เสี่ยทอง บอกว่า การทำเกษตรจะต้องทำแบบผสมผสานเพราะอัตรา

ความเสี่ยงจะน้อยลงกว่าการปลูกเชิงเดี่ยว เช่นวันนี้ ปลูกมะละกอแซมกับพืชที่ใช้อายุยาว เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และขนุน เป็นต้น อย่างไรก็ดี หากหน่วยงานราชการหรือเกษตรกรที่สนใจอยากศึกษา

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้ากำลังส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลผลิตเกษตรไทย ยังไม่ทันไรไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 จากประเทศจีนก็สร้างปัญหาและอุปสรรคใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งผลผลิตเกษตรของไทยไปตลาดประเทศจีน อีกทั้งเขย่าขวัญชาวโลกให้แตกตื่นหวาดผวา นอนตาไม่หลับไปตามๆ กัน หันมาดูวงการสับปะรดบ้านเรากันบ้าง

ไม่รู้ว่าจะไปทิศทางไหน จะอยู่หรือจะไปตามสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ชาวไร่จะปรับตัวอย่างไรเพื่อให้สามารถคงอาชีพนี้ไว้ได้ ไม่เดือดร้อนจนเสียรังวัด หรือถึงกับต้องเลิกราจากอาชีพนี้กันไป ซึ่งสองสามปีที่ผ่านมาก็เจอปัญหาราคาตกต่ำมาก เลิกทำกันไปก็หลายราย แต่ถึงอย่างไรก็ดี ยังพอมีทางออก โดยต้องหาอะไรใหม่ๆ เข้ามาเติมเสริมการผลิตให้อยู่ได้ สายพันธุ์สับปะรด MD2 เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับกันของคนไทย ตามไปดูกูรูผู้ผลิตสับปะรดพันธุ์นี้กันครับ

ป้าสำออย ยี่สุ่นแซม ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ก้าวหน้าบ้านชากผักกูด ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง เป็นอีกหนึ่งชาวไร่สับปะรดที่ปรับเปลี่ยนความคิดมาพัฒนาการปลูกสับปะรดผลสดพันธุ์ MD2 ส่งขายแม่ค้า และออกร้านขายเองในงานต่างๆ ตามแต่โอกาส มีการเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติในแปลงโดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น, คลุมแปลงปลูกด้วยผ้าพลาสติก, วางท่อระบบน้ำหยด, ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ และการคัดขนาดของหน่อแยกปลูกในแต่ละแปลง สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพดี ผู้ค้ามารับซื้อที่ไร่ในราคาผลผลิตรวมไซซ์ที่กิโลกรัมละ 20-25 บาท แบบผูกขาดกันตลอดปีที่มีผลผลิตออกมา สร้างรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม กลายเป็นทางเลือกใหม่ที่สดใสกว่าการปลูกสับปะรดส่งขายโรงงาน นับเป็นเกษตรกรรุ่นใหญ่ที่มีความคิดทันสมัย กลายเป็นโมเดลการผลิตสับปะรดพันธุ์ MD2 ของชาวไร่สับปะรดได้อย่างน่าทึ่ง

ป้าสำออย ให้ข้อมูลว่า หลังจากที่ราคาสับปะรดโรงงานตกต่ำมากและติดต่อกันหลายปี จึงได้ร่วมกับสมาชิกในหมู่บ้านผลิตปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพแล้วทำตลาดออกขาย เพื่อหารายได้เข้ามาทดแทนอีกทางหนึ่ง เราพัฒนากันเรื่อยมา จนปัจจุบันมีลูกค้าเข้ามาสั่งซื้อกันไปมาก ซึ่งทางกลุ่มผลิตได้ไม่ทันกับความต้องการของลูกค้า เพราะปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพของกลุ่มมีคุณภาพดี เป็นที่ยอมรับกันของลูกค้า และสมาชิกแต่ละคนก็ซื้อไปใช้ด้วยเช่นกัน ทั้งกับสวนผลไม้ พืชผัก มันสำปะหลัง ยางพารา และไร่สับปะรด เนื่องจากเห็นผลและลดต้นทุนได้มาก

ป้าสำออย ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียส่งโรงงานแปรรูปมาตลอดกว่า 20 ปีแล้ว ซึ่งแถบอำเภอนิคมพัฒนานี้ปลูกสับปะรดกันเกือบทุกบ้าน พืชอื่นก็เป็นมันสำปะหลัง ยางพารา และไม้ผลบ้าง ช่วงหลังนี้ทำสับปะรดมันลุ่มๆ ดอนๆ ไม่แน่นอนอะไร แนวโน้มว่าจะลงทุนมากขึ้นทุกที ราคาสับปะรดโรงงานก็ไม่แน่นอน เสี่ยงต่อการขาดทุนมากเลย แต่ก็ต้องปลูกต่อไป อาศัยว่าเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี โรคแมลงมีน้อย และทำได้ง่ายกว่าพืชอื่นเลยยังพอทำได้ แต่ตอนนี้ได้ปรับพื้นที่มาปลูกพืชผักและไม้ประดับบ้าง พอได้เงินมาหมุนเวียน เพราะอายุเก็บเกี่ยวสั้น ปลูกได้หลายรอบในหนึ่งปี ต่อมาเมื่อมีสับปะรดพันธุ์ใหม่ คือพันธุ์ MD2 เข้ามาก็เริ่มรับรู้และสนใจ เพราะเป็นสับปะรดที่ต่างประเทศปลูกขายกันมาก เป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทย พอดีทางสำนักงานเกษตรจังหวัดระยองจัดทำโครงการส่งเสริมการปลูกสับปะรดพันธุ์นี้ จึงได้ไปซื้อหน่อพันธุ์มาปลูกจำนวนหนึ่ง เป็นการทดลองปลูก ได้เรียนรู้และขยายพันธุ์ไปด้วย เป็นจุดเริ่มต้นไปพร้อมกับชาวไร่อีกหลายคนที่ปลูกสับปะรดพันธุ์นี้

ต้องยอมรับว่าสับปะรดพันธุ์ MD2 เป็นสับปะรดที่มีลักษณะเด่นกว่าพันธุ์ปัตตาเวียหลายด้าน มีลำต้นแข็งแรง การเจริญเติบโตดี ที่เด่นมากคือ เนื้อสีเหลืองทองตลอดผล มีกลิ่นหอมมาก รสชาติหวานอมเปรี้ยวนิดๆ ผลเป็นรูปทรงกระบอกไหล่เต็ม ตอบสนองต่อปุ๋ยดีมาก แบบที่เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนหลังจากได้รับปุ๋ย ใบจะเขียวเข้ม ใบสั้นกว้าง และหนา น้ำหนักของผลอยู่ระหว่าง 1.2-2.2 กิโลกรัม ผลขนาดใหญ่น้ำหนักสูงสุดถึง 3 กิโลกรัม ได้เหมือนกัน จัดว่าเป็นสับปะรดผลใหญ่ อีกอย่างที่เด่นชัดคือ บังคับการออกดอกได้ง่ายมาก แค่หยอด/ฉีดสารเร่งดอก/ฮอร์โมน (แคลเซียมคาร์ไบด์/อีทีฟอน) แค่ครั้งเดียวสับปะรดพันธุ์นี้ก็ออกดอกเกือบทุกต้น ทำให้เราประหยัดเวลาและต้นทุนไปได้อีกทางหนึ่ง

ด้านการปฏิบัติในแปลงปลูกนั้น ได้ปรับมาปลูกแบบยกแปลงกว้าง 1 เมตร โดยเมื่อยกแปลงแล้วใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปคลุกเคล้ากลบลงในดิน วางสายยางให้น้ำระบบน้ำหยดผ่านกลางแปลงไปตามยาวระหว่างแถวสับปะรด แล้วคลุมด้วยพลาสติกดำที่เจาะรูระยะปลูกไว้ด้านริมแปลงทั้งสองด้านเพื่อปลูกสับปะรดเป็น 2 แถว โดยให้ระยะแถวสับปะรดห่างกัน 60 เซนติเมตร ระยะปลูกระหว่างต้นห่างกัน 30 เซนติเมตร และระยะห่างของแต่ละแปลงอยู่ที่ 80-100 เซนติเมตร ซึ่งปลูกสับปะรดได้ 6,500-7,000 ต้น ต่อไร่ เป็นจำนวนต้นที่พอดีที่จะได้ขนาดและทรงผลสับปะรดที่โตสม่ำเสมอ ได้คุณภาพตามที่ผู้ค้าต้องการ ช่วงแรกที่จะทำการปลูกนั้นต้องมีการคัดแยกหน่อและจุกออกตามขนาดต่างๆ โดยหน่อคัดแยกเป็น 3 ขนาด คือหน่อใหญ่ หน่อกลาง และหน่อเล็ก ส่วนจุกแยกเป็น 2 ขนาด คือจุกใหญ่และเล็ก เพื่อนำไปปลูกแบบแยกกันในแต่ละแปลง สับปะรดแต่ละแปลงจะเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอมาก ง่ายต่อการจัดการในกิจกรรมอื่นต่อไป

การดูแลบำรุงต้นสับปะรด มีเรื่องการให้ปุ๋ย ให้น้ำ การป้องกันและกำจัดหญ้า การฉีดฮอร์โมนเร่งการออกดอก คลุมผลป้องกันแสงแดด และเก็บเกี่ยวผลผลิต สำหรับปุ๋ยที่ใช้กับสับปะรดนั้นมี 3 รูปแบบ คือ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ใส่รองพื้นช่วงเตรียมแปลง โดยประมาณว่าในพื้นที่ปลูก 1 ไร่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปเฉพาะบนแปลงปลูกสัก 1-2 ตัน, พอสับปะรดเริ่มตั้งตัวราว 2-3 เดือนให้ใส่ปุ๋ยเม็ด เป็นปุ๋ยผสมระหว่างปุ๋ยสูตร 21-0-0 กับสูตร 0-0-60 และสูตร 18-4-6 อัตราการผสม 2 : 1 : 1/2 ส่วน (100 กิโลกรัม : 50 กิโลกรัม : 25 กิโลกรัม)

ใส่ต้นละ 1 ช้อนกลาง (10 กรัม) ที่กาบใบล่าง, ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยผสมสูตรเดิมอีกครั้งเมื่อสับปะรดอายุ 5-6 เดือนโดยใส่ที่กาบใบล่าง, พอสับปะรดอายุได้ 7-8 เดือน (ก่อนบังคับการออกดอก) ฉีดปุ๋ยทางใบ 2 ครั้ง คือก่อนบังคับดอก 30 วัน และก่อนบังคับดอก 7 วัน เป็นปุ๋ยละลายน้ำ ใช้ปุ๋ยสูตร 13-13-21 จำนวน 3 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นเข้าทรงพุ่มสับปะรดต้นละ 80-100 ซีซี จนเมื่อสับปะรดออกดอกไปได้ประมาณ 90 วัน เข้าระยะดอกแห้งจึงฉีดปุ๋ยเพิ่มความหวานให้สับปะรด โดยใช้ปุ๋ยสูตร 0-0-50 จำนวน 3 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นลงในทรงพุ่มต้นละ 100 ซีซี เป็นการให้ปุ๋ยครั้งสุดท้ายในรอบการผลิตของรุ่นนั้น

สำหรับการให้น้ำนั้น ใช้การปล่อยน้ำไปตามท่อยางเทปแบนที่เจาะรูตามระยะปลูกของต้นสับปะรด เป็นระบบน้ำหยด ให้น้ำเดือนละ 2 ครั้งไปพร้อมกับปุ๋ยน้ำชีวภาพที่ได้จากการหมักปลาและผลไม้ ให้น้ำในอัตราที่พอเหมาะ โดยดูว่าดินในแปลงปลูกสับปะรดมีความชื้นเพียงพอกับความต้องการของสับปะรด เพราะผ้าพลาสติกคลุมแปลงจะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำได้ดี ดินจะเก็บความชื้นไว้ได้นานกว่าแบบแปลงโล่งทั่วไป สับปะรดจึงเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ย่นระยะเวลาการบังคับให้ออกดอกได้เร็วกว่าการปลูกแบบเดิมถึง 2 เดือน ด้านการควบคุมหญ้านั้น ที่ไร่ใช้สารไดยูรอนผสมกับไฮวาร์เอกซ์ ผสมกันตามอัตราข้างฉลาก ฉีดพ่นหลังการปลูกสับปะรดไปแล้ว ฉีดพ่นเฉพาะทางเดินระหว่างแปลงปลูกเพียงครั้งเดียว ส่วนหญ้าที่ขึ้นภายหลังนั้นมีไม่มาก ใช้การถากด้วยจอบและใช้มือถอนทิ้งไป

การบังคับการออกดอก การปลูกสับปะรดด้วยวิธีนี้ เมื่อสับปะรดอายุได้ 6-7 เดือน ต้นสับปะรดจะโตสมบูรณ์ดีมาก ได้น้ำหนักมาตรฐาน ซึ่งสามารถหยอด/ฉีดฮอร์โมนเร่งให้ต้นสับปะรดออกดอกได้เร็วขึ้น โดยใช้สารอีทีฟอน (ชื่อการค้าอีเทรล) ผสมกับปุ๋ยยูเรีย ใช้สารอีเทรล 80-100 ซีซี ปุ๋ยยูเรีย 300 กรัม ละลายกับน้ำ 200 ลิตร ตักหยอดหรือฉีดลงในยอดสับปะรดต้นละ 70-80 ซีซี ทำการหยอด/ฉีดฮอร์โมนเร่งออกดอก 2 ครั้ง ห่างกัน 3-5 วัน การเร่งการออกดอกจะทำช่วงตอนเย็นหรือกลางคืน จะออกดิกดีมาก หลังจากนั้น ให้น้ำปกติ ซึ่งจากวันที่เราทำการหยอดหรือฉีดฮอร์โมนเร่งดอกไปได้ประมาณ 45 วัน ดอกสับปะรดสีแดงจะโผล่ขึ้นมาจากส่วนยอดของต้นสับปะรด พออายุดอกสับปะรดได้ 80-90 วันเป็นระยะดอกแห้ง เราจึงฉีดปุ๋ยเพิ่มความหวานสูตร 0-0-50 ให้สับปะรดอีกครั้ง ตามขั้นตอนการของการให้ปุ๋ยที่ได้กล่าวไปแล้วในช่วงต้น

การคลุมผลสับปะรดมีความจำเป็นมาก เพราะช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน แสงแดดเข้มมาก อากาศร้อนจัด จึงต้องหาวัสดุมาปกคลุม/ห่อผลสับปะรดเอาไว้ เพื่อป้องกันแสงแดดที่จะทำความเสียหายส่วนเปลือกสับปะรดได้ จึงต้องมีการห่อผลสับปะรดเมื่ออายุผลได้ 100-120 วันหลังจากวันหยอดฮอร์โมน จะใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าว กระดาษหนังสือพิมพ์เก่า หรือซาแรนกรองแสงคลุมแปลงไว้เลยก็ได้ เพื่อช่วยป้องกันผิวเปลือกสับปะรดไหม้/เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ซึ่งทำให้เสียคุณภาพ ราคาตก และอาจขายไม่ได้ เป็นความเสี่ยงที่จะสูญเสียรายได้ไปในช่วงนี้

การเก็บเกี่ยวผลผลิต สับปะรดพันธุ์ MD2 เริ่มสุกและเก็บผลผลิตได้หลังการหยอด/ฉีดฮอร์โมน ไปแล้วประมาณ 135 วัน สุกเร็วกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 15-20 วัน ช่วงที่สับปะรดสุกเราเดินเข้าแปลงจะได้กลิ่นหอมมาก เราสังเกตดูที่ตา (ผลย่อย) ที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง เริ่มจากตาที่อยู่ท้ายผล (ส่วนล่างที่ติดกับก้านผล) ที่ไร่นี้เก็บสับปะรดสุกมีผิวเปลือกออกสีเหลืองตั้งแต่ครึ่งของผล (ความสุกที่ 50 เปอร์เซ็นต์) ขึ้นไปถึงสุกเหลืองตลอดผล สังเกตว่าสับปะรดผลเล็กและผลขนาดกลางรสชาติจะดีมาก เนื้อจะนุ่มละเอียดและอร่อยมาก

เลือกเก็บเกี่ยวผลผลิตที่มีความสุกที่ 70-80 เปอร์เซ็นต์ของผล สับปะรดพันธุ์นี้มีรสชาติหวานนำอมเปรี้ยวนิดหน่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ช่วงสับปะรดสุกแม่ค้าจะไปตัดที่สวน เราให้เขาเลือกตัดผลสับปะรดที่สุกได้ระดับเท่านั้น เพราะต้องการรักษาคุณภาพเอาไว้ คนซื้อจะได้รับประทานแต่ของคุณภาพดี ที่สวนขายเหมาเป็นกิโลกรัม ตัดสับปะรดแบบติดก้านยาวสัก 2 นิ้วและติดจุกไปด้วย เราจึงได้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาอีก แม่ค้าบอกว่ามีเท่าไรเขาจองหมดตลอดปี ส่วนแม่ค้าจะเอาไปขายเป็นลูกหรือปอกแบ่งลงถุงก็ว่ากันไป เขาพอมีกำไรและอยู่ได้ ซึ่งตอนนี้ผู้บริโภคเริ่มรู้จักและชอบสับปะรดพันธุ์ MD2 กันมากขึ้น ความต้องการเพิ่มขึ้น แต่เราผลิตให้ไม่ได้ ต้องใช้เวลาในการขยายหน่อพันธุ์และพื้นที่ปลูกเพิ่ม ค่อยๆ ทำไปเดี๋ยวมันจะมีมากขึ้นเอง

ตอนนี้ตลาดผลสดตอบรับดีมาก จากที่เริ่มปลูกมา 3-4 ปี ช่วงแรกไปออกร้านในงานที่ทางจังหวัดจัดขึ้น โดยปอกขายถุงละ 35 บาท ขายเป็นลูกกิโลกรัมละ 35 บาท หรือขายแบบหยวนไป 3 กิโลกรัม 100 บาท ลูกค้าติดใจกันมาก แป๊บเดียวขายหมดเกลี้ยง ถามหากันใหญ่เลย มาช่วงหลังนี้ไม่ได้ไปออกร้านขายเองแล้ว เพราะมีพ่อค้า/แม่ค้ามารับซื้อที่ไร่ โดยเขาจะเข้าไปตัดสับปะรดเอง ขายแบบเหมาคละขนาดกัน ราคาก็กิโลกรัมละ 20-25 บาท ตามแต่ช่วงผลผลิตที่มีมากหรือน้อย และต้องดูว่าเข้าช่วงฤดูกาลผลไม้อื่นๆ ด้วย ราคาจึงยืดหยุ่นกันไปเพื่อจะค้าขายอยู่กันนานๆ เมื่อก่อนแบ่งหน่อขายไปบ้าง หน่อละ 15 บาท ตอนนี้เร่งขยายพื้นที่ปลูกไปอีก ทั้งจุกและหน่อที่มีเอามาลงปลูกหมด และได้ซื้อหน่อมาเพิ่มเติมตามแผนการผลิตที่กำหนดไว้แล้ว ประมาณว่ารอบการตัดผลผลิตให้ได้ที่รุ่นละ 500-1,000 ลูก ก็พออยู่ได้แล้ว เพราะมีกิจกรรมอื่นอีกหลายอย่างที่ต้องทำควบคู่กันไปด้วย

ป้าสำออย ทิ้งท้ายอย่างมั่นใจว่า สับปะรด MD2 เป็นทางเลือกให้ชาวไร่ได้แน่นอน เพราะการปลูกและดูแลรักษาไม่ยุ่งยากอะไร เพียงเรียนรู้เพิ่มเติมด้านเทคนิคการผลิตแบบผลสดที่เน้นคุณภาพ โดยเฉพาะความหวานที่ต้องหวานกว่าสับปะรดส่งโรงงาน จุดหลักๆ คือการให้น้ำและปุ๋ยตามความเหมาะสมในช่วงการเจริญเติบโต การปฏิบัติระยะการออกดอกพัฒนาเป็นผล และระยะก่อนเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีขนาด/รูปทรงที่สวยงามตามลักษณะพันธุ์ ความหวานที่ควรจะไม่ต่ำกว่า 15 บริกซ์ แต่ปกติสับปะรดพันธุ์นี้ความหวาน กลิ่นหอมและรูปทรงผลจะโดดเด่นอยู่แล้ว

จึงไม่ค่อยกังวลอะไรมากนัก ซึ่งขนาดของผลสับปะรดที่นิยมของลูกค้าจะอยู่ที่น้ำหนัก 1.2-1.5 กิโลกรัม ต่อผล จะขายดีมาก เฉลี่ยผลละ 40-60 บาท ลูกค้ารับได้เพราะมีความรู้สึกว่าไม่แพง และปัจจุบันคนไทยเป็นครอบครัวขนาดเล็กจึงรับประทานได้หมดในครั้งเดียว สำหรับสับปะรดผลใหญ่น้ำหนัก 1.6-2 กิโลกรัม ขายเป็นผลได้ยากกว่า แต่แม่ค้าปอกขายจะชอบมาก เพราะปอกแล้วหั่นได้ชิ้นใหญ่และได้หลายชิ้น เป็นส่วนที่เขาทำกำไรได้เพิ่มขึ้น สำหรับสับปะรดส่งโรงงานจะลดพื้นที่ลงไป และอาจจะเลิกปลูกในที่สุด เพื่อเปลี่ยนมาปลูกสับปะรดผลสดทั้งหมด เพราะยังมีสับปะรดผลสดพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพดีอีก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์ทองระยองและพันธุ์ภูชวา ที่ลูกค้ามีความต้องการมากเช่นกัน

สับปะรดพันธุ์ MD2 เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของชาวไร่สับปะรดไทยรุ่นใหม่ และชาวไร่กลุ่มก้าวหน้า ซึ่งปัจจุบันมีการขยายพื้นที่การผลิตเพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แม้ดูว่าจะไปได้ช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ตรงนี้เป็นเพราะราคา/ต้นทุนของหน่อพันธุ์ยังค่อนข้างสูง แหล่งผลิตหน่อพันธุ์ยังมีอยู่ไม่มาก และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสับปะรด MD2 ถูกนำเสนอสู่สาธารณะน้อยมาก อย่างไรก็ดี กรณีของป้าสำออย เป็นอีกตัวอย่างของชาวไร่อาวุโสที่มีความคิดก้าวหน้า หยิบคว้าพันธุ์ใหม่ๆ มาพัฒนาต่อยอด อาศัยประสบการณ์

ด้วยนวัตกรรมพันธุ์ MD2 ก้าวข้ามระบบการผลิตแบบเก่าไปได้อย่างฉลุย ลุยนำหน้าไปแล้วหลายช่วงตัว ที่สุดก็จะเลิกราสายโรงงานไปได้ กอบโกยรายได้ไร่ละเป็นแสน ฝากมาบอกแฟนๆ สมาชิกชาวไร่สับปะรดว่า ลองเปลี่ยนเส้นทางผลิตมาเป็นพันธุ์นี้กันดูบ้าง เพื่อเปิดทางสร้างรายได้เข้ากระเป๋า เพราะยาวไปมีแต่ได้มากกว่าผลิตสับปะรดส่งโรงงาน ซึ่งยินดีที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ และยังเปิดให้เข้าศึกษาดูงานแปลงผลิตสับปะรด MD2 ได้ทุกวัน เพียงแต่ประสานและติดต่อกันไปที่เบอร์โทร. (089) 930-2547 ยินดีต้อนรับทุกท่าน สำหรับคนสายสับปะรดหากมีโอกาสไประยอง ขอเชิญแวะชม ชิม ช็อป สับปะรดคุณภาพดีพันธุ์ MD2 ที่สวนป้าสำออย ยี่สุ่นแซม กันนะครับ

“โอ้ อกสาวชาวสวน นอนหนาวใจรัญจวนอยู่บ้านกลางสวนทุเรียน ลมหนาวพาพัดอยู่ฤดูผลัดหมุนแปรเปลี่ยน วัยสาวหมุนเวียน มาสิบแปดหน้าฝน…”

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักและคิดถึงทุกท่าน แว่วเสียงเพลงสาวชาวสวน ที่เคยได้ยินมาตั้งแต่สมัยเด็ก น้ำเสียงคุณ (ป้า) ลัดดาวัลย์ ประวัติวงศ์ ยังแจ่มชัดในมโนมิคลาย ผมพลันนึกไปถึงสาว (เหลือ) น้อยอีกคนหนึ่ง อดีตสาวออฟฟิศ ผู้หันหน้าเข้าหาผืนดินและสวนผลไม้ที่จากมาเป็นสิบปี เพื่อมารับงานทำสวนต่อจากพ่อแม่ที่เป็นเกษตรกรอยู่แล้ว ทิ้งเรื่องราวในเมืองหลวงและผู้คนออกมาสู่ความสุขที่หาได้อย่างแท้จริง

“เบื่อค่ะพี่ โลกของเมืองใหญ่ตอบสนองเราได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ผู้คนที่ห่างเหินต่อกัน ทุกอย่างต้องใช้เงิน คิดถึงบ้านสวน คิดถึงพ่อแม่ เราคงถึงวัยแล้วมั้ง”

“ไม่เสียดายเหรอ เงินเดือนก็ตั้งเยอะ”
“คำนวณแล้วไม่คุ้มหรอกพี่ บ้านต้องเช่าข้าวต้องซื้อ ทำงานมาแต่ละเดือนก็จ่ายไปหมด ไหนจะเหนื่อยเรื่องเดินทางด้วย อยากใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวแบบไม่รีบร้อนมากกว่า”

ที่สวน 20 ไร่ ที่ไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี คุณอัญชุลี บุญเชิด เดินหน้าลุยด้วยตัวเองและลูกชาย ปลูกทุกอย่างที่อยากกิน ทั้งพืชผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกอย่าง เพราะตั้งใจทำสวนให้ปลอดสารอย่างแท้จริง ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ ส้มโอ มะละกอ ฝรั่ง มะกรูด มะนาว กล้วย ชมพู่ มะพร้าว ฯลฯ เมื่อได้ผลผลิตแล้วส่วนหนึ่งก็ขายเองที่ตลาดนัด และบางส่วนก็มีแม่ค้ามารับซื้อถึงสวน ซึ่งการปลูกผสมผสานแบบนี้ทำให้มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ โดยรายได้รายวันก็จะมาจากผักสวนครัว ใบตอง รายได้รายสัปดาห์ก็จะมีมะละกอ กล้วย ชมพู่ ฝรั่ง มะกรูด มะนาว รายได้ต่อเดือนก็มีส้มโอ และได้ปลามาเสริม ส่วนรายได้ที่เป็นก้อนก็จะเป็นไม้ผลต่างๆ

“ส้มโอ 100 ต้นก็เก็บผลขายได้เกือบตลอดทั้งปีค่ะ อย่างน้อยก็เดือนละ 5,000 บาท กล้วยน้ำว้าและใบตองก็ตกเดือนละ 3,000 บาท ส่วนรายได้เป็นก้อนก็จะมีจากเงาะปีละ 3-40,000 บาท ลิ้นจี่ประมาณ 100,000 บาท”

“แสดงว่าในแต่ละเดือนก็จะมีรายได้เกินหมื่น”

“ยังมีรายย่อยที่พอเป็นค่าน้ำค่าไฟอยู่อีกจ้ะ ที่นี่เราขยายพันธุ์ด้วย ก็ได้ค่ากิ่งตอนไม้ผลในสวนอีกเดือนละหลายพัน” “รายได้ประมาณนี้พออยู่ได้ไหมครับ”

“โอ๊ย! สบายเลยพี่ บ้านของเราเอง อาหารการกินเราก็ไม่ต้องซื้อหา นี่กันที่ไว้อีก 2 ไร่จะทำนาปลูกข้าวไว้กินเองด้วย”

“เก่งนะ ทำสวนคนเดียว”

“ลูกชายค่ะ มาช่วยกัน มีกำลังใจจากครอบครัวมาเป็นพลังให้อีก แบบนี้สู้ได้สบายมาก”

“เห็นว่ามาทำสวนตอนแรกก็สะเปะสะปะเลย” “ใช่พี่ หนูเป็นลูกชาวสวนก็จริง แต่พอเรียนจบก็ไปทำงานในกรุงเทพฯ ไม่ได้เข้ามาข้องเกี่ยวกับตรงนี้เลยค่ะ อาศัยเรียนรู้จากศาสตร์ของในหลวงและลงมือทำไปเรื่อย ผิดบ้างถูกบ้างค่อยเรียนรู้ไปค่ะ”
“แล้วตอนนี้”

“ก็พออยู่ตัวค่ะ เราส่งแม่ค้าบ้าง ขายเองบ้าง ที่เหลือก็แปรรูป บางส่วนก็แจกด้วยนะ ให้ลูกเอาไปแจกครูแจกเพื่อนๆ ที่โรงเรียนด้วย เหมือนเราสอนให้เขาได้รู้จัดแบ่งปันน่ะค่ะ”

ผมมองสองคนแม่ลูกช่วยกันเก็บชมพู่ลูกเล็กๆ เป็นชมพู่ลิปสติกสีแดงที่มีรสหวาน สำหรับชมพู่ต้นนี้เป็นที่ต้องการของลูกค้ามาก โดยมีเจ้าหมูป่าแสนรู้ตัวอ้วนติดตามไปด้วยเสมอ พร้อมมีคำตอบในใจ ใช่เลยที่เธอทำสำเร็จในเรื่องนี้เพราะเธอทำตามคาถา 4 ข้อ ที่เป็นหัวใจของเกษตรกรจริงๆ นั่นคือ “ปลูกได้ ขายเป็น เน้นสตอรี่ มีดีที่การแปรรูป” ที่สำคัญก็คือ เธอยังสอนให้ลูกได้เรียนรู้การทำงาน การแบ่งปัน เชื่อว่าสักวัน เด็กน้อยจะมีภูมิชีวิตที่เข้มแข็ง เพราะได้ลงมือเรียนรู้อย่างแท้จริง

ปลูกได้ – นั่นคือจากคนที่ไม่มีความรู้มาก่อน พอมาลงมือโดยอาศัยความรู้จากแหล่งต่างๆ ลองผิดลองถูกจนได้คำตอบในแนวทางของตัวเอง โดนเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมุ่งมั่นสร้างสวนปลอดสารพิษ

ขายเป็น – เธอมีพื้นฐานในโลกโซเชียลมาแล้ว ดังนั้น จึงมีแพลทฟอร์มการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ คือขายผ่านเฟซบุ๊กแบบแม่ค้าออนไลน์ และขายตลาดนัดทั่วไปอีกด้วย แถมยังช่วยแนะนำเกษตรกรที่อยู่ข้างเคียงอีกต่างหาก

เน้นสตอรี่ – เพราะได้ลงมือทำเอง เธอจึงบอกเล่าเรื่องราวพืชผัก ผลไม้ ในสวนได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญ ปัจจุบันเริ่มมีคนเข้ามาเรียนรู้และซื้อติดมือกลับไปด้วยไม่น้อย

มีดีที่การแปรรูป – ผลผลิตที่ตกขนาด หรือเหลือจากการขาย ก็จะเข้าสู่กระบวนการแปรรูป ทั้งตากแห้ง ทั้งทำเป็นน้ำผลไม้ต่างๆ เรียกว่าสร้างคุณค่าและมูลค่าให้เกิดขึ้นได้อีกมากมาย และส่วนหนึ่งก็จะเป็นอาหารปลาต่อไป

“กิ่งตอนจากสวนขายแพงไหมครับ”
“ไม่แพงหรอกพี่ ส่วนมากก็กิ่งละร้อย หากมีค่าส่งทางลูกค้าก็จ่ายต่างหาก หรือหากซื้อหลายๆ กิ่งก็ส่งให้ฟรีจ้า”
“หากมีคนสนใจอยากมาชม มาชิม มาช็อปที่สวนได้ไหมครับ”
“ยินดีต้อนรับจ้า ไทรโยคมีที่เที่ยวอีกมากมาย แวะมาที่สวนได้เลยจ้า โทร.มาก่อนนะจ๊ะ (095) 721-9425 รับรองว่าต้องได้อะไรติดมือกลับไปทุกคนจ้า”

ผมอำลาจากสวนแห่งนี้ด้วยความสุขใจ สมัคร UFABET คนเราเมื่อรู้ว่าเราชอบอะไรและได้ทำในสิ่งที่ชอบ ผมเชื่อว่าผลที่ได้ย่อมจะดีแน่นอน ที่สำคัญ เมื่อเรารู้จักตัวเองในวันเวลาที่เหมาะสมเช่นนี้ ขอบคุณนะครับอัญชุลี ขอบคุณที่ทำให้ผมแอบอิจฉาไม่น้อย เชอะ!

เกษตรกรในพื้นที่บ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ปลูกข้าวโพดข้าวเหนียวปลอดภัยจากสารพิษ สามารถสร้างรายได้เป็นอย่างดี โดยจำหน่ายสร้างรายได้งาม เนื่องจากเป็นข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวสาลีที่คนทางเหนือเรียก วิธีการปลูกแบบปลอดภัยจากสารพิษ ซึ่งจะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อถึงที่

ข้อมูลทางวิชาการ สภาพพื้นที่ปลูกสามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศ ที่ใกล้แหล่งน้ำสะอาด
พื้นที่ราบและสม่ำเสมอ มีความลาดเอียงไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีน้ำท่วมขัง ห่างไกลจากแหล่งมลพิษ การคมนาคมสะดวก สามารถนำผลผลิตออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว ลักษณะดิน เป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนปนทราย ความอุดมสมบูรณ์สูง มีอินทรียวัตถุสูงกว่า 1.5 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์มากกว่า 10 ส่วน ในล้านส่วน และโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ไม่น้อยกว่า 40 ส่วน ในล้านส่วน การระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศดี ระดับหน้าดินลึก 25-30 เซนติเมตร ค่าความเป็นกรดด่าง ระหว่าง 5.5-6.8

สภาพภูมิอากาศ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต 24-35 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส อาจจะมีปัญหาในการผสมเกสร ทำให้การติดเมล็ดไม่ดีเท่าที่ควร ปริมาณน้ำฝนกระจายสม่ำเสมอ 1,000-1,200 มิลลิเมตร ต่อปี มีแสงแดดจัด

แหล่งน้ำ มีน้ำเพียงพอสำหรับใช้เมื่อจำเป็น ต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ที่มีพิษปนเปื้อน วางแผนการผลิต ข้าวโพดข้าวเหนียวเป็นพืชบริโภคสดสามารถปลูกได้ตลอดปี จำเป็นต้องวางแผน

คุณศรีทอน โนศรี ชาวบ้านในพื้นที่บ้านดอกบัว หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านตุ่น อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เก็บผลผลิตข้าวโพดข้าวเหนียว หรือข้าวสาลี ในแปลงปลูกของตนเอง หลังจากที่ใช้พื้นที่ประมาณ 2 ไร่เศษ