แจ้งผลผลิตทุเรียนหลง-หลินลับแลคุณภาพเยี่ยม มีที่อุตรดิตถ์

“ทุเรียน” ไม้ผลเศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเฉพาะทุเรียนหลงลับแล หลินลับแล ทุเรียนดี ศรีอุตรดิตถ์ ซึ่งจะออกมาสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม จนถึงสิงหาคม เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ แจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าทุเรียนคุณภาพเยี่ยมออกสู่ตลาดแล้ว จะซื้อหาต้องตรวจสอบประวัติให้ชัดแจ้ง

นายอุดมศักดิ์ คำมูล เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ในเขตพื้นที่ อำเภอลับแล อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ และ อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นพื้นที่ผลิตทุเรียนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งเดียวในภาคเหนือ มีพื้นที่ปลูกทุเรียนรวมทั้งสิ้น 40,005 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 32,190 ไร่ ผลผลิตรวม 48,933 ตัน จะออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคม 10% เดือนมิถุนายน 25% เดือนกรกฎาคม 30% เดือนสิงหาคม 20% เดือนกันยายน 15% เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง 84.0% พันธุ์พื้นเมือง 11.2% พันธุ์หลงลับแล 4.7% พันธุ์หลินลับแล 0.2% ในช่วงต้นฤดูทุเรียนจะมีราคาดีมาก

ปี 2561 ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล มีพื้นที่ปลูก 2,485 ไร่ ให้ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ 1,750 ไร่ ให้ผลผลิต 2,275 ตัน ราคาจำหน่าย กิโลกรัมละ 400-450 บาท (น้ำหนักเฉลี่ยผลละ 1.5-2 กิโลกรัม) ส่วนพันธุ์หลินลับแล มีพื้นที่ปลูก 400 ไร่ ให้ผลผลิตแล้ว 120 ไร่ ได้ผลผลิต 108 ตัน ราคาจำหน่าย กิโลกรัมละ 600-700 บาท (น้ำหนักเฉลี่ยผลละ 1.5-2 กิโลกรัม) ซึ่งทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และพันธุ์หลินลับแล เป็นทุเรียนพันธุ์ พื้นเมืองที่มีคุณภาพดี ได้รับการรับรองพันธุ์ และประกาศเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI.) มีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัว เป็นของดีที่มีประวัติเรื่องราวการพัฒนามาอย่างยาวนาน จนเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียง มีราคา และคุณค่าที่งดงามต่อความรู้สึกของผู้ผลิต ผู้บริโภค และประชาชนทั่วไป มีความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของสมบัติอันล้ำค่าของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่เป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย และหนึ่งเดียวในโลก มีปัญหาข้อสงสัย ขอให้ติดต่อสอบถาม เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ โทร. (055) 411-769 หรือ

วันที่ 13 มิถุนายน 2561 นายประสงค์ กองมะลิ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา กล่าวว่า ขณะนี้ชาวสวนลำไยในพื้นที่ ต.เชียงคำ และ ต.น้ำแวน ซึ่งเป็นสวนลำไยแปลงใหญ่ พื้นที่รวมกันประมาณ 800 ไร่ กำลังเข้าโครงการพัฒนาลำไยแปลงใหญ่ โดยกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไย เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งมีนักวิชาการด้านการเกษตรและนักวิจัยมาช่วยเหลือด้านองค์ความรู้การพัฒนาคุณภาพลำไยแปลงใหญ่ในครั้งนี้ ผลผลิตเฉพาะกลุ่มแปลงใหญ่ คาดว่าปีนี้จะให้ผลผลิตประมาณ 800 ตัน เฉลี่ยผลผลิต ไร่ละ 1 ตัน ขณะเดียวกันผลผลิตดังกล่าวจะทำเป็นคุณภาพคัดสดช่อให้ได้มาตรฐาน GAP เพื่อสามารถส่งออกไปยังประเทศจีนด้วย

นายก อบต. เชียงบาน กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ทางกลุ่มแปลงใหญ่ฯ ยังได้มีแผนการพัฒนาลำไยคุณภาพสดช่อระดับพรีเมี่ยม AA เพื่อส่งตรงถึงมือผู้บริโภคในอนาคตด้วย โดยคาดว่าจะเปิดรับออเดอร์ในต้นเดือนกรกฎาคม 2561 เมื่อได้ทราบราคาต้นฤดูกาล และจำนวนผลผลิตที่ชัดเจน จะเปิดรับออเดอร์จากผู้บริโภคทั่วประเทศสามารถสั่งตรงกับกลุ่มแปลงใหญ่ฯ จะช่วยกระจายผลผลิตลำไยของเกษตรกรออกสู่ผู้บริโภคทั่วประเทศ ซึ่งทั้งการกระจายผลผลิตลำไยสดช่อทั้งส่งออกต่างประเทศ และส่งถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ ประกอบกับผลผลิตลำไยที่ลดลงเหลือประมาณ 60% ทำให้คาดว่าปีนี้สถานการณ์ราคาลำไยจะดีกว่าปีที่ผ่านมา คาดการณ์ราคาต้นฤดูน่าจะเริ่มต้นที่ กิโลกรัมละ 20-25 บาท

กว่า 70 ปี ที่หมูยอนายเติม อยู่คู่เมืองอุดร จนกลายเป็นต้นตำรับหมูยอเมืองอุดร นางณัฏฐนันทน์ ผลากุลสันติกร หรือ คุณเมย์ เล่าให้ “ประชาชาติธุรกิจ” ฟังว่า คุณพ่อ คือ นายเติม ตรั่นหงอก และ คุณแม่ คือ นางกวาง ดว่านถิ เป็นชาวเวียดนาม ได้อพยพเข้ามาตั้งหลักปักฐานที่จังหวัดอุดรธานี เมื่อ 70 กว่าปีที่ผ่านมา หาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นช่างก่อสร้าง และทำขนม ทำไอศกรีมขาย ต่อมานายรือ ซึ่งเป็นพี่เขยของนายเติมได้สอนให้ทำ “หมูยอ” เพื่อเป็นการสลับสับเปลี่ยนสินค้าเอาไว้ขายเพิ่มเติม

ด้วยความที่นายเติมมีลูกหลายคน ประกอบกับเป็นคนมีฝีมือในการทำอาหาร เกิดความคิดต่อยอดจากฮอตดอกของฝรั่งที่มีราคาแพง มาเป็นการทำหมูยอ โดยใช้วัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ใช้ใบตองห่อ ซึ่งสมัยนั้นการใช้พลาสติกยังไม่แพร่หลาย มีการพัฒนาการปรับสูตรจนสำเร็จ และได้ทดลองหาบขายไปตามสถานที่ต่างๆ

ด้วยความแปลกใหม่ของสินค้า รสชาติอร่อย ราคาไม่แพง จึงทำให้หมูยอได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ ปี 2499 จนถึงปัจจุบัน หลังจากคุณแม่ คือ นางกวาง เสียชีวิต นายเติมจึงขอวางมือและส่งต่อกิจการให้นางณัฏฐนันทน์ ซึ่งเป็นลูกสาวคนเล็กดูแลกิจการต่อ เพื่อเป็นการต่อยอดภูมิปัญญา “ต้นตำรับหมูยอเมืองอุดร” ต่อไป

จากการหาบเร่ขายหมูยอ ได้มีแนวคิดเรื่องการหาร้านเพื่อให้ลูกค้ามาติดต่อและซื้อสินค้าได้ง่าย จึงได้เริ่มจากแผงขายในตลาดเทศบาล 1 จนกระทั่งเปิดร้านในตลาดเทศบาล 1 โดยใช้ชื่อร้านว่า “หมูยอนายเติม” และขยายสาขามาเปิดข้างไปรษณีย์ศรีสุข เป็นสาขา 2 เมื่อเร็วๆ นี้ โดยวางเป้าหมาย สาขา 2 เพื่อต่อยอดธุรกิจ ในการติดต่อกับคู่ค้าและลูกค้า ซึ่งแต่เดิมเป็นผู้ผลิต และวันหนึ่งลูกค้าอยากพบคนผลิต

นอกจากนั้น นายเติมยังได้สอนสูตรการทำหมูยอให้กับลูกๆ หลายคน และได้ต่อยอดไปมีครอบครัวและสร้างแบรนด์ของตัวเอง เช่น หมูยอพรทิพย์, อุดรหมูยอ เป็นต้น

นางณัฏฐนันทน์ บอกอีกว่า ได้วางตำแหน่งของแบรนด์ “นายเติม” เป็นเหมือนกับผู้ใหญ่ใจดี ที่สามารถพูดคุยสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ได้อย่างเข้าใจ และสามารถปรับเปลี่ยนไปตามยุค ตามสมัย ตามสังคมได้ แต่ยังคงรักษาความดั้งเดิมเอาไว้ เจาะตลาดระดับกลางถึงบน มีทั้งกลุ่มลูกค้าขาจร ขาประจำ ร้านอาหารเวียดนามตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงภัตตาคาร รวมถึงโรงแรมด้วย ซึ่งลูกค้าที่มาซื้อไกลที่สุด คือ จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เป็นต้น นอกจากนั้น ยังได้รับจ้างผลิต (OEM) ภายใต้แบรนด์ลูกค้าอีก 4 แบรนด์ด้วย

เสน่ห์ของหมูยอนายเติม ซึ่งเป็นต้นตำรับ คือ การห่อใบตอง ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าที่มาซื้อ และส่วนใหญ่จะยังชอบรสชาติเดิมๆ ของพ่อ คือ สูตร “หมูล้วน” และ สูตร “หนัง” นอกจากนั้น ได้คิดสูตรเพิ่มเติมในปัจจุบัน คือ “หมูยอพริกไทยดำ” และ “หมูยอวุ้นเส้น”

และแนวคิดต่อไปคือ การทำหมูยอสำหรับรับประทานพอดี “คำ” เพราะบางคนไม่สะดวกในการหั่นหรือตัด จึงมีแนวคิดนึกถึงขนมที่แกะเป็นชิ้นหรือคำ โดยซื้อไปแกะห่อแล้วรับประทานได้เลย แต่ยังห่อใบตองอยู่

ปัจจุบัน หมูยอนายเติม มี 3 รสชาติ คือ หมูล้วน หนัง และพริกไทยดำ มี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็ก ราคา 30 บาท, ขนาดกลาง ราคา 50 บาท และขนาดใหญ่ ราคา 100 บาท ราคานี้ขายมา 20 กว่าปี ตั้งแต่หมูราคากิโลกรัมละ 60-70 บาท ไม่เคยปรับขึ้น เพราะไม่อยากผลักภาระให้ผู้บริโภค และยังยืนยันขายราคานี้ ส่วนวัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ในท้องถิ่นเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง แต่บางอย่างที่อุดรฯ ยังไม่มีขาย ต้องสั่งจากกรุงเทพฯ เช่น แพ็กเกจจิ้งบางอย่างที่มีคุณสมบัติด้านอาหาร เป็นต้น

นอกจากนั้น ยังได้ทำ “หมูยอแผ่น” สำหรับลูกค้าที่นิยมนำไปทอดรับประทาน มีทั้งกลุ่มลูกค้าทางไกลและร้านอาหาร ส่วนหมูยอห่อพลาสติกที่เห็นขายทั่วไปตามตลาดยังไม่ได้ทำ เนื่องจากมองว่า ต้องการต่อยอดสูตรของคุณพ่อ คือ หมูยอที่ห่อด้วยใบตอง และต้องการใช้วัตถุดิบที่ไม่ทำลายโลก ซึ่งได้ทำ “หมูยอไปนอก” เกิดจากแนวคิดที่ว่า หมูยอเป็นอาหารสดห่อใบตอง ลูกค้าจากต่างประเทศที่กลับมาเยี่ยมบ้านในเมืองไทย หรือมาเที่ยวอุดรธานี เวลาจะกลับไปต่างประเทศอยากซื้อหมูยอติดไม้ติดมือกลับไปด้วย จึงไปคุยกับกลุ่มนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เล่าปัญหาให้ฟัง จึงได้ทำหมูยออัดสุญญากาศ เพื่อช่วยให้เดินทางไปต่างประเทศได้ และยืดอายุอาหารได้เป็นเดือน

ปัจจุบัน มีการแตกไลน์สินค้าภายใต้แบรนด์นายเติม เช่น กุนเชียง ไส้กรอก หมูยอแผ่น หมูหย็อง ไส้กรอกอีสาน เส้นสดกวยจั๊บยวน เป็นต้น ขายผ่านช่องทางขนส่งทางรถไฟ รถทัวร์ บริษัทขนส่ง หน้าร้าน เบอร์โทร. เฟซบุ๊ก ไลน์ และกำลังศึกษาเรื่องช่องทางโซเชียลเพิ่มเติม เช่น แอปพลิเคชั่น เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีแนวคิดการทำรถโมบาย ออกไปขายตามงานต่างๆ

นอกเหนือจากการออกบู๊ธตามงานอีเวนต์ ส่วนแนวคิดการขายแฟรนไชส์นั้นยังไม่มี แต่มีลูกค้าสอบถามเข้ามาพอสมควร อาจจะเป็นการหาตัวแทนจำหน่าย

นางณัฏฐนันทน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันภาพรวมตลาดหมูยอในอุดรธานี มีผู้ประกอบการกว่า 100 แบรนด์ ในอุดรธานี มีการตั้งราคาจำหน่าย ตั้งแต่ล่าง กลาง บน แต่ละรายล้วนมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับความชอบของลูกค้า แต่ต้นตำรับหมูยอนายเติม ยังคงยึดเอกลักษณ์ดั้งเดิมและเดินหน้าต่อไป

กยท. ร่วม ก.กลาโหม นำน้ำยาง 17,000 ตัน สร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์-ปูพื้นบ่อน้ำ มุ่งเป้า ดูดซับยางพาราไปใช้ในหน่วยงาน ตามนโยบายรัฐบาล

เมื่อเร็วๆนี้ การยางแห่งประเทศไทย ร่วมกับกระทรวงกลาโหม แถลงนำน้ำยางพารา กว่า 17,000 ตัน งบประมาณ 2,600 ล้านบาท พร้อมนำไปสร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ และสร้างบ่อน้ำปูพื้นยางพารา ตามแผนกิจกรรมของกระทรวงกลาโหมที่ดำเนินการอยู่ มั่นใจ ช่วยดูดซับยางพาราไปใช้ในหน่วยงานของรัฐ ตามนโยบายรัฐบาล

นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการ กยท. แถลงว่า เป็นโอกาสดีที่ทางคณะของผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงกลาโหมได้ร่วมประชุมหารือด้านความร่วมมือ เพื่อนำน้ำยางสดจากเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศไปใช้ในโครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อผลักดันราคายางพาราในประเทศให้สูงขึ้น ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้รับอนุมัติงบประมาณจากคณะรัฐมนตรี เพื่อจะช่วยเหลือชาวสวนยางที่ประสบกับสถานการณ์ราคายางตกต่ำ จึงมีนโยบายให้หน่วยงานภาครัฐต่างๆ รวมทั้งกระทรวงกลาโหมนำน้ำยางจากชาวสวนยางไปใช้ในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งกิจกรรมที่กระทรวงกลาโหมดำเนินการมีอยู่ 2 กิจกรรม คือ การปรับปรุงถนนด้วยการทำเป็นถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ และการสร้างสระเก็บน้ำโดยใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบปูพื้นบ่อ

“ภายใต้โครงการนี้ กระทรวงกลาโหมแจ้งปริมาณความต้องการใช้น้ำยางข้น ประมาณ 17,913 ตัน โดยมีวงเงินงบประมาณทั้งหมด ประมาณ 2,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณฉุกเฉินเพื่อแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ จะเป็นการช่วยดูดซับผลผลิตน้ำยางที่ออกสู่ตลาด นำเข้าสู่กระบวนการทำถนนและสระเก็บน้ำ นอกจากนี้ ล่าสุด (8 มิ.ย. 61) ยังมีหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ แจ้งความประสงค์ที่จะใช้ยาง ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้ยางของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งสิ้นประมาณ 180,000 ตัน ถือเป็นปริมาณที่มากพอสมควร จึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถทำให้ชาวสวนยางที่ขายน้ำยางสด มีรายได้เพิ่มมากขึ้น และจะทำให้มีการดูดซับน้ำยังเข้าไปใช้ ในกิจการต่างๆ ของภาครัฐได้” ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเสริมว่า

พลโทณัฏฐพัชร สกุลรังสฤษฎ์ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย แถลงว่า กระทรวงกลาโหม พร้อมที่จะดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องของการช่วยเหลือยางราคาตกต่ำ ที่ผ่านมาได้มีการร่วมประชุมร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงกลาโหมมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องของการทำถนนโดยร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม และกรมการทหารช่าง มีการฝึกอบรมและสาธิตในเรื่องของการสร้างถนน เมื่อทางรัฐบาลได้สั่งจ่ายงบประมาณมาแล้ว ทางกลาโหมพร้อมดำเนินการทันทีและจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2561

โดยจะเป็นการสร้างถนนในพื้นที่ชนบท หมู่บ้าน กระจายไปเกือบ 70 กว่าจังหวัด เน้นความสำคัญให้เกิดความสะดวก ปลอดภัย และยกระดับเศรษฐกิจของประชาชนผู้อาศัยในชุมชน เพื่อขนส่งพืชผลทางเกษตรเป็นหลัก ทั้งนี้ แบ่งเป็นถนนในส่วนของกองบัญชาการกองทัพไทย จำนวน 278 เส้นทาง ซึ่งมีระยะทางยาว 604 กิโลเมตร ในส่วนของกองทัพบก มีจำนวน 405 เส้นทาง ระยะทางยาว 932 กิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 683 เส้นทาง เป็นระยะทางยาวกว่า 1,500 กิโลเมตร โดยจากการทดสอบของกรมทางหลวง พบว่า ถนนพาราซอยด์ซีเมนต์ จะมีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่าดินลูกรังทั่วไป ประมาณ 3-4 เท่า

พลตรีนิรันดร ศรีคชา ผู้อำนวยการสำนักกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก กล่าวว่า ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม กระทรวงกลาโหมจะดูดซับน้ำยางสดได้ถึง 17,913 ตัน เพื่อนำไปปรับปรุง ซ่อมถนน และสร้างบ่อน้ำปูพื้นยางพารา ซึ่งเป็นบ่อน้ำในไร่นา มีขนาดประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตร โดยจะขุดบ่อให้ประชาชนผู้อาศัยในชุมชนขนาดเล็กได้ใช้น้ำจากแหล่งน้ำนี้ โดยหลังจากขุดสระน้ำจนมีขนาดตามที่ต้องการแล้ว จะนำยางพาราไปปูที่พื้นบ่อด้วยการทาบนผ้าดิบ จะช่วยกันและแก้ปัญหาเรื่องการรั่วซึมของน้ำในบ่อลงสู่ผิวดิน ซึ่งจะดำเนินการขุดเป็นบ่อเก็บน้ำ ทั้งหมด 60 บ่อ กระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีการพัฒนาและวิจัยไปด้วย หากเกิดผลดีรัฐบาลก็จะพัฒนาและทำกิจกรรมลักษณะนี้อีกในปีต่อไป

กรมส่งเสริมสหกรณ์ ระดมความเห็น หาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เตรียมทำโมเดลแก้หนี้เพื่อขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ

กรมส่งเสริมสหกรณ์ จัดเวิร์กช็อปหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ระดมสมองตัวแทนสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อจัดทำโมเดลแก้หนี้ พร้อมนำร่องใช้แก้ปัญหาหนี้สินสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ก่อนขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆ ทั่วประเทศ

นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับนโยบายจาก นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้หาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ ล่าสุดกรมจึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 120 คน ประกอบด้วย กรรมการและฝ่ายจัดการสหกรณ์ออมทรัพย์ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 100 คน รวมทั้ง ยังมีผู้สังเกตการณ์และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์อีก 20 คน โดยทั้งหมดได้ร่วมกันระดมสมองและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนและหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน

สำหรับการจัดประชุมครั้งนี้ มีเป้าหมายหลักเพื่อรับทราบปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ และแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นด้านการบริหารสินเชื่อของสหกรณ์ ควบคู่ไปกับการหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ตามนโยบายของรัฐบาล รูปแบบการประชุมมีทั้งการบรรยายจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการเงิน การแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ ก่อนจัดทำเป็นโมเดลต้นแบบการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับสมาชิกของสหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากนั้นจึงจะขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆ ทั่วประเทศ

ทั้งนี้ รูปแบบสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นการจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นสวัสดิการให้กับบุคลากร ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่มีรายได้และเงินเดือนประจำ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหกรณ์ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และถือว่าเป็นไปตามหลักการของสหกรณ์ ที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกให้เกิดความมั่นคง ซึ่งดำเนินธุรกิจหลักของสหกรณ์ออมทรัพย์ ได้แก่ การส่งเสริมให้สมาชิกออมเงินในลักษณะของหุ้นหรือเงินฝาก และการให้สินเชื่อ ในลักษณะของเงินกู้

นายวิศิษฐ์ กล่าวว่า ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่ามีสหกรณ์บางแห่งมุ่งดำเนินธุรกิจเพื่อแสวงหารายได้มาแบ่งปันกันในหมู่สมาชิก ขยายวงเงินกู้กับสมาชิกเป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้คำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกว่ามีมากน้อยเพียงใด จึงก่อให้เกิดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการหนี้ของสมาชิกตามมา และทำให้การบริหารงานของสหกรณ์ออมทรัพย์บางแห่งต้องประสบปัญหาในที่สุด

“ที่ผ่านมา มีสมาชิกสหกรณ์ส่วนหนึ่งได้ขอความช่วยเหลือมายังรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้เร่งหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน จึงได้มอบหมายให้กรมร่วมกับสหกรณ์ต่างๆ ช่วยกันหาทางออกร่วมกัน โดยได้เชิญทุกคนที่เกี่ยวข้องมาช่วยกันนำเสนอความเห็นและแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ประชุมได้เสนอเรื่องการให้ความรู้แก่สมาชิกสหกรณ์ได้รู้จักการวางแผนทางการเงิน และหาทางเสริมสร้างวินัยทางการเงินกับสมาชิก ซึ่งกรมจะทำโมเดลต้นแบบเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์และนำเข้าไปส่งเสริมแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลก่อน หากประสบผลสำเร็จก็จะขยายผลไปสหกรณ์ออมทรัพย์ทั่วประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินของสมาชิกสหกรณ์ให้บรรลุเป้าหมาย ในการสร้างความมั่นคงในชีวิตของสมาชิกสหกรณ์” รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าว

MIT สหรัฐอเมริกา/สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โดยโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส นำทีมผู้ชนะเลิศการประกวดแผนธุรกิจระดับโลก 2 รายการใหญ่ คือ Global Social Venture Competition และ MIT Enterprise Forum Thailand ซึ่งเมืองนวัตกรรมอาหาร ร่วมกับ

ศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม (IDE Center) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยได้เดินทางไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อก้าวสู่เวทีระดับโลก พร้อมเปิดโอกาสทางธุรกิจ และเชื่อมโยงกับนักลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้ ยังได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ MIT Enterprise Forum Thailand (MITEF) ที่สถาบัน เอ็มไอที เป็นผู้จัดขึ้นอีกด้วย โดยทีมที่ได้รับการคัดเลือกของไทย ได้แก่ ทีม AIM Solution ผู้พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้เป็นตัวช่วยสำหรับครู ผู้ปกครอง และนักบำบัด

ในการฝึกฝนการสื่อสารกับเด็กออทิสติก ทีม Algeaba เทคโนโลยีการเลี้ยงสาหร่าย สำหรับ Future Feed ในอนาคต รวมถึงทีม Fresh and Green ผู้นำเทคโนโลยีเชิงลึกทางด้านวัสดุศาสตร์ ในการสร้างวัสดุย่อยสลายทางชีวภาพ เพื่อเคลือบผักผลไม้สำหรับส่งออกให้มีอายุยาวนานขึ้นหลายเท่าตัว ซึ่งทั้ง 3 ทีม ได้เดินทางไปกับโครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร ศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และพันธมิตรในเครือข่าย เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมที่จัดโดยผู้เชี่ยวชาญของ MIT เพื่อต่อยอดแผนธุรกิจ รวมทั้งได้มีโอกาสนำเสนอแผนธุรกิจของตนเอง ในงาน Startup spotlight ที่จัดโดย MITEF อีกด้วย

ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอ เมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า ความสำเร็จดังกล่าว เริ่มจากความร่วมมือของเมืองนวัตกรรมอาหาร กับศูนย์สร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ม.หอการค้าไทย (IDE center) ที่ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมอาหาร เพื่อผลักดันนักรบสตาร์ทอัพไทยรุ่นใหม่ไปสู่เวทีโลก โดยทาง เอ็มไอที (MIT) ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก้าวเข้าสู่สตาร์ทอัพที่มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกและสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยอาศัยนวัตกรรมและการคิดแก้ปัญหาใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในวงกว้างได้อย่างแท้จริง จึงทำให้สตาร์ทอัพของไทยได้มีโอกาสก้าวเข้าสู่เวทีโลกในครั้งนี้

เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 13 มิถุนายน ที่สวนทุเรียนอภิรัญญา ต.บางรักน้อย อ. เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี นายชัยรัตน์ จํานงค์การ เจ้าของร้านริเวอร์ไวน์ปากเกร็ด ผู้ที่ประมูลทุเรียนนนทบุรีในราคาสูงสุด 800,000 บาท ได้เดินทางมาตัดทุเรียนนนท์พันธุ์หมอนทอง ที่สวนอภิรัญญา จำนวน 11 ลูก ที่ได้จองไว้ในราคา 56,000 บาท โดยมี นายสยาม ตาลปึก เจ้าของสวน พร้อมด้วยผู้ดูแลคอยช่วยตัดให้ โดย นายชัยรัตน์ ได้ปีนขึ้นไปลงมือตัดทุเรียนเอง จำนวน 2 ลูก ส่วนที่เหลือทางเจ้าของสวนได้ให้ผู้ดูแลเป็นคนตัดให้