เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์ตรงตามที่ต้องการ จะนำมาจับคู่จากนั้น

ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate ร่วมกับยาออกฤทธิ์ (domperidone) โดยแม่พันธุ์ใช้อัตราฮอร์โมนสังเคราะห์ 30 ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ส่วนพ่อพันธุ์ฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ ในอัตราส่วน 20 ไมโครกรัม ต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ 10 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณข้างตัวปลาหรือโคนครีบหู

จากนั้นนำพ่อแม่พันธุ์ปล่อยลงในถังพลาสติกทรงสูง ที่มีความจุ 70 ลูกบาศก์เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางถัง 30 เซนติเมตร ใส่น้ำลึก 60 เซนติเมตร จำนวน ถังละ 1 คู่ โดยคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีความใกล้เคียงกัน ก่อนปิดปากถังด้วยตาข่ายพรางแสงสีดำ ให้ใส่เชือกฟางฉีกฝอยเป็นพวง จำนวน 1 พวง ให้ลอยอยู่ในถัง เพื่อแทนลังไข่ เมื่อครบระยะเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง ปลาจะรัดและผสมพันธุ์วางไข่ตามธรรมชาติ โดยปล่อยไข่ที่ผสมแล้วลอยบนผิวน้ำบริเวณรังไข่

ย้ายไข่ปลาช่อนจากถังที่ผสมพันธุ์ นำมาฟักรวมกันในถังไฟเบอร์กลาสทรงกลม ขนาดความจุ 2 ลูกบาศก์เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางปากถัง 2 เมตร ใส่น้ำให้มีความลึก 65 เซนติเมตร ใส่ไข่ฟัก 1-1.5 แสนฟอง ต่อถัง หลังฟักใช้กระชอนขนาดช่องตา 1 มิลลิเมตร เนื้อแข็งคอยตักไข่เสียทิ้ง

หลังจากไข่ฟักเป็นตัวปลาจะมีถุงไข่และติดอยู่ที่หน้าท้องใช้เป็นอาหารสำรอง ลูกปลามีขนาดเล็กสีดำ ลอยตัวเป็นกลุ่มนิ่งๆ ผิวหน้าน้ำ จากนั้นถุงไข่แดงจะยุบภายใน 3 วัน ลูกปลาจะเริ่มกินอาหารและเริ่มว่ายน้ำรวมฝูงลงหาอาหารรอบถัง ซึ่งระยะนี้จะให้ไรแดงเป็นอาหาร โดยให้กินอิ่มอยู่ตลอดเวลา ดูแลลูกปลาอยู่อีกประมาณ 2 วัน จึงย้ายลงอนุบาลในบ่อดิน

ก่อนนำลูกปลาช่อนลงอนุบาลในบ่อดิน ขนาด 200 ตารางเมตร จะต้องเตรียมบ่อให้สะอาดเสียก่อน ด้วยการตากดินทิ้งไว้ให้แห้ง โรยปูนขาว 15 กิโลกรัม กรองน้ำใส่ลงบ่อ ให้มีระดับ 40 เซนติเมตร แล้วเติมน้ำอามิ 12 ลิตร ปุ๋ยสูตร 16-20-0 1.2 กิโลกรัม ปุ๋ยสูตร 46-0-0 1.2 กิโลกรัม น้ำเขียว (Chlorella sp) 200 ลิตร ในส่วนของปุ๋ยให้บดละเอียดละลายปนกับส่วนผสมอื่น ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน จนเกิดน้ำเขียวทั่วบ่อ จึงเติมเชื้อไรแดง 1 กิโลกรัม ซึ่งไรแดงจะขยายพันธุ์ขึ้นวันต่อมา จึงเติมน้ำให้สูงขึ้นอีก 20 เซนติเมตร เพื่อเจือจางปริมาณแอมโมเนียในน้ำ

จากนั้นปล่อยลูกปลาที่ได้จากถังกลมลงไปอนุบาลในบ่อดิน ให้อาหารเสริม ประกอบด้วย รำ ปลาป่น อัตรา 1 ต่อ 1 ละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อ วันละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น อนุบาลจนได้ลูกปลา ขนาด 2-3 เซนติเมตร ซึ่งใช้เวลาประมาณ 17-20 วัน จึงลากอวน โดยจะทำในระยะที่ลูกปลาจับรวมฝูง เพราะจะจับได้ง่ายกว่าช่วงที่ปลาแตกฝูงแล้วเพื่อจำหน่ายให้ผู้ที่สนใจต่อไป

คุณวินัย เล่าว่า การเลี้ยงปลาช่อนในสมัยนี้ค่อนข้างง่ายกว่าสมัยก่อน ใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 3-4 เดือน ก็สามารถเจริญเติบโตจำหน่ายสู่ท้องตลาดได้ และที่สำคัญสามารถเลี้ยงได้ทุกพื้นที่ของประเทศที่มีแหล่งน้ำจืด

“ลูกพันธุ์ปลาช่อนที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนี้ ขนาดตัวไซซ์ ประมาณ 2-3 เซนติเมตร อยู่ที่ตัวละ 20 สตางค์ ซึ่งต้นทุนนี้ค่อนข้างนานแล้วที่เคยตั้งไว้ ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจจะมีการปรับราคา อยู่ที่ตัวละ 80 สตางค์ ซึ่งผู้ที่สนใจเมื่อซื้อไป สามารถนำไปเลี้ยงได้เลย หรือถ้าเกษตรกรคนใดสนใจอยากนำไปอนุบาลต่อ ก็จะได้ราคาตกอยู่ที่ ตัวละ 2-3 บาท มีขนาดใหญ่กว่า 2-3 เซนติเมตร” คุณวินัย กล่าวถึงราคาจำหน่าย

หากใครที่กำลังมองอาชีพเกี่ยวกับประมงด้วยการเลี้ยงปลาเป็นอาชีพ ปลาช่อนอาจตอบโจทย์ให้กับหลายๆ คน ที่กำลังรวบรวมข้อมูลในการตัดสินใจอยากเลี้ยงปลาอยู่ในขณะนี้

“จากการเก็บข้อมูลจากผู้ที่ประสบผลสำเร็จ และผู้ที่มาอบรมที่ศูนย์นี้ ก็จะบอกกันว่า ปลาช่อน เป็นปลาที่เลี้ยงง่ายกว่าปลาอื่นๆ และก็ใช้พื้นที่ไม่มาก และที่สำคัญใช้น้ำน้อย สามารถใช้น้ำบาดาลเลี้ยงได้ เมื่อเลี้ยงแล้วใช้เวลาประมาณ 4 เดือน ก็โตจำหน่ายได้ อย่างใครที่สนใจอยากทำเป็นอาชีพ ก็สามารถที่จะเลี้ยงได้ แต่ต้องดูความพร้อมเรื่องตลาดด้วย” คุณวินัย บอก

ทั้งนี้ คุณวินัย ยังให้ความเห็นส่วนตัวในเรื่องของอนาคตของปลาช่อนทิ้งท้ายไว้ให้ด้วยว่า “จากความคิดผม ที่เห็นได้จากมีคนเริ่มนิยมมากขึ้น อาจเรียกได้ว่าปลาช่อนเป็นปลาคู่บ้านคู่เมืองของเราจริงๆ โดยมองย้อนจากสมัยก่อน แต่ตอนนี้ปลามันเริ่มมีจำนวนที่น้อยลงไปเรื่อยๆ จากธรรมชาติ ซึ่งมีข้อจำกัดอื่นๆ อีก รวมทั้งการเลี้ยงแบบเดิมๆ ก็ทำได้ยากแล้ว อย่างเช่น การใช้ปลาเล็กมาทำเหยื่อสด และการช้อนจากธรรมชาติ มันค่อนข้างมีน้อย หากเราสามารถทำปลาช่อนกลับมาได้อย่างเดิม ก็จะทำให้ตลาดขยายได้มากขึ้น ทำให้ตลาดกว้างไปได้เยอะอีกด้วย” คุณวินัย กล่าวแนะ

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากเข้าฝึกอบรมการเพาะพันธุ์ปลาช่อน และหาซื้อลูกพันธุ์ปลาที่มีความแข็งแรงนำไปเลี้ยงเพื่อสร้างรายได้ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด หมายเลขโทรศัพท์ (035) 704-171

คุณกชกร ช่วยณรงค์ ตั้งอยู่ที่ 27 หมู่ที่ 5 ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา มีการเลี้ยงแบบปล่อยอิสระทำให้ไข่ที่ได้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพสูง ปริมาณผลผลิตมีไม่เพียงต่อความต้องการเลยทีเดียว

คุณกชกร เล่าให้ฟังว่า เธอจบการศึกษาในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และได้นำองค์ความรู้จากการเรียนมาช่วยครอบครัวดำเนินธุรกิจคือการเลี้ยงไก่ไข่และโคนม พร้อมทั้งต่อยอดการเลี้ยงไก่ไข่เป็นแบบไก่อารมณ์ดี โดยใช้พื้นที่ว่างมาเลี้ยงเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตในครั้งนี้ด้วย

“ครอบครัวประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์มานานแล้ว ทีนี้เรามองว่าโอกาสที่จะนำความรู้มาพัฒนาต่อ ก็น่าจะช่วยงานของที่บ้านได้เยอะ จึงได้ศึกษาต่อปริญญาตรีในสาขาวิชาสัตวศาสตร์ เพื่อที่จะได้นำองค์ความรู้ต่างๆ มาช่วยพัฒนางานที่บ้าน ในเรื่องของการเลี้ยงโคนมและไก่ไข่ ซึ่งไก่ไข่อารมณ์ดี ตอนนี้ถือว่าเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการอย่างมาก ผลผลิตออกมามีไม่พอขาย และที่สำคัญราคาขายก็ค่อนข้างดี” คุณกชกร เล่าถึงที่มา

ในขั้นตอนของการเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีนั้น คุณกชกร บอกว่า จะแบ่งพื้นที่ออกอย่างชัดเจนโดยให้ภายในบริเวณเลี้ยง มีพื้นที่โรงเรือนสำหรับหลบแดดฝนและพื้นที่เดินเล่นคุ้ยเขี่ยให้กับไก่ จะทำให้ไก่มีสุขภาพที่แข็งแรงมากขึ้น โดยไก่ไข่ที่นำมาเลี้ยงในพื้นที่เตรียมไว้ เป็นไก่ที่มีอายุ 16 สัปดาห์ จากนั้นเลี้ยงต่อไปอีก 4 สัปดาห์ ไก่จะเริ่มออกไข่ให้เก็บขายได้

อาหารที่ใช้เลี้ยงไก่เป็นอาหารที่ครอบครัวของเธอคิดสูตรขึ้นมาเอง มีส่วนผสมของข้าวโพด กากถั่วเหลือง ธัญพืชอื่นๆ และที่มากไปกว่านั้นในสูตรอาหารมีส่วนผสมของ ซีลีเนียมยีสต์ (Selenium Yeast) ซึ่งเป็นซีลีเนียมอินทรีย์สำหรับสัตว์ ทำให้แม่ไก่มีการเพิ่มและสะสมซีลีเนียมในไข่แดงมากกว่าไข่ไก่ทั่วไปเกือบสองเท่า โดยภายในอาหารจะไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์เข้ามาให้ไก่กิน ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าการผลิตใส่ใจทุกขั้นตอนของการผลิตเพื่อให้ได้ไข่ที่มีคุณภาพ

“เนื่องจากที่ฟาร์มของเรามีการทำด้านปศุสัตว์มาอย่างยาวนาน ดังนั้น ในเรื่องของการผลิตอาหารสัตว์ เราจึงคิดค้นขึ้นมาเอง เพื่อให้สัตว์ได้กินอาหารที่มากด้วยคุณประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วน ไม่มีสารหรือยาปฏิชีวนะเจือปน ใส่รางให้ไก่กินตลอดทั้งวัน เพราะวัตถุดิบที่มาเป็นอาหารไก่ก็มีส่วนสำคัญ เมื่อเราได้ผลผลิตออกมาแล้ว จึงมั่นใจได้ว่า ไข่ทุกฟองเป็นไข่ที่มีคุณภาพมากด้วยคุณประโยชน์” คุณกชกร บอก

โดยไก่ไข่ทุกตัวภายในฟาร์มเป็นไก่ที่มีสุขภาพแข็งแรง มีพื้นที่ออกมาวิ่งเล่นคุ้ยเขี่ยตามนิสัย จึงทำให้แม่ไก่มีสุขภาพที่แข็งแรงต้านทานโรค พร้อมทั้งมีการเปิดวิทยุให้กับไก่ภายในโรงเรือน ไก่จึงไม่รู้สึกเครียดอารมณ์ดีผลิตไข่ที่สดใหม่ไปสู่ผู้บริโภค

ส่วนเรื่องของการป้องกันโรคมีการทำวัคซีนตามโปรแกรมที่จัดไว้คือ ป้องกันโรคนิวคาสเซิลทุก 3 เดือนครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันการโรคระบาดในช่วงสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่เนื่องจากไก่ที่เลี้ยงในระบบนี้มีพื้นที่เดินเล่นและสามารถคุ้ยเขี่ยออกกำลังได้ จึงทำให้ไก่มีความแข็งแรงทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

“ไก่ไข่ที่เราเลี้ยงแต่ละรอบการผลิตจะอยู่ที่ 1,000 ตัว อย่างช่วงที่แม่ไก่มีความสมบูรณ์ ต่อวันสามารถเก็บไข่ได้มากสุดถึง 800 ฟอง ต่อวัน หลังจากไก่เริ่มมีอายุมากขึ้น เข้าสู่ช่วงอายุ 75-80 สัปดาห์ จำนวนไข่ก็จะลดลงตามลำดับ เมื่อเห็นว่าเริ่มมีการให้ไข่น้อย ไม่คุ้มกับค่าอาหารการเลี้ยงและการจัดการ ก็จะทำการเปลี่ยนไก่สาวชุดใหม่เข้ามาเลี้ยงทดแทน เพื่อเลี้ยงทำรายได้ในชุดต่อไป” คุณกชกร บอก

โดยราคาไข่ขายแบบคละไซซ์อยู่ที่ฟองละ 4-5 บาท ซึ่งที่ฟาร์มแห่งนี้มีขายทั้งราคาส่งและทำเป็นแพ็กขายเอง 10 ฟอง ราคาอยู่ที่แพ็กละ 50 บาท ซึ่งเวลานี้ผลผลิตยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้กับผู้บริโภคได้กินไข่ที่มีคุณภาพสดใหม่ปลอดภัยการันตีความใส่ใจในทุกขั้นตอนการผลิตเลยทีเดียว

สำหรับผู้ที่สนใจเลี้ยงไก่ไข่อารมณ์ดีเพื่อบริโภคไว้ภายในครัวเรือน คุณกชกร แนะนำว่า สถานที่เลี้ยงควรมีการจัดการที่ดี พร้อมทั้งมีการใส่ใจในเรื่องของการทำวัคซีนอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ไก่ไข่มีสุขภาพที่ดีและผลิตไข่ที่มีคุณภาพไว้ให้ได้กินในครัวเรือนเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการช่วยลดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

ซึ่งในปีนี้ (2561) วันลอยกระทง คือวันพฤหัสบดีที่ 22 พ.ย. ซึ่งตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี และในแต่ละที่ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะริมแม่น้ำ ทะเลสาบ ลำคลองต่างๆ ก็จะจัดงานลอยกระทงขึ้น เพื่อให้ทุกคนนำกระทงมาลอย ตามความเชื่อที่ว่า “เป็นการขอขมาพระแม่คงคา” เป็นต้น

โดยกระทรงก็จะมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบที่ทำจากธรรมชาติ โฟม กระทงน้ำแข็ง ยันกระทงที่ทำจาก “ขนมปัง” และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า “กระทงแบบใด” ที่ในเมื่อลอยไปแล้ว จะส่งผลเสียต่อธรรมชาติและลำน้ำคูคลอง มากกว่ากัน

21 พ.ย. ผศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Jessada Denduangboripant แสดงความเห็นถึงกรณี “กระทงขนมปัง” ทำลายธรรมชาติอย่างไร? โดย อ.เจษ ระบุว่า

“กระทงขนมปัง” คือ กระทงที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมที่สุด ควรหลีกเลี่ยงถ้าคิดจะลอย
ถ้ายังตัดใจเลิกลอยกระทงไม่ได้ อย่างน้อยก็ขอให้หลีกเลี่ยงความเชื่อผิดๆ เรื่อง “ลอยกระทงขนมปังเพื่อสิ่งแวดล้อม” ครับ กระทงขนมปังเนี่ย ทำน้ำเน่าเสียมากกว่าอย่างอื่น เพราะกระทงขนมปัง มันเป็นสารอินทรีย์ ลงน้ำก็ยุ่ยและเน่าอย่างรวดเร็ว จะเก็บขึ้นแบบกระทงใบตองหรือโฟมก็ไม่ได้ ปลาก็ไม่ค่อยกิน แล้วถ้ากินไม่หมด มันก็จะกลายเป็นอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ให้น้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียหนักขึ้นอีก

ฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญสิ่งแวดล้อมท่านอื่นประกอบได้ครับ
ดร. ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า กระทงขนมปัง ถ้าใช้ลอยในแหล่งน้ำไม่ว่าจะเปิดหรือปิด ยกตัวอย่าง เช่น หากเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วมีบ่อปลา ก็จะสามารถใช้ได้ จะมีประโยชน์ เพราะปลาสามารถกินขนมปังได้ แต่ถ้าเป็นแหล่งน้ำปิดแล้วไม่มีบ่อปลา จะอันตรายต่อสภาพน้ำ เพราะขนมปังจะเกิดการยุ่ย และทำให้น้ำมีค่าบีโอดี หรือค่าสารอินทรีย์สูง ไม่สมควรนำมาลอย

ดร.อาภา หวังเกียรติ ผู้ช่วยคณบดีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า สำหรับกระทงขนมปังถึงจะย่อยสลายได้ แต่ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดน้ำเน่าได้ เพราะขนมปังเป็นประเภทสิ่งที่เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งสารอินทรีย์ก็คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โดยธรรมชาติหากสารอินทรีย์พวกนี้ลงไปอยู่ในแม่น้ำ มันก็จะมีจุลินทรีย์พวกแบคทีเรียมากินเป็นอาหาร หากปริมาณของสารพวกนี้ไม่มากนักไม่ถือว่าส่งผลเสีย เพราะมันก็จะเปลี่ยนแป้งไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ หากใช้กระทงขนมปังลอยน้ำในปริมาณมาก กระบวนการนี้ก็จะมีดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ เมื่อใช้ออกซิเจนในน้ำมากไป จะกลายเป็นสาเหตุของน้ำเน่าเสียได้

ชาวสวนพอใจหลังคณะวิจัยผนึกกำลังใช้เทคโนโลยี “การเกษตรแม่นยำ” พัฒนาสวนส้มคุณภาพให้เกิดความยั่งยืนและแก้ปัญหาโรคต้นโทรมอย่างตรงจุดที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

ศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช ผู้ประสานงานเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนำใช้เกษตรแม่นยำ คณะเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการทำการเกษตรในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายด้าน เรียกรวมๆ ว่า “การเกษตรแม่นยำ” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ได้รับการก่อตั้งภายใต้ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการเชื่อมโยงและสร้างเวทีให้ผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มมีเวทีและโอกาสร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ ได้แก่ เกษตรกรกับนโยบาย นักวิจัย และแหล่งทุน เพื่อร่วมกันยกระดับทางเกษตรอย่างแม่นยำ สร้างต้นแบบและตัวอย่างแม่นยำของส้ม ทุเรียน ลำไย มะพร้าว น้ำหอม ปาล์มน้ำมัน

ตัวอย่างงานวิจัยขณะนี้คือ การจัดการโรคต้นโทรมของส้มเขียวหวานอย่างแม่นยำและยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ โตอนันต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของโรคต้นโทรม โดยพบว่าเกิดจากสภาพดินเสื่อม เป็นกรด เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน และมีโรคสำคัญที่เป็นสาเหตุหลัก ได้แก่ โรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา และโรคกรีนนิ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยืนยันผลได้จากการใช้เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของเชื้อสาเหตุเช่นเดียวกับการตรวจโรคไข้เลือดออกในมนุษย์ โดยคณะวิจัยได้หาแนวทางแก้ไขอย่างแม่นยำและยั่งยืนด้วยการทดลองใช้เทคนิคชีวภาพ ใช้อินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงดินร่วมกับการใช้เชื้อราปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค โดยไม่ชักนำให้เกิดการดื้อยา จึงไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม

คณะวิจัยยังได้พัฒนาเชื้อราปฏิปักษ์ในรูปแบบของเชื้อสด เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปขยายต่อได้ด้วยตนเองซึ่งช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยมีแปลงส้มสาธิตดูงานและฝึกอบรมในอำเภอฝาง แม่อาย และไชยปราการ เพื่อสร้างองค์ความรู้และเผยแพร่วิธีการดูแลรักษาสวนส้มอย่างปลอดภัยแก่เกษตรกร ลดการใช้สารเคมีในการปลูกส้มและลดปัญหามลพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม ขณะนี้สามารถควบคุมโรคได้ในระดับโรงเรือน แต่ในแปลงปลูกของเกษตรกรยังมีเรื่องสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ปริมาณของน้ำฝนที่มากเกินไป หากจะแก้ปัญหาในระยะยาวจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างดิน หรือเปลี่ยนมาปลูกส้มในบ่อซีเมนต์โดยมีการเสริมรากควบคู่กันไป นอกจากนี้ ยังศึกษาการปลูกพืชอื่นเพื่อทดแทนส้มซึ่งยากในการบริหารจัดการ ซึ่งพบว่าเกษตรกรมีความต้องการปลูกทุเรียนเพราะเป็นที่ต้องการของตลาด โดยมี ผศ.ดร.รัชดาวรรณ ชีวังกูร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษาเรื่องการจัดการโรคไฟทอปธอร่าของทุเรียนอย่างแม่นยำและยั่งยืน

ด้าน ศ.ดร.เกตุ กรุดพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเองได้พัฒนาระบบเซ็นเซอร์ทางเคมีที่ใช้ในการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดิน เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนข้อมูลทางเคมีเป็นสัญญาณที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนรับและส่วนแปลง โดยช่วงแรกมุ่งเน้นธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม เป้าหมายเพื่อพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ทางเคมีที่ลดขนาดลง มีสัญญาณที่เกิดขึ้นการวิเคราะห์นั้นๆ ต่อเชื่อมกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสมัยใหม่ได้

รวมถึงใช้รีเอเจนต์ธรรมชาติที่สกัดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ราคาไม่แพง เพื่อประโยชน์ต่อเกษตรกรรากหญ้าของไทย ขณะนี้ได้ลองนำเซ็นเซอร์ไปใช้ในการติดตามคุณภาพดิน ปุ๋ย และน้ำในพื้นที่เกษตรกรรมสวนส้มคุณภาพ ที่อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ รวมทั้งทดลองกับเกษตรกรรากหญ้านาข้าวและไร่ข้าวโพดที่จังหวัดพะเยา ภายใต้วิสัยทัศน์ “Local wisdom, global issue, sustainable world” โดยกำหนดแนวทางในอนาคตว่าครัวเรือนเกษตรกรจะต้องมีขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงการทำเกษตรด้วยตนเอง

นายเจษฎา ศศานนท์ เจ้าของสวนส้มปางเสี้ยว กล่าวว่า หลังจากประสบปัญหาโรคต้นโทรมจนทำให้ส้มที่มีเนื้อที่ 10 ไร่เสียหาย สูญเสียเงินกว่า 5 ล้านบาท จึงได้เข้าร่วมทดลองใช้เทคโนโลยีเกษตรแม่นยำร่วมกับคณะวิจัย ทำให้รู้ปัญหาแบบฟันธงไม่ต้องหว่านแหเหมือนเมื่อก่อน ทำให้ลดระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาไปได้มากและรักษาโรคได้เร็วและตรงจุด ตนเองรู้สึกพอใจมากเพราะมีความแม่นยำมากกว่าร้อยละ 80 อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องใช้สารเคมีเพื่อรักษาโรคดังกล่าว เพราะยังไม่มีสารทดแทนจากธรรมชาติที่ให้ผลได้เต็มร้อย ชีวภัณฑ์ที่เป็นจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ยังมีราคาแพงกว่าสารเคมี จึงฝากความหวังไว้กับคณะวิจัยชุดนี้เพราะตนเองมีเป้าหมายที่จะทำส้มอินทรีย์ ขณะนี้ได้ทดลองปลูกส้มในมุ้งด้วยเทคโนโลยีจากไต้หวัน ซึ่งมีโครงสร้างแข็งแรง ตาข่ายมีความละเอียดสามารถกันเพลี้ยและรังสียูวีจากแสงแดด และใส่แกลบดิบที่มีเชื้อราที่เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคทางดินไว้รอบโคนต้น

หลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจยาง ปี 2562

กยท. เปิดรับสมัคร เกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการ และ สถาบันเกษตรกร เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจยาง ปี 2562 เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถ และเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตยางพารา

การยางแห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตยาง และผลักดันให้มีการใช้ยางในประเทศให้มากขึ้น ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย จึงได้จัดทำ หลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร สถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบกิจการยาง เพื่อเพิ่มความรู้ ความสามารถในด้านการสร้างมูลค่าให้กับ

ผลผลิตของตนเอง โดยจัดอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับยางพาราในด้านต่างๆ อาทิเช่น หลักสูตรการผลิตและการใช้ประโยชน์น้ำยางข้นชนิดครีม/เทคโนโลยียางแห้งเบื้องต้น/การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยวิธีจุ่ม/การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟองเพื่อผลิตของชำร่วย/การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากน้ำยางโดยการตีฟอง/การแปรรูปยางรัดของจากยางแห้ง/การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ยางแห้งโดยการอัดเบ้าพิมพ์/การทำเบ้าปูนพลาสเตอร์และการทำตุ๊กตายาง หน้ากากยาง/การผลิตหมอนยางพารา

สำหรับผู้ที่สนใจ เกษตรกร สถาบันเกษตร ผู้ประกอบกิจการ บุคคลทั่วไป หรือ หมู่คณะ สามารถแจ้งความประสงค์และลงทะเบียน ได้ที่ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพ 10900 โทร. (02) 940-7391 อี-เมล raot307@gmail.com หรือการยางแห่งประเทศไทย ทุกสาขา

ความสนุกเกิดขึ้นเมื่อ จ๊อบ – นิธิ สมุทรโคจร ท้าทาย น้องกระติ๊บ – ชวัลกร วรรธนพิสิฐกุล สาวผู้กลัวความสูง กระโดดน้ำตกที่มีความสูงกว่า 15 เมตร ในดินแดนแห่งเกาะ Cebu ประเทศฟิลิปปินส์ ตื่นตากับโลกใต้น้ำ แหวกว่ายพร้อมกับฝูงปลาซาร์ดีนนับล้านๆตัวอย่างใกล้ชิด

สัปดาห์นี้ จ๊อบ – นิธิ นำทีมโคจรบินลัดฟ้าไปกับสายการบิน Philippine Airlines เรียนรู้วงจรชีวิตใต้น้ำ สัมผัสกับความสวยงามของปะการังน้อยใหญ่ แหวกว่ายไปกับฝูงปลาซาร์ดีนนับล้านๆ ตัว จากนั้นจะพาไปพบกับอีกหนึ่งสถานที่ที่โด่งดังในโลกโซเชียล จนเหล่าทราเวลบล็อกเกอร์ต่างเทใจรีวิวให้ นั่นคือ Kawasan Falls ที่ตั้งอยู่บนเกาะ Cebu บริเวณโดยรอบโอบล้อมด้วยภูเขาหินปูน นำมาซึ่งธรรมชาติที่งดงาม จึงทำให้น้ำตกแห่งนี้มีสีฟ้าใสราวกับเทอควอยซ์ งานนี้สาวกระติ๊บผู้กลัวความสูง ยอมจำนนกระโดดน้ำตกชั้นไฮไลท์อย่างกล้าๆ กลัวๆ เรียกได้ว่าเป็นจุดวัดใจของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนที่พร้อมประลองฝีมือกัน อย่ารอช้า รีบตามสาวน้อยผู้กล้าไปกระโดดน้ำตกกันเลย

Cebu ถือเป็นสถานที่ในฝันของเหล่า Backpack ต้องไปเยือนสักครั้ง มาร่วมกันเอาใจช่วยกับภารกิจสุดท้าทาย ได้ในรายการ สมุดโคจร On The Way : Philippines – Cebu วันเสาร์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 ตั้งแต่เวลา 17:00 น. เป็นต้นไป ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 28 (3SD) หรือติดตามข่าวสารต่างๆ ได้ที่

น.สพ. สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ประธานในพิธี (แถวหน้า ที่ 6 จากขวา) และ นายอนุชิต คุ้มปรุ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร การผลิตปศุสัตว์ เครือเบทาโกร (แถวหน้า ที่ 5 จากขวา) ร่วมยินดีกับเกษตรกรฟาร์มสุกรจ้างเลี้ยงเครือเบทาโกร ในโอกาสเข้ารับประกาศนียบัตรผ่านการรับรอง “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ” ภายในงาน “ภาคปศุสัตว์ร่วมใจ ใส่ใจการใช้ยาปฏิชีวนะ” ณ โรงแรม พูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้

ชาวสวนพอใจหลังคณะวิจัยผนึกกำลังใช้เทคโนโลยี “การเกษตรแม่นยำ” พัฒนาสวนส้มคุณภาพให้เกิดความยั่งยืนและแก้ปัญหาโรคต้นโทรมอย่างตรงจุดที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนของ สกว.

ศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช ผู้ประสานงานเครือข่ายวิจัยพัฒนาและนำใช้เกษตรแม่นยำ คณะเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการทำการเกษตรในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายด้าน เรียกรวมๆ ว่า “การเกษตรแม่นยำ” ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ได้รับการก่อตั้งภายใต้ฝ่ายเกษตร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการเชื่อมโยงและสร้างเวทีให้ผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มมีเวทีและโอกาสร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ ได้แก่ เกษตรกรกับนโยบาย นักวิจัย และแหล่งทุน เพื่อร่วมกันยกระดับทางเกษตรอย่างแม่นยำ สร้างต้นแบบและตัวอย่างแม่นยำของส้ม ทุเรียน ลำไย มะพร้าว น้ำหอม ปาล์มน้ำมัน

ตัวอย่างงานวิจัยขณะนี้คือ การจัดการโรคต้นโทรมของส้มเขียวหวานอย่างแม่นยำและยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมี ศ.ดร.ชัยวัฒน์ โตอนันต์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหัวหน้าโครงการ เพื่อศึกษาถึงสาเหตุของโรคต้นโทรม โดยพบว่าเกิดจากสภาพดินเสื่อม เป็นกรด เนื่องจากใช้ปุ๋ยเคมีเป็นเวลานาน และมีโรคสำคัญที่เป็นสาเหตุหลัก ได้แก่ โรครากเน่าที่เกิดจากเชื้อรา และโรคกรีนนิ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งยืนยันผลได้จากการใช้เทคนิคการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอของเชื้อสาเหตุเช่นเดียวกับการตรวจโรคไข้เลือดออกในมนุษย์ โดยคณะวิจัยได้หาแนวทางแก้ไขอย่างแม่นยำและยั่งยืนด้วยการทดลองใช้เทคนิคชีวภาพ ใช้อินทรียวัตถุเพื่อปรับปรุงดินร่วมกับการใช้เชื้อราปฏิปักษ์เพื่อควบคุมเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรค โดยไม่ชักนำให้เกิดการดื้อยา จึงไม่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม