เมื่อรับรู้ถึงความต้องการของคนในพื้นที่แล้ว โครงการพัฒนา

เหมืองต้นแบบโดยเอสซีจี เพื่อวิถีชุมชน ก็เริ่มเคลื่อนตัวสู่กระบวนการถัดมา คือการประสานความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและนักวิชาการ เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดำเนินการปรับเสถียรภาพบ่อให้เหมาะกับการกักเก็บน้ำ ควบคู่กับการดูแลคุณภาพน้ำกว่า 3 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้เหมาะสมกับการใช้ทำการเกษตร รวมทั้งยังมีการปลูกต้นไม้และดูแลงานภูมิสถาปัตย์ให้พื้นที่โดยรอบ โดยออกแบบพื้นที่ให้เป็นจุดชมวิวและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่มองเห็นบ่อน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยทุ่งนากว่า 100 ไร่ จากความทุ่มเทและความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน เพื่อที่จะขับเคลื่อนโครงการ “เหมืองลี้มีรัก” ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนสู่ชุมชน

“โจทย์ต่อไปคือ การสร้างความร่วมมือในชุมชนให้ช่วยกันดูแลแหล่งน้ำที่แห่งนี้ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ตลอดไป ผมต้องขอบคุณเอสซีจีที่ริเริ่มและลงมือทำอย่างจริงจัง ทำให้เราได้เห็นตัวอย่างว่า การจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน มีแนวทางอย่างไร และเรายังคาดหวังว่าการทำธุรกิจเหมืองแร่ที่เคยเป็นภาพลบในสายตาทุกคนจะหมดไป ด้วยการดึงชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานจนกระทั่งส่งมอบสู่ชุมชน ซึ่งจะเป็นบทสรุปที่ดีที่สุดของการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน บนแนวทางการสร้าง Green Mining หรือเครือข่ายเหมืองแร่สีเขียวให้เกิดขึ้น” อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานการเหมืองแร่ กล่าว

ปัจจุบัน “โครงการพัฒนาเหมืองต้นแบบ โดยเอสซีจี เพื่อวิถีชุมชน” มีพื้นที่กักเก็บน้ำในเหมืองขนาด 70 ไร่ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรให้กับชุมชนทั้งสิ้น 37 ครัวเรือน บนพื้นที่การเกษตร 104 ไร่ “เหมืองลี้มีรัก” จึงเป็นเสมือนตัวแทนของพลังแห่งความร่วมมือร่วมใจ ระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และชุมชน และถือเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม ด้วยการคิดเชิงบูรณาการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นรูปธรรม

ท่านที่เคารพครับ ปี 2559 นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แต่งตั้งปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จำนวน 3 สาขา ได้แก่ 1. คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สาขาปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง 2. คุณอัคระ ธิติถาวร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สาขาปราชญ์เกษตรดีเด่น 3. คุณอดิศร เหล่าสะพาน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สาขาปราชญ์เกษตรผู้นำชุมชนและเครือข่าย ซึ่งได้เข้ารับพระราชทานโล่รางวัลในพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัญแรกนาขวัญ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา

คุณคำพันธ์ เหล่าวงษี เกิดวันที่ 30 พฤษภาคม 2501 มีพี่น้องร่วมกัน 3 คน เป็นชายทั้ง 3 คน คุณคำพันธ์ เป็นคนที่ 3 จบการศึกษาชั้น ปวช. และ ปวส. วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม

ปัจจุบัน อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 บ้านดอนแดง ตำบลศรีสุข อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม สมรสกับ คุณบรรจง เหล่าวงษี (อี้ด) มีบุตร 3 คน หญิง 2 คน ชาย 1 คน อาชีพเกษตรกรรม

วิสัยทัศน์ คือ พัฒนาตน พัฒนาคน ขยายผล พัฒนาสังคม ระดมแนวคิดสู่เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญา คือ รู้ชาติตระกูลพงศ์เผ่า รู้เหล่าจักรวาลสรรค์สร้าง รู้คิดรู้ทำนำทาง รู้วางตนแต่พอดี ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง คู่เคียงภูมิปัญญาท้องที่ นำสู่ชีวิตสุขขี เกษตรกรเรานี้พึ่งตนได้เอย…

คติ คือ ทำให้ดีวันนี้ ดีกว่าทำวันข้างหน้า ทำวันละนิด ละนิด ดีกว่าคิด คิดว่าจะทำ ผลิตอาหารเพื่อกินให้เป็นยาในวันนี้ ดีกว่าจะกินยาเป็นอาหารในวันข้างหน้า เศรษฐกิจพอเพียง คือ “แนวทางสร้างอนาคตให้อยู่รอดอย่างยั่งยืน

แรงบันดาลใจ จากการสรุปบทเรียนของตน ได้ศึกษาดูงานเกษตรกรรมยั่งยืน และศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จุดเด่น ใช้ทรัพยากร ดิน น้ำ ที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด (เกษตรผสมผสาน 1 งาน 1 แสน)

สู้งานไม่เคยท้อ

ด้วยบรรพบุรุษเป็นเกษตรกร อาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน หนทางที่จะร่ำรวยหรือทำให้การดำรงชีพอย่างสุขสบายนั้นแทบไม่มีเลย จึงมีแนวคิดที่อยากจะเปลี่ยนอาชีพให้ดีกว่านี้ จึงดิ้นรนใฝ่หาความรู้ใส่ตัว

หลังเรียนจบ ป.4 ได้บวชเรียนธรรมวินัยพร้อมกับเรียนการศึกษาผู้ใหญ่ แล้วสิกขาเรียนต่อ พอเรียนอยู่ ม.ศ.1 พ่อเสียชีวิตจึงต้องช่วยตนเองหาเงินเรียนโดยการปลูกผักขายพอได้เงินใช้จ่ายในการเรียน (5-10 บาท/วัน)

จบ ม.ศ.3 ได้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชายคนโตเพื่อช่วยในการเรียน และเลือกเรียนสายอาชีพจะได้หางานทำง่าย ได้เข้าเรียนที่ วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม (ยังปลูกผักขายเหมือนเดิม) จบ ปวส. แผนกช่างกลโลหะ แล้วไม่มีโอกาสได้เรียนต่อเนื่องจากแม่ก็แก่ชรา พี่ก็ป่วย และอีกต่อมาไม่นานก็เสียชีวิตทั้งแม่และพี่ชาย จึงหางานทำที่กรุงเทพฯ (2525-2538) เป็นผู้ช่วยช่างอยู่ 2 ปี ได้ค่าแรง วันละ 90-120 บาท ปีที่ 3-5 ได้ตำแหน่งช่าง ได้ค่าแรง วันละ 150-180 บาท ปีที่ 5-7 ได้เป็นหัวหน้าช่างได้ค่าแรง วันละ 200-300 บาท ปีที่ 7-13 เป็นผู้จัดการ ได้ค่าแรงเดือนละ 12,000-15,000 บาท

แต่อยู่กรุงเทพฯ ภาระและเศรษฐกิจรัดตัว ค่าครองชีพสูง ลูกเรียน บ้านเช่า ข้าวซื้อ เงินที่ได้จากการทำงานไม่พอกับรายจ่าย จากปีแรกถึงปีที่ 4 เงินที่ได้กับรายจ่ายก็พอบ้างไม่พอบ้าง แต่ต่อมาเข้าปีที่ 5 เริ่มไม่พอจ่าย ภาระมากขึ้น ยิ่งลูกเรียน วันหนึ่งๆ ค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 500 บาท ค่าอาหาร ค่าขนมลูก เฉลี่ยวันละ 200 บาท ค่าน้ำ-ค่าไฟ เฉลี่ยเดือนละ 1,500 บาท ค่ารถรับ-ส่งลูกเรียน เดือนละ 1,800 บาท ค่าเทอมลูก เทอมละ 6,000 บาท/คน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ เฉลี่ยวันละ 100 บาท เป็นทุกข์มาก จึงได้ปรึกษากับภรรยา ลำพังอยู่ไปวันๆ ก็ไม่หนักใจเท่าไร แต่เรามองอนาคตไม่มีเลย ตัดสินใจกลับบ้านทำธุรกิจของตัวเอง เปิดโรงกลึง (ปี 2538-2540)

เห็นเขารวย “อยากจะรวย เหมือนเขา”

ด้วยเหตุที่ทำงานเงินไม่เหลือเก็บ จึงหาเงินลงทุน โดยเอาที่นาที่พ่อแม่แบ่งให้ทำกินไปจำนองกับนายทุน เพื่อนำเงินมาลงทุนเปิดโรงกลึง 3 ปีผ่านไป กลับยิ่งซ้ำเติมเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 งานไม่ค่อย มีเงินไม่เหลือใช้ เลิกกิจการหันมารับเหมาก่อสร้างทั่วไปอยู่ 4 ปี ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่มีสิทธิ์ส่งเงินคืนเจ้าหนี้ รวมเป็นหนี้ 200,000 บาท

การพัฒนาตนเอง และแรงบันดาลใจ

จากการสรุปบทเรียน การดำรงชีพที่ล้มเหลวที่ผ่านมา จากการศึกษาดูงานการทำเกษตรในระบบเกษตรกรรมยั่งยืนและจากการศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาสรุปบทเรียน/วิเคราะห์ตัวเอง เพื่อหาแนวทางการดำเนินชีวิต

อดีต ที่บรรพบุรุษได้ดำเนินชีวิตมา ท่านไม่เคยมีหนี้ ท่านมีข้าวมีผักมีปลา-กบ เป็นอาหารกินอย่างพอเพียง มีบ้านอยู่มีเสื้อผ้าใส่ รู้จักหาพืชสมุนไพรใช้รักษาโรคเมื่อเจ็บป่วย ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยใส่พืชผัก และผลิตอาหารเองแทบจะไม่ต้องซื้อ ครอบครัวก็มีความสุขมีความอบอุ่นมีความเอื้ออาทรต่อเพื่อนบ้าน มีความสามัคคีเข้าใจกับทุกคน ถึงไม่รวยดูเหมือนว่าท่านไม่มีทุกข์ใดๆ ส่วนตัวเองพยายามจะเปลี่ยนอาชีพ เปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ แต่กลับจน เป็นหนี้ ไม่มีบ้านอยู่อาศัย ลูกไม่มีอนาคต หมดหนทางที่จะก้าวต่อไป “ตัดสินใจเลิกกิจการมาทำตามรอยของท่าน”

ในช่วงรับเหมา ปี 2541 กลับมาทำเกษตรตามรอยของท่านโดยได้เช่าที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ทำกินและได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกเป็นองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งได้ส่งเสริมให้สมาชิกทำเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเอง จึงมีโอกาสได้อบรมเรียนรู้ ศึกษาดูงานในการทำเกษตรในระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ได้ทั้งแนวคิด/ประสบการณ์และได้รับรู้จากการศึกษาแนวพระราชดำริ “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”จากโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทางสำนักงานเกษตรอำเภอกันทรวิชัยได้คัดเลือกโครงการให้เกษตรกรในเขตตำบลศรีสุข จำนวน 2 แห่ง พร้อมกับจากหน่วยงานรัฐ ที่ได้ร่วมสนับสนุนส่งเสริมในการพัฒนาการเกษตรด้านวิชาการหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ นับว่าเป็นจุดหนึ่งที่เป็นแรงบันดาลใจพร้อมที่จะนำพระราชดำริมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง

ปี 2544 เจ้าหนี้กดดัน ให้หาเงินคืน ถ้าไม่คืนจะยึดที่ ตัดสินใจขายที่นาใช้หนี้ให้หมด มีเงินคงเหลืออยู่ 30,000 บาท ขอเช่าซื้อที่แปลงนี้ มีเนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน ราคา 200,000 บาท โดยวางเงินที่มีก่อนและขอผ่อนรายปี ไม่เกิน 10 ปี ปี 2545 จึงได้เริ่มดำเนินกิจกรรมทำการเกษตร โดยยึดตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่

พื้นที่น้อยแต่ย่อตามส่วน

ดังนี้ 1. จัดเป็นที่อยู่อาศัย 1 ไร่ 2. ขุดสระ 3 บ่อ ไว้เก็บน้ำใช้ในการเกษตร 2.5 ไร่ 3. ปลูกไม้ผล/ไม้ยืนต้นตามคันคูและคันแดนรอบ 1.5 ไร่ 4. ผัก 2 งาน และ 5. นาข้าว 1 ไร่

เริ่มต้นที่ดำเนินการ ไม่มีทุนดำเนินการต้องกู้ ยอมเป็นหนี้อีก (50,000 บาท) ดินไม่ดี สภาพดินเค็ม เป็นที่ดอนไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือระบบชลประทานผ่าน ไม่มีไฟฟ้า-ประปาใช้ ไม่มีรายได้อื่นที่จะมาจุนเจือครอบครัว แนวทางสู่การพัฒนา จากที่ได้ศึกษาดูงาน อบรม ฝึกปฏิบัติจริง ค้นคว้า ลองผิดลองถูก จึงได้พยายามขยันหมั่นเพียร ไม่ท้อต่ออุปสรรค สร้างเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ และสร้างการมีส่วนร่วมในครอบครัวประชุมครอบครัวเพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความสามัคคี เสนอความคิดเห็น แก้ปัญหาร่วมกันสรุปบทเรียน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงการดำเนินชีวิตที่ผ่านมาจากอดีต-ปัจจุบันว่าอะไรเป็นอย่างไรวิเคราะห์ตนเอง/ครอบครัว เพื่อให้รู้ว่าแต่ละคนมีอะไรดี อะไรไม่ดี สิ่งที่ไม่ดีแก้ไขอย่างไร สิ่งที่ดีจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

สร้างโอกาส เพื่อหาช่องทางสร้างประโยชน์ให้กับครอบครัว (เช่น ประชาชนส่วนใหญ่ซื้ออาหารกิน ก็ผลิตอาหารขายให้ประชาชน เกษตรกรส่วนมากซื้อพันธุ์พืช/พันธุ์ผักปลูก เป็นต้น) วางแผนชีวิต วางแผนการผลิต วางแผนการตลาด จะต้องทันเหตุการณ์ จัดหาแหล่งจำหน่าย และสร้างความมั่นใจกับผู้บริโภค สร้างเครือข่ายกลุ่มผู้ผลิต เปิดตลาดของกลุ่มเอง

ผลที่ได้จากการตัดสินใจสู่ความพอเพียง

จากปีแรก-ปีที่ 3 ครอบครัวพออยู่ พอกิน ยังไม่มีเงินเก็บใช้หนี้ (มีอาหารพอเพียง มีผู้เอาเงินมาให้ทุกวันจากการขายผลผลิต 50-200 บาท) หลังจากนั้น ก็เริ่มมีเหลือเก็บออม ถึงปีที่ 6 ก็นำเงินที่เก็บได้ใช้หนี้หมด พร้อมกับสร้างบ้านอยู่อาศัย อีกต่อมา 3 ปี ได้ซื้อที่นาอีกแปลง เนื้อที่ 7 ไร่ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง ลูกได้มีโอกาสเรียนทุกคน มีงานทำ รายได้เฉลี่ยของครอบครัว 300,000 บาท/ปี และเป็นแบบอย่างเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานกับเกษตรกร/นักเรียน/นิสิต/นักศึกษาและผู้สนใจในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และได้รับเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้อบรมถ่ายทอดองค์ความรู้จากนั้นเป็นต้นมา (2549-2550 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน 2551, ปัจจุบัน ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน)

ปัจจุบันทำการเกษตรหลายอย่าง อาทิ การทำนาด้วยกล้ากลีบเดียว การปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ ผลิตพืชปลอดสารพิษ เพาะเห็ด เลี้ยงปลา เลี้ยงเป็ด ไก่ สุกร การเกษตร 1 งาน 1 แสน (การเพาะกล้าผักขายโดยกรอกถุงดินเวลากลางคืน 1-2 ชั่วโมง ก็สามารถทำเงิน 1,000-2,000 บาท) เป็นต้น

ท่านที่เคารพครับ นี่เป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติของปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน หากท่านใดสนใจอยากจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ติดต่อได้ที่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จัดงานฝึกอบรมการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินรุ่นพิเศษ เรื่อง การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแนวใหม่ที่มีการใช้น้ำและปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพ ณ คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. และโรงเรือนทดลอง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ โดยการอบรมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาระบบปลูกพืชอย่างแม่นยำในโรงเรือนเพื่อปลูกผักและพรรณไม้น้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ย” ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายเกษตร สกว.

ปัจจุบันการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ไฮโดรโพนิกส์” เป็นระบบการปลูกพืชประเภทหนึ่ง ที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทั้งการปลูกเป็นการค้าในรูปแบบฟาร์มขนาดใหญ่ที่มีระบบโรงเรือนปิดที่ทันสมัย การปลูกเป็นฟาร์มขนาดกลางในโรงเรือนเปิดหรือกลางแจ้ง จนถึงการปลูกเพื่อการอุปโภคในครัวเรือน รศ.ดร.พรหมมาศ คูหากาญจน์ นักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล. หัวหน้าโครงการวิจัย เผยถึงเหตุผลสำคัญที่ทำให้ระบบการปลูกพืชชนิดนี้มีการขยายตัวอย่างกว้างขวางว่า มีสาเหตุมาจาก 2 ภาคส่วนคือ 1.ผู้บริโภค พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันคำนึงสุขภาพเป็นสำคัญ จึงเลือกบริโภคผักที่มีราคาสูงกว่าแต่มีความปลอดภัยมากขึ้น 2.ผู้ผลิต ผู้ผลิตในปัจจุบันไม่อยากตกอยู่ในความเสี่ยง ที่การผลิต ที่ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน และเปิดใจรับเทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ที่เป็นการทำเกษตรแบบแม่นยำมากขึ้น เพราะใช้ปัจจัยการผลิตได้คุ้มค่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดย วิธีการปลูกพืช แบบไฮโดรโพนิกส์ มีหลายแบบแต่ หัวใจสำคัญของการปลูกพืชวิธีนี้ คือ “สารละลายธาตุอาหาร” ซึ่งจะมีการคำนวณองค์ประกอบของแร่ธาตุในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของพืช

ด้าน รศ.ดร.อิทธิสุนทร นันทกิจ นักวิจัยจากชุดโครงการนี้ กล่าวว่า คณะนักวิจัย ได้ทดลองปลูกพืชที่โรงเรือนทดลองใน อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยวิธี 4 ระบบปลูก คือ 1) การปลูกผักสลัดในระบบ NFT หรือ การปล่อยให้สารละลายธาตุอาหารไหลไปในรางปลูกที่มีความลึกประมาณ 0.5 ซม. 2) การปลูกผักไทยในระบบ DRFT (ระบบที่มีการทำงานเช่นเดียวกับระบบ NFT แต่ระดับน้ำที่ไหลผ่านรากพืชนั้นลึกมากกว่าระบบ NFT คือ มีความลึกอยู่ที่ประมาณ 1 – 10 ซม.) ในที่นี้ ทดลองปลูกคะน้า 3) การปลูกเมล่อนในวัสดุปลูก และ 4) การปลูกแปลงข้าวโพดในดิน โดยในแปลงทดลองนี้ มีการส่งต่อสารละลายธาตุอาหารจากแปลงผักสลัด ไปยังผักคะน้า และมีการส่งต่อไปยังแปลงเมลอนและข้าวโพด นับเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้น้ำและปุ๋ยเพิ่มขึ้น โดยการนำสารละลายธาตุอาหารที่ใช้แล้วในแต่ละระบบกลับมาใช้ซ้ำในระบบปลูกถัดไปจนกระทั่งถึงระบบปลูกสุดท้ายที่เป็นแปลงปลูกพืชในดิน

ทั้งนี้ตามปกติแล้วในระบบปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแต่ละระบบ จะมีการหมุนเวียนนำสารละลายกลับไปใช้ใหม่ให้แก่ต้นพืช ซึ่งเป็นการใช้น้ำและปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการปลูกพืชในดินอยู่แล้ว ดังนั้นสารละลายธาตุอาหารจึงถูกนำไปให้แก่ต้นพืช โดยแต่ละขั้นตอนของการนำกลับไปใช้ ต้องมีกระบวนการจัดสารละลายธาตุอาหารอย่างเหมาะสม มีการคำนวณปรับสูตรอย่างแม่นยำเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพืช รวมไปถึงมีการออกแบบระบบให้ใช้สารละลายอย่างต่อเนื่องเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบปลูกหรือการจัดการอย่างแม่นยำโดยไม่เกิดการสูญเปล่า

ยูคาลิปตัส เป็นไม้โตเร็ว มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย ปัจจุบัน ภาคเอกชนของไทยได้พัฒนาพันธุ์ออกมาให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป เช่น ทำเสาเข็ม นั่งร้านในการก่อสร้าง เพื่อผลิตเยื่อกระดาษ ทำโครงสร้างหลักของบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่งเครื่องจักรและสุขภัณฑ์ต่างๆ ที่สำคัญปรับปรุงพันธุ์สำหรับทำพื้นปาร์เก้ต์ของอาคารบ้านเรือนและสำนักงาน

ตัวชี้วัด ที่ช่วยในการตัดสินใจร่วมโครงการ อันดับแรก พื้นที่ใช้ปลูก ควรเป็นที่ว่างเปล่า ไม่มีการใช้ประโยชน์ใดๆ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และอยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำ และ

อันดับต่อไป เงื่อนไขที่ตกลงกัน ให้ศึกษาอย่างละเอียด ผมทราบมาว่า บริษัทจะจัดหาต้นพันธุ์ให้ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่มาให้คำแนะนำตลอดอายุการปลูก 1 รอบ เป็นเวลา 4 ปี จึงมีการตัดฟัน โดยบริษัทจะรับซื้อคืนทั้งหมด ในราคาที่ตกลงกันไว้ แล้วหักค่าใช้จ่ายทั้งราคาต้นกล้าและปัจจัยการผลิตอื่นๆ หากอยู่ในเงื่อนไขดังกล่าว ก็โอเค กล้วยน้ำว้าจัดเป็นกล้วยพื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย โดยนิยมปลูกเพื่อรับประทานผลสุก ส่วนผลดิบจะนำมาแปรรูป และส่วนต่างๆนำมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะใบตองจะห่ออาหาร ปลีกล้วยและหยวกกล้วย ยังนำมาปรุงเป็นอาหารได้อีกด้วย

คุณอิทธิกร จันทร์น้อย หรือคุณนุ เจ้าของสวนกล้วยน้ำว้าพื้นที่กว่า 30 ไร่ ที่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา บอกว่า เหตุที่มาสนใจปลูกกล้วยเนื่องจาก มองว่า กล้วยน้ำว้า คือวัฒนธรรมของคนไทย ตั้งแต่เกิดจนตาย มีกล้วยน้ำว้าเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา และที่สำคัญกล้วยน้ำว้าปลูกไม่ยาก ถ้ารู้วิธีจัดการ แถมปลูกครั้งหนึ่ง เก็บเกี่ยวได้ 4-5 ปี

และเหตุที่เลือก กล้วยน้ำว้าสายพันธุ์ ปากช่อง 50 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ผ่านการวิจัย มาจากสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน คือมีความโดดเด่นในเรื่องการให้ผลผลิต จำนวนหวีมากกว่า และผลใหญ่กว่า สายพันธุ์อื่น

การปลูกกล้วยน้ำว้าปากช่อง 50 สิ่งที่ต้องใส่ใจคือ การดูแลรักษา เนื่องจากกล้วยเป็นไม้ผลที่ตอบสนอง กับสภาพอากาศ ดิน และปุ๋ยเป็นอย่างมาก หากการดูแลรักษาไม่ดี ขาดน้ำ ขาดปุ๋ย หรือสภาพพื้นที่แห้งแล้งเกินไป ผลผลิตก็จะลดลง

“จริงๆ กล้วยน้ำว้าพันธุ์นี้ ปลูกได้ ปลูกได้ทุกที่ ทุกสภาพอากสาศ แต่การเจริญจะแตกต่างกัน อยู่ที่ดิน น้ำอากาศ

กล้วยพันธุ์นี้ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ชอบร้อน ไม่ชอบหนาว ถ้าหนาวจะชะงักการเจริญเติบโต น้ำคือปัจัยหลัก เพราะในกล้วย 1 ต้น มีน้ำเป็นส่วนประกอบ 70-80 เปอร์เซ็นต์เข้าไปแล้ว”

สำหรับการปลูก ขุดกว้าง คูณยาว 50 คูณ 50 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 4 คูณ 4 เมตร เลือกหน่อที่มีใบดาบคือ ใบยังไม่คลี่ออกเต็มที่

กล้วยน้ำว้าปากช่อง50 ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้ 4-5 ปี พื้นที่ 1 ไร่ จะปลูกได้ 100 ต้น โดย 1 กอ จะปล่อยหน่อที่สมบูรณ์ไว้ประมาณ 5 หน่อต่อกอต่อปี

ส่วนการให้น้ำ และให้ปุ๋ย ถ้าเป็นช่วงหน้าฝน ก็ไม่ต้องให้ แต่ถ้าเป็นหน้าแล้ง ต้องให้ทุกวัน ถ้าดินชื้นดี ก็ทุกสัปดาห์ ส่วนปุ๋ให้ทุกเดือนเดือนละครั้งให้น้อยแต่ให้บ่อย มาถึงต้นทุนการผลิต ใน พื้นที่ 1 ไร่ ต้นทุน ค่าต้นพันธุ์ 5000 บาท ค่าเตรียมดิน 2000-3000 บาท ค่าระบบน้ำ 3000 บาท รวมแล้ว ค่าลงทุน ถ้าเป็นเลขกลมๆ ก็ราวๆ 10,000 บาทต่อไร่

คุณนุ บอกว่า ถ้าเราปลูกน้อย เราจะไม่มีข้อต่อรองกับแม่ค้า ถ้าปลูกเยอะจะมีพลังในการต่อรอง

สำหรับการเก็บเกี่ยวผลผลิต หลังจากที่ต้นกล้วยแทงปลีแล้ว 120 วัน ผลกล้วยจะแก่กำลังดี โดย 1 เครือ น้ำหนักเฉลี่ย 20 – 30 กิโลกรัม เครือละ 12-14 หวี ให้ผลต่อหวีประมาณ 16-18 ผล คุณนุ บอกว่า “ผลผลิตต่อปี ในหนึ่ง 1 กอ (5 ต้น) จะได้ 5 เครือ 1 เครือได้ 20 กก. ๆ ละ 17 บาท ราคานี้ยิ้มเลย” ส่วนใบกล้วย คุณนุ ไม่ได้ขาย โดยให้เหตุผลว่า ถ้าขายใบ แม่ค้าจะตัดใบจนโกร๋น ทำให้ต้นไม่สมบูรณ์ ไม่มีใบสังเคราะห์แสง แต่ก็ต้องตกแต่งใบออกทุกเดือน

“เราขายหน่อโดยเน้นให้ เกษตรกรมาดูที่สวนโดยตรง ให้มาดูการจัดการของเรา และเรารับประกันว่า หน่อกล้วยของเราจะไม่มีโรคติดไป” เนื่องจากปัจจุบันกระแสกล้วยกำลังมาแรงและเป็นที่นิยมจึงมีคำถามว่าถ้าปลูกแล้วจะขายที่ไหนหรือทำตลาดอย่างไร

คุณนุ บอกว่า “การทำการตลาด ทุกวันนี้ง่าย มีโลกโซเชียลในเมือ มีเพจคนรักกล้วย ซึ่งมีทั้งแม่ค้าและเกษตรกร รวมตัวกันอยู่เป็นหมื่นคน อีกทั้งเราต้องไปสอบถามในตลาดใหญ่ๆ อย่างตลาดไท ตลาดปากช่อง อะไรพวกนี้ แต่บอกเลยช่วงนี้ ขอให้มีเถอะ ขายได้หมด” คุณนุ แนะนำสำหรับคนที่สนใจ ว่า “นอกจากเงินทุนแล้ว ต้องมีเวลา และสภาพดินดี ถ้าดินไม่ดี น้ำไม่มี อย่าปลูกเลยเสียเวลา ส่วนใครที่ทำงานออฟฟิศก็ปลูกได้ เสาร์อาทิตย์ก็ไปดูแล ปลูกกล้วย นี่ไม่กล้วยสมชื่อนะครับ ต้องดูแลเค้า”

ที่ผ่านมา เกษตรกรส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกับการปลูกพืชไร่ทางเลือกหลักเพียง 3 ชนิด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย ซึ่งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ส่วนมันสำปะหลัง นำไปผลิตเป็นแป้งมัน เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ และส่งออกเป็นบางส่วน สำหรับอ้อยนำไปผลิตเป็นน้ำตาลสูงได้ถึง 11.3 ล้านตัน และใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ประมาณ 2.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือถูกส่งออกไปขายต่างประเทศ

ปัจจุบัน เมืองไทยมีพืชไร่ตัวเลือกใหม่ คือ “หญ้าเนเปียร์” ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองของหลายฝ่ายว่า หญ้าเนเปียร์ น่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างความร่ำรวยให้แก่เกษตรกรไทยได้ในอนาคต เพราะเกษตรกรสามารถขายหญ้าเนเปียร์ได้ถึง 2 ช่องทาง คือเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในกลุ่มสัตว์บก สัตว์ปีก สัตว์น้ำ ได้แล้ว ยังใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมพลังงานได้อีก โดยใช้หญ้าเนเปียร์หมักร่วมกับมูลสัตว์ ทำให้เกิด “พลังงานชีวภาพ” นำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม และผลิตกระแสไฟฟ้า

โอกาสทางการตลาด ของ “หญ้าเนเปียร์”

เมื่อเร็วๆ นี้ สภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ร่วมกับสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย และอิมแพค เมืองทองธานี จัดเสวนาเกี่ยวกับศักยภาพการตลาดของหญ้าเนเปียร์ โดยเชิญตัวแทนเกษตรกร ได้แก่ คุณสันติ เรืองทวีผล คุณอนันต์ พานิชสมัย และกลุ่มนักวิชาการ ได้แก่ คุณสรยุทธ วินิจฉัย และ ดร. ไกรลาศ เขียวทอง นักวิชาการกรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นผู้วิจัยหญ้าสายพันธุ์เนเปียร์ ปากช่อง 1 มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับหญ้าเนเปียร์หลากหลายแง่มุม เพื่อให้เกษตรกรไทยได้รู้จักกับพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่นี้มากขึ้น

คุณสันติ เรืองทวีผล เจ้าของกิจการ “สันติฟาร์ม” ฟาร์มบราห์มันมาตรฐานของเมืองโคราช ตั้งอยู่ เลขที่ 197/1 หมู่ที่ 3 ตำบลลาดบัวขาว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา 30340 โทร. (081) 955-3549 การันตีว่า หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 ปลูกดูแลง่าย เพราะเป็นหญ้าลูกผสมที่เกิดจากการคัดเลือก ปรับปรุงพันธุ์จากสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง จนได้สายพันธุ์หญ้าลูกผสม ที่มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ย เหมาะสำหรับการปลูกเพื่อตัดสดเลี้ยงโค กระบือ

คุณอนันต์ พานิชสมัย เกษตรกรที่ร่ำรวยจากการปลูก “หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1” ในพื้นที่อำเภอปากช่อง กล่าวว่า ผมได้สายพันธุ์หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มาจาก ดร. ไกรลาศ ผมเชื่อว่า หญ้าเนเปียร์ มีคุณภาพดีที่สุดในโลก เพราะหญ้าชนิดนี้ไม่ได้เป็นแค่อาหารเลี้ยงโคเท่านั้น สามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ได้หลายชนิด เช่น โคนม โคเนื้อ ประมง ไก่ สุกร ฯลฯ ที่ผ่านมา ซีพี เลี้ยงห่าน ในอำเภอโชคชัย 4,000 ตัว ก็ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นอาหารเลี้ยงห่าน โดยนำหญ้าเนเปียร์บดผสมกับรำข้าว เมนูนี้ห่านชอบมาก แถมเติบโตเร็วอีกต่างหาก เพราะหญ้าเนเปียร์มีวิตามินที่เป็นประโยชน์หลายชนิด

โดยทั่วไป หญ้าเนเปียร์ ขายในราคากิโลกรัมละ 1.60 บาท แต่ฤดูแล้งปีนี้ รัฐบาลห้ามปลูกข้าวนาปรัง ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนฟางก้อนสำหรับใช้เลี้ยงสัตว์ ผมสามารถขายหญ้าเนเปียร์ได้ราคาสูงกว่า 2 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนช่วงฤดูฝน ฟาร์มปศุสัตว์ส่วนใหญ่นิยมใช้หญ้าสดตามธรรมชาติเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์แทน ทำให้ตลาดมีความต้องการใช้หญ้าเนเปียร์น้อยลง ผมก็หันมาผลิตหญ้าเนเปียร์ส่งขายโรงไฟฟ้าชีวมวล ในเครือกิจการดับเบิ้ลเอ ที่ตั้งอยู่ในอำเภอโชคชัย ในราคา ตันละ 700 บาท

คุณอนันต์ แนะนำว่า หากใครมีทำเลที่ตั้งแปลงปลูกหญ้าอยู่ใกล้กับแหล่งเลี้ยงโคนม สหกรณ์โคเนื้อ ฯลฯ ควรปลูกหญ้าเนเปียร์ต้นอ่อน ส่งขายให้กับฟาร์มปศุสัตว์ในท้องถิ่น นอกจากนี้ เกษตรกรยังสามารถปลูกหญ้าเนเปียร์ป้อนโรงไฟฟ้าชีวภาพ โรงไฟฟ้าชีวมวล ได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ควรเน้นตัดหญ้าต้นแก่ เพื่อป้อนขายโรงงาน ในราคาเฉลี่ยขั้นต้น ไม่ต่ำกว่า ตันละ 700 บาท

“หญ้าเนเปียร์” ปลูกดูแลง่าย

ที่ผ่านมา บริษัท คอร์นโปรดักส์ (ประเทศไทย) จำกัด UFABET และศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์นครราชสีมา ตั้งอยู่ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ได้ร่วมกันศึกษา วิจัย และพัฒนาการผลิตและใช้ประโยชน์หญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 พบว่า การใช้น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลัง มาผลิตหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 มีความเหมาะสมอย่างยิ่ง ในการผลิตพืชอาหารสัตว์ และการลดมลภาวะ

ลักษณะทั่วไปของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1 เป็นพันธุ์หญ้าอาหารสัตว์ที่มีอายุหลายปี ทรงต้นเป็นกอตั้งตรง สูงประมาณ 2-4 เมตร แตกกอดี มีระบบรากแข็งแรง ชอบดินที่มีการน้ำระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์ ผลผลิตสูง สัตว์ชอบกิน มีคุณค่าทางอาหารสูง โปรตีนหยาบ ประมาณ 10-12% ที่อายุการตัด 60 วัน และทำหญ้าหมักได้ดี ขยายพันธุ์โดยใช้ท่อนพันธุ์ เป็นหญ้าที่ไม่ติดเมล็ด จึงไม่เสี่ยงต่อการเป็นวัชพืช