แคนตาลูปที่ปลูกอยู่ขณะนี้เป็นพันธุ์กรีนเน็ต และพันธุ์พอทออเรนจ์

เจ้าของคือ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด มีสำนักงานใหญ่อยู่จังหวัดเชียงใหม่

ก่อนปลูก เขาเพาะกล้าอายุได้ 9 วัน แล้วจึงนำลงปลูก จากนั้นนับไปอีก 65 วัน จึงเก็บผลผลิตได้ หากนับตั้งแต่เพาะกล้า จนเก็บผลผลิตได้ ใช้เวลา 74 วัน การดูแลอย่างอื่น เมื่อต้นโตขึ้น ก็จับต้นให้พันขึ้นกับเชือก

ช่วงดอกบานคือหลังปลูกไปแล้ว 22 วัน เจ้าของต้องผสมเกสรให้ ทั้งนี้เนื่องจากในโรงเรือนไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสร วิธีการผสม ช่วงเย็นเก็บเกสรและผสมให้เวลา 07.00 น. ของวันใหม่ เมื่อผลโตใช้เชือกอีกเส้นหนึ่งโยงผลต่างหาก ในโรงเรือน อุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 40-45 องศาเซลเซียส

ดูแลอย่างไร ให้มีคุณภาพ
ปัจจัยสำคัญอยู่ที่น้ำและปุ๋ย

งานปลูกแคนตาลูปในโรงเรือนให้น้ำวันละ 8 ครั้ง…อย่าเพิ่งท้อหากอยากปลูก เขามีวิธีการให้น้ำแบบอัตโนมัติ ต่อจากแหล่งน้ำ ลงที่ถุงโดยตรง ถุงใครถุงมัน

เมื่อปลูกใหม่ๆ เขาให้น้ำครั้งหนึ่งนาน 2 นาที จากนั้นเพิ่มขึ้นเป็น 4, 6, 8 นาที จนระยะกลางๆ ให้นาน 18 นาที ต่อครั้ง เมื่อแตงมีอายุมากขึ้นก็ลดระยะเวลาให้น้ำลง จาก 18 นาที เหลือ 16-14-10 นาที จนใกล้เก็บเกี่ยวก็งดน้ำ จะช่วยให้แคนตาลูปมีความหวานตามที่ต้องการ

ช่วงชีวิตของแตงแคนตาลูป ตั้งแต่ปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวได้ ใช้น้ำไปทั้งหมด 65 ลิตร ต่อต้น เรื่องปุ๋ย…เป็นปุ๋ยที่ละลายไปกับน้ำ เขาให้ปุ๋ยทุกวัน เข้าทำนองให้น้อยแต่บ่อยครั้ง

ช่วงที่ปลูกใหม่ คุณต๊อกแนะนำว่า ปุ๋ยที่ให้เป็นสูตรตัวหน้าสูง (ไนโตรเจน) ช่วงมีดอก เพิ่มตัวกลาง ก่อนเก็บผลผลิต เน้นตัวหลังคือ โพแทสเซียม เพื่อเพิ่มความหวาน อย่างสูตร 0-0-60

ศัตรูที่ควรระวัง…คุณต๊อก บอกว่า มีเพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว แต่ที่ผ่านมา เน้นทำความสะอาดโรงเรือนด้วยคลอรีน จึงไม่มีการระบาดของศัตรูพืช ถึงแม้บางโรงเรือนจะปลูกต่อเนื่องมานานแล้วก็ตาม

ผลตอบแทนมากน้อยแค่ไหนจะแนะนำเกษตรกรอย่างไร

คุณต๊อก อธิบายว่า โรงเรือนหนึ่ง ปลูกแคนตาลูป 500 ถุง แต่ละถุงให้ผลผลิตได้ 1 ผล แต่ละผลน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม จำนวนต้น 500 ต้น ต่อโรงเรือน หักต้นที่ไม่สมบูรณ์ออก 50 ต้น เหลือ 450 ต้น หรือ 450 ผล แต่ละผลน้ำหนัก 1.5 กิโลกรัม ก็จะมีผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ 675 กิโลกรัม หากขายแคนตาลูป กิโลกรัมละ 50 บาท จะมีรายได้ ต่อโรงเรือน 33,750 บาท

หากขายแคนตาลูป กิโลกรัมละ 80 บาท จะมีรายได้ ต่อโรงเรือน 54,000 บาท ที่ผ่านมา คุณต๊อกขายผลผลิต กิโลกรัมละ 80 บาท มีผู้ค้าจากจังหวัดเชียงใหม่มารับไปทั้งหมด

นั่นเท่ากับว่า ผู้ปลูกมีรายได้ ต่อโรงเรือน 54,000 บาท ในระยะเวลา 65 วัน ในที่นี้ หักลบระยะเวลาเพาะกล้าออกไป 9 วัน ซึ่งงานเพาะกล้า มีโรงเรือนเพาะอยู่ต่างหาก ด้วยเหตุนี้ ปีหนึ่งๆ จึงหมุนเวียนใช้โรงเรือนต่อครั้งต่อปีมากขึ้น

ด้วยรายได้อย่างที่แนะนำมา หากปลูกแคนตาลูป 5 ครั้งต่อปี เกษตรกรจะมีรายได้ ต่อโรงเรือน 270,000 บาทต่อปี รายได้ขนาดนี้จึงสามารถคืนทุนโรงเรือนได้ภายใน 1 ปีอย่างที่คุณต๊อกว่าไว้ ดูจากรายได้แล้วถือว่ายอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ใช่จะทำกันได้ง่ายๆ ผู้สนใจต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อน โดยปรึกษาผู้รู้ เรื่องการลงทุน การผลิตและที่สำคัญคือ การตลาด

“ตอนนี้ ในโรงเรือน มีทดลองปลูกแตงโมไม่มีเมล็ดด้วย…พื้นที่รอบๆ โรงเรือนควรโล่ง มีลมพัดผ่าน ตอนนี้ผมมีปลูกประมาณ 9 โรงเรือน พื้นที่ไม่ถึง 2 ไร่ดี ราว 7 งาน…มีโครงการคัดเลือกเกษตรกรที่ปลูกพริก ซึ่งตอนนี้มีอยู่ 200-300 ครอบครัว แต่ไม่ได้หมายความว่าให้มาปลูกทั้งหมด คัดเลือกคนที่มีใจรัก ชอบ มีความพร้อม ให้มาปลูกแคนตาลูป ครอบครัวละ 4 โรง เดือนหนึ่งตัด 2 โรง เรามีตลาดให้ หากพื้นที่ปลูกมากก็จะสามารถเก็บผลผลิตได้ทั้งปี” คุณต๊อกเล่า

“ ผมเตรียมขยายพื้นที่ปลูกให้กับผู้สนใจ 50-80 โรง จากนั้นจะขยายตามความต้องการของตลาด เป้าหมายในอนาคตคือ อยากให้มีตัดทุกวัน…วันละอย่างน้อย 1 โรงเรือน เรื่องการลงทุน คงให้เกษตรกรมีส่วนร่วม โดยเฉพาะโรงเรือน…ในอนาคตอาจจะมีการเปิดร้านให้คนมาซื้อผลผลิตโดยตรง มีผลิตภัณฑ์จากแคนตาลูป อาจจะเปิดร้านแถวนี้”

เกษตรกรที่อยู่ใกล้เคียง อยากศึกษาดูงาน หรืออยากเปลี่ยนงานจากทำนา ลองปลูกพืชชนิดนี้ดู ถามไถ่ คุณยศวัฒน์ ศิริอธิพันธ์ ได้ตามที่อยู่ หรือโทรศัพท์ (089) 961-3423

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางกรมส่งเสริมการเกษตร และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ร่วมมือกันเพื่อพัฒนาคุณภาพลำไย พร้อมกันนี้ได้สรุปองค์ความรู้เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมให้เกษตรกรได้นำไปปรับใช้ในการปฏิบัติดูแลรักษาลำไยเพื่อให้ได้คุณภาพ โดยมี 13 ขั้นตอน การที่ควรปฏิบัติ ดังนี้

ระยะที่ 1 ช่วงเตรียมต้น (กันยายน-ตุลาคม)
ขั้นตอนที่ 1 – การตัดแต่งกิ่ง…เกษตรกรควรตัดแต่งกิ่งให้ทรงพุ่มโปร่ง เปิดกลางทรงพุ่มให้ได้รับแสงสว่างมากขึ้น คลุมโคนต้นด้วยใบลำไยที่ตัดทิ้ง
ขั้นตอนที่ 2 – แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1…ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ต้นละ 10 กิโลกรัม และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 และ 0-0-60 (ช่วงแตกใบ ครั้งที่ 1) สัดส่วน 1:1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น
ในระยะนี้ให้ระวังโรคและแมลง ได้แก่ ไรสี่ขา เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และโรคพุ่มไม้กวาด

ระยะที่ 2 ช่วงก่อนออกดอก (พฤศจิกายน-ธันวาคม)
ขั้นตอนที่ 3 – ขั้นตอนที่ 4 – แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 จนถึงใบแก่สมบูรณ์…ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดแมลง สารป้องกันกำจัดเชื้อราและฮอร์โมนบำรุงใบ และใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 และ 0-0-60 (ช่วงแตกใบครั้งที่ 2) อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น พร้อมทั้งให้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 ใช้อัตรา 100 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทางใบ
ในระยะนี้ ให้ระวังโรคและแมลง ได้แก่ เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และโรคพุ่มไม้กวาด

ระยะที่ 3 ช่วงออกดอก (มกราคม-กุมภาพันธ์)
ขั้นตอนที่ 5 – ขั้นตอนที่ 6 – แทงช่อดอก – ดอกบาน…ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เลี้ยงแมลงผสมเกสร งดพ่นสารเคมี ระยะดอกบาน และให้ปุ๋ยทางดิน ครั้งที่ 1 สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น พร้อมทั้งให้ปุ๋ยธาตุรองและอาหารเสริม
ในระยะนี้ระวังโรคและแมลง ได้แก่ แมลงค่อมทอง หนอนม้วนใบ เพลี้ยไฟ

ระยะที่ 4 ช่วงติดผลและปรับปรุงคุณภาพ (มีนาคม-กลางเดือนมิถุนายน)
ขั้นตอนที่ 7 – ช่วงติดผล…เพิ่มปริมาณการให้น้ำ ป้องกันผลแกร็นและผลร่วง พร้อมให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46, 0-52-34 และ 46-0-0
ขั้นตอนที่ 8 – ปรับปรุงคุณภาพ – ผลช่วงต้น…เพิ่มปริมาณการให้น้ำให้เพียงพอ (เมษายน ต้องการน้ำมากสุด) ให้ปุ๋ยทางดิน ครั้งที่ 2 สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 และ 0-0-60 สัดส่วน 1:1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น และให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46, 0-52-34 และ 46-0-0
ขั้นตอนที่ 9 – ตัดแต่งช่อผล – ผลช่วงกลาง…กรณีติดผลดก ตัดแต่งช่อผลให้เหลือ 40-60 ผล และตัดช่อผลผลเล็กออก รวมทั้งให้ปุ๋ยทางดิน ครั้งที่ 3 สูตร 46-0-0 ร่วมกับ 15-15-15 และ 0-0-60 ช่วงนี้กำจัดวัชพืชในแปลง เพื่อทำลายแหล่งอาศัยแมลง
ขั้นตอนที่ 10 – ผลช่วงปลาย…ให้ปุ๋ยทางใบ สูตร 13-0-46
ในระยะนี้ ระวังโรคและแมลง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย มวนลำไย ผีเสื้อเจาะผลไม้ ผลแตก โรคพุ่มไม้กวาด ผลลาย

ระยะที่ 5 ช่วงเก็บเกี่ยว (กลางเดือนมิถุนายน-สิงหาคม)
ขั้นตอนที่ 11 – ผลช่วงปลายใกล้เก็บเกี่ยวก่อน 30 วัน…ให้น้ำสม่ำเสมอ (หากฝนทิ้งช่วง) ให้ปุ๋ยทางดิน สูตร 0-0-60, 13-13-21 สัดส่วน 1:1 อัตรา 1-2 กิโลกรัม ต่อต้น ก่อนเก็บเกี่ยว 30 วัน เพื่อให้ผลพัฒนาคุณภาพ
ขั้นตอนที่ 12 – เก็บเกี่ยวผลผลิต…เก็บเกี่ยวผลใหญ่ ผิวเรียบ รวบรวมผลผลิตและคัดเกรด บรรจุตะกร้า/หีบห่อ เตรียมจำหน่าย
ในระยะนี้ ระวังโรคและแมลง ได้แก่ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย ผีเสื้อเจาะผลไม้ ผลแตก ผลลาย
ขั้นตอนที่ 13 – หลังการเก็บเกี่ยว…เก็บตัวอย่างดิน ส่งวิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ก่อนปรับปรุงบำรุงดิน และตัดแต่งกิ่ง

เกษตรกรสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มส่งเสริมวิชาการ สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ โทร. 053-908-653

“วร ชื่นสำนวน” มีอาชีพเป็นช่างซ่อมเครื่องจักรหนักอยู่ที่บ้านเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วันหนึ่งชาวนาที่ได้เลิกเช่าที่นาของเขา ช่างวรจึงนำที่ดิน จำนวน 25 ไร่ มาปลูกอ้อย

โดยอาศัยผู้ชำนาญในการปลูกอ้อย คือ “เปี๊ยกอ่าง” หัวหน้าโควต้าอ้อย มาปลูกอ้อยพันธุ์ LK 9211 โดยใช้เครื่องปลูกอ้อยแถวคู่ ระยะระหว่างแถวห่างกัน 1.5 เมตร และใส่ปุ๋ยอินทรีย์เม็ด 50 กิโลกรัม ต่อไร่

หลังปลูกอ้อยไปได้ 4 เดือน ช่างวรจึงมีโอกาสมาซ่อมเครื่องจักรในโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตราพญานาคพ่นน้ำซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้าน เขาสังเกตเห็นว่าปุ๋ยอินทรีย์ที่โรงงานแห่งนี้ผลิตไม่เหมือนกับที่อื่นๆ เพราะมีการหมักปุ๋ยอินทรีย์เป็นกองใหญ่ๆ โดยใช้วัตถุดิบที่ดีหลายอย่าง ทางโรงงานนำปุ๋ยที่ผสมกันดีแล้วนำไปเข้ารางผสมปุ๋ยขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 80 เมตร จำนวนสองราง เครื่องผสมปุ๋ยที่เดินบนรางรถไฟจะค่อยๆ เดินพลิกกองปุ๋ยหมักที่สูงประมาณ 1.2 เมตร พลิกไปอย่างช้าๆ ใช้เวลาหนึ่งวัน นับเป็นเครื่องจักรที่ทันสมัย ที่เขาไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน

การปลูกอ้อยที่ใช้ปุ๋ยเคมีโดยทั่วไป จะได้ผลผลิตประมาณ 12-15 ตัน ต่อไร่ ช่างวร ทดลองใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตราพญานาคพ่นน้ำชนิดผงกับไร่อ้อยของเขา โดยปรึกษากับ ลุงแก้ว ปันจุติ ซึ่งเป็นหัวหน้าคนงานของโรงงาน ก็ได้รับคำแนะนำว่า ควรใช้ปุ๋ยผงจุลินทรีย์หว่านลงไปที่โคนต้นอ้อย เพราะมีร่มเงาช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์จำนวนมากถูกแดดเผาตาย ซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะทำหน้าที่ป้องกันโรคในดิน และตรึงไนโตรเจนจากอากาศลงเป็นปุ๋ยในดิน ฯลฯ ช่วยสร้างพลังชีวิตของดิน เขียวทน เขียวนาน เพิ่มผลผลิตได้

ช่างวรท้าทายลุงแก้วว่า ถ้าเขาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดผงไปหว่านที่กออ้อยอายุ 4 เดือนแล้ว ได้ผลผลิตถึง 20 ตัน ต่อไร่ เขาจะยอมรับว่าปุ๋ยอินทรีย์ของโรงงานมีคุณภาพดีตามที่ลุงแก้วบอก
ช่างวร สั่งปุ๋ยอินทรีย์ผง จำนวน 300 กระสอบ กระสอบละ 25 กิโลกรัม มาหว่านในไร่อ้อย หลังจากนั้นไม่กี่วัน ฝนตกลงมาอย่างหนักจนน้ำท่วมไร่อ้อยทั้งหมดจนต้องรีบสูบน้ำออกจากร่องระบายน้ำทั้งหมด พี่มะลิภรรยาช่างวรบ่นเสียดายเงินค่าปุ๋ยที่ลงทุนไปกว่าห้าหมื่นบาท เพราะเชื่อว่าปุ๋ยคงละลายน้ำออกจากไร่อ้อยไปแล้ว

เมื่อพี่มะลิมาดูในแปลงอ้อยก็พบว่า ปุ๋ยอินทรีย์ผงสีดำๆ ยังคงตกค้างอยู่ตามกออ้อย สิ่งที่น่าชื่นใจก็คือ ต้นอ้อยมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ลำต้นอ้อยอ้วนใหญ่สมบูรณ์และเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยอะไรเพิ่มเติมอีก

เปี๊ยกอ่าง หัวหน้าโควต้ายอมรับว่าอ้อยแปลงนี้ที่ตนเองเป็นคนปลูกมากับมือตนเองมีความแตกต่างจากแปลงอื่นๆ คือ มีความสมบูรณ์ของต้นอ้อยทั้งลำใหญ่และยาว น้ำหนักดี สวยงามมาก เสมอกันทั้งแปลง จนผู้นำในวงการอ้อยต่างมาแวะชื่นชมแปลงอ้อยแปลงนี้มิได้ขาดสาย และยอมรับว่าเป็นสุดยอดแปลงอ้อยที่มีคุณภาพแปลงหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร

เปี๊ยกอ่าง สอบถามกับช่างวรว่าใช้ปุ๋ยอะไร ทำไมอ้อยจึงงามไม่เหมือนคนอื่น ก็ได้รับคำตอบว่า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ผงตราพญานาคพ่นน้ำ จำนวน 300 กิโลกรัม ต่อไร่ เท่านั้น

เมื่อโรงงานน้ำตาลนครเพชรเปิดการหีบอ้อยในเดือนธันวาคม เปี๊ยกอ่างจึงได้ตัดสินใจตัดอ้อย อายุ 11 เดือน ในแปลงนี้ส่งโรงงานน้ำตาลนครเพชร ปรากฏว่าได้ผลผลิตอ้อยมากถึง 625 ตัน มีผลผลิตเฉลี่ย 25 ตัน ต่อไร่ มีค่าความหวานที่ 12 c.c.s.จึงได้ค่าตัวคูณ เพิ่มอีก 1,000 บาท ต่อตัน ซึ่งตามปกติอ้อยที่ตัดช่วงปลายปีหรือต้นปี มักมีค่าความหวานประมาณ 9-11 c.c.s. เท่านั้น

การทำไร่อ้อยครั้งแรกของช่างวรถือว่า ประสบความสำเร็จมาก เพราะได้ผลผลิตอ้อยมากกว่าทั่วไปถึง 10 ตัน ต่อไร่ จึงได้เงินเพิ่ม 10,000 บาท ต่อไร่ เขาปลูกอ้อย 25 ไร่ เท่ากับได้เงินเพิ่มประมาณ 250,000 บาท ได้เงินคืนทุนพร้อมฟันกำไรก้อนโตในปีแรกทันที

ขณะที่ชาวไร่อ้อยโดยทั่วไปจะได้เงินทุนคืนในปีแรกเท่านั้น ช่างวรจึงตัดสินใจขยายพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มอีก 75 ไร่ ในช่วงต้นปี 2558 ทำให้เขามีพื้นที่ปลูกอ้อยถึง 100 ไร่

หลังจากตัดอ้อยรุ่นแรก ช่างวรได้ใช้รถไถนา 24 แรงม้า ติดจอบหมุนตีกำจัดหญ้าระหว่างกออ้อย แล้วให้น้ำเข้าร่องเพียงครั้งเดียวโดยไม่มีการให้ปุ๋ยใดๆ เพิ่ม ปรากฏว่าอ้อยตอปีที่สองมีความสมบูรณ์ มีการแตกหน่อใหม่ไม่ต่ำกว่า 20 หน่อ ต่อกอ

มีการตั้งเดิมพันเล็กๆ อีกครั้งว่า ตัดอ้อยครั้งหน้าจะได้ถึง 30 ตัน ต่อไร่ หรือไม่? ลุงแก้ว บอกว่า อ้อยแต่ละกอจะมีหน่อมากขึ้นอีกหากบำรุงด้วยปุ๋ยผงจุลินทรีย์ 500 กิโลกรัม ต่อไร่ เขาจะได้ผลผลิตถึง 35 ตันต่อไร่! ไม่เชื่อก็ต้องลองพิสูจน์กันดูครับ! สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ “ตั้ม-อภิชา ด่านไพบูลย์” 093-584-6654 ผู้จัดการ หจก. โปรบิซิเนส บุญทรงสุข

สำหรับผู้ที่อยากปลูกแก้วมังกรไว้รับประทาน แต่มีพื้นที่จำกัด เชิญทางนี้เลยค่ะ เด็ดมาก

การปลูกแก้วมังกรในกระถาง เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่น้อย
วัสดุ – อุปกรณ์ :
1.ท่อน้ำทิ้งข้างในกลวง หน้ากว้าง 4 นิ้ว ยาว 1.3 เมตร (หรือเสาไม้ก็ได้)
2.กระถางหน้ากว้าง 50 เซนติเมตร
3.ค้างด้านบนอาจทำจากไม้หรือปูน เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง x ยาว 30 เซนติเมตร
4.ขุยมะพร้าว
5.ดิน
6.เชือกฟาง

วิธีการปลูก
1.ใช้เสาตั้งเป็นหลักในกระถาง
2. ใส่ขุยมะพร้าวรองก้นกระถางเพื่อให้น้ำถ่ายเทได้ดี ในอัตราส่วน 1 ใน 3 ของปริมาตรกระถาง จากนั้นนำดินสำเร็จรูปผสมกับขุยมะพร้าวหรือแกลบดำใส่ลงไปในกระถางจนถึงขอบกระถาง
3.นำต้นแก้วมังกร มาปลูกให้ชิดกับเสา แล้วใช้เชือกฟางมัดต้นแก้วมังกรให้ติดกับเสา ไม่ต้องมัดให้แน่นมาก ควรผูกไว้จนกว่าต้นแก้วมังกรจะเจริญเติบโตจนพ้นหัวเสา
4.จากนั้นนำดินมากลบด้านบนของกระถางเป็นอันเสร็จ ต้นแก้วมังกรเป็นสามเหลี่ยมแต่จะมีอยู่ด้านหนึ่งที่เป็นด้านแบน ดังนั้น เวลาผูกต้นแก้วมังกรให้จับด้านแบนของต้นเข้ากับหลัก เพราะว่าด้านแบนเป็นด้านที่จะออกราก
การดูแลแก้วมังกรในกระถาง
1.การรดน้ำ ให้รดน้ำเพียง 1 ครั้ง ภายใน 2-3 วัน และไม่ควรรดมากเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคโคนเน่าได้
2.การให้ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยทุก 15 วัน ใส่ครั้งละ 2-4 ช้อนโต๊ะ สูตรที่ใช้ 15-15-15 หรือ 16-16-16 หลังจากใส่ปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำติดต่อกันเป็นเวลา 3 วัน (วันละครั้ง เช้าหรือเย็นก็ได้) ถ้ามีปุ๋ยคอก เช่น มูลไก่ หรือมูลวัว ก็ใช้ได้ และให้ใส่เดือนละ 1 ครั้ง เมื่อปลูกได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ผสมกับ 15-15-15 ในอัตราส่วนครึ่งต่อครึ่ง

ผลผลิต : เมื่อแก้วมังกรอายุได้ 8 เดือน – 1 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต ประมาณ 30 ผล ต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 2 ประมาณ 50 ผล ต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 3 ประมาณ 100-200 ผล ต่อหนึ่งค้าง ปีที่ 4-15 ประมาณ 300 ผล ต่อหนึ่งค้างขึ้นไป ขนาดของผลโดยเฉลี่ย ประมาณ 3-4 ผล ต่อ 1 กิโลกรัม
ประโยชน์ของแก้วมังกร
แก้วมังกร เป็นผลไม้ที่มีทั้งสรรพคุณทางยา diariodeunacomunicadora.com คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพกับความงามอีกด้วย มักใช้บริโภคเพื่อจุดประสงค์ในการลดน้ำหนัก เพราะเนื่องจากเมื่อกินแก้วมังกรแล้วจะรู้สึกอิ่ม และแก้วมังกรเป็นผลไม้ที่มีกากใยสูงประกอบกับให้แคลอรีต่ำ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ให้ข้อมูลว่า แก้วมังกรสารที่มีประโยชน์คือ มิวซิเลจ (Mucilage) ซึ่งมีในเฉพาะในตระกูลกระบองเพชร มีลักษณะคล้ายวุ้นเจลช่วยดูดซับน้ำในร่างกาย และควบคุมระดับกลูโคสในคนที่เป็นโรคเบาหวานในชนิดที่ไม่ต้องใช้อินซูลินได้ สามารถช่วยในการบรรเทาโรคโลหิตจาง ช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้แก่ร่างกาย ช่วยในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน มะเร็งลำไส้ และต่อมลูกหมาก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของกระดูกและฟัน

ขณะที่ กรมวิชาการเกษตร ก็ให้ข้อมูลว่า ในแก้วมังกรพันธุ์เนื้อแดงเปลือกแดงนั้น ยังมีสารไลโคปีนซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งอีกด้วย

นอกจากนี้ แก้วมังกร ยังมีประโยชน์อีกมากมาย ดังนี้

ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส ชุ่มชื้น และมีส่วนช่วยในชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยต่างๆ
ช่วยดับร้อนและดับกระหาย
ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง เพราะมีวิตามินซีสูง
ช่วยบรรเทาอาการโรคความดันโลหิตได้
ช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็ง
ช่วยกระตุ้นการขับน้ำนมในสตรี
ช่วยดูดซับสารพิษต่างๆ ออกจากร่างกาย เช่น สารตกค้าง อย่าง ตะกั่ว ที่มาจากควันท่อไอเสีย หรือสารตกค้างที่มาจากยาฆ่าแมลง
มีกากใยสูง ช่วยในการขับถ่ายให้สะดวก แก้อาการท้องผูก
ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ แก้ปัญหาการขับถ่ายต่าง ๆ ให้ดีขึ้น