แต่ถึงอย่างไรก็ต้องทนทำ เพราะใจรักและทำมานานเป็นแปลงเดียว

รายเดียวที่สามารถบอกได้ว่า ใหญ่ที่สุดในแถบนี้ เพราะนอกนั้นก็ทำแบบปลูกกินเอง “ตลาดขณะนี้ไปได้ แต่ราคาจะลดลงบ้าง ก็พออยู่ได้ ฝากถึงรัฐบาลช่วยเกษตรกรด้วย แปลงของเรามีความพร้อม ทั้งผู้ที่ต้องการศึกษาดูงาน แหล่งน้ำก็ไม่มีปัญหา เราขุดบ่อเอง มีน้ำไหลเวียนเพียงพอ สามารถปลูกส่งได้ ทุกวันนี้ ผักต่างๆ จะออกประมาณวันละ 1 ตัน ก็ยาก ลดลงมามากพอสมควร”

คุณวาฤทธิ์ บอก และเล่าต่ออีกว่า “การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ถือได้ว่าเป็นเทรนด์การปลูกผักแบบใหม่ที่กำลังมาแรงสุดๆ เนื่องจากมีขั้นตอนที่ไม่ยาก ใช้พื้นที่ไม่ต้องมาก ไม่ต้องพึ่งดินหรือออกแรงจับจอบจับเสียมให้เหนื่อย แต่ก็ได้ผักที่สด สะอาด อร่อย และปลอดภัย ไร้สารพิษ มากินแบบสะดวกๆ โดยถ้าหากใครกำลังมองหาวิธีการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์อยู่ละก็ วันนี้ทางฟาร์มสามารถรวบรวม การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ดีๆ มาฝากแล้วค่ะ

หน่วยงานราชการใด สนใจอยากศึกษา หรือดูงานก็ติดต่อไปได้ตลอดเวลา และส่วนที่ต้องการนำไปจำหน่าย ติดต่อได้ที่ คุณวาฤทธิ์ นันบุญตา “อธิพงศ์” ฟาร์ม บ้านห้วยแสง หมู่ที่ 3 ตำบลหนองแวง อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โทร. 093-615-6358 …ยินดีให้บริการคำแนะนำ

คุณพรเพ็ญ เจริญสุวรรณ หรือคุณนก เจ้าของสวนมะม่วงขายตึกที่มีชื่อเสียงของจังหวัดฉะเชิงเทรา และเป็นเกษตรกรรายแรกๆ ที่เริ่มปลูกมะม่วงขายตึก บนพื้นที่ 120 ไร่ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา บอกเล่าถึงจุดเด่นและวิธีการขยายพันธุ์ของมะม่วงขายตึกว่า

เป็นมะม่วง 3 รส เปรี้ยว หวาน มัน ให้ลูกดกติดผลง่าย นิยมทานดิบจิ้มกับพริกเกลือรสชาติกำลังดี ผลสุกเนื้อข้างในจะมีสีเหลืองเหมือนขมิ้น น่าทาน โดยมีเคล็ดลับความอร่อย เวลาเก็บจากต้นจะต้องค้างคืนไว้ 1 คืน เพื่อให้ลืมต้น แล้วจะเจอรสชาติอร่อย

คุณพรเพ็ญใช้วิธีการเสียบกิ่งพันธุ์ โดยใช่มะม่วงกะล่อนทองเป็นตอ เน้นความแข็งแรง มะม่วงกะล่อนโดยธรรมชาติแล้วรากจะลึกหากินเก่ง เพราะหลังๆมะม่วงมีการทำสารระงับการเจริญเติบโตการแตกใบอ่อน และถ้าเจออากาศร้อนๆ ต้นจะโทรมจัด เพราะฉะนั้นถ้าใช้มะม่วงกะล่อนเสียบตอในอนาคตจะดี ถ้าดูแลดี ถูกวิธี ลูกจะโต

ระยะติดดอก-ออกผล

เดือนตุลาคมเริ่มทำดอก ออกผลช่วงเดือนพฤศจิกายน เก็บขายช่วงเดือนธันวาคม ถึงปลายเดือนเมษายน เดือนมีนาคมมะม่วงขายตึกจะออกผลเยอะ ห่อผลอยู่กับลูกประมาณ 50วัน ให้ผลผลิตต่อต้น ประมาณ 300กิโลกรัม ราคาขายในปัจจุบันอยู่ที่ กิโลกรัมละ 60 บาท โดยประมาณ

คุณพรเพ็ญ บอกว่า จริงๆแล้วมะม่วงขายตึกไม่ได้มีวิธีการดูแลที่พิสดารกว่ามะม่วงพันธุ์อื่นๆ มีการแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย แต่วิธีการใส่ปุ๋ยให้ดูจากเส้นผ่านศูนย์กลางต้น เพราะในกรณีที่เราให้เคมีบ่อยๆ บางครั้งเราต้องเริ่มเปลี่ยนเป็นให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอกบ้าง เพื่อปรับสภาพดิน

ใส่ปุ๋ยก่อน แล้วแต่งกิ่ง พอใบอ่อนออก เรื่องน้ำสำคัญสำหรับหน้าแล้ง มะม่วงต้องมีระบบน้ำช่วย ทำระบบสปริงเกอร์เข้าโคนต้น ถ้ามีกำลังสามารถที่จะทำได้ให้ทำเลยเพราะเวลาราดสารใส่ปุ๋ยต้องรดน้ำโอกาสต้นจะได้กินเร็ว โอกาสทำนอกฤดูก็สูงขึ้นและทำได้สะดวกกว่าสวนที่ไม่มีระบบน้ำ

“มะนาว” ไม้ผลตระกูลส้ม มีรสเปรี้ยวและกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย อาทิ ปรุงแต่งรสชาติอาหาร ใช้ทำขนม เครื่องดื่ม เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ความงาม นำไปแปรรูป ตลอดจนเป็นวัตถุดิบสินค้าในภาคอุตสาหกรรมจำพวกผลิตภัณฑ์ประเภทซักล้าง จากคุณสมบัติที่รอบด้าน ส่งผลให้มะนาวขายได้ตลอดทั้งปี

ตลาดมีความต้องการมะนาวตลอดเวลา ดังนั้น จะดีแค่ไหน ถ้ามะนาวที่ปลูกสามารถย่นระยะเวลาเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ถ้าอยากรู้ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” มีเคล็ดลับดีๆ ของ คุณประวิทย์ แซ่โง้ว เกษตรกรเจ้าของพื้นที่ 20 ไร่ ในตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ผู้คิดค้นเทคนิคการปลูกมะนาวต้นคู่ โตเร็ว ให้ผลผลิตที่ไวกว่าเดิม

คุณประวิทย์ เป็นคนชอบคิดค้นสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เดิมสวนแห่งนี้ปลูกแต่มะนาวต้นเดี่ยวเป็นแบบยกร่อง ต่อมาทดลองปลูกเป็นแบบต้นคู่ หรือ 2 ต้น ลักษณะลำต้นไขว้กันในหลุมเดียวกัน แทนที่มะนาวจะโตช้า กลับโตเร็วเหมือนแข่งกันโต ฉะนั้น จึงนำเทคนิคดังกล่าวมาขยายผลอย่างจริงจัง

พื้นที่จำนวน 20 ไร่ ปลูกมะนาวต้นคู่ทั้งหมด โดยใช้มะนาวพันธุ์แป้นพวง เพราะเปลือกบางให้น้ำปริมาณมาก ขายได้ราคาดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภค

พื้นที่ปลูกเป็นสวนแบบยกร่อง ใช้ระยะปลูกมะนาว 4×4 เมตร ขนาดหลุมกว้างและลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ปลูกในดินได้ทุกชนิด อาทิ ดินเหนียว ดินทราย ดินปนทราย แม้กระทั่งดินลูกรัง บริเวณก้นหลุมรองด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

ส่วนวิธีปลูก นำกิ่งพันธุ์จำนวน 2 กิ่ง ลงปลูกในหลุมเดียวกัน ลักษณะลำต้นไขว้กัน หรือวางติดกัน จากนั้นกลบดินบริเวณโคนต้นให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้กิ่งล้มหรือกิ่งฉีกหัก นำไม้มาปักพร้อมกับผูกเชือก ตลอดจนถ้าบริเวณโคนต้นแดดแรง ให้ใช้หญ้าแห้ง ฟางข้าว มาพรางแสงแดด ทั้งนี้ เพื่อรักษาความชื้น

ในสัปดาห์แรก จะให้น้ำวันละครั้ง จากนั้นให้วันเว้นวัน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ หลังจากต้นมะนาวตั้งตัวได้ จะให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง ส่วนวิธีการใส่ปุ๋ย ถ้าเป็นปุ๋ยเคมีจะใส่ครั้งแรกหลังจากปลูกไปได้ 1 สัปดาห์ สูตร 46-0-0 ปริมาณ 1 ช้อนแกง ต่อหลุม ถัดจากนั้นอีก 2-3 สัปดาห์ จะใส่ปุ๋ย สูตร 25-7-7 หลุมละ 1 ช้อนแกง

เมื่อต้นมะนาวอายุ 3 เดือน จะใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 หลุมละ 1 กำมือ ใส่เดือนละครั้ง ไปจนกระทั่งมะนาวอายุได้ 5 เดือน นอกจากนี้ บำรุงต้นด้วยปุ๋ยคอกจากมูลสัตว์ ไร่ละ 1 ตัน ปีละ 2 ครั้ง หลังจากมะนาวเริ่มติดผล ปรับไปใส่ปุ๋ย สูตร 16-16-16 หลุมละ 3 กำมือ ต่อครั้ง

มะนาวต้นคู่จะให้ผลผลิตเร็ว และมีปริมาณสูงกว่าต้นเดี่ยวถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยต้นไม่โทรม แถมปุ๋ยที่ใช้ก็มีปริมาณเท่ากับต้นเดี่ยว มีเพียงต้นทุนค่ากิ่งพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่อย่างไรก็ตาม นับว่าคุ้มค่ากับผลผลิตที่ได้รับ

โรค-แมลงศัตรูพืชของมะนาว
ศัตรูมะนาวที่สำคัญ ได้แก่ หนอนชอนใบ เพลี้ยไฟ และโรคแคงเกอร์ ล้วนทำให้ผลผลิตลดลงถึงขั้นกิ่งและต้นแห้งตายไปในที่สุดเลยก็ว่าได้

หนอนชอนใบ สังเกตได้จากใบจะหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ ใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นไม่ติดผล ส่วนเพลี้ยไฟ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน ผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน หรือตั้งแต่เริ่มติดผล มะนาวที่ถูกทำลายจะปรากฏรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผลและก้นผล

โรคแคงเกอร์ สามารถเกิดขึ้นได้แทบทุกส่วน ทั้ง ใบ กิ่งก้าน และผล ลักษณะอาการ ใบและผลจะเป็นแผล ค่อยๆ ขยายใหญ่ขึ้น นูนคล้ายฟองน้ำ มีสีเหลืองอ่อนถึงสีเหลืองเข้ม ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นสะเก็ด มีวงแหวนสีเหลืองล้อมรอบ ส่วนอาการที่กิ่งและก้านจะมีแผลฟูนูนสีน้ำตาล ค่อยๆ ขยายไปรอบๆ กิ่ง เมื่อต้นมะนาวเป็นโรคนี้มาก ต้นจะโทรม ใบร่วง แคระแกร็น ผลผลิตลดลง กิ่งและต้นจะแห้งตายไปในที่สุด

การป้องกันและจำกัดศัตรูพืช วิธีแรกหมั่นคอยสำรวจแปลง หากพบกิ่งหรือผลที่ติดโรค ให้ตัดออกแล้วเผาทำลาย แต่กรณีที่ไม่สามารถควบคุมได้ ให้ใช้สารเคมีกำจัด

รับรองคุ้มทุน มีมะนาวขายได้ทั้งปี
มะนาวต้นคู่จะเริ่มให้ผลผลิตภายใน 14-15 เดือน ต่างจากมะนาวทั่วไปที่ให้ผลผลิต 19 เดือน หลังให้ผลผลิต 3-4 ปี สังเกตต้นมะนาวจะมีต้นใดต้นหนึ่งเริ่มโทรม ให้ปลูกต้นเสริมมาแทนที่ จนกว่าต้นเสริมจะแข็งแรงดีให้ตัดต้นที่โทรมออก จะได้ต้นมะนาวที่อยู่ในระยะให้ผลผลิตเต็มที่ตลอดเวลา

มะนาว จะออกช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน พื้นที่ปลูก 20 ไร่ มี 40 กว่าร่อง เก็บผลผลิตช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้ร่องละ 2,500 กิโลกรัม หรือประมาณไร่ละ 5 ตัน ถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งเก็บมะนาวได้เฉลี่ย 300 กิโลกรัม ต่อเดือน โดยผลผลิตที่เก็บได้ เป็นขนาดจัมโบ้ 40 เปอร์เซ็นต์ ขนาดกลาง 30 เปอร์เซ็นต์ และขนาดเล็ก 20 เปอร์เซ็นต์ เฉลี่ยแล้วมะนาวต้นคู่ 1 ต้น ให้ผลผลิตประมาณ 1,500 ลูก ต่อปี หากเป็นมะนาวต้นเดี่ยวจะให้ผลผลิตต้นละ 1,300 ลูก ต่อปี

แม้ว่าการปลูกมะนาวแบบต้นคู่จะโตเร็ว แต่ในด้านเงินลงทุนถือว่าค่อนข้างสูง เพราะต้องซื้อกิ่งพันธุ์เพิ่ม เบ็ดเสร็จแล้ว 1 ไร่ ตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งเก็บผลผลิต ประมาณ 60,000 บาท

แต่ถือว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะภายหลังมะนาวออกผลเพียงครึ่งปีก็สามารถคืนทุนได้แล้ว แถมหลังช่วงเก็บเกี่ยว หรือเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมจะมีพืชชนิดหนึ่ง เรียกว่า “หญ้าชิวคัก” ขึ้นเองตามธรรมชาติ นำไปใช้ทำขนม เช่น ขนมเข่ง ขนมเทียน ช่วยให้แป้งนิ่ม มีรสชาติดี ขายได้กิโลกรัมละ 300-400 บาท พื้นที่ 20 ไร่ มีหญ้าชนิดนี้ขึ้นราว 100 กิโลกรัม สร้างรายได้ครั้งละประมาณ 30,000 บาท

จะเห็นได้ว่า กรรมวิธีการปลูก การบำรุงดูแลรักษา “มะนาวต้นคู่” ไม่ได้มีความยุ่งยาก หรือแตกต่างไปจาก “มะนาวต้นเดี่ยว” ฉะนั้น เทคนิคง่ายๆ จากเกษตรกรรายนี้ นับว่าน่าลองนำไปใช้ทีเดียว

คุณพิสุทธิ์ ต๊ะปิง หมู่ที่ 9 บ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ (098) 593-7591 เล่าว่า หลังการย้ายกล้าพริกลงแปลงปลูกได้ประมาณ 15-20 วัน ก็จะต้องเริ่มแต่งกิ่งต้นพริก ต้นพริกจะมี 2 ง่ามก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นก็จะแตกง่ามเพิ่มจาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 ง่าม เป็นต้น

ส่วนที่แตกใบต่ำกว่า 2 ง่ามแรกลงมา ให้ริดใบและแขนงทิ้งให้หมด หรือความสูงจากพื้นดินขึ้นมา 30 เซนติเมตร ต้องริดใบหรือแขนงต้นออกให้หมด ซึ่งเป็นหลักการทั่วไปสำหรับการปลูกพริก โดยส่วนใหญ่ก็จะรู้ว่าจะต้องจัดการทรงต้นพริกแบบนี้ แต่ก็ไม่ค่อยทำกัน ซึ่งเหตุผลที่ทราบจากการได้พูดคุย คือ เสียดายใบพริก คิดว่าเสียเวลาในการเด็ดแขนงเหล่านี้ทิ้ง ซึ่งจริงแล้วเมื่อลำต้นหรือโคนพริก โปร่ง แดดส่องถึง ทำให้เป็นผลดีกับต้นพริกมากกว่า เช่น หน้าฝน ฝนตก โคนต้นพริกที่แฉะ เมื่อลมโกรกผ่านได้ดี แดดส่องถึง ก็จะทำให้ดินและทรงพุ่มพริกแห้งได้ไว แต่ถ้าพุ่มพริกแน่น ร่มทึบ โอกาสที่ต้นและผลพริกเน่าสูงมาก อีกอย่าง การที่ทรงพุ่มพริกทึบหนา การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงก็จะไม่ทั่วถึงอีกด้วย

การปฏิบัติบำรุงรักษา

พริก เป็นพืชที่ทนแล้งดีกว่าทนน้ำ แต่ในระยะที่พริกเริ่มออกดอก พริกจะต้องการน้ำมากกว่าปกติ พบว่า การให้น้ำที่ไม่เพียงพอ และอากาศแห้งแล้งจะทำให้ดอกอ่อน ดอกบาน และผลอ่อนที่เพิ่งติดร่วงได้ ในสภาพที่อากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 10-15 องศาเซลเซียส จะทำให้พริกเจริญเติบโตไม่ค่อยดี มีการติดดอกต่ำ และดอกร่วงในที่สุด การให้น้ำควรจะลดลง หรือในช่วงที่เริ่มเก็บผลพริก ทั้งนี้ เพราะถ้าให้น้ำพริกมากไป จะทำให้ผลมีสีไม่สวย

หลังจากปลูกสร้าง ควรให้น้ำดังนี้ ช่วง 3 วันแรก ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น, ช่วง 4 วันต่อมา ให้น้ำวันละครั้ง, ช่วงสัปดาห์ที่ 2 ถึงสัปดาห์ที่ 4 ให้น้ำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง, ช่วงสัปดาห์ที่ 5 ถึงสัปดาห์ที่ 7 ให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง, ช่วงสัปดาห์ที่ 7 ไปแล้วให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ การให้น้ำแก่พริกควรให้ตามสภาพต้นและสภาพแวดล้อมของแต่ละพื้นที่ ไม่มีอะไรที่เป็นสูตรตายตัว ที่กล่าวไปแค่เป็นแนวทางที่นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

โรคและแมลงศัตรูพริก มีความสำคัญมากในการปลูกพริก คุณพิสุทธิ์ เล่าว่า เกษตรกรต้องมีความเข้าใจเรื่องโรคและแมลงศัตรูพริกเบื้องต้น เพราะพริกจัดได้ว่าเป็นพืชที่มีโรคและแมลงศัตรูมาก อย่างเรื่องของแมลงศัตรูที่สำคัญที่สุดของพริกคือ “เพลี้ยไฟ” ที่ระบาดได้ทุกฤดูกาล แต่จะระบาดมากและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในช่วงอากาศแห้งแล้ง ในช่วงการปรับเปลี่ยนจากฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว อากาศร้อน ลมกระโชกแรง หรือเมื่อฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน จึงต้องหมั่นสังเกตและตรวจแปลงพริกทุกวันอย่างสม่ำเสมอ

เพลี้ยไฟพริก เป็นแมลงปากเขี่ยแล้วดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณส่วนยอด ใบอ่อน ตาดอกอ่อน สังเกตบริเวณยอดอ่อนจะหงิก ขอบใบหงิก และม้วนขึ้นด้านบนทั้ง 2 ข้าง ใบที่ถูกทำลายมากจะเป็นรอยด้านสีน้ำตาล ถ้าระบาดมากช่วงที่ติดดอกจะทำให้ดอกร่วง ถ้าระบาดช่วงติดผลอ่อนก็จะทำให้ผลบิดงอ ถ้าระบาดรุนแรงต้นพริกก็จะไม่โตและต้นแห้งตาย การป้องกัน โดยการเลือกใช้สารเคมีป้องกันกำจัด มีให้เลือกใช้อย่างหลากหลายมากปัจจุบัน ถ้าช่วงต้นพริกเล็กยังไม่ออกดอกติดผลก็ฉีดพ่นสารเคมีได้ทุกตัวไม่มีปัญหา แต่ระยะที่ต้นพริกโตให้ผลผลิตแล้ว ควรเลือกสารเคมีที่ฉีดระยะดอกพริกได้ ไม่สร้างความเสียหายแก่ดอกพริก

ต้องเข้าใจว่า บนต้นพริกที่ให้ผลผลิตแล้วจะมีพริกอยู่หลายรุ่นหลายระยะมากบนต้น โดยเฉพาะระยะดอกกับผลอ่อนจะมีตลอดบนต้น สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก็ต้องไม่เป็นสารที่มีส่วนผสมของน้ำมัน หรือข้างขวดหลัง ชื่อสามัญลงท้ายด้วย EC (สารละลายน้ำมันเข้มข้น) เช่น สารคลอร์ไพรีฟอส, อะบาเม็กติน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ดอกพริกไหม้ หรือดอกร่วงได้ เป็นต้น

ส่วนสารเคมีที่เลือกใช้ ยกตัวอย่างเช่น อิมิดาคลอพริด, ฟิโปรนิล, สไปนีโทแรม เป็นต้น เลือกใช้ฉีดสลับกันไปเรื่อยๆ หลายๆ ตัว ไม่ให้แมลงศัตรูดื้อยา การป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ จึงควรเป็นลักษณะการฉีดป้องกันมากกว่าจะดีที่สุด

ส่วนโรค “แอนแทรกโนส” หรือโรคกุ้งแห้ง โดยโรคแอนแทรกโนส เป็นโรคที่สำคัญมากในการปลูกพริก ระบาดมากช่วงฤดูฝน สร้างความเสียหายเป็นอย่างมากถ้าเกิดการระบาด มักพบอาการบนผลพริกที่เริ่มสุก หรือผลพริกก่อนจะเปลี่ยนสี เริ่มแรกมีแผลจุดช้ำสีน้ำตาล บุ๋มยุบตัวลึกลงเล็กน้อยในผิวผลพริก ต่อมาแผลขยายออกเป็นวงรี หรือวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าอากาศชื้นบริเวณแผลจะมีเมือกเยิ้มสีส้มอ่อนๆ แต่หากแสดงอาการที่ผลอ่อนจะทำให้ผลพริกโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้ง

เชื้อราก่อโรคกุ้งแห้งสามารถติดไปกับเมล็ดได้ การปลูกไม่ควรปลูกต้นพริกให้ชิดกันเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท ที่สำคัญยังทำให้เชื้อราแพร่กระจาย เกิดการระบาดได้อย่างรวดเร็ว หากสำรวจพบพริกแสดงอาการโรค ควรเก็บผลพริกเป็นโรคออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที

หากเริ่มพบการระบาดให้ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดเชื้อรา อะซอกซีสโตรบิน 25% เอสซี อัตรา 5-10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 75% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ สารโพรคลอราซ 45% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร และพ่นทุก 7-10 วัน ก็เลือกใช้สลับไปเรื่อยๆ เน้นการใช้สลับกันไปเรื่อยๆ

ถ้าเป็นหนัก หรือเกิดการระบาดรุนแรงก็ต้องใช้ยาเกรดสูงๆ อย่าง “อะซอกซีสโตรบิน” เพื่อหยุดยั้งการระบาดให้ได้ โดยเราจะเน้นการฉีดป้องกัน ไม่เน้นการแก้ไขเมื่อเกิดการระบาดมากกว่า โดยรอบการฉีดพ่นพริกก็จะประมาณ 7 วัน ต่อครั้ง ซึ่งจะพอดีรอบทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยวพริกออกจากต้นก็จะฉีดพ่น

ตลาดพริกก็ยังดีตลอด เกษตรผู้ปลูกยังอยู่ได้

คุณพิสุทธิ์ เล่าว่า ทุกวันนี้ก็มีตลาดเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ราคาก็ยังอยู่ในระดับที่ดี ราคาก็อาจจะมีขึ้นลงบ้าง ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิตในท้องตลาด โดยที่ผ่านมาอย่างตัวเองที่เคยลองปลูกมาก่อนหน้านี้และเพื่อนเกษตรกรด้วยกัน เฉลี่ยแล้วรายได้จากการปลูกพริกซุปเปอร์ฮอท 1 ไร่ ก็จะประมาณ 80,000-100,000 บาท

ซึ่งนั่นก็เท่ากับการดูแลรักษาของเกษตรกรด้วยว่า จะดูแลต้นพริกให้สมบูรณ์ออกดอกติดผลได้ยาวนานแค่ไหน โดยรวมยังมองว่าการปลูกพริกก็ถือว่ายังดีกว่าพืชหลายๆ ชนิด หรือแม้จะมีพริกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาจำหน่ายในราคาที่ถูกกว่าก็ตาม แต่ก็ยังสู้เรื่องของความสดใหม่ไม่ได้

เช่น พริกจากประเทศพม่าส่งเข้ามาขายในไทย แม้จะมีราคาที่ถูกกว่าครึ่งหนึ่งของราคาซื้อขายพริกในประเทศ แต่ก็จะมีเฉพาะกลุ่มที่เลือกใช้พริกนำเข้าเหล่านี้ ซึ่งพริกจากประเทศเพื่อนบ้านยังมีจุดอ่อนในเรื่องของความสดใหม่ เนื่องจากระยะเวลาในการขนส่งเข้ามาขายในบ้านเรา ยังคงใช้ระยะเวลาหลายวันนั่นเอง ทำให้พริกมีคุณภาพที่ลดลง แต่ถ้ากลุ่มตลาดรับซื้อที่ต้องการพริกที่มีคุณภาพสูง มีความสดใหม่ พ่อค้าในประเทศ หรือผู้ส่งออกก็ยังเลือกซื้อพริกที่ปลูกในไทยมากกว่า

อย่างที่สวนผมเองตอนนี้ก็ส่งออกไปมาเลเซียโดยผ่านผู้ส่งออก ซึ่งอนาคตผู้ส่งออกก็จะขึ้นมาทำจุดรับซื้อ นำห้องเย็นมารับซื้อในพื้นที่เลย เนื่องจากพื้นที่ปลูกพริกมีมากขึ้นสามารถรวบรวมสินค้าได้แล้ว แล้วส่วนหนึ่งผมก็ส่งขายในประเทศ หลักๆ ก็ตลาดไท, ตลาดผักที่ราชบุรี ที่จะส่งขายประจำ

การปลูกพริก “ซุปเปอร์ฮอท” ไม่ยากและไม่ง่าย ถ้ามีความเข้าใจ

อย่างที่กล่าวไปแล้วว่า หลังจากที่เตรียมแปลงปลูกดีแล้ว ก็จะต้องวางระบบน้ำ ซึ่งพื้นที่ปลูกพริก 40 ไร่ ใช้ระบบน้ำหยดทั้งหมด จากนั้นก็ต้องปูพลาสติกคลุมแปลงให้เรียบร้อย จึงจะย้ายกล้าพริกปลูกได้ ซึ่งช่วงเวลาที่รอกล้าพริกพร้อม เกษตรกรก็ต้องวางแผนการเตรียมแปลงปลูกให้พร้อม

ตอนนี้แปลงปลูกพริกนี้ ก็เป็นแหล่งศึกษาดูงาน

คุณพิสุทธิ์ เล่าว่า แม้เกษตรกรบางคนปลูกพริกมานาน SBOBET แต่ก็ยังขาดความเข้าใจรูปแบบขั้นตอน หรือแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องในการปลูกพริกเชิงการค้า เมื่อเขามาดูงาน หรือเราทำให้เขาเห็นว่าทำแบบนี้แล้ว ผลที่ได้มันเป็นอย่างไง ซึ่งเป็นเรื่องดีมากๆ ที่หลายคนก็กลับไปใช้กับสวนพริกตัวเอง เช่น การเตรียมแปลง ระบบน้ำ การปักไม้ การใช้เชือกประคองต้น

ตอนนี้การใช้ปุ๋ยจะเป็นปุ๋ยทางใบเป็นหลัก ไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินเลย คุณพิสุทธิ์ อธิบายว่า เนื่องจากตนเองปลูกพริกในพื้นที่ค่อนข้างมาก จึงใช้วิธีการให้ปุ๋ยโดยการฉีดพ่นทางใบทั้งหมดไม่ได้ใส่ปุ๋ยเคมีทางดินเลย ซึ่งพบว่าพริกซุปเปอร์ฮอทนั้นก็มีการเจริญเติบโตได้ดี ทำให้ไม่มีต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีทางดิน รวมถึงค่าแรงงานที่จะต้องใส่ปุ๋ยทางดินเลย

ปุ๋ยทางใบก็จะเป็นปุ๋ยเกล็ด หรือปุ๋ยน้ำ ที่จะเน้นสัดส่วนเรโชปุ๋ย อัตราส่วนปุ๋ย 2 : 1 : 3 หรือ N P K โดยอาจจะหาซื้อปุ๋ยทางใบที่มีสูตรใกล้เคียงได้ในท้องตลาด แล้วที่ขาดไม่ได้ก็พวกฮอร์โมนอาหารเสริมต่างๆ เช่น แคลเซียมโบรอน (ขาดไม่ได้) สาหร่าย ธาตุอาหารรอง

ซึ่งหลายๆ คนสนใจสูตรปุ๋ยที่ตนเองผสมใช้เอง ก็มาขอแบ่งซื้อไปใช้ก็มี หรือบางท่านที่ไม่สะดวก หรืออยากจะใช้ปุ๋ยทางดิน ก็จะแนะนำให้ใช้ปุ๋ยทางดินสูตรเสมอ เช่น สูตร 15-15-15, 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-0-0 (แคลเซียมไนเตรต) ซึ่งดีกว่าการใช้ยูเรีย (46-0-0) เพราะปุ๋ยยูเรียนั้นแม้จะเร่งการเจริญเติบโตได้ดี แต่หากใช้อย่างต่อเนื่องก็จะทำให้ต้นพริก ใบพริก ผลพริก อ่อนแอต่อโรค

นอกจากการให้ธาตุอาหารหลักแล้ว การปลูกพริกในพื้นที่เดิมติดต่อกันหลายปี อาจทำให้ขาดธาตุอาหารรอง ที่สำคัญได้ส่งผลให้การเจริญเติบโตผิดปกติ หรือออกดอกและติดผลต่ำ เช่น การขาดธาตุแคลเซียมในช่วงติดผล จะทำให้ผลมีอาการเหมือนถูกน้ำร้อนลวก หรือผลไหม้ ที่เรียกว่าโรคกุ้งแห้งเทียม ธาตุอาหารรองที่สำคัญสำหรับพริก ได้แก่ แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) แมงกานีส (Mn) ทองแดง (Cu) และสังกะสี(Zn)