แต่ถ้าจะหยอดเมล็ดก็ให้คัดข้าวพันธุ์เบา เช่น สันป่าตอง 1 ปทุม

สุพรรณ 1 จะปลูกข้าวเหนียวก็ได้ ข้าวเจ้าก็ได้ โดยแต่ละถังซีเมนต์จะได้ข้าวประมาณ 1.3 กิโลกรัม จาก 10 กว่าต้น หลังจากปลูกแล้วก็โรยปุ๋ยหมักลงไป พอข้าวเริ่มออกดอกก็ฉีดด้วยสมุนไพรไล่แมลงที่ทำเอง เช่น ขิง ข่า และตะไคร้ เมื่อข้าวเติบโตใกล้จะตั้งท้อง ก็ใช้น้ำหมักหอยเชอรี่หรือน้ำหมักผลไม้ฉีดพ่นกระตุ้นให้ข้าวออกรวงสมบูรณ์ ครูอินสอนยืนยันว่าไม่ต้องใช้เคมีใดๆ ทั้งสิ้นแล้วเราก็จะได้ข้าวอินทรีย์ ร้อยเปอร์เซ็นต์และเมื่อข้าวออกรวงก็หยุดการให้ปุ๋ย

ถ้าเกี่ยวข้าวแล้ว ต้องการจะปลูกผัก ก็เอาผักไปปลูกต่อไปได้เลยจะได้เป็นการผสมผสานต่อเนื่อง

“ที่นี่ปลูกประมาณ 4 รอบ ต่อปี วันเกี่ยวคือ วันปลูก เกี่ยวเสร็จก็ปลูกซ้ำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเปลี่ยนดิน ไม่เสียค่าไถหรือค่าน้ำมัน ไม่เสียค่าแรง ประหยัดน้ำ”

“ภูมิปัญญาเดิมบอกว่าข้าวมันไม่ต้องการน้ำมากถ้าใส่น้ำน้อยข้าวแตกกอมาก ถ้าน้ำมากข้าวแตกกอน้อยเพราะถ้าน้ำมากข้าวกลัวจะตาย ก็แทงตัวสูงขึ้นไป ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะแตกกอ เพื่อไม่ให้แย่งอาหารกันเราจะใส่ราว 13-14 กอ”

ปลูกไม้สัก เป็นหลักประกันชีวิต

หลายพื้นที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง น้ำไม่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม ครูอินสอนแนะนำให้ปลูกไม้สักไว้เป็นมรดกยามแก่เพราะเกษตรกรไม่มีหลักประกันในชีวิตเหมือนข้าราชการ โดยไม้สักเมื่อปลูกได้ราว 20 ปี ราคาต้นละประมาณ 5,000-10,000 บาท พื้นที่เพียง 1 ไร่ ก็สามารถปลูกได้หลายพันต้น ในศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์แม่ออนปัจจุบันก็มีไม้สักเกือบหนึ่งหมื่นต้น ครูปลูกเสริมทุกปี หลังจากไม้สักโตประมาณ 2-3 ปี ก็ไม่ต้องรดน้ำอีกแล้วเพียงแค่ตัดแต่งกิ่ง อีก 5 ปีก็ตัดไปใช้สอยหรือขายได้

เชื่อครูอินสอน ก็บ้าแล้ว

ครูอินสอนย้อนอดีตเมื่อราวปี 2530 ว่า หลายคนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ

บางรายถึงกับบอกว่า

“เชื่อครูอินสอนประเทศไทยไม่เจริญ อะไรเอาหญ้าเป็นปุ๋ยได้อย่างไร” ซึ่งคนที่พูดส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจ เช่น พ่อค้าปุ๋ย บางคนท้าแข่ง อย่างสมุนไพรกับยาฆ่าแมลง

อย่างไรก็ตาม ครูอินสอน บอกว่า เป็นเรื่องธรรมดาของคนที่ทำเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องถูกต่อต้าน ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของครูที่ต้องสาธิตเพื่อสัมผัสได้จริงจนนำไปสู่ความเชื่อมั่นในที่สุด

“สมัยก่อนบรรพบุรุษเราก็ไม่มีปุ๋ย หรือต้นไม้ในป่าต่างๆ เราก็ไม่เห็นมีปุ๋ยทำไมมันออกลูกได้”

“พืชโดยชีวิตของมันเป็นระบบพึ่งตนเอง ภายในดินมีจุลินทรีย์แม้เราไม่ไปทำลาย ใบร่วงจุลินทรีย์ย่อยสลายก็กลายเป็นปุ๋ย”

ความสำเร็จในชีวิตเกษตรกรที่เลือกวิถีเศรษฐกิจพอเพียงของครูอินสอน เริ่มต้นจากความล้มเหลวในการปลูกพืชเชิงเดี่ยวและไม้ผลเมื่อหลายสิบปีที่ผ่านมา เมื่อครู ปกศ. เงินเดือน 720 บาท รายนี้ ต้องไปกู้เงินซื้อที่ทำไร่ ซื้อปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงสุด แต่สุดท้ายก็ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จนนำไปสู่การขายที่ดินเพื่อใช้หนี้ในที่สุด ความผิดหวังจากสารเคมีทำให้ครูหันหน้ามาเพิ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน

“จะเลิกใช้เคมี ญาติยังหัวเราะไม่ใช้เคมีจะอยู่ได้ไง เราก็พยายามศึกษาค้นคว้า ภูมิปัญญาเกษตรคือครูคนแรกจริงๆ”

ครูอินสอนทุ่มเทให้กับการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์อย่างเต็มที่และที่สำคัญคือจะลงมือปฏิบัติทันทีเพื่อพิสูจน์ทฤษฏีต่างๆ ด้วยตัวเอง

“หลักของผมคือ ททท. (ทำทันที) ได้ผลอย่างไรก็จดบันทึกและเพิ่มเติมความคิดของผมเข้าไปด้วย เช่น การเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เราได้แนวคิดมาบ้าง ก็เอามาปรับใช้ให้ดีขึ้นมา ประยุกต์ใช้ รู้แล้วฝึกปฏิบัติทันที ใช้หลัก 3 ท. คือทำทันที พอได้ผลเราก็เอาข้อมูลต่างๆ ไปเผยแพร่”

พึ่งตนเอง และเป็นที่พึ่งของคนอื่น

นอกเหนือจากการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ ผลิตอาหารปลอดภัยจากสารพิษเพื่อใช้บริโภคเองในชีวิตแล้ว ครูอินสอนและสมาชิกยังผลิตเพื่อขายสู่ท้องตลอดอีกด้วย และมักจะได้ราคาดีกว่าเพราะนอกจากจะเป็นสินค้าที่ปลอดภัยแล้ว ยังมีคุณภาพดและประมาณมากพอต่อความต้องการของตลาดอีกด้วย

“ถ้าซื้อเช่นหมูที่อื่น คนขายจะได้กิโลกรัมละ 60 บาท แต่ที่นี่เราได้กิโลกรัมละ 65 เพราะเราให้ส่งประจำ”

ครูอินสอนยืนยันว่า ทุกวันนี้เขาใช้เงินซื้อของไม่กี่อย่างเท่าที่นับได้ก็มีเพียงแค่เกลือ กะปิ น้ำปลาและเสื้อผ้า เพราะอย่างอื่นมีพร้อมในบ้านหมดแล้ว

“เราทำทฤษฎีพอเพียงขั้นแรกเอาไว้บริโภคก่อนจากนั้นเราก็แบ่งปันให้คนอื่นๆ หรือถ้ามีมากเราก็ขาย”

นั่นคือ คำตอบของปราชญ์ชาวบ้านแห่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่เมื่ออดีตที่ผ่านมา พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่เคยได้รับผลกระทบทางสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาน้ำจืดขาดแคลน น้ำเค็ม น้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออาชีพเกษตรกรรม ในหลายพื้นที่ไม่สามารถปลูกพืชได้ ถึงปลูกได้ก็ให้ผลผลิตน้อยกว่าพื้นที่อื่นๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนของพระองค์ จึงมีพระราชดำริจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ โดยเน้นแก้ปัญหาน้ำ พื้นที่ทำการเกษตร พัฒนาสิ่งแวดล้อม คมนาคม การสื่อสาร สวัสดิการ และส่งเสริมอาชีพให้กับคนในชุมชน

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถช่วยแก้ไขปัญหาพื้นที่ทำกินให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์สร้างอาชีพใหม่ที่ก่อให้เกิดเป็นรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นมากมาย และหนึ่งในอาชีพที่เกิดขึ้นในชุมชน คือ การต่อยอดน้ำวัตถุดิบที่ในชุมชนมาแปรรูปเป็นสินค้าจำหน่ายสร้างรายได้เสริม

ในพื้นที่บ้านท่าเตียน ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร มีหลากหลายอาชีพที่เกิดขึ้นมาหลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริเกิดขึ้น ซึ่งรวมถึงอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาดุก

นอกจากอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ที่เป็นอาชีพหลักแล้ว อาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมที่คนในชุมชนหันมาให้ความสนใจเพาะเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ตกต่ำในช่วงปี 45 ส่งผลทำให้ราคาปลาเริ่มตกลงตามไปด้วย อีกทั้งยังถูกผูกมัดเรื่องราคารับชื้อจากพ่อค้าแม่ค้า ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงต้องเผชิญกับปัญหาขาดทุนกันทั่วหน้า

จากปัญหาดังกล่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาดุกในหมู่บ้านจึงได้รวมกลุ่มระดมความคิดเห็น หาทางแก้ไปปัญหา โดยการนำมาแปรรูปทำเป็นปลาดุกร้าส่งจำหน่ายภายในชุมชนและต่างจังหวัด ภายใต้ชื่อกลุ่ม “ปลาดุกร้า 2 รส บ้านท่าเตียน”

รวมกลุ่มแปรรูปเพิ่มมูลค่าติดตลาด ขยายการผลิตกลุ่มปลาดุกร้า 2 รส บ้านท่าเตียน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2547 โดยมี คุณลุงช่วง ชูเมือง เป็นประธานกลุ่มคุณลุงช่วง เล่าให้ฟังว่า กลุ่มเกิดจากความร่วมมือของคนในชุมชน ที่ประสบปัญหาราคาปลาตกต่ำ โดยเริ่มมีสามาชิกเข้าร่วมกลุ่ม 12 คน ในช่วยตลอดระยะเวลาที่กลุ่มเกิดขึ้นมา ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่ให้ความรู้ กระบวนการผลิตที่ถูกหลักอนามัยและทุนเป็นจำนวนมาก ทั้งมหาวิทยาลัยทักษิณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหลม และสำนักงานประมงจังหวัดนครศรีธรรมราชเข้ามาเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ เป็นพี่เลี้ยงค่อยดูแลเสมอมา

“การนำปลาดุกมาแปรรูปเป็นปลาดุร้า ทำกันมานานกว่า 20 ปี โดยแต่ละบ้านที่เลี้ยงปลาดุกจะนิยมนำมาแปรรูปเก็บไว้บริโภคภายในครอบครัว จนทำให้มีความรู้ความชำนาญในการแปรรูปปลาดุกพอสมควร

ในช่วงแรกที่เริ่มทำการแปรรูปทำเป็นปลาดุกร้าจะมีสูตรดั้งเดิมที่ทำกันมาโดยผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาจะว่างขายภายในชุมชนและส่งเข้าไปจำหน่ายในจังหวัดก่อนในช่วงแรกๆ ซึ่งในระยะแรกยังไม่ค่อยได้รับการตอบรับมากเท่าที่ควร เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จัก อีกทั้งรสชาติยังไม่ลงตัว หวานบ่าง เค็มบ้าง ซึ่งจากคำติชมเหล่านี้ทางกลุ่มจึงได้เก็บมาพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจนได้สูตรที่ลงตัวมีรสชาติที่อร่อยเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มมากขึ้น”

สำหรับปลาดุกที่นำมาแปรรูปคุณลุงช่วงบอกว่า จะมีทั้งปลาดุกพื้นบ้านที่เลี้ยงเองและปลาดุกบิ๊กอุ้ย โดยบางส่วนจะสั่งชื้อจากตำบลข้างเคียง เนื่องจากปริมาณความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นทุกเดือน อีกทั้งเกษตรกรเลิกเลี้ยงและหันมาแปรรูปกันหมดส่งผลทำให้ปลาในพื้นที่มีไม่เพียงพอต่อการนำมาแปรรูป

ขั้นตอนและวิธีทำ คุณลุงช่วงเล่าให้ฟังว่า ก่อนอื่นต้องนำปลาดุกที่คัดเลือกน้ำหนักต่อตัวเฉลี่ยประมาณ 3-4 ขีด มาตัดหัวและน้ำไปล้างน้ำ 4 น้ำ จากนั้นเกลือและน้ำตาลทรายแดงที่ผสมกันไว้ทาลงไปที่ตัวปลาให้ทั่วก่อนนำลงไปว่างเรียงไว้ในภาชนะหมัก ปิดฝาทิ้งไว้ 3 คืน(ช่วง 3 คืน ต้องมาพลิกกลับปลาทุกวัน) หลังจากที่ทิ้งไว้จนครบก็จะนำขึ้นมาตากในโรงเรือนเพื่อป้องกันแมลงวันและนกประมาณ 3-4 แดด และก่อนนำบรรจุจำหน่าย ในราคากิโลกรัมละ 240 บาท (7-8 ตัว) 100 บาท (2-3 ตัว)

แต่ละอาทิตย์ กลุ่มจะแปรรูปปลาดุกร้าเพิ่มขึ้นทุกๆวัน ถึง ณ วัน นี้ ตกอยู่ที่อาทิตย์ละประมาณ 1 ตัน โดยกระบวนการทำงานของกลุ่มจะมีสมาชิกเข้ามาหมุนเวียนกันทำงานทุกวัน เนื่องจากการแปรรูปและกระบวนการทำปลาดุกร้าค่อนข้างจะต้องใช้แรงงานคนและเวลาเนื่องจากมีหลากหลายขั้นตอน อีกทั้งต้องยึดหลักความสะอาด เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภคเป็นสำคัญ

ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าของกลุ่มทุกๆ เดือนจะได้รับเชิญไปออกร้านจำหน่ายในงาน โอท๊อปทั้งในจังหวัดและกรุงเทพมหานคร งานประจำปี ซึ่งมียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในช่วงของเทศกาลทำบุญเดือนสิบ เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลปีใหม่

ส่วนการนำมาประกอบอาหาร คุณลุงช่วง แนะนำมาว่า ปลาดุกร้าจะรับประทานให้อร่อยต้องนำไปทอดและหั่นซอยหอม มะนาว พริกใส่ บีบมะนาวใส่เล็กน้อย ซึ่งเมื่อทานกับข้าวเหนี่ยวร้อนๆ รสชาติไม่ต้องพูดถึง “แซ่บเว่อร์”

ด้วยปลาดุกร้าจะมีรสชาติหวานและเค็มผสมกันอยู่ หากจะนำมาทอด คุณลุงช่วงบอกว่าต้องใช้ไฟอ่อนๆ เนื่องจากมีน้ำตาลหากใช้ไฟแรงทอดอาจจะทำให้เนื้อปลาไหมก่อนที่ข้างในจะสุก แต่หากใครที่ชอบแบบปิ้งย่างก็สามารถทำได้ แต่ต้องใช้ไฟอ่อนๆเช่นกัน

วันนี้ ปลาดุกร้า 2 รส บ้านท่าเตียน มีว่างจำหน่ายในหลายจังหวัด ทั้งสุราษฎ์ธานี ภูเก็ต นครศรีธรรมราช แต่ยังอยู่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยความสะอาดและดีกรี สินค้าโอท๊อประดับ 5 ดาว จะใช้เวลาไม่นานตลาดอื่นๆ ก็จะรู้จักกันเป็นอย่างดี

ท้ายที่สุด ลุงช่วง ยังบอกอีกว่า ถึงแม้ผลิตภัณฑ์ปลาดุกร้าจะยังไม่เป็นที่ยอมรับมากเท่าที่ควร แต่มีสิ่งหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับและสะท้อนให้เห็นได้จากผลิตภัณฑ์ชิ้นนี้ คือ การหวงแหนและการอนุรักษ์ภูมิปัญญาเก่าของชาวบ้านที่พยายามรักษาสิ่งดีงามเหล่านี้ให้ยังอยู่ไปถึงชั่วลูกชั่วหลานสืบไป

สนใจติดต่อ กลุ่มปลาดุกร้า 2 รส บ้านท่าเตียน 86/2 หมู่ 10 ตำบลแหลม อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ (086) 942-9905, (085) 672-8313 บริการส่งจำหน่ายทั่วประเทศ (ค่าจัดส่งขึ้นอยู่กับน้ำหนัก)

อาหารเช้าในภาวะเร่งด่วนของหลายๆ คนอาจแค่กาแฟสักถ้วย ขนมปังสักชิ้น หรือไม่อย่างนั้นก็ปาท่องโก๋กับน้ำเต้าหู้สักแก้ว ซึ่งสำหรับปาท่องโก๋นั้นเป็นอาหารที่คนไทยรู้จักและนิยมรับประทานเป็นอาหารว่างตอนเช้ามาช้านาน แทบจะเรียกว่าอยู่คู่กับวิถีของว่างยามเช้าที่ทั้งสะดวก อร่อยและหาซื้อได้ง่ายของคนไทยเลยทีเดียว

และเพราะความนิยมปาท่องโก๋ที่ไม่เคยลดลง และได้กลายเป็นอีกหนึ่งวิถีการกินไปแล้ว ทำให้ในบางร้านที่มีลูกค้ามากๆ ก็ไม่สามารถผลิตปาท่องโก๋ได้ทันกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากช่วงเวลาการขายปาท่องโก๋โดยปกติจะทำกันสดๆ ในช่วงเช้า และช่วงเย็น ซึ่งขั้นตอนที่อาจทำให้เสียเวลาก็คือ ขั้นตอนกันปั้นแป้งปาท่องโก๋เป็นชิ้นก่อนนำไปทอดในน้ำมันร้อน

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักศึกษากลุ่มหนึ่ง เกิดแนวความคิด ประดิษฐ์เครื่องขึ้นรูปปาท่องโก๋ขึ้น โดยอาศัยความรู้ทางด้านวิศวกรรม ที่ได้เรียนมา โดย นักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เจ้าของผลงานเปิดเผยว่า ในการสร้างเครื่องขึ้นรูปปาท่องโก๋แบบกึ่งอัตโนมัติขึ้นนั้นพวกตน มุ่งเน้นเพื่อหาวิธีการขึ้นรูปปาท่องโก๋ เพื่อเป็นต้นแบบในการนำไปประยุกต์ใช้และพัฒนาการผลิตในเชิงอุตสาหกรรม

เครื่องที่สร้างขึ้น มีส่วนประกอบ 2 ส่วน ที่สำคัญคือ ชุดอัดขึ้นรูปโด และชุดตัวตัด โดยอาศัยหลักการทำงานของกระบอกสูบ การขึ้นลงของเพลาสกรู โดยเริ่มจากลูกสูบจะกดตัววัตถุดิบ (แป้งปาท่องโก๋) ผ่านรูของหน้าแปลน เพื่อตัดในขั้นตอนนี้ใช้หลักการของลูกกลิ้ง 2 ตัว ซึ่งลูกกลิ้งใบหนึ่งติดตั้งใบมีดไว้ วางขนานกันและหมุนเข้าหากันเพื่อทำการตัดแป้ง ออกเป็นชิ้นแป้งปาท่องโก๋สำหรับนำไปทอดในน้ำมันเป็นขั้นตอนต่อไป

ส่วนประสิทธิภาพ เมื่อทดสอบแล้วพบว่าเครื่องขึ้นรูปปาท่องก็กึ่งอัตโนมัติเครื่องนี้ สามารถขึ้นรูปปาท่องโก๋ได้ครั้งละ 1,700 กรัม ผลิตปาท่องโก๋ได้ 35 ตัว ในเวลา 1 นาที ซึ่งเมื่อเทียบกับการทำชิ้นแป้งปาท่องโก๋ด้วยแรงงานคนแล้ว เครื่องขึ้นรูปฯ สามารถทำงานได้มากกว่า ถึง 3 เท่า

คำขวัญประจำหมู่บ้านป่าก่อพัฒนา ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย คือ “ปลาเผาลือชื่อ ยึดถือคุณธรรม นำประชาธิปไตย งามวิไลสิ่งแวดล้อม” คำขวัญประโยคแรกที่ว่า ปลาเผาลือชื่อนั้น มาจากในอำเภอพาน มีการเลี้ยงปลากันมาก โดยเฉพาะ ปลานิล ส่วนใหญ่ปลาที่เลี้ยงจะจับและส่งขายทั่วภาคเหนือ

คุณหวัด ติวรรณะ จึงรวบรวมกลุ่มขึ้น จัดตั้งเป็นกลุ่มเสริมสร้างธุรกิจประชาคมบ้านป่าก่อพัฒนา เพื่อแปรรูปปลาสดเป็นอาหาร เพิ่มมูลค่า โดยตั้งเป็นร้านอาหารอยู่ เลขที่ 217 หมู่ที่ 22 ตำบลเจริญเมือง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังเกตรูปปลานิลตัวโตอยู่หน้าร้าน นอกจากนี้ ยังรวมกลุ่มเป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล แปรรูปสัตว์น้ำ (OTOP) อีกด้วย คุณหวัด รับหน้าที่เป็นประธานกลุ่มซึ่งมีคณะกรรมการ 15 คน ร้านอยู่ตรงข้ามวัดศรีทรายมูล หรือหากเดินทางขึ้นไปจังหวัดเชียงรายตามถนนสายพหลโยธิน จะอยู่ทางขวามือ เนื่องจากเป็นถนน 4 เลน หากท่านขับรถยนต์ไปจะต้องกลับรถล่องมาทางจังหวัดพะเยา หรือตัวอำเภอพานอีกครั้ง

เมนูอาหารที่ขึ้นชื่อ หนีไม่พ้นปลานิลเผา ซึ่งจะพอกตัวปลาด้วยเกลือป่นแล้วนำไปเผา หลายคนจะสงสัยว่า ทำอย่างนั้นปลาจะไม่เค็มหรือ ขอรับรองแทนกลุ่มฯ ว่า ไม่เค็ม พิสูจน์แล้ว เมนูอื่นๆ เช่น ปลาแนบหรือแอบปลา ปลาลวก ปลาเส้นผัดคะน้า

วันที่ผู้เขียนไปหาข้อมูลที่ร้าน ได้นำมะเขือกินใบไปด้วย จึงให้แม่ครัวทำเป็นสูตรปลาเส้นผัดมะเขือกินใบ อร่อยสุดยอดเลยครับ อีกเมนูหนึ่ง คือ ไส้อั่วปลา ปกติไส้อั่วเป็นอาหารทางเหนือที่ขึ้นชื่อ แต่เขาใช้หมูบดหรือสับผสมกับเครื่องปรุงสมุนไพร แต่ที่ร้านเปลี่ยนเป็นเนื้อปลาสับแทน ถือเป็นอาหารสุขภาพได้เลย แม่ครัวที่ร้านบอกว่า สังเกตไส้อั่วหมูจะมีสีแดงเพราะใส่สี แต่ไส้อั่วปลาจะออกสีขาวเพราะไม่ได้ใส่สีสูตรไส้อั่ว

ส่วนผสม ไส้หมูขูด 1 ขีด หมูบด 1.5 กิโลกรัม มันหมูแข็งบด 250 กรัม
ใบมะกรูดหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ ขมิ้นผง 1 ช้อนชา ไข่ไก่ 1 ฟอง ต้นหอม ผักชีหั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
พริกแกง 3 ช้อนโต๊ะ น้ำปลาดี 1 ช้อนชา ผงชูรส 1/2 ช้อนชา เจียด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า น. ภาชนะชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องขุนนางโบราณ สำหรับใส่ของ เช่น ผ้า มักทำด้วยเงิน

เครื่องขุนนางมี เจียด ประกอบยศตั้งแต่เมื่อใด เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่ในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงศรีอยุธยา ปรากฏเกิดแล้วแน่นอน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุวรรณภูมิ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1991 – 2031 ในรัชกาลของพระองค์ เต็มไปด้วยความเจริญรุ่งเรืองด้านการเมือง การปกครอง บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

หลักฐานว่ามีเจียดใช้ อยู่ในทำเนียบศักดินาของขุนนาง

บรรดาศักดิ์ข้าราชการสมัยพระบรมไตรโลกนาถมี เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน และทนาย คำว่าเจียดปรากฏอยู่ชัดเจนว่า “ขุนนางศักดินาหมื่น กินเมืองกินเจียดเงินถมยาดำรองตะลุ่ม” หน้าตาของเจียดมองไปก็คล้ายๆ พานแต่มีฝาปิด

ขนาดของเจียดใหญ่กว่าพาน เนื่องจากเจียดผลิตขึ้นมาเพื่อใส่ข้าวของจำพวกผ้า ผ้าใส่เจียดนั้นไม่ใช่ผ้าธรรมดา แต่เป็นผ้าพระราชทาน หรือไม่ก็ผ้าชั้นดี เพื่อแสดงให้เห็นฐานะของผู้ครอบครอง

ขุนนางต้องศักดินาหมื่นถึงจะได้รับพระราชทานเจียด จึงกล่าวได้ว่าเจียดเป็นของขุนนางชั้นสูง ผู้ครอบครองไม่ใช่เราชาวบ้านธรรมดาๆ ทำให้โอกาสที่เจียดจะไปอยู่บนบ้านของใครไม่ใช่เรื่องง่าย

คำตอบคือ ทำมาจากเงิน ช่างทำเจียดต้องเป็นช่างฝีมือดี ขึ้นรูปร่างได้สัดส่วน สวยงามแล้ว ต้องลงลวดลาย แต่ละเส้น แต่ละลายไหวเต้นไปตามตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง สมัยเก่าก่อนย่อมเป็นช่างหลวงเท่านั้น

หลังสลักลวดลายแล้ว ต้องถมยาดำลงไปด้วย

ถมยาดำเสร็จแล้ว จักทำให้เจียดดูขรึมขลัง ขณะเดียวกันก็มีความมันวาว เกิดสง่าราศีกับผู้ครอบครองเป็นอย่างยิ่ง ความมันวาวนั้น มาจากยาดำที่แทรกตัวเข้าไป ด้วยเหตุนี้เอง จึงมีสำนวนไทยกล่าวกันว่า แทรกเป็นยาดำ หรือ แทรกเหมือนยาดำ อันหมายถึง แทรกเข้าไปในที่ต่างๆ หรือเรื่องต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเรื่องราวนั่นเอง

คำว่าแทรกเป็นยาดำ หาได้เป็นคำชมไม่ แต่เป็นคำต่อว่า ประชดประชันจากคนที่เอ่ยออกมา

เนื่องจาก เจียด เป็นของสูง สมัยเก่าก่อนไม่ต้องพูดถึงเรื่องการซื้อหา แต่สมัยนี้ตามร้านขายของเก่าๆ อาจจะพอมีเล็ดรอดขายอยู่บ้าง ราคาน่าจะแพงเอามากๆ เพราะว่าทำด้วยเงิน แถมยังทำด้วยช่างฝีมือดี

บรรพบุรุษใครที่เคยเป็นขุนน้ำขุนนางมาก่อน อาจจะมีเจียดเหลือให้โชว์อยู่ในตู้ สำหรับคนที่ต้องการหามาไว้ในสมัยนี้ น่าจะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแล้ว แต่สถานที่ซื้อหานั้นไม่แน่นักว่าแถวๆ สวนจตุจักรยังพอมีหรือไม่

คำว่า เจียด นอกจากหมายถึงเครื่องประดับยศขุนนางแล้ว ยังมีความหมายว่า ประหยัดอีกด้วย

คนเก่าๆ มักพูดว่า “รู้จักเจียดเงินเจียดทองบ้าง”

ความหมายผู้พูด มิได้ต้องการให้ลูกหลานรู้จักเจียดเงินเจียดทองที่เป็นภาชนะใส่ผ้า แต่ให้รู้จักประหยัดเงินประหยัดทอง พูดง่ายๆ ก็คือ ให้รู้จักจับจ่ายใช้สอยนั่นเอง อย่างที่บรมครูกลอนสุนทรภู่บอกว่า “มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าได้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ หากมีน้อยใช้น้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน” อะไรทำนองนั้น

คนที่อยากเห็นหน้าตาของเจียด ว่าสวยงามอย่างไร ปัจจุบันดูได้แน่นอนในวัดพระแก้ว

วัดพระแก้วคนไทยเข้าฟรี เมื่อเข้าไปแล้วตรงไปยังอาคารจัดแสดงเครื่องราชอิสริยยศ คนไทยเสียค่าเข้าชม 10 บาท ภายในนั้นมีทั้งเจียด เครื่องราชอิสริยยศต่างๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์ และขุนนางสมัยเก่าก่อน

นับเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ที่เก็บของในอดีตให้ลูกหลานไทยได้ชมเป็นอย่างดี

คนที่อยากไปดูแต่ไม่มีเงินก็ลอง “เจียด” เงินวันละเล็กละน้อย เพื่อไปดูเจียดใส่ผ้าก็ได้เหมือนกัน เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 นายพันศักดิ์ จิตรรัตน์ ประธานคณะกรรมการด้านปาล์มน้ำมันและพืชพลังงาน สภาเกษตรกรแห่งชาติ และคณะ ได้เข้าพบ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อยื่นหนังสือยืนยันร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม พ.ศ…. ฉบับของสภาเกษตรกรแห่งชาติ ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายหลังการเข้าพบนายพันศักดิ์ได้กล่าวว่า ร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม

พ.ศ…. มีขึ้นจากการเสนอของสภาเกษตรกรแห่งชาติซึ่งมีการรับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกรและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 แล้วมอบให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติมีความเห็นสอดคล้องกันว่าร่างฉบับที่ผ่านการตรวจพิจารณามีการปรับแก้ในประเด็นสำคัญหลายเรื่อง เช่น โครงสร้างอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หรือเรื่องกองทุนปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่แก้ไขให้มีแหล่งรายได้จากเงินงบประมาณอย่างเดียว

รวมทั้งองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันได้ถูกปรับลดลงมากขาดการมีส่วนร่วมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ โดยเฉพาะคณะกรรมการผู้แทนภาคเอกชน 7 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน มาจากรัฐมนตรีแต่งตั้งแทนการสรรหาจากคณะกรรมการเป็นความไม่ครบถ้วนของทุกภาคส่วน สภาเกษตรกรแห่งชาติจึงยื่นหนังสือเพื่อยืนยันในประเด็นดังกล่าวรวมถึงในหมวด 4 ประเด็นที่กำหนดให้เกษตรกรต้องปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ที่เหมาะสมตามเขตการปลูกของกระทรวงเกษตรฯ

และในหมวด 5 ผู้ประกอบการปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเป็นการทำให้ร่างเดิมกำหนดเป็นโครงสร้างของอุตสาหกรรมปาล์มทั้งระบบ มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส ช่วยให้สามารถควบคุมความสมดุลปาล์มน้ำมัน ป้องกันการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์ม ควบคุมการนำผ่านแดน และยังทำให้รัฐบาลสามารถมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีได้ทั้งระบบ แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา

“ประเทศไทยไม่เคยมีกฎหมายด้านปาล์มน้ำมัน สภาเกษตรกรแห่งชาติเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม พ.ศ….ครั้งแรก เมื่อมีการขับเคลื่อนตามกระบวนการออกกฎหมายแล้วต่างไปจากเจตนารมณ์ของภาคเกษตรกรผู้ร่างจึงต้องยืนยัน และหวังว่าทุกภาคส่วนจะรับฟัง” นายพันศักดิ์ กล่าวปิดท้าย

อาลีบาบา กรุ๊ป ส่งบริษัท Win Chain Supply Management ตัวแทนจัดซื้อสินค้าเพื่อนำเข้าจำหน่ายในตลาดประเทศจีน ลงพื้นที่ 3 จังหวัดภาคตะวันออก วางแผนสั่งซื้อทุเรียนกับผู้แทนสหกรณ์ 12 แห่งจากจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด เน้นสินค้าคุณภาพและต้องผ่านมาตรฐาน GAP ความสุกของทุเรียนต้องอยู่ระดับ 80% คาดจะเริ่มส่งทุเรียนรอบแรกได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2562

นายเชิดชัย พรหมแก้ว รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสาวอัจฉริยา จันทรวงศ์ กงสุลฝ่ายการเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ ร่วมในการประชุมหารือระหว่างบริษัท Win Chain Supply Management ซึ่งเป็นบริษัทจัดซื้อในเครืออาลีบาบา กรุ๊ป จากประเทศจีน นำโดย Mr.Ray Zhang ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อและทีมงานเดินทางมาประเทศไทยเพื่อเจรจาการค้ากับสหกรณ์ชาวสวนผลไม้ 12 แห่งจากจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ได้แก่ สหกรณ์นิคมชุมแสงจันทร์ จำกัด

สหกรณ์นิคมวังไทร จำกัด สหกรณ์การเกษตรบ้านน้ำเป็น จำกัด สหกรณ์การเกษตรทุ่งควายกิน จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.ระยอง จำกัด จังหวัดระยอง สหกรณ์การเกษตรมะขาม จำกัด สหกรณ์การเกษตรขลุง จำกัด สหกรณ์การเกษตรนายายอาม จำกัด จังหวัดจันทบุรี และสหกรณ์การเกษตรเขาสมิง จำกัด สหกรณ์การเกษตรบ่อไร่ จำกัด สหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกจังหวัดตราด จำกัด และสหกรณ์ส่งเสริมธุรกิจ ภาคเกษตรจังหวัดตราด จำกัด จังหวัดตราด เพื่อตกลงเงื่อนไขทางการค้าและวางแผนส่งทุเรียนไทยไปจำหน่ายผ่าน ตลาดออนไลน์ในประเทศจีน ภายหลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดพิธีลงนามข้อตกลงร่วมกันระหว่างตัวแทนสหกรณ์กับบริษัท Win Chain Supply Management เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา