เราพูดได้ว่า ซีพีเอฟ เป็นบริษัทเดียวในโลกที่ตอบสนอง

เกษตรกรผู้เลี้ยงได้ครบวงจร ทำให้เกษตรกรและบริษัทสามารถตรวจสอบย้อนกลับในห่วงโซ่การผลิตได้ เราไม่เคยหยุดพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนนวัตกรรม ซึ่งปัจจุบัน เราเป็นผู้ผลิตพ่อแม่พันธุ์กุ้งที่ดีที่สุดในโลกนายโรบินส์ ย้ำนายโรบินส์ กล่าวต่อไปว่า จุดแข็งของธุรกิจกุ้งของ ซีพีเอฟ เกิดจาก 4 ปัจจัยสนับสนุน คือ

1. สายพันธุ์กุ้งต้านทานโรคสูงโดยเฉพาะเชื้อไวรัสทอร่า (Taura Virus) อาการติดเชื้อ EMS และโรคไวรัสจุดขาว (White Spot Virus) นอกจากนี้ บริษัทยังได้แนะนำวิธีการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมปลอดเชื้อให้เกษตรกรในเอเชีย ทั้งยังประยุกต์เทคนิคการผสมพันธุ์กุ้งเพื่อเพิ่มอัตราการโตของกุ้ง กุ้งมีความแข็งแรงต้านทานโรคหลักที่เกิดกับกุ้งได้สำเร็จ ลดความสูญเสียของเกษตรกรและฟาร์ม

2. การพัฒนาบ่ออนุบาลสำหรับกุ้งช่วงอายุต่างๆ ให้มีสุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคสำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมปลอดโรค ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่กระตุ้นให้อุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในเอเชียเติบโตสูงสุดระหว่างปี 2547-2554 และเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนในช่วงต่อมา โดยเริ่มจากตัวอ่อนกุ้งที่แข็งแรงจากสายพันธุ์ที่ดี โตเร็ว และอัตรารอดสูงในบ่อเลี้ยงตามธรรมชาติ

3. การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งอย่างยั่งยืน ปัจจุบันอาหารกุ้งของ ซีพีเอฟ ไม่ใช้ปลาป่นที่ได้จากการจับจากทะเล แต่ใช้ปลาป่นที่มาจากผลพลอยได้ในอุตสาหกรรมอาหาร ตลอดจนให้ความสำคัญกับการใช้วัตถุดิบอาหารกุ้งที่มาจากการจัดหาและแหล่งผลิตที่ได้รับรองความยั่งยืนเท่านั้น ซึ่งยังคงสนับสนุนให้กุ้งแข็งแรงดีและโตเร็ว

สุดท้าย ซีพีเอฟ ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงระบบการเลี้ยงกุ้งแบบชีวภาพเพื่อป้องกันโรคต่างๆ จากธรรมชาติ เช่น EMS โรคไมโครสปอริเดีย (Enterocytozoon hepatopenaei : EHP) และโรคไวรัสจุดขาว (White Spot Syndrome Virus) สำหรับเทคโนโลยีใหม่นี้มีหลักการเดียวกับระบบเพาะเลี้ยงสัตว์ในระบบน้ำหมุนเวียน (recirculating aquaculture systems : RAS) ควบคู่กับการบริหารจัดการฟาร์มขนาดเล็ก ระบบ RAS เป็นระบบที่นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ลดการใช้น้ำ ที่สำคัญยังเป็นเทคโนโลยีที่ดักจับของเสียจากกุ้งไม่ก่อให้เกิดมลภาวะในบ่อเลี้ยง ช่วยลดเสี่ยงจากการติดโรคได้ดี

ผลจากการดำเนินงานตามปัจจัยทั้ง 4 ข้อ จากบ่อเลี้ยงที่มีขนาดเล็กลงทำให้ควบคุมพื้นที่ได้ดีขึ้น ขณะเดียวกัน มีน้ำสะอาดตลอดเวลาทำให้ได้ผลผลิตต่อหน่วยสูงขึ้น ซึ่งเป็นการผสมผสานกับพันธุ์กุ้งโตเร็วของ ซีพีเอฟ ที่ให้ประสิทธิภาพการเลี้ยงกุ้งดีกว่าและผลผลิตดีกว่าการเลี้ยงแบบดั้งเดิมถึง 25 เท่า

