เรื่องการเก็บผลผลิตก็มีส่วนสำคัญ เพราะมะพร้าวอาจขาดคุณภาพ

มีราคาตกถ้าเก็บผลผลิตไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น ที่บริษัทจะมีทีมงานคอยดูแลเอาใจใส่เก็บผลผลิตทั้งในสวนของบริษัทและสวนของชาวบ้านทุกครั้ง เพราะมาตรฐานของผลมะพร้าวต้องเก็บตามระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้ได้ขนาดผล เนื้อหนาและน้ำที่มีรสชาติหวานหอม

เนื่องจากการประกอบธุรกิจผลสดมีข้อจำกัดหลายอย่าง ขณะเดียวกัน ผู้ปลูกมะพร้าวก็ต้องใส่ใจกับการปลูก การดูแล และการเก็บผลผลิตอย่างจริงจัง เพราะไม่ใช่แค่ปลูกแล้วขายอย่างเดียวโดยไม่สนใจคุณภาพ แต่กลับปล่อยให้ผู้ซื้อรับภาระได้สินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน

ดังนั้น ในวงจรของผู้ที่อยู่ในวงการมะพร้าวขอให้มีคุณธรรมและจริยธรรมด้วย ต้องเห็นใจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าต้นน้ำดี กลางน้ำดี ปลายน้ำก็จะดีไปพร้อมกันด้วย คุณวราภรณ์ ชี้ว่า ด้วยกระแสสุขภาพทำให้คนทั่วโลกหันมาบริโภคมะพร้าวกันมากขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าผลิตภัณฑ์มะพร้าวจะเป็นอะไรก็ตาม ตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกชนิด อย่างคนที่ชอบรับประทานผลสดก็จะไม่นิยมแบบอื่น ทั้งๆ ที่ผลสดมีประโยชน์มากกว่าอย่างอื่น เพียงแต่มีข้อจำกัดตรงที่ปอกลำบาก จนกระทั่งตอนนี้มีนวัตกรรมเรื่องการรับประทานมะพร้าวผลสดได้ง่ายกว่าเดิม แล้วรับประทานได้ทั้งเนื้อและน้ำด้วย

หรือแม้กระทั่งคนจีนมาเที่ยวเมืองไทย มาชิมมะพร้าวน้ำหอมไทยเกิดติดใจอย่างหนัก แล้วเลิกรับประทานมะพร้าวไหหลำ จึงทำให้ตลาดมะพร้าวน้ำหอมในจีนเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ แล้วมีตัวเลขแซงหน้าสหรัฐอเมริกาไปแล้ว

“คุณภาพมะพร้าวไทยดีกว่าหลายประเทศ เพราะประเทศไทยมีทรัพยากรทางธรรมชาติที่ล้ำค่ากว่าที่อื่น ฉะนั้น ในภาวะที่ตื่นตัวอย่างนี้ ทุกภาคส่วนควรหันมาร่วมมือ ร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพมะพร้าวให้ดีขึ้น พัฒนาให้ตรงตามกลไกและสอดคล้องกับตลาด เพราะเมื่อใดที่มะพร้าวมีคุณภาพดี มีราคาไม่สูงนัก พอที่จะเกื้อกูลกัน ก็จะช่วยให้ทุกส่วนขับเคลื่อนไปพร้อมกัน ชื่อเสียงมะพร้าวของไทยก็จะเป็นที่รู้จักทั่วโลก” คุณวราภรณ์ กล่าว

ยังคงเป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องกับการที่ทางภาครัฐต้องการให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรกรรมแบบผสมผสานแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงทางด้านความผันผวนของราคา ขณะที่ชาวบ้านเองก็ขานรับนโยบายดังกล่าว ด้วยการเริ่มทำจริงจังแล้วประสบความสำเร็จหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

“ยางพารา” เป็นพืชเศรษฐกิจทางจังหวัดภาคใต้ที่ประสบปัญหาราคาผันผวนมาตลอด สร้างความเดือดร้อนต่อรายได้ของพี่น้องชาวใต้อย่างมาก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายพื้นที่จัดการโค่นต้นยางบางส่วนและปรับพื้นที่มาทำเกษตรผสมผสาน ซึ่งพบว่าประสบความสำเร็จ มีรายได้ดีกว่ายางพาราหลายเท่า

อย่าง คุณนิวัฒน์ เนตรทองคำ บ้านเลขที่ 89/2 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งตำเสา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีแนวคิดแบบนี้เช่นกัน แล้วไม่รอช้าที่จะเร่งปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรมของครอบครัวล่วงหน้าก่อนปัญหาราคายางจะลุกลาม

