เรื่องน่ารู้ของเครือหมาน้อย ภูมิปัญญา อาหารของไทลื้อ

เดิมชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นฐานที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่ บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่า คุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่งนาน790 ปี ต่อมาถึง สมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราชย์ต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่หรือหนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน เมืองสิบสองปันนา (ที่มาของคำว่า สิบสองพันนา อ่านออกเสียงเป็น “สิบสองปันนา”)

ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่างๆ เช่น

ฝั่งตะวันตก : เชียงรุ่ง, เมืองฮำ, เมืองแช่, เมืองลู, เมืองออง, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองพาน, เมืองเชียงเจิง, เมืองฮาย, เมืองเชียงลอ และเมืองมาง

ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า, เมืองบาน, เมืองแวน, เมืองฮิง, เมืองปาง, เมืองลา, เมืองวัง, เมืองพง, เมืองหย่วน, เมืองมาง และเมืองเชียงทอง

ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือ ถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย

ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม(เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย)

ชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่นๆทางภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เรือนที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อผสมล้านนายังพอจะมีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านธาตุสบแวน และบ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่างๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงบางแห่ง เช่น วิหารวัดดอนมูล วิหารวัดหนองแดง วิหารวัดหนองบัว วิหารวัดท่าฟ้าใต้ วิหารวัดแสนเมืองมา(วัดมาง) วิหารวัดหย่วน เป็นต้น

ศิลปะที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย บางสมัยนิยมใช้เส้นไหมจากต่างถิ่น ทอลวดลายที่เรียกว่า “ลายเกาะ” ด้วยเทคนิคการล้วง ซึ่งปัจจุบันนิยมเรียกว่า ลายน้ำไหล มีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะ การทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือในปัจจุบัน

ในชุมชนไทลื้อมีการปลูกเครือหมาน้อยเพื่อทำวุ้นเครือหมาน้อย โดยชาวไทลื้อเรียกว่า แองแทะ เพื่อนำไปทำเป็นอาหารหวานและอาหารคาว มีสรรพคุณเป็นยาเย็น แก้ร้อนใน ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ส่วนคนไทยเลยยังใช้น้ำคั้นจากรากและใบของเครือหมาน้อยใส่ในแกงหน่อไม้แทนใบย่านาง

ปัจจุบันกลุ่มอินแปง จังหวัดสกลนคร มีการเพาะกล้าเครือหมาน้อยจำหน่าย และยังพบว่าในตลาดมหาชัยเมืองใหม่ พระราม 2 มีใบสดของเครือหมาน้อยวางขายอยู่ในตลาดด้วย เครือหมาน้อยทำเป็นวุ้นได้เพราะในใบมีสารเพคตินธรรมชาติถึงร้อยละ 30 สารเพคตินนี้ จะเป็นพวกเดียวกับวุ้นพุงทะลายหรือวุ้นในเม็ดแมงลัก เพคตินมีคุณสมบัติในการพองตัวอุ้มน้ำเป็นการเพิ่มกากอาหารให้ลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย ลดระยะเวลาของอุจจาระที่ตกค้างอยู่ในลำไส้ ช่วยดูดซับสารพิษที่เกิดขึ้นจากการย่อยกากอาหารของเชื้อจุลินทรีย์ หรือสารพิษตกค้างอื่นๆ เป็นการลดปัจจัยหรือความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งยังลดการดูดซึมของน้ำตาลและไขมัน จึงเหมาะที่จะใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยเบาหวานและคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้ดี

เครือหมาน้อย หมอยาพื้นบ้านทุกภาคนิยมใช้รากเครือหมาน้อย เป็นยาแก้ปวดเมื่อยตามตัว แก้ปวดหลังปวดเอว แก้ไข้ แก้เจ็บคอ ไข้ออกตุ่ม โดยจะฝนกินหรือต้มกินก็ได้ จะใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับสมุนไพรตัวอื่นหรือใส่ในยาชุม (ยาตำรับที่มีสมุนไพรหลายชนิดผสมกัน) ที่รักษาโรคและอาการเหล่านั้นได้ เช่นเดียวกับหมอยาพื้นบ้านชาวบราซิลที่ใช้เครือหมาน้อยในการแก้ไข้ แก้ปวด และหมอยาพื้นบ้านชาวอินเดียแดงก็ใช้การต้มใบและเถาของเครือหมาน้อยกินเพื่อแก้ปวด การศึกษาสมัยใหม่พบว่าเครือหมาน้อยมีฤทธิ์แก้ปวด แก้อักเสบได้ดี ซึ่งสนับสนุนการใช้ของหมอยาพื้นบ้านเหล่านั้น ส่วนพ่อหมอประกาศ ใจทัศน์ ที่บ้านน้อมเกล้า อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ใช้รากเครือหมาน้อยฝนกับน้ำมะพร้าวให้กินแทนน้ำไปเรื่อยๆ เพื่อรักษาประดงไฟ ซึ่งมีลักษณะอาการออกร้อนตามตัว ซึ่งภาษาทางการแพทย์เรียกว่า burning sensation

เครือหมาน้อย…ยาของผู้หญิง หมอยาไทยพวนใช้หัวของเครือหมาน้อยฝนกินกับน้ำแก้ปวดประจำเดือน แก้ไข้ทับระดู ปรับสมดุลของประจำเดือนให้เป็นปกติทั้งอาการที่มีประจำเดือนมากหรือน้อย ซึ่งคล้ายกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านประเทศในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือ โดยหมอยาเหล่านั้นใช้เถา ราก ใบ เปลือก ของเครือหมาน้อยระงับอาการปวดทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด ทั้งใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด โดยให้ฉายาเครือหมาน้อยว่า สมุนไพรของหมอตำแย (Midwives’s herb) ทั้งยังใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวกับระบบประจำเดือนของผู้หญิง เช่น อาการปวดประจำเดือน มีประจำเดือนออกมามากเกินไป อาการไม่สบายก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual syndrome, PMS) รวมทั้งรักษาสิวที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน โดยมีความเชื่อร่วมกันว่า เครือหมาน้อยเป็นยาปรับสมดุลฮอร์โมนของผู้หญิง การใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณนี้มีการใช้อย่างต่อเนื่องกันมาเป็นพันๆ ปี จนถึงปัจจุบัน

การใช้เครือหมาน้อยเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิงนั้น หมอยาไทยใหญ่ก็มีการใช้เหมือนกัน โดยหมอยาไทยใหญ่บางท่านเรียกเครือหมาน้อยว่า “ยาไม่มีลูก” โดยใช้รากของเครือหมาน้อยต้มกินไปเรื่อยๆ แทนยาคุมกำเนิด (แต่ปัจจุบันไม่แนะนำให้ใช้เพราะมียาคุมกำเนิดที่ดีอยู่แล้ว)

เครือหมาน้อย…ช่วยย่อย หมอยาสมุนไพรไทยใช้เครือหมาน้อยเป็นยารักษาระบบทางเดินอาหารในหลายๆ อาการ เช่น ใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ จุกท้อง แก้กินผิด (อาการวิงเวียนศีรษะ มืนหัวหลังกินอาหารบางชนิด) แก้ท้องบิด แก้ท้องเสีย แก้เจ็บท้อง (อาการปวดเกร็งที่ท้อง) แก้ถ่ายเป็นเลือด โดยใช้รากต้มกิน หมอยาพื้นบ้านในอเมริกาใต้ก็ใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณเดียวกัน คือใช้ต้านอาการปวดเกร็งทั่วไป และใช้รักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome, IBS) โรคลำไส้อักเสบ เป็นต้น การศึกษาสมัยใหม่พบว่า เครือหมาน้อยมีฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อและต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดท้องเสีย

เครือหมาน้อย…ยาเย็น ข้อมูลจากการสัมมนาหมอยาพื้นบ้านเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว หมอยาในจังหวัดปราจีนบุรีแนะนำให้ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้นพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย นอกจากนั้นยังใช้พอกหน้าสำหรับผู้หญิงที่เป็นสิวผิวพรรณไม่ดีอีกด้วย

เครือหมาน้อย…ลดความดัน เครือหมาน้อยยังใช้เป็นยาลดความดันในกลุ่มหมอยาไทยใหญ่ โดยใช้ทั้งต้นต้มน้ำกิน หมอยาพื้นบ้านบราซิลก็ใช้เครือหมาน้อยในสรรพคุณนี้เช่นกันโดยใช้ราก ต้น เปลือก ใบ ของเครือหมาน้อยต้มกิน เพื่อใช้ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง นิ่ว ทางเดินปัสสาวะอักเสบ การศึกษาสมัยใหม่พบว่า สารสกัดจากเครือหมาน้อยสามารถลดความดันโลหิตในสัตว์ทดลองได้

เครือหมาน้อย…ยาอายุวัฒนะ หมอยาไทยเลยจะใช้รากเครือหมาน้อยทำเป็นผงละลายกินกับน้ำผึ้ง หรือขยี้กับน้ำดื่มเป็นยาอายุวัฒนะ รวมทั้งใช้รากเครือหมาน้อยไปเป็นส่วนประกอบในแป้งเหล้า โดยเชื่อว่าจะช่วยบำรุงร่างกาย ซึ่งชนเผ่า Creoles ใน Guyana จะแช่ใบ เปลือก ราก ในเหล้ารัมเพื่อบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ไม่ควรใช้ในคนท้อง

วิธีทำอาหารจากเครือหมาน้อย ชาวไทลื้อ ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ได้นำภูมิปัญญาดั้งเดิม คือการทำอาหารจากใบเครือหมาน้อย หรือแองแทะ คนพื้นเมือง ทางภาคเหนือ เรียกว่า อ่อนหล้อน โดยเลือกใบเครือหมาน้อย(แองแทะ)ที่มีสีเขียวเข้มที่โตเต็มที่แล้วประมาณ 10-20 ใบ ล้างให้สะอาดแล้วนำมาขยี้กับน้ำสะอาด ๑ ถ้วย เวลาขยี้ใบจะรู้สึกเป็นเมือกลื่นๆ เมื่อขยี้จนได้น้ำสีเขียวเข้มให้กรองเอากากใบเครือหมาน้อย (แองแทะ) ออก บางคนคั้นน้ำจากใบย่านางใส่ลงไปด้วยจะทำให้วุ้นแข็งตัวเร็ว จากนั้นนำน้ำวุ้นที่ได้ปรุงรสตามชอบ

หากต้องการรับประทานเป็นของคาวก็เติมพริกป่น ปลาป่น เนื้อปลาต้มสุก หัวหอม น้ำปลา ข้าวคั่ว ใบหอม และผักชีหั่น ถ้าอยากแซบก็ใส่น้ำปลาร้าแทนน้ำปลาก็ได้ หรือถ้าต้องการรับประทานเป็นของหวาน อาจคั้นน้ำใบเตยใส่เพิ่มลงไป การใส่เกลือลงไปเล็กน้อยจะช่วยให้วุ้นแข็งตัวเร็วขึ้น แต่อย่าใส่มากจะออกรสเค็ม ตั้งทิ้งไว้อีกประมาณ 4-5 ชั่วโมง น้ำคั้นจะจับตัวเป็นก้อนเหมือนวุ้น มักเรียกว่า วุ้นหมาน้อย แล้วเติมน้ำหวานหรือน้ำตาลลงไป รับประทานเป็นอาหารว่างที่ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ทางยา อีกด้วย

ชาวไทยพวนนิยมคั้นเครือหมาน้อยกับใบย่านาง จะทำให้วุ้นเครือหมาน้อยแข็งตัวได้ดีกว่า เพราะในใบย่านางจะมีเกลือแร่อยู่จำนวนหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นวุ้นได้เร็วขึ้น เช่นเดียวกับการใส่น้ำปลา น้ำปลาร้า หรือเกลือ ช่วยทำให้เกิดวุ้นได้ดีเช่นกัน เครือหมาน้อยเป็นสมุนไพรที่มีการใช้กันมาอย่างต่อเนื่องในหมู่หมอยาพื้นบ้านในแถบอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือนานนับพันปีจนถึงปัจจุบันและเป็นที่น่าแปลกใจว่าแม้อยู่กันคนละทวีปกับบ้านเรา แต่ก็มีการใช้ในสรรพคุณที่เหมือนๆ กันเป็นส่วนใหญ่

ช่วงสะสมอาหาร เป็นช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน ทางดินสะสมอาหารและสร้างตาดอกด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 8-24-24 ทางใบ“สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. 081-886-7398 จะฉีดพ่นอาหารเสริมทางใบและดูแลใบมะนาว ช่วงการสะสมเป็นช่วงฤดูฝน หัวใจสำคัญคือ การควบคุมมิให้มะนาวแตกใบอ่อน ซึ่งเป็นเรื่องยากสุดของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาว ถ้าทำให้ใบนิ่งได้อย่างน้อย 2 เดือน ดังนั้น ในช่วงสะสมอาหารควรใส่ปุ๋ยทางดิน สูตร 8-24-24 ทางใบให้ธาตุอาหารเสริม ฮอร์โมน ปุ๋ยเหลว ที่มีตัวกลางและตัวท้ายสูง เช่น 5-20-25 หากฝนชุกมากควรฉีดด้วยปุ๋ยเกล็ด 0-52-34 หรือบางครั้งอาจใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร จะช่วยยับยั้งไม่ให้เกิดใบอ่อนได้

หลักสำคัญของการทำมะนาวนอกฤดู ทางสวนให้ความสำคัญเรื่องความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ การควบคุมไม่ให้ใบเป็นแคงเกอร์ ถ้าสะสมมาเต็มที่การออกดอกจะง่ายขึ้น ทางสวนไม่เน้นวิธีการอดน้ำเนื่องจากมีฝนตกชุกมาก ฝนไม่ขาดช่วง จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนบางชนิดบังคับแทน

รักษาผิวมะนาวให้สวย ต้องระวัง “เพลี้ยไฟ” กับ “ไรสนิม” โดยเฉพาะหมดฝนต้องฉีดยาป้องกันไรสนิมเลย อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง สารเคมีที่ใช้ดีสำหรับไรสนิมคือ สาร “ไพริดาเบน” แล้วมันจะอยู่ มันจะทำลายลูกมะนาวทุกระยะ จนถึงมะนาวแก่ก็ทำลายลูกดำหมด กลายเป็นมะนาวตกเกรดเลย จาก 3 บาท ราคาจะเหลือ 1 บาททันที ส่วน โอเบรอนมันแก้ไรแดงเพียงอย่างเดียว แต่ไพริดาเบนมันคุมฆ่าไรได้ค่อนข้างดี

ทางใบ จะยืนพื้นสูตรฉีดสะสมอาหารทางใบด้วยปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 ร่วมกับเทรนเนอร์ เป็นหลัก จากนั้นจะบวกด้วยฮอร์โมนและอาหารเสริมสลับกันไปในแต่ละรอบของการฉีดพ่นสารเคมี เฉลี่ยจะฉีดพ่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ดังต่อไปนี้

ฉีดพ่นสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

สูตรดังกล่าว จะฉีดช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน จนใบมะนาวจะเริ่มแก่จัด หรือ “แก่ก้าน” มีใบลักษณะสีเขียวเข้ม จับใบดูจะกรอบ แสดงว่าต้นมะนาวมีความพร้อมที่จะเปิดตาดอก ช่วง 2 เดือนนี้เกษตรกรต้องดูต้นมะนาวของเราอย่าให้แตกใบอ่อนออกมา เราต้องพยายามบังคับให้ไปแตกใบอ่อนพร้อมดอกหรือเปิดตาดอกในเดือนตุลาคมเท่านั้น ถ้ามีฝนชุกหรือต้นมะนาวดูงามเกินไป จะต้องเพิ่มอัตราปุ๋ย 0-52-34 เข้าไปอีก จาก 150 กรัม เป็น 200 กรัม เพื่อช่วยให้ต้นมะนาวแตกใบอ่อนออกมาก่อนกำหนดที่เราต้องการ

วิธีการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล

การออกดอกของมะนาวแป้นดกพิเศษหลังการฉีดปุ๋ยเปิดตาดอก
วัตถุประสงค์ของการใช้สารแพคโคลบิวทราโซล คือการควบคุมไม่ให้มะนาวแตกใบอ่อน ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎาคม จะเป็นช่วงที่เกษตรกรเพิ่มความสมบูรณ์ของต้นและเร่งการแตกใบอ่อนของต้นมะนาวให้ออกอย่างน้อย 2-3 ชุด เมื่อใบอ่อนรุ่นสุดท้ายเป็นระยะเพสลาดหรือใบเริ่มจะแก่แล้ว ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมจะฉีดพ่นสารแพคโคลบิวทราโซลควบคุมไม่ให้เกิดการแตกใบอ่อนออกมาอีก จะเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซลที่ความเข้มข้น 15% (เช่น แพนเทียม 15%) อัตราที่แนะนำใช้ประมาณ 100-150 กรัม ผสมกับน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ) และเติมสารจับใบ ฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน แต่ในกรณีที่ฝนตกชุก ก็จะฉีดให้ถี่ขึ้นตามความเหมาะสม

ช่วงต้นเดือนตุลาคม ใบมะนาวจะมีความพร้อม ใบเขียวเข้มจับดูจะกรอบ แสดงว่ามีความพร้อมที่จะ “เปิดตาดอก” ได้แล้ว สูตรสารเคมีในการเปิดตาดอกก็จะคล้ายเดิม แต่จะเพิ่มในเรื่องของอัตราของสารที่ใช้มากขึ้น

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 10-52-17 อัตรา 150 กรัม

มะนาวแป้นดกพิเศษที่ผลิตออกนอกฤดูได้ราคาดีทุกปี
ฉีดพ่นวนสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสม ต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)ในกรณีที่ฝนตกชุก ให้เปลี่ยนปุ๋ยเกล็ด จาก 10-52-17 เป็น 0-52-34 โดยใช้อัตราเดียวกันและเสริมด้วยการผสมฮอร์โมน NAA (เช่น บิ๊กเอ) เข้าไปบ้างทุกครั้งที่ฉีดพ่นสารเคมีตัวฮอร์โมนจะช่วยให้การติดผลดีขึ้น ติดผลดก

ช่วงปลายเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน มะนาวจะเริ่มทยอยกันออกดอก กรณีฉีดพ่นปุ๋ยทางใบยังคงใช้สูตรเดิมแต่จะต้องลดอัตราการใช้ลงต่ำกว่าปกติ สูตรดังกล่าวจะใช้ตั้งแต่ออกดอกติดผลขนาดเท่าเมล็ดถั่วลิสง

ครั้งที่ 1

สารสาหร่ายสกัด อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 2

สารแคลเซียมโบรอนอี อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 3

สารสังกะสี คีเลท อัตรา 30 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ครั้งที่ 4

สารโปรดั๊กทีฟ อัตรา 10 ซีซี

สารเทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี

ปุ๋ยเกล็ด สูตร 0-52-34 อัตรา 100 กรัม

ฉีดพ่นวนสลับกันไปทุกๆ 7 วัน ร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง อัตราผสมต่อน้ำ 20 ลิตร (1 ปี๊บ)

มะนาวแป้นดกพิเศษทำออกนอกฤดูง่ายในวงบ่อซีเมนต์
การเปิดตลาดของมะนาว ถ้าหากจะเก็บเกี่ยวมะนาวในช่วงฤดูแล้ง ควรให้มะนาวออกดอกตั้งแต่เดือนกันยายน-ตุลาคม-พฤศจิกายน จะขายมะนาวได้ราคาแพง ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม-เมษายน เป็นช่วงที่มะนาวมีราคาแพง โดยทั่วไปที่สวนจะสังเกตว่ามะนาวมีตาดอกชัดเจนหรือยัง สังเกตจากสภาพใบจะเขียวเข้ม ตายอดจะบวมเบ่ง หรือเริ่มมีดอกประปราย จึงกระตุ้นตาดอก โดยใช้สารเปิดตาดอกหลายตัวร่วมกันฉีดแบบต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้มะนาวออกดอกสม่ำเสมอ สารเปิดตาดอกต้องระวังอย่าให้มีพวกปุ๋ยไนโตรเจนผสมลงไป เพราะจะเกิดตาใบแทนตาดอก เนื่องจากมีฝนตกชุก ถ้าสะสมมาดีการออกดอกจะง่าย ส่วนมากชาวสวนจะพบปัญหากระตุ้นเปิดตาดอก จะเป็นตาใบเสียส่วนใหญ่ หรือใบนิ่งไม่ออกดอก ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากความสมบูรณ์ไม่พอ หรือสะสมอาหารไม่เต็มที่นั่นเอง

ข้อควรระวัง ในการใช้สารเคมีและฮอร์โมนต่างๆ

ในช่วงที่มะนาวออกดอก

หลีกเลี่ยงการใช้สารฆ่าแมลงที่มีส่วนของน้ำมันและยาร้อน เนื่องจากจะทำให้ดอกมะนาวแห้งและร่วง ช่วงที่มะนาวออกดอก ดอกเริ่มบาน ต้องระวังเรื่องของโรคเชื้อราเป็นพิเศษ จะเป็นกลุ่มเชื้อราที่เข้าทำลายขั้วดอกและทำให้ดอกหลุดร่วง เชื้อราที่ใช้ดีที่สุดในปัจจุบันนี้ คือ สารฟลิ้นท์-แอนทราโคล เทคนิคดูแลช่วงออกดอกติดผล ช่วงออกดอกในช่วงที่ดอกมะนาวเริ่มเป็นเม็ดทราย (ตุ่มตาดอก) ควรฉีดด้วยฮอร์โมน อาหารเสริม เพื่อขยายรังไข่ให้การติดผลดก ช่วงดอกบานระวังเชื้อรา ในช่วงฝนชุก ช่วงนี้ต้องระวังเพลี้ยไฟ ทางสวนใช้สูตรยาฆ่าแมลงหลายตัวสลับการดื้อยา จนขึ้นเมล็ด ช่วงขึ้นเมล็ดเล็กระวังการร่วงผลอ่อน (หักคอม้า) หากติดผลใหญ่แล้ว ไม่ค่อยต้องการดูแลมากนัก เร่งน้ำและปุ๋ยทางดินเพื่อให้ผลใหญ่ ขายได้ราคาดี

ช่วงติดผลอ่อน ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
ระยะเลี้ยงผล การฉีดพ่นทางใบ ใช้สูตรในการขยายผลมะนาวให้โตขึ้น โดยใช้ฮอร์โมนกลุ่มจิบเบอเรลลิน (เช่น จิบทรี) อัตราที่ใช้ ประมาณ 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง ห่างกัน 10-15 วัน ต่อครั้ง ผสมไปพร้อมกับการฉีดสารปราบศัตรูพืช ปุ๋ยทางดิน จะให้ปุ๋ยสูตร 19-19-19 หรือ 32-10-10 จากสูตรการทำมะนาวนอกฤดูของ คุณมานิด อาจจะเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรมือใหม่ หรือที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจจะเอาไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมด้วยในสภาพของการปลูก สภาพดิน ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันอาจจะเป็นตัวกำหนดในการประสบความสำเร็จของการทำมะนาวเช่นกัน

สวนคุณลี ขอฝากไว้ว่า การทำมะนาวนอกฤดู ที่ผ่านมาเกษตรกรมักจะพลาดในเรื่องไม่กล้าลงทุน พอช่วงมะนาวราคาถูกก็จะห่างการดูแลและบำรุงรักษา มะนาวเป็นพืชที่ห่างปุ๋ยห่างยาเมื่อไร มีการบำรุงไม่ถึงกับความต้องการของต้นมะนาวในช่วงสะสมอาหาร ต้นมะนาวขาดความสมบูรณ์ โอกาสประสบความสำเร็จก็จะน้อยตามด้วยเช่นกัน

ในอดีตที่ผ่านมา ปู่ย่าตายายของเราส่วนมากจะมีอาชีพทางการเกษตร ท่านเหล่านั้นทำการเกษตรด้วยความเคารพต่อธรรมชาติ ผืนดิน ป่าเขา แม่น้ำ เสมือนผู้มีพระคุณที่เกื้อหนุนแก่สรรพชีวิตทั้งหลายในโลก ท่านเหล่านั้นได้ใช้วัตถุดิบทางธรรมชาติอย่างทะนุถนอมค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป อย่างประหยัดและใช้อย่างมีคุณค่าที่สุด

การแสดงความเคารพต่อธรรมชาติ เช่น การทำขวัญข้าว กลายเป็นเรื่องงมงายในปัจจุบัน หลังจากที่เราทำเกษตรยุคใหม่ซึ่งเป็นเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีทั้งสารเคมีกำจัดโรคพืช กำจัดศัตรูพืชอย่างไม่ยั้งมือ โดยมุ่งหวังผลผลิตที่ได้เป็นสำคัญโดยไม่คำนึงถึงสารตกค้างที่อยู่ในพืชผักที่ผลิตซึ่งจะส่งผลร้ายต่อผู้บริโภคและตัวเอง

คนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ หลายท่านหลังที่จะมาเกษียณในชีวิตปั้นปลายที่ไร่นาในต่างจังหวัด หรือบางท่านสามารถกลับมาใช้ชีวิตกลางไร่นาในวัยหนุ่มสาว เช่น ครอบครัวสิทธิชัย ซึ่งมี คุณวิรัตน์ สิทธิชัย และ คุณสานิต สิทธิชัย น้องชาย กับพี่ๆ น้องๆ ในครอบครัวฝันอยากเป็นครอบครัวเกษตรกรตามวิถีของบรรพบุรุษอีกครั้งที่อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี

คุณสานิต กล่าวถึงความเป็นมาเป็นไปว่า “ดั้งเดิมพ่อแม่ย้ายจากจังหวัดกาญจนบุรี มาที่บ้านคา ราชบุรี เมื่อ 45 ปีก่อน โดยลาออกจากการรับราชการมา ทำการเกษตรปลูกข้าวโพด มันสำปะหลัง ข้าวฟ่าง และเผาถ่าน แต่ก็สามารถส่งลูกๆ หลายคนเรียนจนจบปริญญาตรีและมีหน้าที่การงานหมดทุกคน ต่อมาผมมีความสนใจเรื่องเกษตรจึงเข้าเรียนปริญญาตรีด้านการเกษตรของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนจบ จากพื้นฐานเดิมที่จบทางด้านเคมี ไม่มีความรู้ทางด้านเกษตรเลย ได้นำความรู้ที่ได้มาวางแผนพัฒนาการทำเกษตรของที่บ้าน ด้วยคิดว่าเกษตรกรทั่วไปมักทำการเกษตรตามความคุ้นเคย และอาศัยพึ่งพาธรรมชาติมากเกินไป ไม่ได้เอาความรู้ทางด้านนี้ไปช่วยพัฒนาให้การเกษตรประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น จึงยังเห็นเกษตรกรส่วนใหญ่ยังยากจนอยู่”

การเกษตรแบบเดิมๆ จึงเป็นสิ่งที่ล้าสมัย การเรียนรู้เพื่อพัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่ไห้ได้ประโยชน์สูงสุดเป็นเรื่องที่สำคัญ การพึ่งพาสารเคมีเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างยิ่งเพราะในครอบครัวสิทธิชัย มีพี่ชายคนที่ดูแลไร่ได้ป่วยจากการใช้สารเคมีเกิดขนาด พบว่าในเลือดมีสารเคมีอยู่ ทั้งยาฆ่าหญ้า และยาปราบศัตรูพืชจากการปลูกกะหล่ำปี ต้นหอม มะเขือ ทำให้ต้องนอนรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอยู่นาน สิ่งนี้เป็นประสบการณ์ตรงซึ่งทำให้ครอบครัวสิทธิชัยตระหนักถึงความสำคัญของการละเลิกการใช้สารเคมีเหล่านี้

จากประสบการณ์ที่เลวร้ายนี้จึงได้หาข้อมูลต่างๆ ในโลกอินเตอร์เน็ตที่เป็นข้อมูลการใช้ชีวภัณฑ์ที่ทดแทนสารเคมี โดยมีพี่ชายคนโต คุณวิรัตน์ สิทธิชัย พี่ชายคนโต ดูแลเรื่องวิชาการและองค์ความรู้ทางด้านเกษตรไบโอเทคนิค ได้นำข้อมูลความรู้มาปรับใช้ในไร่แทนสารเคมี แรงงานที่ไร่จะมีพี่ชาย พี่สะใภ้ พี่สาว และหลานอีกคนเป็นหลัก ไม่ได้จ้างแรงงานข้างนอกเลย จากพื้นที่ 100 ไร่ ที่ติดลำธารใหญ่ที่มีน้ำตลอดปี สามารถนำมาใช้ในการเกษตรอย่างพอเพียง แบ่งส่วนที่เป็นที่ราบ 20 ไร่ ส่วนที่เป็นที่ลาดชัน 80 ไร่ ได้ปลูกสับปะรดสำหรับส่งโรงงาน ส่วนพื้นที่ราบที่เหลือปลูกผักที่ไม่ใช้สารเคมี

เริ่มต้นครั้งแรกๆ ได้ปรับปรุงพื้นที่ประมาณ 10 ไร่ งดใช้สารเคมีทั้งหมด สร้างโรงหมักปุ๋ย เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ โดยใช้อาหารจากในสวน ส่วนใหญ่จะใช้ใบปอกระสา เอามาสับผสมกับมะละกอ ต้นกล้วย กล้วย ผักขมไทย ข้าวโพด รำและปลาป่นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ เศษผักที่เหลือก็จะนำมาสับใส่ให้ด้วย

ส่วนพื้นที่ที่เหลือก็จะปลูกผักเพื่อส่งตลาดศรีเมือง จังหวัดราชบุรี เช่น แตงกวา พริก มะเขือ มะเขือพวง ตะไคร้ กระชาย มะละกอ นอกจากนี้ ก็ทำบ้านพักไว้หลังหนึ่งมี 2 ห้องสำหรับแขกที่มาพัก คิดราคาคืนละ 1,200 บาท ส่วนถ้ากางเต็นท์นอนคิด 100 บาท ต่อหัว สำหรับเด็กเล็กไม่คิดเงิน