เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและศักยภาพด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศของไทย และเตรียมความพร้อมการเริ่มใช้ระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) เชื่อมระบบประเทศอาเซียนภายในสิ้นปี 62 นี้

เมื่อเร็วๆ นี้ มกอช. และกรมวิชาการเกษตร ได้ผนึกความร่วมมือระหว่างองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft fur Internationale Zusammenarbeit : GIZ) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “National Training Workshop on Development of Phytosanitary Standard Operating Procedures” ให้แก่ เจ้าหน้าที่จากกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร และกองควบคุมมาตรฐานของ มกอช. และเจ้าหน้าที่จากด่านกักกันพืชของกรมวิชาการเกษตร โดยเชิญ Mr. Jos von Meggelen วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการระบบตรวจสอบและกักกันสินค้าพืช จากหน่วยงานความปลอดภัยอาหารของประเทศเนเธอร์แลนด์ (Netherlands Food and Consumer Product Safety Authority) มาให้ความรู้ ความเข้าใจ ในด้านหลักการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน และให้ข้อคิดเห็นต่อร่างคู่มือการปฏิบัติงานของไทย

สำหรับการฝึกอบรมดังกล่าวอยู่ภายใต้โครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Facilitating Trade for Agricultural Goods in ASEAN: FTAG) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางเทคนิคที่ดำเนินการโดย GIZ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือภายในประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกฎระเบียบการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร การพัฒนาสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานของประเทศคู่ค้า การปรับปรุงพัฒนาข้อมูล และการหารือทางเทคนิคด้านการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตร ผ่านช่องทาง ASEAN Focal Point ให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินการ 2 ปี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 – มิถุนายน 2562 ในพื้นที่ประเทศเป้าหมาย 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยสำหรับประเทศไทย มกอช. เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักในโครงการดังกล่าว ในฐานะหน่วยงานผู้ร่วมมือ (Partner) ของ GIZ

ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทย มกอช. ได้มอบหมาย นายวิชา ธิติประเสริฐ ที่ปรึกษา มกอช. เป็นประธานของผู้แทนไทยในคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าว โดยกำหนดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนทุก 1 ปี ครั้งล่าสุดเป็นครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ณ เมืองพัทยาโดยที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) โดยมีเป้าหมายให้ไทยสามารถพัฒนา SOP และสามารถนำไปใช้จริง เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศในอนาคต

“ประโยชน์ของการพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงาน (SOP) ถือเป็นกลไกสำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ของ มกอช. และเจ้าหน้าที่ด่านกักกันพืชของกรมวิชาการเกษตรในการเพิ่มศักยภาพการะบบตรวจสอบและกักกันสินค้าพืชในการนำเข้าและส่งออกให้ถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว และเป็นไปตามมาตรฐานสากล อันเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าเกษตรระหว่างประเทศ รวมทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (e-Phyto) ของไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบ โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มทดลองใช้ภายในประเทศได้ในเดือนกรกฎาคม 2562 นี้ และจะสามารถทดลองเชื่อมต่อกับระบบของประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ภายในสิ้นปี 2562 “เลขาธิการธิการ มกอช. กล่าว

ย้อนกลับไปราวปี พ.ศ.2547 Maine Coon หรือ แมวเมนคูน ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายนักในประเทศไทย หากเป็นกลุ่มแมวที่นำเข้าจากต่างประเทศ และได้รับความนิยมในยุคนั้น น่าจะเป็น Persian หรือแมวเปอร์เซีย หรือเรียกอีกอย่างว่า แมวเปอร์เซียน เป็นที่รู้จักและต้องการมากกว่า ทั้งยังมีฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ จำหน่ายภายในประเทศไทยอย่างแพร่หลาย ต่างกับแมวเมนคูน ที่ตลาดเพาะจำหน่ายขยายพันธุ์ ยังไม่มีทิศทาง

เช่นเดียวกับการทำฟาร์มแมว ของคุณเจตนิภัทธ์ หวังใจสุข หรือคุณซอล ที่ก่อนหน้านี้การทำฟาร์มแมวเปอร์เซียเป็นกิจการและงานที่รักของคุณแม่มาตั้งแต่คุณเจตนิภัทธ์ยังเด็ก เป็นการเพาะขยายพันธุ์และจำหน่ายแมวเปอร์เซีย 1 ในจำนวนไม่กี่ฟาร์มในขณะนั้น

จากฟาร์มแมวเปอร์เซียที่ได้รับความนิยมอย่างดี แต่กลับเปลี่ยนสายพันธุ์แมวเป็น “เมนคูน” ทั้งที่แมวเปอร์เซียยังได้รับความนิยมไม่ตก ข้อข้องใจนี้คุณเจตนิภัทธ์ อธิบายว่า เพราะแมวเปอร์เซียมีฟาร์มที่เพาะขยายพันธุ์และจำหน่ายในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง ส่วนแมวเมนคูนในยุคนั้น ความแพร่หลายและความนิยม รวมถึงการเป็นที่รู้จักของคนไทย เรียกได้ว่า “ศูนย์” ประกอบกับคุณแม่ชอบสุนัข แต่มีเชื้อสายไทย-มุสลิม ไม่นิยมเลี้ยงสุนัข จึงอยากได้แมวที่มีลักษณะนิสัยเหมือนสุนัขมาเลี้ยง

จากการศึกษาพฤติกรรมแมวผ่านหนังสือของคุณแม่ พบว่าแมวที่มีลักษณะนิสัยคล้ายคลึงกับสุนัขที่สุด คือ แมวสายพันธุ์เมนคูน ที่มีลักษณะนิสัยขี้อ้อน เอาใจเจ้าของ ประจบ และชอบอาบน้ำ อีกทั้งการดูแลไม่จำเป็นต้องละเอียดละออเหมือนสายพันธุ์อื่น คุณแม่ของคุณเจตนิภัทธ์ จึงตัดสินใจซื้อแมวเมนคูนมาเลี้ยง โดยเดินทางไปมาเลเซียเพื่อซื้อแมวเมนคูนกลับมาเลี้ยงในประเทศไทย

“ตอนแรก คุณแม่ของผมตั้งใจซื้อกลับมาเลี้ยงเป็นเพื่อนอย่างเดียว แต่พอมีลูกค้ามาเลือกซื้อแมวเปอร์เซียที่ฟาร์ม เห็นแมวเมนคูนที่คุณแม่เลี้ยงไว้ก็ชอบใจ และสอบถามต้องการซื้อไปเลี้ยง เมื่อมีลูกค้าสอบถามมาก ทำให้คุณแม่คิดจะเพาะขยายพันธุ์แมวเมนคูน แต่ปัญหาในขณะนั้นคือ ฟาร์มแมวเมนคูนที่ต่างประเทศทุกที่ จะขายแมวเมนคูนให้กับลูกค้า โดยแมวทุกตัวจะถูกทำหมันมาแล้ว เพราะไม่ต้องการให้มีการเพาะขยายพันธุ์เป็นที่แพร่หลาย”

ในที่สุดคุณแม่ของคุณเจตนิภัทธ์ก็ได้แมวเมนคูนที่ไม่ถูกทำหมันมา 1 คู่ และเริ่มเพาะขยายพันธุ์แมวเมนคูนในปี พ.ศ.2549 โดยระยะแรกเริ่มจากการเพาะ แต่เก็บไว้เลี้ยงเอง ยังไม่ขาย นำออกโชว์เมื่อมีงานแสดงเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในที่ต่างๆ เพื่อสำรวจตลาดความต้องการของคนไทยที่มีต่อแมวเมนคูน ก็พบว่า ลูกค้าให้ความสนใจสูงมากกว่าแมวเปอร์เซีย จึงเริ่มเพาะขยายพันธุ์อย่างจริงจัง เพื่อตอบสนองผู้รักแมวในเมืองไทย

“แมวเมนคูนทุกตัวของเราที่ขายให้กับลูกค้า ไม่มีการตอน เพราะต้องการให้เป็นที่แพร่หลาย แม้ลูกค้าที่ซื้อแมวเมนคูนไปแล้ว ต้องการนำไปเป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ ทำฟาร์มแมวเอง ทางนี้ก็ไม่กังวล เพราะเป็นการส่งเสริมให้คนรักและรู้จักแมวชนิดนี้เพิ่มมากขึ้น”

การผสมพันธุ์ ในเพศเมียจะเริ่มทำในแมวที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกายและอุ้งเชิงกราน ที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ไม่เกิดปัญหาขณะคลอด ส่วนเพศผู้สามารถผสมได้ตลอดอายุ ในการผสมพันธุ์ควรให้เพศผู้อยู่ในกรง แล้วนำเพศเมียไปปล่อยไว้ในกรงเพศผู้ ให้เกิดการผสมเองตามธรรมชาติ ซึ่งหลังจากเพศเมียได้รับการผสมจะร้องเสียงดัง หรือผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกต หากมั่นใจว่าเพศเมียได้รับการผสมแล้ว ควรนำเพศเมียออกจากกรง หากเป็นแมวที่ผสมครั้งแรก ควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเลี้ยงภายในกรงและสังเกตพฤติกรรม

หากเป็นแมวที่เคยผสมและให้ลูกแมวแล้ว อาจเลี้ยงปล่อยเหมือนปกติ เพราะแมวที่เคยให้ลูกแมวแล้ว จะระมัดระวังบริเวณท้องของตนเอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

คุณเจตนิภัทธ์ ให้ข้อสังเกตในแมวที่ตั้งท้องว่า แมวบางตัวอาจแสดงอาการเห็นได้ชัดว่าตั้งท้อง เช่น อาเจียน ไม่กินอาหาร ในช่วงเดือนแรก ซึ่งเรียกว่าอาการแพ้ท้องเช่นเดียวกับคน อย่างไรก็ตาม ในแมวตั้งท้องจะให้อาหารเสริมเพื่อบำรุงลูกแมวและแม่แมว โดยเพิ่มวิตามิน แคลเซียมให้ อาจใช้นมผสมแคลเซียมรวมไปกับอาหารเม็ด นอกจากนี้ยังให้อาหารเปียกคลุกวิตามิน และเพิ่มเนื้อไก่ต้มในมื้อดึกให้ด้วย ส่วนในแมวปกติ ชามอาหารเม็ดจะถูกตั้งทิ้งไว้ตลอดทั้งวัน ผู้เลี้ยงควรหมั่นสังเกตหากอาหารเม็ดพร่องให้นำมาเติม เพราะแมวแต่ละตัวจะมีนิสัยและเวลากินอาหารไม่เหมือนกัน

สำหรับน้ำ ควรใส่ชามตั้งไว้ตลอดวันเช่นเดียวกัน และควรมีผ้ารองชามอีกชั้น เพื่อป้องกันน้ำหกเลอะเทอะพื้น เนื่องจากแมวเมนคูน เป็นแมวที่มีเชื้อสายแมวป่า และยังมีบางรายเชื่อว่ามีเชื้อสายจากแรคคูน ซึ่งแมวป่าและแรคคูน เมื่อกินน้ำจะแกว่งเท้าหน้าบริเวณผิวน้ำ และใช้เท้าหน้าตวัดน้ำขึ้นมา จากนั้นจึงเลียน้ำที่ติดขึ้นมากับเท้า ดังนั้น เวลาแมวเมนคูนกินน้ำ จะทำให้น้ำหกเลอะเทอะได้ แม้ว่าผู้เลี้ยงบางรายจะใช้ขวดน้ำตั้งทิ้งไว้ให้แมวเมนคูนเลียลูกกลิ้งจากขวดน้ำ แต่พฤติกรรมการใช้เท้าหน้ากวนวนไปมา ก็จะยังมีอยู่

แมวเมนคูนที่ใกล้คลอด จำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ซึ่งคุณเจตนิภัทธ์ ให้ข้อมูลว่า แมวเมนคูนจะคลอดหลังผสมประมาณ 60-63 วัน เมื่อใกล้คลอดแม่แมวจะมีน้ำไหลออกมาทางอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้เลี้ยงควรอยู่ใกล้ชิด และควรเตรียมอุปกรณ์ช่วยคลอด หากจำเป็น เช่นถุงมือ กรรไกร แอลกอฮอลล์ เพื่อช่วยฉีกรก ตัดสายสะดือ โดยเฉพาะแม่แมวท้องแรก หรือ แม่แมวที่ให้ลูกหลายตัวจะรู้สึกเหนื่อยจนช่วยเหลือตัวเองไม่ไหว ผู้เลี้ยงจึงควรให้ความช่วยเหลือ

การผสมพันธุ์แมว เพื่อให้ได้ลูกแมวในฟาร์มของคุณเจตนิภัทธ์ ไม่เน้นให้ได้จำนวนลูกแมวมาก แต่จะเน้นคุณภาพของลูกแมว ซึ่งโดยปกติแล้ว แมวจะให้ลูกได้มากถึง 11 ตัวต่อท้อง แต่การมีลูกจำนวนมากจะทำให้ลูกแมวไม่แข็งแรง การดูแลของแม่แมวไม่ทั่วถึง ดังนั้น ในการผสมพันธุ์แต่ละครั้ง ฟาร์มของคุณเจตนิภัทธ์ จะตั้งเป้าให้ได้ลูกแมวไม่เกิน 5 ตัวต่อท้อง จึงเลือกวันที่แมวมีความพร้อมผสมมากที่สุด เพื่อให้ไข่ได้รับการผสมมากที่สุด และควรผสมเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

“ในช่วง 3 วันแรกหลังคลอด ผู้เลี้ยงต้องใส่ใจ ดูแลแม่แมวและลูกแมวอย่างใกล้ชิด แม่แมวอาจรู้สึกเหนื่อยและเพลีย ควรใช้มือพลิกตัวลูกแมวเรื่อยๆ และจับให้ลูกแมวได้กินนมแม่แมวอย่างสม่ำเสมอ หลังจากนั้นแม่แมวแข็งแรงขึ้น ควรปล่อยให้แม่แมวเลี้ยงลูกเองตามธรรมชาติ เพื่อให้ลูกแมวได้ฝึกการขับถ่ายในกระบะทรายด้วย”

คุณเจตนิภัทธ์ เล่าว่า ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการซื้อแมวเมนคูนไปเลี้ยงไม่เคยตก หากจะขายลูกแมวเชิงพาณิชย์ก็สามารถทำได้ แต่ฟาร์มต้องให้ได้ลูกแมวคุณภาพ จึงผสมพันธุ์เพียง 3 ปี 2 คอก ต่อแม่พันธุ์ 1 ตัว

ลูกแมว จะได้รับวัคซีนตามวัย โดยลูกค้าสามารถรับลูกแมวได้ เมื่อลูกแมวมีอายุเกือบ 3 เดือน เพื่อมั่นใจว่า ลูกแมวแข็งแรงเต็มที่ และมีความพร้อมที่จะย้ายที่อยู่อาศัย

ความพิเศษของแมวเมนคูนที่ไม่เหมือนแมวสายพันธุ์อื่น คือ การอาบน้ำ คุณเจตนิภัทธ์ เล่าว่า แมวเมนคูนเป็นแมวที่ชอบเล่นน้ำ ชอบอาบน้ำมาก ข้อควรระวังในการอาบน้ำของแมวเมนคูน คือ ไม่ควรให้น้ำเข้าหู เนื่องจากหูของแมวเมนคูนเป็นหูเปิดและมีขนาดใหญ่ ในการอาบน้ำแต่ละครั้งอาจทำให้น้ำเข้าหูได้ อาจส่งผลให้ป่วยเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

“แมวเมนคูน เป็นแมวที่มีการเจริญเติบโตมากกว่าแมวทุกสายพันธุ์ 4-5 เท่า มีอายุมาก 12-15 ปี สามารถใส่สายจูงเดินเล่นเหมือนกับสุนัข หากเปรียบลักษณะนิสัยของสุนัข จะคล้ายกับสุนัขสายพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ไม่กลัวคนแปลกหน้า เป็นสัตว์สังคม ดังนั้น ผู้ที่ต้องการให้สัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่ใกล้ชิด คอยเอาอกเอาใจ ประจบตลอดเวลา แมวเมนคูนจึงเหมาะอย่างยิ่ง”

FELISPLANET จึงเป็นฟาร์มที่ผลิตลูกแมวเมนคูนโดยคัดคุณภาพ แมวเมนคูนหลายตัวในฟาร์มนี้ได้รับการการันตีจากเวทีประกวดหลายรางวัล ลูกแมวจึงมีราคาเริ่มต้นที่ 30,000 บาท ขึ้นกับพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์

สนใจเข้าชมการเลี้ยงแมวเมนคูนได้ที่ฟาร์ม หรือติดต่อคุณเจตนิภัทธ์ หวังใจสุข โทร.089-8142716 หรือชมผ่านทางเว็บไซต์ www.felisplanet.com และทางเฟสบุ๊ก FelisPlanet Maine Coon Cattery

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานแถลงข่าว “โครงการทุนปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ “สืบสาน ร.9 เพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่” เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นมิติใหม่ของการสนับสนุนทุนการศึกษา สนับสนุนโอกาสด้านการศึกษาให้แก่เกษตรกรไทย

โครงการดังกล่าว เป็นหลักสูตรศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 2 ปี เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการเกษตรยุคใหม่ ตอบสนองการพัฒนากำลังคนและพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย หวังให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายพัฒนาเกษตรกรให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง หรือ Smart Farmer มีความรอบรู้ในระบบการผลิตด้านการเกษตรแต่ละสาขา สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิตและตลาด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำอาชีพเกษตรกรรมที่ดีขึ้นในปัจจุบันและอนาคต

เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ปีพุทธศักราช 2562 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนทุนวิจัย พัฒนาบุคลากรวิจัย และพัฒนาข้อมูลสารสนเทศด้านการวิจัยการเกษตร ได้จัดทำโครงการเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการทุนปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ “สืบสาน ร.9 เพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่” เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เพื่อสร้างนักวิจัยด้านการเกษตรระดับชุมชน และเป็นผู้นำการเกษตรให้กับชุมชน เป็นหลักสูตรที่ปรับใหม่ มุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติจริงในภาคสนาม มีความเฉพาะและเหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรที่มีประสบการณ์ในการทำเกษตรมาแล้ว โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) และ เกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) โครงการเผยแพร่สื่อความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพทางท้องทะเล เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ และเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนให้นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนช่วยกระตุ้นจิตสำนึกให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของแนวปะการังและทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลของไทย

ดร.สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า สวก. เห็นความทุ่มเทในการทำงานเพื่อพัฒนาภาคเกษตรให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยที่มุ่งเน้นและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

ด้าน ดร.จงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตร วท.บ. ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ว่า เป็นหลักสูตร ที่การบูรณาการศาสตร์ องค์ความรู้ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เน้นการบูรณาการศาสตร์หลากหลายด้าน สำหรับโครงการ “ทุนปริญญาตรีเฉลิมพระเกียรติ “สืบสาน ร.9” เพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่” เป็นการมอบทุนการศึกษาในหลักสูตรศึกษาต่อระดับปริญญาตรี 2 ปี ให้กับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) หรือเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่จบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า รวมจำนวน 90 ทุน งบประมาณรวม 31,500,000 บาท (350,000 บาท ต่อทุน) โดยมีระยะเวลาโครงการ 3 ปี (ปีงบประมาณ 2562 – 2564) ปีละ 30 ทุน

สำหรับ หลักสูตรการเรียนการสอนเป็นแบบทวิภาค แบ่งเวลาศึกษาในปีการศึกษา ออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ใช้เวลาเรียน 2 ปี นิสิตจะต้องมีจำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ศึกษาในสาขาวิชา วิทยาศาสตรบัณฑิต (ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) ชื่อย่อคือ วท.บ. (ศาสตร์แห่งแผ่นดินเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) หรือ Bachelor of Science (Knowledge of The Land for Sustainable Development) ชื่อย่อ B.S. (Knowledge of The Land for Sustainable Development) ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน และวิทยาเขตกำแพงแสน และฝึกภาคสนามที่แปลง/ฟาร์มในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ชุมชนเกษตรกรรมของนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษา หรือพื้นที่ทำการเกษตรของเอกชน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. โทร. 02-579-7435 หรือคลิกเพื่อดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ กรมส่งเสริมการเกษตร จับมือ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ทำการตลาด e –market ขายสินค้าเกษตรแปลงใหญ่เกรดพรีเมี่ยมทั้งผลผลิตสดและแปรรูป บนเว็บไซต์ Thailandpostmart.com โดยไปรษณีย์ไทยจะเป็นสื่อกลางในการขนส่งสินค้าเกษตรถึงผู้บริโภคภายใน 24 ชั่วโมง
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขับเคลื่อนนโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ซึ่งส่งเสริมการตลาดด้วยการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าผ่านทางออนไลน์ เพื่อผลักดันสินค้าการเกษตรที่มีคุณภาพภายใต้การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ของกรมส่งเสริมการเกษตร

โดยในปี 2562 จะมีการนำร่องผลไม้เกรดพรีเมี่ยมจากระบบส่งเสริมการเกษตร แบบแปลงใหญ่ อาทิ ชมพู่ ทุเรียน มังคุด ลำไย ลองกอง ลิ้นจี่ ส้มโอ และสับปะรด มาจำหน่ายออนไลน์ บนแพลตฟอร์มอีมาร์เก็ต (e-Market) THAILANDPOSTMART.COM ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

สำหรับสินค้าเกษตรคุณภาพจากระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ในขณะนี้ มีจำหน่ายแล้ว จำนวน 2 รายการ คือ ชมพู่เพชรสายรุ้ง ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนชมพู่เพชรสายรุ้ง จังหวัดเพชรบุรี และทุเรียนหมอนทอง ของสมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียน จังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้ ยังมีแผนการนำสินค้าคุณภาพชนิดอื่นมาจำหน่ายต่อไป ได้แก่ มังคุด ของแปลงใหญ่มังคุดเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี ลำไย ของแปลงใหญ่ลำไยจังหวัดลำพูน และเชียงใหม่ ลิ้นจี่ จากแปลงใหญ่ จังหวัดพะเยา รวมถึง ลองกอง ส้มโอ และสับปะรด ซึ่งคาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมนี้ นอกจากนี้ ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมการเกษตรมีสินค้าแปรรูปจากวิสาหกิจชุมชนจำหน่ายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์มากกว่า 10 วิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีสินค้าเกษตรมากกว่า 40 รายการ ผู้สนใจซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพ ที่ได้รับการส่งเสริมโดยกรมส่งเสริมการเกษตร สามารถเลือกซื้อสินค้าได้ในเว็บไซต์ THAILANDPOSTMART.COM โดยค้นหาด้วย คำว่า ‘กรมส่งเสริมการเกษตร’

กรมฯ มุ่งเป้านโยบายตลาดนำการผลิต ตอบรับตลาดออนไลน์ เชื่อมไปรษณีย์ไทย เพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพ ผ่านไปรษณีย์ทั่วประเทศ โดยในปีนี้มีกลุ่มแปลงใหญ่ ที่สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรกรสู่การจำหน่ายสินค้าเกษตรในรูปแบบออนไลน์ กว่า 30 กลุ่มแปลงใหญ่ มีสินค้าทั้งผลผลิตสดและแปรรูป เช่น กล้วยไม้ ทุเรียน แคนตาลูป มะม่วง ทุเรียนป่าละอู มะพร้าวแปรรูป กาแฟ ผลิตภัณฑ์จากพริกไทย หัตถกรรม ข้าว ส้มโอบรรจุ ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง มะม่วงกวน ฝรั่ง อะโวกาโด ส้มเขียวหวาน กล้วยไข่ ส่วนในเดือนพฤษภาคมนี้ เป็นช่วงที่ลิ้นจี่ออกผลผลิต กรมฯ จึงได้ส่งเสริมในการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตลิ้นจี่ห่อเกรดพรีเมี่ยมของแปลงใหญ่ อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา จำนวน 4 แปลงใหญ่ ที่มีการควบคุมคุณภาพด้วยการ “ห่อช่อผลลิ้นจี่” และตรวจสอบคุณภาพ บรรจุภัณฑ์ การขนส่งจนถึงมือผู้บริโภค

สำหรับ “ลิ้นจี่ห่อ” เป็นการนำนวัตกรรม “ห่อช่อผลลิ้นจี่” ด้วยกระดาษคาร์บอนสีขาว สามารถช่วยป้องกันโรคแมลงและหนอนเจาะขั้วผล ลดการใช้สารเคมี ป้องกันผลแตกร่วง ทำให้สีสวย รสชาติอร่อย หอมหวาน และที่สำคัญลิ้นจี่ห่อผลจะทำให้ผลผลิตโตสม่ำเสมอ รสชาติดี มีกลิ่นหอม เป็นสินค้าเกษตรปลอดภัยที่ผู้บริโภคมั่นใจ และปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ผลิต ขณะที่ ไปรษณีย์ไทย แจ้งว่าได้มีการนำรถควบคุมอุณหภูมิในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับลิ้นจี่ที่สด ใหม่ และมีคุณภาพ ประชาชนที่สนใจสามารถสั่งซื้อลิ้นจี่ห่อเกรดพรีเมี่ยมได้แล้ว ณ ที่ทำการไปรษณีย์จังหวัดทั่วประเทศ

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายนิธิรุจน์ โผนประเสริฐ กงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน นำคณะเข้าเยี่ยมชมกิจการ บริษัท ซีพีเอฟ อินเดีย จำกัด หรือ ซีพีเอฟ อินเดีย เพื่อรับฟังสถานการณ์ปัจจุบันของธุรกิจสัตว์น้ำ รวมถึงโอกาสในการลงทุนของภาคเอกชนไทยในประเทศอินเดีย โดยมี นายจักรกฤษณ์ วีระนาคินทร์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และ นาย ศิริพงษ์ ณ พงศา รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสัตว์น้ำ ซีพีเอฟ อินเดีย ร่วมให้การต้อนรับ ณ สำนักงานซีพีเอฟ อินเดีย เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย