แต่หลังจากเปิดช่องให้นำเข้าทั้งข้าวสาลี และข้าวบาร์เล่ย์

ก็อาจส่งผลกระทบต่อราคาข้าวโพดฤดูกาลใหม่ และอาจลามไปยังวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดอื่นด้วยวงการค้าข้าวระบุว่า ขณะนี้ราคารำข้าวปรับลดลง กก.ละ 1-2 บาท เพราะขายอาหารสัตว์ไม่ได้ และจากภาพรวมการส่งออกข้าวช่วงนี้ชะลอตัว และฝนตกชุกทำให้ขนส่งข้าวลงเรือไม่ได้ ขณะที่มันสำปะหลังก็เช่นเดียวกัน ยอดส่งออกลดลง 14% ในช่วง 5 เดือนแรก ทำให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวลดลงเช่นกัน

ประเด็นนี้ถือเป็นตัวอย่างหนึ่งของการแก้ปัญหาแบบไม่เบ็ดเสร็จของภาครัฐ ซึ่งท้ายที่สุดต้องย้อนกลับมาแก้ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตร ออกมาตรการเสริมให้เกษตรกรอีกรอบ

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวถึงปัญหาสับปะรดราคาตกต่ำในขณะนี้ว่า ช่วงที่ผ่านมา ได้เข้าหารือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ โดยส่งสัญญาณมาตลอดถึงภาวะการส่งออก อาจเจอปัญหาแข่งขันไม่ได้กับประเทศผู้ผลิตและส่งออกสับปะรดแปรรูปรายใหญ่ อย่างอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ในการส่งออกตลาดโลก รวมถึงไปสหภาพยุโรป(อียู) ซึ่งปีนี้อินโดนีเซีย มีผลผลิตสูงทุกปี 300% และ อียู ยังไม่ตัดการให้สิทธิทางภาษี (จีเอสพี) จึงเสียภาษีนำเข้า อียูต่ำกว่าไทย 3.5% ขณะที่ฟิลิปปินส์ ยังได้ จีเอสพีพลัส ภาษีนำเข้าถึงต่ำกว่าไทย 18.5%

ขณะที่ผู้ส่งออกไทยยังเจอปัญหาต้นทุนกระป๋องและค่าแรงงานสูง เงินบาทแข็งค่ากว่าปีก่อน 2-3 บาท ทำให้การกำหนดราคาส่งออกสูงกว่า 2 ประเทศนี้มาก และสมาคมยังไม่ได้รับการประสานให้เข้าหารือแก้ปัญหาสับปะรดกับหน่วยงานใด

สำหรับตลาดส่งออกนั้น ยังส่งออกได้ แต่ปริมาณจะไม่สูงกว่าปีก่อน ในส่วนการรับซื้่อผลสับปะรดสด นั้น ทุกโรงงานผู้ผลิตได้มีการทำสัญญารับซื้ออยู่แล้วแม้ว่ากำลังผลิตจะเต็มก็ต้องรับซื้อตามสัญญาที่ทำไว้ ส่วนสับปะรดที่ล้นเป็นปัญหาคือ เกษตรกรที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เมื่อผลผลิตดีกว่าปกติ และโรงงานไม่อาจรับซื้อรายที่ไม่ได้ทำสัญญาไว้ จึงเกิดปัญหาราคาตกต่ำ

ที่มีการร้องขอให้ผลักดันการส่งออกเพิ่มเติมนั้น จากภาวะแข่งขันด้านราคาตลาดโลกสูง คงไม่ใช่เรื่องง่าย และโดยปกติเมื่อสับปะรดเกิดปัญหาก็จะใช้เวลา 2 ปีกว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ ดังนั้น ข้อเสนอในการแก้ปัญหาและรองรับฤดูกาลใหม่ต่อรัฐบาล คือ ให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนทั้งหมด เพื่อให้รับรู้ผลผลิตที่แท้จริง 100% เพื่อนำมาวางแผนขายและส่งออกให้ได้พอดี

เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัญหาประชากรลิงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาของ จ.สตูล ยังคงสร้างความรำคาญและความเสียหายให้กับเกษตรกรชาวสวน โดยเฉพาะสวนทุเรียนอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงนี้ผลไม้จำพวกทุเรียนในพื้นที่ จ.สตูล กำลังใกล้จะเก็บผลผลิตออกจำหน่ายในช่วงอีกเดือนเดียวเกษตรกรก็จะมีรายได้จากการนำทุเรียน หมอนทอง และชะนี ทุเรียนบ้าน ออกจำหน่าย แต่หลายสวนในพื้นที่ จ.สตูล อ.ควนโดน อ.ควนกาหลง กำลังประสบปัญหาลิงก่อกวนเด็ดลูกทุเรียนนับร้อยทิ้งใต้โค่นต้น ทั้งลูกเล็ก ลูกใหญ่ ขนาดน้ำหนักร่วม 5-7 กิโลกรัม ก็มี

เหมือนอย่างของเกษตรกรรายนี้ ในสวนทุเรียนหมอนทองและสวนทุเรียนบ้าน ของ นายแอ หลังยาหน่าย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนทุเรียนพื้นที่ 20 กว่าไร่ ในพื้นที่หมู่ 1 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีผู้สื่อข่าวลงดูสภาพร่องรอยฝีมือของลิงที่มาครั้งเป็นฝูง จากเมื่อก่อน 9-10 ตัว แต่เดี๋ยวนี้มาครั้งละเกือบ 100 ตัว เด็ดลูกที่ใกล้จะสุกลงมากองไว้เต็มโคนต้น จากนั้นทิ้งไว้สักพัก 2-3 วัน ก็จะกลับมาฉีกกินทุเรียน โดยคลายเม็ดและทิ้งเปลือกไว้ดูต่างหน้า สร้างความปวดร้าวใจให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก

ด้าน นายแอ หลังยาหน่าย เจ้าของสวนทุเรียน กล่าวว่า วอนขอทางจังหวัดสตูลจัดการปัญหากับลิงที่ลงมาก่อกวนชาวบ้านให้ที ทุกๆ ปี พอฤดูทุเรียนมาถึงออกลูกแต่มิได้อยู่ถึงเก็บไปขายเลย เพราะลิงมาก่อกวนทำลายไป บางทีนั่งเฝ้าก็ยังไม่สามารถปรามลิงเหล่านี้ได้

เจ้าของสวนทุเรียนกล่าวอีกว่า แม้ภาครัฐจะมีการหารือในการแก้ปัญหาจังหวัดที่มีลิงก่อกวน ก็ขอให้ทำให้ได้จริงๆ เพราะสวนทุเรียนปลูกมาเพื่อขายสร้างอาชีพ แต่ลิงมาทำลายแบบนี้ เราจะเอาที่ไหนทำมาค้าขาย เป็นแบบนี้ทุกๆ ปี และปีนี้หนักสุดจริง ลูกเล็กๆ ลูกใหญ่ ที่กำลังจะได้ขายแต่ถูกลิงทำลายจนหมด และมีเกษตรกรบางคนยอมที่จะโค่นต้นทุเรียนและหันกลับไปปลูกยางพาราเหมือนเดิม แม้ราคาจะตกต่ำ เพราะไม่สามารถสู้แก้ปัญหาลิงได้ ทั้งที่ราคาทุเรียนในปีนี้ดี ปัจจุบันราคาทุเรียนสายพันธุ์หมอนทองอยู่ที่กิโลกรัมละ 150-160 บาท และทุเรียนสายพันธุ์ชะนีอยู่ที่กิโลกรัมละ 100 ถึง 110 บาท

การค้นหานักฟุตบอลทีมหมูป่า รวม 13 คน ที่เข้าไปติดอยู่ภายในวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ในตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตั้งแต่ช่วงบ่ายเมื่อวานนี้ ล่าสุดการค้นหาผ่านมาแล้วกว่า 24 ชั่วโมง ก็ยังไร้วี่แววของทั้ง 13 ชีวิต โดย นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนับร้อยนาย เข้าค้นหาผู้สูญหายอย่างต่อเนื่องท่ามกลางบรรดาผู้ปกครองและญาติของผู้สูญหายมารอด้วยความโศกเศร้า

ที่ได้มาร่วมกันทำพิธีตามความเชื่อด้วยการไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ประจำถ้ำและตีกลองตามความเชื่อแต่โบราณ รวมทั้งนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี ขอเจ้าแม่นางนอนให้ปกปักษ์รักษาทั้ง 13 คน ให้ปลอดภัย และให้ค้นหาทั้ง 13 คน พบโดยเร็ว ซึ่งการค้นหาของนักประดาน้ำตลอดทั้งวันที่ผ่านมาแม้ฝนจะไม่ตกแต่ปัญหาอุปสรรคในการค้นหาคือ น้ำในถ้ำยังสูงและมีสีขุ่นมองไม่เห็นและด้วยความยาวของถ้ำกว่า 6 กิโลเมตร และมีหินงอกหินย้อยบางช่วงแคบมาก อากาศภายในถ้ำมีน้อยและปัญหาความมืดทำให้การค้นหาเป็นไปอย่างยากลำบาก

สำหรับ วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ความสูงจากระดับนำ้ทะเลปานกลาง 453.00 เมตร หน่วยงานที่รับผิดชอบ ป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอนลักษณะเด่นของพื้นที่/ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ปากถ้ำเป็นห้องโถงกว้างมาก ภายในถ้ำจะพบกับความงามของเกล็ดหินสะท้อนแสง หินงอก หินย้อย ธารน้ำ และถ้ำลอด ถ้ำหลวง ยังรอคอยความท้าทายการสำรวจจากนักท่องเที่ยวอยู่ตลอดเวลาเพราะสำรวจไปได้ไม่ถึงที่หมายก็ต้องล่าถอยออกมาด้วย พบกับอุปสรรคความยากลำบากภายในถ้ำและยังมีถ้ำเล็กๆ อีก 3 แห่ง ในบริเวณเดียวกัน

ลักษณะปัจจัยแวดล้อมทางกายภาพ สภาพธรณีวิทยานอกถ้ำ ประกอบไปด้วยชั้นหินปูน หมวดหินราชบุรี (Ratburi Group) ที่เกิดอยู่ในยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) ต่อยุคเพอร์เมียน (Permian) ซึ่งมีช่วงอายุระหว่าง 345-230 ล้านปี หินที่พบมีทั้งหินปูน (Limesmtone) และหินอ่อน (Marble) สีเทาถึงเทาดำ มีซากบรรพชีวิน (Fossil) สลับด้วยหินดินดาน (Shale) สีเทา

ขณะที่ สภาพธรณีวิทยาภายในถ้ำ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูล ระบุว่า เป็นประเภทของถ้ำเขาหลวงเป็นถ้ำกึ่งแห้ง เนื่องจากบางส่วนยังมีการเกิดของหินงอก และหินย้อยอยู่ และบางส่วนแห้งแล้ว อยู่ในพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตั้งอยู่ที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีลักษณะภูมิประเทศแบบหินปูน (Karst topography) มีลักษณะทางธรณีวิทยา ประกอบด้วยหินแข็งยุคคาร์บอนิเฟอรัส-เพอร์เมียน (Carboniferous-Permian: CP)

หินที่พบในพื้นที่ประกอบด้วยหินปูนสีเทาอ่อน (Limestone) หินอ่อน (Marble) หินยุคนี้อยู่ในช่วงอายุประมาณ 270-320 ล้านปี ปากทางเข้าถ้ำสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 433 เมตร แนวโถงถ้ำมีโถงหลักเพียงโถงเดียว แต่เส้นทางคดเคี้ยว บางช่วงเดินเข้าถึงได้ง่าย บางช่วงมีเพดานต่ำ จนถึงเส้นทางเดินลำบาก ซึ่งการสำรวจ สำรวจจนสิ้นสุดห้องลับแล เนื่องจากทางที่จะไปโถงอื่น ๆ นั้นลำบากมาก แร่ทุติยภูมิที่พบเป็นแร่แคลไซต์ (calcite) ได้แก่ หินย้อย หินงอก เสาหิน ม่านเบคอน ผลึกแร่แปรงล้างขวด หลอดโซดา และตะกอนภายในถ้ำ

ได้แก่ เศษหินถล่มจากหินน้ำไหล และหินปูน ตะกอนดินเหนียว หาดทราย พบหลักฐานที่แสดงถึงวิวัฒนาการของถ้ำจำนวนมาก เช่น รอยการไหลของน้ำเป็นริ้วคลื่นปัจจุบัน (Ripple Mark) ระดับพื้นถ้ำเก่า หินถล่มขนาดเล็ก และใหญ่จำนวนมาก รอยแตกแบบมีแรงดึง (Tension Crack) นอกจากนี้ ยังพบรอยระดับน้ำ หลุมยุบ และโพรงบริเวณเพดานถ้ำ (Anastomosis) และการแตกออกของผนัง

สำหรับสถิตินักท่องเที่ยว ในช่วงฤดูฝนพื้นที่ถ้ำถูกปิด จำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาที่ถ้ำหลวง จะมาในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเมษายน โดยในส่วนสิ่งก่อสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวก วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อยู่ในท้องที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ กรมป่าไม้ ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529 โดยหน่วยงานที่ดูแลหลักคือ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เชียงราย

ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เคยให้ข้อมูลในเว็บไซต์ไว้ว่า ถ้ำหลวง จะปิดไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมพื้นที่ถ้ำ ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นฤดูฝน เนื่องจากน้ำจะไหลเข้ามาท่วมภายในถ้ำซึ่งจะไม่ปลอดภัย และจากการสอบถามเจ้าหน้าที่ของวนอุทยานฯ พบว่า นักท่องเที่ยวที่จะมาเที่ยวชมถ้ำส่วนมากจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ อาจเนื่องมาจากภายในถ้ำค่อนข้างเปียกชื้น และทางวนอุทยานฯ ไม่ได้มีการติดตั้งแสงไฟส่องสว่าง นักท่องเที่ยวต้องยืมหรือเช่าไฟฉายจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว

รวมทั้งถ้ำหลวงอาจไม่ใช่ลักษณะถ้ำที่เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยวไทย แต่อาจมีความเหมาะสมในเชิงการศึกษาวิจัย ดังนั้น ป้ายแสดงเส้นทาง หรือบอกรายละเอียดภายในถ้ำมีบ้างแต่ค่อนข้างชำรุด เนื่องจากถ้ำหลวงมีเพียงบริเวณโถงตรงปากถ้ำและโถงทางด้านขวามือเป็นถ้ำเกือบตาย คือ หินย้อยและหินงอกอาจไม่มีการเกิดแล้ว (หยุดการเติบโตแล้ว) แต่พื้นที่ถ้ำส่วนใหญ่ยัง active คือ มีการไหลผ่านของน้ำ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูฝนที่ต้องมีการปิดถ้ำ นอกจาก นี้ ในช่วงฤดูแล้งภายในถ้ำยังมีความชื้นสูง จะเห็นได้จากหยดน้ำที่เกาะอยู่ตามผนังถ้ำ และตามหินย้อยต่างๆ ก็มีหยดน้ำเกาะอยู่มากมาย ดังนั้น หากมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมตามลำพัง และไม่มีข้อห้าม เส้นทางเดินที่ไม่ชัดเจน หรือไม่มีเครื่องกีดขวางบางส่วนในพื้นที่ถ้ำที่ค่อนข้างเป็นตำแหน่งที่เปราะบาง การเกิดของหินงอก-หินย้อยต่างๆ อาจได้รับผลกระทบ

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา เกษตรกรหลายรายเริ่มประสบปัญหาฝนทิ้งช่วงหลายสัปดาห์ ทำให้ต้นข้าวที่เพิ่งเจริญเติบโต ต้องยืนต้นตายไปแล้วหลายร้อยไร่ ส่วนน้ำที่อยู่ในบ่อน้ำธรรมชาติและอ่างเก็บน้ำ ไม่ได้มีน้ำที่เพียงพอต่อการใช้งาน มีระดับน้ำที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

จากการตรวจสอบอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำเค็ม ตำบลหนองแจ้งใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา พบว่าปริมาณน้ำกักเก็บลดลงเป็นอย่างมาก จึงได้สอบถามพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่ทราบว่า ฝนไม่ได้ตกลงมา เป็นเวลาหลายวันแล้ว ถ้าตกก็ตกในปริมาณที่ไม่มากพอจะสามารถเติมน้ำเข้าอ่างได้ และเกษตรกรยังต้องใช้การสูบน้ำผันน้ำเข้าสู่นาข้าวเพื่อไม่ให้ข้าวยืนต้นตาย

นายกิตติศักดิ์ ฉิพิมาย อายุ 38 ปี ชาวบ้านบ้านเปลาะปลอ ตำบลดอนชมพู อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกอบอาชีพหาของป่าตามฤดูกาลขาย เปิดเผยว่า ปกติจะมาหาสายบัวที่อ่างเก็บน้ำแห่งนี้เป็นประจำ แต่ปีนี้ค่อนข้างน่าผิดหวัง เพราะปริมาณน้ำที่ลดลง ทำให้สายบัวที่ได้เส้นค่อนข้างสั้น เนื่องจากสายบัวจะยาวตามผิวน้ำที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อน้ำตื้นสายบัวเลยสั้นตาม เมื่อนำมาตัดเป็นท่อนๆ จะทำให้ได้ปริมาณไม่เยอะเท่าที่ควร ซึ่งจากเดิมในแต่ละวันจะหาได้ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม แต่วันนี้หาได้เพียง 40 กิโลกรัม ซึ่งหายไปค่อนข้างเยอะทีเดียว โดยสายบัวที่ได้จะนำไปขายที่ตลาดประปาในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา ในกิโลกรัมล่ะ 20 บาท ซึ่งการที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงขนาดนี้ ทำให้รายได้ของตนลดลงไปมากทีเดียว

นายฐิติ ลุจินตานนท์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท ซี.พี. อินเตอร์เทรด จำกัด หรือ ข้าวตราฉัตร เปิดเผยว่า ครึ่งหลังปี 2561 ซีพี เอนเตอร์เทรด จะผลักดันให้ส่งออกมากขึ้น โดยจะมุ่งเจาะตลาดค้าปลีก โมเดิร์นเทรดรายใหญ่ ในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (อียู) เช่น วอล์มาร์ท แซมส์คลับ ที่ผู้บริโภคต่างชาติให้ความเชื่อมั่นในคุณภาพสินค้า จากเดิมที่การส่งออกของข้าวตราฉัตรจะมุ่งในตลาดคนเอเชียเป็นหลัก โดยข้าวหอมมะลิที่วางจำหน่ายในห้างโมเดิร์นเทรดเหล่านี้จะรับประกันการปลอมปน ต้องเป็นหอมมะลิแท้อย่างน้อย 92% รวมทั้งการส่งออกจะหันกลับมาดีอีกครั้งในช่วงไตรมาสสุดท้ายที่ข้าวออกสู่ตลาดมาก

“ปัจจุบัน คนยุโรปและอเมริกาหันมาสนใจข้าวของไทยมากขึ้น หากห้างต่างๆ เหล่านี้ ยอมรับไปจำหน่ายจะประกันด้านคุณภาพข้าวของไทย สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคได้อีกลำดับ ซึ่งข้าวตราฉัตรส่งออกทั้งในรูปแบรนด์ตราฉัตรเอง และ OEM แต่ต้องระบุที่มาว่าเป็นข้าวของไทย”

สำหรับตลาดในข้าวถุง ปรับตัวสูงขึ้น หลายฝ่ายคาดว่า ขนาด 5 กิโลกรัม (ก.ก.) ต่อถุง จะมีราคาถึง 300 บาท นั้น เป็นไปได้ยากเพราะข้าวในประเทศมีหลากหลายพันธุ์ การปรับขึ้นของราคาจะทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้อข้าวชนิดอื่น ซึ่งขณะนี้เริ่มเห็นแล้วจากราคาข้าวผสม ระหว่างหอมมะลิ หอมปทุมธานี ได้รับความนิยมมากขึ้น

ส่วนการส่งออกข้าวตราฉัตรในช่วง 5 เดือน ที่ผ่านมาปรับลดลงเล็กน้อย 5-10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีข้าว แต่มูลค่าปรับเพิ่มขึ้น เพราะราคาส่งออกดีมาก เทียบกับปี 2560/61 อยู่ที่ ตันละ 800-900 ดอลลาร์ เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยังคาดว่ารายได้ในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าที่กำหนดไว้ 18,000 ล้านบาท สัดส่วนเป็นรายได้จากการส่งออก 70% และในประเทศ 30%

ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพของข้าวตราฉัตร ตามแผน 5 ปี (2560-64) จะร่วมมือกับเกษตรกรปลูกข้าวหอมมะลิพันธุ์ดีให้ได้ 1.5 ล้านไร่ ทั้งภาคเหนือและอีสาน ทั้งหมดต้องได้รับรอง GAP เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต ปัจจุบัน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการนี้ 1.2 แสนไร่ ซึ่งการขยายพื้นที่ทำได้ช้า เพราะเกษตรกรไม่พร้อม และเจ้าหน้าที่รัฐในการรับรอง GAP มีน้อย

นายฐิติ กล่าวว่า ราคาส่งออกข้าวปรับลดลงเล็กน้อย โดยข้าวหอมมะลิจาก ตันละ 1,200 ดอลลาร์ เหลือ 1,150 ดอลลาร์ ทั้งนี้ เพราะผู้นำเข้ารอข้าวใหม่ที่กำลังจะออกสู่ตลาดในเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ถือเป็นเรื่องปกติของตลาด แต่ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการตลาดข้าวยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าราคาข้าวหอมมะลิความชื้น 25% ในฤดูกาลใหม่ ปี 2561/62 นี้ จะยังอยู่ในระดับ ตันละ 15,000 บาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา กรณีที่ข้าวมีความชื้นสูงเกษตรกรจะได้รับราคาประมาณ ตันละ 9,000-10,000 ต่อตัน

“ราคาข้าวในช่วงที่ผ่านมา ปรับขึ้นสูงมาก ถึงตันละ 1,300 ดอลลาร์ เนื่องจากผลผลิตในตลาดมีน้อย ในขณะที่สต๊อกข้าวของรัฐไม่มีแล้ว ไม่มีอะไรมากดราคา อีกทั้งข้าวหอมมะลิของไทยไม่มีคู่แข่ง ทำให้โอกาสเป็นของไทย ซึ่งคาดว่าในปีนี้โดยรวม จะส่งออกได้ประมาณ 2 ล้านตัน”

พนักงาน รพสต. สืบสานตำนานขนมแป้งจี่ จากบรรพบุรุษ สร้างรายได้ในวันหยุด วันละ 1,000-2,000 บาท
อาหารการกิน แต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่าง อาจมาจากประเพณีวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และวัสดุที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่นที่จะนำมาทำอาหาร

ขนมไทยๆ ที่มีมาแต่โบราณ หลายอย่างได้มีการสืบสานจากบรรพบุรุษ ที่ยังมีให้เห็นไม่มากนัก เช่น มะพร้าวแก้ว ขนมผิง เป็นต้น และยังมีขนมอีกประเภทหนึ่งที่ยังพอมีให้เห็น ขายอยู่ตามตลาดนัด แต่ไม่มีวางขายตามแผง และตามร้านทั่วไป คือ ขนมแป้งจี่โบราณ ทำจากแป้งทำขนมจีน ปั้นเป็นรูปกลม แบน นำไปย่างไฟร้อนๆ ให้กรอบนอกนุ่มใน มีรสหวานไม่มาก

นางสาว วีรวรรณ คลังทรัพย์ พนักงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เล่าว่า หลังจากว่างจากงานประจำ ช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ ได้ทำขนมแป้งจี่โบราณ ที่ได้รับสืบทอดมาจากคุณแม่ ที่ทำขายมานานแล้ว โดยทำขายที่ตลาดเทศบาลเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว และได้ช่วยแม่ทำขนมแป้งจี่มาตลอด หลังจากเรียนจบและได้ทำงานเป็นพนักงาน รพ.สต.ป่าไร่แล้ว และเมื่อถึงวันหยุด คือ วันเสาร์ ได้ทำขนมแป้งจี่โบราณ ขายที่ตลาดนัด คลองถม ที่บริเวณตลาดรถไฟอำเภออรัญประเทศ และวันอาทิตย์ ได้ปิ้งขนมแป้งจี่ ที่ตลาดนัด อำเภอวัฒนานคร ได้รับการตอบรับและเป็นที่ชื่นชอบของคนที่ชอบกินขนมแป้งจี่โบราณอย่างมาก

“แป้งที่ทำขนมแป้งจี่ จะเป็นแป้งที่ใช้ทำขนมจีน เป็นขนมโบราณ จะทำขายเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์ ที่ตลาดนัด ขายอันละ 5 บาท ทำวันละ 200-400 แผ่น ขนมแป้งจี่โบราณ จะห่อด้วยใบตอง แล้วย่างด้วยไฟถ่านอ่อนๆ ให้กรอบนอก แต่นุ่มใน ดังนั้น แต่ละวันจะมีรายได้ 1,000-2,000 บาท เป็นการหารายได้เสริมจากเงินเดือนประจำให้กับครอบครัว และอยู่ได้อย่างมีความสุข” นางสาววีรวรรณ กล่าว

ค้าปลีกย่านดาวน์ทาวน์กลางเมืองหาดใหญ่ ซบเซาหนัก ตลาดของฝากชื่อดัง “กิมหยง-สันติสุข” ยอดร่วง-ขึ้นป้ายเซ้งกิจการเพียบ ชี้ผลพวงธุรกิจ-พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ลูกค้าแห่ซบโมเดิร์นเทรด แถมพืชผลทางการเกษตรราคาร่วง-กำลังซื้อวูบ กระหน่ำซ้ำ นักท่องเที่ยวไทย-เทศ หาย

แหล่งข่าวจากผู้ค้าปลีกย่านดาวน์ทาวน์หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันธุรกิจค้าปลีกย่านดาวน์ทาวน์ 6-7 แห่ง ที่ตั้งอยู่บริเวณระหว่างถนนนิพัทธ์อุทิศ 1-2 และ 3 เทศบาลนครหาดใหญ่ จ.สงขลา เช่น ตลาดสันติสุข ตลาดยงดี ตลาดซาวอย ตลาดเอเชีย ตลาดเอเชีย 83 ตลาดแผงทอง และตลาดสหโชค ตลาดขายของฝากและของที่ระลึก สุรา บุหรี่ เครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงสินค้าประเภทอาหารแห้ง กาแฟสำเร็จรูป ขนม จากประเทศมาเลเซีย ที่อยู่คู่กับหาดใหญ่มากว่า 40-50 ปี อยู่ในภาวะที่ค่อนข้างซบเซา ยอดขายลดลงมาก

“ในยุคที่รุ่งเรือง หลายๆ ร้านมีรายได้เฉลี่ยระดับหลักแสนบาทต่อวัน แต่ละวันจะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 30 ล้านบาท ต่อวัน แต่ตั้งแต่ ปี 2555 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันยอดขายตกต่ำไปมาก เฉลี่ยเหลือ ประมาณ 20% ต่อเดือน”

แหล่งข่าวยังกล่าวด้วยว่า นอกจากตลาดของฝากที่ซบเซาแล้ว ในส่วนของห้องค้าหุ้นที่ตั้งอยู่ในบริเวณนี้ต่างทยอยปิดกิจการไปเช่นกัน บางห้างมี 5 ชั้น ต้องทยอยยุบเลิกกิจการไปทีละชั้น บางแห่งเหลือเพียง 2 ชั้น โดยแต่ละชั้นเหลือร้านค้า ประมาณ 50 ร้าน เพราะได้ทยอยเลิกกิจการมากกว่าครึ่งแล้ว ขณะเดียวกันหลายร้านมีการขึ้นป้ายประกาศเซ้งกิจการจำนวนมาก

“สาเหตุมาจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี ราคาพืชผลทางการเกษตรที่ตกต่ำ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน ส่งผลต่อรายได้และการจับจ่ายใช้สอยลดลง ขณะที่การขยายตัวของโมเดิร์นเทรดขนาดใหญ่ที่มีมากขึ้น และเข้ามาแย่งลูกค้าไป รวมถึงปัจจุบันผู้บริโภคมีการสั่งสินค้าทางออนไลน์เพิ่มขึ้น”

นายกวิศพงษ์ สิริธนนนท์สกุล กรรมการผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซุปเปอร์ค้าส่ง เคแอนด์เค อ.หาดใหญ่ และประธานกรรมการหอการค้าจังหวัดสงขลา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจการค้าในย่านดาวน์ทาวน์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเก่าแก่ของหาดใหญ่ ซบเซาอย่างต่อเนื่อง และมีร้านค้าทยอยปิดตัวลงไป หลักๆ มาจากรูปแบบการค้าขายสมัยใหม่และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และหันไปใช้บริการและซื้อหาสินค้าตามโมเดิร์นเทรดที่มีความสะดวกสบายและมีบริการต่างๆ อย่างครบครัน ประเภทวันสต๊อปเซอร์วิส เช่น มีพื้นที่จอดรถที่จอดรถได้จำนวนมาก และกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง เนื่องจากราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะยางพาราที่เป็นรายได้หลักของเกษตรกรก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งเช่นกัน