เมื่อมีการจัดทำแปลงทดสอบพันธุ์ในท้องถิ่นตามโครงการพัฒนา

พืชน้ำมันได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยการนำของท่านรองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร (คุณอนันต์ ดาโลดม) ในสมัยนั้น ได้จัดงบประมาณ ปีละประมาณ 300 ล้านบาท จัดหาเมล็ดพันธุ์ ไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นพืชครั้งที่ 2 ปลายฤดูฝน เพื่อให้ออกดอกในช่วงแล้ง ตอนที่ไม่มีฝน เพราะฝนทำให้ดอกและเมล็ดเสียหาย วิธีการ คือให้ใช้เมล็ดพันธุ์ ในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อไร่ เมล็ดพันธุ์มีราคาประมาณกิโลกรัมละ 90 บาท แต่จำหน่ายให้เกษตรกรด้วยเงินสด กิโลกรัมละ 2 บาท ที่ไม่แจกฟรีเลย เพราะให้เกษตรกรเห็นคุณค่าว่าเมล็ดพันธุ์นี้มีคุณค่าและราคา และที่จำหน่ายด้วยเงินสด เนื่องจากไม่ต้องการให้มีหนี้สินติดค้าง ต้องตามทวง ซึ่งเป็นภาระของเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น

พื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกทานตะวัน ได้แก่ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี หรือที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เริ่มดำเนินการอย่างจริงจัง ในปี 2534-2535 ด้วยพื้นที่ 12,000 ไร่ และได้ทำโครงการนี้ต่อนับเป็น 10 ปี ซึ่งต่อมา มีพื้นที่ปลูกหลายแสนหรืออาจจะถึงล้านไร่ กระจายไปจังหวัดใกล้เคียงด้วย โดยได้รับการตอบสนองจากเกษตรกรทั่วๆ กัน จนทานตะวันติดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่เกษตรกรปลูกจนถึงทุกวันนี้ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โด่งดังของชาวเมือง แหล่งปลูกทานตะวันที่สำคัญในปัจจุบัน ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี นครสวรรค์ นครราชสีมา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี เชียงราย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุดรธานี

ตามปกติ เมล็ดพันธุ์ทานตะวันลูกผสมนี้ ถ้านำไปปลูกแบบถูกวิธี คือปลูกเป็นแถวเป็นแนว มีการให้น้ำหว่านปุ๋ยพอสมควร จะให้ผลผลิตสูง แต่อาจจะมีเหตุผลบางอย่าง เช่น ขาดแคลนแรงงาน หรือขาดเครื่องมือเครื่องจักร เกษตรกรจึงได้นำไปหว่านในแปลง ทำให้ได้รับผลผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อย่างไรก็ตาม ทางโรงงานน้ำมันพืชหลายโรง โดยเฉพาะโรงงานน้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันรำข้าว

เช่น บริษัทน้ำมันรำข้าวสุรินทร์ เป็นแห่งแรกที่ทำสัญญารับซื้อทานตะวัน และต่อมา บริษัท ธนากรผลิตภัณฑ์น้ำมันพืช (กุ๊ก) โรงกลั่นน้ำมันนครชัยศรี (ตราองุ่น) และบริษัท กมลกิจ จำกัด (น้ำมันรำข้าว) ก็ยินดีที่จะซื้อเมล็ดทานตะวันเข้าโรงงาน เพื่อทำเป็นน้ำมันทานตะวันออกจำหน่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงนั้น เกษตรกรที่เคยปลูกถั่วเหลือง ได้หันไปปลูกพืชอื่นแทน เนื่องจากได้ผลดีกว่า โรงงานน้ำมันพืชจึงเริ่มสนใจทานตะวัน และยังมีเอกชนมาร่วมวางแผน ซื้อทานตะวันไปเข้ากระบวนการผลิต เป็นของขบเคี้ยวด้วย ทั้งนี้ การคัดเลือกพันธุ์ทานตะวันที่ใช้บริโภค (confectionary type) ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำ และโปรตีนสูง ก็สามารถทำได้ และเมล็ดทานตะวันที่ตกเกรด หรือกากทานตะวัน สามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะมีคนปลูกทานตะวันไปเลี้ยงนก

น้ำมันทานตะวัน เป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี ใช้ในการหุงหาอาหารที่ไม่ใช้ความร้อนมากและนานเกินไป เพราะจัดอยู่ในประเภท soft oil มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวอยู่สูง เกินร้อยละ 80 ซึ่งประกอบด้วย กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (oleic acid) สูงถึงกว่า ร้อยละ 40 และกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (linoleic acid ฯลฯ) ร้อยละ 30 กว่าๆ ที่เหลือก็เป็นกรดไขมันอิ่มตัวเพียงเล็กน้อย นอกจากนั้น มีวิตามินอี และสารอื่นๆ ที่ร่างกายต้องการ สำหรับกรดไขมันเชิงเดี่ยวนั้น ทราบว่ามีคุณประโยชน์ ไม่ทำให้ผู้สูงอายุประสบโรคภัยเกี่ยวกับหลอดเลือด หรือมะเร็ง แต่ก็เคยได้ยินว่า การบริโภคน้ำมันพืชนั้นให้ดูวัตถุประสงค์การทำอาหารว่าจะต้องใช้การทอดที่ร้อนแรงหรือไม่ หรือเป็นการทำอาหารในครัวเรือนตามปกติ ก็จะได้เลือกใช้น้ำมันพืชได้ถูกต้อง และควรเปลี่ยนน้ำมันพืชบริโภคหลายๆ ชนิดในการทำอาหารประจำวัน เช่น น้ำมันรำข้าว ถั่วเหลือง ปาล์มน้ำมัน

กล่าวโดยสรุป คือการส่งเสริมให้มีการปลูกทานตะวันนั้น เป็นการร่วมมือกับภาคเอกชน เริ่มต้นจากการทำแปลงทดสอบในท้องถิ่นให้เกิดความมั่นใจในข้อมูลก่อน แล้วจึงทำการส่งเสริมโดยใช้มาตรการที่จูงใจเกษตรกร มีข้อเสียที่ไม่ได้เน้นตั้งแต่ระยะแรกๆ คือแนะนำวิธีปฏิบัติรักษาให้ได้ผลผลิตสูง ทำให้เกษตรกรปลูกแบบหว่านเหมือนพืชปลายฤดูฝนอื่นๆ และเมื่อได้ผลผลิตแล้ว ได้เริ่มโครงการแบบครบวงจร ขอให้เอกชนรับซื้อผลผลิตในราคาที่จูงใจพอสมควร ในตอนนี้ เมื่อมีใครเอ่ยถึงทุ่งทานตะวัน พวกเราชาวส่งเสริมการเกษตรจะภูมิใจมาก เพราะเป็นผลงานชิ้นหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมทำกันมา

หลายคนอาจจะเคยได้ยิน บ้านห้วยห้อม ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เพราะเกือบ 30 ปีมาแล้ว บ้านห้วยห้อมแห่งนี้เป็นแหล่งปลูกกาแฟขึ้นชื่อ ส่งให้กับร้านกาแฟแบรนด์ระดับบน ทั้งยังเป็นต้นตำรับกาแฟอาราบิก้าส่งให้กับโครงการหลวง นับตั้งแต่ยังไม่มีเครื่องกะเทาะเปลือกเมล็ดกาแฟ รวมถึงเครื่องคั่วบดเมล็ดกาแฟ เพื่อให้ได้กาแฟผงอย่างในปัจจุบัน

การเดินทางค่อนข้างลำบาก แม้กระทั่งปัจจุบันจากตัวอำเภอแม่ลาน้อยเข้าไปยังหมู่บ้านห้วยห้อม ก็ต้องใช้เวลานานชั่วโมงเศษ ผ่านเส้นทางที่นักท่องเที่ยวมุ่งมั่นไปในช่วงฤดูหนาว คือ ทุ่งดอกบัวตอง เลยเข้าไปอีกระยะหนึ่ง ตลอดเส้นทางไม่มี คำว่า พื้นราบ มีแต่ทางลาดชันและเขา

คุณมะลิวัลย์ นักรบไพร หญิงแกร่งที่ริเริ่มกิจกรรมทางการเกษตรหลายอย่างของหมู่บ้าน ให้การต้อนรับด้วยกาแฟอาราบิก้ารสชาติดี ชักชวนนั่งคุยบนชั้น 2 ของบ้าน ที่เทียบได้กับความสูงของตึก 5-6 ชั้น เพราะตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของภูเขาลูกเล็กๆ ใกล้ๆ หุบเขาใหญ่บริเวณนั้น

คุณมะลิวัลย์ เล่าย้อนให้ฟังถึงอดีตที่มาของการทำไร่กาแฟ ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ปักหลักฐานที่ทำกินอยู่บริเวณนี้มากว่า 200 ปี คุณพ่อของคุณมะลิวัลย์ เป็นคนริเริ่มการทำการเกษตร เพราะมองว่าชนเผ่าควรมีที่มาของรายได้ กระทั่ง ปี 2514 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ เยือนบ้านห้วยห้อม จึงเป็นผลต่อมาให้ในปี 2519 มีเจ้าหน้าที่โครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนการทำแปลงเกษตรอย่างจริงจัง

“ก่อนหน้าที่โครงการหลวงจะเข้ามา มีมิชชันนารีช่วยส่งเสริม นำต้นพันธุ์กาแฟอาราบิก้ามาให้ทดลองปลูก และนำแกะมาให้เลี้ยง 5 ตัว ก็เป็นจุดเริ่มต้น เมื่อเจ้าหน้าที่โครงการหลวงเข้ามา จึงต่อยอดวิธีการปลูกกาแฟที่ถูกต้อง ส่งเสริมในเรื่องของการนำสารชีวภาพมาใช้แทนสารเคมี การปลูกหญ้าเพื่อเลี้ยงแกะ และการทอผ้าขนแกะเพื่อขายเป็นรายได้”

คุณมะลิวัลย์ เล่าถึงการทำไร่กาแฟของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงว่า แรกเริ่มไม่มีใครมีความรู้ แต่มิชชันนารีที่นำมาให้สอนให้เข้าใจว่า พืชทุกชนิดมีวิธีการปลูกที่ไม่ต่างกัน ต้องรดน้ำ ให้ปุ๋ย ให้ธรรมชาติช่วยดูแล โดยเฉพาะสภาพอากาศบนภูเขา และมีความหนาวเย็นต่อเนื่องตลอดปี เหมาะแก่การปลูกกาแฟ เมื่อถึงเวลาให้ผลผลิต เก็บผลผลิตแล้วก็ตัดแต่งกิ่งกาแฟ จากนั้นก็เข้าสู่กระบวนการของการเจริญเติบโตใหม่อีกรอบ

ในระยะแรกของการปลูกกาแฟ เมื่อได้ผลผลิต ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงเก็บแล้ว ก็นำไปตำกะลาออก ขายเมล็ดด้านในของกาแฟ การคั่วบดก็ยังทำไม่ได้ เพราะไม่มีเครื่องมือ การขายก็ต้องอาศัยมิชชันนารีนำไปฝากขายในจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริม ทำให้ได้งบประมาณจากหน่วยงานรัฐที่ดูแลส่งงบประมาณมาให้ จึงเริ่มซื้อเครื่องและอุปกรณ์เกี่ยวกับเมล็ดกาแฟ เพื่อให้จำหน่ายได้อย่างมีคุณภาพ

เมื่อเริ่มปลูกกาแฟเป็นเรื่องเป็นราว โดยครอบครัวของคุณมะลิวัลย์เริ่มต้น ถึงปัจจุบันมีพื้นที่ทำไร่กาแฟมากกว่า 2,000 ไร่ จากจำนวนชาวบ้านห้วยห้อมทั้งหมดกว่า 400 ครัวเรือน มีผลผลิตกาแฟออกสู่ตลาดราว 60 ตัน ทุกปี

เพราะการผลิตอย่างมีคุณภาพ ทำให้ตลาดกาแฟอาราบิก้าของชาวบ้านห้วยห้อม ไม่ใช่ตลาดระดับล่าง เมล็ดกาแฟเกือบทั้งหมดถูกจับจองรับซื้อโดยโครงการหลวง 10 ตัน และร้านกาแฟแบรนด์สตาร์บัค แบรนด์ระดับบนที่หลายคนติดใจอีก 30 ตัน ส่วนที่เหลือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟระดับโอท็อปของจังหวัด

การทำไร่กาแฟโดยอาศัยธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ผลผลิตมีคุณภาพ ทำให้รายได้จากกาแฟต่อไร่ของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงบ้านห้วยห้อมแห่งนี้ มีมากถึงร้อยละ 90 จึงถือเป็นรายได้หลักของที่นี่

ไม้ผลอื่นๆ เป็นเพียงพืชเสริมรายได้ เช่น อะโวกาโด พลับ เสาวรส มะม่วง เป็นต้น รายได้รองจากการทำไร่กาแฟของชาวบ้านห้วยห้อม คือ การทอผ้าขนแกะ

การเลี้ยงแกะ ก็เริ่มจากการส่งเสริมของมิชชันนารีพร้อมๆ กับการส่งเสริมให้ทำไร่กาแฟในระยะแรก แต่เป็นการให้แกะมาเลี้ยงในระยะเริ่มแรกเพียง 5 ตัว จากนั้น เมื่อเห็นว่าการเลี้ยงแกะเป็นเรื่องทำได้ไม่ยาก ก็เพิ่มจำนวนแกะมากขึ้น และเมื่อโครงการหลวงเข้ามาส่งเสริมให้ปลูกหญ้าสำหรับแกะ เช่น หญ้ารูซี่ และหญ้าเนเปียร์ ก็ทำให้การเลี้ยงแกะเป็นระบบมากขึ้น

ทุกๆ ครัวเรือน มีแกะเป็นของตนเอง และมีแกะซึ่งเป็นของชุมชน เลี้ยงไว้บนภูเขา บริเวณใกล้กับที่ปลูกหญ้ารูซี่และหญ้าเนเปียร์ แกะที่แต่ละครัวเรือนเลี้ยง จะทำโรงเรือนสำหรับแกะไว้ และปล่อยฝูงแกะให้ออกกินหญ้าในทุกวัน หรือหากไม่มีแรงงานเลี้ยงแกะ ก็จะเลี้ยงในโรงเรือน โดยแกะจำนวน 20 ตัว จะกินหญ้าสดประมาณ 10 กระสอบ ทุกวัน

คุณมะลิวัลย์ เล่าว่า การเลี้ยงแกะ ไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนการเลี้ยงสัตว์ทั่วไป มีปศุสัตว์อำเภอเข้ามาทำวัคซีนให้เมื่อครบอายุ ในแต่ละวันแกะต้องการกินหญ้ามาก แต่ควรให้จำกัดเพราะแกะกินเข้าไปก็ถ่ายออก ไม่ได้มีประโยชน์อะไร และการเลี้ยงแกะไม่ได้ต้องการเนื้อแกะ แต่ต้องการขนแกะ ซึ่งเมื่อครบระยะเวลาของการงอกของขน ก็สามารถตัดได้ไม่ว่าแกะอ้วนหรือผอม

“แกะ จะสามารถตัดขนได้เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป รอบการตัดขนแต่ละครั้งจะใช้ระยะเวลา 1 ปี การตัดใช้กรรไกรคมเลาะขนแกะออก นำไปรวมกันไว้ ขนแกะมีหลายสี ได้แก่ เหลือง ขาว ครีม และน้ำตาล แต่ละสีเมื่อตัดแล้วไม่จำเป็นต้องแยก เพราะไม่ได้มีความแตกต่างกันมากนัก หลังตัดขนเสร็จ จะนำไปแช่น้ำทำความสะอาด โดยใส่ผงซักฟอกหรือน้ำยาล้างจาน เสมือนการซักผ้า ขยี้ให้ขนแกะสะอาด แล้วนำไปปั่นให้แห้งด้วยเครื่องซักผ้า หรือตากแดดก็ใช้เวลาไม่นาน จากนั้นนำกลับมายีขนให้ฟูด้วยการใช้หวีคุณภาพจากต่างประเทศ แล้วจึงนำไปปั่นให้เป็นเส้นเหมือนการปั่นฝ้ายหรือปั่นไหม”

การตัดขนแกะ ทำในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูร้อน แกะจะรู้สึกสบายตัว และผลัดขนขึ้นใหม่

แกะที่อายุมากขึ้น ขนแกะจะมากขึ้นตามลำดับด้วย

ขนแกะที่นำไปปั่นเตรียมทอ จะถูกย้อมด้วยวัตถุดิบที่ให้สีจากธรรมชาติ เช่น ใบมะม่วงให้สีเหลือง เปลือกกาแฟให้สีกาแฟ เป็นต้น

หลังการย้อมสี ชาวบ้านจะนำไปทอเป็นของใช้ เช่น หมวก ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ ผ้าห่ม เพื่อขายเป็นรายได้เสริม โดยผ้าทุกผืนจะนำมารวมไว้ที่บ้านของคุณมะลิวัลย์ เมื่อถูกขายออกไปจะถูกหักเปอร์เซ็นต์ไว้สำหรับการบริหารจัดการภายในกลุ่ม ซึ่งปัจจุบัน การขายผ้าขนแกะเปิดรับออเดอร์และขายผ่านเว็บไซต์ พร้อมจัดส่งถึงมือลูกค้าแล้ว

ประมาณ 15 ปีก่อน คุณมะลิวัลย์ มีโอกาสไปศึกษาดูงานการทำโฮมสเตย์ จึงนำกลับมาพัฒนาบ้านห้วยห้อม ทำให้ปัจจุบันหมู่บ้านห้วยห้อมเป็นโฮมสเตย์ที่น่ารัก และรองรับนักท่องเที่ยวได้ราว 200 คน

ด้วยความโดดเด่นเรื่องของธรรมชาติ บ้านห้วยห้อมรู้จักการนำเสนอจุดเด่นของตนเอง นำอาหารพื้นถิ่น การละเล่นพื้นถิ่น การเรียนรู้การทอผ้าขนแกะ และการทำการเกษตรอื่นๆ เช่นเดียวกับที่ชาวบ้านห้วยห้อมลงมือทำ ไว้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจปฏิบัติ หรือหากนักท่องเที่ยวต้องการเพียงการพักผ่อนก็ทำได้ เพราะการนอนพักนิ่งๆ ภายใต้อากาศบริสุทธิ์สดชื่นแบบบ้านห้วยห้อมหาไม่ได้ง่ายนัก

อัตราค่าบริการ ที่พักก็สนนราคาไม่สูง อาหารก็มีบริการ ขึ้นกับนักท่องเที่ยวว่าต้องการแบบไหน

ทั้งหมดทั้งมวล ไปหาความสุขได้ที่ บ้านห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัดแม่ฮ่องสอน แนะนำให้ติดต่อไปก่อน ที่คุณมะลิวัลย์ นักรบไพร บ้านห้วยห้อม หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยห้อม อำเภอแม่ลาน้อย จังหวัด

คุณอัชฌา สุวรรณนิตย์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวระหว่างการลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่สหกรณ์การเกษตรโพทะเล จำกัด จังหวัดพิจิตร ว่า เป็นการติดตามโครงการภายหลังที่ตัวแทนสหกรณ์ประสงค์เข้าร่วมโครงการ และได้รับแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทดลองปลูกตั้งแต่ 7 มิถุนายน 2563 ขณะนี้เกษตรกรได้เก็บผลผลิตจำหน่ายในพื้นที่และสามารถสร้างรายได้ในระยะเวลาสั้นๆ เป็นโครงการที่กรมตั้งใจจะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในช่วงที่วิกฤตโควิด-19 ระบาด โดยหวังว่าจะเป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรอีกทางหนึ่งไม่มากก็น้อย

“จากการสอบถามเกษตรกรที่เราคัดให้เข้าโครงการภายใต้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ของบริษัท แปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ จำกัด ส่วนใหญ่มีความพอใจกับผลตอบแทนที่ได้รับ หักต้นทุน แล้วมีกำไรประมาณ 15,000 บาท ต่อรอบการผลิต 73 วัน ในพื้นที่ทดลองปลูกเพียง 300 ตารางวา ซึ่งในอนาคตเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์จะเดินหน้าต่อโครงการนี้หรือไม่ เป็นเรื่องที่สหกรณ์นั้นต้องไปหารือกันในกลุ่มสมาชิก เพราะกรมได้แต่เพียงสนับสนุนเรื่องโอกาสและเป็นพี่เลี้ยง นอกจากข้าวโพดหวานแล้ว ขณะนี้ได้ทราบว่ามีเอกชนอีกหลายรายที่เข้ามาส่งเสริมปลูกพืชหลังนาสร้างรายได้ให้กับสมาชิกสหกรณ์ในจังหวัดพิจิตร เช่น พริกซอส และกะหล่ำปลี ซึ่งกรมได้แนะนำให้แต่ละสหกรณ์พิจารณาโครงการที่มีตลาดรองรับและควรทำเกษตรพันธสัญญาเพื่อความมั่นคงของผู้เข้าร่วมโครงการปลูกพืชแต่ละชนิด” คุณอัชฌา กล่าว

คุณสมศักดิ์ สีอุดทา ประธานสหกรณ์การเกษตรโพทะเล จำกัด บอกว่า ได้รับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานมาปลูกในที่ดินของตนเอง หมู่ที่ 5 ตำบลทะนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ในพื้นที่ 300 ตารางวา หรือ 3 งาน เพื่อทดลองว่าตนเองจะปลูกรอดหรือไม่ เพราะเดิมทำนา ขณะเดียวกัน ที่ลองปลูกเพียง 3 งาน จากที่ดินที่มีทั้งหมดประมาณ 8 ไร่ เพราะต้องการประเมินดูว่า ผลผลิตออกมาดีตามที่มีการระบุหรือไม่ ซึ่งตามรอบการผลิตจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนเก็บเกี่ยว 73 วัน แต่ขณะนี้ปลูกมาได้ 70 วันได้ลองเก็บไปขายบางส่วน ปรากฏว่าผลผลิตดีฝักสวยและรสชาติหวาน ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่สนใจมาขอซื้อถึงในไร่ข้าวโพด ซึ่งได้เหลือผลผลิตไว้บางส่วน รอเก็บเกี่ยวเมื่อครบกำหนด เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพ

“ระยะเวลาปลูกข้าวโพดหวาน คือ 73 วันถึงจะเก็บได้ แต่ผมลองเก็บมาจำหน่ายก่อน โดยขายในพื้นที่ ขายเป็นฝักสดราคาฝักละ 10-15 บาท หรือหากขายเป็นกิโลกรัมจะขายในราคา 10 บาท ต่อกิโลกรัม ซึ่งข้าวโพดจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณฝักละเกือบ 1 กิโลกรัม คนที่ซื้อไปลองกินแล้วก็บอกกันปากต่อปากว่าข้าวโพดที่นี่อร่อย ทำให้มีคนเข้ามาซื้อที่สวนเพื่อนำไปบริโภคที่บ้านหรือนำไปจำหน่ายจนเกือบจะหมดแล้ว สำหรับต้นทุนตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บเกี่ยวครั้งนี้ ลงทุนไป 4,500 บาท ผลผลิตที่คาดว่าจะได้ประมาณ 2,000 กิโลกรัม คาดว่ารอบนี้จะขายได้เงินประมาณ 20,000 บาท หักต้นทุนแล้วจะมีกำไรเหลือประมาณ 15,000 บาท ซึ่งผมพอใจมาก เพราะทำนาใช้เวลา 4 เดือน เกี่ยวข้าวไปขายได้กำไรไร่ละไม่ถึง 1,000 บาท แต่ข้าวโพดหวานอายุ 73 วัน กำไรหลักหมื่น ซึ่งขณะนี้สมาชิกสหกรณ์ที่ผมเป็นประธานสนใจที่จะทำโครงการปลูกข้าวโพดหวานอีกประมาณ 15 ราย ดังนั้น จะต้องหารือกัน เพื่อทำเป็นโครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหวานเพื่อสร้างอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก” คุณสมศักดิ์ กล่าว

ด้าน คุณสุพรรณ เสนารินทร์ สมาชิกสหกรณ์โคนมการเกษตรพิจิตร จำกัด อาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลท้ายน้ำ อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร กล่าวว่า ได้เข้าโครงการนี้เช่นกัน ได้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานมาปลูกบนพื้นที่ 1 ไร่ แต่เดิมเป็นที่นา เริ่มหยอดเมล็ดวันที่ 10 มิถุนายน 2563 คาดว่าผลผลิตจะได้เกือบ 3 ตัน ต่อไร่ ขณะนี้ได้เริ่มเก็บผลผลิตขาย ขายทั้งที่ในสวนและผ่านช่องทางตลาดออนไลน์ ในราคากิโลกรัมละ 15 บาท คาดว่าจะได้กำไรจากการขายข้าวโพดหวานเกือบ 20,000 บาท ซึ่งหลังจากนี้ ตนเองจะขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม สลับกับการปลูกพืชชนิดอื่นด้วย เพื่อจะสร้างรายได้อย่างต่อเนื่อง

คุณไพรินทร์ สุขเล็ก สหกรณ์จังหวัดพิจิตร กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาเกษตรกรอาจยังไม่มั่นใจว่าจะทำได้หรือไม่ เมื่อกรมส่งเสริมสหกรณ์มีโครงการนี้ขึ้นมา และให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดได้เข้ามาแนะนำและจัดสรรเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานให้กับสหกรณ์ต่างๆ ได้นำไปกระจายต่อให้กับสมาชิกสหกรณ์ ซึ่งระยะแรกได้แนะนำให้เริ่มทดลองปลูกในพื้นที่เล็กๆ ไปก่อน หากทำได้ผลดีค่อยขยายเพิ่ม ซึ่งจากผลผลิตที่ออกมา เกษตรกรก็มีความพึงพอใจและเป็นพืชชนิดใหม่ที่มีความน่าสนใจ และในอนาคตสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพิจิตรจะมีการขยายการส่งเสริมปลูกข้าวโพดหวานให้กับสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น

เทคโนโลยีชาวบ้านจัดงานใหญ่ประจำปี!
“นวัตกรรมใหม่ เพื่อเกษตรกรไทยยุค 5G”
วันที่ 29 ต.ค. 2563 ที่ห้องประชุมใหญ่ บริษัท ข่าวสด จำกัด แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

ข้าวไทย เป็นอีกหนึ่งสินค้าทางการเกษตรที่สำคัญ เพราะจะเห็นได้ว่าการทำนาในบ้านเรามีการทำกันมาอย่างยาวนาน มีการปรับปรุงการทำนาและการวิจัยพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวในบ้านเราสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้อยู่เสมอ โดยตลาดต่างประเทศมีความต้องการผลิตภัณฑ์ข้าวที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวนุ่ม ข้าวหอมมะลิ และข้าวที่ปลูกในระบบอินทรีย์ ที่ประเทศไทยสามารถปลูกได้อย่างมีคุณภาพ และสามารถทำตลาดได้ทั้งในและต่างประเทศ

คุณสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า การผลิตข้าวอินทรีย์เป็นระบบการผลิตข้าวที่ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร เช่น ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารควบคุมการเจริญเติบโต สารควบคุมวัชพืชและกำจัดโรค แมลงศัตรูข้าว ตลอดจนถึงสารเคมีที่ใช้รมข้าวในโรงเก็บ การผลิตข้าวอินทรีย์นอกจากจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัยจากสารพิษแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืนอีกด้วย

คุณคารมย์ ขุนหล้า ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด เปิดเผยต่อว่า วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2555 เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของเกษตรกรในชุมชน ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีคือ ข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข 15 เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์จําหน่ายภายในชุมชน และเก็บไว้เพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป ต่อมาปี พ.ศ. 2562 กลุ่มเกษตรกรได้สมัครเข้าร่วมโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2563

เพื่อลดต้นทุนในการผลิตและกระจายเมล็ดให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับใช้ภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ มีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อลดต้นทุนในการผลิต กระจายเมล็ดพันธุ์ดีสู่ชาวนาอย่างทั่วถึง เป็นศูนย์กลางการพัฒนาข้าวภายในชุมชน พัฒนาชาวนา และองค์กรชาวนาให้มีความเข้มแข็ง ซึ่งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ เป็นกลุ่มที่จัดตั้งใหม่ ได้รับการสนับสนุนเป็นเมล็ดพันธุ์ข้าว พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จํานวน 9,645 กิโลกรัม

คุณมัสสา โยริบุตร ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโนนสวรรค์ สมัครเว็บสล็อต ตั้งอยู่เลขที่ 74 หมู่ที่ 5 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า ทางกลุ่มได้มีการผลิตข้าวจําหน่ายเป็นเมล็ดพันธุ์ให้แก่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด มีการแปรรูปข้าวจําหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวหอมมะลิ มีการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ค่าดิน พร้อมกับใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ไถกลบตอซังแทนการเผา ปฏิบัติตามเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP) ข้าวเปลือก (Grain) และเมล็ดพันธุ์ (Seed) มีการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง ปลูกปุ๋ยพืชสดปรับปรุงบํารุงดิน พร้อมกับการไถดะเพื่อกําจัดวัชพืช การใช้ปูนขาวปรับสภาพดินก่อนการเพาะปลูก ตลอดจนการใช้ปุ๋ยคอกปรับปรุงบํารุงดินเพื่อลดต้นทุนการผลิตได้

คุณมัสสา บอกว่า การลดต้นทุนการผลิตที่ดีที่สุดคือ การปรับเปลี่ยนมาปลูกข้าวโดยการใช้ระบบอินทรีย์ เพราะการปลูกข้าวแต่ละครั้งจะมีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดและน้ำหมักที่ได้จากปลาเข้ามาช่วยเสริม จึงทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวถูกลง

“เราปลูกข้าวแบบอินทรีย์ มีการแบ่งพื้นที่ผลิตอย่างชัดเจน ซึ่งการปลูกมีการใช้การหว่านและหยอด ถ้าการหว่านใช้เมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 30-35 กิโลกรัม ต่อไร่ การหยอดใช้เมล็ดพันธุ์อยู่ที่ 35 กิโลกรัม ต่อไร่ ซึ่งการปลูกข้าวหอมมะลิจะเน้นใช้การปลูกแบบอินทรีย์เป็นหลัก มีการใช้สารชีวภัณฑ์และเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าข้าวที่เราปลูกในระบบอินทรีย์ มีกระบวนการที่ผลิตที่ปลอดภัยอย่างแน่นอน โดยผลผลิตที่ได้ของข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่ปลูกอยู่ที่ 450-700 กิโลกรัม ต่อไร่ ต้นทุนการผลิตทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 3,200-3,900 บาท ต่อไร่ เมื่อเทียบกับราคาที่ขาย ยังถือว่าได้ผลกำไรและมีเงินเก็บ ซึ่งตลาดส่วนใหญ่ขายทั้งในและต่างประเทศ” คุณมัสสา บอก

ในช่วงที่ว่างจากการทำนา ทางกลุ่มได้มีการช่วยกันหารายได้เพิ่มมากขึ้น นั่นก็คือการแปรรูปข้าวเพื่อส่งจำหน่ายทางไปรษณีย์ การนำข้าวมาแปรรูปทำเป็นขนมโดนัท การช่วยกันทอผ้าไหมและผ้าฝ้าย จึงทำให้การประกอบอาชีพของกลุ่มแห่งนี้มีความเข้มแข็ง และเกษตรกรทุกคนมีรายได้ที่ยั่งยืน

นอกจากนี้ ทางศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยเอ็ด ยังได้มีแนวทางช่วยเหลือในเรื่องของการส่งเสริมเกษตรกรให้มีการเลือกใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมคือ มีความต้านทานโดยธรรมชาติ รักษาสมดุลของศัตรูธรรมชาติ การจัดการพืช ดิน และน้ำ ให้ถูกต้องเหมาะสมกับความต้องการของต้นข้าว เพื่อให้ต้นข้าวเจริญเติบโตได้ดี มีความสมบูรณ์แข็งแรงตามธรรมชาติ พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงตลาดสินค้าข้าวอินทรีย์ เพื่อขยายตลาด สินค้าข้าวสุขภาพในแถบเอเชีย ยุโรป และจีน ต่อไป จึงส่งผลให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมั่นคง และเกษตรกรมีรายได้ที่ยั่งยืน ส่งต่อเป็นอาชีพถึงลูกหลานในอนาคตได้