แต่หากคณะกรรมการที่กำลังแต่งตั้งขึ้นกำหนดแนวทางหรือประกาศ

ออกมาอย่างไร ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย ก็พร้อมปฏิบัติตามและยึดถือเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน ขณะที่นมสูตร 1 และสูตร 2 ที่กฎหมายควบคุมการโฆษณาและการตลาดแบบเบ็ดเสร็จ ทุกค่ายก็ปฏิบัติตาม ไม่ได้ทำการโฆษณาและกิจกรรมทางทางการตลาดแต่อย่างใด

จากการสำรวจของผู้สื่อข่าว พบว่ากิจกรรมทางการตลาดที่ค่ายนมเด็กทำในช่องทางต่าง ๆ ในขณะนี้ อาทิ ในเทสโก้ โลตัส เอนฟา 3 สมาร์ท พลัส 2.2 กก. ลดราคาเหลือ 804 บาท จาก 894 บาท ถึง 20 ธ.ค.นี้ และตั้งแต่ 28 ก.ย.-11 ต.ค. ยังมีการแถมของพรีเมี่ยมเป็นสระน้ำ เมื่อซื้อเอนฟา 3, 4 สมาร์ทพลัส 1.65 กก. ครบ 2 กล่อง เช่นเดียวกับ ดูเม็กซ์ ดูโกร 3 ซูเปอร์มิกซ์ 1.8 กก. ร่วมกับเทสโก้ โลตัส แจกดาวสะสมแต้ม 10 ดวง, ไฮคิวลดราคา ไฮคิว 1 พลัส รสจืด 3 กก. เหลือ 1,025 บาท จาก 1,139 บาท และแถมของเล่นชุดเจ้าของธุรกิจตัวน้อย เมื่อซื้อนมผงไฮคิว 1 พลัส พรีไบโอโพรเทก 3 กก. 2 กล่อง ขณะที่นมผง เอส-26 แถมรถของเล่น เมื่อซื้อ เอส-26 โปรเกรส โกลด์ 2.4 กก. หรือพีดี โกลด์ 1.8 กก.ครบ 3 กล่อง

ส่วนบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ตั้งแต่ 28 ก.ย.-11 ต.ค. เอนฟาโกร เอ พลัส 3 ขนาด 3.3 กก. ลดราคาเหลือ 1,598 บาท จาก 1,682 บาท, ไฮคิว 1 พลัส, 3 พลัส ซูเปอร์โกลด์ ซินไบโอโพรเทก ครบ 2,800 บาท แถมตัวต่อแม่เหล็ก รวมทั้งลดราคาไฮคิว 1 พลัส ซูเปอร์โกลด์ 1.8 กก. เหลือ 907 บาท จาก 1,008 บาท และนอกจากนี้บิ๊กซียังแจกคูปองท้ายใบเสร็จสูงสุด 300 บาท เมื่อซื้อสินค้านมผงเด็ก ยอดซื้อตั้งแต่ 1,500 บาทขึ้นไป

ขณะที่ท็อปส์ ก็จัดกิจกรรมสำหรับสมาชิกเดอะวันการ์ด อาทิ ลดราคานมไฮคิว 1 พลัส ซูเปอร์โกลด์ 3 กก. เหลือ 1,525 บาท จาก 1,606 บาท ถึง 10 ตุลาคม, เอส-26 พีอีโกลด์ 600 ก. เหลือ 335 บาท จาก 362 บาท, แคมเปญ “Taste of Europe” ซื้อสินค้ายุโรป

ซึ่งรวมถึงกลุ่มนมผงบางผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ 27 ก.ย.-24 ต.ค. รับสิทธิ์ลุ้นเที่ยวอังกฤษ 10 วัน 8 คืน วันที่ 9 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่ฝนตกหนักในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ทำให้เขื่อนในจ.ชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ รับน้ำมากเกินปริมาณ ต้องระบายน้ำจำนวนมหาศาลลงลำน้ำชีสู่จ.ร้อยเอ็ด ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันระลอกสองที่บ้านเปลือยตาลหมู่ 5 หมู่ 6 ต.ดงสิงห์ อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งเกิดน้ำท่วมขังหมู่บ้านอยู่แล้วตั้งแต่ ก.ค.60 น้ำยังไม่ลด ทำให้บ้านเรือนราษฎร ถนนหนทาง และนาข้าวจมน้ำมากขึ้นเป็นสองเท่า ระดับน้ำสูง 1-2 เมตร นาข้าวเสียหายสิ้นเชิงและเน่าแล้ว 5,000 ไร่ ต้องอพยพราษฎร ยวดยานพาหนะและสัตว์เลี้ยงขึ้นที่สูง โดยตั้งศูนย์พักพิงอยู่ที่โรงเรียนบ้านเปลือยตาล ขณะนี้ระดับน้ำยังสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กว่า 1 เมตรแล้ว

นางทองหล่อ ทักขินัย ผู้ใหญ่บ้านบ้านเปลือยตาล หมู่ 16 กล่าวว่า บ้านเปลือยตาล มี 2 หมู่บ้าน คือหมู่ 5 และหมู่ 16 หมู่ 5 นำโดยผู้ใหญ่ธนวัฒน์ อ่อนสาคร มี 101 ครัวเรือน ส่วนหมู่ 16 ตนเป็นผู้ใหญ่ มี 125 หลังคาเรือน ขณะนี้น้ำท่วมบ้านเรือนราษฏรขยายตัวไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว คาดว่าน้ำจะท่วมนานเพราะรอบแรก น้ำก็ยังไม่ลด และยังมาท่วมเพิ่มอีก คราวนี้เป็นระลอกสอง แต่ท่วมหนักกว่ารอบแรก “ตอนนี้ชาวบ้านต้องเดือดร้อนซ้ำซาก ในระยะสั้นขอวอนภาครัฐภาคเอกชน สนับสนุนถุงยังชีพ เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม ยารักษาโรค อาหารสัตว์ ส่วนระยะยาวต้องหาอาชีพ สร้างรายได้ให้ชาวนา เพื่อหาเงินซื้อข้าวกิน และใช้หนี้ ธกส.”นางทองหล่อ กล่า

สัมผัสวิถีเศรษฐกิจพอเพียงบ้านรางพลับ ชุมชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลด้านการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.๙ มาใช้ดำเนินชีวิต โดยฝรั่งหัวใจไทย แดเนียล เฟรเซอร์ ออกเดินทางในทริปพิเศษ “ตามรอยเสด็จของในหลวง ร.๙” ไปลองทำผลิตภัณฑ์จากขยะรีไซเคิล ชมธนาคารไส้เดือน เยี่ยมฟาร์มไก่ชน ชิมรั้วกินได้

ฝรั่งหัวใจไทย “แดเนียล” เดินทางตามรอยเสด็จในหลวง ร.๙ มาสัมผัสวิถีพอเพียงที่บ้านรางพลับ จังหวัดราชบุรี ชมผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดจากขยะรีไซเคิล ซึ่งชาวบ้านมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนขยะเป็นเงิน สร้างรายได้สร้างอาชีพ พร้อมทดลองทำผลิตภัณฑ์แฮนด์เมดอย่าง หมวก จากนั้นไปชมธนาคารไส้เดือน โรงเพาะเลี้ยงไส้เดือน และผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ซึ่งมีแนวคิดจากการนำสิ่งมีชีวิตมีมีอยู่ตามธรรมชาติมาเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้ชุมชน จากนั้นไปชมไก่ชนราคาหลักล้าน ที่ฟาร์มไก่ซุ้มเพชรหล่อเงิน ซึ่งได้แนวคิดจากการนำวัสดุธรรมชาติภายในชุมชนมาใช้ตกแต่งสถานที่ให้มีความโดดเด่น นอกจากนี้ ยังมีรั้วกินได้ ซึ่งตลอดเส้นทางในชุมชนจะมีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้บริเวณรั้ว รวมถึงมีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำมาประกอบอาหาร และแปรรูปออกจำหน่าย ซึ่งชุมชนแห่งนี้ได้รับยกย่องว่าเป็นชุมชนดีเด่น เป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิต

เที่ยวตามรอยเสด็จในหลวง ร.๙ กับฝรั่งหัวใจไทย แดเนียล เฟรเซอร์ ในรายการหลงรักยิ้ม วันอาทิตย์ ที่ 15 ตุลาคม 2560 เวลา 16.30 น. ทางช่อง 28 (3SD) พร้อมติดตามความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ที่ Facebook

กรมประมงออกประกาศผู้ส่งออกห้ามนำเข้ากุ้งที่เป็นวัตถุดิบจาก “มาเลเซีย-อินเดีย” หลังพบการแพร่ระบาดโรค IMNV หนัก

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2560 นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ได้ออกประกาศกรมประมง เรื่องงดการออกใบอนุญาต และหนังสืออนุญาตให้นำเข้าสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2560 โดยสรุปเนื้อหาของประกาศดังกล่าวได้ว่า เนื่องจากมีรายงานการพบโรคไอเอ็มเอ็นวี (IMN-Infectious Myonecrosis Virus) ในอินเดีย และประเทศมาเลเซีย ประกอบกับมีรายงานเพิ่มเติมจากองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ว่า กุ้งน้ำตาล (Penaeus esculentus), กุ้งแชบ๊วย (Fenneropenaeus merguiensis) และกุ้งชนิดอื่นๆ ได้แก่ กุ้งขาว (Penaeus vannamai), กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และกุ้งฟ้า (Penaeus stylirostris) เป็นสัตว์ที่ไวต่อการรับโรคไอเอ็มเอ็นที่อาจจะเป็นพาหะของโรคดังกล่าว

เพื่อป้องกันมิให้โรคดังกล่าวเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมกุ้งของไทย กรมประมงจึงงดการออกใบอนุญาต และหนังสือให้นำเข้ากุ้งแชบ๊วย, กุ้งน้ำตาล, กุ้งขาว, กุ้งกุลาดำ และกุ้งฟ้าที่มีชีวิต ซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในลักษณะของกุ้งดิบแช่เย็น แช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกุ้งดังกล่าว ที่มีถิ่นกำเนิดและมาจากประเทศอินเดีย และประเทศมาเลเซียเข้ามาในราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก ในประกาศจึงได้ระบุว่า ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับกรณีผู้ประกอบการที่มีหนังสือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อนำเข้ากุ้ง ซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดในลักษณะของกุ้งดิบแช่เย็นแช่แข็ง และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกุ้งดังกล่าวไว้ก่อนประกาศฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับ และได้แจ้งไว้ต่อกรมประมงภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ โดยการนำเข้าดังกล่าง ต้องผ่านกระบวนการกักกัน และตรวจสอบโรคตามหลักเกณฑ์ของกรมประมง

นายบรรจง นิสภวาณิชย์ ประธานสมาพันธ์เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การที่กรมประมงออกประกาศให้โรงเพาะฟักลูกกุ้งกุลาดำที่นำเข้าพ่อแม่พันธุ์หรือจับจากธรรมชาติ ต้องมีการกักกันต่างหาก เพื่อให้เจ้าหน้าที่กรมประมงออกตรวจสอบโรค IMNV เพื่อป้องกันการระบาดในไทยตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนเป็นต้นมานั้น โรงเพาะฟักไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ปัจจุบันผลผลิตกุ้งกุลาดำตกประมาณปีละ 10,000-20,000 ตัน ต้องใช้พ่อแม่พันธุ์กุ้ง 1,000-2,000 ตัน ตามมาตรฐานของ OIE กำหนดให้ตรวจสอบ 25-50% ของปริมาณที่นำเข้า แต่เกษตรกรโรงเพาะฟักขอให้กรมประมงตรวจ ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์จะได้ไม่มีโรค IMNV นี้เล็ดลอดเข้ามา

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สำหรับการประกาศห้ามนำเข้ากุ้งจากประเทศมาเลเซียและอินเดียนั้น จากการป้องกันปัญหาโรคระบาด IMNV ทางผู้ประกอบการ ผู้ส่งออกมองว่า ไม่ได้รับผลกระทบมาก เนื่องจากมีการนำเข้ากุ้งจาก 2 ประเทศนี้เพียง 10,000-20,000 ตันต่อปีเท่านั้น ซึ่งมีปริมาณที่น้อยมาก โดยหลักแล้วผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ใช้กุ้งภายในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น การห้ามประกาศดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบ
อย่างไรก็ดี สำหรับผลผลิตกุ้งภายในประเทศยังมั่นใจว่าผลผลิตทั้งปี 2560 ยังอยู่ที่ปริมาณ 300,000 ตัน ส่วนภาพการส่งออกทั้งปี 2560 ยังมองว่าขยายตัวเป็นบวก และสถานการณ์การนำเข้ากุ้งจากประเทศผู้นำเข้า ขณะนี้ยังอยู่ในภาวะปกติ และยังมีคำสั่งซื้อเข้ามา เพราะผู้นำเข้ามั่นใจผลผลิตกุ้งจากไทย ทั้งนี้ สำหรับปัญหาเรื่องโรคยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และหาวิธีป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เข้ามาแพร่เชื้อ และเกิดโรคระบาดกับกุ้งภายในประเทศ

แหล่งข่าวจากวงการส่งออกกุ้ง กล่าวว่า ช่วงแรกที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค IMNV ในประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่ช่วงปี 2552, 2553 ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งภายในประเทศอินโดนีเซีย หายไปถึงแสนกว่าตัน ถือว่าค่อนข้างร้ายแรงและทำความเสียหายต่อผลผลิตกุ้งอย่างมาก ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องหาทางป้องกันโรคกันอย่างเต็มที่ แต่โรคนี้หากเทียบกับโรคกุ้งตายด่วน (EMS) อาจจะแก้ปัญหาได้ง่ายกว่า

รายงานข่าวจากสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนแรก (ม.ค.-มิ.ย.) ปี 2560 ประเทศไทยมีการนำเข้ากุ้งสดพิกัด (0306) เพิ่มขึ้นมากถึงประมาณ 17,000 ตัน ที่สำคัญเป็นการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นแหล่งระบาดของโรค และเมียนมา ขณะที่ปี 2558 มีปริมาณกุ้งนำเข้าทั้งปีเพียง 11,812.52 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,089.15 ล้านบาท ปี 2559 มีปริมาณกุ้งนำเข้าทั้งปีเพียง 12,727.29 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,393.03 ล้านบาท

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ แนะนำเกษตรกรเฝ้าระวังสุขภาพสัตว์ ในช่วงรอยต่อของฤดูกาลที่ภาวะอากาศแปรปรวน เน้นการจัดการในโรงเรือนและสร้างความอบอุ่นให้สัตว์ ช่วยป้องกันความเสี่ยงและลดอัตราสูญเสีย พร้อมให้คำปรึกษาด้านสุขภาพสัตว์ครบวงจร

น.สพ.นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ขณะนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดวันทั้งร้อนจัด ฝนตก สลับอากาศเย็น ทำให้สัตว์ปีกเลี้ยงแบบปล่อยหรือเลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิดไม่สามารถปรับตัวได้ จึงมีคำแนะนำในการดูแลสัตว์ปีก โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพสัตว์ เข้มงวดการทำวัคซีนป้องกันโรคตามที่สัตวแพทย์ การเตรียมโรงเรือนให้พร้อมอาจเพิ่มกันสาดหรือปิดผ้าใบเพื่อป้องกันฝนรอบโรงเรือน และต้องให้ความสำคัญกับก๊าซแอมโมเนียในโรงเรือน ที่จะกระทบต่อทางเดินหายใจของสัตว์ปีกโดยตรง เพิ่มหลอดไฟกกเพื่อสร้างความอบอุ่นให้สัตว์ปีกในช่วงที่อากาศเย็นลง โดยต้องควบคุมความเร็วลมให้เหมาะสม และพิจารณาเสริมวิตามินละลายน้ำให้สัตว์กิน 3-5 วันติดต่อกัน เพื่อลดความเครียดและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับสัตว์ ช่วยลดการใช้ยาในการรักษาสัตว์ทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารปลอดภัย

“ช่วงนี้ของทุกปีเป็นช่วงการอพยพย้ายถิ่นของฝูงนกจากเขตหนาวในซีกโลกเหนือมายังเขตอบอุ่น เพื่อลดความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีก แนะนำให้เกษตรกรใช้มาตรการการป้องกันตั้งแต่ต้นทางและการเลี้ยงด้วยวิธีทีถูกต้อง ควรฆ่าเชื้อโรคในน้ำบริโภคด้วยคลอรีนออกฤทธิ์ประมาณ 2-3 ppm หรือน้ำ 1,000 ลิตรต่อคลอรีนออกฤทธิ์ 2-3 กรัม ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อกลุ่มกลูตาราลดีไฮด์เป็นประจำทุกวัน และพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่งที่เข้าออกฟาร์มอย่างเข้มงวด พร้อมจัดเตรียมรองเท้าบูทสำหรับสวมใส่ในโรงเรือนโดยเฉพาะ” น.สพ.นรินทร์ กล่าว

สำหรับการดูแลไก่เนื้อ หากมีแกลบเปียกน้ำต้องนำออกและเปลี่ยนแกลบใหม่ทันที เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดแก๊สแอมโมเนีย และต้องหมั่นกลับแกลบถี่ขึ้น 3 วันต่อครั้ง ส่วนการดูแลไก่ไข่จะต้องนำมูลไก่ออกจากโรงเรือนบ่อยครั้งขึ้นและต้องมีการระบายอากาศที่ดี จัดเตรียมน้ำและอาหารให้เพียงพอกับไก่ ด้านการดูแลสุกรต้องจัดเตรียมกล่องและไฟกกสำหรับลูกสุกร เพื่อป้องกันความหนาวเย็นขณะฝนตก และคอยสังเกตการกิน หากกินลดลงต้องปรับให้อาหารเท่าที่สัตว์กินได้ อาจแบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อหลีกเลี่ยงการให้อาหารในช่วงอากาศร้อนจัด หากอากาศเปลี่ยนแปลงมากควรผสมอาจเพิ่มวิตามินละลายน้ำเช่นเดียวกับในสัตว์ปีก

นอกจากนี้ หลายพื้นที่อาจประสบปัญหาพายุฝน จึงแนะนำให้ย้ายสัตว์ปีกเข้าเลี้ยงในโรงเรือนที่แข็งแรง ควรตัดแต่งกิ่งต้นไม้รอบฟาร์มให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้หักโค่นมาโดนหลังคาโรงเรือนหรือสายไฟ และต้องซ่อมแซมหลังคาโรงเรือนให้ดีเพื่อป้องกันน้ำฝนที่จะเข้าสู่ภายใน ควรปรับปรุงและเสริมความแข็งแรงบริเวณชายคาเพื่อไม่ให้ลมพัดเสียหาย โดยเฉพาะโรงเรือนเก่าที่ไม่แข็งแรง ต้องหาไม้ค้ำยันเพื่อป้องกันการพังจากลมพัดแรง และต้องจัดเก็บอาหารสัตว์ให้มิดชิด หากมีปัญหาอาหารสัตว์โดยฝนจนเปียกมากไม่ควรนำมาเลี้ยงสัตว์

ส่วนการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศด้วยการระเหยของน้ำ หรือระบบอีแวป (EVAP) เกษตรกรต้องควบคุมการทำงานของพัดลมและเยื่อกระดาษหน้าโรงเรือนให้เหมาะสม และต้องเตรียมเครื่องสำรองไฟและน้ำมันเชื้อเพลิงให้พร้อมสำหรับกรณีไฟดับเพื่อให้พัดลมทำงานได้ตามปกติ

เกษตรกรสามารถสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพสัตว์และขอคำแนะนำอย่างครบวงจร ได้ที่สำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บกซีพีเอฟ ถนนสุวินทวงศ์ เขตหนองจอก กทม. โทร.029880670 วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-18.00 น.

เอกชนเสนอรัฐปรับปรุง พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 เพื่อลดข้อจำกัดการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ พร้อมเสนอกฎหมายใหม่เพิ่ม แยกป่าอนุรักษ์ออกจากป่าเศรษฐกิจ เชื่อจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับป่าไม้เศรษฐกิจเพิ่มเป็น 2 ล้านล้านบาท

แหล่งข่าวจากเครือข่ายสมาคมอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันที่ 11 ตุลาคม 2560 นี้ จะมีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อ “ร่างยุทธศาสตร์และแผนงานการส่งเสริมไม้เศรษฐกิจแบบครบวงจร” โดยสมาคมที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจจะมีการนำเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขกฎหมายใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน คือ 1) แก้ไขพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484

ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ให้เกิดการส่งเสริมอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจมากกว่าการควบคุม และ 2) เสนอให้มีการทำกฎหมายใหม่อีก 1 ฉบับคือ ร่างพระราชบัญญัติไม้เศรษฐกิจแห่งชาติ ที่มุ่งเน้นไปที่หลักการแยกป่าอนุรักษ์ออกจากป่าเศรษฐกิจ แล้วปรับกฎหมายป่าไม้ต่างๆ ที่มีอยู่เดิมเพื่อไม่ให้ขัดกับกฎหมายใหม่ดังกล่าว เมื่อพิจารณารายละเอียดของ พ.ร.บ.ป่าไม้ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมป่าไม้ของประเทศ ในหลายประเด็น ตั้งแต่การกำหนดนิยามของคำว่าป่ามีความหมายที่กว้างเกินไป และควรจำกัดเฉพาะป่าในที่ดินของรัฐเท่านั้น

นอกจากนี้ ในส่วนที่กำหนดให้ต้นไม้ถือเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งเมื่ออยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ ไม่ควรจำกัดสิทธิใดๆ ในการปลูก เก็บ เกี่ยว แปรรูปหรือส่งออก ซึ่งจะช่วยให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกี่ยวกับไม้ รวมถึงการใช้ประโยชน์ไม้ที่เติบโตได้ดีในประเทศนั้นยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ถือเป็นการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจด้วย รวมถึงในพื้นที่ซึ่งมีวัตถุดิบในการนำมาแปรรูปได้ควรให้สิทธิตั้งโรงงานแปรรูป เพราะจะช่วยลดต้นทุนค่าขนส่งวัตถุดิบ ถ้าต้องนำไปแปรรูปในพื้นที่อื่น ส่วนปลูกป่าเศรษฐกิจในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ จะเกิดขึ้นได้ยาก เพราะขาดแรงจูงใจในการนำไปแปรรูปและจำหน่าย และยังมีอุปสรรคจากการที่ พ.ร.บ.กำหนดให้เครื่องจักรในอุตสาหกรรมไม้ ทำงานได้เพียง 12 ชั่วโมง/วัน เท่านั้น ส่งผลต่อต้นทุนผลิตต่อหน่วยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ไม่สามารถแข่งขันลดลง รวมถึงระยะเวลาการคืนทุนของผู้ประกอบการยืดยาวออกไปกว่า 1 เท่า ทำให้ธุรกิจไม่น่าลงทุน และส่งผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจอีกด้วย

“มีการนำเสนอเพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่กลับไม่มีการขับเคลื่อนใดๆ จากภาครัฐ ปัจจุบันเมื่อมาดูอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับไม้มีมูลค่าถึง 500,000 ล้านบาท ซึ่งหากส่งเสริมลดข้ออุปสรรคข้างต้นจะช่วยเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมป่าไม้ ให้เพิ่มเป็น 2 ล้านล้านบาทได้ ประมาณการคร่าวๆ สำหรับอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ปัจจุบันอยู่ที่ 200,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อ 200,000 ล้านบาท และพลังงานรวม 100,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าขับเคลื่อนอย่างถูกทางอุตสาหกรรมไม้จะขยายตัวได้อย่างมาก”

แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า khlongsaensaep.com ไม่ได้มีเพียง พ.ร.บ.ป่าไม้ที่จะต้องแก้ไขเท่านั้น ยังมีกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่ต้องได้รับการแก้ไขอีกคือ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เพื่อให้เอกชนสามารถขออนุญาตปลุกไม้เศรษฐกิจในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติได้ พร้อมทั้งควรทบทวนการขออนุญาตใช้พื้นที่ไม่ต้องขอความเห็นชอบจากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เพียงแต่แจ้งเพื่อรับทราบเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปไม้ ควรแก้ไขหรือยกเลิกพระราชบัญญัติเลื่อยโซ่ยนต์ พ.ศ. 2545 ในประเด็นการแปรรูปไม้

โดยเลื่อยโซ่ยนต์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วหากมีการเคลื่อนย้ายไปใช้นอกพื้นที่ไม่ควรต้องขออนุญาตอีก รวมถึงโรงงานทำชิ้นไม้สับเพื่อใช้เป็นพลังงานชีวมวล ไม่ควรจัดอยู่ในประเภทโรงงานแปรรูปไม้ที่ต้องขออนุญาต นอกจากนี้ควรยกเลิกการกำหนดให้เครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตสามารถเดินเครื่องได้ตลอด 24 ชั่วโมง จากปัจจุบันที่กำหนดให้เดินเครื่องเพียง 12 ชั่วโมง เท่านั้น ซึ่งการกำหนดดังกล่าวส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงกว่าประเทศอื่นๆ และทำให้การคืนทุนของผู้ประกอบการยืดยาวออกไปอีก 1 เท่าอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการเปิดรับฟังความเห็นต่อร่างดังกล่าวนี้ จะมีการหารือกลุ่มย่อยเพื่อระดมความเห็นใน สาระสำคัญและประเด็นย่อยรวม 5 ประเด็น ตั้งแต่การใช้ประโยชน์จากที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติเพื่อการปลูกไม้เศรษฐกิจ การทำไม้ การตัดไม้และการจำหน่าย การแปรรูป รวมถึงประเด็นอื่นๆ อย่างเช่น การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายไม้เศรษฐกิจแห่งชาติ รวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดการไม้เศรษฐกิจ

สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนปัญหาการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง ครั้งที่ 4/2560 ซึ่งมีหน่วยงาน 5 กระทรวงหลักเข้าร่วม ที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกการใช้สารเคมี 2 ชนิด คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ซึ่งถูกกำหนดเป็นวัตถุอันตรายชนิด 4 ที่ไม่อนุญาตให้มีการใช้ โดยระหว่างนี้จะไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนเพิ่ม ไม่ต่ออายุทะเบียน (โดยปกติจะต่อ 6ปี/ครั้ง) และต้องยุติการนำเข้าภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2560 และยุติการใช้สารเคมีทั้ง 2 ตัว ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการและเกษตรกร มีเวลาเตรียมตัว โดยระบุว่า พาราควอตจัดเป็นยาพิษที่มีความรุนแรง ไม่สามารถหายาถอนพิษได้ ที่ผ่านมา 47 ประเทศทั่วโลกยกเลิกการใช้แล้ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพบว่ามีการนำเข้าพาราควอตมากถึง 128 บริษัท และคลอร์ไพริฟอสถึง 81 บริษัท

เมื่อวันที่ 13 กันยายน นายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้เปิดแถลงข่าวว่า กรมยืนยันจากการตรวจสอบตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ สารเคมีทั้ง 3 ตัว คือ พาราควอตคลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต เกษตรกรยังสามารถใช้ได้ หากใช้ภายใต้การควบคุมตามปริมาณและวิธีตามฉลากกำหนดการใช้วัตถุอันตรายควบคุมการโฆษณา ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) หลังจากนี้ กรมจะนำเสนอข้อมูลจากการตรวจสอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1. การทบทวนค่าพิษวิทยา 2. การห้ามใช้ในประเทศต่างๆ ด้วยเหตุผลด้านสุขภาพ 3. การปฏิบัติภายใต้อนุสัญญาประชาคมโลก 4 ข้อ 4. ผลการรับฟังความเห็น และ 5. ผลกระทบสุขภาพอนามัย ส่งให้คณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเลขานุการพิจารณา ทั้งนี้ ข้อมูลวิชาการและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงเป็นเหตุผลที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะยกเลิกหรือไม่ ดังนั้น กรมจำเป็นต้องพิจารณา “ชะลอ” การต่ออายุขึ้นทะเบียนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ที่กำลังจะหมดอายุในต้นเดือนตุลาคมนี้