หลายปีก่อนหน้านี้ คุณนิวัฒน์ มองว่าอนาคตราคายางพาราคงจะแย่ เพราะมีขึ้น-ลง ตลอดเวลา จึงตัดสินใจโค่นไปเกือบหมด แล้วเปลี่ยนมาปลูกพืชผัก ไม้ผล แบบผสมผสาน ไม่ว่าจะเป็น ผักกูด มะระ บวบ มะเขือ พริก ฯลฯ เป็นต้น โดยเน้นแนวทางอินทรีย์เป็นหลัก แล้วนำไปขายที่ตลาดสุขภาพในจังหวัดหลายแห่ง

จนกระทั่ง เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลมาพบแล้วสนใจ เพราะเป็นสวนผสมที่จัดระบบไว้อย่างดี สามารถเป็นตัวอย่างในการเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ จึงชักชวนให้เข้าร่วมประกวดแปลงเกษตรตัวอย่างตามนโยบายของรัฐบาล จนเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็น SMART FARMER ต้นแบบ ระดับเขต อีกทั้งที่สวนยังเป็นศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จากนั้นก็มีหลายภาคส่วนติดต่อเข้ามาดูงานบ้าง บางแห่งให้การสนับสนุนเป็นงบประมาณบ้าง

สวนเกษตรผสมผสานแห่งนี้เน้นความเป็นอินทรีย์ล้วน ดังนั้น ในพื้นที่ จำนวน 13 ไร่ จึงถูกออกแบบวางผังเป็นลักษณะการปลูกพืช ผัก และพันธุ์ไม้ ทั้งไม้ผล ไม้ดอก ไม้ใบ พืชสวนครัว พืชสมุนไพร ให้ถูกต้อง เหมาะสม และเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ได้สร้างถนนไว้รอบเพื่อให้รถและอุปกรณ์ทางเกษตรทำงานได้อย่างสะดวกสบาย ขณะนี้พื้นที่บริเวณริมเขตกั้นระหว่างพื้นที่รายอื่นจะจัดทำเป็นร่องน้ำเป็นแนวยาวตลอดทั่วทุกด้าน

พืช ผัก ไม้ผล ที่ปลูกมีจำนวนหลายชนิด อาทิ ผักกูด ชะอม กล้วยชนิดต่างๆ ได้แก่ กล้วยน้ำว้า กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยหิน นอกจากนั้น ยังมีผักเหลียง ผักหวาน บอนหอม มะนาวในวงบ่อซีเมนต์ ส้มหัวจุก ส้มเกลี้ยง ข่า ตะไคร้ พริกหลายชนิด

คุณนิวัฒน์ บอกว่า พืชบางอย่างปลูกร่วมกันได้ เว้นแต่บางชนิดต้องดูความเหมาะสม อย่างผักกูดถือเป็นพืชชั้นล่างที่อาศัยเพียงหน้าดินเล็กน้อย ในขณะที่กล้วยเป็นพืชชั้นกลางมีใบใช้บังแดดให้แก่ผักกูด แต่ถ้าปลูกเฉพาะกล้วยแล้วปล่อยที่พื้นดินว่าง ก็จะทำให้วัชพืชต่างๆ แพร่กระจาย ไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้น ถ้าปลูกผักกูด ผักเหนียง แซมจะช่วยป้องกันไว้ได้ ทั้งยังเป็นการช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่พืชชั้นกลางด้วย

เกษตรกรรายนี้ใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วทั้งหมดของครอบครัวสำหรับปลูกพืช จึงถือว่าเต็มกำลังความสามารถแล้ว ดังนั้น หากต้องการเพิ่มจำนวนและประเภทพืช ผัก ชนิดอื่นอีก จะต้องวางแผนการปลูกในรูปแบบแนวตั้ง ด้วยการใช้ไม้ไผ่สร้างเป็นนั่งร้านแล้วปลูกพืชประเภทที่ใช้ดินน้อยไว้ด้านบน

ส่วนด้านล่างอาจปลูกพืชที่ต้องการแสงรำไรไว้ จากนั้นติดตั้งระบบรดน้ำด้วยสปริงเกลอร์ไว้ทั่วก็จะทำให้พืชผักทั้งด้านบนและด้านล่างได้รับน้ำและความชื้นไปพร้อมกัน แนวทางนี้เป็นการช่วยประหยัด ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพได้มาก ขณะเดียวกันใช้ผึ้งสำหรับช่วยผสมเกสรตามธรรมชาติ

สำหรับดินปลูกจะหมักด้วยหญ้า ฟาง หรือแม้แต่ขุยมะพร้าวมาใช้หมักร่วมกับขี้ไก่ แกลบ ขี้หมู ส่วนน้ำหมักได้จากเศษปลาผสมสับปะรด กากน้ำตาล และน้ำ จะต้องผสมไว้ครั้งละหลายร้อยลิตร หรือประมาณ 6-8 ถังลิตร นอกจากนั้นแล้ว ยังนำแนวทางการผลิตปุ๋ยหมักเติมอากาศที่ช่วยในเรื่องการลดต้นทุนมาใช้ในสวนแห่งนี้ด้วย

ทั้งนี้ การดูแลใส่ปุ๋ยสำหรับพืชผักที่ปลูกนั้น คุณนิวัฒน์ใช้หลักใส่ครั้งเดียวพืชหลายชนิดได้ประโยชน์ ซึ่งถือเป็นแนวทางลดต้นทุน อย่างปุ๋ยที่ใส่ผักกูดเป็นปุ๋ยขี้ไก่แกลบหมัก จะต้องสั่งซื้อมาทุก 3 เดือน ในจำนวน 300 กระสอบ

ทางด้านแมลงศัตรูที่พบมากที่สุดคือ ด้วง แต่ถูกปราบโดยนกที่เข้ามาหากินในสวน จึงเป็นเรื่องดีเพราะระบบนิเวศจัดการกันเอง โดยที่เราไม่ต้องหาวิธีกำจัด ขณะเดียวกันถ้ามีมากเกินไป ยังนำขี้ไก่สดที่มีแอมโมเนียมากไปกองไว้ที่โคนต้นกล้วยที่ด้วงมาทำลาย เพื่อกำจัดด้วงอีกแนวทางหนึ่ง ที่ถือว่ากำจัดแบบใช้ธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

คุณนิวัฒน์ เผยว่า ผักกูด เก็บขายทุกวัน ประมาณวันละ 20-30 กิโลกรัม ขายราคากิโลกรัมละ 60 บาท ถือว่าราคาดี มีรายได้ประมาณพันกว่าบาททุกวัน หรืออย่างกล้วยน้ำว้า ขายกิโลกรัมละ 30 บาท (14/6/60), มะนาว กิโลกรัมละ 70 บาท พริก กิโลกรัมละ 100 กว่าบาท ผักหวานป่า กิโลกรัมละ 100 บาท การเก็บผลผลิตของพืชทั้งหมด จะใช้วิธีแบ่งเป็นโซน เก็บทีละโซน แล้วสลับหมุนเวียน

สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เก็บแล้วจะนำมาทำความสะอาด ตกแต่งให้เรียบร้อย แล้วนำไปขายที่ตลาดนัดสุขภาพ เพราะมีราคาสูงกว่าพืช ผัก ชนิดเดียวกันที่ขายตามตลาดทั่วไป นอกจากนั้น ยังเพาะต้นพันธุ์พืช และมีหน่อกล้วยขายด้วย ทั้งนี้ผักที่เก็บขายในรอบสัปดาห์เพียง 5 วัน ส่วนอีก 2 วัน จะเข้าสวนเพื่อดูแลต้นไม้

คุณนิวัฒน์ เล่าว่า การปลูกพืชแบบผสมผสานแล้วใช้ระบบการปลูกแบบอินทรีย์ ต้องมีความอดทนสูง หรือบางอย่างอาจต้องใช้ทุนสูง อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจระบบนิเวศควบคู่ไปด้วย ดังนั้น แนวทางนี้ชาวบ้านละแวกเดียวกันจึงไม่ค่อยมีใครสนใจทำ

“แต่แม้ว่าจะมีวิธีการปลูก การดูแล ที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก แต่หากฝึกทำบ่อยๆ พร้อมกับการเรียนรู้ก็จะเกิดความเข้าใจมากขึ้น เกิดความเคยชิน จนทำให้รู้สึกเป็นเรื่องปกติของงานประจำ ที่สำคัญผัก พืช ผลไม้ ที่ปลูกตามแนวทางอินทรีย์ สามารถขายได้ราคาดีกว่าพืชผักทั่วไป เพราะความต้องการของตลาดไม่เคยลดลง มีแต่จะเพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าคุ้มค่าเหนื่อยเลยเชียว…” คุณนิวัฒน์ กล่าว

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและภูมิทัศน์ สร้างพื้นที่เกษตรพอเพียงแบบจำลองตัวอย่าง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงปฏิบัติให้กับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการบำบัดยาเสพติด สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (โรงพยาบาลธัญญารักษ์) จ.ปทุมธานี

ผศ.สพ.ญ.รุ้งสวรรค์ วรรณสุทธิ์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี เปิดเผยว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างคณะเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ธัญบุรี และ รพ.ธัญญารักษ์ ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่โรงพยาบาลในส่วนของพื้นที่เดิม จัดภูมิทัศน์ใหม่ด้วยแนวทางเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งได้นำนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและภูมิทัศน์ เข้าฝึกปฏิบัติในพื้นที่จริง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ถ่ายทอดความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ภายในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการบำบัด อันจะเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไปได้

“เกษตรพอเพียงต้นแบบที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย สร้างโอกาสในการประกอบอาชีพ ช่วยให้ชีวิตของเขามีชีวิตชีวา รู้จักการวางแผน ลงมือปฏิบัติ เฝ้าดูแลผลผลิตที่เกิดขึ้นร่วมกัน ขณะเดียวกันนักศึกษาที่ลงพื้นที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริงจากที่เรียนมา ได้เห็นตัวอย่างต่างๆ ก็จะทำให้เข้าใจ ยอมรับและเลือกทางเดินชีวิตได้อย่างถูกต้องต่อไป” คณบดีคณะเทคโนโลยีการเกษตรกล่าว

ด้านนายพิศาล ตันสิน อาจารย์คณะเทคโนโลยีการเกษตร อธิบายถึงการบริการวิชาการในครั้งนี้ว่า เป็นความร่วมมือของ 2 หน่วยงาน ซึ่งทางคณะ ได้เข้าไปฝึกอบรมการประมง การขยายพันธุ์พืช การทำการเกษตรให้กับผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการบำบัด และอีกส่วนหนึ่งได้ออกแบบปรับปรุงพื้นที่ของ ร.พ.ธัญญารักษ์ ประมาณเกือบหนึ่งไร่ โดยใช้แนวทางเกษตรผสมผสานตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้มีกิจกรรมการผลิตหรือเพาะปลูกที่หลากหลาย ซึ่งทางคณะฯ ได้ออกแบบภูมิทัศน์และมีนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชและภูมิทัศน์ร่วมกันสร้างพื้นที่ เนรมิตให้เป็นสวนผัก ผลไม้และไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่งดำเนินการไปแล้วกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ การลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริงครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมความเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพ และส่งเสริมความเป็นอาสา ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันต้องเติมเต็ม

นายศิลป์ สายทิพย์ เล่าว่า จากพื้นที่โล่งๆ ได้กลายมาเป็นพื้นที่เกษตรพอเพียงต้นแบบ ในฐานะนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีภูมิทัศน์ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง รู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ใช้กำลังแรงกาย แรงใจ และแรงคิดของตนเองให้เกิดประโยชน์ ได้ปรับพื้นที่ ได้ก่อบล็อกเพื่อทำแปลงผัก ซึ่งออกแบบเป็นสัญลักษณ์ wifi ให้ความรู้สึกทันสมัยและแตกต่าง ขณะที่ซุ้มทางเข้า ออกแบบตามลักษณะของใบตอง สื่อความเป็นธรรมชาติและออกแบบตามสิ่งที่ปลูกไว้แต่เดิม นั่นคือต้นกล้วย แม้จะเหนื่อยแต่ก็ภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

ภญ.เอมอร ชัยประทีป อาจารย์วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย นักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำสมุนไพรพญายอ ซึ่งมีสรรพคุณรักษาและลดอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อไวรัส วิจัยและพัฒนา 2 ผลิตภัณฑ์ “แผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ เพื่อบรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง” และ “แผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก” เพื่อใช้ทดแทนยาแผนปัจจุบัน

ภญ.เอมอร เจ้าของผลงาน เปิดเผยว่า ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษากลุ่มอาการระบบผิวหนังส่วนใหญ่เป็นครีมยาที่มีส่วนผสมสารสเตอรอยด์ โดยถ้าใช้เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลข้างเคียง ทำให้ผิวหนังบาง ผิวแพ้ง่าย หรือยาที่ใช้ไม่ได้ผลเพราะว่าเกิดอาการดื้อยา (Rebound effect) ตลอดจนถ้าใช้ในกลุ่มของเด็กเล็ก เด็กๆ อาจเผลอเข้าปาก เป็นอันตรายต่อเด็ก

จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์โดยมีสารสกัดจากใบพญายอขึ้นมา โดยสมุนไพรพญายอปลูกได้ง่าย แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยมีสรรพคุณทางยารักษาอาการอักเสบ ฆ่าเชื้อไวรัส อาการแพ้อาการคัน โดยแผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ เพื่อบรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง สามารถใช้รักษางูสวัด อาการผดผื่นแพ้คัน แมลงสัตว์กัดต่อย วิธีใช้นำแผ่นมาแปะบริเวณที่มีอาการ โดยเปลี่ยนแผ่นแปะทุก 4 ชั่วโมง จากการทดลองใช้ในเด็กอายุ 13 ปี ที่มีผดผื่นที่แก้ม ประมาณ 1 อาทิตย์ อาการจะทุเลาและหายไป ซึ่งอยู่ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละบุคคลด้วย

ส่วนแผ่นฟิล์มยืดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก ได้แนวคิดมาจาก “วุ้นชุ่มปาก” โครงการในพระราชดำริในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านต้องการช่วยผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก จึงอยากวิจัยและพัฒนาช่วยผู้ป่วยมะเร็งที่มีแผลในช่องปากจากการฉายแสงและเคมีบำบัด โดยคนไข้มะเร็งร้อยละ 70 ที่ได้รับการฉายแสงจะเกิดแผลในช่องปาก ทำให้คนไข้ทรมาน กินไม่ได้

จากการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลพญายอเป็นสมุนไพรชนิดเดียวที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมวดยาพัฒนาจากสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณรักษาแผลในช่องปาก สำหรับครีมยาที่ใช้รักษาแผลในช่องปากส่วนใหญ่มีส่วนผสมสเตอรอยด์ ถ้าทาเป็นเวลานานทำให้ช่องปากติดเชื้อรา เป็นฝ้าขาวในช่องปาก จึงได้วิจัยและพัฒนาแผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก สามารถใช้รักษาแผลในช่องปาก ลักษณะเป็นแผ่นฟิล์ม โดยส่วนประกอบที่ใช้เป็นเกรดอาหารสามารถกลืนได้โดยไม่เป็นอันตราย แปะในช่องปาก 1 ชั่วโมง จะละลาย ปัจจุบันได้วิจัยและพัฒนารสมิ้นต์ เพื่อกลบกลิ่นและความขมของพญายอ โดยในอนาคตพัฒนาเป็นรสช็อกโกแลต

ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ผลิตภัณฑ์ ใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบัน เพื่อลดการนำเข้ายาแผนปัจจุบัน และส่งเสริมการนำสมุนไพรไทยมาใช้ประโยชน์ โดย “แผ่นแปะผิวหนังจากสารสกัดใบพญายอ เพื่อบรรเทาอาการทางระบบผิวหนัง” การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศ ประเภทวิทยาศาสตร์ การประกวดสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยี งานประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 9 (9 th RMUTNC) ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี

แผ่นฟิล์มยึดติดเยื่อบุเมือกเพื่อรักษาแผลในช่องปาก ได้รับรางวัลชมเชย จากการประกวด The 6th RMUTT Young Talent Inventor Awards ซึ่งจัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.ธัญบุรี ผลิตภัณฑ์ทั้งสองอยู่ในขั้นดำเนินการจดสิทธิบัตร ยังไม่มีวางจำหน่าย ผู้ประกอบการที่นำไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี

บวบ นับเป็นพืชผักที่มีคุณประโยชน์สูง สายพันธุ์บวบที่เกษตรกรนิยมปลูกอย่างแพร่หลายคือ บวบเหลี่ยม บวบหอม นอกจากนี้ยังมีบวบอยู่พันธุ์หนึ่งซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยรู้จักกันแพร่หลายนัก คือ บวบงู แค่ฟังชื่อ สาวๆ ที่กลัวงู อาจจะไม่ถูกชะตากับชื่อผักชนิดนี้สักเท่าไหร่ หากใครมีโอกาสลิ้มลองรสชาติของบวบงู เชื่อว่าร้อยทั้งร้อย คงต้องยอมซูฮกให้ เพราะผลอ่อนเอ๊าะๆ ของบวบงูมีรสชาติหวาน อร่อยมาก สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้สารพัดเมนู ไม่ว่าจะเป็นเมนูผัดกับ ไข่ หมู กุ้ง ต้มจิ้มกับน้ำพริกรสจัด หรือปรุงเป็นเมนูแกงส้ม แกงเลียง ก็อร่อยยอดเยี่ยมทุกเมนู

นอกจากมีจุดเด่นในเรื่องรสชาติความอร่อยแล้ว บวบงู ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่กำลังได้รับความนิยมสูงในหลายจังหวัดของพื้นที่ภาคอีสาน “ บุญทา ดวงอ้อย ” เกษตรกรผู้ปลูกบวบงู ที่บ้านทับพุง ต.หนองแสง อ.หนองแสง จ.อุดรธานี เป็นพยานยืนยันข้อเท็จจริงได้ในเรื่องนี้ เพราะ 10 ปีที่ผ่าน บวบงู กลายเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่ทำเงิน สร้างฐานะและความเป็นอยู่ของครอบครัวแห่งนี้ให้เติบโตอย่างมั่นคง

บุญทา ยึดอาชีพปลูกผักมากกว่า 20 ปี เขาปลูกพืชผักตามกระแสความต้องการของตลาดเป็นหลัก พืชตัวไหนที่ปลูกง่าย ขายดี ตลาดต้องการสูง เช่น ผักกาด แตงกวา ผักชีลาว หรืออ้อย เขาลงทุนปลูกมาหมดแล้ว

ที่ผ่านมา ชาวอีสานจำนวนมากนิยมบริโภคพืชประจำท้องถิ่น คือ “ บวบงู ” ที่มีชื่อพื้นบ้านอีสาน ว่า บักงอเงี้ยว บักงูเงี้ยว หรือบักกะดิง ส่วนคนเหนือ เรียกว่า มะนอยงู คนอีสานนิยมนำผักชนิดนี้ไป ลวก หรือนึ่ง จิ้มแจ่ว กินแซบหลายๆ

บวบงูที่นิยมปลูกแพร่หลายในถิ่นอีสานมี 2 พันธุ์ คือ “ พันธุ์สีขาว ” ที่มีขนาดผลใหญ่ บางผลมีความยาวถึง 1 เมตร แต่มีข้อเสีย คือ มีรสชาติไม่ค่อยอร่อย เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกบวบงู “ พันธุ์ลายเขียวขาว ” ซึ่งมีขนาดผลเรียว สั้น รสชาติดีกว่าชนิดแรก

เมื่อ 10 ปีที่แล้ว บุญทาเริ่มปลูกบวบงู บนเนื้อที่ 3- 4 ไร่ ซึ่งเป็นบวบงูสายพันธุ์พื้นเมือง ผิวไม่สวย ผลมีลักษณะงอบิดเบี้ยว เมื่อนำผลผลิตออกจำหน่ายที่ตลาดอุดรเมืองทองจำนวน 1 คันรถ โดยขายส่งในราคาก.ก.ละ 5 บาท ปรากฎว่า ทั้งวันขายบวบงูได้แค่ครึ่งคันรถเท่านั้น บุญทาบอกว่า สาเหตุที่ขายสินค้าไม่ได้ในช่วงนั้น เพราะคนอีสานบางท้องที่ก็ยังไม่รู้จักพืชผักชนิดนี้ บางคนรู้จักแต่ไม่ซื้อเพราะไม่ชอบกลิ่นฉุนของบวบงู

ความล้มเหลวที่เกิดขึ้น ไม่ทำให้บุญทาเกิดความย่อท้อ เขาหันไปใช้เมล็ดพันธุ์บวบงูคุณภาพดีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ทดลองปลูกบวบงูมาแล้วหลายยี่ห้อ แต่ในที่สุดเขาก็ตัดสินใจเลือกปลูก “ บวบงูพันธุ์ สเน็กกี้ 004 ” ของบริษัทเจียไต๋ จำกัดแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากบวบงู พันธุ์สเน็กกี้ มีการเจริญเติบโตและแตกแขนงดีมาก ทนโรค ให้ผลผลิตสูง ผลมีสีเขียว มีลายทางสีขาวแซม รสชาติหวานกรอบ ขนาดผล 3.0-3.5×45-50 เซนติเมตร น้ำหนัก 170-200 กรัมต่อผล อายุการเก็บเกี่ยว 50 วันหลังปลูก

คำกล่าวที่ว่า “ หัวใจสำคัญของการปลูกพืช คือเมล็ดพันธุ์ ถ้าเมล็ดพันธุ์ดีได้มาตรฐานก็จะให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ เวลาจำหน่ายก็ได้ราคาดีด้วย ” น่าจะเป็นสัจจธรรมที่ตรงกับชีวิตของบุญทาในช่วงที่ผ่านมา เพราะหลังจากเขาเปลี่ยนมาปลูกบวบงูพันธุ์ สเน็กกี้ ก็ทำให้ชีวิตและความเป็นอยู่ของเขาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขี้น

“ บวบงูเป็นพืชที่ปลูกดูแลง่าย ใช้เวลาปลูก 2 เดือน เก็บเกี่ยวผลผลิตไป 50 -60 วัน ปัจจุบันผมเก็บผลผลิตออกขาย ที่ตลาดอุดรเมืองทอง เฉลี่ยวันละ 150 ถุงๆ ละ 5 ก.ก. ขายส่งถุงละ 60 – 80 บาท เฉลี่ย ก.ก.ละ 12 – 16 บาท แม่ค้าที่รับซื้อจะนำไปขายปลีกในราคาก.ก.ละ 20-25 บาท แม่ค้าบางรายนำเหมาบวบงูไปขายต่อที่จังหวัดกาฬสินธ์ ในราคาขายส่งถุงละ 100 บาท ” บุญทากล่าว

เมื่อสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด ทำให้บุญทาตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกบวบงูอย่างเดียวถึง 20 ไร่ โดยทั่วไป บวบงู สามารถเพาะปลูกได้ทุกเดือน แต่ช่วงที่ให้ผลผลิตสูงสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกันยายน บุญทาวางแผนการปลูกบวบงูอย่างเป็นระบบ โดยแบ่งเนื้อที่ปลูกบวบงู 5 ไร่ ทะยอยปลูกใหม่ทุกๆ 4 เดือน เพื่อให้มีสินค้าป้อนเข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี

บวบงู สามารถเติบโตได้ดีในดินแทบทุกชนิด การเตรียมดินเริ่มจากขุดหลุมปลูกกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างหลุม 1 เมตร ตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยคอกหลุมละ 2-3 กิโลกรัม ปูนขาว 1 กระป๋องนมข้นหวาน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วทิ้งไว้ 2-3 วัน จึงจะนำต้นกล้ามาปลูก

การเตรียมต้นกล้า ใช้เมล็ดพันธุ์ แช่ในน้ำอุ่นประมาณ 2 ชั่วโมง นำขึ้นมาห่อด้วยผ้าทิ้งไว้ 2-3 วัน เมล็ดเริ่มแตกหน่อ นำไปเพาะในถาดเพาะกล้า ซึ่งบรรจุด้วยปุ๋ยดินหมักชีวภาพ ดิน และแกลบดำ อย่างละเท่า ๆกัน เมื่อต้นกล้าแตกใบจริงคู่ที่ 2 จึงย้ายปลูก

หากฝนไม่ตก ควรรดน้ำทุกวัน ให้พอดินชุ่ม น้ำไม่ขังในแปลงปลูก ดูแลใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หลังปลูกได้ 1 อาทิตย์ ประมาณ 1 กำมือ ต่อหลุมห่างจากต้นประมาณ 1 ฝ่ามือแล้วทำการกลบดินบริเวณรอบหลุมใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินอีก 1 กระป๋องนม หลังจากนั้นใส่ปุ๋ย13-13-21ห่างกัน 15 วัน ต้นละ 1 กำมือ

เนื่องจากบวบงูเป็นประเภทไม้เถา ควรเตรียมค้างหรือร้าน โดยใช้ไม้ไผ่ทำร้านสูงประมาณ 2 เมตร ให้สามารถเดินได้สะดวก เมื่อทำโครงเรียบร้อยแล้ว ใช้อวนตาข่ายขึงด้านบนให้ตึง บวบสามารถเลื้อยบนร้านได้ตลาด ยอดไม่ตกหรือย้อยลงด้านล่าง

การดูแล ขณะต้นกล้าที่ย้ายมา ยังเล็กอยู่ จะมีเต่าทองมาคอยทำลาย เจาะใบ ควรป้องกันโดยการล้อมกรอบ ต้นกล้าด้วยหนังสือพิมพ์ โดยปักหลัก 4 หลัก ควรใช้ต้นกล้วยมาผูกเถาของบวบงู ติดค้างจนถึงร้านบวบงู คอยปลิดแขนงออก ให้มียอดเถาเดียว ขึ้นร้าน แต่เมื่อขึ้นบนร้านให้มีหลายแนงยิ่งดี จะมีผลดก

นอกจากนี้ ควรเติมปุ๋ยหมักชีวภาพอยู่เสมอ ๆ ทุก ๆ 15 วัน และรดน้ำให้ชุ่ม ฉีดพ่นน้ำหมักสะเดา ทุกสัปดาห์ ทำการตัดใบที่เป็นโรค ยอดที่ไม่สมบูรณ์ออก ไม่ปล่อยให้ใบบวบทับซ้อนกัน แสงแดงสามารถส่องถึงใบได้ทุกใบในระหว่างแถวบวบ โดยทั่วไป บวบเป็นพืชที่ทนต่อโรคและแมลง จึงไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีนัก หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ในบริเวณแปลงบวบควรอนุรักษ์ผึ้ง เพื่อทำหน้าที่ผสมเกสร ช่วยเพิ่มผลผลิต ควบดูแลจัดผลไม่ให้ค้างหรือตั้งอยู่บนตาข่ายเพื่อให้รูปทรงไม่คดงอ การปลูก 1 ครั้ง สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน 50 -60 วัน

ปัจจุบัน ครอบครัวบุญทามีรายได้จากการขายบวบงูถึง 324,000 บาท/5 ไร่/5 เดือน เรียกว่า แต่ละเดือนจะมีรายได้เข้ากระเป๋าเฉลี่ย 13,000 บาทต่อไร่ทีเดียว บุญทาบอกอีกว่า ทุกวันนี้ ผมปลูกบวบงูส่งขายที่ตลาดอุดรเมืองทองแค่แห่งเดียว ก็ขายดิบขายดี จนผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาดแล้ว

“ ตลาดต้องการ บวบงู พันธุ์สเน็กกี้จำนวนมาก เพราะบวบงูพันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือ ผลตรง ยาวเรียว สวยงาม เนื้อกรอบนุ่ม มีรสหวานอร่อยน่ารับประทาน ส่วนเมล็ดพันธุ์บวบงูยี่ห้ออื่น เมื่อนำมาปลูก แม้จะได้ผลตรง ยาวเรียวเช่นกันแต่มีเนื้อหยาบ กินแล้วไม่นุ่มปาก เนื้อก็ไม่ค่อยหวาน แม่ค้าแผงผักและผู้ซื้อส่วนใหญ่พึงพอใจรสชาติความอร่อยของ “พันธุ์สเน็กกี้”มากกว่า ทุกวันนี้ผมตัดสินใจเลือกปลูกบวบงูพันธุ์สเน็กกี้แต่เพียงอย่างเดียว ”

ที่ผ่านมา บวบงู นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้รับความนิยมสูงในพื้นที่ภาคอีสาน เจียไต๋ ได้สำรวจสายพันธุ์บวบงูพันธุ์พื้นบ้าน พบว่า มีจุดอ่อนเรื่องผลผลิตต่ำ ต้นละ 1-2 กก. ผลมีสีเขียวเข้มลายพร้อยชัดเจน ผู้บริโภคมองเป็นบวบแก่ไม่น่ารับประทาน นำไปวางขายได้เพียง 2 วันก็จะเหี่ยว เจียไต๋จึงวางแผนปรับปรุงสายพันธุ์บวบงูให้มีคุณภาพดีขึ้น เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างอาชีพที่มั่นคงแก่เกษตรกร

นิธิกร อินทวารี ผู้ปรับปรุง “ บวบงูสายพันธุ์สเน็กกี้ 004 ” ของ เจียไต๋ เล่าว่า ปี 2539 เจียไต๋ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์บวบงู มีชื่อการค้าว่า พันธุ์ “สเน็กกี้” ที่มีลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อต้นดก 5-6 กก. ต้นแข็งแรงแตกแขนงได้มากขึ้น ในแต่ละแขนงบางข้อให้ลูกเป็นคู่ ผิวสีเขียวสดใสดูอ่อนวัย วางตลาดได้นานเป็น 3-5 วัน หลังเปิดตลาดจนถึงทุกวันนี้ บวบงู พันธุ์ “สเน็กกี้” ของ เจียไต๋ ได้รับความนิยมจากเกษตรกรปลูกบวบงูตลอดระยะเวลา 17 ปี สามารถครองส่วนแบ่งตลาดบวบงูได้ถึง 80%ทีเดียว

สำหรับหนุ่มสาวคนใด ต้องการควบคุมน้ำหนัก สมัคร UFABET ผู้เขียนอยากแนะนำให้เลือกบริโภคบวบงูเป็นพืชผักประจำบ้าน เพราะบวบงู เป็นพืชที่มีแคลอรี่และไขมันต่ำ มีกากไฟเบอร์สูง ทำให้ย่อยง่าย ดีต่อระบบขับถ่ายและเหมาะกับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน นอกจากนี้ บวบงู ยังเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารมากมาย ทั้งแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัส ผลอ่อนของบวบงูที่นิยมนำมารับประทานนั้นมีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น แก้ท่อน้ำดีอุดตัน ขับพยาธิ ช่วยระบายความร้อนจากร่างกาย ช่วยล้างสารพิษได้ดี จึงเหมาะที่จะใช้ในกระบวนการดีท็อกซ์

ประการต่อมา รากบวบงู ยังมีสรรพคุณเป็นยาชูกำลังและยาระบายอ่อน ๆ น้ำที่สกัดจากใบของบวบงู ช่วยลดอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวใจ เช่นใจสั่น น้ำที่สกัดจากบวบงู เมื่อนำมาใช้นวดผม จะช่วยผมร่วงและกำจัดรังแค แต่ระวังอย่ารับประทานเมล็ดบวบงูเข้าไปปริมาณมาก เพราะจะทำให้มีอาการคลื่นไส้และท้องเสียได้