เริ่มจากการ ตัดขาดจาก 5 สิ่งต้องห้าม ได้แก่การจินตนาการเชิงลบ

ปัจจุบัน คนเมืองและคนวัยทำงานต้องเผชิญกับความเครียดสะสมอย่างมากทั้งจากงานและชีวิตประจำวัน จนทำให้เกิดจินตนาการเชิงลบ ซึ่งความคิดเหล่านี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ได้ เพราะว่าจิตใจของคนเราเชื่อมโยงกับร่างกายโดยตรง ดังนั้น ความคิดหรือจินตนาการเชิงลบจะทำให้เราไม่เป็นสุข เกิดความเครียดทางอารมณ์ สะสมลงสู่จิตใต้สำนึกโดยไม่รู้ตัว ทำให้ร่างกายเกิดเจ็บป่วยตามความคิดไปด้วย

วิถีดำรงชีวิตและอาหารการกินของคนสมัยใหม่เอื้อให้เป็นโรคอ้วนง่ายขึ้น หลายคนอาจคิดว่าตนเองไม่ได้อ้วน แต่แค่มีพุงนิดหน่อย แต่อันที่จริงแล้วการอ้วนลงพุงนั้นอันตรายมาก โดยตามเกณฑ์ หากวัดจากรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้วหรือประมาณ 90 ซม. สำหรับเอวผู้หญิงไม่ควรเกิน 32 นิ้วหรือ 80 ซม. ซึ่งความอ้วนและอ้วนลงพุงนี้เป็นสาเหตุของโรคมากมาย เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์-อัมพาต โรคตับอักเสบ-ตับแข็ง โรคข้อและกระดูก และแม้กระทั่งมะเร็ง

3.ลดการบริโภคน้ำตาล

งานวิจัยหลายชิ้นบ่งชี้ว่าคนไทยส่วนใหญ่ติดรสหวานโดยไม่รู้ตัว เพราะน้ำตาลเปรียบเหมือนสารเสพติดชนิดหนึ่งที่ยิ่งรับประทานยิ่งอร่อย ทั้งที่ในความเป็นจริงร่างกายต้องการน้ำตาลเพียงครึ่งช้อนชาต่อวัน ดังนั้น การที่เราบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการ ทำให้เราเข้าสู่พฤติกรรม “แช่อิ่ม” เพราะทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในร่างกายมากเกินความจำเป็นและนำมาสู่โรคภัยต่างๆ

4.งดบริโภคไขมันทรานส์

ไขมันทรานส์เกิดจากการแปรรูปจึงย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น เช่น ครีมเทียมในกาแฟ ขนมเค้กหรือเบเกอรี่ ฯลฯ นอกจากนี้มีความเชื่อผิดๆ ว่าการใช้น้ำมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันพืช น้ำมันถั่วเหลือง มาปรุงอาหารประเภททอดดีกว่าการใช้น้ำมันอิ่มตัว แต่ในความเป็นจริง น้ำมันประเภทไขมันไม่อิ่มตัวนั้นสามารถจับกับไฮโดรเจนกลายเป็นไขมันทรานส์ได้ การเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงแบบนึ่ง ต้ม หรือย่างโดยมีสิ่งห่อหุ้มระหว่างอาหารกับที่ย่าง เช่น ใบตอง จึงปลอดภัยต่อร่างกายมากกว่าการรับประทานอาหารแบบทอด

5.หลีกเลี่ยงการรับประทานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ถือเป็นสายพันธุ์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ดังนั้น การรับประทานสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว จึงให้โทษต่อร่างกายไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการสะสมพิษชนิดเดียวกัน และยังมีไขมันและกล้ามเนื้อที่เป็นโทษและย่อยยากด้วย จึงควรหาแหล่งโปรตีนอื่นที่มีคุณภาพรับประทานแทน เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ธัญพืชต่างๆ เห็ดชนิดต่างๆ โดยเฉพาะหากใครที่ต้องการลดน้ำหนัก เมนูเห็ดเป็นเมนูที่ดีที่สุดเพราะไม่มีน้ำตาล ไม่มีไขมัน อุดมด้วยโปรตีนและใยอาหาร

นอกจากการหลีกเลี่ยงพฤติกรรม 5 สิ่งต้องห้ามแล้ว เรายังควรปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ

6.เลือกรับประทานผัก-ผลไม้สดที่ไม่หวาน

ผักและผลไม้สดให้คุณค่าของวิตามินอย่างแท้จริง ที่สำคัญเราต้องเลือกรับประทานผักและผลไม้หลากหลายชนิดเพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน คนไทยไม่มีปัญหาเพราะมีผักสมุนไพรอร่อยๆ หลากหลายชนิดให้เลือกบริโภค โดยแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้เป็นสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งของอาหารในแต่ละมื้อ

7.เลือกทานแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือขนมปังโฮลวีต เป็นแป้งที่มีโครงสร้างซับซ้อนทำให้ชะลอการดูดซึมน้ำตาล ที่สำคัญยิ่งอายุมากขึ้นยิ่งควรรับประทานข้าวในปริมาณที่น้อยลงในแต่ละมื้อ

8.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แนะนำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที

9.พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับอย่างมีคุณภาพช่วยให้ร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ แนะนำให้นอนหลับสนิทอย่างน้อยวันละ 4 ชม.

10.คิดบวก การคิดบวกและมีทัศนคติที่ดี ช่วยให้เรามีความสุข ร่างกายเราก็จะสุขไปด้วย”

เชื่อว่าหากทุกคนสามารถปฏิบัติได้ตามคำแนะนำข้างต้น สุขภาพทุกคนในครอบครัวก็จะดีและไร้โรคภัยไข้เจ็บด้วย นักวิจัยไทยเก่ง…ไม่แพ้ชาติใดในโลก ล่าสุดไปกวาด 97 รางวัล ระดับโลก จากงานโฟว์ตี้ฟิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์ซิบิชั่น ออฟเจนีวา (45th International Exhibition of Inventions Geneva) แถมยังได้รางวัล Special Prize จำนวน 21 รางวัล จากเวทีแข่งขันนานาชาติอีก 9 ประเทศ เรียกว่า โกยรางวัลระดับนานาชาติถึง 118 รางวัล สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ

นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง คว้า 97 รางวัล ระดับโลก ที่เจนีวา

สำนักงาน วช. ได้นำนักประดิษฐ์และนักวิจัยจาก 30 หน่วยงาน นำผลงานเข้าร่วมประกวดในงานโฟว์ตี้ฟิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์ซิบิชั่น ออฟเจนีวา ณ สมาพันธรัฐสวิส ระหว่าง วันที่ 29 มีนาคม-2 เมษายน 2560 ซึ่งเป็นงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ ระดับนานาชาติที่สำคัญที่สุดในโลก จัดเป็นปีที่ 45 ติดต่อกัน มีนักวิจัยทั่วโลกส่งผลงานเข้าประกวดกว่า 725 ผลงาน จาก 40 ประเทศ มีผู้เข้าร่วมชมงานมากกว่า 50,000 คน

ในปีนี้ นวัตกรรมเรื่อง “การตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอตาอย่างอัตโนมัติ จากภาพถ่ายจอตาบนสมาร์ทโฟน” ของ รองศาสตราจารย์ ดร. จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต และคณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้ชนะรางวัล Grand Prix จากเวทีประกวดที่เจนีวา และได้รางวัล Special Prize (On stage) จากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของสหพันธรัฐรัสเซีย

นอกจากนี้ คณะนักวิจัยของไทย ยังได้รับรางวัลสำคัญจากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์นานาชาติ ประกอบด้วย รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ 9 ผลงาน รางวัลเหรียญทอง 22 ผลงาน รางวัลเหรียญเงิน 36 ผลงาน รางวัลเหรียญทองแดง 24 ผลงาน และได้รับรางวัลพิเศษจากองค์กรและหน่วยงานต่างประเทศ 21 รางวัล ทั้งนี้ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานมอบประกาศนียบัตรแก่นักวิจัย ที่ชนะรางวัลสิ่งประดิษฐ์จากเวทีแข่งขันนานาชาติ ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เมื่อเร็วๆ นี้

“นวัตกรรม SMART 3T ในฟาร์มอัจฉริยะ สำหรับปศุสัตว์” (SMART 3T Speed Dx for Smart Farm) ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศ จากงานโฟว์ตี้ฟิฟ อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็กซ์ซิบิชั่น ออฟเจนีวา ผลงานชิ้นนี้ เกิดขึ้นจากการคิดค้นและพัฒนาร่วมกันของศูนย์ความเป็นเลิศทางวิจัยด้านไบโอเซ็นเซอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ 3 องค์กร ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้แก่ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งแต่ละแห่งมีความเชี่ยวชาญในสายงานที่เข้าร่วมคิดค้นงานวิจัย

ทีมนักวิจัย จำนวน 10 คน ภายใต้การนำของ รองศาสตราจารย์ ดร. โกสุม จันทร์ศิริ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ. ดร. นารีรัตน์ วิเศษกุล สังกัดหน่วยปรสิตวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนตัวแทนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกอบด้วย ดร. ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น นายไพบูลย์ นารัตน์ รองกรรมการผู้จัดการ หน่วยงานวิจัยพัฒนาสายธุรกิจสุกร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร และ ดร. ธันยวัต สมใจทวีพร ผู้อำนวยการศูนย์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัตน์

ดร. ธีระพล กล่าวว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์มีความภูมิใจที่ผลงานนวัตกรรมชุดตรวจโรคสัตว์ในฟาร์มอัจฉริยะสำหรับปศุสัตว์ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติ จากงานประกวดสิ่งประดิษฐ์ในครั้งนี้ ผลงานนวัตกรรมนี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการดูแลและป้องกันโรคในสัตว์ที่มีประสิทธิภาพทันสมัยและสะดวกสบาย ซึ่งเป็นไปตามหลักสำคัญ 5 ประการ ในการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่

การมีสายพันธุ์ที่ดี (Genetic)
การเลี้ยงสัตว์ด้วยอาหารคุณภาพดี (Nutrition)
การเลี้ยงในโรงเรือนที่ได้มาตรฐาน (Farm)
การมีระบบการจัดการฟาร์มที่ดี (Management) และ
การป้องกันโรคที่เข้มงวด (Bio-security)
การคิดค้นนวัตกรรมนี้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของ ซีพี 4.0 ที่กำลังพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยการพัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ทันสมัย เพื่อสร้างคุณค่าทางธุรกิจและพัฒนาสังคม โดยที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่เป็นสถาบันชั้นนำระดับโลก คิดค้นงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อนำมาสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจและประเทศไทย

สำหรับนวัตกรรม SMART 3T ในฟาร์มอัจฉริยะ สำหรับปศุสัตว์ “SMART 3T Speed Dx for SMART Farm” เป็นชุดทดสอบที่สามารถตรวจ ดีเอ็นเอ ของเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ในสัตว์ โดยนำร่องที่สุกร ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจ บนแผ่นทดสอบแถบได้ 3 ชนิด ในเวลาเดียวกัน สามารถตรวจเชื้อที่ก่อให้เกิดโรคในสุกรได้ถึง 3 ชนิด คือ

PRRSV (PORCINE RESPIRATORY and REPRODUCTIVE SYNDROME VIRUS) เป็นโรคที่ทำอันตรายต่อระบบหายใจ และระบบสืบพันธุ์
PED (PORCINE EPIDEMIC DIARRHEA) โรคท้องร่วงติดต่อในลูกสุกร ขี้ไหลในลูกสุกร บางครั้งสามารถทำให้ตายยกครอกได้
CIRCO (PCV2-PORCINE CIRCO VIRUS 2) เชื้อไวรัส ที่มักพบร่วมกับ PRRSV ที่มีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
สำหรับชุดทดสอบนี้ ใช้งานง่ายและสะดวก ใช้เวลาสั้นแค่ 1 ชั่วโมง ก็ทราบผลการตรวจผ่านแอปพลิเคชั่นบนสมาร์ทดีไวซ์ที่เชื่อมต่อกับ IoT แพลตฟอร์ม ซึ่งสามารถอ่านและแสดงผลบนแดชบอร์ด วิเคราะห์ ประมวลผล พร้อมทั้งรวบรวมและส่งข้อมูลจากพื้นที่ระบาดสู่การติดตามผล ที่ระบบ Cloud Smart Farm ซึ่งเป็นศูนย์กลางได้ทันที นวัตกรรมชิ้นนี้ จะมีประโยชน์กับผู้เลี้ยงสุกร ทั้งรายใหญ่และรายเล็ก ไม่เพียงจะช่วยในการตรวจหาโรคด้วยวิธีการที่ง่ายและในเวลาอันรวดเร็วแล้ว แต่ยังจะช่วยในการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคอีกด้วย

นวัตกรรมใหม่…ฝีมือนักวิจัยไทย

นอกจากนี้ ยังมีนวัตกรรมใหม่ฝีมือนักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวทีนานาชาติอีกมากมาย ยกตัวอย่าง เช่น

ชุดเครื่องต้นกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับการเกษตร การท่องเที่ยวและการขนส่ง ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนะ เยี่ยงกมลสิงห์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โทร. (02) 697-6705 ผลงานชิ้นนี้ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อ “ประหยัดต้นทุน” จากการใช้พลังงานสิ้นเปลืองแบบเดิม เช่น น้ำมันดีเซล ผลงานเครื่องยนต์ต้นกำลังมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถติดตั้งแทนเครื่องยนต์สันดาปภายในอเนกประสงค์ทางการเกษตรได้ทันที มอเตอร์สามารถปรับความเร็วรอบมอเตอร์ได้ด้วยชุดควบคุมและคันเร่ง แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา

นวัตกรรมปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง ของ ผศ.ดร. ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ และคณะ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นปุ๋ยชีวภาพอัดเม็ดที่มีแบคทีเรียช่วยย่อยสารพาราควอทที่ตกค้างในดินได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสัดส่วนของธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง และผลิตปุ๋ยนาโนซิลิคอน ใช้เป็นสารเสริมการเติบโตและสารปรับปรุงดินในแหล่งปลูกมันสำปะหลัง และช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับต้นมันสำปะหลัง พร้อมป้องกันแมลงศัตรูพืช สนใจติดต่อ ผศ.ดร. จิระ จิตสุภา โทร. (02) 244-5280-2

นวัตกรรมระหัดวิดน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ของ ผศ.ดร. ณรงค์ชัย วิวัฒนาช่าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์สุพรรณบุรี โทร. (035) 434-014 คณะวิจัยได้ปรับปรุงระหัดวิดน้ำแบบเดิมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพในการสูบน้ำที่สูงขึ้น โดยประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อขับเคลื่อนระหัดวิดน้ำ เพื่อช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรในระยะยาวกว่าการสูบน้ำด้วยเครื่องยนต์

ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติกระตุ้นภูมิคุ้มกันพืช ของ ผศ.ดร. ดุสิต อธินุวัฒน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โทร. (02) 564-4440 ต่อ 2063 ผลงานชิ้นนี้ เป็นชีวภัณฑ์ป้องกันกำจัดศัตรูพืชในรูปผงผสมน้ำ สำหรับกระตุ้นภูมิต้านทานพืชจากการเข้าทำลายของโรคพืชและลดความเสียหายจากแมลงศัตรูพืช สารออกฤทธิ์เป็นสารสกัดจากสมุนไพรไทยอนุภาคนาโนและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ สามารถควบคุมโรคพืชที่สำคัญ ได้แก่ โรคข้าว (โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง โรคใบหงิก โรคใบจุดสีน้ำตาล และโรคเมล็ดด่าง) โรคแคงเกอร์ของพืชตระกูลส้ม โรครากเน่าของมันสำปะหลัง โรคของพืชผัก (โรคเน่าดำ โรคเน่าเละ โรคใบจุดอัลเทอร์นาเรีย) และโรคไม้ดอกไม้ประดับ (โรคเน่าเปียก โรคใบจุด โรครากเน่า) และควบคุมแมลงสำคัญ ได้แก่ แมลงศัตรูข้าว (หนอนห่อใบข้าว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว) และแมลงศัตรูพืชผัก (ด้วงหมัดกระโดด ผีเสื้อหนอนใยผัก) ใช้งานง่าย โดยการราดดิน คลุกเมล็ด พ่นใบ ผสมดินปลูกหรือผสมในปุ๋ยหมัก

ผึ้งอัจฉริยะ ของ รศ.ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร และคณะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร. (053) 942-610 ผึ้งอัจฉริยะ เป็นโมเดลการทำเกษตรกรรมรูปแบบใหม่ ที่เกษตรกรนำเทคโนโลยีไปใช้ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยกลุ่มวิจัยได้สร้างนวัตกรรมเพื่อใช้ในการเลี้ยงผึ้ง ได้แก่ CERAMPORE เซรามิกรูพรุนที่ควบคุมการปลดปล่อยสารสมุนไพรเพื่อกำจัดไรในรัง และ REMVE เครื่องเก็บพิษผึ้งแบบทางไกล เมื่อได้ผลิตภัณฑ์ผึ้งแล้วยังสามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและสุขภาพได้อีก จากการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์คือ BESLK BEVEN BEROYAL BEPRO ซึ่งผลิตจากไหมผึ้ง พิษผึ้ง นมผึ้ง และพรอพอลิส ได้จากการเกษตร เป็นการเพิ่มมูลค่าจากผลิตภัณฑ์ดั้งเดิมโดยสร้างเอกลักษณ์ของไทยผสมผสานกับเทคโนโลยีใหม่ ทำให้งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองเกียรติยศจากเจนีวา และได้รับรางวัล Special Prize จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (MARS)

นวัตกรรมการคงสภาพสมุนไพรสดด้วยการใช้คลื่นความถี่วิทยุยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ และการใช้ฟิลม์บริโภคได้พร้อมปรุงที่ผสมวัตถุกันหืนจากธรรมชาติ ของ ผศ.ดร.ปุณฑริกา รัตนตรัยวงศ์ และคณะ มหาวิทยาลัยนเรศวร โทร. (055) 968-767 (คุณณัฐกานต์) นวัตกรรมแปรรูปชิ้นนี้ ได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สามารถคงสภาพสีและปริมาณกลิ่นหอมระเหยและคุณสมบัติโภชนเภสัชในผลิตภัณฑ์สมุนไพรไว้ได้สูง มีความปลอดภัย ต้นทุนการผลิตต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้กระบวนการแปรรูปและการขนส่งทั้งในและต่างประเทศมีความยั่งยืน มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับกระบวนการดั้งเดิมที่ใช้ในอุตสาหกรรม

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 ร่วมขับเคลื่อน ศพก. พื้นที่ อำเภอกุดรัง และอำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม นำร่องตัวแทนเศรษฐกิจการเกษตรอาสาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้การคำนวณต้นทุนการผลิตผ่านแอปพลิเคชั่นกระดานเศรษฐี ด้านเกษตรกรให้ความสนใจและตอบรับเป็นอย่างดี พร้อมนำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกผลิตสินค้าเกษตรที่ได้ผลกำไรดี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการดำเนินงานของเศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) ซึ่งได้นำร่องในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ในการวิทยากรถ่ายทอดความรู้ “การคำนวณต้นทุนการผลิตผ่านกระดานเศรษฐี” ระหว่างวันที่ 20-21 เมษายน ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ณ ศาลาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร โดยนายเสาร์ มาชดา ซึ่งเป็นตัวแทน ศกอ. อำเภอ กุดรัง และ นายทองสัย โสไกสี ตัวแทน ศกอ. อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกร เป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกษตรกรสามารถคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรได้ด้วยตนเอง สามารถทราบได้ว่า พื้นที่ของตัวเองเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับปลูกพืชชนิดนั้นหรือไม่ และถ้าไม่เหมาะสมจะสามารถปลูกพืชชนิดใดแทน รวมถึงทราบแหล่งรับซื้อ ราคาที่รับซื้อผลผลิตด้วย นำไปใช้ประโยชน์ในการเลือกผลิตสินค้าเกษตรที่ได้ผลกำไรดี ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น

จังหวัดมหาสารคาม อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ซึ่งดูแลรับผิดชอบ 4 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด) ปัจจุบันมีเศรษฐกิจการเกษตรอาสาปฏิบัติงานในพื้นที่ทั้งสิ้น 77 ราย ทำหน้าที่รายงานราคาสินค้าเกษตรประจำสัปดาห์และรายงานภาวะการผลิตสินค้าเกษตรรายเดือนให้กับ สศก. พร้อมทั้งเป็นวิทยากรประจำศูนย์ ศพก. ทุกอำเภอ และปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายตามภารกิจและงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สศก. ได้พัฒนาศักยภาพของศกอ. เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นตัวแทนถ่ายทอดความรู้ในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับปี 2560 สศก. ได้จัดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ศกอ. queermuseum.com ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ดำเนินการอบรม ศกอ. เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดอุดรธานี โดยเน้นเพิ่มเติมความรู้ในการคำนวณต้นทุนการผลิตผ่านกระดานเศรษฐี ด้านการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล เพื่อกระตุ้นให้ ศกอ. ได้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้เครือข่ายเกษตรกรผ่าน ศพก. และสามารถกระจายข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ให้แก่เกษตรกรเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วโดยผ่านแอปพลิเคชั่นกระดานเศรษฐี เกษตรกรมีโอกาส หรือ OAE RCMO บน Smart Phone เพื่อเตรียมความพร้อมเกษตรกรไทยสู่ ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่อาหารที่ทำจากปลาช่อน รวมทั้งสินค้าเกษตรปลอดภัยของดีประจำจังหวัดสิงห์บุรี ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ทางจังหวัดสิงห์บุรี นำโดย พงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสิงห์บุรี จึงร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดงานเทศกาลกินปลาและของดีเมืองสิงห์บุรี ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 4-13 พฤษภาคม นี้ ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี

“พงศ์รัตน์” บอกว่า การจัดงานครั้งนี้นอกจากมีวัตถุประสงค์ดังกล่าวแล้ว ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบอาหารให้ได้มาตรฐาน ตลอดจนเพื่อเป็นพื้นที่ในการเชื่อมโยงติดต่อกันระหว่างผู้ผลิต ผู้ประกอบอาหาร และผู้บริโภคทำให้เกิดภาคีเครือข่ายอาหารปลอดภัย อีกทั้งยังต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและชาวจังหวัดสิงห์บุรี รวมถึงเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้มาท่องเที่ยวในจังหวัดสิงห์บุรีมากยิ่งขึ้น

“สำหรับกิจกรรมภายในงานปีนี้ประกอบด้วย การจำหน่ายปลาช่อน ของดีขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี หรือที่รู้จักในนามปลาช่อนแม่ลา ที่มีเนื้อปลานุ่มไม่เหมือนปลาช่อนทั่วไป การประกวดหุ่นปลาที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ที่เหมือนปลาจริงดูแล้วมีชีวิตชีวาหลากหลายชนิดและสายพันธุ์ การประกวดอาหารจากวัตถุดิบปลา และสินค้าเกษตรปลอดภัย ที่ใช้ปลาช่อนและกล้วยเป็นหลัก การจัดทำเปเปอร์มาเช่ปลาช่อนแม่ลาที่มากที่สุดถึง 9,999 ตัว”

“พงศ์รัตน์” บอกด้วยว่า นอกจากนี้ภายในงานยังประกอบด้วย การประกวดธิดามัจฉา งานกินปลาสิงห์บุรี การประกวดมนต์รักท้องถิ่น (พี่ร้องน้องเต้น) การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง กิจกรรมการแสดงของนักเรียนประถมศึกษา รำวงย้อนยุค การประกวดลูกทุ่งเสียงทองท้องที่เมืองสิงห์ และการจัดแสดงนิทรรศการด้านการเกษตร กิจกรรมคณะเหล่ากาชาดจังหวัดสิงห์บุรี การจำหน่ายสินค้าด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์โอท็อปจำนวนมาก และจุดถ่ายภาพเซลฟี่ฟรี เพื่อบริการนักท่องเที่ยวได้เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก

“นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้มาเที่ยวงานเทศกาลกินปลาฯ แล้ว จังหวัดสิงห์บุรียังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจทั้งด้านศาสนา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของชาวบ้านในแต่ละอำเภอ พร้อมสถานบริการที่พัก สะอาด ปลอดภัย ไว้รองรับนักท่องเที่ยวได้มาพักค้างคืน เพื่อสัมผัสกับบรรยากาศธรรมชาติในวิถีชีวิตของชาวไทยอีกด้วย”

สำหรับทุกท่านที่สนใจจะมาร่วมงานเทศกาลกินปลาและของดีเมืองสิงห์บุรี ครั้งที่ 22 ระหว่าง วันที่ 4-13 พฤษภาคม 2560 ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดสิงห์บุรี สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสิงห์บุรี โทรศัพท์ (036) 507-135