เมื่อสอบถามถึงรายได้ คุณนุ บอกว่า รายได้ในปัจจุบันอยู่

ในระดับที่น่าพึงพอใจเมื่อหักลบต้นทุนต่างๆ แล้ว ก็สามารถมีรายได้เหลือมากพอ ในการจุนเจือครอบครัวได้แบบมีความสุข สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถติดต่อคุณศักดา ล้ำบริสุทธิ์ หรือ คุณนุ เจ้าของสวนศักดากล้วยหอมทอง ในพื้นที่หมู่ 5 ตำบลบ้านปทุม อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี หรือทางเพจเฟซบุ๊ก “สวนศักดากล้วยหอมทอง”

เชื่อว่าหลายท่านคงรู้จักคุ้นเคยกับต้นพุดซ้อนกันเป็นอย่างดี ที่มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ดอกสีขาวสวย กลิ่นหอมชื่นใจ หลายบ้านปลูกไว้ประดับสวนเพื่อความสวยงาม แต่รู้หรือไม่ว่าประโยชน์ของต้นพุดซ้อนยังมีอีกมากมาย นอกจากเรื่องของความสวยงาม และกลิ่นที่หอมแล้ว “ใบพุดซ้อน” ยังเป็นที่ต้องการในวงการจัดดอกไม้ ไม่ว่าจะงานมงคล เทศกาลงานอีเว้นต์ หรืองานขาวดำ ต่างต้องการใช้ใบพุดซ้อนเข้าไปเป็นส่วนประกอบหลักในการจัดซุ้ม หรือใช้จัดช่อดอกไม้ ด้วยลักษณะรูปใบเรียวมนทรงรีรูปไข่ ปลายแหลม สีเขียวสด ความมันที่ใบคล้ายเป็นไขทำให้ดูเป็นจุดเด่นอีกแบบหนึ่ง คุณสมบัติที่สวยสะดุดตาแม้ยังไม่ได้ร่วมวงกับดอกไม้อื่นก็ยังดูดี

คุณสุเทพ แปลงทับ หรือ พี่เทพ บ้านเกาะแก้ว อยู่ที่ตำบลเกาะแก้ว อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ อดีตหนุ่มพนักงานออฟฟิศ ผันตัวเป็นเกษตรกรสร้างรายได้จาก “ใบพุดซ้อน” ไม้ประดับที่หลายคนมองข้าม แต่กลับกลายเป็นงานสร้างรายได้ ตัดใบขายส่งร้านจัดดอกไม้ในตัวอำเภอ มีออเดอร์ทุกๆ 3-5 วัน ทำรายได้ไม่รู้จบ

พี่เทพ เล่าถึงจุดเริ่มต้นการปลูกพุดซ้อนตัดใบขายว่า เกิดจากที่ตนมีเพื่อนเป็นเจ้าของร้านขายดอกไม้สด จึงได้มีโอกาสแวะเวียนเข้าไปหาเพื่อนที่ร้านอยู่บ่อยๆ ทำให้ได้เห็นกิจการงานขายดอกไม้ของเพื่อนไปได้ดี มีลูกค้าแวะเวียนมาเป็นจำนวนเยอะในแต่ละวัน แต่ละคนก็มีความต้องการแตกต่างกันออกไป บางคนมาเพื่อซื้อดอกไม้สด บางคนมาสั่งช่อดอกไม้ บางคนมาติดต่อให้ไปจัดซุ้มตามงานพิธีต่างๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความต้องการแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่ต้องใช้เหมือนกันคือ ใบพุดซ้อน ที่ต้องนำมาประดับตกแต่งเพิ่มความสวยงามให้กับงานที่ลูกค้าสั่ง แต่ตลาดใหญ่ที่ต้องไปรับของมามีแค่ที่ปากคลองตลาดเท่านั้น เพื่อนจึงได้บอกให้ตนลองปลูกต้นพุดซ้อนมาส่งขายให้กับเขา ไม่ต้องไปแย่งตลาดกับใคร ซึ่งในตอนนั้นตนก็ยังไม่มั่นใจว่าปลูกมาแล้วจะขายได้จริงหรือเปล่า แต่เมื่อต้องมาประสบกับสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หวนกลับมาคิดถึงคำพูดของเพื่อนอีกครั้ง ว่าให้ทดลองปลูกดู จึงตัดสินใจปลูกเริ่มต้นจาก 600 ต้น และทันทีที่เพื่อนเจ้าของร้านดอกไม้มาดูว่าสามารถตัดใบได้แล้ว ก็ได้รู้ว่าสามารถขายได้จริงๆ และผลตอบรับดีมาก หลังจากนั้นจึงได้มีการขยับขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มอีก 4,000 ต้น บนพื้นที่ เกือบ 3 ไร่

“ปลูกพุดซ้อนตัดใบขาย”
ดูแลง่าย ต้นทุนต่ำ ราคาดี
เก็บขายได้ทุกสัปดาห์
เจ้าของบอกว่า พุดซ้อน เป็นไม้ประดับที่ปลูกดูแลง่าย ชอบดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์และระบายน้ำได้ดี แต่ด้วยลักษณะพื้นที่ปลูกของที่สวนเป็นดินเหนียว ดังนั้น จะมีวิธีการแก้ปัญหาด้วยการปรับปรุงดินก่อนปลูกด้วยการใส่ปุ๋ยคอกบำรุงดินให้มากหน่อย จากนั้นนำฟางมาคลุมดิน แล้วใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงบำรุงลงไปบริเวณโคนต้น

ส่วนช่วงระยะเวลาการปลูกที่เหมาะสมคือช่วงฤดูฝน ตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จะไม่เหมาะปลูกในช่วงฤดูร้อน และฤดูหนาว การปลูก

เริ่มจากการไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นทำการไถคราด กำจัดวัชพืชพร้อมกับโรยปูนขาวทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ เตรียมขุดหลุมปลูกไม่ต้องลึกมากแค่พอวางต้นพันธุ์ลงปลูกได้ ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 50×50 เซนติเมตร เนื่องจากต้นพุดซ้อนมีทรงพุ่มหนา ต้องการแดดจัด และเพื่อสะดวกในการดูแล

การปลูก

เริ่มจากการไถดะตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นทำการไถคราด กำจัดวัชพืชพร้อมกับโรยปูนขาวทิ้งไว้อีก 1 สัปดาห์ เตรียมขุดหลุมปลูกไม่ต้องลึกมากแค่พอวางต้นพันธุ์ลงปลูกได้ ระยะห่างระหว่างต้นระหว่างแถว 50×50 เซนติเมตร เนื่องจากต้นพุดซ้อนมีทรงพุ่มหนา ต้องการแดดจัด และเพื่อสะดวกในการดูแล

ปลูกในระยะแรก ให้รดน้ำวันเว้นวัน 15 วัน ต้นจะเริ่มติดราก จากนั้นเมื่อต้นอายุได้ประมาณ 1 เดือน ให้เริ่มใส่ปุ๋ยคอกโรยบางๆ รอบต้น ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง หลังจากนั้นเมื่อต้นโตแข็งแรงสมบูรณ์ดีแล้วให้ลดปริมาณการให้น้ำลงเหลือ 3 วันครั้ง หรือถ้าเป็นช่วงฤดูฝนก็งดให้น้ำ หมั่นตัดแต่งทรงพุ่มบ่อยๆ และทันทีที่มีการตัดใบที่สวนจะใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสงราดที่ต้นทุกต้น เมื่อฝนตกลงมาจุลินทรีย์ที่ราดลงไปจะซึมส่งผลให้ใบพุดซ้อนของที่สวนออกมาสวยมาก จนร้านรับซื้อแปลกใจในความเขียวสดของใบที่นำไปส่ง

โรคแมลง ไม่ค่อยพบ อาจจะมีเพลี้ยสีขาวเข้ามากวนใจอยู่บ้าง ที่สวนก็จะมีวิธีกำจัดด้วยการนำผงซักฟอกผสมกับน้ำมะนาว และน้ำยาล้างจาน นำไปฉีดพ่น ทั้งทางใบ และทางดิน ซึ่งเพลี้ยสีขาวมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน แต่พอเข้าหน้าฝนแทบจะไม่ต้องทำอะไรเลย เก็บขายอย่างเดียว

การเก็บเกี่ยว

ใช้ระยะเวลาปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวครั้งแรกประมาณ 3 เดือน จากนั้นสามารถตัดใบขายได้ทุก 3-4 วัน ในช่วงฤดูฝน แต่ถ้าเป็นฤดูร้อน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เก็บ 1 ครั้ง ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน แต่มีข้อแม้ว่าต้องหมั่นดูแลรักษาสภาพแปลงให้สมบูรณ์อยู่ตลอด

ต้นทุนการผลิต ช่วงเริ่มต้นปลูกใหม่ๆ 1. ลงทุนซื้อต้นพันธุ์ในราคาต้นละ 10 บาท เป็นจำนวน 4,000 ต้น คิดเป็นเงิน 40,000 บาท 2. ค่าดำเนินการไถดิน 2 รอบ 2,000 บาท 3. ค่าปุ๋ยคอกรองพื้น 2,000 บาท 4. ปูนขาว 1 ถุง คิดเบ็ดเสร็จลงทุนในครั้งแรกคิดเป็นเงินประมาณ 50,000 บาท ปัจจุบันได้ทุนคืนหมดแล้วที่เหลือคือกำไร

ตลาดสดใส ราคาดีไม่มีตก
พี่เทพ เล่าถึงสถานการณ์การตลาดของใบพุดซ้อนตั้งแต่ช่วงเริ่มทำจนถึงปัจจุบันให้ฟังว่า ใบพุดซ้อน ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้แบบเงียบๆ ไม่ค่อยมีใครรู้มาก จะรู้เฉพาะในวงการที่ปลูกดอกไม้ส่งตลาดใหญ่ๆ เพราะเป็นอาชีพที่ทำง่าย สร้างรายได้ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนลงมือปลูกจำเป็นต้องศึกษาตลาดในโซนพื้นที่ของตัวเองอยู่ว่ามีความต้องการมากน้อยเพียงใด หรืออาจจะไปติดต่อกับร้านขายดอกไม้แบบที่ตนทำก็ได้ ซึ่งถ้าหากหาตลาดได้แล้วก็รับรองได้ว่าเกษตรกรที่ปลูกจะมีรายได้เข้ามาทุกสัปดาห์ และจะส่งผลดีต่อเจ้าของร้านที่จะได้ใบไม้ที่สด ใบสวย ไม่ช้ำ และไม่ต้องใช้เวลาในการขนส่งมาจากที่ไกลๆ ถูกใจทั้งคนซื้อและคนขาย โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาที่ตนได้ปลูกและทำการตลาดในช่วงก่อนที่จะเกิดสถานการณ์โควิดระบาดหนักๆ ก็แทบจะผลิตไม่ทันขาย สามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 20,000 บาท แต่ในช่วงหลังที่สถานการณ์ก็ยอมรับว่ารายได้ก็มีลดลงบ้างตามสถานการณ์ที่ไม่สามารถจัดงานบันเทิงรื่นรมย์ได้ แต่ก็ยังถือว่ารายได้ที่เข้ามาอยู่ในจุดที่รับได้ เมื่อเทียบกับการดูแลที่ไม่ยุ่งยาก

โดยปริมาณการส่งจะส่งให้ร้านดอกไม้ในตัวอำเภอ 3 ร้าน แต่ละร้านจะมีออเดอร์ครั้งละ 100-150 กำ ต่อ 1 สัปดาห์ หรือหากมีวาระพิเศษได้ไปจัดซุ้มดอกตามงานแต่งงาน งานอีเว้นต์ ก็จะมีออเดอร์เพิ่มขึ้นมาอีกหลายเท่าตัวจนบางครั้งเก็บผลผลิตไม่พอขาย ราคาที่ส่งขาย กำละ 10-12 บาท เป็นราคาที่ได้ตกลงกับเจ้าของร้านดอกไม้ที่รับซื้อไว้แล้วว่า ไม่ว่าราคาใบพุดซ้อนจะถูกหรือแพงที่ร้านจะซื้อในราคาเดียว ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ทั้งคนขายและคนรับซื้อพอใจทั้งสองฝ่าย เพราะไม่ต้องเสียค่าขนส่งไกลๆ ทางร้านก็ได้ผลผลิตที่สดใหม่ ไม่ช้ำ ต้องการตอนไหนก็สามารถสั่งได้เลย

ฝากถึงเกษตรกรทั่วไป
“จริงๆ แล้วโควิดถือเป็นวิกฤตและโอกาสในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้เปลี่ยนได้เริ่มต้นทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน อย่างการเริ่มต้นปลูกใบพุดซ้อนของพี่ก็ไม่คิดว่าจะมีโอกาสได้ทำก็ได้ทำ พอได้ทำแล้วก็มีอย่างอื่นเข้ามาเพิ่มเติมคือการปลูกมะนาว ปลูกฝรั่ง และอื่นๆ อีกอย่างละนิดอย่างละหน่อย ก็สามารถนำไปขายพร้อมกันได้ ส่วนตลาดที่ขายดี ง่าย ขายของพี่คือตลาดออนไลน์ ด้วยการใช้เทคนิคพยายามเจาะให้ได้ว่าจะขายสินค้าให้กับคนกลุ่มไหน เข้ากลุ่มให้ถูก ขยันทำให้เขารู้ว่าที่สวนของเรามีการปลูก การขายจริงๆ ทำไปเรื่อยๆ จนสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ ทีนี้ไม่ว่าเราจะปลูกจะขายอะไรเขาก็จะมาอุดหนุนสินค้าของเราตลอด หรือบางอย่างเราเพียงอยากปลูกไว้กินเองแต่คนเห็นเขาก็มาขอซื้อ

เพราะฉะนั้นต้องค้นหาตัวเองให้เจอ อย่างใบพุดก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก ถ้าหาตลาดได้ก็สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ และอีกสิ่งที่สำคัญคือความใส่ใจ เรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ อย่างพี่ พี่ต้องมาเรียนรู้การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงไว้ใช้เอง ต้องเรียนรู้หาวีธีกำจัดเพลี้ยแป้งจากยูทูป เพราะเราไม่เคยทำเกษตรแบบเป็นเรื่องเป็นราวมาก่อน ต้องใส่ใจหาความรู้ แต่บางเรื่องก็ไม่เป็นไปตามนั้นเราก็ต้องมาปรับเอง เพราะบางทีอยู่คนละภาค สภาพภูมิอากาศไม่เหมือนกัน สุดท้าย ก็อยากจะแนะนำคนที่อยากทำ ให้หาตลาดให้ได้ก่อน ทีนี้พอเขาเห็นผลผลิตเราดีเขาจะบอกต่อกันเองว่าของเราดี อย่างของพี่เขาคุยกันเลยว่าเราจะสั่งของเราที่เดียว แล้วก็บางครั้งเครือข่ายร้านดอกไม้มีงานใหญ่ๆ เช่น จัดงานอีเว้นต์ งานโรงแรม เขาจะเจาะมาที่สวนพี่เลย เขาจะระบุมาเลย ใบใหญ่ เขียวสด เราก็จะได้เปรียบตรงนี้” พี่สุเทพ กล่าวทิ้งท้าย

หากใครที่ชื่นชอบการปลูกไม้อวบน้ำอย่างชวนชมหรือกระบองเพชรมาบ้างแล้ว อาจจะเคยเห็นผ่านตาไม้อวบน้ำชนิดนี้กันบ้าง นั้นก็คือ “ต้นมะพร้าวทะเล” สาเหตุที่เรียกกันด้วยชื่อนี้เป็นเพราะว่าลำต้นของไม้และยอดมีความคล้ายกับต้นมะพร้าว และมีขนาดที่ย่อส่วนหรือเล็กลงมา การปลูกส่วนใหญ่จะนิยมปลูกเป็นไม้ประดับในสวนและบริเวณบ้าน ใส่ในภาชนะปลูกที่มีรูปทรงแตกต่างกันไปชวนน่ามอง ช่วยสร้างความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่น้อยทีเดียว

คุณเจริญ ศิริวงศ์ เจ้าของสวนชวนชมอราเร่ ตั้งอยู่เลขที่ 313/2 หมู่ที่ 5 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ได้เห็นถึงความพิเศษของต้นมะพร้าวทะเล จึงได้นำมาปลูกดูเล่นในช่วงแรก จากนั้นไม้ได้เติบโตและแตกหน่อแตกกอออกมาได้ดี ทำให้มีไม้จำนวนมากและเป็นที่สนใจของคนทั่วไป จนเวลานี้สวนของเขาเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่มีไม้ชนิดนี้หลากหลายลักษณะออกจำหน่ายให้กับลูกค้ามาเกือบ 5 ปีแล้ว

คุณเจริญ เล่าในสิ่งที่ทำด้วยใจรักอย่างแน่วแน่ให้ฟังว่า ต้นมะพร้าวทะเลเป็นไม้ที่นำเข้ามาในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ในช่วงแรกลักษณะของต้นจะมีไม่หลากหลายหรือเรียกง่ายๆ ว่า มีเพียงแบบเดียว ทางสวนของเขาจึงเรียกชื่อว่าเป็นมะพร้าวทะลทรายโคนสาธารณะ แต่จริงๆ แล้วไม้ชนิดนี้มีอีกมากมายมากกว่า 300 ชนิด ต้นแรกที่เขาได้นำมาปลูกในสวนนี้ได้มาจากพี่ที่รู้จัก ด้วยความที่เขาทำสวนชวนชมอยู่แล้วในช่วงนั้น เมื่อมองเห็นไม้ชนิดนี้ทำให้เกิดจินตนาการว่าน่าจะนำมาพัฒนาต่อได้ ในเรื่องของการทำทรงทำพุ่มและทรงรากต่างๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นนำมะพร้าวทะเลทรายเข้ามาปลูกในช่วงนั้น

“ช่วงแรกผมเอามา 1 ต้นเท่านั้น ปลูกเลี้ยงไปได้ประมาณ 6 เดือน ไม้ก็เริ่มมีความสมบูรณ์ สามารถแยกต้นใหม่ออกมาจากต้นเก่าได้ ผมก็ลองมาทดลองทำให้ได้ทรงพุ่มทรงต้นแบบชวนชม มันก็สามารถทำได้ไม่ตาย หลังจากนั้นผมก็เริ่มเห็นโอกาสและหาซื้อทั้งเมล็ดพันธุ์ และเป็นชนิดอื่นๆ เข้ามาปลูกเพิ่มขึ้น สะสมไปสะสมมาก็มีเด่นๆ หลายชนิด ทำตลาดได้ โดยผมก็จะมากำหนดชื่อที่เรียกตามโคนใบว่าเป็นแบบไหน เวลาที่ลูกค้าซื้อก็จะได้เข้าใจตรงกัน ว่าอยากได้ต้นแบบนี้ ใบแบบนั้น ในแบบที่ผมเรียกตามชื่อที่ผมตั้งไว้” คุณเจริญ บอก

การขยายพันธุ์เพื่อให้ได้จำนวนของไม้ออกสู่ตลาดจำหน่ายนั้น คุณเจริญ เล่าว่า จะเน้นใช้วิธีการปักชำโดยเลี้ยงต้นแม่พันธุ์ให้โตสมบูรณ์ จากนั้นในทุกตาใบของต้นจะมีการแตกกิ่งออกมาให้เห็น เมื่อเห็นกิ่งเหล่านั้นยาวออกมาได้ระยะที่เหมาะสม จะตัดกิ่งที่แตกออกมาไปปักชำลงในกระบะ โดยใช้ดินที่ปลูกต้นชวนชมมาเป็นวัสดุสำหรับปักชำ หลังจากผ่านไปได้ประมาณ 1 เดือนครึ่ง ต้นมะพร้าวทะเลก็จะออกรากมาเต็มโคนต้น จึงย้ายไปปลูกลงในกระถาง 6 นิ้ว วัสดุที่ใช้ปลูกตามสูตรที่สวนใช้จะประกอบไปด้วย

1. ใบก้ามปู 5 ส่วน 2. มะพร้าวสับ 10 ส่วน 3. แกลบดำ 2 ส่วน 4. ขี้ไก่แกลบ 3 ส่วน (ถ้าไม่มี ขี้วัวนม 2 ส่วน) 5. หินภูเขาไฟอัดเม็ดหรือผง 1/4 ส่วน (สารปรับปรุงดิน) 6. ปุ๋ยเคมี 0-0-60 : 1 กิโลกรัม 7. ปุ๋ยเคมี 18-46-0 : 1 กิโลกรัม (ถ้าไม่มีใช้ 8-24-24 แทน) 8. ไตรโคเดอร์มา 100 กรัม (เชื้อราดี) 9. บี1 ยี่ห้อ ไอรินบราโว่ 1 ลิตร 10. EM 1 ลิตร 11. น้ำหมัก ผักผลไม้ หรือสัตว์ดีที่สุด 1 ลิตร

โดยนำส่วนผสมทั้งหมดคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นรดน้ำไปด้วยคนไปด้วย เพื่อให้มีความชื้นพอเหมาะ พร้อมทั้งคลุมพลาสติกหมักทิ้งไว้ประมาณ 3 เดือน ให้ดินคายความร้อนเพื่อให้ดินเย็นก่อนแล้วถึงนำมาใช้ได้ กรณีที่ไม่สามารถหาวัสดุปลูกทั้งหมดตามนี้ได้ ก็จะนำรายการจากข้อ 1-4 มาผสมกัน ใช้เพียงเท่านี้ก็สามารถปลูกได้เช่นกัน

“หลังจากปลูกในกระถาง 6 นิ้วแล้ว ดูแลรดน้ำและตั้งกลางแดดได้เลย ต่อไปอีกประมาณ 2-3 เดือน ไม้ก็จะได้ขนาดไซซ์ที่พร้อมขายได้ ถ้าเราต้องการขายในช่วงระยะนี้ แต่ถ้าต้องการที่จะจัดทรงต้น ทรงราก อยากให้มีพุ่มใบที่สวยๆ ก็จะปลูกเลี้ยงต่อไปอีกให้ได้อายุเกิน 1 ปีขึ้นไป เราก็จะได้เป็นไซซ์ใหญ่ ทำราคาได้มากกว่าไม้ที่อยู่ในกระถาง 6 นิ้ว ส่วนเรื่องโรคที่ต้องระวัง ก็จะเป็นพวกต้นเน่า แมลงศัตรูพืชก็จะเป็นเพลี้ยแป้งในดิน กับเพลี้ยแป้งกินยอด ส่วนเชื้อราก็มีบ้างถ้าเห็นต้นไหนเป็นก็จะนำออกจากสวนทันที” คุณเจริญ บอก

สำหรับท่านที่มีต้นมะพร้าวทะเลปลูกอยู่แล้วที่บ้าน ไม้ไม่ค่อยโตหรือว่ามีการแตกกิ่งช้า คุณเจริญ แนะว่า ควรเปลี่ยนวัสดุปลูกเก่าออก และเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่เข้าไปให้กับไม้ เพราะดินปลูกถือว่าค่อนข้างสำคัญมาก ที่จะทำให้ไม้เจริญเติบโตได้ดีและสามารถแยกกิ่งมาปักชำได้อยู่เสมอ

ราคาจำหน่ายมะพร้าวทะเล ขึ้นอยู่กับชนิดและทรงของไม้

การทำตลาดจำหน่ายต้นมะพร้าวทะเลนั้น คุณเจริญ บอกว่า เนื่องจากสวนของเขาทำในเรื่องของชวนชมมานานแล้ว เมื่อมีไม้ตัวนี้เข้ามาในสวนย้อนไปสมัยก่อน เมื่อ 4 ปีที่แล้ว อาจจะจำหน่ายยากกว่าไม้อื่นๆ ภายในสวน เพราะด้วยราคาที่ลูกค้าทั่วไปจับต้องได้ยาก แต่ผ่านมาถึงยุคปัจจุบันทั้งสื่อโซเชียลมีเดียและการสื่อสารที่ไวมากขึ้น ทำให้ต้นมะพร้าวทะเลเป็นที่รู้จักของลูกค้ากว้างขวางมากขึ้น และยังทำตลาดค้าขายได้อย่างต่อเนื่อง

โดยราคาจำหน่ายไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถาง 6 นิ้ว อายุตั้งแต่ 5-6 เดือน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่กระถางละ 800 บาท และราคาสูงสุดอยู่ที่กระถางละ 4,000 บาท ส่วนต้นที่มีอายุมากกว่า 1 ปี มีการจัดทรงต้น ทรงพุ่มและใบมีลักษณะที่สวยงาม ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 15,000 บาท และราคาสูงสุดอยู่ที่ 60,000 บาท ซึ่งราคาที่แตกต่างกันนั้น ต้นที่มีราคาสูงต้องเป็นต้นที่มีลักษณะเด่นและเป็นเอกลักษณ์จริงๆ จึงทำให้สามารถทำราคาสูงได้

“ตอนนี้ตลาดที่ผมส่งขาย ไม่ได้มีแต่ในประเทศไทยอย่างเดียว ก็มีลูกค้าต่างประเทศเข้ามาซื้อด้วย เช่น ประเทศญี่ปุ่น เกาหลี ต่อไปผมเองก็อยากจะพัฒนาไม้ตัวนี้ต่อไปเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดรากให้สวยๆ แบบชวนชม ตลอดไปจนถึงการทำทรงต้นต่างๆ ผมมองว่ามะพร้าวทะเลนี่สามารถพัฒนาต่อไปได้อีกเรื่อยๆ สำหรับมือใหม่ที่อยากจะปลูก ช่วงแรกผมก็อยากจะให้เริ่มหาซื้อไม้ราคาต่ำๆ มาทดลองก่อน เป็นต้นเล็กๆ เพื่อศึกษาการปลูก และมีประสบการณ์ให้กับตัวเอง” คุณเจริญ บอก สำหรับท่านใดสนใจต้นมะพร้าวทะเลหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไม้ชนิดนี้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณเจริญ ศิริวงศ์ หมายเลขโทรศัพท์

ลุงวิโรจน์ สุขพรหม เจ้าของสวนพุทรานมสด บ้านเลขที่ 160 หมู่ที่ 2 บ้านท่าวังไทร ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่า ลุงปลูกพุทรานมสดมานานกว่า 10 ปี บนพื้นที่ 6 ไร่ สร้างรายได้ดีมาตลอด เนื่องจากพุทรานมสดเป็นอะไรที่ดูแลยาก โรคแมลงเยอะ ใช้ต้นทุนสูง เพราะมีนมเป็นส่วนประกอบหลักในการดูแล เกษตรกรบางรายสู้ไม่ไหวในเรื่องของต้นทุน จึงอาจดัดแปลงสูตรไปจากเดิม ถึงเวลาใส่นมแล้วไม่ใส่ เมื่อผลผลิตออก เก็บไปขายจึงขายไม่ได้ เพราะรสชาติไม่หวานตามที่ตลาดต้องการ หรือบางพื้นที่อากาศไม่เหมาะสมกับการปลูกก็ไม่สามารถทำได้ ด้วยปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกษตรกรหลายรายถอดใจและทิ้งอาชีพนี้กันไป แต่ลุงยังโชคดีที่ปลูกมานาน มีประสบการณ์ลองผิดลองถูกมามาก คิดว่าในเมื่อเรามีแหล่งผลิตที่อุดมสมบูรณ์ ทุกสิ่งทุกอย่างเอื้ออำนวยขนาดนี้ ถ้าไม่ยอมแพ้ยังไงก็ทำได้ และก็อยู่มาได้ถึงทุกวันนี้

ที่สวนลุงวิโรจน์ ปลูกพุทราลูกผสม ไม่ใช่ซุปเปอร์จัมโบ้อย่างที่หลายคนเข้าใจ ผลมีลักษณะเป็นทรงรี ผลไม่กลม และขนาดของผลจะมีทั้งลูกเล็ก กลาง ใหญ่ ผสมในต้นเดียวกัน

พุทรา เป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ และปลูกได้ตลอดทั้งปี แต่จะได้ผลดีในช่วงฤดูหนาวและในพื้นที่มีอากาศเย็น ดังนั้น ในพื้นที่อำเภอวังน้ำเขียวจึงได้เปรียบพื้นที่อื่น และนอกเหนือจากอากาศที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงการปลูกและการดูแลเป็นพิเศษ…ต้นให้ตัดแต่งทุกปี ให้เหลือแต่ตอ ต้องการให้ต้นสูงขนาดไหนก็ตัดเท่านั้น ที่วังน้ำเขียวมีพุทราหลายสวนมาก แต่พุทราลุงวิโรจน์ติดตลาดเพราะเราทำตามสูตร ไม่มีลดหรือเพิ่ม การดูแล…ต้องดูสภาพอากาศว่าพุทราชอบแบบไหน เหมาะกับพื้นที่อย่างไร พุทราชอบอากาศเย็น ถ้าอากาศร้อนก็ให้น้ำที่โคนต้น ช่วง 2-3 เดือนแรกลงเคมี จะไม่เป็นอันตราย เพราะพุทราจะเริ่มมีลูกเดือนที่ 4 เมื่อพุทราออกลูกให้หยุดการใช้สารเคมี ให้ใช้ชีวภาพแทน พุทราเก็บผลได้ช่วงเดือนที่ 8

การปลูกพุทรานมสดต้องใส่ใจตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดินที่ดี ระบบน้ำอย่าให้ขาด หากจะปลูกนอกพื้นที่ต้องเข้มงวดเรื่องการดูแลรดน้ำ ให้ปุ๋ย ตามอัตราส่วนที่พุทราต้องการ เจ้าของขุดหลุมปลูก กว้างxลึก 50×50 เซนติเมตร ใส่แกลบดำ ปุ๋ยขี้วัว รองก้นหลุม ระยะห่างระหว่างต้น 3×3 เมตร เพื่อให้กิ่งของต้นพุทราแผ่ได้เต็มที่ ในพื้นที่ 1 ไร่ สามารถปลูกพุทราได้ 64 ต้น

ระบบน้ำ ให้พอประมาณอย่าให้แฉะเกิน มีแสงแดดส่องพอประมาณ ระบบน้ำสปริงเกลอร์ให้วันละครั้ง ถ้าวันไหนร้อนจัดควรให้น้ำช่วงเช้า

ปุ๋ย ให้ทุก 10-15 วัน ปุ๋ยที่สวนลุงวิโรจน์ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์หมักจากมูลสัตว์ หรือเก็บใบไม้ร่วง ผลพุทราที่ตกเน่าใต้ต้นก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยได้ ถือว่าเป็นการลดต้นทุน และปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค

ต้องหมั่นเก็บผลพุทราที่ร่วงเสียทิ้งให้ไวที่สุด และใช้ตัวล่อดัก ห้อยไว้รอบสวน แต่ถ้าวิธีธรรมชาติใช้แล้วเอาไม่อยู่ ไม่สามารถกำจัดแมลงได้ แนะนำให้ใช้สารเคมีตามที่สำนักงานเกษตรอำเภอ เกษตรจังหวัดแนะนำ

ถ้าอยากให้พุทราที่ปลูกมีความหวาน losingweightdone.com กรอบ ลุงวิโรจน์ บอกว่า สิ่งสำคัญคือ การดูแล การทำชีวภาพ ทำตามสูตรไม่ลดไม่เพิ่มส่วนผสม อย่างที่สวนจะใช้นมวัวหมักกับ พด. กากน้ำตาล ไว้ประมาณ 1-2 เดือน เมื่อได้ตามกำหนด จึงนำมารดที่โคนพุทราส่วนหนึ่ง อีกส่วนใช้ฉีดทางใบ ความถี่ในการรดนม 10 วัน ต่อครั้ง ต้นทุนในการผลิตจึงสูงพอสมควร ถ้าทำเองได้ต้นทุนก็จะถูกลงมา แต่ถ้าซื้อจากบริษัท ราคาลิตรละ 100 บาท อย่างที่สวนลุงวิโรจน์ปลูกพุทรานมสด 6 ไร่ จะต้องใช้นม 50 ลิตร ต่อครั้ง ซึ่งถือว่ามีต้นทุนที่สูงมาก แต่หากทำเองได้และทำตามสูตรรับรองได้ว่าจะได้พุทราที่หวาน กรอบ อร่อย และขายได้ราคา

พุทราที่สวนลุงวิโรจน์ค่อนข้างดก 1 ต้น ให้ผลผลิตประมาณ 50 กิโลกรัม หากอยากกินต้องสั่งจองข้ามปี ด้วยรสชาติที่หวาน กรอบ อร่อย มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ถ้าเป็นผลใหญ่นับได้เพียง 7 ลูก ต่อ 1 กิโลกรัม ราคาขายหน้าสวนกิโลกรัมละ 60 บาท ราคาขายหน้าร้านกิโลกรัมละ 80 บาท

ราคาขายลูกเล็กจะแพงกว่าลูกใหญ่ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจมาตลอดว่า พุทราต้องลูกใหญ่สิจะอร่อยและแพงกว่า แต่กลับผิดคาด ลุงวิโรจน์ บอกว่า พุทราลูกเล็กจะมีราคาแพงกว่า เพราะรสชาติจะหวานและกรอบกว่า ได้ยินแบบนี้แล้วต้องเปลี่ยนความคิดและวิธีเลือกซื้อพุทรากันใหม่แล้ว

เรื่องรายได้ไม่ต้องพูดถึง ลองคิดคำนวณเล่นๆ ว่า หากอยากจะปลูกเล่นๆ สัก 2 ไร่ ก็น่าจะสามารถทำเป็นรายได้เสริมได้ ทั้งนี้ควรศึกษาข้อมูล หรือการตลาดให้รอบด้าน

เริ่มแรกที่สวนลุงวิโรจน์มีบริษัทมาทำตลาดให้ พอหลังจากหมดสัญญา 4 ปี หันมาทำเอง ให้ลูกสาวทำการตลาดให้โดยวิธีโพสต์ข่าวสารลงเพจเฟซบุ๊กของสวนตนเอง มีการอัพเดทข้อมูลตลอดว่า ตอนนี้ที่สวนเป็นอย่างไร มีผลผลิตไหม ผลผลิตเป็นอย่างไร เหมือนกับเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ และเป็นการจูงใจลูกค้า หากเกษตรกรท่านใดอยากจะลองหันมาทำการตลาดทางด้านออนไลน์ก็ได้ ไม่ว่ากัน ถือว่าเป็นการขยายช่องทางการขาย โดยลูกค้าของสวนลุงวิโรจน์ส่วนใหญ่ที่เข้ามาทักทายเข้ามาชมสวน ก็ทราบข่าวมาจากทางเพจเฟซบุ๊ก ทุกวันนี้แค่ยอดสั่งจากทางเฟซบุ๊กก็เยอะจนไม่มีผลผลิตไปวางขายที่หน้าร้านแล้ว

“พุทราปลูกได้ทั่วไป คนทั่วไปปลูกได้ เราเพียงแต่ดูแลเรื่องของแมลง โรคต่างๆ เพราะโรคบางอย่างเกิดจากแมลงเพราะฉะนั้นโคนต้นควรทำให้สะอาด หรือหากอยากปลูกไว้กินเองที่บ้าน สัก 1 ต้น ก็ไม่ยาก พุทราต้องใช้นมรด ถ้าไม่มีนมวัวให้ใช้นมสด หรือนมเปรี้ยวแทนได้ วิธีป้องกันแมลงแบบชาวบ้านคือ ใช้สารสะเดา หรือให้เริ่มห่อผลเมื่อผลมีขนาดเท่าเหรียญ 10 ห่อด้วยถุงพลาสติกหรือกระดาษฉาบยูวี เพราะช่วงนี้หนอนจะเริ่มวางไข่ ให้ห่อดักไว้ก่อน” ลุงวิโรจน์ แนะนำ

เพราะการดูแลพุทราค่อนข้างยาก คนทำทั่วไปก็ถอยกันหลายกลุ่ม บางสวนทำแล้วขายไม่ได้ เพราะผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ไม่ทำตามสูตรที่มี บางคนถึงเวลาใส่นมก็ไม่ใส่ จะมาใส่อีกทีตอนเก็บผลผลิตมันก็ไม่ทันแล้ว ดังนั้น ต้องเอาใจใส่ตั้งแต่ยังเล็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั่วไปก็มีการปลูก แต่ถ้าให้อร่อยต้องที่วังน้ำเขียว ด้วยปัจจัยทางสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวย