เสียงบอกเล่าของ ผศ.ณัฐ แก้วสกุล อาจารย์คณะครุศาสตร์อุต

ที่ปรึกษาชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ มทร.ธัญบุรี คนอาสาทุ่มเท ผู้มีหัวใจอาสา เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับพื้นที่ห่างไกล ผศ.ณัฐ เล่าว่า ภูมิลำเนาเป็นคนอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่บ้านพ่อเป็นข้าราชการ ปัจจุบันครูเกษียณอายุราชการแล้ว ส่วนแม่ค้าขาย แต่ว่าตอนเด็กๆพ่อจะส่งไปอยู่กับปู่ไปทำนา เนื่องจากครอบครัวฉีดวัคซีนให้ตั้งแต่เล็ก ที่บ้านมีลูกทั้งหมด 3 คน โดยเป็นผู้ชายทั้งหมดตนเองเป็นลูกคนโต ตอนช่วงปิดเทอมพ่อและแม่จะส่งตนเองและส่งน้องไปอยู่กับปู่กับย่า

ต้องไปเลี้ยงวัวต้องไปไถนาเหมือนลูกชาวนาทั่วไป “ลูกครูนะแต่ต้องไปทำนา เราเลยติดพื้นฐานความแข็งแกร่งมา เพราะฉะนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นอยู่ อยู่ได้หมดแล้วยิ่งมาทำค่ายไม่ได้สะทกสะท้านอยู่ยังไงก็ได้เพราะว่าพื้นฐานเราก็เริ่มมาจากตรงนั้น ก็เลยไม่รู้สึกลำบากกับการที่ต้องไปอยู่กลางป่ากลางหุบเขา” เมื่อปี 2531 เข้ามาเรียนในระดับ ปวช.และ ปวส. ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา วิทยาเขตพระนครเหนือ ปวส.และเรียนต่อในระดับปริญญาตรี สาขาครุศาสตร์อุตสาหการ วิชาเอกวิศวกรรมงานเชื่อมประกอบ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเขตเทเวช (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วิทยาเขตเทเวศ) โดยอาศัยอยู่วัดลครทำ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร หลวงตาสอนทุกวันว่า “คนเกิดก่อนต้องช่วยคนเกิดทีหลัง” เป็นสิ่งที่ตนเองจำฝังใจตลอดมา

หลังสำเร็จการศึกษา ปี 2538 ได้บรรจุรับราชการครูที่ ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหการ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล เขตเทเวช และเมื่อปี 2539 ได้ย้ายมาบรรจุราชการครูที่ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ศูนย์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี) เมื่อปี 2547 ได้เริ่มออกค่าย ชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ มทร.ธัญบุรี ครั้งแรกที่ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน “ผมคิดและมองว่าสาขาที่เรียนมามันมีประโยชน์ มันทำได้ มันสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งปลูกสร้างอาคารเรียนให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนและเกิดแก่โรงเรียนได้ ด้วยวิชาชีพที่เรามี ต้องคืนให้แผ่นดินบ้าง” ไปแรกๆ ใช้ชีวิตเหมือนชาวค่ายทุกอย่าง ไปสร้างอาคารเรียนกับนักศึกษา กินนอนหลับด้วยกัน จุดเริ่มต้นของการออกค่ายและเข้าร่วมชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ มทร.ธัญบุรี โดยออกค่ายกับนักศึกษาอยู่ประมาณ 4 – 5 ปี จึงได้เป็นที่ปรึกษาชมรมราชมงคลอาสาพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ มทร.ธัญบุรี จนถึงทุกวันนี้

ปัจจุบันสังคมและโลกเปลี่ยนไป ความเป็นชาวค่ายเริ่มเปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งในอดีตคนอาสาเข้ามาทำงานค่ายอาสามีจำนวนมาก การออกค่ายสนุก ทำงานค่อนข้างสนุก แต่พักหลังนี่รู้สึกกลิ่นอายมันจะหายไป เพราะว่าเป้าหมายในการทำค่ายเปลี่ยนไปพอสมควร เพิ่มฟังก์ชั่นให้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ค่ายอาสาล่าสุด ในการสร้างอาคารเรียนเฉลิมพระเกียรติหลังที่ 47 48 และ 49 ณ ศูนย์การเรียนรู้ ตชด.บ้านห้วยสลุง อ.แม่ระมาด จ.ตาก อาคารเรียน 3 หลัง ใช้เวลาเพียง 35 วัน พื้นที่ก่อสร้างอาคาร 3 หลัง ไม่น้อยกว่า 1,100 ตารางเมตร ต้องทำงานแข่งกับเวลาในการทำกิจกรรมระหว่างสร้างค่ายแทบจะไม่มีเลย การผ่อนคลายต่างๆ อรรถรสของค่ายอาสาก็จะน้อยลง

ในการออกค่ายอาสามีอุปสรรคทุกปี และทวีความท้าทายมากขึ้นทุกปี เกี่ยวกับลักษณะอุปนิสัยของเด็กๆ ที่จะเข้ามา ต้องมีการกระตุ้น อบรมสร้างจิตสำนึกทุกวันเพื่อให้ได้ขยับตัว เข้าไปมีส่วนร่วมทำงานกับเพื่อน ซึ่งนี่คือความแตกต่างของเด็กสมัยก่อนกับเด็กในปัจจุบันที่เห็นได้ค่อนข้างชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีโครงการหรือกิจกรรมประเภทการปลูกสร้าง จะกระตุ้นจิตอาสาได้ค่อนข้างยาก ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคตคือบุคลากรของประเทศ ตนเองในฐานะของที่ปรึกษาของค่ายอาสาต้องรับผิดชอบสมาชิกค่าย ไม่เพียงสร้างอาคารเรียนเพียง 30 วัน แต่มากกว่านั่นทำงานกันนานมากกว่าจะจัดเตรียมกลุ่มสตาฟ ทีมงานในชมรมอาสาเพื่อที่จะแบ่งสรรค์หน้าที่พาสมาชิกค่ายออกไปประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อหางบประมาณสนับสนุน โดยเนื้องานทุกอย่างเป็นการสร้างทักษะให้นักศึกษา ต้องสอนนักศึกษาทั้งหมดทุกกระบวนการ นักศึกษาที่ใฝ่รู้จะได้เนื้อหาได้ประสบการณ์ตรงนี้เต็มรูปแบบ

“สุดท้ายก็ยืนดูผลงานแบบภูมิใจทุกครั้งที่นักศึกษาได้ลงมือและสำเร็จทุกครั้ง ภูมิใจที่เห็นลูกศิษย์ทำได้ ออกไปสู่สังคมและตลาดแรงงานที่จะพึ่งพาตัวเองได้ ฉีดวัคซีนให้แล้วจะตายหรือจะรอดอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ตนเองมีเพียงหน้าที่ในการฉีดวัคซีนให้และฉีดให้ทุกคน 23 ปี ของการเป็นครูเลือกถูกแล้วที่มาเป็นครู เพราะตนเองเห็นแล้วว่าตนเองสามารถพัฒนาคนได้ แล้วต้องบอกกันตรงๆ ว่าประเทศนี้ยังต้องพัฒนาคนอีกเยอะ ศักยภาพต่างๆ ต้องพัฒนาพอสมควรเพราะว่าการเข้าไม่ถึงของการศึกษา การขาดโอกาสทางการศึกษาเยอะมาก การทำค่ายอาสาได้เห็นสภาพโรงเรียนที่ตนเองไปสร้าง มองว่าถ้าประเทศจะก้าวไปข้างหน้าทุกคนต้องมีพื้นฐานการศึกษาระดับหนึ่ง ต้องรู้ว่าหน้าที่ของตัวเองต้องทำอะไร กติกาสังคมมันเป็นยังไง การศึกษาจะช่วยสอนขัดเกลา ดังนั้นในการการสร้างคนเป็นอะไรที่ท้าทายที่สุด

“พยายามปลูกฝังให้นักศึกษาในสาขาวิชาครู คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม เข้าร่วมกิจกรรมค่ายอาสา เนื่องจากการเรียนอยู่ในหลักสูตรอย่างเดียวไม่ได้ ต้องไปเห็นบริบทของการเป็นครูจริงๆ เพราะฉะนั้นการที่นักศึกษาได้ออกค่ายอาสา ไปอยู่ไปนอนอยู่ในโรงเรียน เวลา 30 วัน นักศึกษาจะได้เห็นบริบทของคุณครู นอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้อง ครูจะต้องดูแลเด็กต้องอำนวยความสะดวกในการเรียนการเพราะฉะนั้น การที่ให้นักศึกษาสายครูออกค่ายอาสานักศึกษาจะได้เห็นวิชาชีพครูจริงๆ ควรจะเติมแต่ง ทักษะ หรือความรู้ความสามารถด้านไหน เพื่อที่จะไปปรับให้สภาพแวดล้อมในการเรียนการสอนมันเหมาะสมขึ้นและดีขึ้น โดยใช้วิชาชีพตัวเองที่มีอยู่ ตลอดระยะเวลาในการทำงานงานค่ายอาสา ตัวเนื้องานจริงๆ สามารถเอามาเป็นบทเรียนสอนนักศึกษาได้เกือบทุกสาขาวิชา จึงมีการปรับรูปแบบการออกค่ายใหม่ให้มีวิชาการมากขึ้น สามารถที่จะฝึกนักศึกษาได้ ให้นักศึกษาได้ลงปฏิบัติจริง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายมหาลัย “สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ”

ค่ายอาสาเป็นกิจกรรมหลักในการพัฒนาเด็ก โดยแทบไม่ต้องซื้อหรือหาวัสดุฝึก “ฝึกจริง” ฝึกแล้วเป็นตัวอาคาร สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง “ในอนาคตอยากต่อยอดในการเพิ่มกิจกรรมให้ค่ายอาสาเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนได้ครบวงจรมากขึ้น ไม่ใช่เฉพาะตัวอาคารเรียนอย่างเดียว” ต่อยอดอบรมครูที่อยู่ในโรงเรียนนั้นๆ รวมไปถึงการพิจารณาให้ทุนนักศึกษาที่เรียนเก่งในพื้นที่ห่างไกล ได้มีโอกาสเข้ามาเรียนในมหาวิทยาลัยผ่านโครงการ จิตอาสาเป็นเรื่องที่จำเป็นมากในสังคม ปรับเป็นรายวิชาเรียน เพื่อให้นักศึกษาได้สัมผัสจิตอาสาจริงๆ “จิตอาสาสอนแบบทฤษฎีไม่ได้ ต้องทำ และต้องสร้างจิตสำนึกให้เกิด” มานั่งสอน มานั่งเรียนในห้องเรียนเป็นไปได้ยากที่จะปลูกฝังให้คนมีจิตสาธารณะจริงๆ ค่ายอาสาจึงพยายามปรับบทบาท ณ จุดนั้นให้ได้ ไปสร้าง ไปผลักดันให้เกิดจิตอาสาให้ได้ ซึ่งไปครั้งเดียวคงไม่ได้หมายความว่ากลับมาจะกลายเป็นคนมีจิตอาสา พวกนี้มันจะต้องไปทุกๆ ปี ต้องทำบ่อยๆ ถึงจะเกิดจิตสำนึกขึ้นมา การสร้างนักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีให้มีจุดเด่นในเรื่องพวกนี้ด้วย สร้างด้าน Soft Skills ให้นักศึกษา เป็นวัคซีนอีกหนึ่งเข็มที่จะฉีดให้นักศึกษาออกไป นอกเหนือจากด้านวิชาการที่สอนในห้องเรียน

“การทำกิจกรรมพวกนี้มันทำได้เพียงช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย แต่มีกิจกรรมอีกมากมาย ไม่จำเป็นต้องเป็นกิจกรรมที่ออกค่ายอาสา กิจกรรมอะไรมองว่ามันเป็นประโยชน์แก่สังคมประโยชน์เพื่อส่วนรวม ยกตัวอย่าง กิจกรรมของ ตูน บอดี้สแลม เป็นต้นแบบที่ดี ได้ทั้งสุขภาพได้ทั้งประโยชน์ที่เกิดแก่สังคมส่วนรวม กิจกรรมแบบนี้มาทำบ่อยๆ และต่อเนื่อง เห็นภาพชัดเจน ทำให้สังคมสมบูรณ์ขึ้น การที่จะหมกมุ่นคิดอยู่แต่เรื่องตัวเอง เรื่องส่วนตัวเป็นที่ตั้งและสุดท้ายก็ไม่ไปไหนเลย” ผศ.ณัฐ กล่าวทิ้งท้าย

วันที่ 26 ม.ค. ผู้สื่อข่าว “ข่าวสด” เดินทางไปพบ นายเชษฐา จันทร์หล้า อายุ 37 ปี หลังพบเรื่องราวของหนุ่มพนักงานโรงงานในเครือสหพัฒกบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ที่คอยให้บริการตัดผมฟรีให้กับผู้คนทั่วไป จนเป็นที่รู้จักในนาม “ช่างปลาหมึกตัดผมฟรี” ที่ตึกแถวไม่มีชื่อ ซอย AAM ไฟแนนซ์ ถ.สุวรรณศร ถัดจากร.ร.กบินทร์วิทยามาหนึ่งคูหา ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ตรงข้ามปั้มปตท.สระดู่หน้าเครือสหพัฒน์ฯ

นายเชษฐา กล่าวว่า เปิดร้านตัดผมฟรี ได้ราวปีกว่า ซึ่งตนได้รับแรงบันดาลใจมาจากพ่อตา ที่เป็นช่างตัดผม ตนเห็นว่าการตัดผลสามารถเป็นอาชีพติดตัวได้ จึงหัดตัดผมที่ร้านพ่อตามาระยะหนึ่ง จนรับคำชม ทำให้มีกำลังใจมากและสนุกกับการตัดผม จึงเริ่มผมอย่างจริงจังตั้งแต่ตอนนั้น ส่วนการตัดผมนั้น ไม่ส่งผลกระทบกับงานประจำที่บริษัทฯ เพราะจะตัดผมช่วงหลังเลิกงาน และวันเสาร์-อาทิตย์

นายเชษฐา กล่าวต่อว่า ลูกค้าจะมาใช้บริการวันละ 3-4 คน ถ้าวันหยุดส่วนใหญ่จะมีผู้ปกครองพาลูกหลานมาตัดผมที่ร้าน ส่วนร้านตัดผมฟรีนั้น ตนจะเปิดให้บริการจนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อที่จะได้ทดลองตัดและพัฒนาฝีมือไปในตัว

ขณะที่ นายราชพฤกษ์ ขอดทอง ลูกค้าประจำที่มาใช้บริการ เล่าว่า พอรู้ว่าช่างปลาหมึกเปิดร้านตัดผมฟรีที่หอพักเดียวกัน ก็เลยมาใช้บริการ ครั้งแรกก็คิดเหมือนกันว่าจะตัดได้ถูกใจหรือไม่ เพราะเป็นช่างหัดตัดผมใหม่ แต่พอตัดเสร็จแล้วถูกใจมาก เลยมาตัดผมฟรีประจำ ทุกๆเดือนครึ่งจะแวะมาใช้บริการ หากใครอยู่ใกล้เคียงหรือผ่านมาสามารถแวะมาตัดผมฟรีได้ ช่างปลาหมึกจะตัดผมให้ฟรีถึงสิ้นปี

นายสมชาย ชมภูน้อย ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ตั้งเป้าปี 2561 มีนักท่องเที่ยวคนไทยมาเที่ยวอีสาน จำนวน 36 ล้านคน-ครั้ง สร้างรายได้ 8.2 หมื่นล้านบาท เติบโต 10% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วทั้งเชิงจำนวนคนและรายได้ ปัจจุบันสถานการณ์ตลาดท่องเที่ยวและเดินทางไปภาคอีสานในภาพรวมถือว่าดีขึ้น มีสายการบินให้บริการเที่ยวบินไปภาคอีสานครบทั้ง 9 สนามบิน มีโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช ได้ลงเสาเข็มไปแล้วเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ภาคอีสานสามารถปักหมุดตลาดต่างประเทศได้แค่บางจังหวัดเท่านั้น ซึ่ง ททท. ตั้งใจขายอีสานให้เป็น บูทีค สไตล์ เน้นสร้างเสน่ห์ ไม่จำเป็นต้องมีโรงแรมและจำนวนห้องพักมากเหมือนเมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ แต่ต้องมีสไตล์เฉพาะตัว และสามารถท่องเที่ยวได้ทั้ง 3 ฤดู ด้วยการชูแหล่งท่องเที่ยวโดดเด่นในแต่ละฤดู โดยเฉพาะ อุดรธานี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีศักยภาพในการเป็นเมืองหลักในอนาคต มีนักท่องเที่ยวจากฝั่ง สปป.ลาว นิยมเดินทางมาพักผ่อน มีร้านค้าร้านอาหารนานาชาติรองรับ นอกจากนี้ อุดรธานียังเป็นจังหวัดที่มีเขยเป็นชาวต่างชาติจำนวนมาก มักจะพาครอบครัวไปช็อปปิ้งและจับจ่ายตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และคนอุดรฯ เดินทางไปทำงานเมืองนอก ส่งเงินกลับมาที่บ้านเกิดแต่ละเดือนสะพัดกว่า 4-5 พันล้านบาท ถือเป็นอีกส่วนสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการจับจ่ายในพื้นที่

“ททท. วางเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้ง สปป.ลาว และกัมพูชา ด้วยการเดินทางผ่านด่านถาวรที่มีอยู่ทุกจังหวัดของภาคอีสานที่ติดเขตแดนทั้งสองประเทศ คาดว่าปีนี้ จะเห็นเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (ชาร์เตอร์ไฟลต์) จากจีนนำร่องมาลงภาคอีสาน โดยสายการบินจีน ทำเที่ยวบินเช่าเหมาลำเข้า 3 จังหวัดในภาคอีสาน ได้แก่ ขอนแก่น อุดรธานี และอุบลราชธานี เพราะมีสนามบินนานาชาติรองรับ ซึ่งจะช่วยยกระดับการใช้จ่ายในภาคอีสานให้สูงขึ้น สิ่งสำคัญคือต้องเร่งเตรียมความพร้อมรองรับ ทั้งเรื่องที่พัก อาหาร และมัคคุเทศก์”

นายสมชาย กล่าวว่า นครราชสีมา หรือ โคราช ททท. จะผลักดันให้เป็นเมืองท่องเที่ยวหลักที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ มีสนามบิน มีรถไฟความเร็วสูง ตั้งเป้า มีนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติไปเยือนเกิน 5 ล้านคนต่อปีได้ ส่วน ขอนแก่น ททท. วางเป้าหมายขยายฐานนักท่องเที่ยวให้เพิ่มเป็น 5.5 ล้านคน ขึ้นแท่นเป็นเมืองท่องเที่ยวหลัก อาศัยปัจจัยเรื่องจำนวนเที่ยวบินของสายการบินราคาประหยัด รวมถึงหลายๆ จุดเด่นของขอนแก่นที่เป็นทั้งเมืองท่องเที่ยว เมืองจัดประชุมสัมมนา เมืองการศึกษา และเมืองสุขภาพกับความงาม นอกจากนี้ ขอนแก่นเองยังเตรียมการลงทุนรถไฟรางเบา ภายใต้แนวคิด ขอนแก่น สมาร์ทซิตี้ขับเคลื่อนการลงทุนโดยคนในจังหวัด

วันนี้ 26 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. ที่ ห้องประชุมสถานที่ราชการภายในพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้าออกเรือประมง ภูเก็ต (Phuket Fisheries Port in- Port Out Control Center)จัดกิจกรรม ฝึกอบรมการทำสมุดบันทึกการทำการประมง ให้ความรู้แก่เจ้าของเรือประมง , ผู้ควบคุมเรือประมง และผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีผู้สนใจ เข้าร่วมอบรมกว่า 70 คน

โดยได้รับเกียรติจากนายประเสริฐ ทองสมบูรณ์ ประมงอำเภอถลาง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการจัดทำสมุดบันทึกการทำประมง รวมถึงมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมาย เกี่ยวกับการจัดทำ สมุดบันทึกการทำการประมง

นายประเสริฐ ประมงอำเภอถลาง กล่าวว่า กิจกรรมมีเป้าหมายเพื่อต้องการให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำสมุดบันทึกการทำการประมง และแนวทางการประมาณน้ำหนักให้มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน เป็นไปตามที่กรมประมงประกาศกำหนด

“การอบรมได้สอดแทรกความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางในการปฏิบัติ ตามกฎหมายจัดทำสมุดบันทึกการทำประมง พร้อมบทลงโทษเพื่อให้เกิดการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำสมุดบันทึกการทำประมงที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด” นายประเสริฐ กล่าวและว่า

เนื่องจากการรวบรวมข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว ต้องมีความครบถ้วนถูกต้องและเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล การได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน ก่อให้เกิดการป้องกันการทำประมงที่เกินศักยภาพ การผลิตหรือควบคุมมีให้การจับสัตว์น้ำที่มากเกินกว่าที่ธรรมชาติจะสามารถผลิต ขึ้นทดแทนได้ทัน อีกทั้งการจัดทำสมุดบันทึก การทำการประมง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำประมงที่ถูกกฎหมาย

วันที่ 26 ม.ค. ที่บ้านเลขที่ 429/2 หมู่ 6 ต.เขาพระบาท อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานอินดี้รองเท้าแฮนด์เมดจากยางพารา ของนางพิมพ์ชนา ศรีจันทร์คง อายุ 42 ปี มีกลุ่มชาวบ้านในชุมชนอายุประมาณ 30-40 ปี เป็นผู้หญิงล้วนๆ กว่า 20 คน ทำรองเท้ากันอยู่โดยมีตัวอย่างของรองเท้าที่ทำเสร็จแล้ววางโชว์อย่างสวยงาม เป็นรองเท้าที่ทำจากยางพาราทั้งสิ้น และมีรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เลือก

โดยนางพิมพ์ชนา เล่าว่า สาเหตุที่ตนทำรองเท้าแฮนด์เมดยางพารานั้น ตนเรียนจบเคมีการยางจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จ.ภูเก็ต ไปทำงานห้องแล๊บของบริษัทโตไกรับเบอร์พาร์ท ของประเทศญี่ปุ่นอยู่ประมาณ 4 ปี จากนั้นก็มาทำงานห้องแล๊บของบริษัทเมสันอินดักส์ของอเมริกา ประมาณ 13 ปี และตอนนั้นพ่อแม่ไม่มีใครดูแลและตนก็เป็นลูกคนเดียว ประกอบกับตนมีครอบครัว เลยตัดสินใจลาออกและกลับมาอยู่บ้านที่ อ.เชียรใหญ่ เพื่ออยู่กับครอบครัวและดูแลพ่อแม่

ตอนกลับมาอยู่บ้านใหม่ๆ เมื่อปี 2553 ก็ไม่รู้จะทำอะไรเลยเปิดร้านเสริมสวย แต่ก็เสียดายงานที่ทำเป็นอย่างมาก และเห็นสภาพชาวบ้านในชุมชนเดียวกันมีปัญหาเรื่องราคายางตกต่ำ และน้ำท่วมไม่มีรายได้ในการประทังชีวิต ตนก็นั่งคิดว่าจะทำอะไรดีที่พอที่จะมีรายได้โดยดึงชาวบ้านมาด้วย และบังเอิญไปเห็นเว็บไซต์ของต่างประเทศเกี่ยวกับรองเท้ายางพารา จึงสนใจและได้ติดต่อรองเท้ายางพาราแล้วนำมาตกแต่งเพิ่มมูลค่าและส่งขายราคาตั้งแต่ 250-450 บาท แล้วแต่คอลเลกชั่น ช่วงสั่งรองเท้ามา 10 โหลมีรายได้หมื่นกว่าต่อเดือน และหลังจากนั้นก็เริ่มเพิ่มขึ้นมีการส่งขายกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆ

โดยการทำนั้น ตนจะสั่งรองเท้ายางพาราสำเร็จรูปมาและนำลูกปัดและสินค้าตกแต่งเป็นรูปแบบต่างๆ ก็ได้รับความสนใจในระดับหนึ่ง โดยตนได้ดึงชาวบ้านในชุมชน 22 คนมาเป็นลูกมือ โดยชาวบ้านจะมีรายดั้นละ 300 บาทขึ้นไป แล้วแต่ออดอร์ ในระยะแรกๆ และเมื่อถึงช่วงที่ทางหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้มีการทำตลาดหน้าพระธาตุในทุกวันเสาร์ก็มีคนมารับไปขาย แต่ทางหอการค้ามีนโยบายว่าจะต้องเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่นเองไปขาย ตนก็เลยไปนั่งขาย โดยได้รับการตอบรับที่ดีมาก วันไหนถ้ามีทัวร์จีนหรือทัวร์ต่างชาติมาลงจะขายดีมากๆ จนกระทั่งวันหนึ่งก็มีชาวไทยที่ได้สามีเป็นชาวดูไบ มาเดินเที่ยวตลาดหน้าพระธาตุ และมาซื้อไปใส่เอง พออีกเสาร์หนึ่งก็มาอีก และมาติดๆ กันหลายเสาร์ จึงมีการเจรจาซื้อถึง 5 พันคู่ และล่าสุดได้มีการสั่งเป็นตู้คอนเทรนเนอร์ โดยจะทำแบรนด์คอลเล็กชั่นของดูไบเอง ซึ่งตรงนี้ตนดีใจมากเพราะทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีรายได้ไปด้วยจากวันละ 300-400 บาท เป็น 600 บาทขึ้น

นางพิมพ์ชนา กล่าวอีกว่า ตอนนี้ทางหอการค้านครศรีธรรมราช ได้เข้ามาช่วยเรื่องการตลาด และตนก็จะผลิตรองเท้ายางพาราเอง โดยได้ไปประสานกับโรงงานที่ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช จะรับซื้อน้ำยางสดที่สะอาดในชุมชนของเราโดยตั้งใจว่าจะซื้อในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดเพื่อช่วยชาวบ้านในชุมชนด้วยแล้วจะส่งไปให้โรงงานที่บางขันอบยางผสมให้แล้วแปรรูปออกมาเป็นรองเท้ายางพารา โดยจะทำเองหมดทุกขั้นตอนไม่ซื้อจากโรงงานที่กรุงเทพแล้ว โดยโครงการนี้จะเริ่มดำเนินการในอีก 7-8 เดือนข้างหน้านี้

จุดที่ทำให้รองเท้ายางพาราเป็นรู้จักและขายดีก็เป็นจุดที่ไปขายที่ตลาดหน้าพระธาตุเป็นการต่อยอดสินค้าอย่างมาก นอกจากตนแล้วยังมีอีก 22 ครอบครัวที่มีรายได้ โดยหนึ่งใน 22 ครอบครัวนั้นมีหญิงบกพร่องทางหูอยู่หนึ่งคนเค้าดีใจมากที่ได้มีรายได้ในแต่ละวัน โดยตนตั้งใจว่าจะนำความรู้ที่มีอยู่จากประสบการณ์ที่เคยทำงานในบริษัทเกี่ยวกับการแปรรูปยางของญี่ปุ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด โดยทำกันเป็นชุมชนหมู่บ้าน ซึ่งต้องขอขอบคุณหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ให้โอกาสธุรกิจชุมชนอย่างตนด้วย ซึ่งยางพารายังทำอะไรได้อีกเยอะ สามารถนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้หากมีความตั้งใจที่จะทำตรงนี้

ด้าน นายกรกรก เตติรานนท์ ประธานหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จริงๆ แล้วเราได้เริ่มกับชุมชนกลุ่มนี้ในรูปแบบ 1 ชุมชน 1 บริษัท โดยได้ผลักดันให้เปิดตลาดในตลาดหน้าพระธาตุ เพราะเล็งเห็นว่าสามารถเปิดตลาดในกลุ่มสินค้ายางพาราได้และขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผลตอบรับที่ได้มามาจากนักธุรกิจต่างประเทศที่มาเที่ยวตลาดหน้าพระธาตุ และคิดว่าจะสามารถขยายผลต่อไป

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน ได้ชี้แจงเว็บไซต์มติชนออนไลน์ ประจำวันที่ 18 มกราคม เสนอข่าว ชลประทานอำนาจเจริญ หวั่นกระทบภัยแล้ง ชี้สัตว์เลี้ยงเริ่มหากินลำบากเตือนประหยัดน้ำ สรุปความว่า ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอำนาจเจริญ เตือนสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญว่ามีปริมาณน้ำน้อย หวั่นสถานการณ์ภัยแล้งกระทบภาคการใช้น้ำ โดยเฉพาะน้ำอุปโภค บริโภค และปศุสัตว์ ขอให้พี่น้องประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัดนั้น

กรมชลประทานขอเรียนว่า ผู้อำนวยการโครงการชลประทานอำนาจเจริญไม่เคยให้ข่าวดังกล่าวกับผู้สื่อข่าวตามที่ระบุในข่าวแต่อย่างใด แต่ในความเป็นจริงแล้ว สถานการณ์น้ำในภาพรวมของจังหวัดอำนาจเจริญในปี 2561 มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค

โดยมีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางเป็นแหล่งน้ำต้นทุนถึง 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยสีโท อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน อ่างเก็บน้ำห้วยโพธิ์ อ่างเก็บน้ำร่องน้ำซับ และเขื่อนทดน้ำลำเซบาย ซึ่งมีปริมาณน้ำต้นทุนรวมกันคิดเป็นร้อยละ 67 ของความจุเก็บกัก ณ วันที่ 18 มกราคม

โดยเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ถือว่าปีนี้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆในฤดูแล้ง อีกทั้งยังมีน้ำเพียงพอสำหรับสนับสนุนการเตรียมแปลงเพาะปลูกข้าวนาปีอีกด้วย

นายทวีศักดิ์กล่าวว่า สำหรับการบริหารจัดการน้ำ โครงการชลประทานอำนาจเจริญได้จัดประชุมกับคณะกรรมการจัดการชลประทาน ในพื้นที่ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา เพื่อวางแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งร่วมกัน โดยที่ประชุมมีมติมุ่งเน้นพื้นที่ใช้น้ำน้อย พร้อมวางแผนส่งน้ำช่วยเหลือการปลูกพืชฤดูแล้งซึ่งทางโครงการ ได้เริ่มส่งน้ำตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม

ดังนั้นจึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า กรมชลประทานสามารถบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำในช่วงฤดูแล้วปี 2561 อย่างแน่นอน ทั้งนี้หากประชาชนต้องการข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่อำนาจเจริญ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่โครงการชลประทานอำนาจเจริญ โทร 045 451 554

จากสถิติที่ผ่านมา พบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และพบอัตราเสียชีวิตถึง 50% ในประเทศไทย แต่ละวันจะมีผู้หญิงไทยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปากมดลูก 18 คน และมีผู้เสียชีวิต 2,200 คนต่อปี เฉลี่ย 6 คนต่อวัน หรือราว 4 คนต่อ 1 ชั่วโมง และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น

ถือได้ว่าเป็นอัตราที่สูง ทั้งๆ ที่มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ สาเหตุหนึ่งเกิดจากผู้หญิงไทยไม่กล้าที่จะออกมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพราะอายนั่นเอง สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จึงจัดโครงการ “ความอายคือสารก่อมะเร็ง” กระตุ้นให้หญิงไทยก้าวข้ามความอาย เข้ารับการตรวจคัดกรองค้นหาความผิดปกติของมดลูกและลดความเสี่ยงการเกิดรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งปากมดลูก พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์สั้นเรื่อง “อาย” เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์มะเร็งปากมดลูก โดยจัดแถลงข่าว ณ ลานกิจกรรมทางเชื่อมบีทีเอส ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยว่า แม้ปัจจุบันเราจะรู้ว่าสาเหตุหลักของการเป็นมะเร็งปากมดลูกคือเชื้อเอชพีวี ชนิด 16 และ 18 แต่สถิติที่สูงขึ้นก็เพราะว่าผู้หญิงไม่ค่อยมาตรวจคัดกรอง ต้องรอให้มีอาการ ซึ่งจะเป็นมะเร็งระยะที่ 3 หรือ 4 แล้ว แต่โดยทั่วไปผู้หญิงร้อยละ 80 เคยมีเชื้อเอชพีวี หรือกำลังมีแต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่แสดงให้เห็นและมีโอกาสหายเองโดยไม่ต้องรักษา อีกทั้งจากข้อมูลเราพบว่าผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้น มีก่อนการแต่งงาน แต่ไม่มาตรวจเพราะไม่เห็นความสำคัญและเพราะอาย จึงเป็นที่มาให้เราออกโครงการนี้เพื่อรณรงค์ให้ผู้หญิงมาตรวจก่อนจะพบโรคร้าย เพราะการตรวจพบได้ไวย่อมรักษาได้เร็วกว่า

“หลายคนมักมีความเข้าใจผิดกับเรื่องของมะเร็งปากมดลูก ที่จริงเราต้องแยกกันระหว่างการลดป่วยและลดตาย การลดป่วยคือการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ซึ่งได้ผลดีประมาณ 80% แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น สูบบุหรี่เป็นตัวแปรด้วย

“หลังจากการรณรงค์เมื่อปี 2548 เป็นต้นมาเราช่วยลดการป่วยลงได้มากจาก 24 ในแสนราย เป็น 14 ในแสนราย แต่การลดตายนั้นยังไม่สามารถทำได้มากนัก เพราะคนไม่มาตรวจคัดกรอง นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจผิดว่าฉีดวัคซีนแล้วไม่ต้องตรวจคัดกรอง ซึ่งไม่จริง เนื่องจากไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด และผลการศึกษาพบว่าวัคซีนจะครอบคลุมได้ประมาณ 9 ปี ผู้หญิงจึงควรมาคัดกรองไว้ก่อน ที่สำคัญคือบางคนคิดว่าการใช้ถุงยางอนามัยจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถป้องกันได้แท้จริงเหมือนโรคอื่นๆ”

หลายคนว่าความท้าทายหนึ่งของช่วงวัยที่กำลังแตะเลข 4 คือการคงความเยาว์ให้อยู่กับตัวให้นานที่สุด โดยเฉพาะผิวพรรณ นีล ยาร์ด เรมมิดีส์ ผู้นำโลกด้านผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคพรีเมียมจากอังกฤษ จึงได้แนะนำกฎเหล็กที่ต้องรู้ 8 ข้อ ก่อนเข้าสู่เลข 4 อย่างมั่นใจ

1.อยู่ให้ไกลแสงแดด เพราะจะทำให้ผิวขาดความยืดหยุ่น จุดด่างดำ เพราะแดดเป็นเหตุให้เกิดรอยเหี่ยวย่น กระ และผิวหยาบกร้าน และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนัง จึงควรอยู่ไกลจากแดดตั้งแต่ 10 โมงเช้า-4 โมงเย็น