เมื่อไผ่ถึงอายุให้หน่อ ตัดมาขายในช่วงให้หน่อ คือ เดือนเมษายน

ซึ่งเป็นนอกฤดูของการให้หน่อของไผ่ทั่วไปวางขายหน้าบ้าน หน่อที่ตัดมาเหล่านั้นทำรายได้ให้วันละ 400-500 บาททีเดียว เมื่อช่องทางเป็นไปดังใจ คุณบุญยัง จึงมุ่งมั่นทำหน่อไผ่ขาย และ เริ่มทำพันธุ์ไผ่ขาย คุณบุญยัง เล่าว่า ในช่วงแรกของการนำไผ่เป๊าะสาละวิน มาลงปลูกที่สวน ก็นำไผ่ชนิดอื่นมาปลูกร่วมด้วยหลายชนิด และนำเทคนิคเท่าที่มีมาทำให้ไผ่ออกนอกฤดู ไผ่ชนิดอื่นไม่สามารถออกนอกฤดูได้แม้แต่ชนิดเดียว

มีเพียงไผ่เป๊าะสาละวิน ที่ไม่ต้องทำอะไรก็ออกนอกฤดูเป็นปกติ คือ ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และค่อยๆ ลดจำนวนหน่อลง แต่ยังสามารถเก็บขายได้ถึงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ไผ่ชนิดอื่นเริ่มให้หน่อ แต่หากใช้เทคนิคในการทำนอกฤดูกับไผ่เป๊าะสาละวินด้วยแล้ว หน่อที่เคยได้นอกฤดูอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นหลายเท่าตัว

ราคาหน่อไม้นอกฤดู สามารถขายได้ถึงราคากิโลกรัมละ 50 บาท หรือหากหน่อไม้ที่เก็บมาขายในช่วงที่ไผ่ชนิดอื่นให้หน่อ เคยราคาต่ำสุดอยู่ที่ กิโลกรัมละ 30 บาท คุณบุญยัง บอกว่า แม้หน่อไม้จะขายได้ราคาเพียงกิโลกรัมละ 15 บาท ก็ยังมีกำไร เพราะการปลูกไผ่ต้นทุนต่ำ มีเพียงค่าปุ๋ย ค่าแรงงาน และค่าน้ำเท่านั้น

“ราคาต้นทุนของการทำสวนไผ่ แทบไม่มีอะไร นอกจากปุ๋ยปีละครั้ง น้ำก็ให้เมื่อต้องการให้ออกหน่อ มีแรงงานนิดหน่อย อย่างสวนของผม ใช้แรงงานประจำเพียง 2 คน มีบางช่วงที่หน่อออกมาก อาจจ้างเพิ่มนิดหน่อย ราคาขายต่อปีอยู่ที่ 300,000-500,000 บาทต่อปี เฉพาะขายหน่อ แต่ต้นทุนอย่างมาก็แค่ 50,000 บาทเท่านั้น”

เมื่อเริ่มทำสวนไผ่ใหม่ๆ คุณบุญยังเก็บเมล็ดไผ่เป๊าะสาละวินจากป่ามาเพาะเอง เมื่อลงดินได้ จึงขุดหลุมปลูกระยะ 3×4 แต่หากใครสะดวกจะปลูก 4×4 หรือ 4×5 ก็ได้ ไม่ผิดกติกา

การลงปลูก ควรปลูกในช่วงเข้าฤดูฝน หรือ เดือนพฤษภาคม เพื่อให้ไผ่ได้น้ำจากฝน เป็นการประหยัดต้นทุนเรื่องน้ำ ซึ่งสวนไผ่เป๊าะสาละวินของคุณบุญยัง ให้น้ำไผ่ด้วยการติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ แต่ไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน หากต้องการหน่อจึงเริ่มให้น้ำเท่านั้น เพราะไผ่เป็นพืชที่สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง การให้น้ำหรือปุ๋ยเพิ่มไป คือ การทำให้ไผ่มีความสมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น นั่นหมายถึงผลผลิตจะดีมากกว่าปกติ

ทุกเดือนธันวาคม คุณบุญยังจะตัดแต่งไผ่ ซึ่งตรงนี้ เป็นเทคนิคที่ยินดีจะเปิดเผย 1.ตัดแต่งลำ ไม่ให้ลำเบียดหรือชิดกัน ส่วนจำนวนลำจะมากหรือน้อยไม่มีผล เมื่อลำไผ่มีพื้นที่ว่างรอบข้างลำมาก จะยิ่งทำให้ไผ่ติดหน่อได้มากถึง 6 หน่อ และหากไว้ลำมาก ก็จะเป็นการช่วยพยุงกอ เมื่อเกิดลมพายุ

2.ตัดแต่งใบไผ่ โดยการเอาใบไผ่บริเวณยอดออก ระยะแรกที่ไผ่ยังไม่สูงนัก ใช้วิธีจุดไฟเผาตามใบ เพื่อให้ใบร่วง แต่เมื่อไผ่สูงขึ้น การจุดไฟเผาอาจเกิดอันตรายการไฟได้ จึงใช้วิธีผสมสารโพแทสเซียม 400 กรัมต่อน้ำ 200 ลิตร พ่นไปที่ใบไผ่ หลังจากพ่นประมาณ 7 วัน ใบไผ่จะร่วงลงมาเอง หลังพ่นเสร็จควรใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 หรือ ขี้ไก่ และให้น้ำทิ้งไว้ เมื่อใบไผ่ร่วงลงมาก็ปล่อยให้ทับถมอยู่ในสวน

หากนำขี้ไก่มาทำปุ๋ย การใส่ขี้ไก่ก็ไม่มาก ราว 50 ลูกต่อ 20 ไร่

หลังตัดแต่งประมาณ 1 เดือน หน่อจะเริ่มแทงออกมา และเก็บหน่อขายได้ในเดือนมีนาคมของทุกปี

หน่อไผ่ที่ได้ น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม สีนวล เนื้อนิ่ม กรอบ หวาน ที่สำคัญ เนื้อหน่อไม้ไม่มีเสี้ยน คุณบุญยัง ย้ำว่า ไผ่เป๊าะสาละวิน เป็นไผ่ที่ให้ผลผลิตนอกฤดูอยู่แล้ว เมื่อเพิ่มเทคนิคการทำนอกฤดูเช่นนี้เข้าไป ยิ่งทำให้หน่อที่ออกนอกฤดูอยู่แล้ว เพิ่มปริมาณการติดหน่อมากขึ้น แต่สำหรับไผ่ชนิดอื่น เมื่อทดลองทำแล้ว ได้ผลน้อยมาก หรือ ไม่ได้ผลเลย

“แม้ว่าไผ่จะชอบน้ำ เมื่อจะติดหน่อ แต่ถ้าปีไหนสภาพอากาศค่อนข้างแล้ง เมื่อเราให้น้ำก่อนติดหน่อ ไผ่จะให้หน่อจำนวนค่อนข้างดี และราคาขายสูง แต่ปีไหนที่สภาพอากาศมีฝนตกชุก จำนวนหน่อไม่ได้ลดลง แต่ราคาขายถูกลง เนื่องจากมีไผ่ชนิดอื่นติดหน่อในช่วงนอกฤดูเท่านั้นเอง”

ราคาขายที่ผ่านมา ราคากิโลกรัมละ 40-50 บาท มาโดยตลอด ในช่วงฤดูที่หน่อไม้ออกจำนวนมาก สามารถเก็บขายได้มากถึงวันละ 300 กิโลกรัม รายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 บาทต่อวัน ซึ่งระยะหลังคุณบุญยัง ไม่ได้วางขายหน้าบ้าน แต่เปลี่ยนไปส่งให้กับตลาดแม่สะเรียง และเตรียมเปิดตลาดไปยังตลาดแม่สอด เพราะมีช่องทางลูกค้าประเทศเพื่อนบ้านอีกมาก

ส่วนการทำกิ่งพันธุ์ไผ่เป๊าะสาละวินขาย เริ่มทำมาตั้งแต่การขายหน่อติดตลาด มีลูกค้าติดต่อสั่งซื้อกิ่งพันธุ์จำนวนมาก ปัจจุบัน กิ่งพันธุ์มีลูกค้าสนใจแต่จำนวนลดลง เนื่องจากหลายคนรู้จักการทำกิ่งพันธุ์ไผ่ด้วยตนเอง เมื่อซื้อไปก็สามารถทำกิ่งพันธุ์เองได้ ทั้งยังขายเป็นรายได้อีกทาง

“ช่วงแรกๆ กิ่งพันธุ์ขายดีมาก ผมขายไม่แพง ลูกค้าสั่งมาครั้งละหลักหมื่นต้น กระจายไปทั่วประเทศ ส่วนมากเป็นลูกค้านำไปปลูกในจังหวัดนครราชสีมาเยอะ แล้วพอลูกค้าทำกิ่งพันธุ์เองได้ เริ่มขายกิ่งพันธุ์เอง ลูกค้าก็ไม่ต้องมาถึงเรา เพราะเราอยู่ไกล แต่ทุกวันนี้ก็ยังขายได้แม้จะไม่มากเท่าเดิมก็ตาม”

เพราะต้นไผ่ที่คุณบุญยังปลูก มาจากการเพาะเมล็ดตั้งแต่แรก ทำให้สวนไผ่แห่งนี้มีอายุอย่างน้อย 60 ปี ซึ่งทุกปีผลผลิตที่เป็นหน่อไม้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุของต้น

ปัจจุบัน คุณบุญยัง เพิ่มพื้นที่ปลูกเป็น 20 ไร่เศษ และปลูกเพียงไผ่เป๊าะสาละวินเพียงชนิดเดียว หน่อไม้ทั้งนอกฤดูและในฤดูจะนำไปส่งให้กับแม่ค้าที่ตลาดแม่สะเรียง กิ่งพันธุ์ยังคงมีผู้สนใจอย่างต่อเนื่อง และด้วยลำของไผ่เป๊าะสาละวิน มีขนาดเส้นรอบวงเมื่อใหญ่อยู่ที่ 4-5 นิ้ว ทำให้มีผู้สนใจติดต่อขอซื้อลำบางส่วน ซึ่งคุณบุญยัง นำลำไผ่แปรรูปเผาเป็นถ่านไม้ไผ่ และ ทดลองทำตะเกียบจากไม้ไผ่จำหน่ายไปบ้าง ทั้งนี้ คุณบุญยัง กระซิบบอกกับเราด้วยว่า เทคนิคการทำไผ่ออกนอกฤดูไม่หวง หากใครต้องการเรียนรู้การปลูกไผ่ สามารถพูดคุยหรือขอความรู้ได้ ไม่คิดค่าใช้จ่าย ติดต่อได้ที่ คุณบุญยัง เทพแก้ว หมู่ 5 บ้านห้วยทราย ตำบลแม่ออม อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือโทรศัพท์ 082-195-0814

การนำลำไผ่มาใช้ประโยชน์ ในแต่ละชนิดงานอาจต้องพิจารณาสายพันธุ์ก่อน เพราะไผ่แต่ละพันธุ์มีคุณสมบัติข้อดี/ข้อเสียแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้ลำไผ่ที่เหมาะสมกับการใช้งานจะช่วยลดต้นทุนได้

ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบอาชีพปลูกไผ่ขายลำ อย่าง คุณกฤษณ หอมคง มองว่าเส้นทางอาชีพนี้ยังมีความรุ่งโรจน์ เพียงแต่ขอให้ใส่ใจอย่างเต็มที่เท่านั้น คุณกฤษณ ประกอบอาชีพผู้ปลูกขายลำไผ่และเจ้าของธุรกิจน้ำใบไผ่ จากจังหวัดกาญจนบุรี ถือเป็นคนรุ่นใหม่หัวใจเกษตรอย่างแท้จริง รู้จักกับไผ่มาตั้งแต่เกิดก็ว่าได้เพราะครอบครัวทำธุรกิจขายลำไผ่ส่งไปขายที่ชลบุรีเพื่อนำไปเลี้ยงหอยแมลงภู่ ภายหลังจากเรียนจบในระดับมหาวิทยาลัย โดนคุณพ่อดึงตัวเข้ามารับสานงานต่อด้วยการตระเวนรับซื้อไผ่จากทางภาคเหนือเป็นหลัก จนทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติไผ่เป็นอย่างดี

คุณกฤษณ มีสวนไผ่ที่บ้านตั้งชื่อว่า “สวนภูมิใจ” เขาบอกว่าเหตุผลที่มาของชื่อสวนแห่งนี้เพราะเคยมีนายทุนนำเงินมาให้เพื่อต้องการให้สานต่อสิ่งที่ผมเคยไปกล่าวไว้เรื่องการส่งเสริมปลูกไผ่เมื่อปี 2549 ที่น่านเพื่อให้ชาวบ้านปลูกไผ่รวก

ความจริงแล้วที่น่านไม่จำเป็นต้องส่งเสริมให้ปลูกไผ่รวกก็ได้ เพราะไผ่รวกที่ใช้เลี้ยงหอยแมลงภู่ได้ทนทานมากที่สุดอยู่ที่จังหวัดน่าน ทั้งนี้ เพราะอาจมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอันเกิดมาจากลักษณะเฉพาะของภูมิประเทศ แม้ที่อื่นจะปลูกไผ่รวกแต่คุณภาพความคงทนสู้ที่น่านไม่ได้

ทั้งนี้ เพราะไผ่ชนิดเดียวกันเจริญเติบโตต่างถิ่นกันจะมีคุณภาพต่างกันด้วย ยกตัวอย่างไผ่เลี้ยงที่นำมาทำบันไดของการไฟฟ้าฯ ที่ใช้ในกรุงเทพฯ ทราบหรือไม่ว่าต้องใช้งานปีละไม่ต่ำกว่า 30 คันรถสิบล้อ ขณะเดียวกัน ยังมีอีกหลายหน่วยงานที่ต้องใช้ด้วยเช่นกัน

ถ้าว่ากันในเรื่องคุณภาพไผ่เลี้ยงแล้วจังหวัดแถวภาคอีสาน อย่างยโสธร อุบลราชธานี มีความแข็งแรง ทนทานกว่าที่อื่น ส่วนไผ่เลี้ยงทางเหนือจะอวบน้ำเมื่อนำมาตากแดดเพียงเดือนเดียวจะแห้ง

ไผ่รวกที่น่านมีลักษณะข้อถี่และความแข็งแกร่งของไม้รวกอยู่ที่ผิวเปลือก ด้วยเหตุนี้จึงทนน้ำเค็มได้ดี สามารถนำมาใช้งานเพื่อเลี้ยงหอยแมลงภู่ได้นานอันเป็นประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงเพราะไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย ช่วยลดต้นทุน อีกเหตุผลข้อดีไผ่รวกที่น่านคือเป็นไผ่ที่คนปลูก จึงสามารถระบุอายุของต้นไผ่ได้ชัดเจน จึงเป็นความสะดวกที่จะเลือกไผ่ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน

ทั้งนี้ ออเดอร์ที่รับซื้อไผ่รวกเพื่อนำไปใช้ในทะเลปีละ 100 คันรถเทรลเลอร์ (1 คันรถ มีจำนวน 30 ตัน หรือ 3,000 ลำ) โดยรับซื้อจากชาวบ้านลำละ 16 บาท ดังนั้น ราคารับซื้อ 1 คันรถ เป็นเงินเกือบ 50,000 บาท แต่ต้องเสียค่ารถขนคันละ 25,000 บาท

สรุปแล้วที่ชาวบ้านน่านปลูกไม้ไผ่รวกเป็นการช่วยให้เจ้าของรถและคนขายน้ำมันรวย จึงสงสัยว่าที่น่านมีการส่งเสริมให้ปลูกไผ่รวก แต่ทำไมไม่หาตลาดที่อยู่ใกล้เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุนในการขนส่งทางไกล

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ที่สวนภูมิใจมีแนวคิดการปลูกไผ่เพื่ออนุรักษ์ โดยมองว่าไม่เกิน 10 ปี ผู้ปลูกกับผู้ใช้จะเจอกันโดยตรง แล้วไม่ต้องผ่านคนกลาง เพราะเมื่อต้นทุนสูง คนปลูกจะหาทางออกด้วยการนำมาแปรรูปเอง ลงทุนเสียเอง อย่างที่ประเทศจีนทำ

สำหรับไม้ไผ่ที่รับซื้อมี 2 ชนิด ได้แก่ ไผ่รวกกับไผ่ตง โดยไผ่ตงซื้อแถวปราจีนบุรีและทางภาคเหนือ ทั้งนี้ พื้นที่ใดที่มีความชุ่มชื้นน้อยจะปลูกไผ่ได้ลำขนาดเล็ก ไผ่พันธุ์เดียวกันเมื่อนำไปปลูกต่างพื้นที่กันจะมีขนาดต่างกัน จึงสังเกตได้ว่าไผ่ที่ปลูกบนดอยจะมีขนาดราว 6-7 นิ้ว แต่เมื่อนำมาปลูกภาคกลางจะมีขนาดเล็ก เพราะจากประสบการณ์ที่คลุกกับไผ่มานานถึง 20 ปี ได้เก็บข้อมูลเรื่องไผ่มาตลอดพบว่าความสูงจากระดับน้ำทะเลมีผลต่อขนาดของลำไผ่

ไผ่ตงมีการรับซื้อจากกรมทรัพยากรชายฝั่งเพื่อนำไปทำแนวกันคลื่น ซึ่งในแต่ละปีต้องใช้ไม่ต่ำกว่า 3 ล้านท่อน แล้วใช้ขนาดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่ต่ำกว่า 3 นิ้ว ฉะนั้น ในเมื่อมีความต้องการอยู่แล้ว ทำไมจึงไม่มีการส่งเสริมให้ปลูก

ที่สวนภูมิใจปลูกไผ่ซางหม่นด้วย แล้วพบว่าเป็นไผ่ที่มีราคาสูงกว่าพันธุ์อื่นเนื่องจากโดยธรรมชาติมีลักษณะลำตรง ดังนั้น การปลูกไผ่เพื่อให้มีลักษณะลำตรงสวย จะต้องมีการจัดการแปลงอย่างถูกต้องและถูกวิธีด้วย แล้วซางหม่นเป็นพันธุ์ไผ่ที่มีลำต้นตรงโดยธรรมชาติ และเพราะการมีลำตรง มีขนาดลำสม่ำเสมอจะมีผลต่อต้นทุนในการนำไปแปรรูป เพราะไม่ต้องตัดทิ้ง สามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมดตลอดลำ เวลานำไปขายตัดเป็นท่อนยาว 2.50 เมตร ใส่รถปิกอัพนำไปส่งขายโรงงานทำตะเกียบและไม้จิ้มฟัน นอกจากนั้น ยังขายหน่อด้วย

สำหรับที่ญี่ปุ่นทางบริษัทโตโยต้าได้นำไม้ไผ่ไปสับแล้วผสมกับพลาสติกอัดขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนประกอบภายในรถ อย่างผลิตเป็นลำโพง

หรือแม้แต่ได้มีการนำไผ่มาผลิตเป็นถาดสำหรับไว้ใส่ปลาดิบในห้างสรรพสินค้า เพราะคุณสมบัติของไผ่ช่วยยืดอายุการเก็บปลาดิบไว้ที่ถาดได้นานกว่า 3 วัน แต่ถ้าเป็นถาดพลาสติกได้เพียงวันเดียว

เหตุผลที่ใช้ตะเกียบเพื่อคีบปลาดิบเพราะเป็นการรักษารสชาติไว้ ส่วนในวงการก่อสร้างได้มีการนำไม้ไผ่ไปอัดเป็นแผ่นหรือเป็นชิ้นเพื่อเป็นไม้ปาร์เก้ แล้วได้รับความนิยมเนื่องจากไผ่ช่วยปรับอุณหภูมิในห้องเพื่อให้มีความสมดุล

ดังนั้น สิ่งที่คิดคือว่าในเมื่อสามารถกินหน่อได้ ลำนำมาใช้ประโยชน์ได้ แล้วใบก็น่าจะกินได้ด้วยเช่นกัน ความจริงใบไผ่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นเครื่องดื่มในจีนมานานแล้ว เกาหลีใต้ส่งใบไผ่เข้าอเมริกาปีละกว่าพันล้าน

จึงได้คิดต่อยอดด้วยการนำงานวิจัยของกรมป่าไม้ที่ระบุว่า ไผ่ซางหม่นมีสารฟลาโวนอยด์สูง เพียงแต่ถ้านำมาทำเป็นชาแล้วกลิ่นไม่หอม ก็เลยหาวิธีปรับหลายต่อหลายครั้ง ไปพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาทางแก้ไขจนกระทั่งมั่นใจว่าได้กลิ่นที่พึงประสงค์ จากนั้นเลยผลิตขึ้นมาแล้วส่งไปทดสอบรสชาติและกลิ่นที่ญี่ปุ่นจนปรากฎผลว่าทางญี่ปุ่นให้การยอมรับ และส่วนที่นำมาทำน้ำไผ่คือใบอ่อน ซึ่งจะตัดที่ความสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนด้านล่างถ้ามีแขนงแตกออกก็จะทำกิ่งตอนขาย อย่างไรก็ตาม จะรับซื้อใบไผ่อ่อนจากชาวบ้านในราคากิโลกรัมละ 35 บาท

นอกจากนั้น ยังมีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่คือการนำจุลินทรีย์ของกรมพัฒนาที่ดินกับผงไผ่หมักรวมกันแล้วทดลองนำไปคลุกกับเมล็ดพืชอย่างข้าว พบว่าสามารถฆ่าเชื้อที่ติดมากับเมล็ดข้าวได้มากกว่าร้อยละ 95 นอกจากนั้นแล้ว ยังลองนำไปใช้กับไม้ผล ผัก อีกหลายชนิด พบว่าทำให้มีความสมบูรณ์ แข็งแรง มีอายุยาวนาน

คราวนี้มาดูในแปลงปลูกไผ่ของสวนภูมิใจกันบ้าง อย่างที่บอกว่าปลูกไผ่ 1 แปลง จะมีผลผลิตเกิดขึ้นเต็มที่บริเวณด้านริมแปลงมากที่สุด เพราะเป็นด้านที่ได้รับทั้งแสงและอากาศอย่างเต็มที่ ความจริงไผ่เมื่อโตเต็มที่ก็เป็นวัชพืชซึ่งกันและกันหรือจะเป็นศัตรูกัน จะเห็นว่าถ้าปลูกระยะ 4 คูณ 4 เมตร จะสังเกตว่าต้นไหนหากไม่สมบูรณ์เต็มที่จะมีลักษณะแคระแกร็น

สำหรับต้นทุนที่สูงที่สุดในการปลูกไผ่คือแรงงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการหนีปัญหาแรงงาน จึงต้องนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีเข้ามาใช้ให้มากที่สุด ทั้งนี้ จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีควบคู่ไปด้วยจึงจะเกิดผลอย่างมีคุณภาพ

ตัวอย่างเช่น การวางแนวปลูกให้มีร่องห่าง เช่น ถ้าปลูกระยะ 4 คูณ 4 เมตร จำนวน 100 กอ ก็เปลี่ยนเป็นปลูกแถวคู่ 2 เมตร ระหว่างต้นที่ 1 กับ 2 ในแถวแรกให้ห่างกัน 4 เมตร และแถวที่ 1 กับ 2 ห่างกัน 2 เมตร แล้วแถวที่ 1 กับ 2 ให้ปลูกสลับฟันปลา

ส่วนแถวที่ 2 กับ 3 ห่างกัน 6 เมตร ทั้งนี้ เพื่อต้องการเว้นช่องกลางให้สามารถนำเครื่องจักรเข้าไปทำงานได้อย่างสะดวก และอีกเหตุผลคือต้องการให้ไผ่ได้รับแสงเต็มที่ตลอดทั้งวัน นอกจากนั้น ที่ว่างยังสามารถขนถ่ายแขนงที่ตัดทิ้งออกไปนอกพื้นที่ปลูกได้แล้วนำแขนงไปกองเก็บไว้เพื่อให้ย่อยสลายเป็นปุ๋ยในเวลา 1 ปี อีกข้อดีของการเว้นพื้นที่ตรงกลางระหว่างแถวคือการสร้างรายได้ด้วยการนำพืชมาปลูกระหว่างรอให้ไผ่โต

พื้นที่จำนวน 44 ไร่ ใช้คนงานเพียง 3 คน มีการวางระบบน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ถ้าวันใดหากคนงานน้อยก็สามารถขับรถเข้าไปในไร่เพื่อไปเปิดวาล์วน้ำได้อย่างสะดวก

ทราบดีว่าไผ่แต่ละสายพันธุ์ให้ประโยชน์และคุณค่าที่ต่างกัน ทุกวันนี้ในสวนของผมเลือกปลูกพันธุ์ซางหม่นเพียงชนิดเดียว โดยนำลำที่มีความหนาขาย ส่วนลำที่มีเปลือกบางจะส่งเข้าโรงงานผลิตตะเกียบ ไม้จิ้มฟัน ส่วนที่เหลือใช้ทำปุ๋ยโดยสับแล้วหมักกับมูลสัตว์ ใช้แขนงที่ตัดทิ้งนำเข้าเครื่องสับเพื่อหมักเป็นปุ๋ยเพราะมีอินทรียวัตถุสูง บ่อหนึ่งหมักได้ 10 ตัน และมีกำลังการผลิตได้เพียงเดือนละ 10 ตัน โดยใช้วิธีหมักสลับบ่อ

เมื่อผาปังพัฒนาไผ่เป็นพลังงาน แล้วทาง BEDO ก็มีนวัตกรรมหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากไผ่ ทั้งหมดนี้เกิดจากเจตนารมณ์ที่ดี และอย่าลืมกลับไปมองว่าถ้าฝ่ายวางแผนเดินหน้าอย่างเดียวโดยไม่มองฝ่ายผลิตคือคนปลูกก็อาจจะประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ

สำหรับท่านที่อยู่แถวชลบุรี ระยอง แนะให้ปลูกไผ่หนาม เพราะตลาดหนองมนต้องสั่งซื้อจากเขมรมา 20 กว่าปี ดังนั้น ถ้าปลูกไผ่หนามแล้วยังไงก็ขายได้แน่นอน หรือท่านที่อยู่แถวจันทบุรีควรปลูกไผ่สำหรับค้ำลำไย เพราะเมื่อปีที่ผ่านมา มียอดออเดอร์ท่วมท้น อย่างที่สวนของผมรับยอดสั่งไม่ต่ำกว่าแสนท่อน

จึงอยากสรุปว่าขณะนี้มีงานวิจัยรองรับเรื่องไผ่ไว้มากมาย ดังนั้น ถ้าปลูกไว้ตอนนี้ควรเก็บไว้อย่าตัดทิ้ง เพราะมีประโยชน์ เพียงแต่คุณต้องเข้าให้ถูกช่อง แล้วจึงมองว่าเวลานี้นับว่าไผ่เป็นพืชทางเลือกแล้วถ้าเทียบกับพืชทางเลือกชนิดอื่นแล้วเห็นว่าปลูกไผ่คุ้มค่ากว่ามาก

ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แหล่งปลูกสำคัญอยู่ทางภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคเหนืออย่างอุตรดิตถ์ ระยะหลังมีปลูกได้ผลที่อิสาน จังหวัดศรีสะเกษ

ปัจจุบันพบว่า ทุเรียนมีปลูกได้ผลหลายจังหวัด มากบ้างน้อยบ้าง มีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนไม่น้อย ที่ต้นตายลงก่อนให้ผลผลิต โดยเฉพาะช่วงปลูกใหม่ 1-3 ปี ทำให้ต้องเสียเงินซื้อต้นพันธุ์หลายครั้ง สาเหตุการตายของทุเรียนต้นเล็ก นอกจากโรคและแมลงเข้าทำลายแล้ว ส่วนใหญ่เกิดจากความชื้นในช่วงแล้งไม่เพียงพอ
ดังนั้นเมื่อฝนหยุดตกไม่เกิน 1 เดือน เจ้าของควรตัดหญ้าคลุมโคนต้นให้ หรืออาจจะใช้ฟางข้าวคลุมก็ได้ จากนั้นรดน้ำ 3 วันครั้งหนึ่ง ระบบน้ำที่ให้อาจจะเป็นน้ำหยดหรือสปริงเกลอร์ก็ได้

ถ้าเป็นช่วงเดือนเมษายนที่อากาศร้อนจัด เกษตรกรบางรายถึงกับให้น้ำวันเว้นวัน เพื่อรักษาความชื้นในดิน เรื่องของปุ๋ย นอกจากปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักแล้ว เกษตรกรนิยมใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนชา ช่วยทำให้ทุเรียนเจริญเติบโตเร็ว คุณกฤษณ์ วงษ์วิทย์ เกษตรกรที่ตำบลแสลง อำเภอเมือง จันทบุรี ปลูกทุเรียนอายุได้ 4 ปี ก็สามารถไว้ผลผลิตได้แล้ว

ดูแล้วเหมือนยุ่งยาก แต่หากเอาใจใส่ ถือว่าคุ้ม ไม่ต้องลงทุนซื้อต้นใหม่

ไม้ผลอื่นๆ ในหน้าแล้ง หากคลุมโคลน รดน้ำให้ก็จะเจริญเติบโตเร็วอย่างเห็นได้ชัด เกษตรกรที่ไม่มีระบบน้ำ การคลุมโคนก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง อินเดีย มีประชากร 1,200 ล้านคน จะรองก็แต่จีนเท่านั้น

อินเดียผลิตข้าวได้มากเป็น อันดับ 2 รองจากจีนเช่นกัน คือผลิตได้ปีละ 155 ล้านตัน ขณะที่จีนผลิตได้ ปีละ 208 ล้านตัน ส่วนไทยผลิตได้ 25 ล้านตัน (ลดลงจากประมาณ 27 ล้านตัน หลายปีก่อนนี้) คือ ได้แค่ครึ่งหนึ่งของคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม

ข้าว เป็นแรงขับสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของอินเดีย

อินเดียผลิตทั้งข้าวขาวและข้าวซ้อมมือ ว่ากันว่า มีราวร้อยละ 20 ของผลผลิตทั้งโลก ข้าวเป็นอาหารหลักในภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศด้วย

ผลผลิตข้าวของอินเดียเพิ่มจาก 53.6 ล้านตัน ในปี 2523 มาเป็น 74.6 ล้านตัน ในปี 2533 เรียกว่าในทศวรรษเดียวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39 ที่จริงปีการผลิต 2552-2553 ผลผลิตลดลงเหลือ 89.14 ล้านตัน เพราะเจอภัยแล้ง พื้นที่เกษตรกรรมครึ่งหนึ่งของประเทศได้รับผลกระทบหนัก แต่ที่สุดผลผลิตก็เพิ่มขึ้นหลังจากนั้น และแตะร้อยล้านตันในปี 2554 เพราะได้ลมมรสุมที่เหมาะสมช่วยหนุน

ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ ไม่ใช่มาจากการเพิ่มพื้นที่ปลูก แสดงว่าเขาพัฒนาการปลูกข้าวของเขาได้ดีมาก

ผลผลิตข้าวของอินเดียต่อเฮกตาร์ (ราว 6.25 ไร่) เพิ่มจาก 1,336 กิโลกรัม ในปี 2523 เป็น 1,751 กิโลกรัม ใน 10 ปีต่อมา หรือถ้าจะนับระยาวกว่านั้น ผลผลิตต่อเฮกตาร์เพิ่มราว ร้อยละ 262 ระหว่างปี 2943 จนถึงปี 2535

ข้าว เป็นผลผลิตหลัก อินเดียมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดในบรรดาผลผลิตเกษตรกรรมทั้งหลาย อากาศร้อนชื้นของอินเดียเหมาะแก่การปลูกข้าวอย่างยิ่ง อุณหภูมิที่เหมาะแก่การปลูกข้าวคือ ประมาณ 25 องศาเซลเซียส และมีฝนเกิน 100 มิลลิเมตร ต่อปี ซึ่งอินเดียก็มีพื้นที่จำนวนมากตรงมาตรฐานนี้ พื้นที่ไหนที่มีฝนน้อยก็จะมีระบบชลประทานเข้าช่วย แต่บางรัฐอย่างอุตตรประเทศ ปัญจาบ และหรยาณา (Haryana) มักจะมีปัญหาน้ำท่วมช่วงมรสุม

ข้าวปลูกได้หลายวิธีแตกต่างกันไปตามพื้นที่ แต่ในอินเดีย วิธีการเพาะปลูกดั้งเดิมยังถูกนำมาใช้ในการเพาะปลูก คือยังไถพรวนด้วยคันไถแรงคน ใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ย เหมือนที่ยังคงค้างอยู่ในชนบทของไทยจำนวนไม่มากนัก

พื้นที่ปลูกข้าวกระจายอยู่ตามพื้นที่ฝั่งทะเลทางตะวันตก ฝั่งทะเลตะวันออก หรือที่จริงก็คือครอบคลุมพื้นที่สามเหลี่ยม อย่างพื้นที่อัสสัม ภูมิภาค Terai ไปจนถึงเขตใกล้หิมาลัย ในรัฐใหญ่อย่างเบงกอลตะวันตก รัฐพิหาร รัฐอุตตรประเทศ รัฐมัธยประเทศทางใต้และทางตอนเหนือ และรัฐโอริสสา ตลอดจนพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆ ที่กระจายไปทั่วประเทศ ชาวนาอินเดียทำนาได้อย่างน้อย 2 ครั้ง หลายที่ทำได้ 3 ครั้ง เลยทีเดียว

ระบบชลประทานมีกระจายทั่วไป กระทั่งในรัฐปัญจาบ และ รัฐหรยาณา (Haryana) ที่ภูมิอากาศเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวอยู่แล้ว ระบบชลประทานของอินเดียมีมานาน หนอง คลอง บึง เขาเจาะเชื่อมต่อกันได้เหมาะ

ซึ่งทำให้ฉันงงงวยมากกว่า เหตุไฉนคนจนอินเดียถึงยังมีมากเหลือเกิน

ข้าว เป็นพืชที่ปลูกบนพื้นที่สามเหลี่ยมชายฝั่งทะเล และพื้นที่ทางตะวันออกที่มีลมมรสุมพาฝนและอากาศที่เหมาะสมมาช่วยในหน้าร้อน ที่จริงอินเดียมีอากาศและฝนที่เหมาะกับการปลูกข้าวทั้งประเทศ

รัฐบาลกลางสนับสนุนชาวนาให้เพิ่มผลผลิต เว็บแทงบอลสเต็ป มีโครงการสำคัญอย่าง Special Rice Development Program (SRPP) และ National Food Security Mission (NFSM) เพื่อส่งเสริมให้ชาวนาพัฒนาการทำนาของตนเอง และมีนโยบายช่วยเหลือทั้งการพัฒนาพันธุ์ เงินกู้ เครื่องจักร เพื่อให้ต้นทุนการทำนาต่ำที่สุด และผลผลิตเพิ่มมากที่สุด ไฟฟ้าและระบบชลประทานได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางให้มีต้นทุนต่ำกว่าการใช้เพื่อประโยชน์อื่น เครื่องจักรที่ใช้ในการทำนามีราคาถูกกว่าเครื่องจักรทั่วไป ปุ๋ยก็เช่นกัน

รัฐบาลยังสนับสนุนอย่างมากในการพัฒนาพันธุ์ข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ทนทานต่อโรคและศัตรูพืช

รัฐวิสาหกิจหลักที่รัฐบาลใช้ในการช่วยชาวนาคือ บรรษัทข้าวแห่งอินเดีย หรือ Food Corporation of India (FCI) บรรษัทนี้จะเข้ารับซื้อข้าวโดยตรงจากชาวนา และเป็นผู้แบกสต๊อกทั้งหมดไว้ รัฐบาลสนับสนุนราคารับซื้อข้าวสีแล้ว หรือสนับสนุนการส่งออก เพื่อให้ราคารับซื้อข้าวจากชาวนาสูงขึ้น

แม้โดยทั่วไปพื้นที่จะเหมาะสมกับการปลูกข้าว แต่ก็มีพื้นที่ไม่ประสบปัญหาฝนไม่สม่ำเสมอ ทั้งภัยแล้งไปจนถึงน้ำท่วม นอกจากนั้น ก็คือความยากจนของเกษตรกรที่นำมาซึ่งความขาดแคลนอ่อนด้อยในสารพัดทาง ขาดวัตถุดิบ ขาดนั่นนี่ไปหมดเหมือนชาวนาในประเทศอื่นๆ ที่มักจะยากจนเสมอ (มีชาวนาในญี่ปุ่นที่พ้นจากกฎเกณฑ์นี้ จากการสนับสนุนอย่างมากของรัฐบาล วันหลังจะเล่าให้ฟัง)

ปัญหาหนักอย่างหนึ่งคือ อินเดียยังขาดการบำรุงดิน เพราะเป็นประเทศใหญ่และภาระของรัฐบาลก็มีมากมายหลากหลายสำหรับประชากรพันกว่าล้านคน เกษตรอินทรีย์ เป็นการทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตร ที่ไม่มีสารเคมีตกค้าง และหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อส่งเสริมความอุดมสมบูรณ์ของดินและความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศ รวมถึงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมี สารสังเคราะห์ หรือสิ่งที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรม

แนวทางของเกษตรอินทรีย์ เป็นการอนุรักษ์ดินและระบบนิเวศ โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการปลูกพืชจะใช้ปุ๋ยหมักแทนปุ๋ยเคมี กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคน ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อให้เกิดความหลากหลาย มีการเลี้ยงไส้เดือนดิน ใช้เศษพืชทำเป็นปุ๋ยหมัก ทำให้ดินได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลดต้นทุนการผลิตด้วย มีการใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อไล่แมลงศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี เป็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เกษตรกรมีความปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค