เห็นว่ามะม่วงไทยกำลังมีตลาดต่างประเทศมาหาซื้ออยู่หลายประเทศ

แต่เกษตรกรไทยยังขาดความรู้ความเข้าใจการผลิตมะม่วงให้ได้คุณภาพ และมาตรฐาน โดยความเห็นของเขาแล้วว่า คุณภาพเป็นสิ่งสำคัญทำให้ราคามะม่วงสูงขึ้น เขาผลิตส่งออกได้คุณภาพ 70% แต่ความเป็นจริงของผู้ส่งออกแล้วเขากล่าวว่า ผลไม้ไทยคัดส่งออกได้ 30% เท่านั้น น่าเสียดายที่ตลาดมะม่วง กล้วย ฯลฯ มีออเดอร์เป็นหมื่นๆ ตัน แต่ไทยมีเพียงพันตันเท่านั้นที่มีคุณภาพมาตรฐานที่จะส่งออกได้ เกรดส่งออกไม่ถึงคุณภาพ

เทคนิคที่คุณบรรจง เปิดเผยว่า “การดูแลรักษามะม่วงเพื่อการส่งออกนั้น ต้องดูแลตั้งแต่ราดสารมะม่วงแล้ว หลังออกดอกบาน การควบคุมการใช้ยาป้องกันราและป้องกันโรคแมลง เป็นระยะรักษาผิวก่อนเก็บเกี่ยวพันธุ์น้ำดอกไม้สีทองก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน หลังใช้ น้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4…45 วัน ใช้เพื่อไม่ให้ผิวสีเขียว ส่วนพันธุ์มหาชนก บางแห่งไม่ต้องห่อ เพราะลูกค้าบางรายชอบผิวดั้งเดิม สวยอยู่แล้ว เปลือกหนา เก็บไว้ได้นาน” เขาบอกเคล็ดลับให้เพื่อนเกษตรกรรับรู้ถึงตลาดต้องการ

ส่วนตลาดผู้ซื้อมะม่วงส่งออกนั้น มีจำนวนหลายรายด้วยกัน แต่ละเจ้าจะมีลูกสวนของตัวเองที่เคยค้าขายกันมาก่อน รู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวมานานแล้ว รู้นิสัยใจคอกันดี แต่ในอดีต คุณบรรจงก็โดนพ่อค้าหน้าใหม่ที่แยกค้ามาจากเจ้าเก่าคุ้นเคยกันดี เคยถูกเบี้ยวไป 5-6 แสนบาท จำได้ไม่เคยลืม ต้องระวังหน้าใหม่ๆ ที่แยกออกมาจากเจ้าเดิม เตือนเจ้าของสวนมะม่วงเอาไว้ หลอกสนิทเลยทีเดียวจนตายใจ

กติกาผู้ซื้อมะม่วงที่มาติดต่อที่สวนก่อนจะเก็บมะม่วงขาย

ประการแรก ผู้ซื้อมะม่วงจะเอามะม่วงไปส่งแล็บที่กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อตรวจสารเคมี 4-5 วัน ผลตรวจออกมาว่า ไม่มีสารตกค้างแล้ว

ประการที่สอง ผู้ซื้อเพื่อส่งออกมีเจ้าหน้าที่หรือพนักงานมาคัดมะม่วงตามเกรดที่ส่งออก ถ้าตกเกรดก็จะให้เกษตรกรไปขายเอง หรืออาจซื้อไปส่งตลาดล่าง บางรายอาจนำไปแปรรูปขายต่อไป

ประการที่สาม จะตัดขั้วมะม่วงให้ยาว 1 นิ้ว เพื่อกันน้ำยางไหลออกมาเปรอะผลมะม่วงได้ จะเสียราคา

ประการที่สี่ การใช้สารเร่งการบ่ม ถ้าต้องการสุกเร็วกรณีส่งใกล้ ถ้าหากส่งไกลก็ไม่ต้องใช้สารเร่งบ่ม

ประการที่ห้า การสอยมะม่วงตัดขั้ว ใช้มีดกรรไกรคมในตะกร้อสอย การเก็บเกี่ยวมะม่วงแก่ถึง 85% นอกฤดูเดือนกันยายน-ตุลาคม ก่อนฤดู มกราคม-กุมภาพันธ์

