เมื่อวานนี้ไปเดินที่ศูนย์การค้า Mall ที่ใกล้ๆ บ้าน ซึ่งก็เหมือนกับ

ที่เคยพูดไว้ว่าMall ที่ไหนๆ ก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน ยกเว้น Mall ใหญ่ๆ เช่น Mall of America ปกติจะเป็นตึกใหญ่ๆ 2-3 ชั้น ถ้ามี 3 ชั้น หมายความว่ามีชั้นใต้ดิน ร้านที่อยู่ใน Mall ก็คล้ายๆ กัน โดยเฉพาะร้านขายเสื้อผ้า เครื่องสำอาง และสิ่งของใช้ประจำวัน คือ Sears, J C Penny หรือ Macy’s และร้านประกอบอื่นๆ ตามทางเดินชั้นล่างจะมีการจัดพื้นที่ให้เป็นลานเด็กๆ มีเครื่องเล่นหลายชิ้นให้เด็กๆ มาวิ่งเล่นกัน ร้านอาหารมีประปราย

ปัจจุบันมีอาหารไทย อาหารจีนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย สำหรับร้านอาหารแบบศูนย์อาหารนี้ สะอาดมากๆ อาหารรสอร่อย (แบบฝรั่ง) และมีคุณภาพ ห้องน้ำสะอาด กินแล้วต้องเก็บทำความสะอาดเอง ซึ่งล้วนแต่คนกินที่มีความรับผิดชอบ เก็บภาชนะ (ที่เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง) และทำความสะอาดโต๊ะให้คนต่อไปได้ใช้ ปกติ ที่ Mall นี้ อยู่นอกเมืองและผู้คนไม่แน่น มีที่จอดรถกว้างขวางมาก ไปมาสะดวก หน้า MALL นั้นการจราจรไม่ติดขัดแต่อย่างใด

ก่อนกลับบ้าน ไปแวะที่ ROSS ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน ที่นั่นขายเสื้อผ้าทั้งหญิง ชาย และเด็ก แต่เน้นทางผู้หญิงเป็นของถูก ที่มีคนมาซื้อเยอะ ได้เดินดูลาดเลา แต่คิดว่าคงไม่ได้ซื้ออะไร เพราะถ้าซื้อเสื้อผ้า ของใช้ ไปใส่ ทั้งๆ ที่ของเดิมก็มีอยู่มาก จะไม่จำเป็น ใส่ๆ อะไรไป หน้าตาก็เหี่ยวย่นเหมือนเดิม และที่นี่คงไม่ใช่ร้านซื้อของฝาก เพราะของใช้ไม่ต่างกับที่บ้านเราที่มีทั่วไป

จนถึงตอนเย็น ประมาณ 2 ทุ่มที่ยังไม่มืด กินข้าวกันแล้ว ไปเดินออกกำลังกัน อากาศดีมาก เมื่อวานนี้ เป็นวันอาทิตย์ที่สบายๆ เป็นการพักผ่อนกับลูกหลานที่หาโอกาสแบบนี้ไม่ได้มากนัก และเราจะมาอยู่ให้นานๆ ก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนที่นี่ ต้องกลับบ้านเรา ด้วยภารกิจที่ทำมานาน สวัสดีครับ

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้โครงสร้างใหม่ โดยมีความกังวลในหลักการปฏิบัติในประเด็นการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถตกลงกันได้ อยากให้รัฐเร่งหาข้อยุติ หลังจากที่เสนอใช้ราคาน้ำตาลลอนดอนนัมเบอร์ไฟว์ บวกกับไทยพรีเมียม เป็นสูตรคำนวณเพื่อคำนวณราคาแนะนำในการใช้กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น จากเดิมที่เคยใช้ราคาน้ำตาลทรายดิบ โควต้า ข. อัตราแลกเปลี่ยนเพื่อคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำที่ 13.50-14.00 เซ็นต์ ต่อปอนด์ เท่านั้น และเมื่อบวกกับค่าไทยพรีเมียม จะทำให้ราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูการผลิตปี 2560/61 เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณตันละ 850 บาท ซึ่งต่ำจากปีก่อน ทำให้ชาวไร่ได้รับผลกระทบไม่คุ้ม ประกอบกับภายใต้โครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ จะไม่อุดหนุนราคาอ้อยที่ตันละ 160 บาท อีกต่อไป

“กังวลว่าสำนักงานงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย หรือ สอน. จะสรุปสูตรคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นไม่ทันก่อนการเปิดหีบอ้อย หากมีความล่าช้า ย่อมส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยรวมทั้งระบบทั้งหมด” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

อึ้งหนัก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคสุ่มตรวจ”ช็อกโกแลต” 19 ชนิด พบ 18 ชนิดปนเปื้อน “ตะกั่ว แคดเมียม”

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ที่สำนักงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค นางสาวสารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ แถลงข่าวผลทดสอบการปนเปื้อนโลหะหนัก 2 ชนิด ได้แก่ แคดเมียม และตะกั่ว ในช็อกโกแลต 19 ตัวอย่าง ที่เป็นที่นิยมในตลาดทั้งผลิตในประเทศและนำเข้า โดยสุ่มเก็บตัวอย่างในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2560 แบ่งเป็น ดาร์กช็อกโกแลต 10 ตัวอย่าง และช็อกโกแลต อื่นๆ 9 ตัวอย่าง ผลการทดสอบมีเพียงตัวอย่างเดียว ที่ไม่พบตะกั่วและแคดเมียมเลย คือ ลินด์ สวิส คลาสสิก ไวต์ ช็อกโกแลต ขณะที่อีก 18 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของตะกั่ว และ/หรือแคดเมียม ดังนี้ 1. พบการปนเปื้อนทั้งแคดเมียมและตะกั่ว 8 ตัวอย่าง 2. พบการปนเปื้อนเฉพาะแคดเมียม 10 ตัวอย่าง แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานในต่างประเทศ

นางสาวสารี กล่าวว่า แม้จะไม่มีตัวอย่างใดพบการตกค้างตะกั่วจนเกินค่ามาตรฐาน แต่จากการอ่านฉลากพบว่า มี 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีการแสดงฉลากเป็นภาษาไทย และไม่มีการแสดงเลขสารบบอาหาร ซึ่งทั้งสองตัวอย่างผลิตในประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ การไม่แสดงฉลากภาษาไทยเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 6 (10) และมีโทษตามมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 คือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท ส่วนการไม่แสดงเลขสารบบอาหาร มีความเป็นไปได้ว่านำเข้าอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีบทลงโทษคือ มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้ปริมาณสารตะกั่วที่ตรวจพบในช็อกโกแลตต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม (มก./กก.) หากเป็นช็อกโกแลตชนิดไม่หวาน ได้ไม่เกิน 2 มก./กก. แต่ แคดเมียมในช็อกโกแลตนั้น ประเทศไทยยังไม่ได้กำหนดเกณฑ์เอาไว้

นางสาวอัฏฐพร ฤทธิชาติ นักวิชาการ มูลนิธิบูรณะนิเวศ การได้รับสารตะกั่วและสารแคดเมียม ในระยะยาวจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มทารกในครรภ์และเด็ก ซึ่งสารโลหะหนักทั้ง 2 ชนิดนี้จะส่งผลเสียหายต่อการเจริญเติบโตของระบบประสาทและพัฒนาการทางสมองของเด็กที่คล้ายกัน กล่าวคือ ทำให้ระดับสติปัญญาด้อยลง ผลการเรียนตกต่ำ สมาธิสั้น และก้าวร้าว และก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ของร่างกายด้วย เช่น ระบบสืบพันธุ์ ตับ ไต และระบบการสร้างเม็ดเลือด

เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม นายปิยะ ปิจนำ นายอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมการต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาเที่ยวงานเทศกาลออกพรรษา “บั้งไฟพญานาคโลก” ระหว่างวันที่ 4-11 ตุลาคม และชมปรากฏการณ์ “บั้งไฟพญานาค” ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ ว่าขณะนี้มีการติดตั้งเวทีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในส่วนของการจัดสร้างพญานาคองค์ใหญ่ ชื่อว่า “องค์พิสัยศรีสัตนาคราช” เป็นพญานาค 7 เศียร สูง 16 เมตร ยาว 45 เมตร ขณะนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ในส่วนของอำเภอได้มีการประชุมกับทุกๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการทุกด้าน โดยเรื่องความสงบเรียบร้อย จะมีเจ้าหน้าที่ 2,000 กว่านาย ประจำทุกจุดริมโขง รวมทั้งมีจุดบริการประชาชนและนักท่องเที่ยว ไว้ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว

ด้าน นายกองตรีธวัชชัย กงเพชร ผู้บังคับกองร้อยอาสารักษาดินแดน จังหวัดหนองคาย ได้นำเจ้าหน้าที่ อส.จัดเตรียมที่นอน หมอน ผ้าห่ม และกางเต็นท์ ไว้ให้บริการประชาชนนักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษาโดยได้จัดเตรียมที่นอนไว้ 50 ชุด รองรับนักท่องเที่ยวได้ใช้บริการ นอกจากนี้ยังจัดเจ้าหน้าที่ไว้ดูแลความปลอดภัย มีสถานที่จอดรถกว้างขวาง รวมถึงห้องน้ำและห้องประกอบอาหารไว้ให้ด้วย สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 500 คน

ผู้นำป่าชุมชน น้อมนำศาสตร์พระราชา บริหารจัดการน้ำแก้ปัญหาอุทกภัย

ราชบุรีโฮลดิ้ง– กรมป่าไม้ ร่วมขับเคลื่อนเครือข่ายคนรักษ์ป่าปีที่ 10 ผู้นำป่าชุมชนกล้ายิ้ม ผสานพลังน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” เรื่องการบริหารจัดการน้ำด้วยหลักการแก้มลิง และฝายมีชีวิต ในการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าชุมชนให้เป็นแหล่งน้ำ แหล่งอาหาร และแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่สมบูรณ์และยั่งยืนเป็นมรดกจากรุ่นสู่รุ่น

องค์ความรู้ดังกล่าวจะนำมาถ่ายทอดแก่ผู้นำป่าชุมชนจากภาคใต้ 80 คน ที่เข้าร่วมกิจกรรมสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชน ภายใต้โครงการ “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กับกรมป่าไม้ เพื่อจะได้นำไปปรับประยุกต์ใช้เป็นกลไกป้องกันปัญหาน้ำไม่เพียงพอและลดผลกระทบจากภัยน้ำท่วม ซึ่งเป็นปัญหาที่นับวันจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้น

นางบุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า “การสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชนครั้งนี้ ได้หยิบยกประเด็นการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งเป็นความต้องการของผู้นำป่าชุมชนที่ได้จากการสำรวจความคิดเห็น กอปรกับระยะหลังๆ หลายพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมนำมาซึ่งความสูญเสียของชีวิตและทรัพย์สินอย่างประเมินค่ามิได้ หลักการแก้มลิงจะเป็นตัวช่วยกักเก็บน้ำส่วนเกิน ขณะที่ฝายมีชีวิตจะช่วยชะลอการไหลบ่าของกระแสน้ำ ลดการทำลายหน้าดิน และยังสามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้ในภาคเกษตร ช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้ผืนดินและต้นไม้ ทำให้ป่าสมบูรณ์ ผลผลิตเพิ่มพูน ชุมชนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ที่สำคัญมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี”

ผู้นำป่าชุมชนรุ่นที่ 18 ทั้ง 80 คนนี้ จะได้เข้าศึกษาดูงานที่ศูนย์เรียนรู้โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นแก้มลิงธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช พระราชทานแนวทางการแก้ปัญหาและป้องกันอุทกภัยครั้งใหญ่ให้กับจังหวัดชุมพรเมื่อปี 2540 และยังเป็นแหล่งน้ำสำรองขนาดใหญ่ที่เกื้อหนุนภาคการเกษตร ซึ่งจะทำให้เข้าใจภาพรวมการบริหารจัดการน้ำและความเชื่อมโยงกันระหว่าง “ป่า” กับ “น้ำ”

นอกจากนี้ยังจะได้เรียนรู้จากการบรรยายในหัวข้อ “เดินตามรอยพ่อ สานต่อฝายมีชีวิต ลดวิกฤติปัญหาน้ำ” ครอบคลุมตั้งแต่วิธีการสร้างฝายให้แข็งแรง มีประสิทธิภาพในการซับน้ำ การใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นในการทำฝาย อาทิ ไม้ไผ่, ไม้กระถิน, มูลสัตว์, ขุยมะพร้าว การกำหนดจุดที่ตั้งของฝายเพื่อชะลอการไหลของน้ำ เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม และกักเก็บน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของคนในชุมชนได้ตลอดทั้งปี และช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศให้กลับมาสมบูรณ์

ภายใต้กิจกรรมนี้ ยังจะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การพัฒนาป่าตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็น “ศาสตร์พระราชา” ที่ป่าชุมชนทุกแห่งน้อมนำมาเป็นหลักปฏิบัติโดยจะดำเนินการในรูปแบบของฐานการเรียนรู้ “เกาะเลข ๙” ที่สั่งสมจากประสบการณ์ของ 8 อำเภอในจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย 1.การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ 2.การลดต้นทุนการผลิต 3.คนมีน้ำยา (แปรรูปผลผลิตเป็นสบู่ น้ำยาล้างจาน ฯลฯ) 4.จุลินทรีย์ก้อน 5.ไบโอดีเซล 6.การเลี้ยงไส้เดือน 7.ปุ๋ยอินทรีย์ 8.คนอยู่กับป่า (บ้านเล็กในป่าใหญ่)

การสัมมนาเครือข่ายผู้นำป่าชุมชน ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 10 มีผู้นำป่าชุมชนเข้าร่วมกว่า 1,500 คน มุ่งหมาย “ปลูกป่าในใจคน” สร้างเครือข่ายที่เข้มแข็ง เพื่อเป็นกำลังในการรักษา ฟื้นฟู และดูแลป่าไม้อย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายนิวัติ มณีขัติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี (ทธ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) จัดแถลงข่าวการค้นพบไดโนเสาร์อายุ 100 ล้านปี สายพันธุ์กินพืชใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นายนิวัติ กล่าวว่า หลังจากที่นายถนอม หลวงนันท์ ชาวบ้านหนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ค้นพบโครงกระดูกคล้ายไดโนเสาร์ดึกดำบรรพ์ขณะที่กำลังหาปลาในบริเวณอ่างเก็บน้ำสาธารณะบ้านพนังเสื่อเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2559 นั้น เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี จึงได้ดำเนินการตรวจสอบและขุดสำรวจเพิ่มเติม ซึ่งขณะนี้ขุดพบจำนวนกว่า 20 ชิ้นแล้ว คาดว่าเป็นชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ตัวเดียวกันทั้งหมด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชคอยาว หางยาว จำพวกซอโรพอด สะสมตัวในชั้นหินทรายหมวดหินโคกกรวด กลุ่มหินโคราช อายุทางธรณีกาลในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้นอายุประมาณ 100 ล้านปี

“ชิ้นส่วนต่างๆ ที่ขุดพบมีชิ้นส่วนกระดูกใต้กระเบนเหน็บ กลุ่มกระดูกเชิงกราน ชิ้นส่วนกระดูกสันหลัง ชิ้นส่วนกระดูกขาหน้าขวาท่อนบน ที่มีความยาวมากที่สุดเท่าที่เคยพบ มีความยาว 178 เซนติเมตร จึงมั่นใจได้ว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจากนี้จะนำไปศึกษาวิจัยเปรียบเทียบตัวอย่างของไทยกับนานาชาติอาจใช้เวลา 1-2 ปี เพื่อให้ทราบชนิดที่ชัดเจนและลุ้นว่าจะเป็นชนิดใหม่ของโลกด้วยหรือไม่” รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าว

นายชัยพร ชยานุรักษ์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยถึงผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (ทีเอสเอสไอ) ของเดือนสิงหาคม 2560 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลงจาก 100.2 ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ระดับ 91.8 เป็นผลจากปัจจัยด้านยอดจำหน่าย การจ้างงาน การลงทุนและกำไรที่ลดลง ทั้งในภาคการค้าและบริการ ในทุกสาขาธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการค้าส่งและค้าปลีกที่ปรับตัวลดลงมาก เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านยอดขายและกำไรลดลง อย่างไรก็ดีมีสาขาธุรกิจที่ปรับตัวลดลงแต่ยังคงมีความเชื่อมั่นสูงเกินค่าฐานที่ 100 ได้แก่ บริการร้านอาหาร/ภัตตาคาร

สำหรับดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าในเดือนสิงหาคม 2560 อยู่ที่ระดับ 101.5 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากที่ระดับ 102.2 ในเดือนกรกฎาคม 2560แสดงให้เห็นว่า แม้ความเชื่อมั่นจะปรับตัวลดลงแต่ผู้ประกอบการยังคงมีความเชื่อมั่นในทิศทางอนาคตดีอยู่

นับวันการหาแหล่งน้ำเพิ่มเติมของประเทศหาได้ยากยิ่งขึ้นจากงบประมาณของรัฐที่มีจำกัดในการเวนคืนที่ดินและงบฯค่าก่อสร้างโครงการที่พุ่งขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีกฎหมายหลักในการบริหารจัดการน้ำดิบ คือ พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 ที่เป็นการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานของกรมชลประทาน ทั้งนี้ ในมาตรา 4 พ.ร.บ.การชลประทานหลวง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2507 ได้มีการแก้ไขมาตรา 8 ของกฎหมายเดิม โดยให้รัฐมนตรีมีอำนาจเรียกเก็บค่าชลประทานจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ดิน ในอัตราไม่เกินไร่ละ 5 บาทต่อปี โดยออกกฎกระทรวง แต่ในความเป็นจริงไม่มีการออกกฎกระทรวงเก็บค่าชลประทานแต่อย่างใด

แต่ล่าสุด เสียงคัดค้านจากเกษตรกรทั่วประเทศก็ดังกระหึ่มขึ้นพร้อมเพรียงกัน เมื่อกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ยกร่างพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำขึ้นมา ด้วยวัตถุประสงค์ให้เกิดการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าที่สุด ปล่อยน้ำเสียน้อยที่สุด รวมทั้งปิดช่องโหว่การใช้น้ำฟรีและการลักลอบการใช้น้ำนอกเขตพื้นที่ชลประทานทั่วประเทศ ทำให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่แม้ไม่ใช่เจ้าของต้นร่างกฎหมายฉบับนี้ ก็ต้องออกมาพูดว่า ไม่มีการเก็บค่าใช้น้ำจากเกษตรกรแต่อย่างใด

รวมทั้ง ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ว่าที่อธิบดีกรมชลประทานคนใหม่ ออกมารับรองด้วยว่า “เกษตรแปลงใหญ่” ที่มีเกษตรกรจำนวนมากมารวมกลุ่มกันทำการเกษตรแปลงใหญ่หรือผู้ที่ทำเกษตรเกิน 50 ไร่ กรมชลประทาน “ไม่มีการเก็บค่าใช้น้ำชลประทานแต่อย่างใด” เกษตรกรในส่วนที่อยู่ในพื้นที่ชลประทานจึงคลายวิตกกังวลได้ระดับหนึ่ง แต่ในส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทาน แน่นอนยังมีความวิตกกังวลอยู่ แม้ในความเป็นจริง เกษตรกรต้องเสมอภาคกัน คือไม่ต้องจ่ายค่าน้ำ ไม่ว่าจะอยู่เขตไหน

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำใหม่ฉบับนี้ถือเป็นกฎหมายแม่ของเรื่องน้ำ จึงมีทั้งหมด 100 มาตรา ขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นชอบในหลักการเข้าสู่การพิจารณาวาระที่ 1 และแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างกฎหมายไปได้ 95 มาตราแล้ว แต่ยังมีการแขวนพิจารณาหลายมาตรา คาดว่าข้อสรุปทั้งหมดของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่จะเสร็จสิ้นในวันที่ 27 ต.ค.นี้ จะต้องยืดออกไปอีก 90 วัน เป็นปลายเดือน ม.ค. 2561 แทน

สาระสำคัญของร่างกฎหมายใหม่นี้ จะมีคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรมการ ทำหน้าที่บริหารจัดการ กำกับ ดูแล ทั้งการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎหมายนี้ ทั้งเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง ลุ่มน้ำ การใช้น้ำ ทรัพยากรน้ำสาธารณะ น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำในทะเล เว้นแต่ในกรณีที่มีกฎหมายใดกำหนดเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนาฯไว้โดยเฉพาะ ก็ให้ดำเนินการไปตามกฎหมายเฉพาะนั้น

เรื่องสิทธิในน้ำ เพื่อป้องกันการแก่งแย่งน้ำกันในอนาคตมากขึ้น ก็มีการกำหนดไว้ในมาตรา 7-8 ว่า ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็นของส่วนรวม บุคคลมีสิทธิใช้หรือเก็บกักน้ำได้เท่าที่จำเป็นแก่ประโยชน์ในกิจกรรมหรือในที่ดินของตน โดยไม่เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่บุคคลอื่นซึ่งอาจจะใช้น้ำนั้น

ส่วนการจัดสรรน้ำ ตามมาตรา 39 ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายนี้ ปรากฏคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างฯได้ประกาศแขวนการพิจารณามาตรานี้ไว้ก่อนเพื่อยุติความขัดแย้งที่กำลังจะเกิดจาก “การเรียกเก็บค่าน้ำ” โดยมาตรานี้ได้มีการแบ่งการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเป็น 3 ประเภท คือ การใช้น้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อดำรงชีพทั้งอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย การใช้น้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น และการใช้น้ำประเภทที่ 3 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำหรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง

ลักษณะหรือรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท 1-3 ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงที่จะออกหลัง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทั้งนี้ รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการแต่ละลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง และโดยความเห็นชอบของ กนช. มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการใช้น้ำประเภทที่ 1 สำหรับแต่ละลุ่มน้ำได้

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำประเภทที่ 2 ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการลุ่มน้ำที่ทรัพยากรน้ำสาธารณะตั้งอยู่ ตลอดจนการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต แต่ไม่ใช้บังคับกับการใช้น้ำของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนการใช้น้ำประเภทที่ 3 ต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ โดยความเห็นชอบของ กนช. และมีการยกเว้นไม่ใช้บังคับการใช้น้ำของหน่วยงานรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นเดียวกับประเภทที่ 2

ในขณะที่มาตรา 47 ได้เขียนไว้ชัดเจนว่า somosche.com รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ กนช.มีอำนาจที่จะออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนด “อัตราค่าใช้น้ำ” สำหรับการใช้น้ำประเภทที่ 2 กับประเภทที่ 3 เท่านั้น โดยมีข้อสังเกตว่า ไม่มีอัตราการใช้น้ำประเภทที่ 1 เพื่อการดำรงชีพ-อุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตร/เลี้ยงสัตว์ยังชีพ อุตสาหกรรมในครัวเรือน และการใช้น้ำปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่อย่างใด

เรื่องการแก้ปัญหาการเกิดน้ำท่วม-น้ำแล้ง ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศเขตฉุกเฉิน กำหนดวิธีการใช้น้ำเพื่อลดปริมาณการใช้ และห้ามใช้น้ำบางประเภทเกินกว่าจำเป็นแก่การอุปโภคบริโภค รวมทั้งกำหนดวิธีการแบ่งปันน้ำในพื้นที่เพื่อบรรเทาปัญหา ส่วนการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วม ให้คณะกรรมการลุ่มน้ำจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วมขึ้นไว้เป็นการล่วงหน้า ทั้งกรณีปกติและกรณีฉุกเฉิน

สุดท้ายคือ บทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืน กำหนดบทลงโทษไว้ถึง 15 มาตราแล้วแต่กรณีที่ฝ่าฝืน โดยโทษสูงสุดคือ ผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรา 75 วรรคหนึ่ง (2) ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ กนช.มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำสาธารณะ ในเรื่องต่อไปนี้ได้ คือ (2) กำหนดห้ามกระทำใด ๆ ที่มีผลเป็นการเสื่อมสภาพแหล่งน้ำหรือเสื่อมประโยชน์ต่อการใช้น้ำหรือทำให้เกิดภาวะมลพิษแหล่งน้ำฯ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นต้น

นายวรพงษ์ วรทัศน์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เปิดเผยว่า เพื่อสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น และปลูกจิตสำนักให้ประชาชนรู้จักหวงแหนประเพณีที่กำลังจะสูญหายไป อบต.บางพรม จึงร่วมกับวัดแก่นจันทร์เจริญ จัดประเพณีตักบาตรขนมครก ในวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่วัดแก่นจันทร์เจริญ เริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป

สำหรับกิจกรรมในงานปีนี้ จะมีเพียงการสาธิตการทำขนมครกสูตรโบราณ เพื่อให้นักท่องเที่ยวตลอดจนนักเรียน และประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้วิชาการทำขนมครกแบบโบราณ และการจำหน่ายขนมครกเพื่อนำไปใส่บาตรพระนำรายเข้าวัดเท่านั้น ส่วนการแข่งขันอื่นๆ เช่น แข่งขันโม่แป้ง แข่งขันขูดมะพร้าวลีลา และวิ่งวิบาก-กินขนมครก ที่เคยจัดมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี งดจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อแสดงความไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งจะมีพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในช่วงเดือนตุลาคมนี้

นายวรพงษ์ กล่าวต่อว่า การทำบุญตักบาตรขนมครก เป็นประเพณีเก่าแก่เกือบร้อยปีแล้ว ที่วัดแก่นจันทร์เจริญได้จัดติดต่อกันมาเพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้รู้จัก ผู้ริเริ่มจัดงานตักบาตรขนมครกคือ พระครูสมุทรสุตกิจ หรือ หลวงปู่โห้ อดีตเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดแก่นจันทร์เจริญ เมื่อปี พ.ศ. 2473 เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวสอดคล้องกับเทศน์คำสอนในธรรมบท ภาคที่ 2 ของพระพุทธเจ้า อีกทั้งสมัยก่อนชาวบ้านส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างยากจน การทำบุญตักบาตรพระสงฆ์จึงมีแต่อาหารคาวประเภทปลา และพืชผักที่พอจะหาได้ในพื้นที่ตามอัตภาพโดยไม่ต้องซื้อ ส่วนขนมหวานก็จะมีแต่ขนมครก เพราะทำง่ายและวัตถุดิบก็มีอยู่ในบ้านแล้วเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังถูกเงิน เช่น แป้งเจ้าข้าว มะพร้าว และน้ำตาล