การเลี้ยงกุ้งด้วยเทคโนโลยีและการเลี้ยงแบบผสมผสานแบบครบวงจรของ ซีพีเอฟ หรือที่เรียกว่า “เทคนิค 3 สะอาด” เป็นการให้ความสำคัญกับความสะอาดในการเตรียมบ่อกุ้ง ลูกกุ้งสะอาด และน้ำสะอาด ตลอดจนการประยุกต์ใช้เทคนิค 3 สะอาด ควบคู่กับการเลี้ยงแบบชีวภาพ หรือ ซีพีเอฟ คอมบายด์ โมเดล (CPF Combined Model) ให้เหมาะกับการเลี้ยงกุ้งในประเทศอินเดีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์

“เมื่อปี 2529 ซีพีเอฟ เป็นผู้นำในปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งเพื่ออนาคตในรูปแบบใหม่ ซึ่งส่งผลให้กุ้งเป็นอาหารที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในราคาเหมาะสม และเป็นอีกครั้งที่บริษัทเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงการทำฟาร์มกุ้งทุกๆ แห่งทั่วโลกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นายโรบินส์ กล่าวย้ำ

ปัจจุบัน การทำฟาร์มกุ้งในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นับวันจะทำได้ยากขึ้น เนื่องจากคุณภาพน้ำไม่ดีเหมือนเมื่อ 20 ปีก่อน ส่งผลกระทบต่ออนาคตของธุรกิจการเลี้ยงกุ้ง ในขณะที่อเมริกายังมีที่ดินที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า ทำให้เห็นแนวโน้มธุรกิจการเลี้ยงกุ้งในสหรัฐอเมริกา จะเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต

ทั้งนี้ ซีพีเอฟ ยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งในระบบน้ำหมุนเวียน (RAS) เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงกุ้งที่สหรัฐฯในพื้นที่ที่อยู่ไกลจากมหาสมุทรและในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศตามฤดูกาล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจกุ้งครบวงจร (สายพันธุ์กุ้ง ตัวอ่อน ลูกกุ้ง อาหารกุ้ง การบริหารจัดการฟาร์มที่ดีและการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจัยสนับสนุนการเป็นผู้นำธุรกิจเพาะเลี้ยงกุ้งในสหรัฐฯได้เป็นอย่างดีในทุกที่ทุกเวลา ซึ่งฟาร์มเหล่านั้นไม่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำทะเลแต่อยู่ได้ด้วยระบบน้ำแบบหมุนเวียน และไม่มีการปล่อยของเสียหรือขยะสู่สิ่งแวดล้อม

“ซีพีเอฟ คาดว่าจะเป็นผู้นำการเลี้ยงกุ้งของโลกในอนาคต ซึ่งเทคโนโลยีของเราถูกพัฒนาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับทุกประเทศในโลกนี้” มร.โรบินส์ กล่าว22 ตุลาคม 2562 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานแถลงข่าว จับตาวิกฤตยางพาราไทย : ยางและไม้ยางพาราไทยกับการถูกกีดกันทางการค้าด้วย “มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี ณ ห้องประชุม 3 ชั้น 15 สกสว. เพื่อสรุปสถานการณ์ของยางพาราไทยในปัจจุบันและนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาหลังไทยถูกกีดกันทางการค้า ด้วย “มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี”

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกสว. กล่าวว่า สืบเนื่องจากชาวสวนยางพาราไทยได้ประสบกับปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างมากมาเป็นเวลานาน มากกว่า 5 ปี ทำให้ชาวสวนยางและคนกรีดยางได้รับความเดือดร้อนมาก ที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามแก้ปัญหามาโดยตลอด อาทิ การนำยางพารามาทำเป็นผลิตภัณฑ์ยางชนิดต่างๆ การทำถนน

โดยการนำยางพารามาผสมกับยางมะตอย และนำยางพาราไปผสมกับดินเพื่อทำถนน ทำให้เกิดนโยบาย “โครงการ 1 ตำบล ทำถนนยางพารา 1 กิโลเมตร” รวมทั้งการหาตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ได้แก่ ตลาดอินเดีย แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นได้ โดยมาตรการล่าสุดที่รัฐบาลแก้ปัญหาคือการประกันราคายาง เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2563 ครอบครัวละไม่เกิน 25 ไร่ โดยราคาประกันยางแผ่นดิบ 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม

ทั้งนี้ นอกจากราคายางพาราที่ตกต่ำจนชาวสวนยางต้องขายยางพาราในราคาที่ต่ำกว่าทุนแล้ว ประเทศผู้ซื้อยางและไม้ยางพารายังพยายามกดให้ราคาถูกลงอีก โดยใช้ข้อกีดกันทางการค้าอื่นที่ไม่ใช่ภาษี (Non tariff barriers) เช่น การบุกรุกป่าเพื่อปลูกยาง การใช้สารเคมีบางชนิด การตัดต้นยางพาราที่ไม่ถูกวิธี การไม่อนุรักษ์พื้นที่ป่าอนุรักษ์และสัตว์ป่า เป็นต้น โดยประเทศผู้ซื้อจะอ้างอิงมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืน ทั้ง Forest Stewardship Council (FSC) และ Program for the Endorsement of Forest Certification (PEFC)

โดยอาศัยกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กำลังมาแรงในขณะนี้เป็นข้ออ้าง สกสว. ได้ตระหนักถึงปัญหาการกีดกันทางการค้าดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งในขณะนั้น สกว. (ชื่อ เดิมของ สกสว.) ได้ให้ทุนสนับสนุนการทำวิจัย ตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน เพื่อจัดทำมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบการจัดการรวมทั้งขนบธรรมเนียม และวิถีชีวิตของชาวสวนยางไทย โดยต้องเป็นที่ยอมรับขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศทั้ง FSC และ PEFC อาทิ มาตรฐานการจัดสวนป่าไม้อย่างยั่งยืน มอก.14061, FSC Thailand (มาตรฐาน FSC ที่เหมาะสมกับประเทศไทย) รวมทั้งการให้ความรู้แก่เกษตรกร โดยการฝึกอบรม และจัดทำเอกสารคู่มือเผยแพร่

เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนต่อไปได้ โดยมีงานวิจัยด้านยางที่ถูกนำไปใช้ประโยชน์อยู่หลายโครงการ อาทิเช่น โครงการวิจัย รูปแบบการจัดการสวนยางพาราที่เหมาะสมในประเทศไทยเพื่อรองรับการตรวจรับรองตามมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ของ FSC ของ ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร ที่ทำให้ได้มาซึ่งต้นแบบการจัดการสวนยางที่ได้รับการรับรองจาก Forest Stewardship Council (FSC) ที่เกษตรกรชาวสวนยางในพื้นที่อื่นๆ สามารถนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนได้

ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ศิริฤกษ์ ทรงวิไล ผู้อำนวนการ วช. กล่าวว่า สถานการณ์ล่าสุดในช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา พบว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านยางรถยนต์ (มิชลิน) ของประเทศฝรั่งเศส และเฟอร์นิเจอร์ (อิเกีย) ของประเทศสวีเดน ได้ประกาศว่าในอีก 2 เดือนข้างหน้า ทั้ง 2 บริษัทจะไม่ซื้อยางพารา และไม้ยางพาราที่มีการบุกรุกป่านั้น และในขณะเดียวกันยังมีบริษัทจากต่างประเทศอีกหลายประเทศเริ่มมีการเคลื่อนไหวที่จะไม่ยอมรับยางพารา และไม้ยางพาราของไทยจากสวนยางที่ไม่ได้รับรองการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ ทั้งมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council), มาตรฐาน PEFC (Program for the Endorsement of Forest Certification) และมาตรฐานการจัดการสวนป่าไม้เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน มอก. 14061 ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกำลังเป็นประเด็นที่สำคัญของโลก

ด้วยเหตุนี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ทราบความสำคัญ และมองเห็นความจำเป็นในการเตรียมความพร้อม เพื่อลดการกีดกันทางการค้าหรือ Non tariff barriers และทำให้เกิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันมาตั้งแต่ปี 2559 โดยได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยเพื่อ แก้ปัญหา และเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรชาวสวนยางทั้งรายเล็ก และรายใหญ่ในการปรับตัว และสามารถปฏิบัติ หรือจัดการสวนยางพาราให้สอดคล้องกับมาตรฐานการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานนานาชาติ ทั้ง FSC, PEFC และ มอก. 14061

ในขณะที่ ผศ.ดร.ขวัญชัย ดวงสถาพร หัวหน้าภาควิชาการจัดการป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้กล่าวถึงว่า ข้อมูลปี 2561 ระบุว่าตลาดส่งออกยางพาราไทยอันดับ 1 คือ จีน ขณะนี้จีนสร้างมาตรฐาน FSC เสร็จแล้ว ถ้าจีนประกาศใช้เมื่อไหร่จะส่งผล กระทบต่อการส่งออกของไทยทันที ในขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางพาราที่มีการจัดการ ได้รับการรับรองตามมาตรฐานเพียง 122,658 ไร่ หรือ 0.5% เท่านั้น แต่มีสวนยางที่ไม่ผ่านมาตรฐานสากลถึง 99.5%

ปัญหาหลักๆมีรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางพาราในประเทศไทย 6 ข้อด้วยกันคือ (1) ผลสืบเนื่องจากปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมโลกที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อการเร่งให้มีมาตรฐานการจัดการสวนยางพารา (2) สถานการณ์การส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพาราในระยะยาวอยู่ในสถานภาพที่มีความเสี่ยงสูง (3) ประเทศไทยมีพื้นที่สวนยางพาราที่มีการจัดการและได้รับการรับรองตามมาตรฐานการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติเพียง ร้อยละ 0.5 ของพื้นที่สวนยางพาราทั้งประเทศ (4) มาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติตามเงื่อนไขของผู้ซื้อมีหลายมาตรฐาน (5) ผู้ทำสวนยางพาราและผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพาราส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติที่ดีพอ และ (6) มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการรับรองของ FSC จากเวอร์ชั่น 4 เป็น เวอร์ชั่น 5 ในปี พ.ศ. 2563

ซึ่งมีเงื่อนไขเพิ่มมากขึ้นในการปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ซึ่ง ผศ.ดร. ขวัญชัย ดวงสถาพร ได้เสนอแนะแนวทางเพื่อตอบโจทย์เร่งด่วนของวิกฤตยางพาราไทยบนพื้นฐานงานวิจัย 6 ประการ ได้แก่ (1) กำหนดเป็นวาระแห่งชาติเร่งด่วนในการพัฒนาศักยภาพของการทำสวนยางพาราทั้งระบบเพื่อให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติ (2) กำหนดหรือสร้างองค์กรที่มีภารกิจในการรับมือ เจรจา และสร้างการรับรู้กับผู้เกี่ยวข้อง เช่น การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์

กระทรวงการต่างประเทศ มหาวิทยาลัย (3) พัฒนาศักยภาพและสร้างความพร้อมของผู้ทำสวนยางพารา ผู้ประกอบธุรกิจไม้ยางพารา และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ให้ได้รับการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติโดยด่วน (4) สร้าง Forest Management Standard for Thailand บนพื้นฐานของงานวิจัย ที่ได้รับการรับรองจาก FSC หรือ PEFC (5) เร่งวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการสวนยางพาราที่มีอยู่หลากหลายรูปแบบในประเทศไทย เช่น การปลูกเชิงเดี่ยว และการปลูกพืชร่วมยางพารา เพื่อรองรับการตรวจมาตรฐาน ภายใน 1-2 ปี และ (6) ผลักดัน เร่งรัด และเพิ่มศักยภาพให้สวนยางพาราไทยผ่านมาตรฐานการรับรองการจัดการป่าไม้ในระดับนานาชาติตามปริมาณและความต้องการของผู้ซื้อภายใน 2 ปี

สมาพันธ์เกษตรปลอดภัย ผู้แทนสมาคมและครอบครัวเกษตร 5 ล้านครอบครัว ประกาศเรียกร้องรัฐรับมือความเสียหาย 8.2 แสนล้านบาท พร้อมจ่ายค่าส่วนต่างแรงงานถางหญ้าเกษตรอุตสาหกรรม 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี เคลียร์หนี้ ธกส. ทุกครอบครัวเกษตร พร้อมสร้างหนี้ใหม่ซื้อเครื่องจักรโดยรัฐจ่ายส่วนต่างจากต้นทุนใช้สารเคมี หลังคำตัดสิน รมว. เกษตร บอกปัดหนีหน้าเกษตรกร นายสุกรรณ์ สังข์วรรรณะ เลขาธิการสมาพันธ์เกษตรปลอดภัย เปิดเผยว่า หลังจากมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ประกาศแบนสารเคมีกำจัดวัชพืช พาราควอตและไกลโฟเซต

ซึ่งเป็นปัจจัยหลักการผลิตสำคัญที่ทำให้เกษตรอุตสาหกรรมของประเทศเจริญเติบโตได้ทุกวันนี้ ภาครัฐจะต้องเตรียมรับมือกับมูลค่าความเสียหายทั้งในแง่รายได้เกษตรกร 2.5 แสนล้านบาท และมูลค่าการส่งออก 5.7 แสนล้านบาท รวมแล้วภาครัฐจะต้องสูญเสียรายได้กว่า 8.2 แสนล้านบาท ขณะเดียวกัน ภาคเกษตรกร จำเป็นต้องใช้สิ่งทดแทนที่ไม่ใช้สารเคมี

เนื่องจากกังวลด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ขอให้รัฐจ่ายเงินค่าชดเชย ส่วนต่างค่าแรงงาน 1.2 ล้านล้านบาทต่อปี พร้อมหาแรงงานคนมาช่วยถอนหญ้า หากหาไม่ได้ขอให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ มาถอนหญ้าให้เกษตรกร 60 ล้านไร่ให้เสร็จภายใน 30 วัน

รวมทั้งยกเลิกหนี้สินปัจจุบันของครอบครัวเกษตรกรทุกคนที่อยู่ในระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อสร้างหนี้ใหม่กู้เงินมาซื้อเครื่องจักร และรัฐออกค่าใช้จ่ายส่วนต่างของเครื่องจักรทั้งหมดให้เกษตรกรเมื่อเทียบกับค่าสารเคมี พาราควอต สำหรับมาตรการรองรับการแบน 3 สารดังกล่าว ยังขาดความชัดเจนในหลายด้าน เป็นเพียงนโยบายกระดาษ ขาดความสามารถในการปฏับัติจริง

ขอให้หน่วยงานภาครัฐมาทดลองสาธิตให้เห็นเป็นรูปธรรมกับพืชเศรษฐกิจที่กำลังปลูกบนพื้นที่ 500 ไร่ให้เห็นจริง เห็นผลภายการกำจัด หญ้า ภายใน 1 วัน หากทำไม่ได้ก็เป็นเพียงนโยบายน้ำลายขายฝันให้เกษตรกร และขอประกาศให้วันที่ 22 ตุลาคม เป็น วันกลียุคเกษตรกรรมไทย จารึกไว้ให้รุ่นลูกหลานรู้ไว้ถึง เกษตรกรรมไทยล้มสลายด้วยระบบการบริหารเอื้อนายทุนสารเคมีกลุ่มใหม่ ทฤษฏีสมรู้ร่วมคิดระหว่างนักการเมืองและ NGO นอกจากนี้ เกษตรกรขอประกาศแบนพรรคการเมืองสมคบคิด และขอ “เผาผี” กลุ่มบุคคลดังกล่าวที่ตั้งใจทำร้ายเกษตรกร อ้างทำเพื่อสุขภาพประชาชน และเตรียมพาพี่น้องเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบไปเรียกร้องค่าชดเชยต่อไป

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ในห้วงเวลาของการลุ้นมติคณะรัฐมนตรีว่าจะแบนหรือไม่แบน 3 สารเคมีอันตรายในวงการเกษตรไทยนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้ลงพื้นที่ไปติดตามชีวิตของเกษตรกรผู้มีอาชีพเสี่ยงตาย ที่จะต้องสัมผัสกับสารเคมีอันตรายอยู่ทุกวัน นั่นก็คืออาชีพรับจ้างฉีดยาข้าว โดยไปที่หมู่ 13 ต.นางลือ อ.เมือง จ.ชัยนาท ซึ่งคนงานฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในนาข้าว กำลังทำงานแข่งกับเวลาอย่างขมักเขม้น แต่ละคนไม่ค่อยมีอุปกรณ์ป้องกันสารพิษเข้าสู่ร่างกาย แม้ว่าจะปรากฏข่าวว่าสารเหล่านี้ เป็นสาเหตุทำให้มีผู้ประกอบอาชีพนี้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องก็ตาม

โดยแต่ละคนให้เหตุผลว่าไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ป้องกันสารเคมี จึงไม่รู้จะไปหาซื้อที่ไหนหรือราคาเท่าไหร่ และแม้จะรู้ว่าเป็นอาชีพที่เสี่ยงก็ยังอยากทำอยู่เพราะเป็นอาชีพที่รายได้ดีกว่าการใช้แรงงานประเภทอื่นๆ

คนงานฉีดพ่นยาในนาข้าว รายหนึ่ง กล่าวว่า เวลาทำงานจะไม่สวมรองเท้าเพราะไม่ถนัด ยิ่งถ้าใส่รองเท้าบูทจะเหยียบต้นข้าว ทำให้ข้าวเสียหาย ส่วนหน้ากากป้องกันนั้นไม่ได้ใช้ จะใช้หมวกไอ้โม่งอย่างเดียว ถามว่ากลัวสารพิษเข้าร่างกายไหม ก็กลัวแต่นี่เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ เคยทำได้สูงสุดวันละ 1,000 กว่าบาท ถ้าทีมมีน้อยคนจะได้ค่าแรงมาก ค่าจ้างคิดไร่ละ 50 บาท เวลาทำงานจะไปเป็นทีม 3-4 คน เมื่อได้ค่าแรงมาจะหารเฉลี่ยกัน เคยมีคนในหมู่บ้านใกล้เคียงทำงานแบบนี้แล้วมีอาการสารพิษตกค้างในร่างกายเสียชีวิต ตนเองรู้สึกกลัวเหมือนกัน

นายประทีป สุขคล้าย ชาวนาวัย 50 ปี กล่าวว่า คนงานรับจ้างฉีดพ่นยามีจำนวนมาก หลายที่ แต่ส่วนใหญ่จะใช้บริการของคนหมู่ 9 ต.นางลือ เพราะมีหลายชุด และอยู่ใกล้บ้าน ค่าบริการก็จะอิงราคาเรตเดียวกันหมด

เมื่อถามถึงการแบนหรือไม่แบน 3 สารเคมีอันตราย คนงานทุกคนพูดคล้ายๆ กันก็คือ ไม่รู้จะมีผลอะไรกับอาชีพคนงานอย่างพวกตนหรือไม่ เพราะไม่ว่าจะแบนหรือไม่แบน พวกตนก็ยังคงต้องขายแรงงานในอาชีพนี้ต่อไป แม้จะรู้ว่าเสี่ยงตายก็คงต้องยอม

รัฐบาลกำหนดโมเดลการพัฒนาขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรม เพื่อพัฒนาขีดความสามารถใหม่ให้กับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะภาคการเกษตร มุ่งส่งเสริมให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาช่วยในด้านการผลิตในภาคเกษตร ก้าวไปสู่ “ เกษตรอัจฉริยะ” (Smart Agriculture) ตามยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศ “ไทยแลนด์ 4.0” เพื่อยกระดับคุณภาพผลผลิตสินค้าเกษตรไทยและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะขึ้น โดยมีภารกิจจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะต้นแบบ ได้แก่ ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สับปะรด และมะเขือเทศ (ในโรงเรือน) ให้เกษตรกรได้ศึกษาและนำไปปรับใช้ โดยคาดหวังว่า ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล จะก่อให้เกิดการผลิต-การค้าขายในรูปแบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระยะยาว

เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรกรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในแปลงเพาะปลูกเพื่อให้ได้สินค้าเกษตรที่แม่นยำสูง มีระบบการบริหารจัดการฟาร์ม/แปลงที่นำชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) มาวิเคราะห์ช่วยให้เกษตรกรหาทางเลือกในการผลิตที่เหมาะสม และนำเสนอสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนเข้าสู่ตลาดพาณิชย์อิเลคทรอนิก์ e Commerc และระบบการขนส่ง e logistics รวมทั้งการจ่ายเงินแบบ e payments เพื่อให้เกษตรกรสามารถค้าขายและมีรายได้เพิ่มขึ้น

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดนโยบายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร GovTech/Big data ดังนี้ 1. พัฒนาและจัดทำระบบรายการข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) โดยตรวจสอบ วิเคราะห์และกำหนดชุดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นมาตรฐาน และรวบรวมเพื่อเป็น Data Catalog จากนั้นพัฒนากลไกการสืบค้นในมิติต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้อย่างสะดวก รวมทั้งออกแบบเครื่องมือสำหรับการกำกับติดตามให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตที่กระทรวงดิจิทัลได้วางระบบให้ครอบคลุม 75,000 หมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่และข้อมูลสินค้าเกษตร เข้าสู่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 3. การสื่อสารและบริการข้อมูลที่จำเป็นไปยังเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ รวมถึง Smart Farmer และ Young Smart Farmer และอาสาเกษตรกร เช่น ข้อมูลภูมิอากาศ ข้อมูลน้ำ ข้อมูลดิน เทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อมูลตลาดและราคาสินค้า เพื่อให้เกษตรกรใช้ตัดสินใจวางแผนการผลิต แผนการตลาด

4.การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการอำนวยความสะดวกในการอนุมัติ อนุญาต เช่น การขึ้นทะเบียน การขอรับการรับรองมาตรฐานสินค้า การขอนำเข้า ส่งออก การตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร เพื่อความรวดเร็ว โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสร้างผลประกอบการที่ดีกว่าเดิม 5.การจัดให้ภาคเกษตรได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ที่จัดสรรให้เพื่อการเข้าถึงข้อมูลอันจำเป็น เช่น การให้บริการคลื่นความถี่สำหรับระบบการติดตามเรือประมง (VMS) หรือ เพื่อระบบฟาร์มอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการใช้บริการเครือข่ายการสื่อสารที่ลดน้อยลง และ 6. การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรกับแพลตฟอร์มการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร

ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ กล่าวว่า ในปี 2563 กระทรวงเกษตรฯ วางแผนขยายแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะเพิ่มเติมในกลุ่มไม้ผลเศรษฐกิจ ( ทุเรียน / ลำไย ) ธุรกิจประมง (ฟาร์มเลี้ยงกุ้ง/ปลา) ธุรกิจปศุสัตว์ ฯลฯ มุ่งเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทั้งนี้ เป้าหมายการสร้าง GovTech/Big data ของกระทรวงเกษตรฯ โดยใช้เครื่องมือนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับตรวจโรคพืช ธาตุอาหารในดิน คุณภาพน้ำ สภาพอากาศ ฯลฯ

ข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ต่างๆ จะถูกส่งผ่านระบบคลาวน์ (Cloud) เพื่อจัดเก็บ ประมวลผล และสั่งการการทำงานของระบบด้วยการควบคุมระยะไกล ผ่านระบบ IoT (Internet of Things) มีนักวิชาการลงพื้นทำการศึกษาวิจัยและเก็บข้อมูลควบคู่อย่างใกล้ชิด ข้อมูลต่างๆ จากแปลงไร่นาเกษตรกรจะถูกประมวลเพื่อจัดทำ Big Data และ IoT Platform ด้านการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อเพิ่มผลผลิต เพิ่มรายได้และลดต้นทุนการผลิต ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลแบบเรียลไทม์ รัฐบาลสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้บริหารจัดการผลผลิตและกำหนดทิศทางนโยบายด้านการเกษตรของประเทศ แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

เกษตรกรตัวจริง …ห้ามพลาดเกาะติดนโยบายเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปีหน้าว่า จะเข้มข้น น่าสนใจมากแค่ไหน ต้องไปฟังกัน ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ พูดคุยเจาะลึกเรื่องเกษตรอัจริยะ และมาพูดคุยต่อกับคุณประพันธ์ จิวะพงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอย่างยั่งยืน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ภายในงาน เสวนา “ไม้ผลพารวยยุค 5 G “ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุมใหญ่ หนังสือพิมพ์ข่าวสด ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กทม.