบอนสีใหม่ๆ ก็อยากจะแนะนำว่า ให้เก็บไว้ตัวที่เราคิดว่าเราชอบจริงๆ จากนั้นก็เรียนรู้และพัฒนาการผสมเป็นเอง มันก็จะช่วยให้ภายในสวนมีลูกไม้ใหม่เสมอ หากเราไม่พัฒนาสายพันธุ์เลย ก็จะทำให้เรามีแต่ลูกไม้แบบเก่าๆ แต่ถ้าเรามีการพัฒนาอยู่เสมอ เชื่อว่าการทำตลาดก็จะง่ายขึ้นไปเรื่อยๆ ตามลำดับ บางช่วงพอได้จังหวะผลิตลูกไม้ใหม่สวยออกมา ทำราคาในช่วงนั้นได้ เพราะฉะนั้นบอนสีการทำเป็นอาชีพที่ยั่งยืนคือเราต้องไม่หยุดพัฒนา”

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการปลูกและพัฒนาพันธุ์บอนสี หรือต้องการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณอนาวิล อมิตาถาวรกิจ หมายเลขโทรศัพท์ 081-117-4177, 080-658-2855

ทุกวันนี้ ผู้คนจำนวนมากหลงเชื่อโฆษณา ซื้อวิตามินและอาหารเสริมบำรุงร่างกายกันอย่างเต็มที่เพื่อหลีกหนีโรคภัยนานาชนิด ความจริงแล้ว การกินอาหารไม่ถูกส่วน กินวิตามินมากเกินไป อาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ เช่น กินอาหารเสริมประเภทสารเบต้า-แคโรทีน มากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ง่าย

หากใครต้องการดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ ขอแนะนำให้กิน “แมคคาเดเมีย” ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ราชาแห่งถั่ว” เป็นประจำ แมคคาเดเมีย มีรสชาติอร่อยสุดๆ แล้ว ยังเป็นถั่วที่อุดมไปด้วยวิตามินมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หากกินเป็นประจำจะช่วยถนอมหัวใจเพราะแมคคาเดเมีย มีไขมันไม่อิ่มตัว ช่วยลดคอเลสเตอรอล LDL ซึ่งเป็นไขมันตัวร้ายในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงจากอาการเส้นเลือดอุดตัน สาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด

มีผลงานวิจัยยืนยันว่า การบริโภคแมคคาเดเมีย ร่างกายจะได้รับกรดไขมันไม่อิ่นตัวสูงถึง 40% ช่วยลด น้ำหนักได้เหมือนอาหารไขมันต่ำ ลดไขมันโคเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ได้มากกว่า 5% ด้าน “น้ำมัน แมคคาเดเมีย” ก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง เพราะช่วยเร่งการเผาผลาญพลังงานในร่างกายเพิ่มขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนักได้ดี และลดคอเลสเตอรอล

ตลาดเติบโตทุกปี
“แมคคาเดเมีย” เป็นพืชที่มีพื้นเพดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถูกนำเข้ามาปลูกในรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อค้นคว้าและพัฒนา จนกลายเป็นสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรส่งออกที่มีความสำคัญของโลกและถือเป็นถั่วที่มีราคาแพงที่สุดในโลกไปแล้ว

“แมคคาเดเมีย” เป็นถั่วที่มีรสชาติอร่อยสุดยอด เป็นสินค้าขายดี เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วโลก และแมคคาเดเมีย ยังเป็นพืชชนิดเดียวที่ไม่ถูกกีดกันทางการค้าจากองค์การค้าโลก (WTO) เกษตรกรจึงไม่ต้องห่วงเรื่องผลผลิตล้นตลาด แมคคาเดเมียมีราคาซื้อขายในระดับมาตรฐานสากล ไม่เหมือนพืชเศรษฐกิจตัวอื่นที่มีราคาขึ้น-ลงไม่แน่นอน

ตลาดแมคคาเดเมียเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มผู้รักสุขภาพ ปัจจุบัน แมคคาเดเมียกำลังเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหมที่ได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ทุกวันนี้เกษตรกรไทยเริ่มหันมาสนใจปลูกแมคคาเดเมียกันอย่างกว้างขวางทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น เลย เชียงใหม่ เชียงราย เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ ฯลฯ

เรียนรู้เรื่องแมคคาเดเมีย อย่างครบวงจร
“วิสาหกิจชุมชนมะคาเดเมียนัต บ้านบ่อเหมืองน้อย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย” เป็นหมู่บ้านเพื่อความมั่นคง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานภูสันทราย หลังศึกร่มเกล้า เมื่อทหารรับชาวบ้านเข้าไปอยู่เป็นหมู่บ้านเพื่อความมั่นคง ทางทหารได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกต้นแมคคาเดเมีย เพื่อสร้างรายได้ ครอบครัวละ 50 ต้น ตั้งแต่ปี 2533 แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยมปลูกเพราะต้นแมคคาเดเมีย ใช้ระยะเวลาปลูกนานกว่าจะให้ผลผลิต หากดูแลอย่างดีต้องใช้เวลาประมาณ 6-7 ปี แต่หากปลูกแบบชาวบ้าน ไม่ค่อยดูแล ต้องใช้เวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปจึงจะได้ผล

วิสาหกิจชุมชนมะคาเดเมียนัต บ้านบ่อเหมืองน้อย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ภายใต้การนำของ คุณ นรรถพร สุโพธิ์ ประธาน ได้นำสมาชิกจำนวน 75 ครอบครัว ที่ปลูกแมคคาเดเมีย เก็บเกี่ยวผลผลิตนำวางขายในท้องตลาด ตั้งแต่ปี 2545-2546 ต่อมาหน่วยงานภาครัฐ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) ได้ส่งเจ้าหน้าที่ด้านวิชาการเข้ามาช่วยเหลือด้านการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และกระทรวงสาธารณสุข เข้ามาช่วยดูแลเรื่องมาตรฐานความสะอาด จนได้รับเครื่องหมาย อย. และได้ตรามาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

เคล็ดลับทางการค้าที่ช่วยให้สินค้าแมคคาเดเมีย ของกลุ่มฯ แห่งนี้ขายดีเทน้ำเทท่า เพราะทางกลุ่มฯ จะไม่กะเทาะเปลือกแมคคาเดเมียทิ้งไว้นาน จะอบแมคคาเดเมียทั้งกะลาไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาจำหน่าย จึงค่อนนำออกมากะเทาะเปลือกอีกครั้ง ทำให้ สามารถรักษาคุณภาพสินค้าให้ใหม่สดกว่าสินค้าที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป เมล็ดโต และขายราคาถูกอีกต่างหาก

แปรรูปน้ำมัน สร้างมูลค่าเพิ่ม
ก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มจะนำเปลือกส่วนที่เหลือของแมคคาเดเมียไปเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ แต่ผลการศึกษาทางวิจัยพบว่า เปลือกแมคคาเดเมีย มีน้ำมันเหลืออยู่ แถมเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดีและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยป้องกันผิวแตกแห้งได้ รวมทั้งอาการส้นเท้าแตก เนื่องจากน้ำมันแมคคาเดเมีย ช่วยบำรุงผิวให้ชุ่มชื่น หากนำไปหมักผม จะทำให้ผมไม่ร่วงและมีน้ำหนักมากขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้เข้ามาให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปน้ำมัน ทำให้กลุ่มฯ แห่งนี้กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันแมคคาเดเมียเป็นรายแรกของประเทศไทย

ปลูกดูแลง่าย
แมคคาเดเมีย เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบ ระยะเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวประมาณ 60-80 ปี ทั้งดอกและเมล็ดสีขาวกะเทาะเปลือก ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย การปลูกแมคคาเดเมีย ตามหลักวิชาการนั้น ต้องปลูกในระยะห่าง 8×10 เมตร ขนาดหลุม 75x75x75 เซนติเมตร หรือ 1x1x1 เมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ ของดินรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ 1-2 กิโลกรัม และใช้ปุ๋ยคอกปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษซากพืชแห้ง แกลบหรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้ากับดิน ในระยะแรก สามารถปลูกพืชแซม เช่น กาแฟ, สตรอเบอรี่, ผัก เป็นต้นในระหว่างแถวช่อง 10-12 ปีแรก

ส่วนเทคนิคการดูแลก็ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15, 12-12-17-2 และยูเรียโดยปีที่ 1,2,3 และ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 400, 800, 1,200 และ 1,800 กรัม และผสมยูเรีย 45, 90, 135 และ 180 กรัม ตามลำดับ ตั้งแต่ปีที่ 5 เป็นต้นไป ควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตรา ต้นละ 2.5 กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นปีละ 500-600 กรัม และผสมยูเรียเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ และโปแตสเซียม 15% ของปุ๋ยสูตร ทุกปี ปุ๋ยแห่งใส่ปีละ 4 ครั้ง คือ ช่วง 3 เดือน ก่อนออกดอก (ต.ค.-พ.ย.) ระยะติดผลขนาดเล็ก ระยะต้นฝน และปลายฝน

ด้านน้ำควรดูแลให้น้ำ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ระยะติดผลและผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ โดยทั่วไป แมคคาเดเมียมีการตัดแต่งกิ่งน้อยมาก เพราะจะออกดอกภายในทรงพุ่มเป็นส่วนใหญ่ และออกจากกิ่ง แขนงเล็กๆ อายุประมาณ 2 ปี การตัดแต่งจะทำระยะแรก ที่เริ่มปลูกคือ 6-12 เดือนแรก ต้องบังคับให้มีกิ่งหรือต้นประธานเพียง 1 กิ่ง เมื่อกิ่งประธานสูงเกิน 80-100 เซนติเมตร และยังไม่แตกกิ่งข้างต้องเด็ดยอดกิ่งประธานออก เพื่อให้กิ่งข้างแตกอย่างน้อย 2-3 กิ่ง และเลือกกิ่งตั้งตรงเพื่อใช้เป็นกิ่งประธาน ต่อไป หลังติดผลจะตัดเฉพาะกิ่งที่เป็นโรคและแน่นเกินไป

แมคคาเดเมีย ที่ปลูกในพื้นที่สูง จะออกดอกช่วง พ.ย. – ธ.ค. และ ก.ค. – ส.ค. ระยะเวลาดอกบานถึงแก่ประมาณ 6-9 เดือน ขึ้นกับบริเวณปลูกยิ่งสูงยิ่งเก็บช้า แมคคาเดเมีย เมื่อแก่จะร่วงลงพื้น หลังเก็บผลต้องรับกะเทาะเปลือกเขียวข้างนอกออก เพราะถ้าผลกองรวมซ้อนกันมากๆ จะเกิดความร้อนทำให้เนื้อในคุณภาพไม่ดี

แปลงปลูกที่มีการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม หลังปลูก 4-5 ปี ต้นแมคคาเดเมียจะเริ่มให้ผลผลิตปีแรก 1-3 กิโลกรัม ต่อต้น และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี 10 ปีขึ้นไป ให้ผลผลิต 20-30 กิโลกรัม ต่อต้น อายุ 20 ปีขึ้นไป 40-60 กิโลกรัม ต่อต้น อายุให้ผลผลิตยาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

ต้นแมคคาเดเมีย มักมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช ค่อนข้างน้อยมาก โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคโคนเน่าหรือเปลือกผุ แก้ไขได้โดยใช้สารพวก แคปเทนพ่นที่ต้นและราด ส่วนแมลงศัตรูพืชที่พบได้แก่ แมลงค่อมทอง มักกัดกิน ยอดอ่อน แก้ไขโดยใช้ยาเซฟวินฉีดพ่นช่วงระบาด นอกจากนี้ยังเจอเพลี้ยอ่อนและหนอนแทะเปลือกลำต้นและเจาะกิ่ง หรือลำต้น มักเข้าทำลายต้นที่มีอายุ 1-3 ปี และอาจเจอปัญหาหนูแทะเมล็ดทั้งกะลา สามารถกำจัดได้โดยใช้เหยื่อล่อ หรือใช้สังกะสีโอบรอบโคนต้น

การเก็บเมล็ดหลังกะเทาะเปลือกนอกออก ควรผึ่งในที่มีผมผ่านสะดวก หรือวางบนตะแกรงเป็นชั้นๆ เพื่อลดความชื้นขณะรอส่งขายหรือก่อนเข้าตู้อบเพื่อกะเทาะเปลือกแข็ง การขายผลผลิต อาจขายเป็นเมล็ดทั้งกะลา ความชื้นประมาณ 10-15 % หรือกะเทาะกะลาออกและขายเนื้อในดิบ ความชื้นประมาณ 3-5%

หากใครสนใจปลูกแมคคาเดเมีย แนะนำว่า ควรคัดเลือกพื้นที่ปลูกที่มีการระบายน้ำได้ดี มีหน้าดินลึก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,220-1,500 มิลลิเมตร ต่อปี แมคคาเดเมียเจริญเติบโตได้ดีในช่วงอุณหภูมิ 10-35 องศาเซลเซียส ช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิระดับ 18 องศาเซลเซียส ลงมา นานประมาณ 1 เดือน เพื่อกระตุ้นในการออกดอกช่วงฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ควรเกิน 35 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว เนื้อในเล็กและพืชชะงักการเจริญเติบโต

แมคคาเดเมีย ควรเลือกพื้นที่ปลูกในแหล่งที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูง ช่วงออกดอกและเริ่มติดผล 75% ขึ้นไป ควรได้รับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 10-12 ชั่วโมง เพื่อให้ต้นแมคคาเดเมียสามารถปรุงอาหารได้เต็มที่ จะช่วยให้เนื้อถั่วมีคุณภาพดีขึ้น และควรปลูกหลายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อช่วยการผสมเกสรข้ามพันธุ์ ทำให้ติดผลมาก

นอกจากนี้ แหล่งปลูกแมคคาเดเมีย ควรมีไม้บังลมเพราะพืชที่มีระบบรากตื้น เสี่ยงต่อการโคนล้มได้ง่าย ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง หากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงและมีขนาดเล็ก เนื่องจากแมคคาเดเมียเป็นพืชอุตสาหกรรม จึงต้องปลูกรวมกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 1,000-1,500 ไร่ขึ้นไป เพื่อให้พอกับปริมาณที่ส่งโรงงานได้ ผลผลิตจะคุ้มทุนประมาณปีที่ 12-14 ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และควรปลูกพืชแซมช่วง 10-12 ปีแรก

จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน psyguy.com ปัญหาเรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้หลายๆ คน รายรับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เห็นได้จากสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่มีคนทำงานประจำใช้เวลาว่างหลังเลิกงาน มาประกอบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ให้หลากหลาย ทำให้มีเงินเหลือเก็บเหลือใช้ไม่เกิดหนี้สิน

นอกจากนี้ บางครัวเรือนมีการหาวิธีลดเรื่องค่าใช้จ่าย โดยปลูกพืชผักบริเวณบ้านหรือใช้พื้นที่เล็กน้อยที่มีอยู่ทำการเกษตร เพื่อให้มีผลผลิตที่นำมาประกอบอาหาร สามารถช่วยลดในเรื่องของค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งผลผลิตที่มีมากเกินไป นำมาขายเกิดเป็นรายได้เสริมอีกหนึ่งช่องทางด้วย คุณนุจรีย์ ทิพย์ประภาวงศ์ อยู่บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 1 ตำบลบางระกำ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มีแนวความคิดใช้พื้นที่บริเวณบ้านมาปลูกผักแบบอินทรีย์ โดยออกแบบให้แปลงผักมีความสวยงามประดับเหมือนเป็นไม้ประดับ จากที่ทำเพื่อไว้กินเองในครัวเรือน ต่อมาเมื่อผลผลิตมีมากขึ้นสามารถขายเกิดเป็นรายได้ให้กับเธอเป็นอย่างดี

จากปัญหาสุขภาพ

ทำให้ใส่ใจในเรื่องอาหาร คุณนุจรีย์ เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักทำเกี่ยวกับการเกษตรอยู่แล้ว โดยเน้นปลูกพืชผักสวนครัวที่มีการใช้ยาฆ่าแมลงอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ต่อมาได้มีโอกาสตรวจสุขภาพ และพบว่าเธอเองเป็นโรคมะเร็ง จึงทำให้มีมุมมองในเรื่องการทำเกษตรแบบใหม่ และเลือกอาหารการกินมากขึ้น จึงตัดสินใจเข้าฝึกอบรมเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบอินทรีย์ และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับการปลูกผักบริเวณบ้าน จนเกิดเป็นสวนประดับพืชผักที่ไม่ได้สวยงามเพียงอย่างเดียว แต่สามารถขายทำเงินอีกด้วย

“ช่วงนั้นเราเน้นทำเกษตรแบบเคมีมาตลอด พอได้มีโอกาสได้ไปศึกษาในเรื่องของการทำเกษตรอินทรีย์ครั้งแรก บอกเลยยังไม่เชื่อว่าจะสำเร็จได้ เพราะเราทำแบบใช้เคมีมาทั้งชีวิต มองว่าพืชผักจะต้านทานโรคและแมลงได้ยังไง หากไม่มีเรื่องปุ๋ยยาเข้ามาช่วย แต่พอมาได้ทดลองทำเรื่อยๆ ผลสรุปว่า สิ่งที่มีคนมาบอกสอนนี่ถูกต้องหมด อย่างน้อยการดูแลสุขภาพของเราต้องเริ่มจากอาหารด้วย คือสิ่งที่เราใช้ประกอบอาหารต้องดี ทำให้มีการปรับเปลี่ยนเริ่มที่ตัวเราก่อน ปลูกผักแบบอินทรีย์ เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ทำให้ทุกวันนี้จากที่เคยคิดจะปลูกเพื่อกินเอง พอผลผลิตมีมากสามารถขายเกิดรายได้ทุกวัน” คุณนุจรีย์ บอกถึงที่มา

จากการใช้พื้นที่บริเวณบ้านให้เป็นประโยชน์ในครั้งนั้น คุณนุจรีย์ บอกว่า เมื่อความชำนาญเกิดขึ้นจากสิ่งที่ทำ จึงได้เปิดบ้านเป็นแหล่งเรียนรู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายๆ คน ที่ต้องการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตมาสู่การทำเกษตรอินทรีย์แบบง่ายๆ ด้วยสองมือตนเองก่อน ช่วยให้องค์ความรู้ถูกเผยแพร่เป็นวงกว้าง ทำให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดีตามไปเหมือนกับเธอ

มีพื้นที่ว่างตรงไหน ปลูกพืชผักได้ทั้งหมด

ในขั้นตอนของการปลูกผักอินทรีย์ คุณนุจรีย์ บอกว่า เริ่มทำอย่างจริงจัง ตั้งแต่ ปี 2555 โดยปลูกผักที่ชอบกินเองก่อนโดยยังไม่ได้เน้นขาย ซึ่งดินที่ใช้ปลูกพืชเป็นปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ใบหญ้าที่ทำเอง รวมทั้งมีการนำปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักต่างๆ มาช่วยปรับปรุงบำรุงดินอยู่เสมอ พร้อมแบ่งโซนบริเวณรอบบ้านไว้สำหรับเลี้ยงไก่ไข่และเป็ด เพื่อที่จะได้มีไข่ไว้กินในทุกวันโดยไม่ต้องซื้อเข้ามาให้สิ้นเปลืองในการประกอบอาหาร