เมื่อยายยังรุ่นๆ อายุไม่เกิน 20 ปี ยายก็เริ่มเห็นมีคนปลูกแล้ว

ปลูกกันแทบทุกบ้านเอาไว้กิน ไม่เคยใส่ปุ๋ย ไม่เคยฉีดยาบำรุงอะไร ลูกก็ใหญ่มากๆ หวานฉ่ำ คุณยายกิ้ว อุทุมโภค อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 14/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด “เคยปลูกสับปะรดมาไม่ต่ำกว่า 50 ปีแล้ว เมื่อสมัยก่อนลูกใหญ่มากๆ อย่างน้อยก็ 3 กิโล ต่อ 1 ลูก เนื้อจะหวานฉ่ำ มีน้ำเยอะ ไม่แกน ไม่เคยใส่ปุ๋ย ถ้ามีมากก็จะเอาไปขายที่ตลาด เพราะในสมัยนั้นไม่มีโรงงานรับซื้อ”

คุณยายน้อม เกษโกวิท อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด “เกิดมาจำความได้ก็มีสับปะรดพันธุ์ท้ายวังแล้ว หน่อพันธุ์จะมีกันตามสวน แล้วก็ไปขอมาปลูกกัน สมัยนั้นหน่อไม่มีการขาย ไม่ได้ปลูกกันมากเหมือนสมัยนี้ ผลผลิตที่ได้จะลูกใหญ่มากๆ ใช้ไม้คานหาบ ข้างหนึ่งใส่ไม่เกิน 4 ลูก ก็หาบไม่ไหวแล้ว ลูกจะใหญ่มากๆ หวานฉ่ำอร่อย ไม่กัดลิ้น”

คุณตาหอม คงดี อายุ 84 ปี บ้านเลขที่ 289 หมู่ที่ 11 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด “หลังจากที่ก๋งออกจากทหารเรือ น่าจะอายุราวๆ 20 ปี ก๋งก็เริ่มปลูกสับปะรด โดยไม่มีรถไถเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้จอบขุดดินและปลูกเองไปเรื่อยๆ พอครบปีก็จะออกลูก ลูกใหญ่เกือบเท่ากระป๋อง ปลูกประมาณ 3 ปี ก็รื้อทิ้ง ปีที่ 3 ของสมัยนั้นน่าจะลูกใหญ่กว่าปีแรกของสมัยนี้ ก๋งบอกว่า พันธุ์ท้ายวัง น่าจะมีมาเป็นร้อยปีแล้ว”

คุณยายสำอาง เดิมกำเนิด อายุ 82 ปี บ้านเลขที่ 65 หมู่… ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด “ยายปลูกกะสามีของยายมานานมากแล้ว ปลูกตั้งแต่ทั้งคู่ยังไม่แต่งงานกัน ตอนนี้ลูกยายก็อายุ 50 ปีได้ ลูกใหญ่มากจริงๆ ไม่เคยทำอะไรเลย ปล่อยให้โตเอง ไม่เหมือนสมัยนี้ฉีดยา ใส่ปุ๋ย ลูกยังไม่โตเท่าสมัยก่อนเลย”

คุณตาอ่อนสา แสงงาม อายุ 80 ปี บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด “เคยปลูกมานานแล้ว น่าจะ 40 ปีกว่าแล้ว สมัยนั้นไม่นิยมปลูกกันมาก เพราะราคาถูก ลูกใหญ่มาก ก็ขายแค่ 2 สลึง (50 สตางค์) ลูกจะใหญ่กว่าสมัยนี้ อร่อยหวานฉ่ำ”

จากข้อมูลของคุณตา คุณยาย ในชุมชน ยืนยันได้ว่า สับปะรดท้ายวัง มีอยู่ที่นี่นานกว่าที่เล่ากันมา จุดเด่นที่ผลขนาดใหญ่มาก เนื้อฉ่ำน้ำ รสชาติหวานชุ่มคอ และไม่กัดลิ้น แต่ตามสภาพที่เห็นและเป็นอยู่ ลักษณะการปลูกสับปะรดท้ายวังที่นี่ ยังคงปลูกกันแบบธรรมชาติปะปนกับพันธุ์ปัตตาเวีย และเน้นส่งโรงงานเป็นหลัก ยังจะไปได้ไกลกว่านี้ หากมีการส่งเสริม พัฒนา และปั้นแต่งด้วยระบบที่ดี มีการคัดสายต้นพันธุ์ที่ดีเด่นออกมา (clonal selection) คงจะได้เวลาแล้วที่ชาวเมืองตราด จะนำเอาจุดเด่น มองเห็นคุณค่าของสับปะรดท้ายวัง จับเอามาสร้างสตอรี่ ทำพีอาร์ โชว์ของดีสับปะรดพันธุ์นี้ จุดเริ่มไปที่ขอขึ้นทะเบียนแหล่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ประกาศเป็นสับปะรด จีไอ (GI : Geographical Indication) เจียรนัยเขาเสียใหม่ จะได้เพชรเม็ดใหญ่งดงามน้ำดี ยกระดับเป็นผลไม้ signature ของจังหวัดได้อีกตัว ชัวร์ๆ ว่าเป็นสับปะรดพันธุ์ดีของเมืองตราดได้อย่างสมภาคภูมิครับ

ข้อมูลอ้างอิง : 1. มนตรี กล้าขาย, 2559. การพิสูจน์ลักษณะผลสับปะรดพันธุ์ท้ายวัง อำเภอเมือง จังหวัดตราด

2. สินสมุทร ฟองมาศ, 2561, สัมภาษณ์ ประธานกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดตราด
3. ประดิษฐ์ เจริญสุข. 2561. บทสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนบ้านท้ายวัง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด, นักวิชาการส่งเริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดตราด
4. ไวย์วุฒิ มุกดา. 2563. สัมภาษณ์. กลุ่มเกษตรกรทำสวนวังกระแจะ ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด ข้อมูลจำเพาะ สับปะรดท้ายวัง

มนตรี กล้าขาย (2559) ทำการศึกษาลักษณะทางกายภาพภายของสับปะรดท้ายวัง ได้สรุปลักษณะเด่นของสับปะรดท้ายวัง ไว ดังนี้

– จัดเป็นสับปะรดในกลุ่ม Cayenne ขนาดของผลใหญ่มาก เป็นชนิดผลรวม (multiple fruit) จำนวนผลย่อย (ตา) 156 ผล ลักษณะของตาใหญ่-แบนราบ ขนตายาว ตาตื้น รูปห้าเหลี่ยมมน ฐานของตาเป็นเส้นตรง ผลเป็นรูปทรงกระบอกยาว (cylindrical shape) และกึ่งทรงกระบอก ความยาวของผลเฉลี่ย 22 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผลเฉลี่ย 15 เซนติเมตร น้ำหนักผลเฉลี่ย 3.5 กิโลกรัม ผลใหญ่อาจมีน้ำหนักถึง 5-6 กิโลกรัม

– จุกค่อนข้างใหญ่ ตั้งตรง ไม่มีรอยคอดระหว่างจุกกับผล ความยาวของจุกอยู่ระหว่าง 2/3 หรืออาจเท่ากับความยาวของผล

– เนื้อสีเหลือง เนื้อมาก มีเส้นใยอ่อนนุ่ม เนื้อนุ่มและฉ่ำน้ำมาก กลิ่นหอมอ่อนๆ เนื้อไม่มีโพรง รสชาติหวานนำเปรี้ยว ไม่แสบลิ้น แกนผลเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5 เซนติเมตร ค่าความหวาน (brix) 14-17 องศาบริกซ์

– เปลือกผลอ่อนสีเขียว ผลแก่ออกสีเขียวเข้ม (ดำ) เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ถึงสีเหลืองอ่อน

– ใบ มีจำนวนใบ 50-55 ใบ ใบกว้าง สีเขียวอ่อน ขอบใบเรียบไม่มีหนาม แต่อาจมีหนามที่ปลายใบบ้างเล็กน้อย มีแถบสีม่วงอ่อนตรงกลางใบ ตั้งแต่โคนใบถึงปลายใบ กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพ ตําบลเหมืองง่า จัดตั้งเมื่อ วันที่ 5 กรกฎาคม 2559 สมาชิกแรกตั้ง 30 คน สมาชิกปัจจุบัน 130 คน ประธานกลุ่ม นายมงคล ทองกลาง ที่ทําการกลุ่ม เลขที่ 191/1 หมู่ที่ 6 ตําบลเหมืองง่า อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน

ผลงานดีเด่น ความคิดริเริ่ม
โครงการลดรายจ่ายในครัวเรือน ด้วยการจัดหาข้าวสารมาจําหน่ายให้กับสมาชิกในราคาถูก พื้นที่ของตําบลเหมืองง่า อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลําพูน ส่วนใหญ่ทําสวนลําไย ไม่มีพื้นที่ในการทํานา ทําให้สมาชิกของกลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่าต้องซื้อข้าวสารมาเพื่อบริโภคในครัวเรือน ซึ่งมีราคาค่อนข้างแพงและไม่มีคุณภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของสมาชิก และให้สมาชิกได้บริโภคข้าวสารที่มีคุณภาพ กลุ่มเกษตรกรฯ จึงได้ริเริ่มในการจัดหาแหล่งผลิตและจําหน่ายข้าวสารราคาถูกมาจําหน่ายให้แก่สมาชิก ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในการซื้อข้าวสาร จํานวน 50 บาท/กระสอบ และกลุ่มเกษตรกรฯ ก็มีรายได้เข้ามาอีกทางหนึ่งด้วย โดยกลุ่มมียอดจําหน่ายข้าวสาร 1,054,735 บาท/ปี

โครงการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย ในกลุ่มเกษตรกร โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์+เคมีใช้เอง สมาชิกกลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า ส่วนใหญ่มีอาชีพทําสวนลําไย และในแต่ละปีต้องใช้ปุ๋ยเพื่อการบํารุงต้นลําไยเป็นจํานวนมาก แต่ปุ๋ยเคมีที่ขายในท้องตลาดมีราคาแพง ทําให้ต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรสูง และผลผลิตที่ได้รับไม่มีความปลอดภัย ดังนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์และลดต้นทุนการผลิต กลุ่มได้ขอรับคําปรึกษาจากสํานักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดลําพูน เพื่อให้สมาชิกเข้ารับการอบรมการทําปุ๋ยอินทรีย์ จากนั้นจึงได้รวมกันจัดทําปุ๋ยอินทรีย์เคมีใช้กันภายในกลุ่ม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตลําไย และได้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพในราคาย่อมเยา อีกทั้งยังสามารถผลิตเพื่อจําหน่ายให้เกษตรกรทั่วไปในพื้นที่จังหวัดลําพูนและจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย

ความสามารถในการบริหาร
และการจัดการของสถาบัน

กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพ ตําบลเหมืองง่า จังหวัดลําพูน มีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจน โดยมีคณะกรรมการ 4 คน เจ้าหน้าที่ตําแหน่งพนักงานบัญชี 1 คน ผู้ตรวจสอบกิจการ 2 คน ปฏิบัติหน้าที่และให้ความช่วยเหลือสมาชิกได้เป็นอย่างดี มีความเสียสละ อดทน เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สมาชิก และมีความมุ่งมั่นในการพัฒนากลุ่มให้เจริญก้าวหน้า ปัจจุบัน กลุ่มเกษตรกรฯ มีทุนดําเนินงาน 3,038,434 บาท ทุนเรือนหุ้น 221,400 บาท ทุนสํารอง 437,310 บาท การดําเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกรฯ มี 3 ประเภท คือ ธุรกิจสินเชื่อ จํานวน 209,000 บาท ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจําหน่าย จํานวน 1,224,370 บาท และธุรกิจแปรรูปผลิตผ การเกษตรและผลิตสินค้า (ผลิตปุ๋ยอินทรีย์) จํานวน 442,000 บาท ซึ่งเป็นธุรกิจเด่นของกลุ่มเกษตรกรฯ

กลุ่มเกษตรกรฯ มีการนําระบบควบคุมภายในของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์มาใช้ในการประเมินผลการทํางานของกลุ่มเป็นประจําทุกปี และมีการจัดทําแผนดําเนินงานประจําปีและแผนธุรกิจ โดยกําหนดและขอมติผ่านที่ประชุมใหญ่สามัญเป็นประจําทุกปี และมีการแจ้งแผนให้สมาชิกรับทราบ โดยมีการระดมความคิด ปัญหา อุปสรรค จากสมาชิก และนําผลการดําเนินงานในปีก่อนมาพิจารณา เพื่อปรับปรุงแผนการดําเนินงานประจําปี และแผนธุรกิจในปีถัดไป ซึ่งกลุ่มสามารถดําเนินงานได้ตามแผนที่วางไว้

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า จังหวัดลําพูน มีสมาชิกเข้าร่วมประชุมใหญ่ เฉลี่ยร้อยละ 44.10 คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม เฉลี่ยร้อยละ 100 สมาชิกมีส่วนร่วมในการทําธุรกิจกับกลุ่มเกษตรกรฯ เฉลี่ยร้อยละ 100 และมีส่วนร่วมในการทํากิจกรรมต่างๆ กับกลุ่มเกษตรกร เฉลี่ยร้อยละ 94.34 โดยสมาชิกมีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตนเองเป็นอย่างดี และปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบ และข้อตกลงของกลุ่มเกษตรกรฯ อย่างเคร่งครัด มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่ม และการลงความเห็นต่างๆ อาทิ การเลือกตั้ง การจัดสรรผลประโยชน์ การจัดทําแผนงานประจําปีและแผนธุรกิจ การแก้ปัญหาต่างๆ รวมถึงให้ความสําคัญและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มเกษตรกรฯ

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของสถาบัน
กลุ่มเกษตรกรทําสวนคุณภาพตําบลเหมืองง่า ดําเนินธุรกิจ 3 ประเภท ตามความต้องการของสมาชิก โดยมีปริมาณธุรกิจรวมทั้งสิ้น 1,473,370 บาท กลุ่มเกษตรกรฯ มีกําไรสุทธิ 149,215.65 บาท และสามารถจ่ายเงินปันผลให้แก่สมาชิก จํานวน 17,712 บาท และจ่ายเงินเฉลี่ยคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนของธุรกิจ จํานวน 32,320 บาท จากผลการดําเนินงาน 3 ปีที่ผ่านมา มีความมั่นคงและมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีทุนดําเนินงานเพียงพอต่อการดําเนินธุรกิจกลุ่มเกษตรกรฯ สามารถจัดสรรทุนสํารองเพิ่มขึ้นได้ทุกปี การดําเนินงานของกลุ่มส่งผลให้สมาชิกและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่มีหนี้สินนอกระบบ และสามารถพึ่งพาตนเองได้

กลุ่มเกษตรกรฯ มีที่ดินของกลุ่มเอง มีอาคารสํานักงานเพื่ออํานวยความสะดวกและให้บริการสมาชิก มีอาคารโรงคลุมอเนกประสงค์สําหรับจัดเก็บปุ๋ยที่ผลิตได้ และใช้เป็นสถานที่สําหรับการประชุมสมาชิก และมีอุปกรณ์การตลาดสําหรับการดําเนินธุรกิจผลิตปุ๋ยจําหน่ายครบถ้วน โดยกลุ่มเกษตรกรฯ จัดหาเองและจัดให้มี ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ

การทํากิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์
และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเกษตรกรฯ เข้าร่วมทํากิจกรรมสาธารณประโยชน์กับชุมชนในโอกาสต่างๆ อยู่สม่ำเสมอ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมและร่วมทําบุญกับวัดในชุมชนในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ มีกิจกรรมพัฒนาชุมชน ทําความสะอาด และปรับปรุงภูมิทัศน์ในเทศกาลและโอกาสสําคัญต่างๆ โดยกลุ่มใช้กิจกรรมสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคนในชุมชน
กลุ่มเกษตรกรฯ ให้ความสําคัญต่อการทํากิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน เนื่องจากสมาชิกของกลุ่มทําปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก/น้ำหมักชีวภาพ
กลุ่มเกษตรกรฯ ได้จัดสรรกําไรสุทธิไว้เป็นเงินสวัสดิการเพื่อดูแลสมาชิกและครอบครัวสมาชิก ได้แก่ ร่วมทําบุญและช่วยเหลืองานศพของสมาชิกและครอบครัว มอบทุนการศึกษาแก่บุตรของสมาชิก จัดให้มีการฝึกอบรมการทําน้ำหมักชีวภาพแก่สมาชิก เครื่องแบบแก่คณะกรรมการดําเนินการ

ประเทศญี่ปุ่น มีความเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาการด้านต่างๆ ไม่เป็นรองชาติใด เป็นประเทศที่มีสังคมผู้สูงอายุอันดับต้นๆ ของโลก มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีมาก ชาวญี่ปุ่นมีอายุยืน มีรายได้สูง สามารถจ่ายเงินเพื่อบริโภคอาหารที่ดี ในขณะที่ภาคการเกษตรก็สามารถผลิตอาหารที่ดีมีคุณภาพตามที่ผู้บริโภคต้องการ อาชีพการเกษตรจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้สูงไม่แพ้อาชีพอื่นๆ ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม การทำการเกษตรในประเทศญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคจากธรรมชาติ ทั้งลมพายุ ฝนกระหน่ำ อุณหภูมิต่ำ หิมะตกหนักในหลายพื้นที่ รวมทั้งปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ คนวัยหนุ่มสาวไม่นิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวนเกษตรกรลดลงไปมากในปัจจุบัน

งานภาคการเกษตรจึงกลายเป็นภาระของคนรุ่นพ่อแม่ทําให้เกษตรกรญี่ปุ่นมีอายุเฉลี่ยสูงเกินวัย 60-70 ปี ไปแล้ว ในขณะที่ประชากรของประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภาคการเกษตรก็ต้องรักษามาตรฐานการผลิต ส่วนหนึ่งคงเนื่องมาจากเกษตรกรญี่ปุ่นมีความเข้มแข็งและรับผิดชอบงานในหน้าที่ บวกกับความร่วมมือจากหน่วยราชการและเอกชนที่ทำหน้าที่ของตนเองอย่างดีทุกฝ่าย ผลผลิตทางการเกษตร จึงยังคงมีมาตรฐานสูงอยู่ในปัจจุบัน

นักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่น นอกจากมีความสุขจากการท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ได้รับประทานอาหารที่ชอบ เลือกซื้อขนมและของฝากตามที่ตั้งใจไว้แล้ว คงต้องหาผลไม้อร่อยแต่ละชนิดรับประทานด้วย เช่น สตรอเบอรี่ แอปเปิ้ล หรือองุ่น ซึ่งผลไม้เหล่านี้คงไม่ใช่อร่อยเพราะเจริญเติบโตในดินแดนญี่ปุ่นแต่เพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เกิดมาจากความมานะพยายาม ความเอาใจใส่ ความละเอียดรอบคอบของผู้วิจัยสายพันธุ์พืชส่งต่อมายังผู้ปลูกและดูแลรักษา รวมทั้งระบบการตลาดที่มีมาตรฐานสูงของประเทศ ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลบางประการเกี่ยวกับเส้นทางการผลิต การตลาดสินค้าเกษตรในบางแง่มุมที่ได้มีโอกาสไปสัมผัสมา เพื่อแบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน ข้อมูลเหล่านั้นได้แก่ เรื่องพันธุ์พืช วิธีการผลิตต้นพันธุ์พืช โรงเรือนปลูกพืช ซึ่งรวมถึงการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน และระบบการตลาดสินค้าเกษตรโดยย่อ สิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสําเร็จของระบบการเกษตรของประเทศญี่ปุ่น

พันธุ์พืช… พันธุ์พืช หมายถึง พันธุกรรมพืชที่ผ่านการวิจัย คัดเลือกสายพันธุ์ที่ดี ผู้บริโภคให้การยอมรับ เกษตรกรจะเข้มงวดกับพันธุ์พืชที่ตนเองต้องนํามาปลูกมาก เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะรายได้ของเกษตรกรขึ้นอยู่กับการประมูลสินค้าที่ตลาดขายส่งสินค้าและผู้บริโภคก็ต้องการบริโภคผักผลไม้ที่มีมาตรฐานสูง คือต้องอร่อยและมีคุณภาพดี ยกตัวอย่าง เช่น ในการปลูกสตรอเบอรี่ เกษตรกรจะเลือกใช้พันธุ์ยอดนิยม เช่น พันธุ์โตโยโนกะ หรือพันธุ์เนียวโฮ ซึ่งเป็นลูกผสมที่ได้มาจากจังหวัดโทชิกิ หรือเลือกปลูกสตรอเบอรี่สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ หรือหากเป็นสายพันธุ์องุ่น เกษตรกรก็จะเลือกปลูกองุ่นพันธุ์ที่ผู้บริโภคชอบรับประทาน เช่น พันธุ์เคียวโฮ ที่มีผลโตสีดำ เปลือกหนา รสชาติหวานอร่อย หรือเช่นพันธุ์อะกิ ควีน ที่มีผลโต สีชมพู มีกลิ่นหอมและหวานอร่อย หากเป็นพวกพืชผัก เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกก็จะต้องเลือกเมล็ดพันธุ์ลูกผสม ชั่วที่ 1 หรือเรียกว่า F1 Hybrid หรือพันธุ์การค้าที่ผู้บริโภคชื่นชอบ

ต้นพันธุ์ดี… ต้นพันธุ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติตรงตามสายพันธุ์ ปลอดโรค มีความแข็งแรงและสม่ำเสมอเหมือนๆ กันทุกต้น วิธีการผลิตต้นพันธุ์จึงขึ้นอยู่กับชนิดพืช เช่น ที่ประเทศญี่ปุ่น ต้นพันธุ์องุ่น เขาจะใช้วิธีเสียบยอดกับต้นตอที่มีระบบรากที่แข็งแรงและหาอาหารเก่ง ซึ่งจะทำให้ต้นองุ่นมีอายุยืนนานให้ผลผลิตสูง หรือหากเป็นต้นพันธุ์สตรอเบอรี่เกษตรกรจะเลือกใช้ต้นพันธุ์ที่ผลิตมาจากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พืชที่ปราศจากเชื้อไวรัส เพราะสตรอเบอรี่ที่ติดไวรัสจะให้ผลผลิตต่ำ รูปทรงผลไม่สวย และไม่อร่อย สำหรับพืชผัก เช่น มะเขือเทศ เขาก็จะใช้วิธีเสียบยอดพันธุ์ดีบนต้นตอที่แข็งแรงและหาอาหารเก่ง ซึ่งเกษตรกรสามารถทําได้เองหรือใช้บริการจากหน่วยงานราชการที่หลายหน่วยงานให้บริการเสียบยอด โดยใช้หุ่นยนต์เสียบยอดแทนการใช้คน การเสียบยอดแบบนี้ ยังใช้กับพวก เมล่อน แตงกวาญี่ปุ่น แตงโม และมะเขือม่วงญี่ปุ่นอีกด้วย

โรงเรือนปลูกพืช… อุปสรรคสำคัญของการทำการเกษตรในประเทศญี่ปุ่นคือ สภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องพายุฝน ลมพัดกระหน่ำ ความหนาวเย็นและหิมะ โรงเรือนปลูกพืชคือตัวช่วยที่สำคัญที่สามารถป้องกันได้ทุกอย่าง ภายในโรงเรือนเกษตรกรสามารถควบคุมสภาพแวดล้อม เช่น แสง อุณหภูมิ ความชื้น แร่ธาตุอาหารได้ตามต้องการ พืชที่นิยมปลูกในโรงเรือนมีหลายชนิด เช่น สตรอเบอรี่ เมล่อน มะเขือเทศ และผักรับประทานใบอายุสั้น (ต้นหอม ผักสลัด ปวยเล้ง และมิซึบะ ซึ่งบางท่านเรียก ผักชีญี่ปุ่น) ส่วนวิธีการปลูกก็มีทั้งการปลูกโดยใช้ดิน และอีกแบบคือ การปลูกแบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรโปนิกส์) ในอดีตนานมาแล้ว เกษตรกรญี่ปุ่นก็ใช้โรงเรือนที่มีโครงสร้างจากไม้ไผ่เช่นกัน เมื่อประเทศมีความเจริญทางอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โครงสร้างโรงเรือนก็เปลี่ยนมาเป็นโลหะหรือวัสดุสังเคราะห์แบบต่างๆ

นอกจากนี้ ก็ยังมีการนำเทคโนโลยีโรงเรือนจากประเทศแถบยุโรป เช่น เนเธอร์แลนด์ มาประยุกต์ใช้ด้วย ซึ่งผู้เขียนขอกล่าวถึงเรื่องการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินในโรงเรือนของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพอจะสรุปได้เป็น 2 แบบ คือ

แบบที่ 1 เป็นการปลูกแบบใช้วัสดุพยุงรากไม่ให้ต้นโค่นล้ม เช่น ใช้เพอร์ไลต์หรือเวอร์มิคูไลต์ นิยมใช้กับพืชที่มีผล เช่น มะเขือเทศ สตรอเบอรี่ หรือเมล่อน แบบที่ 2 ก็คือ การปลูกแบบที่ระบบรากแช่ลงในสารละลายหรือรับสารละลายโดยตรง นิยมใช้กับพวกผักรับประทานใบ เช่น ผักสลัด ปวยเล้ง หรือต้นหอม ประโยชน์จากการปลูกพืชโดยวิธีนี้ก็คือ พืชจะตอบสนองต่อการปลูก เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ในกรณีของพืชผักรับประทานใบ เช่น ปวยเล้ง ก็สามารถเก็บผลผลิตได้รวดเร็วหลายรุ่น เมื่อเทียบกับการปลูกโดยใช้ดิน เกษตรกรญี่ปุ่นเชี่ยวชาญการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินมาก รวมทั้งเป็นเจ้าแห่งเทคโนโลยี จึงมีการนำอุปกรณ์ทุ่นแรงแบบต่างๆ มาช่วยงานของเกษตรกร เพื่อให้ทำงานได้ง่ายและรวดเร็ว

เช่น เกษตรกรรายหนึ่งของจังหวัดไซตามะ สมัคร M8BET ประสบปัญหาเรื่องแรงงาน จึงนําหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นแขนยาวๆ มาช่วยในการหยอดเมล็ดและปลูกต้นอ่อนผักมิซือบะในโรงเรือน ช่วยให้มีการผลิตสินค้าได้หลายตันต่อวัน และถึงแม้จะเป็นผู้นําในด้านเทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินของเอเชีย และติดอันดับโลกในเรื่องดังกล่าวก็ตาม นักวิจัยชาวญี่ปุ่นก็ยังไม่หยุดคิดเพื่อให้ผลผลิตมีมาตรฐานสูงขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น รายงานการเพิ่มผลผลิต มะเขือเทศที่ประเทศญี่ปุ่นผลิตได้ เฉลี่ยประมาณ 20 ถึง 25 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร เขาก็พยายามปรับปรุงวิธีการผลิตให้ดีขึ้นโดยพัฒนาหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องพันธุ์มะเขือเทศ การจัดการสภาพแวดล้อม การปรับปรุงสูตรธาตุอาหารในการปลูกเลี้ยง ผลปรากฏว่าสามารถเพิ่มผลผลิตได้มากถึง 50 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร

และอีกเรื่องหนึ่งคือ การปรับปรุงวิธีการปลูกพืชผักในสารละลายให้สามารถปลูกได้ในห้องที่มีผนังทึบหรือในอาคารสำนักงาน โดยเขาปลูกผักเป็นชั้นเรียงซ้อนเว้นระยะห่างกันขึ้นไปทางสูงติดหลอดไฟ แต่ละชั้นเพื่อให้พืชสังเคราะห์แสง ควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น และสภาพแวดล้อมที่จําเป็น ปรากฏว่าประสบความสำเร็จ ผักต่างๆเจริญเติบโตได้ดี วิธีการนี้ ทำให้คิดได้ว่า ในอนาคตอันใกล้ การผลิตพืชผักผลไม้ เช่น สตอเบอรี่ เมล่อน มะเขือเทศ หรือแม้แต่หน่อไม้ฝรั่งหรือผักรับประทานใบหลากหลายชนิด จะถูกผลิตด้วยระบบวิธีการแบบนี้ และสามารถพัฒนาวิธีการผลิตจนเลี้ยงดูประชากรในตึกหรือในอาคารได้อย่างเพียงพอ โดยที่มนุษย์ไม่ต้องออกไปไหน หรือนี่จะเป็นการปฏิวัติเขียวของมนุษยโลกอีกครั้งหนึ่งละกระมัง

สหกรณ์การเกษตร… เกษตรกรญี่ปุ่นส่วนใหญ่มากกว่า 90% จะเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร หรือ JA (Japan Agricultural Cooperation) ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสมาชิกเกษตรกรทั่วประเทศ จัดตั้งภายใต้กฎหมายสหกรณ์การเกษตร JA ทำหน้าที่รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกทั่วประเทศ จากนั้นจึงคัดแยกและจัดทำระบบส่งสินค้าไปสู่ตลาดขายส่ง การซื้อขายที่ตลาดขายส่งทำโดยระบบการประมูลสินค้า JA จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าดำเนินการเป็นส่วนแบ่งจากยอดขายสินค้า เปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลางนั่นเอง หน้าที่สำคัญของ JA มีทั้งเป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ผลผลิตที่เกษตรกรผลิตได้มีมาตรฐานสูง และต้องขายได้จริงเพื่อสร้างรายได้ที่ดีให้แก่เกษตรกรและเป็นผลดีต่อธุรกิจของ JA ด้วย นอกจากนี้ ยังดำเนินธุรกิจอีกหลายด้าน เช่น บริการขายปุ๋ยเคมี ขายอุปกรณ์การเกษตร คัดแยกและแปรรูปผลผลิต บริหารจัดการระบบการตลาด สินเชื่อ รับประกันภัย JA มีหน่วยงานครอบคลุมตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับจังหวัด และระดับประเทศ