สุดท้าย ถ้ามะม่วงผิวดีจะได้ราคาดี ถ้ารักษาผิวไว้จะมีราคา

ปัจจุบัน ตลาดต่างประเทศที่ต้องการซื้อมะม่วงจากไทยนั้น มีพันธุ์มหาชนก น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4 พันธุ์อาร์ทูอีทู

ตลาดส่งออก ถ้าเป็นประเทศรัสเซีย จะต้องการพันธุ์มหาชนก และอาร์ทูอีทู ขนส่งทางเครื่องบิน เกาหลีใต้ นิยมน้ำดอกไม้สีทอง กับญี่ปุ่น

ประเทศจีน ส่งทางรถยนต์ ใช้พันธุ์มหาชนก รองมาเป็นน้ำดอกไม้สีทอง เบอร์ 4

สำหรับราคามะม่วงส่งออกนั้น คุณบรรจง กล่าวไว้ว่า ขายตามราคา เป็นเกรด ทั้งมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง จะเหนือกว่ามหาชนก ประมาณ 10-20 บาท ต่อกิโลกรัม

ราคามะม่วงที่เกษตรกรขายได้ เกรด A น้ำหนัก 350-500 กรัม ราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท เกรด B น้ำหนัก 250-300 กรัม ราคา 60-80 บาท

การขนส่งมีประเทศจีนเท่านั้นที่นิยมขนส่งด้วยรถคอนเทรนเนอร์ ขนาดบรรทุกชนิดเล็ก 10-15 ตัน กลาง 15-20 ตัน ใหญ่ 25 ตัน ค่าขนส่งเที่ยวละ 2-2.5 แสนบาท ใช้ระยะกว่า 4-5 วัน เป็นพันธุ์มหาชนก พอไปถึงมะม่วงกำลังรับประทานได้พอดี มหาชนกเป็นพันธุ์เปรี้ยว หนา เก็บไว้ได้นานด้วย เหมาะสำหรับประเทศจีน

ปัจจุบัน คุณบรรจง เซียนมะม่วงอาวุโสที่เขาภาคภูมิใจที่สอนให้ลูกสาวคนโตสืบทอดความรู้มะม่วงจากเขาและเก่งกว่าเขาเสียอีก จากที่ลูกสาวลาออกจากแบงก์กรุงเทพ มาเหมาสวนทำจนประสบความสำเร็จ เธอชื่อ มะลิวัลย์ จงพิทักษ์พงศ์ (ไก่) ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

รายได้จากธุรกิจมะม่วงพอที่เขาจะมีความสุขกับครอบครัวเล็กๆ ที่เขาได้มาจากมันสมองที่คิดออกมาจากประสบการณ์ด้วยมือตัวเอง และสมควรแก่การยกย่องให้เป็นเกษตรกรมะม่วงอาวุโส แห่งบ้านฉาง จังหวัดระยอง ใครต้องการเคล็ดลับความรู้จากมะม่วงของเขา ติดต่อได้ที่ โทรศัพท์ (081) 983-6025 เพื่อเป็นวิทยาทาน ยินดีต้อนรับ

กล้วยไข่ เป็นผลไม้ที่มีระยะเวลาการเก็บรักษาค่อนข้างสั้น เมื่อตัดออกจากเครือยังเป็นสีเขียว วางจำหน่ายไม่กี่วันก็จะเหลืองสุกและขั้วหวีจะเน่าตามมา กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่มีการส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเช่นเดียวกับผลไม้ประเภทอื่นๆ ซึ่งจะต้องมีระยะเวลาในการเดินทางและระยะเวลาในการวางจำหน่ายอยู่ในร้านประมาณ 15 วัน

คุณจารุวรรณ บางแวก ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การส่งออกกล้วยไข่ไปจำหน่ายต่างประเทศ พบว่า มีปัญหาในเรื่องของการส่งออก คือ ขั้นตอนของการบ่มและการวางจำหน่าย มีปริมาณการสูญเสียมากที่สุด ประมาณ 64% สาเหตุการสูญเสียที่สำคัญคือ โรคขั้วหวีเน่า 60% ที่มีสาเหตุจากการทำลายของเชื้อรา ทำให้ผลผลิตส่วนหนึ่งเกิดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว ทำให้อายุการวางจำหน่ายสั้นลงที่ปลายทาง และเมื่อเกิดโรคขั้วหวีเน่า ก็จะทำให้ขายไม่ได้

การสูญเสียของผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากปัจจัยในตัวของผลิตผลเอง ได้แก่ การหายใจ การคายน้ำ ซึ่งทำให้ผลิตผลเกิดการสูญเสียน้ำหนัก และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การทำลายของโรคและแมลง การเกิดบาดแผลอันเนื่องมาจากของมีคมเวลาเก็บเกี่ยว รวมไปถึงภาชนะบรรจุ และการขนส่ง

คุณจารุวรรณ อธิบายว่า การสุกของผลไม้เกิดจากเอทิลีนซึ่งเป็นสารที่เกิดขึ้นเป็นตัวเร่งให้เกิดการสุกของผลไม้ ถ้าเราจะยับยั้งให้เกิดการสุกช้าลง ก็ต้องยับยั้งให้เกิดเอทิลีนลดลง เพราะเมื่อกล้วยไข่สุกก็จะเกิดโรคขั้วหวีเน่าตามมา

ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดขั้วหวีเน่า เกษตรกรจึงจำเป็นต้องพยายามหาทางป้องกันมิให้เกิดราเข้ามาทำลายตั้งแต่ในสวน โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเกิดเชื้อราสูงมาก เกษตรกรใช้สารที่เป็นส่วนประกอบของคาร์เบนดาซิมฉีดพ่นในแปลงกล้วยไข่ในปริมาณมาก เพื่อป้องกันมิให้เกิดเชื้อรา ซึ่งจะมีผลทำให้สารตกค้างมาถึงเวลาเก็บเกี่ยวด้วย ถ้าเกษตรกรใช้ในอัตราตามที่กำหนดก็จะไม่มีปัญหาในเรื่องของสารตกค้าง

การศึกษาวิจัยนี้เพื่อหาสาเหตุของการสูญเสียของกล้วยไข่หลังการเก็บเกี่ยวตลอดถึงการจำหน่ายที่ตลาดปลายทาง และหาวิธีการเหมาะสมในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ และหาชนิดของสารเคมีในการควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยไข่ทดแทนการใช้สารคาร์เบนดาซิม

“เราจะต้องศึกษาวิจัยตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง จนกระทั่งการวางจำหน่าย นอกจากจะได้คุณภาพที่ดีแล้ว การยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้สามารถขนส่งและวางจำหน่ายได้นานมากขึ้น”

พบการใช้ 1-MCP ชะลอการสุกของกล้วยไข่

ผู้เชี่ยวชาญคุณจารุวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบัน มีการนำสาร 1-MCP (1-methyleyclopropene) มาใช้ในการชะลอกระบวนการสุกของผลิตผลเกษตรหลายชนิด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค มีความเป็นพิษต่ำมาก ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สาร 1-MCP สามารถลดการเกิดเอทิลีน ซึ่งเป็นตัวเร่งให้ผลไม้ไม่สุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการศึกษาวิจัยทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวไปจนถึงการวางจำหน่าย พบว่า หากใช้ 1-MCP ยืดอายุการเก็บรักษากล้วยไข่ด้วยความเข้มข้น 1,000 ppb รวมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 14 องศาเซลเซียส สามารถเก็บรักษากล้วยไข่ได้นาน 21 วัน และเมื่อนำกล้วยไข่มาบ่มด้วยสารเร่งการสุก ผลกล้วยไข่จะสุกหลังการบ่มเป็นเวลา ประมาณ 11-13 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้สาร ใช้เวลาหลังการบ่มได้นานเพียง 7 วัน สามารถสรุปได้ว่า สาร 1-MPC สามารถชะลอการสุกของกล้วยไข่ได้ ทำให้ยืดอายุการวางจำหน่ายได้นานขึ้น

โรคขั้วหวีเน่า ปัญหาสำคัญการส่งออกกล้วยไข่

คุณจารุวรรณ กล่าวต่อไปว่า เกษตรกรยังขาดความรู้เรื่องการใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราควบคุมโรคขั้วหวีเน่าของกล้วยไข่ในการคัดบรรจุ โดยนำสารคาร์เบนดาซิมที่ใช้ฉีดพ่นป้องกันกำจัดเชื้อราในแปลงกล้วยมาใช้ในการจุ่มล้างหวีกล้วยไข่ในการคัดบรรจุอีกด้วย จึงทำให้ตรวจพบมีปริมาณสารคาร์เบนดาซิมตกค้างในกล้วยไข่ที่ส่งออกไปยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนเกินค่าปริมาณสารตกค้างสูงสุด 0.1 มก./กก. ประกอบกับทางเราได้รับรายงานจากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี ว่า พบสารคาร์เบนดาซิมตกค้างในกล้วยไข่ที่ส่งออกไปในปริมาณสูงกว่า 100 ppm ขอให้กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร ศึกษาวิจัยทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องสารคาร์เบนดาซิมตกค้างในกล้วยไข่ที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

จึงได้ทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมี 4 ชนิด คือ อิมาซาลิล โปรคลอราช ไดฟิโคนาโซล และโพแทสเซียมชอร์เบต พบว่า สารโปคลอราช 250 มก./ลิตร มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมโรคขั้วหวีเน่าหลังการเก็บเกี่ยว สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราได้ดี ไม่แตกต่างจากการใช้สารคาร์เบนดาซิม และเบโนบิล ได้อย่างดี

อย่างไรก็ตาม การเกิดโรคและความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับการดูแลในช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวและระหว่างการเก็บเกี่ยว ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติที่ดี มีการปนเปื้อนของเชื้อราที่เป็นสาเหตุน้อย ก็จะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี อาจไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีหรือใช้ในอัตราความเข้มข้นต่ำ ก็สามารถลดการเกิดโรคและความรุนแรงของขั้วหวีเน่าของกล้วยไข่ได้ อยากจะเตือนเกษตรกรที่ปลูกกล้วยไข่ว่า การจัดการในแปลงปลูกกล้วยไข่เป็นสิ่งสำคัญ และไม่ควรพ่นสารเคมีในอัตราที่สูงเกินไป เพราะจะทำให้มีสารตกค้างในผลกล้วย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวย้ำในที่สุด

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทร. 02-940-6363 ต่อ 1813 และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 6 จังหวัดจันทบุรี โทร. 039-397-134

กล้วย ถูกนำมาใช้แทนคำเปรียบเปรยในประโยคบ่อยครั้ง เช่น เรื่องกล้วยๆ ของกล้วยๆ หรือแม้กระทั่ง คำว่า ง่ายกว่ากล้วย ก็แสดงให้เห็นว่า กล้วย เป็นไม้ผลชนิดหนึ่งที่พบเห็นได้ง่าย นำมาใช้ประโยชน์ได้ง่าย รวมถึง ปลูกง่าย

การันตีการปลูกว่า “ง่าย” ได้ไม่ยาก ลองพิจารณาจากตรงนี้ พื้นที่เพียง 1 ตารางวา ก็สามารถปลูกกล้วย ให้ได้ผลผลิตดี งอกงาม ใช้ประโยชน์ในทุกส่วนจากต้นกล้วยได้ ไม่ยากจริงๆ วิธีปลูก
– หลุมปลูก ควรขุดหลุมขนาดประมาณ 50 คูณ 50 เซนติเมตร (กว้าง xยาว x สูง) ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม 3-4 กำมือ หากมีปุ๋ยคอก ให้ใช้ปุ๋ยคอก แต่ถ้าไม่มีให้ซื้อปุ๋ยชีวภาพมาใส่แทน

– พันธุ์ สายพันธุ์กล้วยจัดว่าเป็นสิ่งสำคัญ ถ้ามีสายพันธุ์ที่ดีก็วางใจไปเกินครึ่งว่า การปลูกกล้วยครั้งนี้จะประสบความสำเร็จ ได้เครือใหญ่ ผลสวย รสชาติดี แต่ถ้าสายพันธุ์ไม่แน่ชัด ก็ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะกล้วย อย่างไรก็คือ กล้วย ถ้าไม่ใช่กล้วยป่าก็ไม่ต้องกังวล เพราะอย่างไรเสียก็ไม่มีเมล็ดในผลกล้วยให้รำคาญยามกิน

หน่อกล้วย หาซื้อได้ตามชอบใจตามร้านจำหน่ายพันธ์ุไม้ หากพื้นที่เพียง 1 ตารางวา จำนวน 1 หน่อ จัดว่ากำลังดี เมื่อได้หน่อกล้วยมาแล้ว วางหน่อกล้วยลงในหลุมปลูก ควรกลบหลุมปลูกให้ดินพอกขึ้นคลุมโคนกล้วยพอสวยงาม

– การดูแลบำรุงรักษา หลังการปลูกเพียง 1 สัปดาห์ จะเริ่มเห็นใบอ่อนกล้วยแตกขึ้นใหม่ ควรเอาใจใส่ ดังนี้ 1. การรดน้ำ ให้รดน้ำทุก 2-3 วัน ถ้าฝนตกก็งดรดน้ำ แต่ถ้าไม่ได้อยู่บ้าน ขาดการรดน้ำ 1-2 สัปดาห์ ก็ไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับกล้วย

2. การใส่ปุ๋ย ขอให้คำนึงถึงความสะดวก ใช้ปุ๋ยที่มีหรือหาซื้อง่าย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ปุ๋ยคอก ปุ๋ยชีวภาพ อัตราการใส่ปุ๋ย คำนวณจาก 1 กิโลกรัม ต้น/ปี แบ่งใส่ 3 เดือนครั้ง ครั้งละ 250 กรัม หรือมากกว่าก็ได้ ไม่มีผลกระทบอะไร

ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 หลังปลูก 1 สัปดาห์ สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 1 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 2 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 15-15-15
ใส่ปุ๋ยหลังครั้งที่ 3 ประมาณ 3 เดือน ใช้สูตร 13-13-21

ปุ๋ยพืชสด เมื่อกล้วยออกจากเครือจนเราสามารถตัดได้ ให้นำต้นเก่ามาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำกลับมาใส่ จะช่วยป้องกันความชื้น และเป็นปุ๋ยรอให้กับหน่อใหม่ที่จะเกิดขึ้นด้วย

3.การตัดแต่งหน่อ และ ใบแก่

การไว้หน่อ และการตัดแต่งหน่อก็มีความสำคัญในการปลูกกล้วยมาก เพราะจะให้ต้นโต หรือต้นสมบูรณ์ดี พร้อมส่งผลไปถึง ลูก หรือเครือกล้วยด้วย หากเราไม่ตัดแต่งหน่อกล้วยออกทิ้งบ้าง ก็จะกลายเป็นกล้วยแคระแกร็น

การตัดแต่งหน่อ ให้ตัดแต่งหน่อกล้วยที่ขึ้นมาในทุกๆ ช่วงอยู่ตลอด หากยังไม่ถึงช่วงการไว้หน่อ

การตัดแต่งใบกล้วยที่ เหลืองเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ทิ้งไป พร้อมทั้งตัดใบที่งอหักลงไปด้วย เท่านี้ก็จะทำให้ ต้นกล้วยดูไม่รกรุงรัง และสวยงาม

การไว้หน่อกล้วย ควรเริ่มไว้หน่อแรก เมื่อกล้วยอายุ 4 เดือนไปแล้ว และหน่อต่อไปทุก 4 เดือน แต่ในช่วงการออกปลี ควรงดการไว้หน่อ เพื่อให้ผลกล้วยและเครือสมบูรณ์ดี 4. การตัดปลีกล้วย เมื่อปลีกล้วยแทงเครือออก มาจนเราเห็นว่าเครือกล้วยสมบูรณ์ หรือออกจนหมดปลีแล้ว ให้เราตัดปลีจากหวีสุดท้ายนับไปอีก 1-2 หวี แล้วตัด แล้วนำปูนแดงหรือยากันราทาป้องกันเน่า

5. การเก็บเกี่ยว ให้พิจารณาจากการนับจำนวนวัน โดยเฉลี่ยแล้ว ผลกล้วยจะแก่เมื่อมีอายุประมาณ 90 วัน หรือพิจารณาจากเหลี่ยมมุมของผล ผลแก่จะมีลักษณะค่อนข้างกลม เก็บเกี่ยวโดยใช้มือข้างหนึ่งจับปลายเครือ แล้วใช้มีดฟันก้านเครือให้ขาดออก

6. การป้องกันกำจัดศัตรูพืช

– โรคใบจุด ป้องกันโดยนำไปเผา หรือใช้สารเคมีคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ หรือสารป้องกันกำจัดเชื้อรา แมนโคเซบ หรือเบนโนมิล

– ด้วงงวง ป้องกันโดยใช้สารเคมีประเภทดูดซึม เช่น โตฟอส

– หนอนม้วนใบกล้วย ป้องกันโดยใช้สารเคมีคลอไพลิฟอส

– แมลงวันผลไม้ ใช้สารล่อแมลง สารเมทิลยูลินอลผสมสารฆ่าแมลงล่อทำลายแมลงวันเพศผู้หรือ ใช้สารฆ่าแมลงมาลาไธออน หรือไดเมทโทเอท

แต่โดยรวมแล้ว โรคในกล้วยก็จะมีน้อยมาก โรคหลักในที่ปลูกกล้วยมาก ก็จะเจอ โรคไฟทอปโทร่า หรือที่เรียกเชื้อไฟทอปโทร่า อาจทำให้รากเน่า โคนเน่า ใบเหลืองแห้ง หรือที่เรียกว่าตายพราย และก็มีหนอนม้วนใบ อย่างไรก็ตาม หากดูแลรักษากล้วยสมบูรณ์ดีแล้ว ปัญหาเรื่องโรคและแมลงที่อาจเกิดขึ้นได้มีน้อย โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกกล้วยที่ไม่มากนักอย่างที่กล่าวมา

เพียงเท่านี้ แม้จะมีพื้นที่น้อย แต่กล้วยเพียง 1 หน่อ สามารถแตกหน่อออกได้อีก อาจขุดหน่อนำไปขยายพันธุ์ยังพื้นที่อื่น หรือปล่อยให้แตกหน่อเติบโตในกอเดียวกันก็ทำได้

เป็นเรื่องกล้วยๆ จริงๆ !! เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ผมเป็นคนชอบรับประทานข้าวญี่ปุ่นคนหนึ่ง อยากทราบว่าประเทศไทยปลูกได้หรือไม่ ถ้าปลูกได้ มีที่ไหนบ้าง และความแตกต่างระหว่างข้าวไทยกับข้าวญี่ปุ่น นอกจากเมล็ดมีรูปร่างแตกต่างกันแล้ว มีอะไรอีกบ้างที่มีความแตกต่างกัน ขอคำอธิบายด้วยครับ

ข้าวไทย จัดเป็นชนิดอินดิก้า (Indica Type) ส่วน ข้าวญี่ปุ่น จัดอยู่ในชนิดจาโปนิก้า (Japonica Type) มาดูในรายละเอียดกันครับ

ข้าวไทย เป็นข้าวเมล็ดยาว หุงขึ้นหม้อ ลำต้นสูง ใบสีเขียวอ่อน หักล้มง่าย ไม่ตอบสนองต่อปุ๋ย เป็นข้าวที่ไวต่อช่วงแสง (Photo Sensitivity) คือออกดอกในฤดูที่กลางวันมีแสงแดดน้อยกว่า 11 ชั่วโมง จึงออกดอกและเก็บเกี่ยวในฤดูหนาว ตัวอย่างข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ขาวตาแห้ง เจ๊กเชย และขาวนางเนย สำหรับข้าวในสกุล กข เนื่องจากมีการปรับปรุงพันธุ์มาแล้ว จึงต่างจากชนิดอินดิกาไปบ้าง

ข้าวญี่ปุ่น เป็นข้าวเมล็ดสั้น ข้าวสารหุงไม่ขึ้นหม้อ หุงสุกแล้วคล้ายข้าวเหนียว ใช้ตะเกียบคีบเป็นคำได้ ข้าวชนิดนี้เป็นชนิดที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิ (Thermo Sensitivita) คือเมื่อได้รับความร้อนสะสมครบตามความต้องการจะออกดอกทันที ตัวอย่าง ข้าวพันธุ์โอโซร่า ปลูกที่ญี่ปุ่นที่มีอากาศหนาวเย็น มีอายุเก็บเกี่ยว 180 วัน แต่เมื่อนำมาปลูกที่บางเขน กทม. ในเดือนเมษายน ปลูกได้เพียง 75 วัน ก็ออกดอกแล้ว แน่นอนผลผลิตย่อมต่ำ เนื่องจากมีเวลาสะสมแป้งและน้ำตาลน้อยเกินไป

แหล่งปลูกข้าวญี่ปุ่นในประเทศไทยได้ผลดีที่จังหวัดเชียงราย แต่ปัจจุบันข่าวเกี่ยวกับการผลิตข้าวญี่ปุ่นที่นั่นหายเงียบไป แม้แต่ร้านอาหารญี่ปุ่นยังใช้ข้าวหอมมะลิ 105 ทดแทนข้าวญี่ปุ่นไปแล้ว ผลสอบถามผู้เกี่ยวข้องได้รับคำตอบว่า ข้าวญี่ปุ่นมีจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าใกล้ที่พักอาศัยของชาวญี่ปุ่นที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย

“ไคติน” เป็นโครงสร้างแข็งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมลง กุ้ง ปู ปลาหมึก เป็นต้น ส่วน “ไคโตซาน” เป็นองค์ประกอบอยู่ในเปลือกนอกของสัตว์พวก กุ้ง ปู แมลง และเชื้อรา เป็นสารธรรมชาติที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว คือ ที่เป็นวัสดุชีวภาพย่อยสลายตามธรรมชาติ มีความปลอดภัยในการนำมาใช้กับมนุษย์ ไม่เกิดผลเสียและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เกิดการแพ้ ไม่ไวไฟ เมื่อไคโตซานเกิดการสลายตัวจะเป็นการปลดปล่อยธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน

นอกจากนี้ ไคโตซาน ยังสามารถยึดธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ฟอสเฟต ที่เป็นประโยชน์ต่อพืชแล้วค่อยๆ ปลดปล่อยสารเหล่านี้แก่พืช ทั้งนี้เพราะไคโตซานเป็นสารชีวภาพ ฉะนั้น จึงช่วยลดการชะล้างและช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง สมัคร Joker Gaming ทางสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ภาคเหนือ (สวทช. ภาคเหนือ) กศน. ตำบลขี้เหล็ก กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และสถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ จึงร่วมกันส่งเสริมให้เกษตรกรเรียนรู้การผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่

ไคติน-ไคโตซาน ให้ผลในแง่ของการเป็นสารธรรมชาติ ที่ช่วยลดความเสี่ยงของเกษตรกรและผู้บริโภค ต่อการได้รับสารพิษจากปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช พร้อมทั้งมีจุดเด่นที่สามารถช่วยเพิ่มผลผลิต ยืดอายุการเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตร รวมถึงช่วยย่อยสลายทางชีวภาพได้และปลอดภัยต่อสภาพแวดล้อม โดยการใช้ประโยชน์จาก ไคติน-ไคโตซาน ทางด้านการเกษตร เช่น ใช้เป็นสารปรับสภาพดินสำหรับเพาะปลูก ใช้ในการเคลือบเมล็ดพืช เป็นสารกระตุ้นการเจริญเติบโต เป็นสารต้นทานโรคพืช และใช้เป็นสารยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตหลักการเก็บเกี่ยว

สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยถึงขั้นตอนการผลิต ไคติน-ไคโตซาน จากหอยเชอรี่ว่า ขั้นแรกนำหอยเชอรี่ประมาณ 1 กิโลกรัม มาตากให้แห้งแล้วต้มในน้ำเดือด เพื่อแยกเนื้อออก ล้างเปลือกหอยที่นำเอาเนื้อออกให้สะอาดและตากให้แห้ง จากนั้นนำเปลือกหอยมาต้มในน้ำโซดาไฟ 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 4 ชั่วโมง หรือ แช่ไว้ 1-2 วัน เพื่อกำจัดโปรตีนที่ติดมากับเปลือกหอย แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดทิ้งไว้ให้แห้ง บดเปลือกหอยเชอรี่ให้มีขนาดเล็กลงแล้วต้มในน้ำกรดเกลือเข้มข้น 4 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายกรดไฮโดรคลอริก) เข้มข้น ร้อยละ 4 นาน 24 ชั่วโมง หรือแช่ไว้ 2-3 วัน เพื่อกำจัดแร่ธาตุที่บริเวณเปลือกหอย

ล้างเปลือกหอยด้วยน้ำสะอาด ตากให้แห้ง และนำเปลือกหอยที่แห้งแล้วมาบดพอละเอียด จะได้ไคติน นำไคติน มาละลายกับน้ำโซดาไฟ เข้มข้น 40 เปอร์เซ็นต์ (สารละลายโวเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น ร้อยละ 40) แล้วนำมาต้มในอ่างน้ำเดือด นาน 4 ชั่วโมง จากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำไปละลายในน้ำโซดาไฟ ต้มในอ่างน้ำเดือดอีก 4 ชั่วโมง อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาดนำไปตากให้แห้งแล้วนำมาบดให้ละเอียดจะได้ไคโซซานที่นำไปใช้ประโยชน์ได้