เห็ดร่างแห Dictyophora indusiata เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศ

เนื่องจากเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยามากมาย เช่น บำรุงร่างกาย บำรุงสมอง และลดความดัน เป็นต้น ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่มีการวิจัยพัฒนาเห็ดเยื่อไผ่มาเป็นเวลาหลายสิบปี จนสามารถผลิตเป็นการค้าได้เพียงประเทศเดียวในโลก เห็ดเยื่อไผ่นี้สามารถเติบโตได้เช่นกันในพื้นที่เขตร้อนชื้น เช่น เขตป่าไม้ไผ่ในประเทศไทย ซึ่งพบ มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงยาว เห็ดเยื่อไผ่กระโปรงสั้น เห็ดเยื่อไผ่สีชมพู และเห็ดเยื่อไผ่สีส้ม

อย่างไรก็ตามเห็ดนี้ยังพบตามธรรมชาติได้น้อย ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการศึกษาวิจัยการเพาะปลูกรวมถึงสรรพคุณของเห็ดเยื่อไผ่ เพื่อให้ผู้บริโภคและนักวิจัยได้เข้าใจถึงเห็ดเยื่อไผ่มากขึ้น โดยมีรายงานว่าคุณค่าทางโภชนาการและสรรพคุณทางทางยาของเห็ดเยื่อไผ่นี้ขึ้นกับสายพันธุ์ และจากสรรพคุณทางยาและความนิยมบริโภคที่มากขึ้นทำให้เห็ดเยื่อไผ่กลายเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดที่ได้กำลังรับความสนใจเพาะเลี้ยงในปัจจุบัน

ดร. วรวิกัลยา กล่าวอีกว่า ทีมงานของ ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา ประสบความสำเร็จในหาวิธีการเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาวรวมถึงวิธีการเก็บรักษาและการดูแลหลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งได้ทำงานวิจัยร่วมกับทีมงานนักวิจัยของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน มาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2559 โดยเก็บตัวอย่างเห็ดเยื่อไผ่แบบตูมมาจากแปลงวิจัยในเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้วและนครราชสีมาเพื่อทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่ ในห้องปฏิบัติการแสงสยาม

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน พบว่า เห็ดเยื่อไผ่ มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีโปรตีนร้อยละ 20 ไขมันร้อยละ 4-5 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 40-50 กรดอะมิโนมากกว่า 14 ชนิด และวิตามินอีกหลายชนิด ซึ่งเห็ดเยื่อไผ่นี้มีโปรตีนสูงกว่าเห็ดอื่นๆ เช่น เห็ดโคนมีโปรตีนร้อยละ 4.2 เห็ดฟางร้อยละ 3.4 เห็ดหอมสดร้อยละ 2.2 และเห็ดหูหนูร้อยละ 1.4 เป็นต้น ซึ่งเหมาะกับการนำมาบริโภคเป็นโปรตีนที่ทดแทนเนื้อสัตว์ได้ดังกล่าว

นอกจากคุณค่าทางโภชนาการ ในแต่ละส่วนของเห็ดเยื่อไผ่ยังมีสารสำคัญและฤทธิ์ทางชีวภาพที่แตกต่างกันไปโดยในส่วนปลอกหุ้มดอกและหมวกดอกจะมีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูง สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดกระบวนการออกซิเดชั่นได้หลายรูปแบบ ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังได้อย่างหลากหลาย เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคสมอง เป็นต้น

เมือกหุ้มดอกเห็ด มีลักษณะเป็นเจลเข้มข้นที่อุดมไปด้วยกรดไฮยาลูรอนิค (Hyaluronic Acid) และอัลลันโทอิน (Allantoin) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดการระคายเคืองของผิว เพิ่มความชุ่มชื้นฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ และยังพบกรดกลูโคนิค (Gluconic Acid) ที่สามารถเร่งการผลัดเซลล์ผิวที่ชั้นผิวหนังกำพร้า จะเสริมการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ซึ่งทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น นุ่มนวล มีความยืดหยุ่นดี ลดริ้วรอยและช่วยเติมเต็มผิวที่หย่อนคล้อย

สารอัลลันโทอินจากเห็ดเยื่อไผ่นี้เป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในเมือกหอยทาก แต่จะมีความบริสุทธิ์และสามารถเก็บเกี่ยวได้ง่ายกว่า ส่วนลำต้นและกระโปรงนั้น อุดมไปด้วยสารพอลิแซคคาไรด์พวกเบต้ากลูแคน (β-glucan) ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ทั้งกระตุ้นและเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ลำต้นเห็ดเยื่อไผ่ ยังพบสารดิกทิโอฟอรีน เอ และบี (Dictyophorines A and B) ซึ่งเป็นสารที่พบยากมากในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบ ยับยั้งมะเร็ง และ ยังเป็นสารที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ประสาท และป้องกันโรคสมองเสื่อมนอกจากนั้นสปอร์เชื้อรา สีน้ำตาลเขียวขี้ม้า ที่มีกลิ่นค่อนข้างเหม็น ทีมวิจัย พบว่า มีสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) อยู่ในปริมาณสูงและพบสารสำคัญที่สามารถนำไปทำยาโด๊ปได้

ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา กล่าวเสริมว่า จากการศึกษาพบว่า เห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์จีนกระโปรงยาวสีขาว อุดมไปด้วยสารสำคัญมากมายเหมาะสำหรับการนำไปเป็นวัตถุดิบเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ทั้งในวงการอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และรวมถึงวงการผลิตภัณฑ์เวชสำอางที่สามารถพัฒนาให้มีคุณสมบัติทัดเทียมกับเยื่อเมือกหอยทาก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเห็ดเยื่อไผ่อีกด้วย โดยประโยชน์ดังกล่าวสอดรับกับกระแสรักษ์โลกและรักสุขภาพที่กำลังได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลก

“ทีมงานจะต่อยอดงานวิจัยดังกล่าว ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเห็ดได้อย่างแท้จริง โดยขณะนี้ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ได้เพาะเลี้ยงเห็ดเยื้อไผ่เพื่อเป็นต้นแบบไว้เป็นจำนวนมาก และเตรียมสร้างเครือข่ายเกษตรกรผู้เพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่แห่งประเทศไทย และนำเสนอต่อ “ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์” ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ที่จะทำแปลงเพาะปลูกเห็ดเยื่อไผ่ให้มีผลผลิตสูง เพื่อรองรับการผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารเสริม และรวมถึงเวชสำอาง ที่นักวิจัยกำลังทดลอง คาดว่า อีก 1 ปีจะมีผลิตภัณฑ์จากเห็ดเยื่อไผ่ โดยทีมนักวิจัยนี้แน่นอน” ดร.วรวิกัลยา กล่าวโดยสรุป

ความสำเร็จของการปลูกพืช ไม้ผลเพื่อให้ได้คุณภาพต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม กระบวนการปลูกที่ถูกต้อง การดูแลใส่ปุ๋ย และสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของแมลงศัตรูและโรคพืช

มะพร้าวก็ไม่ต่างกันที่จะต้องให้ความสำคัญกับทุกปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำคัญของมะพร้าวในฐานะพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ จึงยิ่งต้องใส่ใจกันให้มาก ทั้งนี้ ปัจจัยของมะพร้าวที่สร้างปัญหากับผลผลิตมากที่สุดในเวลานี้คือแมลงศัตรู ที่เข้าโจมตีผลผลิตมะพร้าวไปหลายพื้นที่ จนทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าว รวมทั้งยังไม่ต้องการให้กระทบกับรายได้ของประเทศ

กรมวิชาการเกษตร ถือเป็นหน่วยงานหลักที่เป็นกำลังสำคัญกับการวางแผนต่อสู้กับศัตรูมะพร้าวในครั้งนี้ ถึงกับต้องบูรณาการทุกภาคส่วนของทุกพื้นที่เพื่อผนึกกำลังหาทางปราบศัตรูของมะพร้าวที่มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด

ในงานสัมมนา “มะพร้าว…พืชเศรษฐกิจทำเงิน” ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องแมลงศัตรูพืช จึงได้เชิญ คุณสุเทพ สหายา นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร มาให้ความรู้ ตลอดถึงแนวทางการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และศัตรูอื่นๆ ให้ได้ผลมะพร้าวเพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพันธุ์ วิธีปลูก การบริหารจัดการที่ประกอบด้วยเรื่องดิน น้ำ และปุ๋ย แต่อีกปัจจัยที่สร้างปัญหาต่อการปลูกมะพร้าวจนทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามเป้า แล้วจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากแมลงศัตรูพืช

อาจสรุปให้ได้เห็นชัดถึงประเภทของแมลงศัตรูพืชว่ามีอะไรบ้าง โดยสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ 2 กลุ่มหลัก คืออย่างแรกแมลงศัตรูประเภทปากดูด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย (ซึ่งบ้านเรายังโชคดีกว่าฟิลิปปินส์ที่โดนโจมตีอย่างรุนแรงจนต้นมะพร้าวยืนต้นตาย) และแมลงหวี่ขาว ที่มักพบได้ในพืชตระกูลมะพร้าวและปาล์ม

ส่วนอย่างที่สองเป็นแมลงศัตรูจำพวกใช้ปากกัด ซึ่งได้แก่หนอนชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนอนหัวดำ แมลงผีเสื้อ ด้วงแรด และด้วงงวง

อย่างผลมะพร้าวที่นำมาโชว์ในงานคราวนี้พบว่ามีเพลี้ยแป้งอยู่จำนวนหนึ่ง แล้วหากเพลี้ยแป้งเหล่านี้หลุดเล็ดลอดออกไประบาดอยู่ในบริเวณนี้ ก็อาจสร้างความเดือดร้อนให้แก่พืชชนิดอื่นได้เช่นกัน ฉะนั้น จึงเป็นความจริงอย่างหนึ่งว่าสาเหตุการระบาดของแมลงศัตรูที่กระจายไปในสถานที่ต่างๆ มาจากฝีมือของมนุษย์ด้วยเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้การเคลื่อนย้ายพืชจึงจำเป็นต้องใช้ความระมัดระวัง ถ้ามะพร้าวจากบ้านแพ้วไปยังหนองคายหรืออุดรธานีด้วยการขนส่งก็อาจนำจากศัตรูพืชจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งโดยไม่ทันได้คิดหรือระวัง และตัวอย่างนี้เห็นได้ชัดจากหนอนหัวดำ ที่ไม่ได้เป็นศัตรูในบ้านเรา แต่ติดมากับคนที่นำพืชเข้ามา จนทุกวันนี้ระบาดอย่างรุนแรง

แมลงศัตรูอีกชนิดหนึ่งคือด้วงแรด ทั้งนี้ ด้วงแรดมักชอบเจาะที่คอของต้นมะพร้าวขนาดเล็ก แล้วหากเกิดการระบาดของด้วงแรดเมื่อไรจะพบเห็นรอยแผลที่คอมะพร้าว ซึ่งอาจมีด้วงงวงมาคอยวางไข่ซ้ำแล้วจะนำไข่ไปวางไว้ที่รูซึ่งด้วงแรดเจาะไว้แล้ว หากเป็นเช่นนั้นแล้วทำให้มะพร้าวมียอดด้วนยืนต้นตาย ด้วยเหตุนี้การจัดการด้วงงวงให้สำเร็จจะต้องไปจัดการตัดวงจรด้วงแรดให้ได้เสียก่อน

การจัดการด้วงแรดอาจใช้วิธีทำเป็นกองล่อ โดยแนะนำให้ทำกองล่อรวมกันทั้งชุมชนหรือตำบลได้ยิ่งดี เพราะหากพื้นที่ส่วนใดรกก็อาจเป็นแหล่งเพาะตัวของด้วงแรดได้อย่างง่าย แล้วขอย้ำว่าควรจะต้องจัดการกับด้วงแรดเสียก่อน แล้วด้วงงวงจะกำจัดได้ไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม หากพบเห็นการระบาดของด้วงแรด ต้องรีบจัดการตัดใบทิ้งทันทีแล้วนำมาเผาทำลาย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เพราะถ้าป้องกันไม่ทันโอกาสที่ต้นมะพร้าวจะเจริญเติบโตคงไม่มีแล้ว

“มีกรณีที่เคยพบทางภาคใต้ที่มักปลูกปาล์มน้ำมันแล้วมีการระบาดของด้วงแรด เมื่อได้ลงพื้นที่ไปตรวจสอบพบว่ามีการนำเศษขยะจำนวนมากไปกองสุมไว้ในสวนมะพร้าวก็ทำให้เป็นแหล่งวางไข่ของด้วงอย่างดี เมื่อไปขุดในกองขยะดังกล่าวพบหนอนนับพันตัว ซึ่งกองขยะที่พบเห็นมีเพียงขนาด 2 ตารางเมตรเท่านั้น ยังพบมากเท่านี้ แล้วถ้าจำนวนหลายกองหรือมีหลายแห่งในสวนอาจก่อให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็วจนกำจัดไม่ทัน”

ฉะนั้น ถ้าต้องการปลูกมะพร้าวอย่างมีคุณภาพสิ่งแรกที่ต้องทำคืออย่าให้สวนรก ขณะเดียวกัน ควรทำสวนให้มีความสะอาด มีระเบียบ แต่ไม่ใช่นานๆ ค่อยสะสาง ควรทำบ่อยๆ แล้วควรแยกกองขยะกับกองล่อออกจากกัน เนื่องจากมีความต่างในวิธีการ ทั้งนี้ ใครสนใจเรื่องกองล่อติดต่อสอบถามได้ที่ทางกรมวิชาการเกษตร

“หนอนหัวดำมะพร้าว” ซึ่งเป็นแมลงศัตรูต่างถิ่น ที่เข้ามาสร้างความเสียหายให้แก่สวนมะพร้าวในประเทศไทยเมื่อปี 2550 และขณะนี้ได้ระบาดทั่วประเทศในบริเวณกว้าง โดยมี 29 จังหวัดที่ได้รับความรุนแรง อีกทั้งยังมีการระบาดไปยังสวนปาล์มหลายแห่งด้วย

ที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือไม่ได้สร้างความเสียหายเฉพาะใบ แต่ได้ลุกลามไปกินผลด้วย ดังนั้น ใครที่ขนย้ายผลมะพร้าวเข้าไปในพื้นที่ก็อาจจะติดไปด้วย นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลพบว่าเจอในอินทผลัมด้วย หรือต้นตาลโตนดแถบอีสานที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา พบว่าเจอหนอนหัวดำในต้นตาลโตนดจำนวนมาก

“ถ้าสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้นับว่าอันตรายมากถึงแม้จะแก้ไขด้วยการใช้แตนเบียนปราบแต่ก็ไม่เพียงพอกับจำนวนหนอนหัวดำที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้น ต้องขอความร่วมมือทุกท่านต้องช่วยกันดูแลในแปลงของท่านแล้วหากพบต้องรีบกำจัดทันที อยากบอกว่าควรมีการรวมกลุ่มกันในทุกชุมชนเพื่อเลี้ยงแตนเบียนให้มีจำนวนมากเพียงพอที่จะปราบหนอนหัวดำ”

ขณะเดียวกัน ได้มีความพยายามวิจัยหาสารเคมีเพื่อใช้ปราบหนอนหัวดำ โดยมีการค้นหาสูตรที่มีคุณสมบัติกำจัดแมลงหนอนหัวดำได้ แล้วได้นำสารจำนวนกว่า 40 ชนิดมาทดสอบ จนพบว่าสาร “อีมาเมกตินเบนโซเอต” เป็นสารที่ไม่เกิดอันตรายต่อมนุษย์

โดยใช้วิธีฉีดเข้าไปที่ต้นมะพร้าว อีกทั้งจะต้องไม่มีการตกค้างอยู่ในส่วนใดของต้นมะพร้าว แต่ไม่แนะนำในต้นมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวน้ำตาล เพราะอ่อนไหวต่อตลาดผู้บริโภค ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วถ้ามองในแง่โครงสร้างมะพร้าวจะพบว่ามะพร้าวเป็นพืชที่ทนและแข็งแรงยากที่จะมีสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าไปได้ง่าย

สำหรับมะพร้าวน้ำหอมและมะพร้าวสำหรับใช้ผลิตน้ำตาลที่มีต้นต่ำกว่า 12 เมตร อยากแนะนำให้พ่นทางใบแล้วฉีดพ่นด้วยสารชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในพืชผักทั่วไป เพราะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคอยู่แล้ว อีกทั้งยังไม่สามารถซึมเข้าไปที่ผลมะพร้าวได้ เนื่องจากมะพร้าวมีเปลือกหนามาก แล้วยังมีกะลาที่แข็งแกร่งอยู่ชั้นในด้วย

ส่วนแมลงดำหนามจะระบาดเฉพาะส่วนยอดของมะพร้าว และบริเวณผิวใบที่กำลังจะคลี่ออกมา จนทำให้ยอดแห้งที่เรียกกันว่ามะพร้าวหัวหงอก วิธีการป้องกันและกำจัดด้วยการใช้แตนเบียน ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่จะไม่แนะนำให้ใช้สารเคมี แต่จะใช้วิธีผสมผสานจากเบาไปหาหนัก ซึ่งถ้าระบาดไม่มากเพียงตัดใบและเผาทิ้ง พร้อมกับปล่อยแตนเบียนเท่านั้นก็สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าระบาดหนักจึงต้องใช้สารเคมีโดยการควบคุมของเจ้าหน้าที่

หรืออาจใช้สารเคมีราดที่บริเวณยอดในมะพร้าวต้นเตี้ยซึ่งวิธีนี้ใช้ในกรณีที่หาแตนเบียนไม่ได้ หรืออาจนำสารเคมีที่ใช้สำหรับหว่านในนาข้าวมาใส่ในถุงผ้าแล้วนำไปเสียบไว้ที่ยอด โดยสารจะค่อยๆ ซึมลงไปที่ยอดมะพร้าว ก็เป็นแนวทางที่จะช่วยกัน ทั้งนี้ ที่ฟิลิปปินส์ก็ทำเช่นเดียวกับของไทยในแนวผสมผสาน

อีกปัญหาที่เป็นศัตรูของพืชตัวล่าสุดคือไรศัตรูพืช ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มเข้ามาระบาดในบ้านเราแล้ว ซึ่งถ้าระบาดในมะพร้าวผลเล็กจะร่วงทันที ขณะนี้พบว่าเป็นประเภทไรสี่ขาและไรขาวพริก ดังนั้น จึงต้องเฝ้าสังเกตอย่างใกล้ชิด แล้วถ้าเห็นท่าไม่ดีต้องรับแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบทันที

“สำหรับท่านที่ปลูกมะพร้าวอยู่แล้วหรือกำลังจะเริ่มปลูก หากได้เจอกับเรื่องราวแปลกๆ ที่คิดว่าไม่เคยรับรู้มาก่อน ก็สามารถส่งข้อมูล ถ่ายรูป เข้ามาสอบถามได้ที่ทางกรมวิชาการเกษตร เพราะจะได้ช่วยกันแก้ไข หรือให้ความรู้ ความเข้าใจได้ก่อนที่จะเกิดความเสียหายตามมา” คุณสุเทพ กล่าว

การสัมมนา “มะพร้าว…พืชเศรษฐกิจทำเงิน” ในช่วงแรกซึ่งกำหนดประเด็นในกรอบเรื่องของพันธุ์ การผลิต และการป้องกันกำจัดศัตรูมะพร้าว โดยวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ในสาระสำคัญต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์มะพร้าวในไทยและต่างประเทศ, วิธีคัดพันธุ์มะพร้าว โดยใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ, ปลูกมะพร้าวน้ำหอมให้ได้คุณภาพส่งออก, ปลูกมะพร้าวแกงอย่างมืออาชีพ และเรื่องสุดท้ายคือแนวทางการกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าวและศัตรูอื่นให้ได้ผล นับเป็นสาระที่ครบถ้วน

คราวหน้าจะเป็นเรื่องของการแปรรูป และการตลาด ในรูปแบบต่างๆ ทั้งความสำคัญของมะพร้าวในครัวเรือน การสร้างนวัตกรรมจากมะพร้าวที่เป็นขนม เครื่องดื่ม ฯลฯ โดยมีท่านวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทธุรกิจชั้นนำมาร่วมบรรยาย พร้อมกับถ่ายทอดประสบการณ์จริง ฉะนั้น ไม่ควรพลาดที่จะติดตามอ่านให้ได้ในครั้งต่อไป

“กลุ่มมิตรผล” ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืนติดต่อกัน 2 ปี จาก Bonsucro องค์กรระดับโลกที่มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยทั่วโลกอย่างยั่งยืน ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม นับว่า “กลุ่มมิตรผล” เป็นองค์กรแรกในประเทศไทยที่คว้ารางวัลนี้มาครอง และเป็นประเทศ อันดับ 5 ของในโลกที่ได้รับมาตรฐานดังกล่าว

“มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” พัฒนาไร่อ้อยแบบยั่งยืน คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า ปัญหาสำคัญของการทำไร่อ้อยก็คือ เกษตรกรต่างคนต่างทำ การขาดแคลนแรงงานในการตัดอ้อย ทำให้ต้นทุนสูง มิตรผลจึงเข้าไปส่งเสริมองค์ความรู้ให้เกษตรกรไร่อ้อยหนองแซง พร้อมแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหา ช่วยประสานให้เกิดการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนกันในด้านทรัพยากรและแรงงาน

มิตรผลใช้หลักการจัดการตามแบบเกษตรสมัยใหม่ เรียกว่า “มิตรผล โมเดิร์นฟาร์ม” เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน สร้างวิถีการทำไร่อ้อยแบบยั่งยืน เริ่มดำเนินการจากเปลี่ยนแนวคิดการทำไร่อ้อยของเกษตรกร ให้เกิดความถูกต้องทั้งด้านวิชาการ ทั้งจากแปลงสาธิต และศึกษาจากผู้ประสบความสำเร็จมาแล้ว การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อย่างระบบฟาร์มอัจฉริยะเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องจักรขนาดใหญ่ ระบบการบริหารจัดการน้ำในไร่เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อย และเป็นการสร้างวิถีของการทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน”

ทั้งนี้ มิตรผลได้สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มดำเนินงานการเก็บเกี่ยวอ้อย ตามลักษณะกลุ่มงาน เป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มรถตัดเป็นแกน ร่วมด้วยกลุ่มรถกล่อง, กลุ่มรถไถ, กลุ่มวีแนส และกลุ่มอ้อยมัด พร้อมจัดตั้ง Sugarcane Logistics Control Center ใช้สัญญาณดาวเทียม GPS ควบคุมและติดตามรถตัดและรถบรรทุกอ้อย แจ้งคิวรถตัดและออกใบสั่งตัดอ้อยแบบออนไลน์ พร้อมรายงานปริมาณอ้อยของรถบรรทุก และรายงานระยะการขนส่งอ้อยตัดสดจากแปลงเข้าสู่โรงงาน (Cut to Crush) อย่างสม่ำเสมอ ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวไร่อ้อยของเกษตรกรชาวไร่อ้อย กลายเป็น “หนองแซงโมเดล” สร้างรายได้ที่ดีให้กับเกษตรกรจากการพัฒนาคุณภาพและปริมาณของผลผลิต รักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอย่างยั่งยืน

กว่าจะเป็น “หนองแซงโมเดล”

ทุกวันนี้ “หมู่บ้านหนองแซง” จังหวัดชัยภูมิ นับเป็นหนึ่งในต้นแบบหมู่บ้านอ้อยยั่งยืนแห่งแรกที่มีวิธีการบริหารจัดการไร่อ้อยแบบเกษตรสมัยใหม่และนวัตกรรมการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ได้อ้อยสดสะอาด คุณภาพดี ปริมาณกว่า 100,000 ตัน ต่อปี นับเป็นการพัฒนาการทำไร่อ้อยอย่างยั่งยืนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน จนผ่านการรับรองมาตรฐานโลกจาก Bonsucro ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในความภาคภูมิใจของกลุ่มมิตรผลและชุมชนบ้านหนองแซงที่สามารถยกระดับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยให้เทียบเท่าระดับสากล

คุณพิมล สุภาพเพชร เกษตรกรชาวไร่อ้อยหนองแซง กลุ่มรถตัดอ้อย CH 28 เล่าว่า ในอดีตคนทำไร่อ้อยเจอกับสารพัดปัญหา ได้แก่ ปัญหาแรงงานหายาก ถูกโกงค่าแรง ถูกลักลอบเผาอ้อย พื้นที่ถือครองมีน้อย ตัดอ้อยไม่เสร็จตามกำหนดเวลา สภาวะความแห้งแล้ง ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง

เกษตรกรในชุมชนหนองแซงจึงร่วมมือกับกลุ่มมิตรผล เพื่อปฏิวัติแนวคิดจากต่างคนต่างทำ สู่การรวมกลุ่มกันทำ บนหลักการ รวมคน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับ “ร่วมอยู่…ร่วมเจริญ” โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ที่ใช้หลักการจัดการตามแบบเกษตรสมัยใหม่และมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม เรื่องการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน รวมถึงการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร เข้ามาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว พร้อมด้วยแนวทางการทำไร่อ้อยแบบยั่งยืนตามมาตรฐานระดับโลก Bonsucro “ผนึกพลัง ประสานความต่าง เพื่อความยั่งยืน” จนพัฒนาเป็น “หนองแซงโมเดล”

หลักการดำเนินงาน

เปลี่ยนแนวคิดการทำไร่อ้อย ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำไร่อย่างถูกต้องตรงกัน และจัดให้มีการประชุมกลุ่มชาวไร่ เดือนละ 2 ครั้ง เพื่ออบรมให้ความรู้ทางด้านวิชาการ จัดการศึกษาดูงานจากแปลงสาธิต และแลกเปลี่ยนความเห็นจากผู้ประสบความสำเร็จ
คัดเลือกกลุ่มการดำเนินงาน เพื่อดำเนินการเรื่องการตัดอ้อยให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด ด้วยการแบ่งกลุ่มงานออกเป็นกลุ่มเจ้าของรถตัดที่เป็นแกนหลักของกลุ่ม ร่วมด้วย กลุ่มรถกล่อง, กลุ่มรถไถเตรียมดิน, กลุ่มรถวีแนส และ กลุ่มอ้อยมัด
ขั้นตอนการดำเนินงาน

กลุ่มเจ้าของรถตัด – มีรถไถเตรียมดินปลูก พร้อมแปลงสาธิต เพื่อการเรียนรู้ คนขับรถตัด 2 คน และรถกล่อง 2 ตัน มีปริมาณอ้อยเพื่อการตัดมากกว่า 4,000 ตัน พร้อมทายาทในการสานต่อ

กลุ่มที่เข้าร่วม – มี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มรถกล่อง กลุ่มรถไถเตรียมดิน กลุ่มรถวีแนส และกลุ่มอ้อยมัด

การจัดตั้ง Sugarcane Logistics Control Center – เพื่อแจ้งคิวรถตัดและออกใบสั่งตัดอ้อยในรูปแบบออนไลน์ ที่มีการใช้สัญญาณ GPS เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการตัดอ้อยในการควบคุมและติดตามรถตัดและรถบรรทุกอ้อย ให้เกิดความแม่นยำ รวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน เกิดความเข้าใจถูกต้องในการทำงานตรงกันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และได้มาตรฐานการทำงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

รายงานปริมาณอ้อยของรถบรรทุก – เพื่อให้ทราบว่าเจ้าของรถบรรทุกแต่ละคันสามารถขนปริมาณอ้อยสะสมทั้งฤดูกาลได้ทั้งหมดกี่ตัน ได้ปริมาณเฉลี่ยทั้งหมดกี่ตันต่อเที่ยว จำนวนเที่ยวที่บรรทุกทั้งหมดกี่เที่ยว จะได้ทราบผลงานโดยรวม และจุดที่จะต้องแก้ไขในการใช้งานรถบรรทุกอ้อยที่ยังไม่ได้ประสิทธิภาพเต็มที่ทันที

รายงานระยะการขนส่งอ้อยตัดสดจากแปลงเข้าสู่โรงงาน (Cut to Crush) – เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับปรุงเวลาในการตัดอ้อยเพื่อเข้าสู่โรงงานให้ดีขึ้น

ผลการดำเนินงาน

คุณพิมล กล่าวว่า ปัจจุบัน ชุมชนบ้านหนองแซง ตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาเรื่องการเก็บเกี่ยวอ้อยได้อย่างน่าภาคภูมิใจ โดยสามารถตัดอ้อยจากปริมาณพื้นที่เป้าหมายได้สูงถึง 98% (พื้นที่เป้าหมาย 16,660 ไร่ พื้นที่ที่ตัดได้ 16,330 ไร่) มีปริมาณอ้อยสด สะอาดกว่า 100,000 ตัน ต่อปี

ส่งผลทำให้ทางกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 42.3 ล้านบาท ประกอบด้วยรายได้จากกลุ่มรถตัด 20.9 ล้านบาท กลุ่มรถวีแนส 4.5 ล้านบาท กลุ่มรถไถ 5.3 ล้านบาท และกลุ่มรถกล่อง 11.6 ล้านบาท นอกจากนี้ ทำให้ชุมชนของเรามีพื้นที่ทำไร่อ้อยบนมาตรฐาน Bonsucro กว่า 5,000 ไร่ พร้อมตั้งเป้าขยายให้ครบพื้นที่ทั้งหมด 13,000 ไร่ หรือ 100% และมีการใช้รถตัด 100% ภายในปี 2562

“ความสำเร็จในวันนี้ไม่ได้เกิดจากความบังเอิญ แต่เกิดจากการปฏิวัติของชาวไร่อ้อยหนองแซงที่มารวมคน ร่วมกันคิด และร่วมกันทำ พร้อมการสนับสนุนจากโรงงานมิตรผลให้ใช้หลักเกษตรสมัยใหม่มาแก้วิกฤติการเก็บเกี่ยวไร่อ้อย จนสามารถจัดการทรัพยากรได้ดีขึ้น ผลผลิตดีขึ้น พร้อมการสนับสนุนด้านความรู้ การนำอุปกรณ์เครื่องจักร และเทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาการเก็บเกี่ยวไร่อ้อยอย่างเป็นระบบ ลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ลดการขาดทุน รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยปัจจุบัน สามารถสร้างรายได้ในกลุ่มกว่า 40 ล้านบาท ต่อปี มีปริมาณอ้อยสดสะอาดกว่า 100,000 ตัน ต่อปี” คุณพิมล กล่าว

ปัจจุบัน หนองแซงโมเดล กลายเป็นต้นแบบหมู่บ้านสดสะอาด มาตรฐานระดับโลก เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ที่จะกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษางานการทำไร่และเก็บเกี่ยวอ้อยที่มีประสิทธิภาพสำหรับเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ

ทุกครั้งที่เดินทางไปต่างจังหวัด และมีโอกาสพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ๆ

ผมรู้สึกว่าทำไมตอนที่เราอายุเท่าเขาจึงไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้เลย โดยเฉพาะช่วงเรียนมหาลัย

มัวแต่เรียนหนังสืออย่างจริงจังบ้าง ไม่จริงบ้าง

ทำกิจกรรมบ้าง

ดูหนัง ละคร ฟังเพลงไปเรื่อยเปื่อย เพราะสมัยผมมักจะมีเทศกาลหนังของประเทศต่างๆ มาฉายให้ดูฟรีอยู่บ่อยครั้ง ส่วนละคร พรรคพวกเพื่อนฝูงหลายคนอยู่ในวงการละครเวทีอยู่แล้ว ก็เลยมีโอกาสติดสอยห้อยตามดูฟรีอยู่บ่อยๆ

ซึ่งเหมือนกับดนตรี คาราวาน, คีตาญชลี, คนด่านเกวียน ไปเล่นที่มหาžลัยไหน ผมมักจะไปฟังฟรีบ่อยๆ เช่นกัน เพราะนักศึกษาที่ทำกิจกรรมของแต่ละมหาžลัยมักคุ้นหน้าคุ้นตากัน

ถ้าจะเสียเงินจริงๆ คงเป็นหนังสือนั่นแหละที่ต้องซื้อเอง

แต่ก็ต้องแลกกับการอดมื้อกินมื้ออยู่บ้าง ซึ่งผมก็ยอมทุกเดือน เพื่อจะได้อ่านวรรณกรรมชั้นดีจากต่างประเทศบ้าง ในประเทศบ้าง จนทำให้ผมคิดต่อมาในระยะหลังๆ ว่า…ไม่รู้นิสิต นักศึกษาสมัยนี้

เขาเป็นอย่างเราบ้างหรือไม่

อาจจะเป็นก็ได้

หรือไม่เป็นก็ได้

เพราะทุกอย่างอยู่ในสมาร์ทโฟนหมดแล้ว คงเหมือนกับที่ผมไปเจอน้องคนหนึ่งที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังแถวกล้วยน้ำไท ที่ตอนหลังมาเปิดวิทยาเขตแถวรังสิต

เขาเรียนอยู่ปี 4

แต่เริ่มทำธุรกิจจริงๆ ตั้งแต่ตอนอยู่ ม.6 ตอนนั้นเป็นการลองผิดลองถูก จนเมื่อเขามาเรียนหนังสือที่เกี่ยวกับหลักสูตรการเป็นเจ้าของธุรกิจแต่เยาว์วัย ก็ทำให้มุมมองของเขาแจ่มชัดขึ้น

เพราะเขาต้องเสนอโครงการให้อาจารย์ทราบก่อน

ฟังแรกๆ ผมคิดว่าคงเป็นแค่โครงการเล็กๆ ขายเสื้อยืด ตุ๊กตา ขายของแฟชั่นออนไลน์ตามที่คนรุ่นใหม่ชอบทำ เพราะไม่ได้ใช้ทุนรอนมากมาย แต่พอคุยกับเขา จึงทราบความจริงว่า…โปรเจ็กต์ที่เสนออาจารย์คือการทำไร่กาแฟขี้ชะมด

บนเนื้อที่กว่า 400 ไร่

โดยเขาแบ่งพื้นที่ออกเป็นเฟสๆ แต่ละเฟสถูกออกแบบแตกต่างออกไป พื้นที่ปลูกกาแฟคือพื้นที่ใหญ่ที่สุด ต่อจากนั้น เขาจะสร้างอาคารโอท็อป

เพื่อให้ชาวบ้านนำผลิตผลอินทรีย์ในหมู่บ้านมาขาย โดยไม่คิดค่าเช่า

ส่วนที่เหลือบางส่วนจะทำสวนสัตว์

มีกิจกรรมขี่ม้า นั่งรถม้าให้เด็กๆ นั่งด้วย

พร้อมกันนั้น เขาจะปลูกดอกไม้นานาชนิดเพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูป มีลานกิจกรรมต่างๆ ที่สำคัญ เขามีความเชื่อมโยงกับบ้าน วัด โรงเรียน (บวร)

เพราะพื้นที่แถบนี้คือแหล่งอารยธรรมโบราณเก่าแก่ของชุมชนเผ่าไทโส้ ดังนั้น ประเพณีวัฒนธรรมเก่าๆ จึงถูกซ่อนตัวอยู่ โดยผ่านการแต่งกาย

การร้องรำทำเพลง ภาษาพูด และการสืบสานพระศาสนา

โดยมีประชาชนในชุมชนทั้งหมดมีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน เพราะต้องการพัฒนาหมู่บ้านของเขาให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัด

คงอยากรู้แล้วสิครับว่าผมกำลังพูดถึงที่ไหน?

หมู่บ้านโพนสวรรค์ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ครับ ที่นี่นอกจากจะเป็นที่ตั้งของ ไร่กาแฟขี้ชะมดบลูโกลด์ (Blue Gold) ที่มีชื่อเสียงของอำเภอ หากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ล้วนเกิดขึ้นจากความรักในการทำธุรกิจของ “ เฟลม ” เกียรติศักดิ์ คำวงษา ซึ่งกำลังจะสำเร็จการศึกษาในปีนี้

เพราะเด็กๆ เขาเคยช่วยพ่อแม่ทำธุรกิจก่อสร้างมาก่อน

เขารู้ถึงความลำบาก และความยากจนดี โดยเฉพาะเมื่อพ่อเขาต้องจากไปตอนที่เฟลมอายุเพียง 10 กว่าขวบ กอปรกับแม่มีหนี้สินติดตัวจากการทำโครงการก่อสร้างกว่า 50 ล้านบาท

ตอนนั้นน้องสาวเขายังเล็กมาก

เขากับแม่จึงต้องช่วยกันปลดหนี้สินก้อนโตนี้ให้ได้ และที่สุด เขาใช้เวลาเพียง 3 ปีจึงชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ ก่อนที่จะหันไปทดลองทำธุรกิจที่แตกต่าง

เฟลมเชื่อว่าการทำธุรกิจอะไรก็แล้วแต่ ต้องมีความแตกต่างจากธุรกิจทั่วไป และถ้าจะให้ดี ควรทำธุรกิจพรีเมียม

เขาเสิร์ชหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต จนที่สุดจึงพบว่ากาแฟขี้ชะมดเป็นกาแฟแพงที่สุดในโลก นอกเหนือจากอินโดนีเซียและเวียดนามที่เป็นแหล่งเพาะปลูกใหญ่ที่สุดของโลกแล้ว ประเทศไทยยังไม่มีใครทำจริงจัง

เฟลมจึงลงมือศึกษาเรื่องนี้อย่างเป็นจริงเป็นจัง พร้อมๆ กับทดลองปลูกกาแฟโรบัสต้า และเลี้ยงชะมดไปพร้อมๆ กันบนที่ดินของเพื่อนแม่ประมาณ 10 ไร่ใน จ.เลย

ปรากฏว่าเป็นไปตามสิ่งที่เขาคาดการณ์

ที่สุดเขาจึงเริ่มปลูกกาแฟขี้ชะมดอย่างจริงจังบนที่ดินของคุณตาที่โพนสวรรค์ เพราะที่นี่นอกจากจะมีชะมดซึ่งเป็นสัตว์พื้นบ้านอยู่แล้ว เขายังเลี้ยงระบบเปิด โดยปล่อยให้ชะมดอยู่กินกันอย่างธรรมชาติ

จนที่สุดผลผลิตใน 1 ปีที่เขาทำเริ่มออกดอกออกผล เพราะกาแฟขี้ชะมดขายได้กิโลกรัมละ 50,000-100,000 บาท เพียงแต่ตอนแรกที่ดินยังไม่มากเท่านี้ เขามาซื้อเพิ่มภายหลัง กระทั่งเป็น 400 ไร่ในปัจจุบัน

ตอนนี้เฟลมไม่เพียงเปิดร้านกาแฟภายในไร่ เขายังต่อยอดและสร้าง

แบรนด์บลูโกลด์ จนเริ่มเป็นที่รู้จักสำหรับคอกาแฟขี้ชะมดไปแล้ว

ทั้งยังมีร้านกาแฟขี้ชะมดบลูโกลด์ แถวซอยประดิษฐ์มนูธรรม 15 แขวงลาดพร้าว ในมหานครกรุงเทพอีกด้วย

สำคัญไปกว่านั้น เขายังพัฒนากาแฟขี้ชะมดออกเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ทั้งในรูปแบบบรรจุซองในกล่องเล็กๆ, กล่องพรีเมียม พร้อมชุดชงกาแฟ, กาแฟขวดขี้ชะมด, สบู่ขี้ชะมด และอื่นๆ อีกมากมายที่จะตามมา

ผมฟังเขาเล่า

เห็นในสิ่งที่เขาทำ

และความมุ่งมั่นที่สัมผัสได้ของเขา เว็บบาคาร่าออนไลน์ ผมก็รู้ในบัดนั้นว่าเด็กหนุ่มคนนี้ไม่ธรรมดาเลย อายุเพียง 22 ปี แต่มีความกระหายในความสำเร็จทางธุรกิจอย่างมาก

ผมเห็นแล้วก็ชื่นใจแทนแม่ของเขาที่เลี้ยงลูกมาดี

ทั้งยังชื่นใจแทนคณะการสร้างเจ้าของธุรกิจ และการบริหารกิจการของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่สร้างหลักสูตรนี้ขึ้นมา จนทำให้เด็กรุ่นใหม่กล้าที่จะนำองค์ความรู้ไปต่อยอดจนประสบความสำเร็จในธุรกิจ

นับถือจริงๆ

และทั้งหมดนี้ คือ สิ่งที่ผมได้จากการเดินทางไปต่างจังหวัด และมีโอกาสพูดคุยกับคนรุ่นใหม่ๆ ที่น่าสนใจคนหนึ่ง

จึงนำมาเล่าสู่กันฟัง ดีแทค ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้าน พร้อมประกาศผลการประกวดโครงการเกษตรกรสำนึกรักบ้านเกิด ประจำปี พ.ศ. 2560 ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่9 ณ ดีแทคเฮ้าส์ ตึกจามจุรีชั้น32 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2560

โดยมี นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค นางสาวภาณี บุณยเกื้อกูล ผู้อำนวยการกองพัฒนาเกษตรกร และนายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ มูลนิธิร่วมด้วยช่วยกันสำนึกรักบ้านเกิด เป็นกรรมการผู้ทรงเกียรติร่วมในงาน พร้อมทั้งเผย 3 แนวโน้มสำคัญเกษตรไทยชูกลยุทธ์ เกษตรเชิงข้อมูล – พลังงานหมุนเวียน – ชีววิธี ขับเคลื่อนเกษตรครบวงจร ปูทางสู่ เกษตรกร 4.0