แต่เดิมเป็นบ้านคนกะเหรี่ยงในสมัยบุเรงนองพม่ามาตีกรุงศรีอยุธยา

กวาดต้อนผู้คนสยามคนกะเหรี่ยงไปจำนวนมาก นอกจากนี้ ยังจับคนตั้งท้องฆ่าทิ้งหมด ต่อมาพระชนกขึ้นเป็นใหญ่ ควบคุมดูแลมอญที่ตามขึ้นมาจากปากเกร็ด มาเป็นเมืองหน้าด่านคอยระวังเหตุ มอญกลุ่มนี้เรียกกันว่า “มอญชาวเรือ” มี “พญาองค์” เป็นหัวหน้า…ทุกวันนี้ยังเหลือแต่ซากเนินดินที่เคยเป็นวัดโบราณอยู่ ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดพญาองค์…”

คุณสุกัญญา เบาเนิด ได้เขียนเรื่อง “บ้านมอญอุทัยธานี” ไว้ในวารสาร เสียงรามัญ ปีที่ 3 ฉบับที่ 17 กันยายน-ตุลาคม 2551 โดยได้สืบค้นเรื่องราวเกี่ยวกับทวารวดีมีมอญ ได้กล่าวถึงจารึกภาษามอญ ที่พบในจังหวัดอุทัยธานี เป็นจารึก (ภาษามอญ) เมืองบึงคอกช้าง จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษามอญจำนวน 2 หลัก ณ “เมืองบึงคอกช้าง” ซึ่งเป็นเมืองโบราณในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 ตั้งอยู่เขตตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี ลักษณะเมือง มีกำแพงล้อมรอบเป็นรูปทรงกลม บริเวณทางเข้าเมืองทั้งสี่ทิศ มีสระน้ำ ทางทิศตะวันออกของเมืองมีคูน้ำอีกชั้นหนึ่ง สำรวจพบตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2514

นอกจากนี้ ร.อ.เสริม นิยม ได้เล่าเท้าความถึงพระยาทะละ เป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญที่ถูกกษัตริย์พม่าเข้าตี ปี พ.ศ. 2300 คงสู้ไม่ได้แล้วเพราะว่ากำลังพลมีจำนวนมาก พระยาทะละมีพระราชโอรสองค์โต ชื่อพระยาองค์ องค์กลางมีอายุไล่เลี่ยกัน ส่วนองค์เล็กเป็นพระราชธิดาอายุเพียง 3 ขวบ พี่ชายจึงพามาเมืองอุทัยธานีด้วยแพไม้ไผ่ขนาดลำใหญ่ ได้ประมาณสองวัน ครั้นหงสาวดีแตก พาพระโอรสและพระราชธิดามาเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ปี พ.ศ. 2300 ช่วงเดือน 6 แรม 15 ค่ำ ได้มาต่อแพที่เกิงกะเวีย (สังขะ) ลงแม่น้ำแควน้อย (แม่น้ำซองกะเรีย) กำลังพลที่พามาถึงราชอาณาจักรสยามประมาณหมื่นเศษ จนมาถึงตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง

จากนั้นทิ้งแพแล้วขึ้นบก ให้กำลังพลส่วนใหญ่เข้ากรุงศรีอยุธยา ส่วนบรรดาพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระยาทะละ พร้อมทั้งนักรบฝีมือดีเพื่อเตรีมการจะกอบกู้อิสรภาพจากพม่าประมาณ 500-600 คน เดินเลาะมาจากเมืองกาญจน์ ผ่านบ่อพลอย เข้ามาด่านช้างสุพรรณบุรี ตัดเข้ามาที่อุทัยธานี นายทองดีจึงให้ที่พักอาศัย อยู่ทางทิศตะวันออกของอุทัยธานี บริเวณวัดทุ่งทองในปัจจุบัน ร.อ.เสริม อรรถาธิบายว่า คำว่าวัดทุ่งทองคือ ซื้อด้วยทอง ภาษามอญเรียกว่า “เวียทอ” ไม่มีเงินซื้อนาจึงเอาทองซื้อแทน แลกกับนา

อย่างไรก็ดี “…ชุมชนมอญดั้งเดิมในจังหวัดอุทัยธานียังมีร่องรอยอยู่ที่บ้านเก่าริมคลองมอญหน้าวัดป่าช้านี่เอง ยังพบชื่อคลองมอญน้ำไหลไปออกแม่น้ำสะแกกรัง แถวบ้านโคกหม้อ…อยู่ต่อมาจึงขยับขยายไปบ้านป่าแดง ทุ่งหลวง ทุ่งพง หนองสรวง หนองหมอ หนองนกยูง หนองแก บ้านยางครึ่งเส้น บ้านล่อมพัก บ้านหนองกลางดง บ้านท่าซุง บ้านหนองน้ำคัน บ้านคลองค่าย ตลอดไปจนถึงแถวทัพทัน…พบสกุลคนมอญ เช่น คำสิทธิ์ สีขาว จันทร์น้อย นิยม เป็นต้น”

สอดคล้องกับเรื่องเล่าของผู้คนลาวครั่งบ้านโคกหม้อ กล่าวว่า ปากคลองมอญซึ่งปัจจุบันกลายเป็นชุมชนชาวลาวครั่งนั้น ในอดีตเป็นชุมชนของชาวมอญมาก่อน มีอาชีพปั้นหม้อขาย แต่ชาวมอญไม่ชอบอยู่ที่ดอนจึงย้ายออกไปอยู่ที่อื่น ส่วนบริเวณวัดป่าช้านั้นได้ใช้เป็นที่เผาศพของชาวบ้าน ครั้นเมื่อวัดโบสถ์ร้างไป วัดป่าช้าก็ได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ภายในวัดป่าช้าเคยมีเจดีย์มอญ 7 องค์ แต่ปัจจุบันได้ถูกรื้อทิ้งไป 4 องค์ คงเหลือซากเพียง 3 องค์เท่านั้น

มีการค้นพบพระเครื่องปั้นดินเผา ชื่อพระ “โคนสมอ” ในกรุเจดีย์ดังกล่าวจำนวนมาก กรมศิลปากรตรวจสอบว่ามีอายุประมาณ 700 ปี แต่กรมศิลปากรระบุไว้เพียงว่า วัดป่าช้าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2350 เท่านั้น โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2375 ส่วนความเก่าแก่ของเจดีย์อาจมีมาก่อนการสร้างวัด รวมทั้งพระเครื่องดินเผาอาจมาจากแหล่งอื่นก็เป็นได้

“มองเห็นไฟไหม้บ้องเป็นควัน ดังหนึ่งเมฆสวรรค์ มีตะเกียงนั้นเหมือนจันทร์ส่อง ยามจะนอนกายกอดประคอง มีคู่สุดรักคือบ้อง ชวนให้ฉันปองคือบ้องกัญชา…ฯลฯ”

ได้ฟังท่อนหนึ่งของบทเพลง ลองตามหาชื่อเพลง และชื่อผู้ขับร้อง โดยเข้าไปใน Google หาใน You tube ก็ไม่พบ แต่สิ่งที่ได้มาแทนคือ เนื้อร้องทำนองเพลงที่หลากหลาย ของเหล่าศิลปินที่เคลิ้มฝันทั้งอารมณ์และน้ำเสียง ชี้ชวนให้รู้จัก “ควันเพชรฆาต” ที่ควรจะหลีกทางให้ล่องลอยไปสุดไกล ผ่านเสียงเพลงที่เขาเหล่านั้นขับขาน เช่น

เพลง กระท่อมกัญชา (มาลีฮวนน่า) “แดนนี้มีต้นกัญชา ปกคลุมแน่นหนา ใบกัญชาป่านี้สะพรั่ง ฯลฯ”

เพลง คนบ้ากัญชา (คำรณ สัมบุญณานนท์) “ฉันบ้ากัญชาจนหูตาลาย เห็นหมูตัวโตเท่าควาย ฯลฯ”

เพลง บ้องกัญชา (กาเหว่า เสียงทอง) “ลาเอ๋ยลา ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปกลายเป็นบ้องกัญชา…ฯลฯ” เพลง เส้นทางขี้ยา (เทพ ภูผา) “คิดทบทวนถึงวันเวลาที่ผ่าน กับการค้นหาสัจจะแห่งความเมา อยากจะลองอยากจะรู้ ถลำล้มเข้าคว้าโลมลูบเงาจากความสุขมายา ความมืดมิดเริ่มโรยตัวโทษา รู้สึกตัวเมื่อสายกลายเป็นคนไร้ค่า เหลือเศษชีวิตกับคำประณามเรื่อยมา โอ้สิงห์ขี้ยาหลับตาใจหวาดระแวง…ฯลฯ”

เพลง ฆาตะกัญชา (อ.ไข่ มาลีฮวนน่า)

เพลง กัญชา (โรเบิร์ต สายควัน) “…คราบรอยยิ้มยังเต็มตามใบหน้า กลิ่นกัญชาโรยมาแต่ไกล ชั่วชีวิตคิดสั้นทำไม เสพสิ่งจูงใจให้ร้ายแก่ตัวเราเอง…ฯลฯ” เป็นเพียงตัวอย่าง ชื่อเพลงที่กล่าวถึง “สมุนไพรใบสีเขียว โอสถลวงจิต” ที่หากรับฟังได้ยินแล้วจะเลือกที่จะ “เลิกเสพ เลิกคบ เลิกใฝ่หา…ปล่อยควันไปสุดตา”

สำหรับผู้ที่สุนทรีย์กับบทกลอน ก็ขอนำเพียงเศษเสี้ยวแต่ละบทมาเสนอ

…ติดบุหรี่ มะเร็ง เร่งเข่นฆ่า ติดสุรา ตับแข็ง แห้งเหี่ยวได้

ติดพันรักร้อนรุ่ม ดุจสุมไฟ ติดอะไรไม่สิ้นคิดเท่าติดยา ฯลฯ

…ใครเป็นทาสยาเสพติดชีวิตวอด หนีไม่รอดตีบตันด้วยปัญหา

คนรังเกียจหยามหมิ่นสิ้นศรัทธา แม้หมูหมายังเมินมิเดินเคียง ฯลฯ

เป็นส่วนหนึ่งของบทกลอนจากชุมชนชาวกวีบ้านกลอนไทย มหันตภัยยาเสพติด โดย “สุนทรวิทย์” เขียนไว้เมื่อ 29 กุมภาพันธ์ 2555 กว่า 6 ปีมาแล้ว แสดงว่าส่วนหนึ่งของสังคมยังอยู่ในวังวนของยาเสพติด ซึ่งเราไม่อาจทราบชัดเจนว่าจุดเริ่มต้นของสิ่งเหล่านี้มีมาตั้งแต่เมื่อใด ปัจจุบัน เรายังรู้ยังเห็นได้อยู่ แต่สิ่งที่เราไม่อาจรู้เลยคือสิ่งเหล่านี้ จะหมดหดหายไปจากสังคมนี้เมื่อไร

มีบทกลอนและบทเพลงมากมายที่มาจากการได้พบรู้เห็นพฤติกรรมการเสพยา ซึ่งในวงการคงจะหาไม่ยากนักที่จะสัมผัสอารมณ์แล้วเปลี่ยนเป็นอักษรวรรณกรรม ใส่ทำนองขับเป็นเสียงร้องออกมาด้วยความปรารถนาดีที่จะให้สิ่งต้องห้ามเหล่านั้นลอยไปกับกลุ่มควัน หายไปในอากาศโดยไม่ทิ้ง “กลิ่นกรุ่น” ให้รุ่นหลังได้รับรู้

ในฉบับที่ผ่านมา ได้กล่าวถึงพฤกษาที่จัดไว้ในกลุ่ม “พฤกษาฆาตะ” อยากจะให้สมญานามว่า “ฆาตกรใบเขียว” แต่คงจะไม่ถูกต้องแน่ๆ เพราะโลกเราอยากได้ “สีเขียว” เป็นเอกลักษณ์ของความสดชื่น เจริญให้ความสุขยั่งยืน แต่ก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่า สารออกฤทธิ์จากใบไม้เขียวหลายชนิด มีบทบาทที่ทำให้ “ผู้เสพ” นำไป “ปรุงจินตนาการ” มากกว่านำไป “ปรุงโภชนาการ” ดังนั้น ในฉบับนี้จึงอยากจะ “ปลูก” พฤกษาต้องห้ามเหล่านั้นให้ผลิดอกออกใบ นำมาใช้เป็นพฤกษาโภชนาการจริงๆ โดยขออนุญาตใช้ “บทกลอน และบทเพลง” เป็นนั่งร้าน เป็นเสาค้ำให้มันเลื้อยแผ่ไปทุกที่ แล้วมีคนมา “เสพ” บทกลอน และบทเพลงเหล่านี้ แทนการ “เสพยา”

