เส้นทางสู่ความสำเร็จคือ ได้วางแผนการปลูกและผลิต

มีการจัดการที่ดี ใช้ปัจจัยที่มีในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุน ได้ปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาที่เหมาะสม รู้ขยัน อดทน จึงได้รับการรับรองเป็นแหล่งผลิตพืชในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม หรือ GAP โครงการความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) ด้านพืช ชนิดส้มโอ จากกรมวิชาการเกษตร และได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาทำสวน อันดับที่ 1 ระดับจังหวัด และอันดับที่ 2 ระดับเขต ปี 2555 จากการปลูกและผลิตได้ผลส้มโอดีมีคุณภาพเป็นความสำเร็จที่ทำให้มีรายได้พอเพียง นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

จากเรื่อง ส้มโอขาวแตงกวา…ไม้ผลเศรษฐกิจคุณภาพเมืองชัยนาท ที่กล่าวถึงการปลูกและปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา พัฒนาการผลิตด้วยระบบเกษตรดีที่เหมาะสม จึงได้ผลส้มโอขาวแตงกวาดีมีคุณภาพ รสอร่อย ที่ผู้บริโภคชื่นชอบ

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ลุงทวาย มั่นอ่วม เลขที่ 172 หมู่ที่ 4 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โทร. (088) 427-9683 หรือสำนักงานเกษตรอำเภอวัดสิงห์ โทร. (056) 461-314 หรือ คุณชมพูนุช หน่อทอง สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท

กล้วย คือผลไม้ที่คนไทยนิยมรับประทานทานกันมากโดยเฉพาะนักกีฬา กล้วยมีมากมายหลายชนิด เช่น กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง เป็นต้น กล้วยชนิดต่างๆ มีความแตกต่างกันทั้งรสชาติ ขนาด และสี ชนิดของกล้วยจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกันออกไปนอกจากจะมีหลายชนิดแล้ว กล้วยชนิดต่างๆ สามารถแบ่งพันธุ์ได้อีกมากมาย แต่พันธุ์ที่ต้องการแนะนำโดยเฉพาะคือ กล้วยหอมพันธุ์ คาเวนดิช (Cavendish) ชื่อภาษาไทยเรียกว่า กล้วยหอมเขียว เป็นกล้วยหอมที่ต่างประเทศให้ความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ยังไม่เป็นที่นิยมในประเทศไทยมากนักและเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับเกษตรกรไทยอีกด้วย

คุณวิเชียร เนียมจ้อย นักประดิษฐ์และเกษตรกรแบบผสมผสาน เช่น กล้วยไม้ มะม่วง กล้วยน้ำว้า อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 40/2 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ปลูกกล้วยหอมคาเวนดิชได้ผลดี

กล้วยหอมพันธุ์คาเวนดิช
คุณวิเชียร มีชื่อเสียงโด่งดังจากมะม่วงและกล้วยน้ำว้าพันธุ์ โชควิเชียร กล้วยหอมคาเวนดิชเป็นพันธุ์กล้วยหอมพันธุ์ใหม่สำหรับเกษตรกรไทย คุณวิเชียร บอกว่า กล้วยหอมคาเวนดิช เพาะปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก มีลำต้นที่แข็งแรงไม่ต้องใช้ไม้ค้ำเหมือนกล้วยหอมพันธุ์อื่นๆ ปกติกล้วยหอม เมื่อถึงช่วงออกผลผลิตต้องใช้ไม้ค้ำ

ลำต้น เวลาออกเครืออาจจะทำให้ต้นกล้วยและผลผลิตได้รับความเสียหาย กล้วยหอมคาเวนดิชในช่วงเทศกาลตรุษจีน ขายเครือละ 500 – 600 บาท ปัจจุบันยอดสั่งจองล่วงหน้าเต็มหมดแล้ว ใช้ระยะปลูก 4 x 4 เมตร สามารถเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี เพราะจะมีหน่อขึ้นมาแทรกต้นแม่อยู่เสมอ

ลักษณะของกล้วยหอมคาเวนดิช
ลำต้นของกล้วยหอมคาเวนดิชมีความแข็งแรงมาก สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง ขนาดของเครือ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแร่ธาตุในดิน ถ้าดินมีความสมบูรณ์จะมีเครือที่ใหญ่และยาวมากๆ แต่มีข้อเสียเล็กน้อยที่เวลากล้วยสุกแล้ว จะมีสีเหลืองที่น้อยกว่ากล้วยหอมปกติเล็กน้อย รสชาติที่ได้รับใกล้เคียงกับกล้วยหอมทองมากๆ

ปัญจขันธ์ หรือเจียวกู่หลาน (Jiaogulan) เป็นสมุนไพรที่มีถื่นกำเนิดในประเทศจีน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Gynostemma pentaphyllun Makino อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae ชื่อภาษาอังกฤษคือ Miracle Grass, Southern ginseng นิยมปลูกกันอย่างกว้างขวางบริเวณเทือกเขาทางตอนใต้ประเทศจีน ในประเทศไทยรู้จักในชื่อปัญจขันธ์ เป็นไม้เถาชนิดเดียวกับพืชในตระกูลแตง ลักษณะของต้นจะเลื้อยไปตามพื้น ใบมีสีเขียวแตกออก 5 ใบ ในแต่ละกิ่ง ส่วนของใบและลำต้นมีสารสำคัญ จำพวก Saponins สารที่พบมีชื่อเฉพาะว่า gypenosides คล้ายที่พบในโสมคน (ในโสมคน เรียก ginsenosides) พบในส่วนใบมากกว่าลำต้น

สรรพคุณทางเภสัชวิทยา
ปัญจขันธ์ ที่ปลูกกันส่วนมากนิยมนำมาแปรรูปเป็นชา สำหรับดื่มแก้กระหาย เดิมเป็นอาหารที่ใช้กินให้อิ่ม ต่อมาได้มีการพัฒนาใช้ในการผลิตยา และเริ่มมีการค้นคว้าสารออกฤทธิ์ ในทางเภสัชวิทยาในประเทศจีนพบว่า ปัญจขันธ์ ประกอบด้วยตัวยา 82 ชนิด มีตัวยาที่เหมือนโสมคน 4 ชนิด ได้แก่ ginsenosides Rb1 Rd และ F3 สรรพคุณของปัญจขันธ์ ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล ด้วยคุณสมบัติและสรรพคุณที่หลากหลาย รวมทั้งสภาพความเหมาะสมของดินและสภาพอากาศของประเทศไทยในแถบภาคเหนือ

ปัจจุบัน ยังขาดพันธุ์ปัญจขันธ์ที่เหมาะสมในแหล่งปลูกและมีสารสำคัญสูงเพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบหรือลดต้นทุนในการนำเข้ายาจากประเทศจีนและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทย เนื่องจากพันธุ์เดิมคือพันธุ์สิบสองปันนา เป็นพันธุ์จากประเทศจีน เป็นพันธุ์ที่มีผลผลิตสูง แต่ปริมาณสารซาโปนินอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อนำมาปลูกในประเทศไทยมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ไม่ดี (พื้นที่ปลูกควรมีอุณหภูมิระหว่าง 16-28 °C ความชื้นสัมพัทธ์ 60-80%) ขณะที่พันธุ์พื้นเมืองให้ผลผลิตต่ำมาก แต่กลับมีสารซาโปนินมีค่าใกล้เคียงกับพันธุ์สิบสองปันนา และบางครั้งมีสารสูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนา ค่ามาตรฐานของปัญจขันธ์ คือกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 8 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม

ปัญจขันธ์พันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง พบปริมาณสารซาโปนินสูงกว่าค่าที่กำหนด มีรสไม่ขมจัด และมีรสหวาน แต่เนื่องจากผลผลิตต่ำมากและยังไม่ได้การพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง จากข้อที่ดีของพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพงถ้ามีการผสมพันธุ์กับพันธุ์สิบสองปันนา ซึ่งมีผลผลิตสูงอาจมีโอกาสได้พันธุ์ลูกผสมใหม่ที่ให้ผลผลิตและสารซาโปนินสูง ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายจึงได้ปรับปรุงพันธุ์ปัญจขันธ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มีผลผลิตและสารซาโปนินสูงกว่าพันธุ์เดิม คือ พันธุ์สิบสองปันนา

ปรับปรุงพันธุ์
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ได้ดำเนินการปรับปรุงพันธุ์ปัญจขันธ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 จนได้ลูกผสมสายพันธุ์เชียงราย 2-20 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์สิบสองปันนา (ต้นแม่) กับ พันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง (ต้นพ่อ) โดยพันธุ์สิบสองปันนาเป็นพันธุ์นำเข้าจากประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2548 ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายได้ประเมินพันธุ์สิบสองปันนากับพันธุ์พื้นเมือง ในปี พ.ศ. 2554-2555 พบว่า พันธุ์สิบสองปันนามีผลผลิตสูง มีการเจริญเติบโตเร็ว แต่มีสารซาโปนินอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพงเป็นพันธุ์ที่พบบริเวณอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพันธุ์พื้นเมืองของไทย ผลผลิตต่ำมาก แต่มีสารซาโปนินสูง ปี พ.ศ. 2556 จึงได้ดำเนินการผสมพันธุ์และคัดเลือกลูกผสม ในรุ่นที่ 1 (F1) ถึงรุ่นที่ 4 ในปี พ.ศ. 2559-2562 เก็บเมล็ดในแต่ละรุ่นนำไปทดสอบผลผลิตและสารซาโปนินที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายเป็นเวลา 4 ปี จึงได้ปัญจขันธ์ลูกผสมสายพันธุ์เชียงราย 2-20 ในปี พ.ศ. 2562 โดยมีขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ดังนี้

รวบรวมและประเมินพันธุ์ ดำเนินการระหว่าง ปี พ.ศ. 2554-2555 โดยสำรวจและรวบรวมพันธุ์ปัญจขันธ์ทั้งจากแหล่งปลูกต่างๆ และในสภาพธรรมชาติ รวบรวมได้ทั้งหมด จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สิบสองปันนา พันธุ์อ่างขาง และพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง นำมาปลูกประเมินพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ในแปลงปลูก ขนาด 1×10 เมตร ระยะ 50×50 เซนติเมตร ปลูกแถวคู่ภายใต้โรงเรือนตาข่ายพรางแสง 70% ทำค้างไม้ไผ่เพื่อให้เถาเลื้อยเก็บเกี่ยวปัญจขันธ์เมื่อครบอายุเก็บเกี่ยว หรือที่ระยะก่อนแทงช่อดอก โดยการตัดต้นปัญจขันธ์ความสูงจากพื้น ประมาณ 30 เซนติเมตร บันทึกผลผลิตทั้งน้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และสารซาโปนิน

ผสมพันธุ์
ดำเนินการในปี พ.ศ. 2556 ปลูกปัญจขันธ์ ทั้ง 3 พันธุ์ ในโรงเรือน แต่ละโรงแยกปลูกในแต่ละพันธุ์ทำการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์สิบสองปันนากับพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพงและพันธุ์อ่างขาง ได้เมล็ดพันธุ์ รุ่นที่ 1 (F1) จำนวน 4 คู่ผสม คือ

คู่ผสมระหว่างพันธุ์สิบสองปันนา x พื้นเมืองสันกำแพง
คู่ผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง x สิบสองปันนา
คู่ผสมระหว่างพันธุ์อ่างขาง x พื้นเมืองสันกำแพง
คู่ผสมระหว่างพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง x อ่างขาง
คัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์ลูกผสม ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 เปรียบเทียบพันธุ์ลูกผสม จำนวน 4 คู่ผสม โดยการปลูกในแปลงทดลองเปรียบเทียบกับพันธุ์พ่อ-แม่อีก 3 พันธุ์ รวม 7 พันธุ์ วางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block (RCB) 7 กรรมวิธี 3 ซ้ำ บันทึกผลผลิตน้ำหนักสดและแห้ง และปริมาณสารชาโปนิน เก็บเมล็ดพันธุ์คู่ผสมระหว่างพันธุ์สิบสองปันนากับพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพง ที่ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์การคัดเลือกที่กำหนด และนำเมล็ดไปปลูกต่อจนถึง รุ่นที่ 4

หลักเกณฑ์คัดลือกพันธุ์ปัญจขันธ์ พิจารณาจาก

ใบมีขนขนาดใหญ่ ขนาดความกว้างและยาวของใบประกอบโดยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 8×8 ซ.ม.
ใบมีสีเขียวสม่ำเสมอทั่วทั้งใบ ก้านใบแข็งแรง
ผลผลิตสดสูงกว่า 2,500 กิโลกรัม/ไร่ และน้ำหนักแห้งสูงกว่า 200 กิโลกรัม/ไร่
ปริมาณสารซาโปนิน ไม่ต่ำกว่า 6-8 กรัม/น้ำหนักแห้ง 100 กรัม หรือปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดในน้ำไม่ต่ำกว่า 10 มิลลิกรัม/กรัมน้ำหนักแห้ง
อายุเก็บเกี่ยวหลังปลูกน้อยกว่า 120 วัน

ทดสอบพันธุ์
ดำเนินการในปี พ.ศ. 2562 นำปัญจขันธ์คู่ผสม ระหว่างพันธุ์สิบสองปันนา กับพันธุ์พื้นเมืองสันกำแพงสายพันธุ์คัดเลือก จำนวน 6 สายพันธุ์ เปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า จำนวน 1 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์สิบสองปันนา วางแผนการทดลองแบบ RCB จำนวน 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ศึกษาการเจริญเติบโต ผลผลิต และสารซาโปนิน คัดเลือกให้เหลือ 2 สายพันธุ์ ปลูกทดสอบ 2 สายพันธุ์ ที่คัดเลือกไว้ พันธุ์สิบสองปันนา พบว่า สายพันธุ์ 2-20 ให้ผลผลิตและสารซาโปนินสูงที่สุด

สถาบันวิจัยพืชสวน นำเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2562 และคณะกรรมมการฯ พิจารณาให้เป็นพันธุ์แนะนำ ชื่อว่า ปัญจขันธ์ พันธุ์เชียงราย 1

ลักษณะประจำพันธุ์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : มีรากสีขาวอยู่ใต้ดินและเหนือดินบริเวณข้อของลำต้น ลำต้นเป็นเถาเลื้อย ยาว 7.56 เมตร กว้าง 0.26 เซนติเมตร ความยาวข้อ 8.68 เซนติมเตร มีใบย่อย 5 ใบ รูปรีถึงรูปไข่ กว้าง 4.52 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มีขนสีขาวสั้น หนา ขอบใบมีรอยหยัก 25 หนัก แตกกิ่ง 83 กิ่ง ช่อดอกแยกเพศ ดอกเพศผู้มีกลีบ 5 แฉก สีขาว ดอกเพศเมียมีรังไข่สีเขียว ผลกลมสีเขียว มีขน เมื่อแก่เป็นสีดำ ภายในเวลา 3 เมล็ด เป็นรูปหัวใจ

ลักษณะทางการเกษตร : น้ำหนักสดเฉลี่ย 1,897.5 กิโลกรัม/ไร่ น้ำหนักแห้งเฉลี่ย 210.5 กิโลกรัม/ไร่ อายุเก็บเกี่ยวหลังปลูก 105 วัน และจากการวิเคราะห์โดยศูนย์บริการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวิธี Gravimetric method มีสารซาโปนินต้น 11.47 กรัม ต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม (เกณฑ์มาตรฐาน 8.0 กรัม ต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม)

ลักษณะเด่น : สารซาโปนินทั้งต้นเฉลี่ย 11.47 กรัม/ต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนาร้อยละ 52 ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 210.5 กิโลกรัม/ไร่ สูงกว่าพันธุ์สิบสองปันนา ร้อยละ 31 และอายุเก็บเกี่ยว 105 วัน สั้นกว่าพันธุ์สิบสองปันนาที่มีอายุเก็บเกี่ยว 116 วัน

พื้นที่แนะนำให้ปลูก : พื้นที่ดอนและลุ่ม มีการระบายน้ำดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ควรปลูกในพื้นที่ที่มีร่มเงา

หรือปลูกภายใต้โรงเรือนที่มีตาข่ายพรางแสงอย่างน้อย 50%

คุณภาพของชาสมุนไพร : การประเมินคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของชาสมุนไพรปัญจขันธ์ โดยนำปัญจขันธ์อบแห้งพันธุ์เชียงราย 1 กับพันธุ์สิบสองปันนาชงด้วยน้ำร้อน 90 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที สุ่มตัวอย่างให้ผู้ทดสอบประเมินกลิ่น สี รสชาติ และความชอบโดยรวม แบ่งคะแนนชอบเป็น 4 ระดับ ดังนี้ ชอบมากที่สุด 4 คะแนน ชอบมาก 3 คะแนน ชอบปานกลาง 2 คะแนน ชอบน้อย 1 คะแนน ปัญจขันธ์พันธุ์เชียงราย 1 ได้คะแนนคุณภาพด้านกลิ่น 3.37 สี 3.47 และความชอบโดยรวม 3.00 คะแนน ดีกว่าพันธุ์สิบสองปันนา

(คณะผู้วิจัย : ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ประกอบด้วย ศศิธร วรปิติรังสี, บุญชนะ วงศ์ชนะ, อรุณี ใจเถิง

วิมล แก้วสีดา, ทัศนีย์ ดวงแย้ม และ วิชญา ศรีสุข สถาบันวิจัยพืชสวน ประกอบด้วย สนอง จรินทร, ลัดดาวัลย์ อินทร์สังข์, ศรีสุดา โท้ทอง, เกษมศักดิ์ ผลากร, สุนิตรา คามีศักดิ์ และ วิลาวัณย์ ใคร่ครวญ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงใหม่ ได้แก่ วีระ วรปิติรังสี และพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ได้แก่ จิตอาภา จิจุบาล ศูนย์วิจัยการเกษตรและพัฒนาการเกษตรแพร่ ได้แก่ ประนอม ใจอ้าย ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ได้แก่ ยุพาพร ภาพันธ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเชียงราย ได้แก่ บุญปิยธิดา คล่องแคล่ว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ได้แก่ จรัญ ดิษฐไชยวงศ์ กองแผนงานและวิชาการ ได้แก่ ไกรศร ตาวงศ์ ข้าราชการบำนาญ ประกอบด้วย แสงมณี ชิงดวง และ พุฒนา รุ่งระวี)

การขยายพันธุ์มะนาว เพื่อวัตถุประสงค์ทั้งการเก็บใช้เพื่อปลูกทดแทนในสวนของตนเอง หรือขยายพันธุ์เพื่อจําหน่าย การขยายพันธุ์ด้วยการตอนยังนับเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมกันมาอย่างยาวนาน แม้ว่าจะมีการนําเทคนิคการขยายพันธุ์ใหม่เข้ามาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการเสียบยอดบนต้นตอชนิดต่างๆ การปักชํากิ่ง เป็นต้น

แต่ที่ สวนวโรชา อําเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เจ้าของสายพันธุ์มะนาวแป้นวิเศษ มะนาวพันธุ์ดีที่มีคุณสมบัติโดดเด่น ทั้งการให้ผลดกมาก ผลโต ผลอายุ 2 เดือน ก็มีน้ำมะนาวเต็มลูก ยิ่งผลโต เต็มที่ อายุ 4 เดือน ให้น้ำเยอะมาก ที่สําคัญมีกลิ่นหอม อีกทั้งยังมีขั้วที่แข็งแรง ไม่ร่วงง่าย คุณวโรชา จันทโชติ ก็ยังยืนยันว่า “การขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน” นั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับมะนาวในสวนของตนเอง สามารถขยายพันธุ์ได้จํานวนมาก อีกทั้งยังได้ต้นที่แข็งแรง สามารถนําไปปลูกแล้วให้ผลผลิตออกมาดี

สําหรับการขยายพันธุ์ด้วยการตอนในสวนแห่งนี้ ยังมีเทคนิคที่เรียกว่าอาจแตกต่างไปจากที่อื่น นั่นคือ “การใช้กะปิมาเร่งราก” แทนการใช้ฮอร์โมนเร่งราก ซึ่งนิยมใช้กันโดยทั่วไป

สําหรับการตอนกิ่งมะนาวโดยใช้กะปิเป็นตัวเร่งรากนั้น เจ้าของสวนแป้นวิเศษบอกว่า เป็นเทคนิคที่ทํากันมาตั้งแต่สมัยรุ่นบรรพบุรุษ และสามารถให้ผลออกเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น การขยายพันธุ์กิ่งมะนาวแป้นวิเศษเพื่อจําหน่ายให้เกษตรกรที่สนใจ จึงเน้นการใช้วิธีการดังกล่าวเพียงอย่างเดียว

“แต่การปลูกมะนาวให้ประสบความสําเร็จนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะซื้อมะนาวที่มาจากการขยายพันธุ์ในรูปแบบหรือวิธีการใด แต่ขึ้นอยู่กับว่าเมื่อปลูกแล้ว มีการดูแลเอาใจใส่ดีหรือไม่”

สําหรับการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการตอนกิ่งของสวนวโรชานั้น จะต้องมีการเตรียม อุปกรณ์ในการตอน ซึ่งประกอบด้วย

– มีดตอน ควรใช้มีดตอนกิ่ง ซึ่งมีจําหน่ายตามร้านจําหน่ายอุปกรณ์การเกษตร โดยทั่วไป คุณวโรชาฝากข้อแนะนําที่จําเป็นไว้คือ ต้องเน้นเรื่องความคมและความสะอาดของมีด เพื่อป้องกันการเกิดแผลอักเสบในระหว่างการตอน

– กะปิ ช่วยเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการออกรากได้ไวขึ้น ในกะปิมีสารอาหารที่ มีประโยชน์ เช่น ไคโตซาน ซึ่งนํามาใช้แทนฮอร์โมนเร่งราก นับเป็นอีกหนึ่งภูมิปัญญา ชาวบ้านที่มีการใช้กันมาอย่างยาวนาน

– ตอกไม้ไผ่ สาเหตุที่คุณวโรชาใช้ตอกไม้ไผ่ เพราะสามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ไม่ต้องซื้อหา และมีความแข็ง สามารถขมวดได้ง่าย ซึ่งการนําตอกมาใช้นั้นจะ ต้องมีการแช่น้ำไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ตอกมีความอ่อนนุ่ม ง่ายต่อการใช้งาน

– ดินเหนียว หรือถ้าเป็นดินจอมปลวกยิ่งดี คุณวโรชา บอกว่า จะเป็นส่วนที่ช่วยดึงรากให้ออกมามากๆ

– วัสดุที่ใช้หุ้มกิ่งตอน ซึ่งทางสวนจะใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำบีบพอหมาดๆ บรรจุใส่ถุงพลาสติก รัดให้แน่นด้วยหนังยาง

เมื่อเตรียมอุปกรณ์เรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อมาคือ การตอนกิ่ง คุณวโรชา ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการตอนกิ่งที่สวนแห่งนี้ โดยเริ่มจากการเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนหรือไม่แก่จนเกินไป

ในส่วนของการควั่นกิ่งนั้น คุณวโรชามีข้อปฏิบัติที่แตกต่างออกไปจากการตอน กิ่งของเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวอื่นๆ คือ การไม่ขูดเนื้อเยื่อเพื่อตัดท่อน้ำท่ออาหาร

“ปกตินั้นส่วนมากจะต้องขูดเนื้อเยื่อ GClub แต่ที่ผมเลือกไม่ขูด เพราะต้องการป้องกันการเกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต้นมะนาว เราไม่รู้ว่ามีดที่ใช้ตอนสะอาดพอหรือไม่ ซึ่งหากมีดไม่สะอาดพอจะมีปัญหารากไม่ออกและโรคเน่าบริเวณแผลที่ตอนเข้ามาแทรก แต่พอ 4 วัน หากควั่นแล้วไม่ทําอะไร เนื้อเยื่อจะกลับมาเชื่อมกันใหม่ ดังนั้น หากต้องการทําให้เสร็จก่อนไปธุระที่ไหนใน 4 วัน ให้ใช้วิธีการขูดเนื้อเยื่อได้เลย แต่ ต้องระวังเรื่องความสะอาดของมีดที่ใช้ตอน”

“แต่วิธีปฏิบัติของผม ซึ่งอาศัยเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ผมจะทิ้งไว้ 2 วัน หลังจากที่ควั่นเปลือกเป็นช่วงที่ดีที่สุด แต่เพื่อป้องกันการหลงลืมว่ายังไม่ได้หุ้ม ด้วยการใช้เชือกสีแดงผูกเป็นตําหนิให้รู้ว่า ต้องมาทําการหุ้มกิ่ง”

“การที่ผมทิ้งไว้ ข้อดีอันแรกคือ ไม่มีการอักเสบของแผล ถ้าเกิดแผลอักเสบจะออกรากช้ามาก ผมจึงเน้นการปล่อยให้สลายไปโดยธรรมชาติ เพราะเนื้อเยื่อแห้งโดยธรรมชาติของต้นไม้ทุกอย่างจะเกิดการดิ้นรน ความต้องการที่จะสร้างมาหุ้มใหม่ พอเราเอาเครื่องตอนไปหุ้มอย่างกะปิ ดิน อันนี้สังเกตได้ว่า บริเวณรอยแผลที่ควั่นด้านบนจะมีตุ่มเล็กออกมา

คุณวโรชา กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการใช้กะปินั้น ให้ใช้วิธีการป้าย โดยใช้ปริมาณนิดเดียว ที่ไม่ทาให้ทั่วเพราะความชื้นจากวัสดุที่หุ้มจะช่วยทําให้กะปิกระจายออกไปจนทั่ว จากนั้นให้ใช้ดินหุ้ม นิดเดียวเหมือนกัน เพื่อเป็นตัวกระตุ้นราก

“หลังจากวันที่ควั่น ประมาณ 22 วัน จะเห็นรากออกมา จากนั้นอีก 8 วัน รวมเป็น 30 วัน ในการตัดกิ่งให้นําไปชําในถุงดําก่อนจําหน่ายเป็นเวลา 2 อาทิตย์ “เพียงเท่านี้ก็จะมีกิ่งพันธุ์มะนาวจําหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยที่สวนวโรชาแห่งนี้จะจําหน่ายกิ่งตอนแบบตุ้ม กิ่งละ 150 บาท และกิ่งที่ชํา ในถุงดํา กิ่งละ 200 บาท”

หลายตำบลในอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ กลายเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากที่สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬเร่งหาวิธีแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าพื้นที่ศึกษาวิจัยในพืชที่สามารถปลูกเพื่อสร้างรายได้ในฤดูน้ำหลาก พบว่ามีพืชที่สามารถปลูกได้หลายชนิด แต่เพราะความเคยชินของเกษตรกรในพื้นที่ที่ประกอบอาชีพทำนา ทำให้การส่งเสริมเพื่อการเรียนรู้สำหรับเกษตรกรเป็นไปได้ไม่รวดเร็วนัก

แต่สำหรับคุณนรินทร์ ศรีวรษา เกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนามาตั้งแต่บรรพบุรุษ มีผืนนาตั้งอยู่บริเวณหมู่ 4 บ้านนาดงน้อย ตำบลนาดวง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากมาโดยตลอด กลับพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสเมื่อน้ำหลากเข้าท่วมผืนนา ไม่สามารถปลูกข้าวได้ตามปกติ