ลองค้นคว้าหาเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดผ่านบทกลอนและบทเพลง พบว่า มีมากมายที่ให้ความหมายข้อคิดดีๆ เตือนใจ เตือนสติ หากใครได้อ่านแล้ว น่าจะมองเห็นภาพที่พึงปฏิบัติโดยไม่ต้องจินตนาการ จึงขอนำมาฝากเป็นบรรณาการที่จะเผยแพร่ต่อไป หรือถ้าถูกใจบทเพลงก็จะมีสิทธิ “เสพเพลง” เหล่านี้ได้เป็นดนตรีชีวิตอย่างสดชื่น

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน มีหลายหน่วยงานได้จัดเป็น “วันรำลึกครูกลอนสุนทรภู่ และวันต่อต้านยาเสพติด” ถ้าหากมีคำถามว่า ท่านกวีสุนทรภู่ ต่อต้านยาเสพติดจริงหรือ มีบทกลอนที่เขียนไว้ใน www.klonthaiclub.com โดย “ธาตรี” ได้ให้คำอธิบายแทนคำตอบของท่านสุนทรภู่ ไว้ว่า

ถึงตอนนั้นเมื่อไหร่? คงสายเกิน

จากต้นรัตนโกสินทร์ สองร้อยกว่าปีมาแล้ว ยาเสพติดเป็นที่รู้จักกันแล้วกระนั้นหรือ?

มีบทกลอนใน You tube โดย วจี รินตัน โพสต์ไว้เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2557 โดยอ่านกลอนเยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด ไว้

ขึ้นต้นแนะนำตัวเองว่า “สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ นางสาววจี รินตัน รหัส 5504582 คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาออกแบบภายใน มหาวิทยาลัยรังสิต ในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร ในวันนี้ดิฉันจะมาอ่านกลอนในหัวข้อเรื่อง เยาวชนไทยห่างไกลยาเสพติด (อ่านกลอนทำนองเสนาะ)

ถ้าหากเยาวชนท่องบทกลอนนี้ ทำเป็นบทเพลงไป “เสพ” ก็คงจะมีสุขอีกมากมาย

มีบทเพลงกล่าวถึง “ยา” ที่หลายคน “ติด” ไม่ว่าจะติดใจ หรือติดกาย แต่บทเพลงก็ให้ข้อคิดมากมาย และมีหลายบทเพลงดังที่เคยกล่าวไว้ ไม่ได้หมายความว่าจะ “ปฏิบัติตามเพลง” แต่ต้องเลือก หรือ “เลิก” ไม่ต้องให้เพลงพาไป ดังนั้น แม้แต่เพลงก็อาจจะต้อง “เลือกเสพเพลง” โดยใช้ “วิจารณญาณ” เช่นกัน

เนื้อร้อง-ทำนอง โดย ประสิทธิ์ แก้วมณี (9 มกราคม 2016)

สายลมพัดเอา ควันขาวล่องลอยใจฉันตามคล้อยฟังลมกระซิบ มองดูกิ่งไม้อ่อนไหวไหวเอน หลับตาฟังเป็นทำนองบทเพลง ธรรมชาติสร้างสรรค์สร้างทำนองจังหวะคล้องจอง ทำนองสร้างสรรค์ ฟ้าส่งเธอมา เธอมาคู่ฉัน เราอยู่ด้วยกัน กับฝันเปลี่ยนลา โอ้เจ้าสายลม พัดกลิ่นเจ้าลอยเมฆขาวก้อนน้อย หอมกลิ่นชื่นชม สูดดมกลิ่นเจ้า ตัวเบาดังลม ล่องลอยสุขสม กัญชากับลม ประโลมจิตใจ

พี่แอบรักน้องหญิง รักจริงไม่แพ้คู่ใคร น้องจะชอบพี่ไหม พี่ชายเป็นชายติดยา บอกว่ารักน้องจริง ไม่ทิ้งน้องให้เสียใจ น้องจะเชื่อพี่ไหมพี่ชายไม่เคยหลอกลวง ถึงพี่จะติดยาเพื่อน้องนาพี่ขอลืมสิ้น จะขอเป็นชายติดดิน เพราะรักหญิงพี่จึงเลิกยา ยาพี่ก็เลิกแล้ว น้องแก้วก็ยังไม่เชื่อ แล้วน้องจะเชื่อพี่ไหม พี่บ่าวเลิกยาก็เพราะเธอ อดีตของชายติดยา ถึงเลิกยาใครเขาจะเชื่อ ไม่มีอะไรจะเหลือ เพราะพี่เป็นชายติดยา

นอนบายในหนำหลังน้อย จิตใจล่องลอยป่ายปีนตามสายฝัน คืนนี้มืดมิดไร้ดวงจันทร์ แต่สวรรค์พาใจไปสู่วิมาน รอยยิ้มเอิบอิ่มบนใบหน้า กลิ่นกัญชาโชยมายังไม่จางหาย ควันลอยคละคลุ้งไม่ห่างกาย สัตว์น้อยเกือบตายเมามายจากสิงห์อมควัน พอสร่างหายเมาเริ่มเตรียมเขียง คลุกเคล้าเครื่องเคียงบุหรี่ช่อดอกกัญชา ยำมันลงไปอย่าช้า หยิบบ้องขึ้นมาใส่กัญชาอัดให้เต็มพวย กัญชา กัญชา กัญชา

เร่งจุดไฟสูบกัญชาเถิดผองเรา ดูดให้เมาสุขเปรมปรีดิ์ชื่นวิญญาณ ผลัดกันเสพเวียนทุกคนเมาให้คลาน ไฟเผาผลาญน้ำพุ่งพล่านแม่ยอดกัญชา ร่างกายเสื่อมโทรมชอบของหวาน หัวเราะชื่นบานฤทธิ์ยาพาใจเลื่อนลอย ความคิดสับสนจิตเสื่อมถอย เรี่ยวแรงเริ่มเหลือน้อย ร่างกายอ่อนแอ กลิ่นสาบกัญชายังหลอกหลอน มันคอยบั่นทอนร่างกายจิตใจ ก้าวล้ำไปแล้วถอนตัวอย่างไร อารมณ์อ่อนไหว เพราะใจต้องมนต์กัญชา ยอดกัญชา ยอดกัญชา ยอดกัญชา ดอกกัญชา ช่อกัญชา ต้องมนต์กัญชา

บทเพลงนี้คงจะเป่ามนต์ให้ควันกัญชา ลอยล่องห่างไกลได้ จากคำร้องช่วงหนึ่งที่ว่า “ร่างกายเสื่อมโทรมชอบของหวาน หัวเราะชื่นบาน ฤทธิ์ยาพาใจเสื่อมลอย ความคิดสับสนจิตเสื่อมถอย เรี่ยวแรงเริ่มเหลือน้อย ร่างกายอ่อนแอ…มันคอยบั่นทอนร่างกาย จิตใจ ฯลฯ” ก็ขอให้กลิ่นสาบกัญชาต้องมนต์ด้วย

เหม่อมองให้ไกลไปสุดขอบฟ้า อนาคตเรามีอีกมากมาย ใจถูกครอบงำเพราะเสพสิ่งร้าย ทำลายร่างกายจิตใจ อาจมีหลายคนเจอความผิดหวัง อาจมีเพื่อนรักชักขวนทดลองเสพยาเข้าไป แล้วหายเศร้าหมอง ปลดทุกข์ใจของฉันหลุดลอยไป

สูบม้า ดูดกัญชา ฉีดเฮโรอีน ดมทินเนอร์ ประชดประชัน เพื่อลืมคืนวันเลวร้าย สุขใจช่างสุขกาย ด้วยตัวยาตัวนี้ บัดนี้ บัดนี้ ต้องตกเป็นทาสมัน

จิตใจมั่นคงและเคยเข้มแข็ง กลับหมดเรี่ยวแรงเพราะฤทธิ์ยา กลับใจมั่นไว้เร็วไวเถิดหนา ก่อนที่ชีวาคุณหมดความหมาย…อาจมีหลายคนเจอความผิดหวัง อาจมีเพื่อนรักชักชวนทดลอง ห้ามใจเราไว้ไม่ให้ลิ้มลอง ก่อนที่ตัวของคุณหมดความหมาย

ยังมีบทเพลงอีกมากมายที่ชวนสะท้อนใจ มองเห็นใบไม้สีเขียวใช้ในทางที่ไม่ถูกไม่ควร รวมทั้งบทเพลงที่จะเลือกเสพ หรือเลือกที่จะใช้สติตริตรองเนื้อหาในบทเพลงแล้วนำมา “ปลุกจิตสำนึก” พึงระลึกถึงสิ่งควรจินตนาการ

หากยังไม่อิ่มในบทเพลงก็ลองเข้าไปใน You tube แล้วหาฟังเพลงเหล่านี้ เราก็จะได้ชี้ชวนให้ลูกหลานเรา “เลือกเสพ” เลือกเพลงที่จะปฏิบัติตาม

สำหรับนักอ่านที่หลงใหล “พญาอินทรีย์แห่งสวนอักษร” ลองหาอ่าน “หลงกลิ่นกัญชา” จากปลายปากกาของ “รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม)” ถ้าเปิดเรียนวิชาบุปผาชนศึกษา 101 จะทำให้เรารู้จัก Hippie movement ของเหล่าบุปผาชนที่บานสะพรั่ง ตั้งแต่ยุค พ.ศ. 2511 แล้วจะได้รู้ว่า ถ้าเสพกัญชาเป็นที่พึ่งททางใจ หรือต้องหลีกให้ไกล “สมุนไพรฆาตกร”

นกเลิฟเบิร์ด จัดอยู่ในตระกูลของ นกปากขอ หรือนกแก้วขนาดเล็กสกุลหนึ่ง นิยมเรียกกันว่า Little Parrot ด้วยเอกลักษณ์ที่ชอบอยู่เป็นคู่ และจะดูแลกันเป็นอย่างดีจึงได้รับการเรียกขานว่า “Lovebirds” ในที่สุด มีถิ่นกำเนิดจากทวีปแอฟริกา นกเลิฟเบิร์ดเป็นนกที่มีเสน่ห์ ขี้เล่น จนกลายเป็นสัตว์เลี้ยงภายในครอบครัว และเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

แรกเริ่มนกเลิฟเบิร์ดจะเป็นสีเขียว และมีการนำมาเพาะเลี้ยงพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อผสมออกมาให้ได้สีที่หลากหลาย จนในปัจจุบันมีสีม่วงเพิ่มขึ้น อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 15 – 20 ปี ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์นกได้ตลอดทั้งปี ทั้งนี้ นกเลิฟเบิร์ด มีสายพันธุ์ แยกเป็น 9 ชนิด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบไม่มีขอบตา (Peach face Lovebirds) 2. มีขอบตา (Fischer Lovebirds) รอบดวงตาจะเป็นสีขาว

ว่ากันว่าเมื่อนกเลิฟเบิร์ดเติบโตเต็มที่ เลิฟเบิร์ดจะหาคู่ของตัวเอง เมื่อพบคู่แล้วจะครองรักหรืออยู่คู่กันจนกว่าคู่ของตนจะตาย หรือตายตามกันไป พลเอก ธงชัย สาระสุข ผู้บัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กรุณาอนุมัติให้ รายการ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา การแสดงศักยภาพและยุทธวิธีในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ณ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร พร้อมบันทึกเทปรายการ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ ซึ่งจะออกอากาศทั้งภาพและเสียง ทางสถานีวิทยุ มก.

โดย พลเอก ธงชัย สาระสุข ผู้บัญชาการ มอบหมายให้ พลโท ณัฏฐพัชร สกุลรังสฤษฏ์ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา พลตรี สุชาติ สุทธิพล ผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และ พันเอก กฤตพันธุ์ รักใคร่ ที่ปรึกษาศูนย์ “หนึ่งใจ…ช่วยเหลือเกษตรกร” มูลนิธิมิราเคิล ออฟไลฟ์ฯ และรองผู้อำนวยการ สำนักงานสนับสนุน หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา เป็นผู้นำเสนอข้อมูลให้แก่พี่น้องประชาชนทราบ

พลโท ณัฏฐพัชร สกุลรังสฤษฏ์ เสนาธิการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กล่าวว่า หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ในอดีตเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กองอำนวยการกลางรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือ กรป.กลาง ต่อมาเมื่อเวลาเปลี่ยนไป จนกระทั่งปี 2540 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ขึ้นตรงต่อ กองบัญชาการกองทัพไทย โดยมีสำนักงานที่เป็นหน่วยขึ้นตรงอยู่มีทั้งหมด 7 สำนักงาน ประกอบด้วย 2 สำนักงานอยู่ในพื้นที่ส่วนกลาง และอีก 5 สำนักงานอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัดทั่วประเทศ โดยสำนักงานพัฒนาภาค 1 รับผิดชอบในพื้นที่ภาคกลาง สำนักงานพัฒนาภาค 2 รับผิดชอบในพื้นที่อีสานเหนือ สำนักงานพัฒนาภาค 3 รับผิดชอบในพื้นที่ภาคเหนือ สำนักงานพัฒนาภาค 4 รับผิดชอบในพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานพัฒนาภาค 5 รับผิดชอบในพื้นที่อีสานใต้

ในแต่ละสำนักงานยังมีหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 6 หน่วย ในแต่ละสำนักงานพัฒนาภาค นอกนั้นก็จะมีสถานีวิทยุกระจายเสียงอีกสำนักงานภาคละ 1 หน่วย อันนี้เป็นภาครวมๆ ของหน่วยที่อยู่ในพื้นที่ สำหรับในพื้นที่ส่วนกลางเป็นที่ตั้งของ กองบัญชาการ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ซึ่งมีหน่วยขึ้นตรงในพื้นที่ส่วนกลางอยู่ 2 หน่วย

หน่วยแรกก็คือสำนักงานทหารพัฒนา ซึ่งมีภารกิจในการให้ความรู้ทางด้านวิทยาการ รวมทั้งการฝึกอบรมอาชีพต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยอาชีพทางด้านช่าง อาชีพทางด้านการเกษตร อาชีพอื่นๆ ซึ่งก็เป็นการประกอบอาชีพการส่งเสริมให้ราษฎรได้มีอาชีพเสริม เพื่อก่อให้เกิดรายได้ นอกจากนั้น ยังดูแลในเรื่องของการให้ความรู้เรื่องของการศึกษานอกโรงเรียน การส่งเสริมอาชีพ การจัดการนัดพบแรงงาน อันนี้คือภารกิจของสำนักงานทหารพัฒนา แล้วก็สิ่งที่หลายๆ ท่านยังไม่ทราบ ก็คือว่าหน่วยสำนักงานทหารพัฒนามีหน่วยหนึ่งซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรง เรียกว่ากองส่งเสริมและขยายพันธุ์สัตว์ มีหน้าที่ในการผลิตน้ำเชื้อ สำหรับการแจกจ่ายให้กับประชาชน ซึ่งเราไปให้การสนับสนุนโดยการแจกจ่ายโคแม่พันธุ์ไป เราก็เอาน้ำเชื้อพันธุ์ดีจากพ่อพันธุ์ต่างๆ เอาไปผสมเทียมให้

นอกจากนั้น ก็ยังมีกองส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ก็สนับสนุนทางด้านการเกษตร แล้วก็ยังมีหน่วยขึ้นตรงอีก คือหน่วยส่งเสริมสหกรณ์กระจายอยู่ทั่วประเทศ อันนี้อยู่ในส่วนของสำนักงานทหารพัฒนา อีกหน่วยหนึ่งก็คือสำนักงานสนับสนุน ซึ่งชื่อก็บ่งบอกชัดเจนว่าเป็นหน่วยที่ให้การสนับสนุนในภาครวมของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและหน่วยขึ้นตรงทั่วประเทศ หน่วยนี้ก็จะมีกองจัดหาเป็นหน่วยขึ้นตรง ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเอามาใช้ จะมีกองคลัง หลังจากที่เราจัดหามาได้แล้วก็จะนำไปเก็บไว้ที่กองคลัง สำหรับหน่วยต่างๆ มาเบิกเอาไปใช้ แล้วยังมีกองซ่อม ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของการซ่อมเครื่องจักรกลยานพาหนะต่างๆ ทั่วประเทศ หน่วยนี้จะเป็นส่วนที่ซ่อมให้ ซ่อมเสร็จส่วนกลางยังไม่พอ เรายังจัดชุดซ่อมเคลื่อนที่ไปซ่อมให้กับหน่วยต่างๆ ขึ้นตรงทั่วประเทศอีกด้วย

และก็หน่วยสุดท้ายก็คือกองแพทย์ รับผิดชอบในเรื่องของการรักษาพยาบาลให้กับกำลังพลในส่วนของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง สำหรับสำนักงานสนับสนุนวันนี้ยังเป็นที่รวบรวมเครื่องไม้เครื่องมือในเรื่องของการบรรเทาสาธารณภัยขนาดใหญ่และมีความทันสมัยไว้ที่นี่ อันนี้ก็จะเป็นภาพรวมคร่าวๆ ซึ่งภารกิจและผลงานช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเหล่านี้ จะนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ซึ่งเป็นสถานที่บอกกล่าวเรื่องราวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน